เทโลเมียร์ (Telomere) คือ ส่วนที่อยู่ปลายสุดของโครโมโซมทำหน้าปกป้อง DNA ไม่ให้ถูกทำลาย เมื่อแรกเกิด เทโลเมียร์ในเซลล์มีความยาวมากที่สุด และทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัวเพื่อการเติบโตและซ่อมแซมร่างกาย เทโลเมียร์จะค่อยๆ หดสั้นลงเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ เมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลงเรื่อยๆ จนหมดจะทำให้ไม่สามารถแบ่งเซลล์ใหม่ได้อีก DNA จะถูกทำลาย เซลล์เสื่อมและเกิดความชราของผิวและร่างกาย ขณะเดียวกันยังมีรายงานวิจัยหลายฉบับได้ศึกษาพบว่าความยาวของเทโลเมียร์ที่สั้นลงยังส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอีกด้วย
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th เผยว่า จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับเทโลเมียร์ (Telomere) และภาวะมีบุตรยากหลายฉบับ พบว่า ความยาวของเทโลเมียร์ที่สั้นลงส่งผลต่อการมีบุตร วงจรการตกไข่ ความผิดปกติของฮอร์โมน การแบ่งเซลล์ในระยะเอ็มบริโอ และส่งผลให้การฝังตัวของตัวอ่อนไม่สำเร็จ
อ้างอิงรายงานวิจัย จากวารสาร Fertility and Sterility ปี 2013 ที่ได้ทำการศึกษา เรื่อง Telomeres and Human Reproduction พบว่า เทโลเมียร์เป็นตัวชี้วัดในการแก่ตัวของสิ่งมีชีวิตในทางชีววิทยา โดยงานวิจัยนี้ได้นำเสนอทฤษฎี ผลของการหดสั้นลงของเทโลเมียร์มีความสัมพันธ์กับภาวะเสื่อมถอยของวัยเจริญพันธุ์ในเพศหญิง จากการศึกษาได้ทำการทดลองการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ในหนู พบว่า เทโลเมียร์ที่หดสั้นลงในหนูลดการจับคู่ของโครโมโซม (Synapsis) และการแลกเปลี่ยนโครโมโซม (Chromosome) เพิ่มการแตกหักเสียหายของตัวอ่อน วงจรการตกไข่ลดลง เซลล์ทำลายตัวเอง เกิดความผิดปกติของโครโมโซม อีกทั้งเทโลเมียร์ในเซลล์ไข่ (Oocyte) ที่สั้นลง ยังส่งผลต่อการแบ่งเซลล์ในระยะเอ็มบริโอ เกิดการแบ่งโครโมโซมที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการฝังตัวอ่อนไม่สำเร็จ ในทางกลับกันการศึกษาพบว่าการผลิตสเปิร์มในอัณฑะ (Spermatogonia) สามารถฟื้นฟูเทโลเมียร์ได้ตลอด โดยความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงเทโลเมียร์ในเพศชายและเพศหญิง ถูกวิวัฒนาการขึ้นเพราะความเสี่ยงที่จะเกิดการเสื่อมถอยของภาวะเจริญพันธุ์ของเพศชายและหญิงแตกต่างกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเทโลเมียร์ยังส่งผลไปสู่โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย
และมีรายงานการวิจัยจาก วารสาร The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism เมื่อปี 2008 ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความยาวของเทโลเมียร์ เรื่อง Telomere Length and Reproductive Aging โดยใช้ PCR ในการประเมิณความยาวของเทโลเมียร์ในกลุ่มผู้ทดลอง จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีประวัติการแท้งซ้ำจะมีความยาวของเทโลเมียร์สั้นกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งเกิดจากความเครียดในระดับเซลล์จากภาวะ oxidative stress
นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัย เรื่อง เทโลเมียร์และความผิดปกติในการแบ่งตัวแบบไมโอติกในเพศหญิง (Telomeres and Aging-related Meiotic Dysfunction in Women) จากวารสาร Cellular and Molecular Life Sciences ปี 2007 โดยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติในการแบ่งตัวแบบ Meiotic ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่งผลในเกิดภาวะมีบุตรยาก การแท้งบุตร ความพิการในรุ่นลูก โดยผลต่อการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะส่งผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์ไข่ ไข่ที่ตกจากผู้หญิงอายุมากจะเข้าสู่การแบ่งตัวของเซลล์ไข่แบบไมโอซิสช้ากว่าผู้หญิงที่อายุน้อย เซลล์ไข่แบ่งตัวช้าถึงระยะบลาสต์โตซิสช้า อาจจะมีพลังงานไม่เพียงพอในการแบ่งตัวในอนาคต ซึ่งสาเหตุที่เทโลเมียร์หดสั้นลงเกิดจากปฏิกิริยา Reactive oxygen ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ จากการตอบสนองการซ่อมแซม DNA ในช่วงระหว่างการสร้างเซลล์ไข่ในทารก และการตกไข่ในทุกๆรอบเดือน
ครูก้อย นัชชา เสริมว่า จากการศึกษางานวิจัยพบว่า เทโลเมียร์ มีบทบาทต่อการพัฒนาตัวอ่อน โดยมีรายงานวิจัยจาก วารสาร Biochemical and Biophysical Research Communications ปี 1997 ทำการศึกษาเกี่ยวกับการหดสั้นลงของ เทโลเมอร์เรส (Telomerase) ในมนุษย์ จากการศึกษาพบว่า เทโลเมียร์มีผลในช่วงแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากเซลล์ตัวอ่อนมีอัตราการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงแรกของการพัฒนาเอ็มบริโอก่อนการฝังตัว เทโลเมียร์จะมีความยาวมากที่สุด
โดยมีรายงานวิจัยจาก Nature Cell Biology Volume 9 ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ ความยาวของเทโลเมียร์ในช่วงต้นของพัฒนาการ ผลการศึกษาพบว่า การทำงานของ เทโลเมียร์นั้นสูงในเซลล์สืบพันธุ์เพศชายและสเต็มเซลล์ แต่จะมีน้อยในเซลล์ไข่ที่โตเต็มที่และตัวอ่อนระยะแบ่งเซลล์ และจากนั้นช่วงต้นหลังการปฏิสนธิจะมีความยาวสูงที่สุดในระยะบลาสโตซิสต์
และยังมีการศึกษาพบว่าเทโลเมียร์จะหดสั้นลงเรื่อย ๆ ประมาณ 30-200 คู่เบส ในทุก ๆ รอบของการแบ่งเซลล์ และความยาวของเทโลเมียร์มีความสำคัญในการกำหนดความสามารถในการแบ่งเซลล์ จากที่ทราบแล้วว่าปลายโครโมโซมในส่วนของเทโลเมียร์นั้นจะสั้นลงเรื่อย ๆ ทุก ๆ ครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว เมื่อความยาวของเทโลเมียร์นั้นสั้นจนถึงระดับที่ถูกกำหนดไว้ เซลล์จะหยุดการแบ่งตัวไปตลอด (Senescence) หรือเสื่อมสลาย หรือเซลล์จะกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์ด้วยตนเอง (Apoptosis)
วิธีการป้องกันการเสื่อมสภาพของเทโลเมียร์
ครูก้อย นัชชา ได้แนะนำความรู้เกี่ยวกับการชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์อันเนื่องมาจากการหดสั้นของเทโลเมียร์ ซึ่งเป็นสัญญาณของความแก่ชราและความร่วงโรยของระบบสืบพันธุ์อันนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก ว่า เทโลเมียร์ สังเคราะห์จากเอ็นไซม์เทโลเมอเรส ดังนั้นถ้าสามารถจะกระตุ้นให้เอ็นไซม์เทโลเมอเรสทำงานมากขึ้นก็จะสามารถป้องกันการเสื่อมสภาพของเทโลเมียร์ เพื่อปกป้องการขาดหายของโครโมโซม โดยมีงานวิจัยศึกษาการรับประทานวิตามินรวมที่มีผลต่อความยาวเทโลเมียร์ในกลุ่มประชากรหญิงพบว่า มีความสัมพันธ์กับความยาวเทโลเมียร์ที่สูงกว่าในกลุ่มที่ได้รับวิตามินรวมเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับเทโลเมียร์ เช่น โฟเลต วิตามินบี 12 วิตามินเอ วิตามินดี นิโคตินาไมด์ (Nicotimamide) โอเมกา-3 วิตามินซีและอี โดยการรับสารอาหารกลุ่มนี้อย่างพอเพียงจะสามารถรักษาความยาวของเทโลเมียร์ได้
นอกจากนี้มักพบเทโลเมียร์ในผักและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น มากิเบอร์รี่ (Maqui berry) เป็นผลไม้เก่าแก่ที่พบในป่า Patagonia ประเทศชิลี ซึ่งชนเผ่าพื้นเมือง “Mabuche” ใช้กันมายาวนานเพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรคต่างๆ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการค้นพบว่า มากิเบอร์รีเป็นผลไม้ที่มีสาร ชื่อว่า “เดลฟินิดิน (Delphinidin)” สูงมาก ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในโลก ช่วยชะลอการหดสั้นของ เทโลเมียร์ (Telomere) โดยมีรายงานวิจัยจาก วารสาร Science News of Anklam Extrakt GmbH เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า สารสกัด “เดลฟินิดิน (Delphinidin)” ใน มากิเบอร์รี่ (Maqui berry) ช่วยลดอัตราการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ หลังทาน 8 สัปดาห์ ภายใต้สภาวะที่มีอนุมูลอิสระได้มากถึง 51 % จึงทำให้สารสกัดจากมากิเบอร์รี่ได้รับความนิยมนำมาทำเป็นสารสกัดสำคัญในอาหารเสริมคอลลาเจน เพื่อช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ บำรุงผิวพรรณให้กลับมาเปล่งปลั่งสดใส เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสุขภาพที่หาทานได้ง่ายและสะดวก
แต่อย่างไรก็ตามควรเลือกรับประทานอาหารเสริมคอลลาเจนที่มีสารสกัดมากิเบอร์รี่จากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ ได้รับมาตรฐานการผลิตและผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีบุตรยากสามารถติดตามความรู้เกี่ยวการเลือกทานคอลลาเจนสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการเตรียมตั้งครรภ์ที่ไม่ส่งผลเสียต่อกระบวนการเตรียมตั้งครรภ์ ได้ที่ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th หรือ ซักถามข้อสงสัยกับ ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ โดยตรงผ่านทางไลน์แอด @babyandmom.co.th