xs
xsm
sm
md
lg

ปรับพฤติกรรมการรับประทาน ช่วยสร้างสมดุลภูมิคุ้มกัน เลี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Thaihealth Watch พบแนวโน้มคนไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในรอบ 10 ปี เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า โดยเฉพาะคนเมือง “กรุงเทพ – ภาคกลาง” มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด เปิดงานวิจัยพบ กินผักผลไม้ 4 ขีดต่อวัน ธัญพืชไม่ขัดสี ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจาก 3 สาเหตุ “พันธุกรรม-พฤติกรรม-โรค” แนะปรับพฤติกรรมการกิน ตรวจคัดกรองล่วงหน้าก่อนเกิดอาการ  
จากข้อมูลของ Thaihealth Watch ร่วมกับสำนักงานระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เกี่ยวกับสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลังรายเขตสุขภาพ ระหว่างปี 2552 – 2561 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่าทั้งเพศหญิงและชาย โดยในปี 2552 อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในเพศชาย อยู่ที่ 3.6 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 เช่นเดียวกับเพศหญิง ในปี 2552 อยู่ที่ 2.8 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 6.7 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 ที่น่าสนใจคือคนในเขตเมืองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตกทม.ที่มีจำนวนมากที่สุด 15.1 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.9 เท่าในรอบ 10 ปี ตามด้วยภาคกลาง 10.2 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า 

โดยสาเหตุการเป็นมะเร็งลำไส้ที่สำคัญ มาจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง  เฉพาะอย่างยิ่ง การปรับพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ จากรายงาน Food and Agriculture Organization and the World Health Organization (FAO/WHO) พบว่า การบริโภคผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 4-6 ขีด ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในขณะที่รายงานวิจัยด้านอาหารโภชนาการและการออกกำลังกายกับการป้องกันมะเร็ง (The Continuous Update Project : CUP) ตีพิมพ์ปี 2561 พบความสัมพันธ์ระหว่างธัญพืช ผักและผลไม้ต่อความเสี่ยงของมะเร็งพบว่า การบริโภค“โฮลเกรน” หรือธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ และการบริโภคใยอาหารจากผักผลไม้อย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินได้ ซึ่งกลไกการทำงานของใยอาหารยังช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีที่เจริญในลำไส้ใหญ่ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ช่วยเร่งการขับถ่าย ทำให้ไม่มีของเสียค้างในลำไส้ นอกจากนี้การออกกำลังกายจะช่วยระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ได้ในอนาคต 

ทางด้าน ดร.ฮวัง ซอง จู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยระบบภูมิคุ้มกันบำบัด และการใช้แพทย์แผนปัจจุบันรักษาควบคู่กับการคัดสรรอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง มาช่วยปรับสมดุล และป้องกันการป่วยเป็นโรคมะเร็ง และยังเป็นผู้คิดสูตรผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารระดับเซลล์ BS Alexis จากประเทศเกาหลี เสริมว่า จากประสบการณ์การดูแลบำบัดผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จนได้ค้นพบวิธีการและความเป็นไปได้ในการป้องกันโรคใหม่ ๆ ของระบบพันธุกรรม เช่น วิธีการเลือกใช้วัตถุดิบอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป มาช่วยในการรักษาสุขภาพของผู้ป่วย จนถึงสามารถช่วยป้องกันโรคของผู้ป่วยได้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวช่วยปรับสมดุล ในร่างกายของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่บริโภคกากใยอาหาร 

ดร.ฮวัง ค้นพบว่าสารสกัดสำคัญ Aloe Leaves Extract ในเมือกยางของว่านหางจระเข้ ที่ผ่านกระบวนการสกัดอย่างถูกวิธี จะช่วยปรับสมดุลการย่อย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายหลังรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการท้องผูกจนเกิดการดูดซับของเสียจากกากใยอาหาร ตลอดจน Selenium Yeast Extract ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระเร่งการเผาผลาญ ซ่อมแซมระดับเซลล์ เพื่อฟื้นฟูระบบภายในอย่างมีนัยสำคัญ  อีกทั้ง FOS หรือ ฟรุกโตโลลิโกแซ็คคาไรด์ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เกิดในพืช เช่น หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น เป็นน้ำตาลที่ให้พลังงานต่ำ และยังทำหน้าที่เป็น Prebiotics มีส่วนช่วยแบคทีเรียดีในระบบลำไส้ให้ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เหล่านี้จะมีส่วนช่วยปรับสมดุลระบบการย่อยและการดูดซึมของลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีแนวโน้มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย 

“การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อเลี่ยงปัญหาสุขภาพในเวลาที่การทำงานระดับเซลล์เริ่มมีปัญหา  ส่วนการปรับพฤติกรรมการรับประทานเป็นวิธีที่ช่วยปรับสมดุลให้ระบบในร่างกายกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพอีกครั้งหนึ่ง” โดยความเห็นของเขายังมองว่าการใช้ยารักษาอาการเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งยังคงต้องพึ่งระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยด้วยการปรับสมดุลให้การทำงานระดับเซลล์กลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับการรับประทานอาหารที่ครบหมู่จะทำให้สุขภาพของผู้ป่วยค่อยๆซ่อมแซมตัวเองในที่สุด 















กำลังโหลดความคิดเห็น