xs
xsm
sm
md
lg

"เฉินหลง", "มดแดง", "โงกุน" ชื่อผิดระดับตำนาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ฟ้าธานี



การถอดความภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยเป็นเรื่องปกติที่มักจะเกิดความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ ทั้งการออกเสียง และความหมาย จนบางครั้งความผิดพลาดนั้นก็กลายเป็นความเคยชินกันมาจนถึงปัจจุบัน

ตัวอย่างที่คลาสสิคระดับตำนานในบ้านเราก็คงจะเป็นตัวละครที่คนไทยเราคุ้นชินกันในชื่อ "ไอ้มดแดง" นั่นเอง ที่ชื่อภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Kamen Rider (คาเมน ไรเดอร์) ซึ่งก็แปลง่ายๆ ว่านักซิ่งสวมหน้ากากอะไรแบบนั้น

แต่เรื่องนี้สุดท้ายก็กลับกลายมาเป็น "ไอ้มดแดง" ในภาษาไทย

เหตุผลก็คงอาจจะเป็นเพราะหน้าตาของ คาเมน ไรเดอร์ นั้นดูคล้าย ๆ มดก็เป็นไปได้ ทั้งๆ ที่จริงแล้ว คาเมน ไรเดอร์ เป็นมนุษย์ดัดแปลง ที่ผสมคนกับสัตว์หลายๆ ตัวแต่กลับแทบไม่เคยมีมดอยู่เลย แต่คนไทยกลับเลือกซูเปอร์ฮีโร่ตัวนี้ว่าไอ้มดแดงกันจนติดปาก

แม้ในช่วงหลัง ผู้นำเข้ามาจัดจำหน่ายจะพยายามเรียกทับศัพท์ว่า Kamen Rider แล้วก็ตามแต่คนไทยโดยเฉพาะ รุ่นใหญ่ก็คงจะลบคำว่า ไอ้มดแดง ออกจากความทรงจำได้ยากอยู่นิดหน่อย

นอกจากนี้ก็ยังมีตัวละครอื่นๆ ก็ถือว่า คาดเคลื่อนแบบเล็กๆน้อย ไม่สลักสำคัญอะไร อย่าง โดราเอมอน ที่หลายๆคนอาจจะติดปากเรียกว่า โดเรม่อนกันมากกว่า

หรือบางครั้งก็เป็นข้อจำกัดทางภาษา ที่ญี่ปุ่นจะออก เสียงตัววี เป็นตัวบีซูเปอร์ฮีโร่รุ่นพ่อในชุดเกราะเหล็ก ที่ชาวไทยเราเรียกติดปากว่า "เกียบัน" ตามแบบญี่ปุ่น แม้ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า กาเวน (Gavan) แบบชัดๆ ก็ตาม

ส่วนเจ้าชายแห่งดาวไซย่า ก็เลยถูกเรียกว่า เบจีต้า ทั้งๆที่ชื่อภาษาอังกฤษเขียนว่า เวจี้ตา แบบชัดๆเต็มๆ

อย่างไรก็ตาม ถ้าย้อนกลับไปหาการ์ตูนดังแห่งยุคอย่างดราก้อนบอล ก็คงไม่มีตัวละครตัวไหนที่เด็กไทย จะออกเสียงผิดเท่ากับตัวละครพระเอก อย่าง "ซุนโกคู" ว่า "โงกุน" อีกแล้ว

โดยตัวละครตัวนี้สมัยดราก้อนบอลเข้ามาใหม่ๆ คนพากย์คงเห็นว่า การ์ตูนเองก็ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมไซอิ๋วอยู่แล้ว ก็เลยเรียก "โกคู" ว่า "หงอคง" ซะเลย

แต่ที่ยังหาสาเหตุไม่ได้จนถึงปัจจุบันก็คือเมื่อครั้งที่การ์ตูนถูกนำออกอากาศทางช่องเก้า ที่ "โกคู" ถูกพากย์ออกมาเป็น “โงกุน” แบบถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีคำอธิบายว่าทำไมถึงเรียกแบบนี้ แต่เพราะช่องเก้าเป็นทีวีที่เข้าถึงคนทั่วประเทศมากที่สุด คุณจะทำให้ตัวละครตัวนี้ถูกจดจำเป็นโงกุนอยู่นานหลายปีเลยทีเดียว

นอกจากออกเสียงผิดแล้วก็ยังมีการ แปลผิดด้วย ส่วนที่แปลผิดพลาดระดับเป็นตำนานก็มีอยู่เหมือนกัน ก็คือการ์ตูน ซามูไรชื่อดังแห่งยุคเก้าศูนย์ อย่าง "ซามูไรพเนจร" ที่ทำเอาเด็กยุคนั้นงงเป็นไก่ตาแตก

เพราะฉบับหนังสือการ์ตูนฉบับลิขสิทธิ์แปลเอาไว้ว่า ตัวละครเคนชิน ต้องสูญเสียพ่อแม่ไปเพราะโดนกอลิล่าฆ่าตาย ซึ่งทำเอาคนอ่านยุคนั้น แปลกใจเล็กๆ เหมือนกัน เพราะการ์ตูนย้อนยุคญี่ปุ่นที่ดูจริงจัง แบบนี้ไม่น่าจะมี เนื้อหาแบบนี้อยู่ในเรื่อง

ก่อนที่หลายปีต่อมาจึงมีฉบับแปลใหม่ แก้ไข เอาไว้ว่าพ่อแม่ของเคนชินไม่ได้ถูกลิงขนาดใหญ่อย่างกอริลลาฆ่าแต่อย่างใด แต่ตายเพราะโรค อหิวาตกโรค หรือ โคเลรา ต่างหาก

นอกจากชื่อญี่ปุ่นแล้ว ทางเกาหลี คนไทยก็เคยเรียกผิดๆ มานานเหมือนกัน อย่างดาราเจ้าของฉายายัยตัวร้าย ที่สมัยแรกเรียกกันแบบ อาตามภาษาอังกฤษ แบบเดามั่วเอาว่า “จวนจีฮุน”

ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่าในยุคดังกล่าวยังเป็นยุคที่เกาหลียังไม่ได้ฮิตระดับโลกขนาดนี้ คำว่า "ฮยอน" คนไทยก็ยังไม่รู้จักอย่างแน่นอน ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้กันมั้ยว่า ชื่อของเธอต้องอ่านว่า จอนจีฮยอน หรือถ้าจะเอาแบบใกล้ ๆ ต้นฉบับหน่อยก็น่าจะเป็น “ช็อน จี-ฮย็อน”

ที่ออกเสียงผิดกันบ่อยๆอีกอย่างก็คือชื่อของดาราจีนอันนี้ คงจะไปตำหนิกันไม่ได้เพราะคนไทยกับภาษาจีนบางครั้งก็ไม่ออกเสียง กันได้อย่างง่าย แถมกันเขียนชื่อคนจีนเป็นภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ออกเสียงตามที่สะกด ตรง ดาราดังอย่าง "จาง จื่ออี๋" ก็เลยกลายเป็น "จางซิยี่" ในความทรงจำของคนไทย

แต่ที่น่าจะเรียกว่าเป็น ความผิดพลาดระดับตำนาน ผิดกันมานานจนน่าจะแก้ไขไม่ได้แล้วก็คือชื่อของดาราคนหนึ่ง ที่คนไทยส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่าเขาไม่ได้ชื่อว่า "เฉินหลง" แต่อย่างใด

เพราะจริงๆ แล้วเขาคนนี้มีชื่อว่า "เฉิน กั่งเซิง สมัยเป็นนักแสดงงิ้ว ใช้ชื่อในการแสดงว่า "หยวนหลอ" แล้วเฉินหลงมาจากไหน?

ความน่าจะเป็น ที่มากที่สุดก็คือในตอนที่เขาเริ่มจะแจ้งเกิด และได้รับบทนำในหนัง มังกรหนุ่มคะนองเลือด ซึ่งเป็นภาคต่อของ ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง งานระดับคลาสสิกของ บรูซ ลี ผู้สร้างชาวฮ่องกงอยากจะให้เขาชื่อคล้าย บรูซ ลี หรือที่มีชื่อจีนว่า หลี่ เสี่ยวหลง ก็เลยตั้งชื่อในการแสดงตอนนั้นให้ว่า "เฉิงหลง" ประมาณว่าเป็นมังกรคนใหม่ของวงการหนังฮ่องกงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ชื่อนั้นต้องอ่านว่า "เฉิงหลง" หรือ ไม่ใช่ "เฉินหลง" แต่อย่างใด แต่คนไทยเอาจจะเอามาบนกับ "แซ่เฉิน" ที่เป็นแซ่จริงของเขา ก็เลยติดปากเรียกว่า เฉินหลง กันมาจนถึงปัจจุบัน

เพราะฉะนั้นถ้าคุยกับคนจีนเรียกว่า เฉินหลง พวกเขาก็คงจะคิดถึง นักแบดชื่อดังที่ชื่อว่า เฉินหลง ของจริงมากกว่า

แต่ถ้าเจอตัวจริง แล้วจะเลือก เฉินหลง ก็คงไม่ผิดอะไร เพราะเจ้าตัวที่เคยมาอยู่เมืองไทยเพื่อเล่นงิ้ว แถมโปรโมทหนังหลายรอบ จนรู้แล้วว่าคนไทยเรียกเค้าว่าอะไร ถ้าพูดว่าเฉินหลงกับเจ้าตัว เขาคงจะรู้ทันทีว่าหาแฟนคลับคนนี้มาจากเมืองไทยอย่างแน่นอน











กำลังโหลดความคิดเห็น