รายการโหนกระแสวันที่ 4 ก.พ. 64 "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 เปิดใจสัมภาษณ์ "สุชาติ ชมกลิ่น" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรณีผู้ประกันตน มาตรา 33 เตรียมรับเงินเยียวยา โครงการ "ม. 33 เรารักกัน" คนละ 4 พันบาท แบ่งให้สัปดาห์ละ 1 พัน ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร
ที่มาที่ไปโครงการ ม.33 เรารักกัน ทำไมถึงชงเข้าครม.?
"กราบเรียนอย่างนี้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐบาลได้กำชับให้ไปกระทรวงแรงงานหารือท่านรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง, เลขาสภาพัฒน์, ท่านรองนายกฯ หารือให้ตลกผลึก นโยบายท่านนายกฯ อยากช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้แรงงานมาตรา 33 จะให้ออกมาในรูปแบบไหน ผมก็ไปหารือมาอาทิตย์นึง อย่าลืมว่าก่อนหน้านี้มีโครงการเราชนะ เขามีมาตรการให้เดือนละ 3,500 สองเดือน 7 พัน แล้วใช้แอปฯ เป๋าตัง มีรายได้ไม่เกิน 3 แสนบาทต่อปี มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสน ทีนี้ปัญหาคือมีรายละเอียดตรงนี้ พอมาถึงมาตรา 33 ประเด็นเกิดที่ว่าหนึ่งบริษัทจำกัดหรือบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มหาชนต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นความลับที่สุดคือเรื่องเงินเดือน ถ้าผมเอารายได้ 3 แสนบาทมาจัด ผมมีเงินเดือน 2.5 หมื่น ผมได้รับการชดเชย สมมต 7 พัน แต่พี่หนุ่มได้ 2.5 หมื่น นั่งทำงานด้วยกัน ตำแหน่งเดียวกัน แต่พี่ไม่ได้รับ ผมรู้ทันทีพี่เงินเดือนมากกว่าผม ก็จะรู้สึกว่าเอ๊ะทำไมเงินต่างกันแค่พันนึง ทำไมถึงไม่ได้ ปัญหาจะเกิดคือแตกความสามัคคีในที่ทำงาน และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการปวดหัวแน่นอน เพราะความลับเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือนจะแตกออกมาทั้งหมด นี่เป็นปัญหาที่ผมนำเรียนท่านนายกฯ ท่านก็ฟันธงมาเลยว่าว่าเอาให้จ่ายเท่ากัน ม.33 เรารักกัน ท่านนายกฯ เป็นคนคิดเลย เพราะท่านพูดอยู่คำนึงว่า เรารักกัน และเราจะไม่ทิ้่งใครไว้ข้างหลัง นี่คือคำที่นายกฯ พูด"
สรุปเบ็ดเสร็จแล้ว 4 พันหรือ 7 พัน?
"ตอนแรกจะให้ 7 พัน แต่ได้แค่ 5 ล้านกว่าคน เรามี 11 คน ตัดกับผู้ใช้แรงงานไม่ใช่สัญชาติไทยออกไปล้านนึง และกลุ่มที่มีสวัสดิการแห่งรัฐล้านนึง เหลือ 9 ล้าน 3 แสน คน ถ้าจ่าย 7 พันเท่าโครงการชัยชนะ จะมีคนไม่ได้ประมาณ 4 ล้านคน อันนี้เกิดปัญหา เรื่องความสามัคคีด้วย ก็เลยขอท่านนายกฯ ว่าไม่เอาเกณฑ์เงินเดือน เอาเป็นเกณฑ์เงินฝาก เป็นกติกาที่เราใช้เงินก้อนเดียวกับเราชนะ ก็ใช้มาตรฐานคล้ายๆ กัน"
คำว่ากติกาเงินฝากในที่นี้คืออะไร?
"เงินที่รัฐบาลนำมาช่วยพี่น้องหรือผู้ใช้แรงงาน หรือนำมาช่วยกลุ่ม 31 ล้านคนเราชนะ เขาดูจากรายได้ ค่าใช้จ่ายที่คงที่ แต่รายได้ลดลง และไม่มีเงินเก็บ ไม่มีอะไรช่วยเหลือในยามฉุกเฉินได้ ทางรัฐบาลมองว่าถ้าไม่เอาเกณฑ์เงินฝากมาจาย ปัญหาคือเม็ดเงินที่เรามีอยู่ ไม่เพียงพอช่วยเหลือทุกคนได้หมด เราก็เลยว่า ในมาตรา 33 เราขอยกให้คนมีเงินฝากเกิน 5 แสนเป็นพี่เบิ้ม เสียสละให้น้องๆ ในครอบครัวเดียวกันในมาตรา 33 เพราะเงิน 4 พันไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ที่เขามีอยู่ น่าจะอลุ่มอล่วยได้"
ถ้าใครมีเงินในบัญชี 5 แสน 4 พันนี้อาจไม่ได้ แต่บางคนอาจน้อยใจ อาจไม่ได้เป็นเงินจากการทำงานแล้วเก็บ อาจเป็นเงินได้จากคุณพ่อแล้วเก็บต่างๆ นานา?
"เจตนารมณ์คือต้องการช่วยคนที่กำลังประคองตัวเองไม่ได้ ถ้าท่านมีเงินฝาก 5 แสน เชื่อว่าท่านมีจิตใจที่เป็นกุศลดีกว่า ถ้าไม่ได้ 4 พันไม่ได้ทำให้ท่านรวยขึ้นหรือจนลง เพราะท่านมี 5 แสนอยู่แล้ว และเราช่วยแค่เดือนเดียว 4 พัน ผมอยากให้รู้สึกว่าเงินไปสู่คนลำบากจริงๆ ผมเลยต้องขออนุญาตตรงนี้ และต้องเชิดชูกลุ่มนี้ไว้ ว่าขอความเห็นใจ ไม่งั้นเราให้ทุกคนไม่ไหว อย่าโกรธกันเลย เราดิ้นหาทางที่ดีที่สุดแล้ว"
11 ล้านสิทธิ์ เฉลี่ยแล้วเข้าหลักเกณฑ์ 9 ล้านคน แล้วคนมีเงิน 5 แสนคิดว่าตัดไปกี่คน?
"ผมว่ามีไม่เกิน 2 แสนคน เพราะผมเชื่อว่าคนมีเงินเดือน 5-6 หมื่น รายจ่ายเขาก็ต้องสูงตาม สมมติมีเงินแสนนึง ส่งลูกเรียนอินเตอร์ ค่าใช้จ่ายสูงอยู่แล้ว อย่างผมมีเงินเดือน 2.5 หมื่น ผมก็ให้ลูกเรียนโรงเรียนรัฐบาล สรุปแล้วสิ้นเดือนไม่เหลือเหมือนกัน"
หลักเกณฑ์ในการป้องกัน คนมีเงิน 5 แสน แล้วเขาอยากได้ เขาถอนเงินออกไป?
"น่าจะเอาเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังจัด คือสิ้นปี 63 เป็นมาตรการที่กระทรวงการคลังเข้ามาช่วยเพราะเราไปขอเงินกระทรวงการคลัง ไม่ได้เอาเงินกองทุนประกันสังคม ไม่เชิงเป็นการป้องกัน เพราะเราคนไทยช่วยกัน แต่เราทำเพื่อให้มีกรอบ ให้มีหลักเกณฑ์มากกว่า"
เช็กยังไง?
"กระทรวงการคลังมีกฎหมายดูแลเงินฝากอยู่แล้ว"
แสดงว่าสามารถเข้าไปดูในระบบฐานเงินเขาได้เลยเหรอ?
"เรียนตรงๆ ว่าผมก็ไม่ได้แม่นตรงนี้ เพราะเป็นส่วนกระทรวงการคลัง ผมขอแค่เข้าเกณฑ์นี้เกณฑ์เดียว ทุกอย่างขอเงินจากกระทรวงการคลัง"
มันจะมีปัญหาตามมามั้ย บางคนบอกทำแบบนี้ก็ต้องมีการเจาะบัญชีเขาเข้ามาสิ ถึงได้รู้ว่ามีเงินเท่านี้ๆ?
"ผมว่าเป็นการคุ้มครองเงินฝากมากกว่า เป็นเรื่องกฎหมายคุ้มครองดีกว่า"
4 พันรับยังไง?
"อาทิตย์ละพัน คล้ายกับเราชนะ เพราะเงินมาก้อนเดียวกัน โอนเข้าแอปฯ เป๋าตัง ธนาคารกรุงไทย อาทิตย์ละพัน แต่กรอบการใช้ ที่นายกฯ บอกว่าให้กรอบเดียวกับเราชนะ คือ 31 พ.ค. ทีแรกคิดว่าสองเดือนเหมือนกันมั้ย ถ้าสองเดือนปัญหาคืออาทิตย์ละ 500 จับต้องอะไรได้น้อย ก็เลยตกอาทิตย์ละพัน"
ต้องสมัครที่ไหน?
"วันนี้บ่ายสาม ผมจะเจอธนาคารกรุงไทย ข้อมูลมาตรา 33 กระทรวงแรงงานมี เราจะออโต้ไปหาโดยตรง แต่ต้องหารือ แต่อย่างน้อยๆ ต้องมีแอปฯ เป๋าตัง ไม่งั้นเงินจะเข้าไปไม่ได้ กระบวนการขั้นตอนพรุ่งนี้จะไปคุยอีกรอบในขั้นตอนปฏิบัติ"
หลักเกณฑ์แล้วเขาควรต้องได้ทั่วถึง 9 ล้านคน?
"ได้ครบแน่นอน ไม่ต้องแย่งกันลงทะเบียน เพราะเรามีฐานข้อมูลอยู่"
เงินส่วนนี้ไม่มีการไปตัดจากเงินสมทบ?
"ไม่มี กองทุนประกันสังคมอยู่เหมือนเดิม เงินชราภาพ เงินอะไรอยู่เท่าเดิม อันนี้ไม่เกี่ยว กระทรวงแรงงานได้เงินจากรัฐบาล"
ไม่ใช่เงินประกันสังคมที่จ่ายไป?
"ไม่ใช่ นี่เป็นเงินกู้ 1 ล้านล้าน ที่รัฐบาลได้กู้มาตอนเกิดโควิด 1 ล้านล้านสภาพวันนี้คือ 31 ล้านคนใช้ 2 แสนล้าน เราชนะ กระทรวงแรงงานมาตรา 33 ใช้อีก 4 หมื่นล้าน ก็เป็น 2 แสน 4 หมื่นล้าน เงิน 1 ล้านล้านเหลืออีก 3 ก้อน ก้อนนึงแบ่ง 4 ส่วน แล้วเงิน 2 แสน 4 หมื่้นล้าน ยังไงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในไตรมาส 2 ไตรมาส 3"
ในมุมแรงงานในระบบเขาอาจบอกได้หรือเปล่าว่าเงินเขาได้น้อยถ้าเทียบกับเราชนะ?
"ตอนเราพยายามแก้ปัญหา ต้องยอมรับว่าครั้งแรกตอนปิด 3 เดือนล็อกดาวน์ ทางมาตรา 33 ไม่ได้ ตอนนั้นเราไม่มีเม็ดเงินมาช่วย แต่วันนี้นายกฯ มองว่าให้มาตรา 33 ด้วย แต่เม็ดเงินไม่สามารถให้เท่า 7 พันได้ เพราะเราต้องมีเงินไปฟื้นฟูส่วนอื่นๆ ของประเทศด้วย รวมทั้งแก้ปัญหา ควบคุมการแพร่ระบาด ผมเองก็ใช้กองทุนประกันสังคมมาช่วยบรรเทาแทน เช่นพี่หนุ่มส่ง 750 ต่อเดือนสูงสุด ผมให้ส่งแค่ 75 บาท 2 เดือน ก็จะเหลือเงินใส่กระเป๋าอีก 1.3 พัน ถ้ามีลูก เขาให้ดูแลเดือนละ 600 ต่อคน ได้ 3 คน 1-6 ปี ผมเองก็ให้กองทุนประกันสังคมผ่านบอร์ดให้ไป 800 เพิ่มอีกคนละ 200 อันนี้ก็ช่วยอีกส่วนหนึ่ง และอย่างเช่นวัคซีน ไข้หวัดใหญ่คนที่อยู่ในมาตรา 33 ต้องไปฉีด ความเสี่ยงในการเป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ก็ให้ฟรีอีก พยายามลดค่าครองชีพช่วยหลายๆ ทาง ผมก็ไปคุยกับพ่อค้าปลีกใหญ่ๆ ในประเทศไทย ให้มาตรา 33 ไปซื้่อของลด พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนทำประกันตน มีสิทธิ์มีเสียงเท่า 7 พันบาท แต่ก่อนสรุปออกมาผมก็มีกลุ่มสหภาพ กลุ่มผู้นำสภา ลูกจ้างทั้งหมด ก็หารือว่ามาซ้ายหรือขวา ทุกคนมุ่งมาที่ขวาหมด ทุกคนรักเพื่อน รักคนในมาตรา 33 ก็เลยขอว่าได้บ้าง แต่ขอให้เท่ากัน เลยเกิดมาเป็นแบบนี้"
เงินกู้ภาครัฐ 1 ล้านล้านบาท มีการกระจายไปแล้วก่อนหน้านี้ เราชนะ 2 แสนกว่าล้าน ถ้าขอเพิ่มอีกสักนิด จ่ายเขาเท่ากับเราชนะไม่ได้เหรอ?
"ตรงนี้เป็นเรื่องระบาดรอบสอง รอบแรกที่กู้มาจากภาพรวมรัฐบาล มีบางส่วนที่อนุมัติโครงการต่างๆ ไปแล้ว เช่น จ้างงานเด็กจบใหม่ ถ้าไปดึงโครงการนี้มา เด็กที่จะจบเม.ย. นี้่ทำไง ก็กระทบอีก"
อยากได้เงินสด?
"ภาพรวมเศรษฐกิจต้องการให้หมุน 5 รอบ เป็นเงินจีดีพี จะเติบโตในประเทศ จะช่วยเหลือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าเป็นเงินสดจะไม่ได้รอบ แต่ถ้าอยู่ในแอปฯ เอาไปซื้่อของ แม่ค้าคนขายของก็ได้เงินด้วย หรือนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ต้องเสียเงิน อะไรประมาณนี้"
เดือนหน้าให้จ่าย 75 บาทสำหรับลูกจ้าง สองเดือน?
"ตอนแรกเรามองว่าถ้าเราไม่ไปรบกวนเงินกู้รัฐบาล เราพยายามช่วยตัวเองก่อน เลยออกนโนบายนี้ สองเดือนก็เหลือเงินพันกว่า โดยเราพยายามแก้ปัญหา เราก็กรงใจในสิ่งที่เราต้องไปเอาเงินกู้รัฐบาล เพราะเรารู้ว่ารัฐบาลก็มีภาระต่างๆ ที่วางไว้ พอเสียงเรียกร้องหลายๆ คนในมาตรา 33 นายกฯ เลยสั่งให้ไปดู ตัว 75 ออกมาก่อน ก็มาถึงตัวนี้เป็นต่อที่สอง แต่เชื่อมั้ย 750 จ่าย 75 บาท เคยทำตอนที่ 750 จ่าย 300 มาแล้วรอบนึง แต่ละรอบใช้เม็ดเงินกองทุนหายไป 2 หมื่นกว่าล้าน สามเดือน ถ้าผมเอาเงินกองทุนประกันสังคมออกมาจ่ายได้โดยไม่ผิดพ.ร.บ. กฎหมายกองทุน ผมจ่ายไปตั้งแต่ต้นปี 63 แต่ช่วยแบบไม่เห็นภาพ ลดรายจ่าย ช่วยเพิ่มดูบุตร คลอดบุตร แล้วที่สำคัญที่สุด ตอนเกิด 62 เปอร์เซ็นต์ที่ชดเชยครั้งแรก ที่หยุดงาน 3 เดือน อันนั้นใช้เงินไปหมื่นห้าพันกว่าล้าน อันนั้นเราพึ่งกองทุนไม่ผิดกฎหมาย ใช้ได้ เพราะเหตุสุดวิสัยในการหยุดงาน พอรอบนี้เกิดขึ้นมาอีก เราจ่ายไปเกือบ 400 ล้าน อย่าลืมเราต้องเตรียมเม็ดเงินตรงนี้ด้วย"
ถ้าบางคนมีพันธบัตรแต่ไม่มีเงินในบัญชี?
"ส่วนนี้ตรรกะความเป็นจริง เขาดูเงินฝาก อันนี้ไม่ถือเป็นเงินฝาก แต่เป็นเงินลงทุน ผมเชื่อว่าไม่ได้คิดแน่นอน เหมือนโครงการเราชนะ ใช้เกณฑ์เดียวกัน เราคิดว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง เพราะเงินลงทุนมีได้มีเสีย"
อาจจะยกเว้น?
"เฉพาะเงินฝาก นี่จะเสนอไปกระทรวงการคลัง ไม่เกี่ยวกับพันธบัตร ผมว่าน่าจะได้ หลักการเดียวกันกับเราชนะ"
เงินสมทบชราภาพ?
"ปีนี้เราดูจากผลการลงทุนของเรา ขนาดเศรษฐกิจไม่ดี มีกำไรประมาณ 5 หมื่น 9 พันล้าน แต่เงินกำไรไปปันส่วนมาจากกองไหนก็ไปเข้ากองนั้น กองทุนชราภาพโตขึ้นเรื่้อยๆ ต้นทุนจริงๆ ที่เคยคำนวณน่าจะอยู่ที่ 1.3 - 1.4 ล้านล้าน แต่ตอนนี้มี 1.8 ล้านล้าน ทำให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน เวลาชราภาพแล้วได้สูงขึ้น เราโชคดีที่วันที่นายกฯ ดำรงตำแหน่ง กองทุนมีการตกค้างรัฐบาลไหนไม่รู้ ทุกวันนี้สมทบปีละ 4 หมื่นกว่าล้าน สมทบเข้ามาที่กองทุน ผมถึงบอกว่ามาตรา 33 ได้เงินสมทบจากรัฐบาลด้วย และรัฐบาลใช้หนี้ของเก่าอีกปีละหมื่นกว่าล้าน ทำให้กองทุนจากที่รัฐบาลในอดีตค้างแสนกว่าล้าน เหลือ 6 หมื่นล้าน เราก็มีเงินตรงนั้นไปลงทุนเพิ่มอีก"
กรณีเงินกู้ชราภาพ กู้มาแล้ว เวลาใช้ต้องมีดอกด้วยเหรอ เหมือนกู้เงินเราออกมาเอง?
"ยังไม่ถึงขั้นนั้น อยู่ในขั้นตอนที่พ.ร.บ. นิยามกองทุนเขาให้ใช้เป็นบำนาญตอนอายุ 55 สมมติมีเงินชราภาพแสนนึง อาจได้เดือนละ 3 - 4 พัน ก็แล้วแต่ ซึ่งจะได้จนเสียชีวิตเลยนะ นี่คือส่วนที่จะได้อีก 10-20 ปี โดยเงินเรามีแสนเดียว อย่างของพี่หนุ่มมี 3.5 หมื่น รัฐบาลส่วนนึง นายจ้างส่วนหนึ่ง เราดูจนเสียชีวิต ถ้าอายุยืน พูดง่ายๆ คือการลงทุนก็คือกำไร"
เป็นดอกที่ยอมเสียบ้าง?
"ผมกำลังบอกว่ากองทุนชราภาพ ตอนนี้ยังเอาออกมาไม่ได้ เพราะติดพ.ร.บ. นิยามคือให้เป็นเงินบำนาญ พอเกิดวิกฤตโควิด ท่านนายกฯ มองว่ากระทรวงไหนที่กฎหมายล้าสมัยก็ปรับให้ทันสมัย ผมนั่งคิดว่าไม่มีเงินใช้ มีเงินอยู่ก้อนนึงคือเงินชราภาพ แล้วจะทำยังไงเอาออกมาได้ ต้องแก้พ.ร.บ. ผมตั้งคณะกรรมการมา 3 ครั้ง มีคุณหมอที่ประท้วงบ่อยๆ อยู่ในนี้ แต่พอประชุมเสร็จแล้วได้ข้อสรุปคือ กองทุนชราภาพ ไม่เคยเอาออกมาทำอะไรได้ เพราะผิดกฎหมายพ.ร.บ. ผมแก้หนึ่งคืนให้ 30 เปอร์เซ็นต์ แสนนึงคืนให้ 3 หมื่น สองกู้ได้ ถ้าคืนจะมีปัญหาเศรษฐกิจฐานล่าง ต้องขายพันธบัตร ขายหุ้นเอาเงินมาจ่าย สมมติกู้ธนาคาร ร้อยละ 2 ต่อปี มันก็ไม่ได้เยอะ บางคนไม่กู้ เงินชราภาพก็ออกดอกออกผลไปเรื่อยๆ"
เงินชราภาพ ถ้าได้มาแล้ว เราจะได้เบี้ยชราจากภาครัฐอีกมั้ย?
"เราให้ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เราคิดว่าจะเอาออกมาให้ได้ ถ้าแก้กฎหมายเสร็จ สมมติถ้าแสนนึงให้แค่ 30 เปอร์เซ็นต์ อีก 7 หมื่นยังอยู่ในเงินชราภาพ อายุมาก บำนาญก็ได้อยู่แต่ได้น้อยลง"
ไม่ได้ให้เลือกรับ?
"มันมีเหตุการณ์อีก วันนี้ข้อที่สามที่เราแก้ บางคนทำงานอายุ 40 แล้วออกจากระบบ ต้องอายุมากๆ ถึงได้เงิน ก็ให้เขาเลือกรับ บำเหน็จก็บำเหน็จไป แต่ทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนกฎหมายหมด ไม่งั้นเรายุ่ง"
เงินกู้ 1 ล้านล้านเหลือเท่าไหร่?
"ต้องถามคลังหรือเลขาสภาพัฒน์ เพราะเขาดูแลเงินก้อนตรงนี้ แต่ที่รู้สิ่งหนึ่งที่เอาเงินกู้มาใช้ อย่างหน่วยงานรัฐจ้างงาน 6 หมื่นอัตราก็ใช้เงินตรงนี้ เงินไปอยู่เรื่องบุคลากรทางการแพทย์ วัคซีน เรื่องฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทุกมิติที่ผมรู้"
มันเป็นการแบ่งเค้ก กระทรวงนี้ๆ?
"ไม่ใช่ ไม่ใช่แบ่งเค้ก เป็นการช่วยเหลือนศ.จบใหม่ โครงการทุกกระทรวงทบวงกรมก็ทำโครงการ แต่ผ่านไม่ผ่านตอบโจทย์ไม่ตอบโจทย์ มีสภาพัฒน์ดูแล"
ได้เงินส่วนนี้ไปเยียวยา?
"อย่างเกษตรก็มีส่วนต้องจ้างชาวบ้านที่ว่างงาน ก็มีอยู่ตรงส่วนนี้ด้วย เชื่อนะในตรรกะการเก็บเงิน เขาไม่เอามาใช้หมดหรอก เพราะถ้ามีเหตุการณ์อีกรอบ ก็ต้องขยักไว้ก่อน หลายๆ อย่างต้องมีการวางแผน ผมก็ไม่กล้าก้าวล่วงข้ามกระทรวง"
กู้เพิ่มอีกมั้ย?
"ส่วนนี้ผมพูดไม่ได้ (หัวเราะ) เพราะผมไม่รู้ตัวเลข"
แต่ ม. 33 เรารักกันเกิดขึ้นแน่ๆ แต่ไม่ได้เป็นเงินสด เป็นเงินในแอปฯ เอาไปใช้จ่ายให้เกิดระบบหมุนเวียน?
"ใช่ครับ"