เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา อย.สหรัฐฯ อนุญาตให้ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน สื่อสารผลิตภัณฑ์ ในฐานะผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง (Modified Risk Tobacco Product: MRTP) ระบุ กระบวนการทำงานโดยการให้ความร้อนกับใบยาสูบแทนการเผาไหม้ใบยาสูบ ช่วยลดอันตรายจากควันยาสูบโดยตรง
โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาได้ผ่านขั้นตอนการขออนุญาตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ Pre-Market Tobacco Application (PMTA) ได้สำเร็จ และถือเป็น ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนประเภทแรกที่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายได้ในสหรัฐอเมริกา และเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนประเภทแรกที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ข้อความ “ลดการได้รับสารอันตรายได้” ในการสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แต่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.สหรัฐฯ ให้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง (MRTP)
องค์การอาหารและยา (US-FDA) หรือ อย.สหรัฐ ระบุในเอกสารเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ว่าทางผู้ผลิตได้ส่งข้อมูลที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการทำการตลาดผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน โดยสื่อสารข้อความที่ได้รับอนุญาต สามารถช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่เปลี่ยนจากการสูบบุหรี่มาใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และจะช่วยลดการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างถาวร โดยไม่เปลี่ยนสลับกลับไปสูบบุหรี่อีก
การอนุญาตนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีการตรวจสอบทำการศึกษาเพิ่มเติม โดย อย.สหรัฐฯ ระบุว่า บริษัทผู้ผลิตจะต้อง “ดำเนินการศึกษาติดตามผลหลังการขาย” เพื่อพิจารณาว่า MRTP ยังคงเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ในการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่มเยาวชนด้วย
สหรัฐอเมริกา อยู่ในกลุ่มประเทศที่เน้นนโยบายแก้ปัญหาโดยใช้ทางเลือก แทนการแบนอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับ นิวซีแลนด์และอังกฤษ ในการแก้ปัญหาลดอัตราการเสพติดบุหรี่แบบมวน ซึ่งมีผลเสียหลายด้านและรุนแรงต่อสุขภาพ โดยเปิดทางเลือกให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงและใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ตามกฎหมายควบคุมมาตรฐานที่ชัดเจนของหน่วยงาน องค์การอาหารและยา (US-FDA) แทนการห้ามอย่างเด็ดขาด ซึ่งพบว่าช่วยอัตราการสูบบุหรี่ลดลง
มร. มิทช์ เซลเลอร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ อย. สหรัฐ กล่าวถึงการอนุญาตให้สื่อสารผลิตภัณฑ์ฯออกสื่อว่า “การอนุญาตให้สื่อสารด้วยข้อมูลตามที่ อย. สหรัฐฯ อนุญาต จะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ตัดสินใจเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ และลดการสัมผัสหรือได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ได้”
ในส่งข้อมูล ที่ อย.สหรัฐฯ อนุญาตให้ สามารถสื่อสารผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคได้ มี 3 ข้อความดังนี้
- ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของบริษัทฯ ดังกล่าวเป็นการให้ความร้อนแก่ยาสูบ แต่ไม่มีการเผาไหม้
- ลดการเกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายและอาจเป็นอันตรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
- การศึกษาทางวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่มวนแบบเดิมมาเป็นผลิตภัณฑ์ไร้ควันที่ได้รับอนุญาตนี้ สามารถลดการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายและอาจเป็นอันตรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
โดยมีหมายเหตุสำคัญที่ทาง อย.สหรัฐฯ ไม่ละเลยต่อผู้บริโภคว่า การอนุญาตครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ายาสูบไร้ควันปลอดภัย แต่เป็นทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่าสำหรับผู้สูบบุหรี่ได้
“ทาง อย. จะติดตามดูการใช้ของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตรงกับศักยภาพและไม่เพิ่มการใช้ของเด็กและเยาวชน ที่สำคัญที่ควรทราบคือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ปลอดภัย ดังนั้นประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบอยู่แล้ว ไม่ควรจะริเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์นี้หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่น ๆ” มร. มิทช์ เซลเลอร์ กล่าว
ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ Pre-Market Tobacco Application (PMTA) นี้ ยังมีวางจำหน่ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทย มาตรการสาธารณสุขด้านการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ในประเทศไทย ยังคงใช้กฎหมายการห้ามเด็ดขาด หรือแบนการนำเข้า การจำหน่าย และการให้บริการ ผลิตภัณฑ์ไร้ควัน ซึ่งรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์แบบไม่เผาไหม้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 มีผลกระทบต่อการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไร้ควันอย่างความคาดเคลื่อน สร้างความไม่แน่ใจและวิตกกังวลให้กับผู้สูบบุหรี่ และเอื้อให้เกิดช่องทางการค้าขายที่ผิดกฎหมาย การลักลอบใช้งานอย่างผิดๆ ขาดการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและบริการ รวมทั้งเกิดการหลีกเลี่ยงภาษี เป็นผลเสียด้านเศรษฐกิจอีกด้วย