สตรีมมิง Hooq ที่เน้นลูกค้าหลักในแถบอาเซียนได้ประกาศปิดกิจการแล้ว หลังดำเนินงานมาได้ 5 ปี และมียอดผู้ใช้ที่น่าพอใจทีเดียว
"เรื่องราวต่างๆมีจุดเริ่มต้นและก็ต้องมีจุดสิ้นสุดด้วยเช่นกัน มันอาจจะเป็นการจบอย่างถาวรหรือจบในตอนก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าวันนี้เรื่องราวและการเดินทางตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของฮุค ในการมอบบันเทิงที่หลากหลายได้กำลังสิ้นสุดลง แต่ทว่าความทรงจำดีๆที่เราได้ร่วมกันบันทึกร่วมกันมานั้น เราจะเก็บเอาไว้ในหัวใจและจะไม่ลืมเลือนมันไป"
"ขอบคุณที่ได้อยู่ร่วมกันมา, ขอบคุณสำหรับการสนับสนุน, ขอบคุณสำหรับทุกอย่าง, เพราะถ้าไม่มีคุณ ฮุคจะไม่มีทางเดินทางมาได้ไกลจนถึงทุกวันนี้ ขอกล่าวคำอำลาคนไทยทุกท่านมา ณ ที่ตรงนี้ ด้วยรักจากหัวใจ #ขอบคุณจากใจขอบคุณคนไทยที่ติดตาม"
เป็นคำกล่าวลาของ HOOQ ประจำประเทศไทย หลังผู้ให้บริการสตรีมมิงรายนี้ประกาศยุติการดำเนินกิจการ
ธุรกิจสตริมมิงเปลี่ยนไปเมื่อยักษ์ใหญ่เข้ามาในภูมิภาค
HOOQ เริ่มดำเนินกิจการในปี 2015 และเกิดจากการก่อตั้งโดย Singtel จากสิงคโปร์ ร่วมด้วย Sony Pictures และ Warner Bros. นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับ Hotstar ของ Disney และ Grab กับ VideoMax ของอินโดนีเซียด้วย
ในช่วงเวลานั้น Netflix ยังไม่ได้บุกตลาดเอเซียต่างเต็มตัว จึงเป็นโอกาสของ HOOQ ที่จะทำตลาด และขายฐานลูกค้า
โดย HOOQ ให้บริการความบันเทิงหลายรูปแบบ มีทั้งหนัง และซีรีส์จากฮอลลีวูด รวมถึงรายการทิ้งถิ่นอย่างซีรีส์ กับหนังฮิต ๆ จากเกาหลี และญี่ปุ่น เพื่อหวังดึงดูดลูกค้าท้องถิ่น นอกจากนั้นก็ยังมีการผลิตเนื้อหาของตัวเองด้วย จนตลอด 5 ปี ที่ผ่านมาสามารถหาสมาชิกได้ถึง 80 ล้านเหรียญฯ
แม้รายได้ของ HOOQ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงมากก็ทำให้ HOOQ ขาดทุนมาตลอด โดยเชื่อว่าในปี 2019 HOOQ ขาดทุนสะสมสูงถึง 220 ล้านเหรียญฯ
ซึ่งทาง HOOQ ก็ยอมรับว่าตลาดผู้ให้บริการวิดิโอสตรีมมิงได้เปลี่ยนไปแล้ว การเข้ามาขของบริการใหญ่ระดับโลกหลาย ๆ เจ้าทำให้การแข่งขันในธุรกิจนี้สูงมาก จน HOOQ ต้องเลือกที่จะปิดกิจการลงในวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา