xs
xsm
sm
md
lg

อาหารเลิศรสเท่านั้นที่ไม่ทำให้ผิดหวัง “ต้าหมิงบนปลายลิ้น” กับซีรี่ส์กระแสแรงใน “รัชศกเฉิงฮว่าปีที่สิบสี่” รับชมได้ทาง iQIYI เท่านั้น

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งอาหารอร่อย คนไทยมุ่งมั่นในการเสาะหาอาหารอร่อยทาน ซีรี่ส์ “รัชศกเฉิงฮว่าปีที่สิบสี่” ที่กำลังฉายอยู่ในช่วงนี้ จึงถูกชาวเน็ตหยอกล้อว่าเป็น “ต้าหมิงบนปลายลิ้น” เพราะมีฉากเกี่ยวกับอาหารปรากฏมากมาย เกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียของไทย ความจริงไทยกับจีนได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้าน “อาหาร” มาช้านาน โดยแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดมากขึ้นนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ตอนกลาง ความนิยมการล่องใต้และการเข้ามาของชาวจีนจำนวนมากล้วนส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมด้านอาหารของไทยเป็นอย่างมาก อย่างเป็ดปักกิ่งก็เป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในวันปีใหม่และพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษในไทย

อาหารไทยและอาหารจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน อาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันยังมีความสัมพันธ์ทางตรงไม่ก็ทางอ้อมกับอาหารจีนอีกด้วย วิธีประกอบอาหารไทยหลักๆ อันได้แก่ ยำ ย่าง ทอด ต้ม นึ่ง ผัดและตุ๋น ในประเภทเหล่านี้ การ “ผัด” ถือเป็นวิธีประกอบอาหารแบบดั้งเดิมของจีน โดยการ ผัดผักและผัดก๋วยเตี๋ยวของไทยก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน อาทิเช่น “ผัดปวยเล้งไฟแดง”

สกู๊ปข่าวของ BBC เคยรายงานว่า ผัดไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกของไทย รวมถึงวัตถุดิบในการผัด เช่น เต้าหู้ กุ้งแห้ง ได้แพร่จากประเทศจีนเข้ามาเมื่อหลายร้อยปีก่อน จากนั้นจึงผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมการกินของคนไทย จนค่อยๆ กลายเป็นอาหารขึ้นชื่อ ชื่อ ต้มยำกุ้ง “อาหารประจำชาติ” ของไทยยังเกี่ยวข้องกับชาวจีน โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมัยกรุงธนบุรีพระเจ้าตากสินได้เชิญแม่ครัวหลวงให้ทำอาหารเรียกน้ำย่อยให้แก่พระธิดาที่ทรงเบื่ออาหาร หลังเสวยแล้วพระวรกายปลอดโปร่ง อาการประชวรบรรเทา ต่อมาพระเจ้าตากสินจึงพระราชทานนามอาหารจานนี้ว่า “ต้มยำกุ้ง”


การสร้างสรรค์อาหารอย่างต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางการค้า การต่อเรือและเดินทะเลในสมัยราชวงศ์หมิงเจริญมาก มีการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เกิดวัตถุดิบจากต่างชาติจำนวนมาก ทำให้ประเภทอาหารและเมนูอาหารดั้งเดิมมีความหลากหลายมากขึ้น วัตถุดิบต่างๆ อาทิ ข้าวโพด พริก มะเขือเทศ กระเทียม ต่างเข้าสู่จีนในสมัยราชวงศ์หมิง โดยเฉพาะการแพร่เข้ามาของพริกที่ส่งผลต่อการปฏิวัติทางอาหารของจีน วัตถุดิบเหล่านี้ก็ปรากฏใน “รัชศกเฉิงฮว่าปีที่สิบสี่” เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ตอนที่ถังฟั่นช่วยพี่สาวถังอวี๋นำสินสอดกลับคืนมา ก็วางอุบายใช้ “ข้าวโพด” เป็นอาหารหายาก ขายให้เฮ่อหลินสามีของถังอวี๋ในราคาสูง สุยโจวใช้ “พริก” ทำเต้าหู้หมาล่า รวมถึงตอนที่เผยฮว๋ายผู้หลงใหลในด้านการแพทย์นำ “มะเขือเทศ” มาให้ถังฟั่นลองชิมแล้วสังเกตว่ามีอาการถูกพิษหรือไม่ นี่ก็สะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ อีกอย่างหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิง นั่นก็คือ ในช่วงแรก อาหารที่มาจากต่างประเทศจำนวนมากจะถูกคนในสมัยราชวงศ์หมิงเห็นว่า “มีพิษ” จึงใช้เพื่อประดับและชื่นชมเท่านั้น และก็เป็นช่วงเวลานี้เองที่อาหารจีนมากมายถูกนำมายังประเทศไทยเพราะการค้า


ปัจจุบันอาหารไทยก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศจีนเช่นกัน ต้มยำกุ้ง ข้าวเหนียวมะม่วง ไก่ย่าง ข้าวขาหมู สุกี้แบบไทยต่างเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากหนุ่มสาวชาวจีนเป็นอย่างมาก ร้านอาหารไทยในจีนมีอยู่ทั่วไป หนุ่มสาวชาวจีนไม่น้อยเห็นว่าการเดินทางเที่ยวไทยก็คือการเดินทางของอาหารเลิศรสเช่นกัน “ลิสต์อาหาร 10 อย่างที่ต้องกินให้ได้ในไทย” กลายเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในคู่มือท่องเที่ยว


ไม่ว่าจะไทยหรือจีน อาหารได้กลายเป็น “วิถีชีวิต” อย่างหนึ่งไปแล้ว ใน “รัชศกเฉิงฮว่าปีที่สิบสี่” นอกเหนือจากการสืบคดี ก็ได้สอดแทรกฝีไม้ลายมือในการทำอาหารของสุยโจวกับประสบการณ์ของนักกินอย่างถังฟั่น อาศัยอารมณ์การถ่ายทำสารคดีอาหารนำเสนอความพิถีพิถันต่อการ “กิน” ให้รู้สึกราวกับว่า “เห็นภาพ” ในซีรี่ส์ก็ “ได้กลิ่น” ตาม สอดคล้องกับความต้องการในการชมซีรี่ส์ของคนรุ่นใหม่ กลายเป็นห้วข้อที่ถูกกล่าวถึงอย่างร้อนแรงในโซเชียลมีเดียทั้งในไทยและจีน ซีรี่ส์สืบสวนสอบสวนจะกลายเป็น “ต้าหมิงบนปลายลิ้น” ได้อย่างไรนั้น ต้องรับชม “รัชศกเฉิงฮว่าปีที่สิบสี่” ทางแอปพลิเคชัน iQIYI International อัพเดต 2 ตอนทุกวันอังคารถึงศุกร์ พลาดไม่ได้เด็ดขาด!
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน iQIYI เพื่อรับชม “รัชศกเฉิงฮว่าปีที่สิบสี่” ได้โดยสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างหรือคลิกที่ https://go.onelink.me/4Hx2/ch14th




กำลังโหลดความคิดเห็น