คอลัมน์เพลงวาน โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
โครงการจำนำข้าวในยุคพี่ชายคิด น้องสาว และขี้ข้าทำ ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่คนไทยจะต้องจารึกไว้ เพราะนี่เป็นโครงการสุดอัปยศที่สร้างเสียหายต่อประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงเป็นประวัติการณ์ อาทิ
-มีการโกงกินคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬารหลายแสนล้านบาท นักการเมือง ขี้ข้า และคนใกล้ชิด วงวานว่านเครือของไอ้หน้าเหลี่ยม แดกเงินจากโครงการนี้กันสะดือปลิ้น
-ทำลายกระบวนการผลิตข้าวไทยเสียหายอย่างใหญ่หลวง จากเคยเป็นเบอร์หนึ่งของโลกตกมาเป็นที่สาม
-ที่สำคัญคือมันกล้ากระทำกับชาวนากระดูกสันหลังของชาติ ทั้งเบี้ยว หลอกลวง ข่มขู่ ใส่ร้าย(ว่าเป็นชาวนาปลอม) และอีกสารพัดกระบวนการสกัดกั้นชาวนา จนชาวนาเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ถึงขนาดต้องปลิดชีพตัวเองไป 10 กว่าคนแล้ว
นี่ถือเป็นความเสียหายหลักๆเพียงส่วนหนึ่งของโครงการจำนำข้าวเท่านั้น
อนึ่งหากพูดถึงความเดือดร้อน ความทุกข์ตรมของชาวนาแล้ว วง“คาราวาน”ถือเป็นหนึ่งในศิลปินที่นำเสนอเรื่องราวของชาวนาผ่านบทเพลงออกมาไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงแรกๆนั้น คาราวานจะเน้นบทเพลงที่พูดถึงความทุกข์ตรม ความทุกข์ยาก ความลำบากของชาวนาเป็นพิเศษ
ดังนั้นเพื่อขอร่วมสะทกสะท้อนความเป็นไปของสภาพการณ์ปัจจุบันที่ในชาวนายุคนี้ ยังคงถูกเผด็จการทรราชกดขี่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบไม่ต่างจากอดีต คอลัมน์เพลงวาน จึงขอคัดสรร 5 บทเพลงแห่งชาวนาจากวงคาราวานมานำเสนอ ดังนี้
คนกับควาย
เพลง “คนกับควาย” แต่งเนื้อร้องโดย สมคิด สิงสม และ วิสา คัญทัพ ที่วันนี้เป็นเสื้อแดงจ๋า ส่วนทำนองโดย น้าหงา-สุรชัย จันทิมาธร นักร้องนำและผู้นำวงคาราวาน
เพลงนี้น้าหงา ได้หยิบทำนองเพลง “Master Of War” จากไอดอลของเขาคือ บ็อบ ดีแลน(Bob Dylan) มาให้ 2 ผองเพื่อน คือสมคิดกับวิสาช่วยกันใส่เนื้อร้อง เกิดเป็นเพลงคนกับควาย บทเพลงอมตะที่ถือเป็นต้นแบบอันมีบทบาทสำคัญต่อวงการเพลงเพื่อชีวิตบ้านเรา
เพลงคนกับควายพูดถึงวิถีชาวนาที่นอกจากจะยากจนข้นแค้นแล้วยังถูกหลายๆคน(ในยุคนั้น)ดูถูกเหยียดหยาม เพลงนี้ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในด้านการนำเสนอ มุมมอง เพราะผู้แต่งได้สื่อให้สังคมหันมามองคุณค่าความสำคัญของชาวนา ขณะที่เนื้อเพลงนั้นก็มีการใช้คำ เล่นคำ ซ้ำคำ ได้อย่างน่าสนใจมาก
“...เป็นบทเพลงเสียงเพลงแห่งความตาย ความเป็นคนสลายลงไปพลัน
กฏุมพีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต่ำลง
เหยียดหยามชาวนาว่าป่าดง สำคัญมั่นคงคือความตาย”
คลิกฟังเพลง คนกับควาย
เปิบข้าว
เพลง “เปิบข้าว” คำร้อง มาจากบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ยอดนักคิดนักเขียน ส่วนทำนองโดยน้าหงา และเพื่อน เป็นดนตรีจังหวะสนุกๆ เนื้อหากินใจและสอนใจให้เห็นคุณค่าของข้าวและชาวนาที่ต้องลำบากตรากตรำปลูกข้าวให้ทุกชนชั้นกิน นับเป้นอีกหนึ่งบทเพลงคลาสสิคของคาราวานที่เนื้อหายังคงทันสมัยมาจนถึงทุกวันนี้
“เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน...”
คลิกฟังเพลง เปิบข้าว
ข้าวคอยฝน
“ข้าวคอยฝน” เขียนเนื้อร้องโดยน้าหงา ส่วนทำนองนำมาจากทำนองพื้นบ้านเขมร เพลงนี้พูดถึงชาวนาและผู้ใช้แรงงานในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อวิถีเก่าของชาวนาไม่ได้รับการแก้ไข พวกเขาก็จำเป็นต้องสู้เพื่อให้ได้ชัย หลุดพ้นจากการถูกกดขี่
“...ส่องทางให้เห็นเส้นทาง ร่วมทางเพื่อชูชัยมา เพื่อท้องนาประโยชน์อุดม ทุนนิยม จักถูกทำลาย...”
คลิกฟังเพลง ข้าวคอยฝน
ชาวนา
เพลงนี้เขียนคำร้องทำนองโดย น้าแดง-วีรศักดิ์ สุนทรศรี อีกหนึ่งสมาชิกของคาราวาน เนื้อหาพูดถึงความลำบากยากแค้นในอาชีพกระดูกสันหลังของชาติ กับการปลดแอกตัวเองสู่ความเป็นไทของชาวนาไทย
“เสียงปืนดังแต่ไกล ปลุกทาสให้เป็นไท ชีพใหม่จึงได้มา
พวกเราชาวนา พากันไปหว่านไถ ร่วมแรงร่วมใจ
พลิกโลกด้วยสองมือ ซ้ำยังถูกยื้อแย่ง กินแรงทุกแห่งไป...”
คลิกฟังเพลง ชาวนา
ทั้ง 4 เพลง เป็นเพลงในอัลบั้มชุด“คนกับควาย”(พ.ศ.2518) อัลบั้มชุดแรกของวงคาราวาน ซึ่งถือเป็นบทงานสุดคลาสสิกของคาราวาน ที่นอกจาก 4 เพลงนี้แล้วก็ยังมีเพลงเด่นๆอย่าง หยุดก่อน,
นกสีเหลือง และ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น
จดหมายชาวนา
เพลงนี้อยู่ในอัลบั้มชุดที่ 2 “อเมริกันอันตราย”(2519) แต่งเนื้อร้อง-ทำนองโดย ประเสริฐ จันดำ เนื้อหาพูดถึงความคับแค้นใจของชาวนา ซึ่งในอดีตเป็นความคับแค้นจากการถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ แต่มาในยุคนี้ พ.ศ.นี้ จดหมายชาวนาที่อาจถูกเปลี่ยนเป็นการระบายผ่านเฟซบุ๊ค(ของชาวนาบางคน)แทน ได้นำเสนอความคับแค้นใจอันเนื่องมาจากโครงการจำนำข้าวที่ถูกรัฐบาลโกง หลอกลวง 2 มาตรฐาน(ให้เงินเฉพาะชาวนาพวกเสื้อแดงฐานเสียงก่อน) จนพวกเขาต้องออกมาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมตามที่ปรากฏเป็นข่าว
นับเป็นจดหมายชาวนายุคใหม่ที่ส่งไปยังผู้นำ ซึ่งอาจจะนำมาสู่จุดจบของทรราชขี้ข้าไหน้าเหลี่ยมได้ ซึ่งหากรัฐบาลยังแถ หลอกลวงชาวนาอย่างไม่ใส่ใจไยดี บางทีสถานการณ์อาจจะเป็นเหมือนกับท่อนสุดท้ายในบทเพลงที่ร้องว่า “อย่าให้เฮาต้องลุกฮือถือปืน” ก็เป็นได้
“...ยากจนอย่าตามเข่นฆ่า ชาวนาจักหันต่อกร
โปรดจงช่วยไถ่ช่วยถอน โอ้ยแสนออนซอนพวกเฮาชาวนา(ซ้ำ)
ชนชั้นแยกกันไม่ได้ คนไทยร่วมแผ่นดินทอง
ยากแค้นอึดอยากปากหมอง
อย่าให้เฮาต้องลุกฮือถือปืน(ซ้ำ)”
คลิกฟังเพลง จดหมายชาวนา
..................
และนี่ก็เป็น 5 บทเพลงแด่ชาวนาจากวงคาราวาน ที่แม้จะเป็นเพลงเก่า แต่ว่าเนื้อหายังคงร่วมสมัย เพราะชาวนาไทยในวันนี้ยังคงเดือดร้อนทุกข์ตรม โดยเฉพาะกับโครงการจำนำข้าวที่ดูเหมือนว่า “นังโด้” (ขออนุญาตยืมคำน้าหว่อง-มงคล อุทก หนึ่งในสมาชิกสำคัญของวงคาราวาน ที่ให้นิยามคำว่านังโด้ ว่าหมายถึงนังโง่+ดื้อ) นอกจากจะไม่ยอมรับในความผิดที่พวกตนก่อขึ้นแล้ว ยังออกทีวีโทษคนอื่น แถ ตอแหล บิดเบือนไปเรื่อย
นับเป็นคำแถ-ลง ที่ช่างสมกับตำแหน่งโหวตสุดยอดผู้นำเลวอันดับ 2 ของโลก ที่จะเป็นรองก็เพียงแต่พี่ชายตนเองเท่านั้น
ส่วนถ้าในอนาคตสำนักโหวตผู้นำนี้ จะทำการโหวตผู้นำที่โง่ที่สุดของโลก นังโด้คงคว้าแชมป์ชนิดทิ้งคู่แข่งขาดลอยแบบไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว
*****************************************
หมายเหตุ : วงคาราวานเกิดจาก 4 หนุ่ม 2 วง โคจรมาผสานรวมกัน คือ วง “ท.เสนและสัญจร” ที่มี “สุรชัย จันทิมาธร”(หงา) กับ “วีระศักดิ์ สุนทรศรี”(แดง) และ วง “บังกลาเทศแบนด์” ที่มี “มงคล อุทก”(หว่อง) และ “ทองกราน ทานา”(อืด) โดยมี "พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ"(หมู)มาแจมในบางชุด
คาราวานเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตยุคแรกๆที่มีอิทธิพลมากในช่วงเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 พวกเขามีผลงานเพลงชุดแรกคือ “คนกับควาย” ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งบทเพลงของพวกเขามีทั้งบทเพลงต่อสู้ บทเพลงบอกเล่าเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก ผู้ถูกกดขี่ ซึ่งหลังจากนั้นก็มีผลงานสตูดิโออัลบั้มออกมารวมทั้งหมด 9 ชุดด้วยกัน
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
อัลบั้ม : คำภีร์เพลงรัก
พี่ปู : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ที่อายุอานามตอนนี้จัดอยู่ในรุ่นลุง น้า เป็นศิลปินเพื่อชีวิตที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อเพลงรัก ที่ฝากผลงานเพลงรักโรแมนติกไว้มากหลาย ซึ่งล่าสุดทางค่าย Warner Music ได้คัดสรรเพลงรักในรูปแบบต่างๆ อาทิ รักโรแมนติก รักพ่อแม่ รักเพื่อน รักบ้านเมือง มาบรรจุไว้ในอัลบั้ม “คัมภีร์เพลงรัก” ในรูปแบบ MP3 จำนวน 50 เพลง ประกอบไปด้วยเพลงรักขึ้นชื่อของพี่ปู อาทิ “ตลอดเวลา”,“คิดถึง”,“สุดใจ”, “ยังคอย”, “ถึงเพื่อน”, “แม่”, “รักการเมือง” ฯลฯ นอกจากนี้มีบทเพลงให้ความหวัง กำลังใจ เช่น “หวัง”, “วันใหม่”, “นักแสวงหา” ฯลฯ บรรจุร่วมอยู่ด้วย นับเป็นงานรวมเพลงของพี่ปูครั้งที่เท่าไหร่ไม่รู้แล้ว แต่สำหรับแฟนเพลงพี่ปูถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย
โครงการจำนำข้าวในยุคพี่ชายคิด น้องสาว และขี้ข้าทำ ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่คนไทยจะต้องจารึกไว้ เพราะนี่เป็นโครงการสุดอัปยศที่สร้างเสียหายต่อประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงเป็นประวัติการณ์ อาทิ
-มีการโกงกินคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬารหลายแสนล้านบาท นักการเมือง ขี้ข้า และคนใกล้ชิด วงวานว่านเครือของไอ้หน้าเหลี่ยม แดกเงินจากโครงการนี้กันสะดือปลิ้น
-ทำลายกระบวนการผลิตข้าวไทยเสียหายอย่างใหญ่หลวง จากเคยเป็นเบอร์หนึ่งของโลกตกมาเป็นที่สาม
-ที่สำคัญคือมันกล้ากระทำกับชาวนากระดูกสันหลังของชาติ ทั้งเบี้ยว หลอกลวง ข่มขู่ ใส่ร้าย(ว่าเป็นชาวนาปลอม) และอีกสารพัดกระบวนการสกัดกั้นชาวนา จนชาวนาเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ถึงขนาดต้องปลิดชีพตัวเองไป 10 กว่าคนแล้ว
นี่ถือเป็นความเสียหายหลักๆเพียงส่วนหนึ่งของโครงการจำนำข้าวเท่านั้น
อนึ่งหากพูดถึงความเดือดร้อน ความทุกข์ตรมของชาวนาแล้ว วง“คาราวาน”ถือเป็นหนึ่งในศิลปินที่นำเสนอเรื่องราวของชาวนาผ่านบทเพลงออกมาไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงแรกๆนั้น คาราวานจะเน้นบทเพลงที่พูดถึงความทุกข์ตรม ความทุกข์ยาก ความลำบากของชาวนาเป็นพิเศษ
ดังนั้นเพื่อขอร่วมสะทกสะท้อนความเป็นไปของสภาพการณ์ปัจจุบันที่ในชาวนายุคนี้ ยังคงถูกเผด็จการทรราชกดขี่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบไม่ต่างจากอดีต คอลัมน์เพลงวาน จึงขอคัดสรร 5 บทเพลงแห่งชาวนาจากวงคาราวานมานำเสนอ ดังนี้
คนกับควาย
เพลง “คนกับควาย” แต่งเนื้อร้องโดย สมคิด สิงสม และ วิสา คัญทัพ ที่วันนี้เป็นเสื้อแดงจ๋า ส่วนทำนองโดย น้าหงา-สุรชัย จันทิมาธร นักร้องนำและผู้นำวงคาราวาน
เพลงนี้น้าหงา ได้หยิบทำนองเพลง “Master Of War” จากไอดอลของเขาคือ บ็อบ ดีแลน(Bob Dylan) มาให้ 2 ผองเพื่อน คือสมคิดกับวิสาช่วยกันใส่เนื้อร้อง เกิดเป็นเพลงคนกับควาย บทเพลงอมตะที่ถือเป็นต้นแบบอันมีบทบาทสำคัญต่อวงการเพลงเพื่อชีวิตบ้านเรา
เพลงคนกับควายพูดถึงวิถีชาวนาที่นอกจากจะยากจนข้นแค้นแล้วยังถูกหลายๆคน(ในยุคนั้น)ดูถูกเหยียดหยาม เพลงนี้ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในด้านการนำเสนอ มุมมอง เพราะผู้แต่งได้สื่อให้สังคมหันมามองคุณค่าความสำคัญของชาวนา ขณะที่เนื้อเพลงนั้นก็มีการใช้คำ เล่นคำ ซ้ำคำ ได้อย่างน่าสนใจมาก
“...เป็นบทเพลงเสียงเพลงแห่งความตาย ความเป็นคนสลายลงไปพลัน
กฏุมพีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต่ำลง
เหยียดหยามชาวนาว่าป่าดง สำคัญมั่นคงคือความตาย”
คลิกฟังเพลง คนกับควาย
เปิบข้าว
เพลง “เปิบข้าว” คำร้อง มาจากบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ยอดนักคิดนักเขียน ส่วนทำนองโดยน้าหงา และเพื่อน เป็นดนตรีจังหวะสนุกๆ เนื้อหากินใจและสอนใจให้เห็นคุณค่าของข้าวและชาวนาที่ต้องลำบากตรากตรำปลูกข้าวให้ทุกชนชั้นกิน นับเป้นอีกหนึ่งบทเพลงคลาสสิคของคาราวานที่เนื้อหายังคงทันสมัยมาจนถึงทุกวันนี้
“เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน...”
คลิกฟังเพลง เปิบข้าว
ข้าวคอยฝน
“ข้าวคอยฝน” เขียนเนื้อร้องโดยน้าหงา ส่วนทำนองนำมาจากทำนองพื้นบ้านเขมร เพลงนี้พูดถึงชาวนาและผู้ใช้แรงงานในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อวิถีเก่าของชาวนาไม่ได้รับการแก้ไข พวกเขาก็จำเป็นต้องสู้เพื่อให้ได้ชัย หลุดพ้นจากการถูกกดขี่
“...ส่องทางให้เห็นเส้นทาง ร่วมทางเพื่อชูชัยมา เพื่อท้องนาประโยชน์อุดม ทุนนิยม จักถูกทำลาย...”
คลิกฟังเพลง ข้าวคอยฝน
ชาวนา
เพลงนี้เขียนคำร้องทำนองโดย น้าแดง-วีรศักดิ์ สุนทรศรี อีกหนึ่งสมาชิกของคาราวาน เนื้อหาพูดถึงความลำบากยากแค้นในอาชีพกระดูกสันหลังของชาติ กับการปลดแอกตัวเองสู่ความเป็นไทของชาวนาไทย
“เสียงปืนดังแต่ไกล ปลุกทาสให้เป็นไท ชีพใหม่จึงได้มา
พวกเราชาวนา พากันไปหว่านไถ ร่วมแรงร่วมใจ
พลิกโลกด้วยสองมือ ซ้ำยังถูกยื้อแย่ง กินแรงทุกแห่งไป...”
คลิกฟังเพลง ชาวนา
ทั้ง 4 เพลง เป็นเพลงในอัลบั้มชุด“คนกับควาย”(พ.ศ.2518) อัลบั้มชุดแรกของวงคาราวาน ซึ่งถือเป็นบทงานสุดคลาสสิกของคาราวาน ที่นอกจาก 4 เพลงนี้แล้วก็ยังมีเพลงเด่นๆอย่าง หยุดก่อน,
นกสีเหลือง และ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น
จดหมายชาวนา
เพลงนี้อยู่ในอัลบั้มชุดที่ 2 “อเมริกันอันตราย”(2519) แต่งเนื้อร้อง-ทำนองโดย ประเสริฐ จันดำ เนื้อหาพูดถึงความคับแค้นใจของชาวนา ซึ่งในอดีตเป็นความคับแค้นจากการถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ แต่มาในยุคนี้ พ.ศ.นี้ จดหมายชาวนาที่อาจถูกเปลี่ยนเป็นการระบายผ่านเฟซบุ๊ค(ของชาวนาบางคน)แทน ได้นำเสนอความคับแค้นใจอันเนื่องมาจากโครงการจำนำข้าวที่ถูกรัฐบาลโกง หลอกลวง 2 มาตรฐาน(ให้เงินเฉพาะชาวนาพวกเสื้อแดงฐานเสียงก่อน) จนพวกเขาต้องออกมาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมตามที่ปรากฏเป็นข่าว
นับเป็นจดหมายชาวนายุคใหม่ที่ส่งไปยังผู้นำ ซึ่งอาจจะนำมาสู่จุดจบของทรราชขี้ข้าไหน้าเหลี่ยมได้ ซึ่งหากรัฐบาลยังแถ หลอกลวงชาวนาอย่างไม่ใส่ใจไยดี บางทีสถานการณ์อาจจะเป็นเหมือนกับท่อนสุดท้ายในบทเพลงที่ร้องว่า “อย่าให้เฮาต้องลุกฮือถือปืน” ก็เป็นได้
“...ยากจนอย่าตามเข่นฆ่า ชาวนาจักหันต่อกร
โปรดจงช่วยไถ่ช่วยถอน โอ้ยแสนออนซอนพวกเฮาชาวนา(ซ้ำ)
ชนชั้นแยกกันไม่ได้ คนไทยร่วมแผ่นดินทอง
ยากแค้นอึดอยากปากหมอง
อย่าให้เฮาต้องลุกฮือถือปืน(ซ้ำ)”
คลิกฟังเพลง จดหมายชาวนา
..................
และนี่ก็เป็น 5 บทเพลงแด่ชาวนาจากวงคาราวาน ที่แม้จะเป็นเพลงเก่า แต่ว่าเนื้อหายังคงร่วมสมัย เพราะชาวนาไทยในวันนี้ยังคงเดือดร้อนทุกข์ตรม โดยเฉพาะกับโครงการจำนำข้าวที่ดูเหมือนว่า “นังโด้” (ขออนุญาตยืมคำน้าหว่อง-มงคล อุทก หนึ่งในสมาชิกสำคัญของวงคาราวาน ที่ให้นิยามคำว่านังโด้ ว่าหมายถึงนังโง่+ดื้อ) นอกจากจะไม่ยอมรับในความผิดที่พวกตนก่อขึ้นแล้ว ยังออกทีวีโทษคนอื่น แถ ตอแหล บิดเบือนไปเรื่อย
นับเป็นคำแถ-ลง ที่ช่างสมกับตำแหน่งโหวตสุดยอดผู้นำเลวอันดับ 2 ของโลก ที่จะเป็นรองก็เพียงแต่พี่ชายตนเองเท่านั้น
ส่วนถ้าในอนาคตสำนักโหวตผู้นำนี้ จะทำการโหวตผู้นำที่โง่ที่สุดของโลก นังโด้คงคว้าแชมป์ชนิดทิ้งคู่แข่งขาดลอยแบบไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว
*****************************************
หมายเหตุ : วงคาราวานเกิดจาก 4 หนุ่ม 2 วง โคจรมาผสานรวมกัน คือ วง “ท.เสนและสัญจร” ที่มี “สุรชัย จันทิมาธร”(หงา) กับ “วีระศักดิ์ สุนทรศรี”(แดง) และ วง “บังกลาเทศแบนด์” ที่มี “มงคล อุทก”(หว่อง) และ “ทองกราน ทานา”(อืด) โดยมี "พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ"(หมู)มาแจมในบางชุด
คาราวานเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตยุคแรกๆที่มีอิทธิพลมากในช่วงเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 พวกเขามีผลงานเพลงชุดแรกคือ “คนกับควาย” ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งบทเพลงของพวกเขามีทั้งบทเพลงต่อสู้ บทเพลงบอกเล่าเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก ผู้ถูกกดขี่ ซึ่งหลังจากนั้นก็มีผลงานสตูดิโออัลบั้มออกมารวมทั้งหมด 9 ชุดด้วยกัน
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
อัลบั้ม : คำภีร์เพลงรัก
พี่ปู : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ที่อายุอานามตอนนี้จัดอยู่ในรุ่นลุง น้า เป็นศิลปินเพื่อชีวิตที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อเพลงรัก ที่ฝากผลงานเพลงรักโรแมนติกไว้มากหลาย ซึ่งล่าสุดทางค่าย Warner Music ได้คัดสรรเพลงรักในรูปแบบต่างๆ อาทิ รักโรแมนติก รักพ่อแม่ รักเพื่อน รักบ้านเมือง มาบรรจุไว้ในอัลบั้ม “คัมภีร์เพลงรัก” ในรูปแบบ MP3 จำนวน 50 เพลง ประกอบไปด้วยเพลงรักขึ้นชื่อของพี่ปู อาทิ “ตลอดเวลา”,“คิดถึง”,“สุดใจ”, “ยังคอย”, “ถึงเพื่อน”, “แม่”, “รักการเมือง” ฯลฯ นอกจากนี้มีบทเพลงให้ความหวัง กำลังใจ เช่น “หวัง”, “วันใหม่”, “นักแสวงหา” ฯลฯ บรรจุร่วมอยู่ด้วย นับเป็นงานรวมเพลงของพี่ปูครั้งที่เท่าไหร่ไม่รู้แล้ว แต่สำหรับแฟนเพลงพี่ปูถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย