คอลัมน์เพลงวาน โดย : บอน บอระเพ็ด(skbon109@hotmail.com)
ผลการประกาศรางวัลศิลปินแห่งชาติปี 2556(ปีล่าสุด) ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูที่เดียวกับกรณี นาย“ยืนยง โอภากุล” หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีในนาม“แอ๊ด คาราบาว” ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติปี 2556 ในสาขาศิลปะการแสดง (นักประพันธ์-นักร้องเพลงไทยสากล)
งานนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน เพราะคณะกรรมการพิจารณารางวัลก็มีมุมมองในการให้รางวัลของท่าน ส่วนผู้ที่เคยรับรู้พฤติกรรมด้านลบของน้าแอ๊ดก็มีมุมมอง มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ดีวันนี้น้าแอ๊ดก็ได้กลายเป็นศิลปินแห่งชาติไปเรียบร้อยโรงเรียนคาราบาวแล้ว
พูดถึงวงคาราบาววงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งยงและเคยโด่งดังสุดๆของเมืองไทย วันนี้มีหนึ่งในอดีต สมาชิกของคาราบาว กำลังเนื้อหอมเป็นขวัญใจมวลมหาประชาชน นั่นก็คือ “อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี” คนดนตรีฝีมือเยี่ยมที่วันนี้ได้ออกมาต่อสู้ใช้เสียงขลุ่ยขจัดมารเพื่อขับไล่ทรราชให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย
1...
อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เกิดที่ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ในครอบครัวนักดนตรี เขาหัดเล่นดนตรีมาตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ เมื่อเติบโตก็ได้เข้าเล่นกับวงดนตรี ทั้งวงลูกทุ่ง วงสตริง เขาเล่นเครื่องดนตรีได้ทั้ง เปียโน คียบอร์ด ออร์แกน กีตาร์ และเครื่องเป่าลมไม้(Wood Win) แซกโซโฟน คลาริเนต ฟลู้ต และที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือ “ขลุ่ยไทย” ที่เป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ประจำตัว
ก่อนที่จะมาร่วมสร้างชื่อกับวงคาราบาว อ.ธนิสร์ เคยผ่านงานกับวงดนตรี อย่าง วงช็อกโกแลต ที่มีนักร้องนำคือ ฉันทนา กิติยาพันธ์ และ กรองทอง ทัศนพันธ์ วงเดอะฟ็อกซ์ วงโอเปี้ยม และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้กับนักร้องศิลปินอีกหลากหลาย ต่อมาเขาได้เข้ามาเป็นนักดนตรีแบ๊คอัพในห้องอัดของอโซน่า ร่วมเล่นแบ๊คอัพให้คาราบาวในช่วงราวปี 2526 โดยร่วมอัดเสียงในอัลบั้ม “วณิพก”(2526), “ท.ทหารอดทน”(2526)
และผลงานเดี่ยวอัลบั้มแรกของน้าแอ๊ดคือ“กัมพูชา”(2527) ที่ อ.ธนิสร์ ได้ฝากเสียงขลุ่ยให้แฟนเพลงรู้จักกันดีในเพลง “เดือนเพ็ญ”
หลังร่วมฝากฝีมือกับวงคาราบาวจนรู้ทางกัน น้าแอ๊ดจึงชวน อ.ธนิสร์ เข้ามาเป็นสมาชิกวงคาราบาวแบบเต็มตัวในตำแหน่งคีย์บอร์ดและเครื่องเป่า และด้วยความที่เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและวิทยาลัยครูจันทรเกษม เพื่อนๆวงคาราบาวและเพื่อนๆนักดนตรีจึงเรียกกันติดปากว่า “อาจารย์ธนิสร์”
อัลบั้มแรกที่ อ.ธนิสร์เข้ามาเป็นครอบครัวคาราบาวอย่างเต็มตัวคือ“เมดอินไทยแลนด์”(2527) หนึ่งในอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทย ในชุดนี้ อ.ธนิสร์ โดดเด่นทั้งในตำแหน่งคีย์บอร์ด เครื่องเป่า แอคคอร์เดียน โยเฉพาะอย่างยิ่งในเพลง “เมดอินไทยแลนด์” เพลงดังเปิดอัลบั้ม เขาได้วาดลวดลายเป่าขลุ่ยเอาไว้อย่างสุดสะเด่า ส่งผลให้ขลุ่ยได้กลายมาเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ประจำตัวของเขา และก็ได้รับการยกย่องให้เป็น “จอมยุทธ์ขลุ่ย”(อ้างอิงจากวิกิพีเดีย)ในเวลาต่อมา
นอกจากจะเป็นมือคีย์บอร์ด มือขลุ่ย มือแซกโซโฟน มือเครื่องเป่า(ลมไม้) มือแอคคอร์เดียน ให้กับวงคาราบาวแล้ว อ.ธนิสร์ ยังฝากเสียงพูดของเขาไว้ในอีกหลายบทเพลงของคาราบาว อีกทั้งยังเป็นคนปล่อยมุกประจำวงบนเวทีคอนเสิร์ต เพราะในขณะที่น้าแอ๊ดพูดแต่เรื่องเครียดๆ อ.ธนิสร์ก็จะคอยมาเป็นตัวเบรกปล่อยมุข หยอดมุข ตบมุข กับเสียงกวนๆ เรียกเสียงฮาให้แฟนๆได้อมยิ้มกัน
แม้ช่วงที่เล่นให้กับคาราบาว อ.ธนิสร์จะไม่ได้ร้องนำแบบเดี่ยวๆสักเพลง แต่เขาได้ฝากมนต์ขลังของเสียงขลุ่ยสะท้านทรวงที่ฟังมันเร้าใจเอาไว้ในในเพลง “เมดอินไทยแลนด์” ที่กลายเป็นหนึ่งในบทเพลงลายเซ็นประจำตัวของเขา หรือในเพลง “พระอภัยมณี” ที่ อ.ธนิสร์ นอกจากจะร่วมร้องนำคู่กับน้าแอ๊ดแล้ว แกยังวาดลีลาเป่าขลุ่ยในผสมแนวไทย –บลูส์แจ๊ซได้อย่างสุดมัน ส่วนถ้าเป็นเสียงขลุ่ยเพลงเศร้าช้าก็ต้อง“เดือนเพ็ญ” หรือหวานซึ้ง ก็ในเพลง“รักคุณเท่าฟ้า” กับ“หัวใจบ้าบิ่น”
หันมาดูอีกหนึ่งเครื่องดนตรีเด่นรองมาจากขลุ่ยก็คือแซกโซโฟน อ.ธนิสร์ได้วาดลวดลายแซกโวโฟนเจ๋งๆ ไว้ในเพลง“2 เฒ่าผู้ยิ่งใหญ่” ที่มาในลีลาสนุกแบบเร็กเก้ หรือเอาแบบโซโลสุดมันในเพลง “เฒ่าทะเล” กับ “บิ๊กเสี่ยว” โดยเฉพาะในคอนเสิร์ตอีสานเขียว อ.ธนิสร์เป่าแซกโซโฟนแจมกับกีตาร์ของเหล่ายอดมือกีตาร์อันดับต้นๆของเมืองไทยในยุคนั้นได้อย่างสุดมัน ส่วนเพลง “รักทรหด” , “สบายกว่า” นั้นโซโลแซกสั้นๆแต่ฟังน่ารักมีเสน่ห์
ขณะที่เครื่องดนตรีหลักอย่างคีย์บอร์ดนั้นก็ใช่ย่อย อ.ธนิสร์ ก็ได้ฝากฝีไม้ลายมืออันโดดเด่นไว้ในหลายบทเพลงด้วยกัน อาทิ “ลูกแก้ว”, “ซาอุดร”,“คนหนังเหนียว” หรือทางคีย์บอร์ดสุดอลังการในอินโทรเพลง“เจ้าตาก” ส่วนเพลง“หำเทียม” ท่อนโซโลแอคคอร์เดียนนั้นก็ทำได้เจ๋งและยังคุ้นหูแฟนเพลงมาจนทุกวันนี้
2…
อ.ธนิสร์ เข้ามาร่วมชายคาเป็นสมาชิกวงคาราบาวได้ไม่นานเพียงแค่ประมาณ 4 ปี แต่ก็เป็น 4 ปีแห่งยุคทองของคาราบาว ก่อนที่วงหัวควายในยุครุ่งโรจน์จะถึงจุดอิ่มตัว สมาชิกแต่ละคนแยกย้ายไปแสวงหาหนทางของตัวเอง โดย อ.ธนิสร์ได้แยกตัวออกจากคาราบาวไปเป็นคนแรกหลังชุด“ทับหลัง”(2531) ด้วยความเห็นที่ขัดแย้งกับแอ๊ด คาราบาว จากนั้นก็มีสมาชิกคนอื่นๆทยอยกันออกมา อันถือเป็นการแตกตัวครั้งสำคัญของคาราบาว
ปี 2532 หลังออกจากคาราบาว อ.ธนิสร์ ได้ร่วมกับ 2 อดีต สมาชิกคาราบาวเดิมคือ น้าเทียรี่ - เทียรี่ เมฆวัฒนา : นักร้องนำ มือกีตาร์ 2 และน้าเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ : มือกลอง ออกอัลบั้ม“ขอเดี่ยวด้วยคนนะ” (ปี 2532) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง
ปี 2535 อ.ธนิสร์ ออกผลงานอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของตัวเอง คือ“ลมไผ่” ที่เป็นหนึ่งในอัลบั้มคลาสสิคของเขา งานเพลงชุดนี้ได้สร้างอีกหนึ่งบทเพลงประจำตัวให้กับ อ.ธนิสร์ คือ “ทานตะวัน” (ประพันธ์เนื้อร้องโดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
จากนั้นในปี 2538 อ.ธนิสร์พร้อมสมาชิกคาราบาวในยุคทองหวนกลับมารียูเนียนอีกครั้งในชุด “15 ปีคาราบาว” ก่อนแยกย้ายกันไป จากนั้นในชุด “สาวเบียร์ช้าง” ปี 2544 อ.ธนิสร์ได้กลับมาเป็นแขกรับเชิญเป่าขลุ่ยในเพลง “เดือนแรม” นับเป็นบทเพลงสุดท้ายในสตูดิโอที่เขาร่วมเล่นกับวงคาราบาว พร้อมกับเข้ามาร่วมวงเฉพาะกิจในโอการครบรอบ 30 ปี คาราบาว
นอกจากผลงานตามที่กล่าวมาแล้ว อ.ธนิสร์ ยังมีงานเดี่ยวของตัวเองอีกหลายชุด อาทิ ชุด “ฤดูกาล”,“นางนวล”, “ลมชีวิต”, “โลกเบิกบาน”, “ความฝันอันสูงสุด” รวมถึงการออกดูเอทร่วมกับ น้าหงา คาราวาน(สุรชัย จันทิมาธร) ในชุด“รัตติกาล” ออกผลงานทริโอ ร่วมกับ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และน้าหมู-พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ในชุด “เพลงแผ่นดิน จาก 3 คีตกานต์กวี”(2547)
ด้วยความที่คร่ำหวอดอยู่ในยุทธจักรวงการเพลงไทยมานาน ให้ อ.ธนิสร์คว้ารางวัลทางดนตรีติดตัวมาไม่น้อย เช่น รางวัลสีสันอวอร์ดครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2532 ในสาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม ธนิสร์ เทียรี่ อำนาจ จากอัลบั้ม “ขอเดี่ยวด้วยคนนะ”, รางวัลสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2536 เพลงบรรเลงยอดเยี่ยม “ท้องฟ้า” จากอัลบั้มลมชีวิต, รางวัล “ทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติ” จากกองทัพบก ในโครงการสายธารสู่อีสานเขียว เป็นต้น
สำหรับอีกหนึ่งผลงานสำคัญของ อ.ธนิสร์ นั่นก็คือการที่เขาได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ พัฒนามาตรฐานขลุ่ยไทยให้เป็นสากล สามารถเล่นโน้ตครึ่งเสียง แฟลช ชาร์ป ได้ เล่นบทเพลงสากลได้ เล่นกับเครื่องดนตรีสากลได้ สามารถเล่นเพลงแจ๊ซ เพลงบลูส์ได้
พร้อมกันนี้ อ.ธนิสร์ ยังได้นำขลุ่ยไทยไปแสดงต่อสายตาชาวต่างชาติให้เห็นถึงเสน่ห์และความงดงามของดนตรีไทย
3...
อ.ธนิสร์ นอกจากจะเป็นคนสิงห์บุรีแล้ว เขายังเป็นคนใจสิงห์ที่กล้าออกมายืนหยัดท้าทายอำนาจอธรรม กล้าสู้กับรัฐบาลทรราชอย่างเต็มตัว โดยเขาได้เข้าร่วมกับม็อบมวลมหาประชาชนขับไล่ทรราชของกำนันสุเทพมาตั้งแต่ต้น แบบไม่หวั่น บยั่น ต่ออันตราย
ใครที่ได้เข้าร่วมม็อบมวลมหาประชาชน หลายต่อหลายวัน หลายต่อหลายคืน จะได้ยินเสียงขลุ่ยเพราะๆ สร้างความเพลิดเพลิน สุขใจ เติมพลังให้กับกลุ่มผู้ชุมชน บางวันแม้จะได้ขึ้นเวทีดึกดื่น บางวัน อ.ธนิสร์ อยู่ร่วมกับผู้ชุมนุมถึงเช้า เขาก็ไม่เคยย่อท้อ แต่ยังคงคอยยืนหยัดให้กำลังใจ พร้อมกับนำขลุ่ยคู่ใจมาเป่าขับกล่อมผู้ชุมนุมอยู่เป็นประจำ ทั้งแบบขึ้นมาเดี่ยวๆหรือขึ้นแจมกับศิลปินคนอื่นๆ เช่น “วงมาลีฮวนน่า”, “อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์”, ศิรินทรา นิยากร” เป็นต้น
และนี่ก็คืออีกหนึ่งศิลปินนักสู้ที่ต้องการปฏิรูปประเทศไทย เปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยไม่ยอมก้มหัวให้กับเผด็จการทรราช และทุนนิยมสามานย์
ขอคารวะด้วยหัวใจ แด่จอมยุทธ์ขลุ่ย “อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี”
ผลการประกาศรางวัลศิลปินแห่งชาติปี 2556(ปีล่าสุด) ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูที่เดียวกับกรณี นาย“ยืนยง โอภากุล” หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีในนาม“แอ๊ด คาราบาว” ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติปี 2556 ในสาขาศิลปะการแสดง (นักประพันธ์-นักร้องเพลงไทยสากล)
งานนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน เพราะคณะกรรมการพิจารณารางวัลก็มีมุมมองในการให้รางวัลของท่าน ส่วนผู้ที่เคยรับรู้พฤติกรรมด้านลบของน้าแอ๊ดก็มีมุมมอง มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ดีวันนี้น้าแอ๊ดก็ได้กลายเป็นศิลปินแห่งชาติไปเรียบร้อยโรงเรียนคาราบาวแล้ว
พูดถึงวงคาราบาววงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งยงและเคยโด่งดังสุดๆของเมืองไทย วันนี้มีหนึ่งในอดีต สมาชิกของคาราบาว กำลังเนื้อหอมเป็นขวัญใจมวลมหาประชาชน นั่นก็คือ “อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี” คนดนตรีฝีมือเยี่ยมที่วันนี้ได้ออกมาต่อสู้ใช้เสียงขลุ่ยขจัดมารเพื่อขับไล่ทรราชให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย
1...
อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เกิดที่ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ในครอบครัวนักดนตรี เขาหัดเล่นดนตรีมาตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ เมื่อเติบโตก็ได้เข้าเล่นกับวงดนตรี ทั้งวงลูกทุ่ง วงสตริง เขาเล่นเครื่องดนตรีได้ทั้ง เปียโน คียบอร์ด ออร์แกน กีตาร์ และเครื่องเป่าลมไม้(Wood Win) แซกโซโฟน คลาริเนต ฟลู้ต และที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือ “ขลุ่ยไทย” ที่เป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ประจำตัว
ก่อนที่จะมาร่วมสร้างชื่อกับวงคาราบาว อ.ธนิสร์ เคยผ่านงานกับวงดนตรี อย่าง วงช็อกโกแลต ที่มีนักร้องนำคือ ฉันทนา กิติยาพันธ์ และ กรองทอง ทัศนพันธ์ วงเดอะฟ็อกซ์ วงโอเปี้ยม และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้กับนักร้องศิลปินอีกหลากหลาย ต่อมาเขาได้เข้ามาเป็นนักดนตรีแบ๊คอัพในห้องอัดของอโซน่า ร่วมเล่นแบ๊คอัพให้คาราบาวในช่วงราวปี 2526 โดยร่วมอัดเสียงในอัลบั้ม “วณิพก”(2526), “ท.ทหารอดทน”(2526)
และผลงานเดี่ยวอัลบั้มแรกของน้าแอ๊ดคือ“กัมพูชา”(2527) ที่ อ.ธนิสร์ ได้ฝากเสียงขลุ่ยให้แฟนเพลงรู้จักกันดีในเพลง “เดือนเพ็ญ”
หลังร่วมฝากฝีมือกับวงคาราบาวจนรู้ทางกัน น้าแอ๊ดจึงชวน อ.ธนิสร์ เข้ามาเป็นสมาชิกวงคาราบาวแบบเต็มตัวในตำแหน่งคีย์บอร์ดและเครื่องเป่า และด้วยความที่เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและวิทยาลัยครูจันทรเกษม เพื่อนๆวงคาราบาวและเพื่อนๆนักดนตรีจึงเรียกกันติดปากว่า “อาจารย์ธนิสร์”
อัลบั้มแรกที่ อ.ธนิสร์เข้ามาเป็นครอบครัวคาราบาวอย่างเต็มตัวคือ“เมดอินไทยแลนด์”(2527) หนึ่งในอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทย ในชุดนี้ อ.ธนิสร์ โดดเด่นทั้งในตำแหน่งคีย์บอร์ด เครื่องเป่า แอคคอร์เดียน โยเฉพาะอย่างยิ่งในเพลง “เมดอินไทยแลนด์” เพลงดังเปิดอัลบั้ม เขาได้วาดลวดลายเป่าขลุ่ยเอาไว้อย่างสุดสะเด่า ส่งผลให้ขลุ่ยได้กลายมาเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ประจำตัวของเขา และก็ได้รับการยกย่องให้เป็น “จอมยุทธ์ขลุ่ย”(อ้างอิงจากวิกิพีเดีย)ในเวลาต่อมา
นอกจากจะเป็นมือคีย์บอร์ด มือขลุ่ย มือแซกโซโฟน มือเครื่องเป่า(ลมไม้) มือแอคคอร์เดียน ให้กับวงคาราบาวแล้ว อ.ธนิสร์ ยังฝากเสียงพูดของเขาไว้ในอีกหลายบทเพลงของคาราบาว อีกทั้งยังเป็นคนปล่อยมุกประจำวงบนเวทีคอนเสิร์ต เพราะในขณะที่น้าแอ๊ดพูดแต่เรื่องเครียดๆ อ.ธนิสร์ก็จะคอยมาเป็นตัวเบรกปล่อยมุข หยอดมุข ตบมุข กับเสียงกวนๆ เรียกเสียงฮาให้แฟนๆได้อมยิ้มกัน
แม้ช่วงที่เล่นให้กับคาราบาว อ.ธนิสร์จะไม่ได้ร้องนำแบบเดี่ยวๆสักเพลง แต่เขาได้ฝากมนต์ขลังของเสียงขลุ่ยสะท้านทรวงที่ฟังมันเร้าใจเอาไว้ในในเพลง “เมดอินไทยแลนด์” ที่กลายเป็นหนึ่งในบทเพลงลายเซ็นประจำตัวของเขา หรือในเพลง “พระอภัยมณี” ที่ อ.ธนิสร์ นอกจากจะร่วมร้องนำคู่กับน้าแอ๊ดแล้ว แกยังวาดลีลาเป่าขลุ่ยในผสมแนวไทย –บลูส์แจ๊ซได้อย่างสุดมัน ส่วนถ้าเป็นเสียงขลุ่ยเพลงเศร้าช้าก็ต้อง“เดือนเพ็ญ” หรือหวานซึ้ง ก็ในเพลง“รักคุณเท่าฟ้า” กับ“หัวใจบ้าบิ่น”
หันมาดูอีกหนึ่งเครื่องดนตรีเด่นรองมาจากขลุ่ยก็คือแซกโซโฟน อ.ธนิสร์ได้วาดลวดลายแซกโวโฟนเจ๋งๆ ไว้ในเพลง“2 เฒ่าผู้ยิ่งใหญ่” ที่มาในลีลาสนุกแบบเร็กเก้ หรือเอาแบบโซโลสุดมันในเพลง “เฒ่าทะเล” กับ “บิ๊กเสี่ยว” โดยเฉพาะในคอนเสิร์ตอีสานเขียว อ.ธนิสร์เป่าแซกโซโฟนแจมกับกีตาร์ของเหล่ายอดมือกีตาร์อันดับต้นๆของเมืองไทยในยุคนั้นได้อย่างสุดมัน ส่วนเพลง “รักทรหด” , “สบายกว่า” นั้นโซโลแซกสั้นๆแต่ฟังน่ารักมีเสน่ห์
ขณะที่เครื่องดนตรีหลักอย่างคีย์บอร์ดนั้นก็ใช่ย่อย อ.ธนิสร์ ก็ได้ฝากฝีไม้ลายมืออันโดดเด่นไว้ในหลายบทเพลงด้วยกัน อาทิ “ลูกแก้ว”, “ซาอุดร”,“คนหนังเหนียว” หรือทางคีย์บอร์ดสุดอลังการในอินโทรเพลง“เจ้าตาก” ส่วนเพลง“หำเทียม” ท่อนโซโลแอคคอร์เดียนนั้นก็ทำได้เจ๋งและยังคุ้นหูแฟนเพลงมาจนทุกวันนี้
2…
อ.ธนิสร์ เข้ามาร่วมชายคาเป็นสมาชิกวงคาราบาวได้ไม่นานเพียงแค่ประมาณ 4 ปี แต่ก็เป็น 4 ปีแห่งยุคทองของคาราบาว ก่อนที่วงหัวควายในยุครุ่งโรจน์จะถึงจุดอิ่มตัว สมาชิกแต่ละคนแยกย้ายไปแสวงหาหนทางของตัวเอง โดย อ.ธนิสร์ได้แยกตัวออกจากคาราบาวไปเป็นคนแรกหลังชุด“ทับหลัง”(2531) ด้วยความเห็นที่ขัดแย้งกับแอ๊ด คาราบาว จากนั้นก็มีสมาชิกคนอื่นๆทยอยกันออกมา อันถือเป็นการแตกตัวครั้งสำคัญของคาราบาว
ปี 2532 หลังออกจากคาราบาว อ.ธนิสร์ ได้ร่วมกับ 2 อดีต สมาชิกคาราบาวเดิมคือ น้าเทียรี่ - เทียรี่ เมฆวัฒนา : นักร้องนำ มือกีตาร์ 2 และน้าเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ : มือกลอง ออกอัลบั้ม“ขอเดี่ยวด้วยคนนะ” (ปี 2532) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง
ปี 2535 อ.ธนิสร์ ออกผลงานอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของตัวเอง คือ“ลมไผ่” ที่เป็นหนึ่งในอัลบั้มคลาสสิคของเขา งานเพลงชุดนี้ได้สร้างอีกหนึ่งบทเพลงประจำตัวให้กับ อ.ธนิสร์ คือ “ทานตะวัน” (ประพันธ์เนื้อร้องโดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
จากนั้นในปี 2538 อ.ธนิสร์พร้อมสมาชิกคาราบาวในยุคทองหวนกลับมารียูเนียนอีกครั้งในชุด “15 ปีคาราบาว” ก่อนแยกย้ายกันไป จากนั้นในชุด “สาวเบียร์ช้าง” ปี 2544 อ.ธนิสร์ได้กลับมาเป็นแขกรับเชิญเป่าขลุ่ยในเพลง “เดือนแรม” นับเป็นบทเพลงสุดท้ายในสตูดิโอที่เขาร่วมเล่นกับวงคาราบาว พร้อมกับเข้ามาร่วมวงเฉพาะกิจในโอการครบรอบ 30 ปี คาราบาว
นอกจากผลงานตามที่กล่าวมาแล้ว อ.ธนิสร์ ยังมีงานเดี่ยวของตัวเองอีกหลายชุด อาทิ ชุด “ฤดูกาล”,“นางนวล”, “ลมชีวิต”, “โลกเบิกบาน”, “ความฝันอันสูงสุด” รวมถึงการออกดูเอทร่วมกับ น้าหงา คาราวาน(สุรชัย จันทิมาธร) ในชุด“รัตติกาล” ออกผลงานทริโอ ร่วมกับ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และน้าหมู-พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ในชุด “เพลงแผ่นดิน จาก 3 คีตกานต์กวี”(2547)
ด้วยความที่คร่ำหวอดอยู่ในยุทธจักรวงการเพลงไทยมานาน ให้ อ.ธนิสร์คว้ารางวัลทางดนตรีติดตัวมาไม่น้อย เช่น รางวัลสีสันอวอร์ดครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2532 ในสาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม ธนิสร์ เทียรี่ อำนาจ จากอัลบั้ม “ขอเดี่ยวด้วยคนนะ”, รางวัลสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2536 เพลงบรรเลงยอดเยี่ยม “ท้องฟ้า” จากอัลบั้มลมชีวิต, รางวัล “ทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติ” จากกองทัพบก ในโครงการสายธารสู่อีสานเขียว เป็นต้น
สำหรับอีกหนึ่งผลงานสำคัญของ อ.ธนิสร์ นั่นก็คือการที่เขาได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ พัฒนามาตรฐานขลุ่ยไทยให้เป็นสากล สามารถเล่นโน้ตครึ่งเสียง แฟลช ชาร์ป ได้ เล่นบทเพลงสากลได้ เล่นกับเครื่องดนตรีสากลได้ สามารถเล่นเพลงแจ๊ซ เพลงบลูส์ได้
พร้อมกันนี้ อ.ธนิสร์ ยังได้นำขลุ่ยไทยไปแสดงต่อสายตาชาวต่างชาติให้เห็นถึงเสน่ห์และความงดงามของดนตรีไทย
3...
อ.ธนิสร์ นอกจากจะเป็นคนสิงห์บุรีแล้ว เขายังเป็นคนใจสิงห์ที่กล้าออกมายืนหยัดท้าทายอำนาจอธรรม กล้าสู้กับรัฐบาลทรราชอย่างเต็มตัว โดยเขาได้เข้าร่วมกับม็อบมวลมหาประชาชนขับไล่ทรราชของกำนันสุเทพมาตั้งแต่ต้น แบบไม่หวั่น บยั่น ต่ออันตราย
ใครที่ได้เข้าร่วมม็อบมวลมหาประชาชน หลายต่อหลายวัน หลายต่อหลายคืน จะได้ยินเสียงขลุ่ยเพราะๆ สร้างความเพลิดเพลิน สุขใจ เติมพลังให้กับกลุ่มผู้ชุมชน บางวันแม้จะได้ขึ้นเวทีดึกดื่น บางวัน อ.ธนิสร์ อยู่ร่วมกับผู้ชุมนุมถึงเช้า เขาก็ไม่เคยย่อท้อ แต่ยังคงคอยยืนหยัดให้กำลังใจ พร้อมกับนำขลุ่ยคู่ใจมาเป่าขับกล่อมผู้ชุมนุมอยู่เป็นประจำ ทั้งแบบขึ้นมาเดี่ยวๆหรือขึ้นแจมกับศิลปินคนอื่นๆ เช่น “วงมาลีฮวนน่า”, “อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์”, ศิรินทรา นิยากร” เป็นต้น
และนี่ก็คืออีกหนึ่งศิลปินนักสู้ที่ต้องการปฏิรูปประเทศไทย เปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยไม่ยอมก้มหัวให้กับเผด็จการทรราช และทุนนิยมสามานย์
ขอคารวะด้วยหัวใจ แด่จอมยุทธ์ขลุ่ย “อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี”