เอ่ยชื่อถึงสตูดิโอที่ชื่อ "จิบลิ" (Ghibli) สำหรับใครที่เป็นคอหนังโดยเฉพาะบรรดาคนที่ชื่นชอบงานภาพยนตร์ประเภทแอนิเมชั่นคงจะต้องร้องอ๋อ
และก็เชื่อด้วยว่าคงมีคุณผู้อ่านจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ได้สถาปนาตนเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสตูดิโอชื่อดังของญี่ปุ่นค่ายนี้มานานแล้ว
จำได้ว่าผมเคยดูผลงานของ จิบลิ ครั้งแรกก็ตอนที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยปีที่ 2 ก็น่าจะราวๆ 15 ปีที่แล้วจากเพื่อนที่เรียนเอกฟิล์มคนหนึ่งเช่าวิดีโอร้านเฟรมท่าพระจันทร์มาดู ชื่อเรื่องว่า "สุสานหิงห้อย" เป็นราวของสองพี่น้องชาวญี่ปุ่นคู่หนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เราก็คงจะทราบกันดีว่าตอนนั้นทั้งคนและประเทศญี่ปุ่นเองต้องได้รับความบอบช้ำแสนสาหัสมากมายเพียงใด
ปรากฏว่าดูจบน้ำตาก็แทบจะหมดตัวเลยครับ
ทั้งๆ ที่จริงๆ ตัวหนังเองก็ไม่ได้จะมาเค้น หรือมีบรรยากาศที่หม่นหมองตั้งใจบีบคั้นให้ต้องรู้สึกว่าเป็นเรื่องเศร้าอะไรมากมายนะครับ ในทางกลับกันภาพบรรยากาศต่างๆ ตลอดจนลายเส้นของตัวการ์ตูนนั้นก็ดูจะสวยสดใสน่ารักแต่พอมารู้สึกว่าในระหว่างที่ตัวละครกำลังมีความสุข มีความหวัง มีเรื่องดีๆ เข้ามา แต่ท้ายสุดเรื่องร้ายๆ มันก็มักจะตามมาเสมอตรงนี้มันก็เลยพาลให้สลดหดหู่อย่างไรก็ไม่ทราบครับ
ถามว่าชอบการ์ตูนเรื่องนี้มั้ย ชอบนะครับ แต่ด้วยความที่แพ้ทางหนังแนวนี้และไม่ค่อยจะชอบดูการ์ตูนเรื่องยาวๆ สักเท่าไหร่ก็เลยไม่ค่อยจะได้ติดตามค่ายการ์ตูนค่ายดังค่ายนี้สักเท่าไหร่
กระทั่งถึงตอนนี้ ผมเองถึงได้รู้ตัวว่าตัวเองโง่มาเสียนาน หลังจากได้มีโอกาสชมงานการ์ตูนจากค่าย จิบลิ ที่ทีวีดาวเทียมช่อง GMM ONE เอามาฉายในวันเด็กที่ผ่านมาสองเรื่องต่อกันอย่าง "Pom Poko" (ชื่อไทย-ทานูกิป่วนเมือง) กับ "My Neighbor Totoro" (ชื่อไทย - โทโทโร่เพื่อนรัก)
"Pom Poko" เป็นเรื่องของเหล่าตัว ทานูกิ ที่อาศัยอยู่ในภูเขาลูกเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ๆ กับเมืองโตเกียว แต่แล้วในวันหนึ่งความสงบและช่วงเวลาแห่งความสุขของพวกมันก็กำลังจะหมดไป เมื่อภูเขาลูกดังกล่าวกำลังจะถูกทำลายลงด้วยน้ำมือของมนุษย์เพื่อรองรับกับประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นั่นเองที่ทำให้เหล่าพวก ทานูกิ ในฐานะเจ้าของพื้นที่ต้องลุกขึ้นต่อต้านเพื่อรักษาทั้งที่อยู่อาศัยและการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของตัวเอง
ทานูกิป่วนเมือง นอกจากจะดูสนุกรวมทั้งให้ข้อคิดหลายต่อหลายเรื่องแล้ว ที่ผมชอบมากๆ ก็คือการที่หนังสามารถนำเอาเรื่องราวความเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องการแปลงกายได้ของตัวทานูกิ รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องของเหล่าภูติ ผี ตัวปีศาจต่างๆ ในตำนานของคนญี่ปุ่นที่รุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่รู้จักกันแล้วมานำเสนอได้อย่างกลมกลืนและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ไปกันที่ My Neighbor Totoro
เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของพี่น้องชื่อ "ซัตสึกิ" และ "เม" ที่ได้ย้ายตามพ่อซึ่งมีอาชีพเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในโตเกียวมาอยู่ที่บ้านในย่านชนบทแห่งหนึ่ง โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดกับผู้เป็นแม่ซึ่งมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกับหมู่บ้านดังกล่าวมากนัก
แม้จะดูเหมือนห่างไกลจากความเจริญทั้งหลาย แต่ที่นี่ทั้งสองพี่น้องกลับมีความสุขมากๆ กับบรรยากาศที่สดใสในความเป็นธรรมชาติของท้องทุ่ง เรือกสวนไร่นา ป่าไม้ ลำธาร และความเป็นมิตรที่เปี่ยมไปด้วยไมตรีของเพื่อนบ้าน
ซึ่งนอกจากจะได้รู้จักกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันที่มีชื่อว่า "กอนตะ" และผู้เป็นยายที่สุดแสนจะใจดีแล้ว ทั้งสองยังได้เพื่อนใหม่เป็นตัวประหลาด ขนฟูๆ มีรูปร่างคล้ายแมวผสมกับกระต่าย ที่มีชื่อว่า "โทโทโร่" อีกด้วย
เรื่องราวต่างๆ ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีมาถึงจุดพลิกผันเมื่อ เม มารู้ว่าแม่ไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลตามกำหนดเดิมได้ ด้วยความเป็นห่วงเพราะเข้าใจว่าผู้เป็นแม่จะเป็นอะไรไป เธอจึงตัดสินใจเดินเท้าไปหาแม่ที่โรงพยาบาลด้วยตัวคนเดียว!
ถึงฉากนี้น้ำตาผมก็ไหลพรากๆ ออกมา ไปจนกระทั่งถึงตอนจบของเรื่องเลยครับ เพียงแต่ว่าการร้องไห้ครั้งนี้จบลงด้วยความอิ่มเอมผิดไปจากครั้งแรกที่รู้สึกว่าหดหู่มากกว่า
และนั่นเองที่ทำให้ผมตกหลุมรักมนต์สเน่ห์จากการ์ตูนจาก จิบลิ เข้าให้อย่างจัง
จะว่าไปก็เหมือนพรหมลิขิตก็ได้มั้งครับ เพราะในขณะที่อยากจะทำความรู้จักกับสตูดิโอค่ายนี้รวมถึงผลงานต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้นก็พอดีที่ว่าในตอนนี้มีหนังสือที่ชื่อว่า GHIBLI STORY ออกมาพอดิบพอดี ซึ่งผมก็ไม่รอช้ารีบไปหาซื้อจับจองเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้ว
สนนราคา 180 บาทนั้นต้องบอกว่าคุ้มเกินคุ้มกับเรื่องราวที่หลากหลายที่อัดอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งที่เริ่มจากคนสองคนอย่าง "ฮายาโอะ มิยาซากิ" และ "อิซาโอะ ทาคาฮาตะ" ที่ต้องล้มลุกคลุกคลานมากน้อยขนาดไหนกว่าจะทำให้สตูดิโอค่ายนี้กลายเป็นสตูดิโอระดับโลกซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยผลงานคุณภาพ รวมไปถึงรายชื่อผลงานภาพยนตร์ทั้งหมดพร้อมรายละเอียดเบื้องหน้า-เบื้องหลัง เกร็ดความรู้ต่างๆ ตลอดจนวิธีคิด แรงบันดาลใจ ความฝัน จินตนาการ และแนวทางในการทำงานของคนในสตูดิโอแห่งนี้ที่ต้องบอกว่ายิ่งได้รู้ก็ยิ่งทึ่ง
ยกตัวอย่าง My Neighbor Totoro เมื่อตอนออกฉายครั้งแรกในปี 1988 นั้นมันต้องถูกขายพ่วงไปกับการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่งเพราะหลายคนเชื่อว่าการ์ตูนที่เป็นเรื่องราวของเด็กตัวเล็กๆ 2 คนกับสัตว์ประหลาดจะสามารถขายได้ และก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ เมื่อการ์ตูนผลงานของ ฮายาโอะ เรื่องนี้ทำรายได้อย่างน่าผิดหวังสวนทางกลับเสียงวิจารณ์และรางวัลต่างๆ ที่ได้รับมามากมายจากหลายเวที
ที่น่าแปลกใจกว่านั้นก็คือในเวลา 2 ปีต่อมา กลายเป็นว่าเจ้าตัวประหลาดรูปร่างเหมือนแมวปนกระต่ายตัวนี้กลับเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับสตูดิโอจิบลิมากที่สุด ก่อนจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของสตูดิโอแห่งนี้ในเวลาต่อมา
จริงๆ ในเรื่องราวของ My Neighbor Totoro ยังมีอะไรที่น่าพูดถึงอีกเยอะ ทั้งเรื่องของที่มาที่ไป เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่อยู่ในหนัง หรือแม้แต่ข้อมุมมองข้อถกเถียงในประเด็นต่างๆ ของแต่ละคนที่มีโอกาสได้ชมการ์ตูนเรื่องนี้ และจะว่าไปก็คงจะทุกเรื่องของผลงานจากสตูดิโอค่ายนี้ที่จะต้องสอดแทรกแนวคิด ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของคนญี่ปุ่น ประเพณี สังคม วัฒนธรรม อันค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์ ขณะที่ฉากหลังของการดำเนินเรื่องก็มักจะอุดมไปด้วยภาพความสวยงามของธรรมชาติ การเล่าเรื่องที่มาจากแรงบันดาลใจ ผสมผสานกับประสบการณ์จริง ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้การ์ตูนจากค่ายนี้สามารถที่จะถ่ายทอดพลังแห่งความรู้สึกไปสู่คนดูได้อย่างยิ่งใหญ่เอามากๆ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยความอลังการทางด้านงานสร้างหรือพวก Visual Effect อะไรมากมายนัก และทั้งหมดนี้นี่แหละครับที่ผมคิดว่ามันคือสเน่ห์ของสตูดิโอค่าย จิบลิ ค่ายนี้
คงไม่สายไปนะครับที่ผมจะขอชวนคนที่ไม่เคยเสพผลงานจากค่ายการ์ตูนค่ายนี้มาก่อนมาลองร่วมทำความรู้จักและรักค่ายการ์ตูนค่ายนี้ไปพร้อมๆ กัน
และก็เชื่อด้วยว่าคงมีคุณผู้อ่านจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ได้สถาปนาตนเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสตูดิโอชื่อดังของญี่ปุ่นค่ายนี้มานานแล้ว
จำได้ว่าผมเคยดูผลงานของ จิบลิ ครั้งแรกก็ตอนที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยปีที่ 2 ก็น่าจะราวๆ 15 ปีที่แล้วจากเพื่อนที่เรียนเอกฟิล์มคนหนึ่งเช่าวิดีโอร้านเฟรมท่าพระจันทร์มาดู ชื่อเรื่องว่า "สุสานหิงห้อย" เป็นราวของสองพี่น้องชาวญี่ปุ่นคู่หนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เราก็คงจะทราบกันดีว่าตอนนั้นทั้งคนและประเทศญี่ปุ่นเองต้องได้รับความบอบช้ำแสนสาหัสมากมายเพียงใด
ปรากฏว่าดูจบน้ำตาก็แทบจะหมดตัวเลยครับ
ทั้งๆ ที่จริงๆ ตัวหนังเองก็ไม่ได้จะมาเค้น หรือมีบรรยากาศที่หม่นหมองตั้งใจบีบคั้นให้ต้องรู้สึกว่าเป็นเรื่องเศร้าอะไรมากมายนะครับ ในทางกลับกันภาพบรรยากาศต่างๆ ตลอดจนลายเส้นของตัวการ์ตูนนั้นก็ดูจะสวยสดใสน่ารักแต่พอมารู้สึกว่าในระหว่างที่ตัวละครกำลังมีความสุข มีความหวัง มีเรื่องดีๆ เข้ามา แต่ท้ายสุดเรื่องร้ายๆ มันก็มักจะตามมาเสมอตรงนี้มันก็เลยพาลให้สลดหดหู่อย่างไรก็ไม่ทราบครับ
ถามว่าชอบการ์ตูนเรื่องนี้มั้ย ชอบนะครับ แต่ด้วยความที่แพ้ทางหนังแนวนี้และไม่ค่อยจะชอบดูการ์ตูนเรื่องยาวๆ สักเท่าไหร่ก็เลยไม่ค่อยจะได้ติดตามค่ายการ์ตูนค่ายดังค่ายนี้สักเท่าไหร่
กระทั่งถึงตอนนี้ ผมเองถึงได้รู้ตัวว่าตัวเองโง่มาเสียนาน หลังจากได้มีโอกาสชมงานการ์ตูนจากค่าย จิบลิ ที่ทีวีดาวเทียมช่อง GMM ONE เอามาฉายในวันเด็กที่ผ่านมาสองเรื่องต่อกันอย่าง "Pom Poko" (ชื่อไทย-ทานูกิป่วนเมือง) กับ "My Neighbor Totoro" (ชื่อไทย - โทโทโร่เพื่อนรัก)
"Pom Poko" เป็นเรื่องของเหล่าตัว ทานูกิ ที่อาศัยอยู่ในภูเขาลูกเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ๆ กับเมืองโตเกียว แต่แล้วในวันหนึ่งความสงบและช่วงเวลาแห่งความสุขของพวกมันก็กำลังจะหมดไป เมื่อภูเขาลูกดังกล่าวกำลังจะถูกทำลายลงด้วยน้ำมือของมนุษย์เพื่อรองรับกับประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นั่นเองที่ทำให้เหล่าพวก ทานูกิ ในฐานะเจ้าของพื้นที่ต้องลุกขึ้นต่อต้านเพื่อรักษาทั้งที่อยู่อาศัยและการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของตัวเอง
ทานูกิป่วนเมือง นอกจากจะดูสนุกรวมทั้งให้ข้อคิดหลายต่อหลายเรื่องแล้ว ที่ผมชอบมากๆ ก็คือการที่หนังสามารถนำเอาเรื่องราวความเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องการแปลงกายได้ของตัวทานูกิ รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องของเหล่าภูติ ผี ตัวปีศาจต่างๆ ในตำนานของคนญี่ปุ่นที่รุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่รู้จักกันแล้วมานำเสนอได้อย่างกลมกลืนและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ไปกันที่ My Neighbor Totoro
เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของพี่น้องชื่อ "ซัตสึกิ" และ "เม" ที่ได้ย้ายตามพ่อซึ่งมีอาชีพเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในโตเกียวมาอยู่ที่บ้านในย่านชนบทแห่งหนึ่ง โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดกับผู้เป็นแม่ซึ่งมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกับหมู่บ้านดังกล่าวมากนัก
แม้จะดูเหมือนห่างไกลจากความเจริญทั้งหลาย แต่ที่นี่ทั้งสองพี่น้องกลับมีความสุขมากๆ กับบรรยากาศที่สดใสในความเป็นธรรมชาติของท้องทุ่ง เรือกสวนไร่นา ป่าไม้ ลำธาร และความเป็นมิตรที่เปี่ยมไปด้วยไมตรีของเพื่อนบ้าน
ซึ่งนอกจากจะได้รู้จักกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันที่มีชื่อว่า "กอนตะ" และผู้เป็นยายที่สุดแสนจะใจดีแล้ว ทั้งสองยังได้เพื่อนใหม่เป็นตัวประหลาด ขนฟูๆ มีรูปร่างคล้ายแมวผสมกับกระต่าย ที่มีชื่อว่า "โทโทโร่" อีกด้วย
เรื่องราวต่างๆ ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีมาถึงจุดพลิกผันเมื่อ เม มารู้ว่าแม่ไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลตามกำหนดเดิมได้ ด้วยความเป็นห่วงเพราะเข้าใจว่าผู้เป็นแม่จะเป็นอะไรไป เธอจึงตัดสินใจเดินเท้าไปหาแม่ที่โรงพยาบาลด้วยตัวคนเดียว!
ถึงฉากนี้น้ำตาผมก็ไหลพรากๆ ออกมา ไปจนกระทั่งถึงตอนจบของเรื่องเลยครับ เพียงแต่ว่าการร้องไห้ครั้งนี้จบลงด้วยความอิ่มเอมผิดไปจากครั้งแรกที่รู้สึกว่าหดหู่มากกว่า
และนั่นเองที่ทำให้ผมตกหลุมรักมนต์สเน่ห์จากการ์ตูนจาก จิบลิ เข้าให้อย่างจัง
จะว่าไปก็เหมือนพรหมลิขิตก็ได้มั้งครับ เพราะในขณะที่อยากจะทำความรู้จักกับสตูดิโอค่ายนี้รวมถึงผลงานต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้นก็พอดีที่ว่าในตอนนี้มีหนังสือที่ชื่อว่า GHIBLI STORY ออกมาพอดิบพอดี ซึ่งผมก็ไม่รอช้ารีบไปหาซื้อจับจองเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้ว
สนนราคา 180 บาทนั้นต้องบอกว่าคุ้มเกินคุ้มกับเรื่องราวที่หลากหลายที่อัดอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งที่เริ่มจากคนสองคนอย่าง "ฮายาโอะ มิยาซากิ" และ "อิซาโอะ ทาคาฮาตะ" ที่ต้องล้มลุกคลุกคลานมากน้อยขนาดไหนกว่าจะทำให้สตูดิโอค่ายนี้กลายเป็นสตูดิโอระดับโลกซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยผลงานคุณภาพ รวมไปถึงรายชื่อผลงานภาพยนตร์ทั้งหมดพร้อมรายละเอียดเบื้องหน้า-เบื้องหลัง เกร็ดความรู้ต่างๆ ตลอดจนวิธีคิด แรงบันดาลใจ ความฝัน จินตนาการ และแนวทางในการทำงานของคนในสตูดิโอแห่งนี้ที่ต้องบอกว่ายิ่งได้รู้ก็ยิ่งทึ่ง
ยกตัวอย่าง My Neighbor Totoro เมื่อตอนออกฉายครั้งแรกในปี 1988 นั้นมันต้องถูกขายพ่วงไปกับการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่งเพราะหลายคนเชื่อว่าการ์ตูนที่เป็นเรื่องราวของเด็กตัวเล็กๆ 2 คนกับสัตว์ประหลาดจะสามารถขายได้ และก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ เมื่อการ์ตูนผลงานของ ฮายาโอะ เรื่องนี้ทำรายได้อย่างน่าผิดหวังสวนทางกลับเสียงวิจารณ์และรางวัลต่างๆ ที่ได้รับมามากมายจากหลายเวที
ที่น่าแปลกใจกว่านั้นก็คือในเวลา 2 ปีต่อมา กลายเป็นว่าเจ้าตัวประหลาดรูปร่างเหมือนแมวปนกระต่ายตัวนี้กลับเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับสตูดิโอจิบลิมากที่สุด ก่อนจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของสตูดิโอแห่งนี้ในเวลาต่อมา
จริงๆ ในเรื่องราวของ My Neighbor Totoro ยังมีอะไรที่น่าพูดถึงอีกเยอะ ทั้งเรื่องของที่มาที่ไป เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่อยู่ในหนัง หรือแม้แต่ข้อมุมมองข้อถกเถียงในประเด็นต่างๆ ของแต่ละคนที่มีโอกาสได้ชมการ์ตูนเรื่องนี้ และจะว่าไปก็คงจะทุกเรื่องของผลงานจากสตูดิโอค่ายนี้ที่จะต้องสอดแทรกแนวคิด ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของคนญี่ปุ่น ประเพณี สังคม วัฒนธรรม อันค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์ ขณะที่ฉากหลังของการดำเนินเรื่องก็มักจะอุดมไปด้วยภาพความสวยงามของธรรมชาติ การเล่าเรื่องที่มาจากแรงบันดาลใจ ผสมผสานกับประสบการณ์จริง ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้การ์ตูนจากค่ายนี้สามารถที่จะถ่ายทอดพลังแห่งความรู้สึกไปสู่คนดูได้อย่างยิ่งใหญ่เอามากๆ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยความอลังการทางด้านงานสร้างหรือพวก Visual Effect อะไรมากมายนัก และทั้งหมดนี้นี่แหละครับที่ผมคิดว่ามันคือสเน่ห์ของสตูดิโอค่าย จิบลิ ค่ายนี้
คงไม่สายไปนะครับที่ผมจะขอชวนคนที่ไม่เคยเสพผลงานจากค่ายการ์ตูนค่ายนี้มาก่อนมาลองร่วมทำความรู้จักและรักค่ายการ์ตูนค่ายนี้ไปพร้อมๆ กัน