โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ “จอห์น บอนแฮม”(John Bonham) หนึ่งในสุดยอดมือกลองตลอดกาลของโลกด้วยวัยเพียง 32 ปี ในวันที่ 25 ต.ค. ปี ค.ศ.1980 นั้น ถือเป็นการจากไปแบบไม่หวนคืนของ วง“เลด เซพเพลิน”(Led Zeppelin) ด้วย
และนับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ แม้ 3 สมาชิกที่เหลือของเลด เซพ ยังไม่สามารถหาจุดลงตัว หาฤกษ์งามยามปลอด มาร่วมสร้างสรรค์งาน(สตูดิโออัลบั้ม)ใหม่ในนามเลด เซพเพลิน แต่ที่ผ่านมาพวกเขาก็มีโอกาสหวนกลับมาขึ้นเวทีเล่นคอนเสิร์ตร่วมกันอยู่บ้าง ซึ่งก็สามารถเรียกเสียงซี๊ดปาก เรียกเสียงฮือฮาจากแฟนเพลงได้อยู่ทุกครั้งไป
เพราะวงเรือเหาะมหัศจรรย์วงนี้เป็นหนึ่งในตำนานวงร็อกที่ดีที่สุดตลอดกาลของโลก อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็น(หนึ่งใน)วงต้นกำเนิดดนตรีอันหนักกะโหลกที่เรียกว่า “เฮฟวี่ เมทัล” ซึ่งล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว(2012) เลด เซพ ได้รับรางวัลเกียรติยศเคนเนดีเซ็นเตอร์ด้านศิลปะการแสดง ที่เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะผู้สร้างคุณูปการแก่ศิลปวัฒนธรรมของอเมริกัน (เรื่องราวและเพลงของวงเลด เซพเพลิน โดยละเอียดจะมีการนำเสนอผ่านคอลัมน์เพลงวานในโอกาสต่อไป)
สำหรับคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งหลังสุดที่ 3 หนุ่มใหญ่ ตำนานที่ยังมีลมหายใจของเลด เซพ ได้มาขึ้นเวทีเล่นคอนเสิร์ตร่วมกันก็คือคอนเสิร์ตการกุศล “Ahmet Ertegun Tribute Concert” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ณ โอทู อารีน่า(O2 Arena) กรุงลอนดอน ประทศอังกฤษ
คอนเสิร์ตนี้จัดขึ้นเพื่อคารวะแด่ “อาห์เม็ต เออร์เติกน์” (Ahmet Ertegun) ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทแอตแลนติก เรคคอร์ด ผู้ค้นพบและเจียระไนสุดยอดศิลปินออกสู่ยุทธจักรวงการเพลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรย์ ชาร์ลส์, อารีธา แฟรงคลิน, เอริค แคลปตัน,เดอะ โรลลิ่ง สโตนส์, ครอสบี้ สติลส์ แนช แอนด์ ยัง และ ฯลฯ รวมไปถึง เลด เซพเพลิน หนึ่งในสุดยอดวงร็อกระดับตำนานวงนี้
การกลับมารวมตัวเพื่อเล่นคอนเสิร์ตของเลด เซพ ครั้งนี้ สร้างปรากฏการณ์ถล่มทลายด้วยการเป็นคอนเสิร์ตที่มีผู้คนอยากเข้าชมคอนเสิร์ตมากที่สุดในโลก ซึ่งได้ถูกบันทึกสถิติไว้เป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนกินเนสส์ บุ๊กแล้ว โดยกินเนสส์ บุ๊ก เวิลด์ เรคคอร์ดส์ ได้บันทึกเอาไว้ว่าในปี 2007 นี่เป็นคอนเสิร์ตที่มีผู้ต้องการชมโดยได้แจ้งความจำนงของจองตั๋วกว่า 20 ล้านคนจากทั่วโลก ทำให้ต้องใช้วิธีจับผู้โชคดีทางออนไลน์เพื่อคัดผู้โชคดีจำนวนไม่กี่หมื่นคนเข้าร่วมชมคอนเสิร์ตครั้งนี้
และหลังจากนั้นนับเป็นเวลาร่วม 5 ปี คอนเสิร์ตรำลึกแด่อาห์เม็ต เออร์เติกน์ ได้ถูกผลิตเป็นอัลบั้ม “Celebration Day” ที่ได้ฤกษ์คลอดออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว(2012) โดยทาง Warner Music ได้ทำออกมาเป็นบ็อกเซ็ทเป็น 2 ซีดีคอนเสิร์ต 1 ดีวีดีคอนเสิร์ต และ 1 ดีวีดีโบนัส (คอนเสิร์ตนี้มีทำเป็นภาพยนตร์คอนเสิร์ตออกมาฉายด้วย)
Celebration Day เป็นคอนเสิร์ตที่ 3 ผู้ยิ่งยงแห่งเลด เซพ ยังอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาครบครัน นำโดย “จิมมี่ เพจ”(Jimmy Page) : กีตาร์, “โรเบิร์ต แพลนต์”(Robert Plant) : ร้องนำ และ “จอห์น พอล โจนส์”(John Paul Jones) : เบส-คีย์บอร์ด สำหรับมือกลองนั้นก็ไม่ใช่คนอื่นไกล หากแต่เป็น “เจสัน บอนแฮม”(Jason Bonham) ลูกชายหัวไม้(กลอง)ของ จอห์น บอนแฮม ซึ่งในช่วงหลังๆเขามีฐานะเป็นดังสมาชิกคนที่ 5 ของ เลด เซพกลายๆ
Celebration Day ใช้เวลาเล่นกว่า 2 ชั่วโมง มีทั้งหมด 16 บทเพลง(รวมอังกอร์) เป็นการรวมเพลงฮิต(ส่วนหนึ่ง)ของเลด เซพ มานำเสนอ เปิดตัวกันด้วย “Good Times Bad Times” บทเพลงมันๆจากอัลบั้มแรก(Led Zeppelin I)
จากนั้นคนทั้ง 4 ได้ขับเคลื่อนบทเพลงของวงเรือเหาะกันอย่างสุดเหวี่ยง ลืมแก่ ไม่ว่าจะเป็น “Black Dog” ที่เสียงร้องของน้าโรเบิร์ต แม้จะไม่สูงลิบเหมือนแต่ก่อนแต่ยังคงฟังทรงพลังเหมือนเดิม
“In My Time Of Dying” เปิดพื้นที่ให้น้าจิมมี่โชว์สไลด์กีตาร์ในอารมณ์บลูส์ร็อกอย่างถึงใจในบทเพลงที่ยาวกว่า 11 นาที
“Trampled Under Foot” เพลงสนุกๆติดลูกฟังกี้ ส่วน “Nobody's Fault But Mine” มาในแนวบลูส์ร็อกที่มีรสของเลด เซพอยู่เต็มเปี่ยม
เบรกอารมณ์มันๆกับ “No Quarter” ที่มาแบบเนิบช้าล่องลอย เพลงนี้น้าจอห์นเล่นคีย์บอร์ดเป็นพระเอก ก่อนต่ออารมณ์กันด้วย “Since I've Been Loving You” (ในซีดีขึ้นแผ่น 2) ที่เสียงกีตาร์ของน้าจิมมี่ยังคงบาดลึกกรีดใจ
ขณะที่ “Stairway To Heaven” แค่อินโทรกับลูกเกากีตาร์สุดเก๋าขึ้นนำมาคนก็กรี๊ดกันลั่น เพลงนี้พาคนฟังดึงอารมณ์ไปสู่บทเพลงมหากาพย์แห่งเพลงร็อก หนึ่งในเพลงชาติของเฮฟวี่ เมทัล ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหน Stairway To Heaven ยังคงมีมนต์อยู่ไม่เสื่อมคลาย
ในช่วงท้ายของคอนเสิร์ต เลด เซพ งัดเอาเพลงเด็ดๆดังๆจัดเต็มเล่นกันแบบจุใจไล่ไปตั้งแต่ “The Song Remains The Same”, “Misty Mountain Hop” และ “Kashmir” กับซาวนด์ภารตะแสนอลังการอันเป็นเอกลักษณ์ ก่อนจะส่งท้ายกันกับ 2 เพลงสุดมัน คือ “Whole Lotta Love” และ “Rock And Roll”
สำหรับคอนเสิร์ตครั้งนี้ น้าๆทั้ง 3 ของเลด เซพ เล่นดนตรีกันแบบลืมแก่ คือถ้าดูหน้าตาที่มากไปด้วยร่องรอยอารยธรรมกับพลังที่ขับเคลื่อนออกมานั้นตรงกันข้าม
เสียงร้องของโรเบิร์ตยังทรงพลังแถมยังมีลีลาท่าทางอันเร้าใจ แม้เสียงของเขาจะไม่สูงปรี๊ดเหมือนสมัยหนุ่มๆ แต่น้าโรเบิร์ตสามารถร้องเสียงหลอก เสียงหลบ ทำให้ไม่เสียอรรถรสของความเป็นเลด เซพ แต่อย่างใด
ขณะที่น้าจิมมี่นั้น สำหรับผมเขาเป็นมือกีตาร์ที่มีลีลาการเล่นที่เท่โคตร(ตลอดกาล) แม้ผมจะขาวโพลน แต่ท่าทางการเล่น การลีด การกระชากคอร์ด กับกีตาร์กิ๊บสันทรงคลาสิคกันเป็นเอกลักษณ์ของจิมมี่ เพจ ยังคงดูเท่อยู่ไม่สร่างซา แถมในบางจังหวะบางมุม ผมมองยังกับว่า“โจว เหวิน ฟะ” มาเล่นกีตาร์ยังไงยังงั้น
วันนี้แม้ลูกนิ้วของน้าจิมมี่จะไม่เร็วบรื๋อเหมือนหนุ่มๆ แต่การใช้กีตาร์ทำหน้าที่เล่นเป็นแกนของวงทั้ง ลูกริฟฟ์ ลูกโซโล ตีคอร์ด ลูกหยอด ลูกลิก ลูกตอด น้าจิมมี่ยังคงทำได้อย่างยอดเยี่ยม เสียงกีตาร์อ้วนๆในท่อนโซโลหลายๆเพลง น้าแกเล่นแอดลิบรื่นไหลไปกับอารมณ์ของเพลง ยามดุดันน้าแกจัดหนัก จัดดุใส่แบบไม่ยั้ง แต่ยามหวานเศร้าก็พรมนิ้วลีดกรีดอารมณ์ได้บาดลึก เรียกว่ายังครบเครื่องไว้ลายหนึ่งในมือกีตาร์ระดับตำนานของโลก
ส่วนน้าจอห์น พอล โจนส์ แม้แกจะดูไม่เด่นเทียบเท่า 2 คู่หูแพลนต์-เพจ มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่แกถือเป็นกำลังหลักสำคัญที่ขาดไม่ได้ เสียงเบสของน้าจอห์นยังคงแน่นปึ้ก ทางเบสรื่นไหล ไลน์สวยงาม เท่านั้นยังไม่พอน้าแกยังเปลี่ยนตำแหน่งไปเล่นคีย์บอร์ดอยู่บ่อยครั้งนับเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนของเลด เซพ มานับแต่ไหนแต่ไร
สมาชิกบนเวทีอีกหนึ่งหน่วยที่ขาดไม่ได้ก็คือ เจสัน บอนแฮม ที่แม้ซาวนด์การตีกลองจะต่างจากพ่อ แต่เขาก็สามารถตีกลองสานต่อความเป็นเลด เซพ ได้อย่างดี รื่นไหล ไม่มีสะดุด ทั้งลูกหนัก ลูกคุมจังหวะ ลูกส่ง ลูกขัด และอีกสารพัดลูก เจสันตีได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะเขาคือลูกของบอนโซผู้เป็นไม้หล่นไม่ไกลต้น แถมพวกน้าๆยังปั้นหนุนส่งกันอย่างเต็มที่ ดูแล้วอบอุ่นไม่น้อย
งานนี้จะว่าไป หากจะหาใครมาตีกลองให้เลด เซพ วันนี้คงไม่มีใครที่จะซึมซับความเป็นบอนแฮมและตีกลองได้รู้ใจ เข้าขากับน้าๆทั้งสามได้เท่าเจสัน บอนแฮม อีกแล้ว
อย่างไรก็ดีแม้สมาชิกทั้ง 4 จะมีฝีมือในระดับพระกาฬ แต่สิ่งที่เด่นที่สุดในคอนเสิร์ตครั้งนี้กับอยู่ที่ความเป็นเลด เซพ ของทีมเวิร์คที่ไม่มีใครโชว์เหนือกันแบบเกินหน้าเกินตา รวมถึงความสดกระชากวัย และความไม่ซ้ำซากเพราะส่วนใหญ่ในการเล่นคอนเสิร์ตของเลด เซพแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะลูกโซโล(แอดลิบ)ของจิมมี่เพจ ที่มักจะรื่นไหลไปตามอารมณ์เพลง
สำหรับอัลบั้มชุดนี้อาจจะไม่ใช่สุดยอดแห่งอัลบั้มคอนเสิร์ตที่ดีที่สุด แต่นี่ถือเป็นคอนเสิร์ตที่ฟังแล้ว ดูแล้ว ทรงคุณค่า ไม่ผิดหวัง ฟังแล้วสมศักดิ์ศรียอดวงในระดับตำนาน และคุ้มค่าต่อการรอคอย โดยเฉพาะแฟนเพลงของวงเรือเหาะที่มีอยู่ทั่วโลก ทั้งรุ่นใหญ่-กลาง-เล็ก
ส่วนใครที่แอบหวังไกลไปกว่านั้น ด้วยหวังอยู่ลึกๆว่า สักวันหนึ่งเหล่าสมาชิกเลด เซพเพลิน จะกลับมารวมตัว ขับเคลื่อนเรือเหาะมหัศจรรย์ให้ลือลั่นยุทธจักรวงการเพลงอีกครั้ง งานนี้คงต้องรอคอยต่อไป และต้องแอบหวังกันต่อไป
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Matchbox Twenty
อัลบั้ม : North
หลังห่างหายไปนานกว่า 4 ปี Matchbox Twenty วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากฟลอริด้ากลับมาอีกครั้ง ด้วยการส่งอัลบั้มใหม่ North มาเอาใจขาร็อก
อัลบั้มนี้ทางวงนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายจากประสบการณ์ที่พานพบของพวกเขาในช่วงที่หายไป โดยมีเพลงเด่นๆ ได้แก่ “Parade” อัลเทอร์เนทีฟสไตล์ที่ไม่โหล มีไลน์เครื่องสายเล่นรองพื้นรับอย่างหนาแน่น “She's So Mean” เพลงสุดเท่ในอารมณ์โจ๊ะๆมันๆ “Put Your Hands Up” อีกหนึ่งเพลงมันๆติดกลิ่นฟังกี้ และ “Overjoyed” กับ “I Will” 2 เพลงอะคูสติกบัลลาดหวานๆกับน้ำเสียงมีเสน่ห์ของ “ร็อบ โธมัส”
บทเพลงใน North แม้จะมีความหลากหลายแต่ก็กลมกลืนอยู่ในศูนย์รวมเดียวกัน นับเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มากไปด้วยเป็นร็อกเท่ๆชวนฟัง
การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ “จอห์น บอนแฮม”(John Bonham) หนึ่งในสุดยอดมือกลองตลอดกาลของโลกด้วยวัยเพียง 32 ปี ในวันที่ 25 ต.ค. ปี ค.ศ.1980 นั้น ถือเป็นการจากไปแบบไม่หวนคืนของ วง“เลด เซพเพลิน”(Led Zeppelin) ด้วย
และนับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ แม้ 3 สมาชิกที่เหลือของเลด เซพ ยังไม่สามารถหาจุดลงตัว หาฤกษ์งามยามปลอด มาร่วมสร้างสรรค์งาน(สตูดิโออัลบั้ม)ใหม่ในนามเลด เซพเพลิน แต่ที่ผ่านมาพวกเขาก็มีโอกาสหวนกลับมาขึ้นเวทีเล่นคอนเสิร์ตร่วมกันอยู่บ้าง ซึ่งก็สามารถเรียกเสียงซี๊ดปาก เรียกเสียงฮือฮาจากแฟนเพลงได้อยู่ทุกครั้งไป
เพราะวงเรือเหาะมหัศจรรย์วงนี้เป็นหนึ่งในตำนานวงร็อกที่ดีที่สุดตลอดกาลของโลก อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็น(หนึ่งใน)วงต้นกำเนิดดนตรีอันหนักกะโหลกที่เรียกว่า “เฮฟวี่ เมทัล” ซึ่งล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว(2012) เลด เซพ ได้รับรางวัลเกียรติยศเคนเนดีเซ็นเตอร์ด้านศิลปะการแสดง ที่เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะผู้สร้างคุณูปการแก่ศิลปวัฒนธรรมของอเมริกัน (เรื่องราวและเพลงของวงเลด เซพเพลิน โดยละเอียดจะมีการนำเสนอผ่านคอลัมน์เพลงวานในโอกาสต่อไป)
สำหรับคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งหลังสุดที่ 3 หนุ่มใหญ่ ตำนานที่ยังมีลมหายใจของเลด เซพ ได้มาขึ้นเวทีเล่นคอนเสิร์ตร่วมกันก็คือคอนเสิร์ตการกุศล “Ahmet Ertegun Tribute Concert” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ณ โอทู อารีน่า(O2 Arena) กรุงลอนดอน ประทศอังกฤษ
คอนเสิร์ตนี้จัดขึ้นเพื่อคารวะแด่ “อาห์เม็ต เออร์เติกน์” (Ahmet Ertegun) ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทแอตแลนติก เรคคอร์ด ผู้ค้นพบและเจียระไนสุดยอดศิลปินออกสู่ยุทธจักรวงการเพลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรย์ ชาร์ลส์, อารีธา แฟรงคลิน, เอริค แคลปตัน,เดอะ โรลลิ่ง สโตนส์, ครอสบี้ สติลส์ แนช แอนด์ ยัง และ ฯลฯ รวมไปถึง เลด เซพเพลิน หนึ่งในสุดยอดวงร็อกระดับตำนานวงนี้
การกลับมารวมตัวเพื่อเล่นคอนเสิร์ตของเลด เซพ ครั้งนี้ สร้างปรากฏการณ์ถล่มทลายด้วยการเป็นคอนเสิร์ตที่มีผู้คนอยากเข้าชมคอนเสิร์ตมากที่สุดในโลก ซึ่งได้ถูกบันทึกสถิติไว้เป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนกินเนสส์ บุ๊กแล้ว โดยกินเนสส์ บุ๊ก เวิลด์ เรคคอร์ดส์ ได้บันทึกเอาไว้ว่าในปี 2007 นี่เป็นคอนเสิร์ตที่มีผู้ต้องการชมโดยได้แจ้งความจำนงของจองตั๋วกว่า 20 ล้านคนจากทั่วโลก ทำให้ต้องใช้วิธีจับผู้โชคดีทางออนไลน์เพื่อคัดผู้โชคดีจำนวนไม่กี่หมื่นคนเข้าร่วมชมคอนเสิร์ตครั้งนี้
และหลังจากนั้นนับเป็นเวลาร่วม 5 ปี คอนเสิร์ตรำลึกแด่อาห์เม็ต เออร์เติกน์ ได้ถูกผลิตเป็นอัลบั้ม “Celebration Day” ที่ได้ฤกษ์คลอดออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว(2012) โดยทาง Warner Music ได้ทำออกมาเป็นบ็อกเซ็ทเป็น 2 ซีดีคอนเสิร์ต 1 ดีวีดีคอนเสิร์ต และ 1 ดีวีดีโบนัส (คอนเสิร์ตนี้มีทำเป็นภาพยนตร์คอนเสิร์ตออกมาฉายด้วย)
Celebration Day เป็นคอนเสิร์ตที่ 3 ผู้ยิ่งยงแห่งเลด เซพ ยังอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาครบครัน นำโดย “จิมมี่ เพจ”(Jimmy Page) : กีตาร์, “โรเบิร์ต แพลนต์”(Robert Plant) : ร้องนำ และ “จอห์น พอล โจนส์”(John Paul Jones) : เบส-คีย์บอร์ด สำหรับมือกลองนั้นก็ไม่ใช่คนอื่นไกล หากแต่เป็น “เจสัน บอนแฮม”(Jason Bonham) ลูกชายหัวไม้(กลอง)ของ จอห์น บอนแฮม ซึ่งในช่วงหลังๆเขามีฐานะเป็นดังสมาชิกคนที่ 5 ของ เลด เซพกลายๆ
Celebration Day ใช้เวลาเล่นกว่า 2 ชั่วโมง มีทั้งหมด 16 บทเพลง(รวมอังกอร์) เป็นการรวมเพลงฮิต(ส่วนหนึ่ง)ของเลด เซพ มานำเสนอ เปิดตัวกันด้วย “Good Times Bad Times” บทเพลงมันๆจากอัลบั้มแรก(Led Zeppelin I)
จากนั้นคนทั้ง 4 ได้ขับเคลื่อนบทเพลงของวงเรือเหาะกันอย่างสุดเหวี่ยง ลืมแก่ ไม่ว่าจะเป็น “Black Dog” ที่เสียงร้องของน้าโรเบิร์ต แม้จะไม่สูงลิบเหมือนแต่ก่อนแต่ยังคงฟังทรงพลังเหมือนเดิม
“In My Time Of Dying” เปิดพื้นที่ให้น้าจิมมี่โชว์สไลด์กีตาร์ในอารมณ์บลูส์ร็อกอย่างถึงใจในบทเพลงที่ยาวกว่า 11 นาที
“Trampled Under Foot” เพลงสนุกๆติดลูกฟังกี้ ส่วน “Nobody's Fault But Mine” มาในแนวบลูส์ร็อกที่มีรสของเลด เซพอยู่เต็มเปี่ยม
เบรกอารมณ์มันๆกับ “No Quarter” ที่มาแบบเนิบช้าล่องลอย เพลงนี้น้าจอห์นเล่นคีย์บอร์ดเป็นพระเอก ก่อนต่ออารมณ์กันด้วย “Since I've Been Loving You” (ในซีดีขึ้นแผ่น 2) ที่เสียงกีตาร์ของน้าจิมมี่ยังคงบาดลึกกรีดใจ
ขณะที่ “Stairway To Heaven” แค่อินโทรกับลูกเกากีตาร์สุดเก๋าขึ้นนำมาคนก็กรี๊ดกันลั่น เพลงนี้พาคนฟังดึงอารมณ์ไปสู่บทเพลงมหากาพย์แห่งเพลงร็อก หนึ่งในเพลงชาติของเฮฟวี่ เมทัล ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหน Stairway To Heaven ยังคงมีมนต์อยู่ไม่เสื่อมคลาย
ในช่วงท้ายของคอนเสิร์ต เลด เซพ งัดเอาเพลงเด็ดๆดังๆจัดเต็มเล่นกันแบบจุใจไล่ไปตั้งแต่ “The Song Remains The Same”, “Misty Mountain Hop” และ “Kashmir” กับซาวนด์ภารตะแสนอลังการอันเป็นเอกลักษณ์ ก่อนจะส่งท้ายกันกับ 2 เพลงสุดมัน คือ “Whole Lotta Love” และ “Rock And Roll”
สำหรับคอนเสิร์ตครั้งนี้ น้าๆทั้ง 3 ของเลด เซพ เล่นดนตรีกันแบบลืมแก่ คือถ้าดูหน้าตาที่มากไปด้วยร่องรอยอารยธรรมกับพลังที่ขับเคลื่อนออกมานั้นตรงกันข้าม
เสียงร้องของโรเบิร์ตยังทรงพลังแถมยังมีลีลาท่าทางอันเร้าใจ แม้เสียงของเขาจะไม่สูงปรี๊ดเหมือนสมัยหนุ่มๆ แต่น้าโรเบิร์ตสามารถร้องเสียงหลอก เสียงหลบ ทำให้ไม่เสียอรรถรสของความเป็นเลด เซพ แต่อย่างใด
ขณะที่น้าจิมมี่นั้น สำหรับผมเขาเป็นมือกีตาร์ที่มีลีลาการเล่นที่เท่โคตร(ตลอดกาล) แม้ผมจะขาวโพลน แต่ท่าทางการเล่น การลีด การกระชากคอร์ด กับกีตาร์กิ๊บสันทรงคลาสิคกันเป็นเอกลักษณ์ของจิมมี่ เพจ ยังคงดูเท่อยู่ไม่สร่างซา แถมในบางจังหวะบางมุม ผมมองยังกับว่า“โจว เหวิน ฟะ” มาเล่นกีตาร์ยังไงยังงั้น
วันนี้แม้ลูกนิ้วของน้าจิมมี่จะไม่เร็วบรื๋อเหมือนหนุ่มๆ แต่การใช้กีตาร์ทำหน้าที่เล่นเป็นแกนของวงทั้ง ลูกริฟฟ์ ลูกโซโล ตีคอร์ด ลูกหยอด ลูกลิก ลูกตอด น้าจิมมี่ยังคงทำได้อย่างยอดเยี่ยม เสียงกีตาร์อ้วนๆในท่อนโซโลหลายๆเพลง น้าแกเล่นแอดลิบรื่นไหลไปกับอารมณ์ของเพลง ยามดุดันน้าแกจัดหนัก จัดดุใส่แบบไม่ยั้ง แต่ยามหวานเศร้าก็พรมนิ้วลีดกรีดอารมณ์ได้บาดลึก เรียกว่ายังครบเครื่องไว้ลายหนึ่งในมือกีตาร์ระดับตำนานของโลก
ส่วนน้าจอห์น พอล โจนส์ แม้แกจะดูไม่เด่นเทียบเท่า 2 คู่หูแพลนต์-เพจ มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่แกถือเป็นกำลังหลักสำคัญที่ขาดไม่ได้ เสียงเบสของน้าจอห์นยังคงแน่นปึ้ก ทางเบสรื่นไหล ไลน์สวยงาม เท่านั้นยังไม่พอน้าแกยังเปลี่ยนตำแหน่งไปเล่นคีย์บอร์ดอยู่บ่อยครั้งนับเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนของเลด เซพ มานับแต่ไหนแต่ไร
สมาชิกบนเวทีอีกหนึ่งหน่วยที่ขาดไม่ได้ก็คือ เจสัน บอนแฮม ที่แม้ซาวนด์การตีกลองจะต่างจากพ่อ แต่เขาก็สามารถตีกลองสานต่อความเป็นเลด เซพ ได้อย่างดี รื่นไหล ไม่มีสะดุด ทั้งลูกหนัก ลูกคุมจังหวะ ลูกส่ง ลูกขัด และอีกสารพัดลูก เจสันตีได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะเขาคือลูกของบอนโซผู้เป็นไม้หล่นไม่ไกลต้น แถมพวกน้าๆยังปั้นหนุนส่งกันอย่างเต็มที่ ดูแล้วอบอุ่นไม่น้อย
งานนี้จะว่าไป หากจะหาใครมาตีกลองให้เลด เซพ วันนี้คงไม่มีใครที่จะซึมซับความเป็นบอนแฮมและตีกลองได้รู้ใจ เข้าขากับน้าๆทั้งสามได้เท่าเจสัน บอนแฮม อีกแล้ว
อย่างไรก็ดีแม้สมาชิกทั้ง 4 จะมีฝีมือในระดับพระกาฬ แต่สิ่งที่เด่นที่สุดในคอนเสิร์ตครั้งนี้กับอยู่ที่ความเป็นเลด เซพ ของทีมเวิร์คที่ไม่มีใครโชว์เหนือกันแบบเกินหน้าเกินตา รวมถึงความสดกระชากวัย และความไม่ซ้ำซากเพราะส่วนใหญ่ในการเล่นคอนเสิร์ตของเลด เซพแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะลูกโซโล(แอดลิบ)ของจิมมี่เพจ ที่มักจะรื่นไหลไปตามอารมณ์เพลง
สำหรับอัลบั้มชุดนี้อาจจะไม่ใช่สุดยอดแห่งอัลบั้มคอนเสิร์ตที่ดีที่สุด แต่นี่ถือเป็นคอนเสิร์ตที่ฟังแล้ว ดูแล้ว ทรงคุณค่า ไม่ผิดหวัง ฟังแล้วสมศักดิ์ศรียอดวงในระดับตำนาน และคุ้มค่าต่อการรอคอย โดยเฉพาะแฟนเพลงของวงเรือเหาะที่มีอยู่ทั่วโลก ทั้งรุ่นใหญ่-กลาง-เล็ก
ส่วนใครที่แอบหวังไกลไปกว่านั้น ด้วยหวังอยู่ลึกๆว่า สักวันหนึ่งเหล่าสมาชิกเลด เซพเพลิน จะกลับมารวมตัว ขับเคลื่อนเรือเหาะมหัศจรรย์ให้ลือลั่นยุทธจักรวงการเพลงอีกครั้ง งานนี้คงต้องรอคอยต่อไป และต้องแอบหวังกันต่อไป
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Matchbox Twenty
อัลบั้ม : North
หลังห่างหายไปนานกว่า 4 ปี Matchbox Twenty วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากฟลอริด้ากลับมาอีกครั้ง ด้วยการส่งอัลบั้มใหม่ North มาเอาใจขาร็อก
อัลบั้มนี้ทางวงนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายจากประสบการณ์ที่พานพบของพวกเขาในช่วงที่หายไป โดยมีเพลงเด่นๆ ได้แก่ “Parade” อัลเทอร์เนทีฟสไตล์ที่ไม่โหล มีไลน์เครื่องสายเล่นรองพื้นรับอย่างหนาแน่น “She's So Mean” เพลงสุดเท่ในอารมณ์โจ๊ะๆมันๆ “Put Your Hands Up” อีกหนึ่งเพลงมันๆติดกลิ่นฟังกี้ และ “Overjoyed” กับ “I Will” 2 เพลงอะคูสติกบัลลาดหวานๆกับน้ำเสียงมีเสน่ห์ของ “ร็อบ โธมัส”
บทเพลงใน North แม้จะมีความหลากหลายแต่ก็กลมกลืนอยู่ในศูนย์รวมเดียวกัน นับเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มากไปด้วยเป็นร็อกเท่ๆชวนฟัง