โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
ข่าวที่ไม่ค่อยปรากฏในฟรีทีวีกับเรื่องราวของเหี้ยกินมะเขือเทศจำนวนหนึ่งที่สลัดจากหนังลายดอกเป็นหนังกากี ไล่ออกอาละวาด ออกทุบตี ออกกัด ออกพ่นแก๊สพิษ ใส่ประชาชนตาดำๆผู้ที่ไม่ใช่สี ไม่ใช่พวกของตน ทำให้ใครและใครหลายๆคนรู้สึกหมดหวัง สิ้นหวังกับประเทศนี้
อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่มองว่าแม้พวกเหี้ยเหล่านี้เหิมเกริมถึงขนาดพยายามตั้งรัฐเหี้ยขึ้น แต่เราต้องต่อสู้กับพวกเหี้ยเหล่านี้โดยใช้คุณธรรมความดีสยบ พร้อมกับต้องสร้างความหวังให้กับตัวเอง สร้างความหวังให้กับกลุ่มคนผู้รักชาติ รักแผ่นดิน และรักความถูกต้องทั้งหลาย ให้มีความหวัง มีพลังใจ ไม่ท้อถอย ท้อแท้ ไม่ยอมแพ้ต่อพวกมาร พวกโจร และเหล่าพวกเหี้ยที่เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
เพราะด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง มันสามารถแปรเปลี่ยนมาเป็นในการต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคต่างๆนานาได้ ซึ่งมันได้สอดรับกับชื่ออัลบั้ม “25ปี(มีหวัง)” งานเพลงใหม่เอี่ยมอ่องของ "พี่ปู : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์" อดีตหนึ่งในขุนพลเพื่อชีวิตของเมืองไทย
ทั้งนี้หากย้อนกลับไปในยุคเพลงเพื่อชีวิตรุ่งโรจน์ในบ้านเราเมื่อประมาณ 20-30 ปีที่แล้ว ยุคนั้นบ้านเรามีบิ๊กโฟร์(Big 4) แห่งวงการเพลงเพื่อชีวิต นำโดย “คาราวาน”, “คาราบาว” ,“น้าหมู : พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ” และน้องเล็กคนสุดท้องคือ “พี่ปู : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ที่เผลอแผล็บเดียวงานเพลงของพี่ปูโลดแล่นอยู่ในยุทธจักรวงการเพลงไทยมาจนถึงวันนี้ได้ 25 ปีแล้ว
แน่นอนว่าเนื่องในโอกาสพิเศษเช่นนี้ พี่ปูที่ห่างหายจากการออกสตูดิโออัลบั้มไปนาน ย่อมไม่พลาดต่อการออกอัลบั้มใหม่ให้แฟนเพลงได้หายคิดถึงกันกับผลงานเพลงในชื่อชุด “25ปี(มีหวัง)” ที่ออกภายใต้สังกัด Warner Music
อัลบั้มนี้ใช้ชื่อสื่อตรงไปตรงมากับ 25 ปี พร้อมใส่วงเล็บมีหวังเอาไว้ข้างหลัง เพราะมันเป็นดังแนวคิดหลักในการนำเสนอของอัลบั้มนี้
25ปี(มีหวัง) เป็นไปตามสูตรของบทเพลงในยุคเทปคลาสเซ็ท คือมีทั้งหมด 10 เพลง เปิดประเดิมกันด้วย “25ปี(มีหวัง)” บทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ขึ้นอินโทรมาด้วยเสียงไวโอลินจากยอดฝีมือเล่นล้อกับฮาร์โมนิก้าในสำเนียงติดกลิ่นบลูส์ ดนตรีเพลงนี้ค่อนข้างดิบ โดยเฉพาะเสียงกีตาร์โซโล
เนื้อเพลงนี้ถือเป็นการมองโลกสวยทีเดียว เพราะแม้ขึ้นต้นมาแบบสะทกสะท้อนกับสภาพบ้านเมือง แต่ก็ยังคงมีหวังอยู่เต็มเปี่ยม
“...เห็นบ้านเมืองเรื่องราวสะท้อนใจ ไปยังไม่ถึงไหน เวียนวนว่ายกลับ
เห็นผู้คนหนุ่มสาวพอชื่นใจ นัยน์ตามีประกายแห่งความหวัง ดันหลังให้เราไปต่อ...”
ถัดมาเป็น “รักการเมือง” เพลงช้าๆนำเสนอในแบบฉบับ ปู พงษ์สิทธิ์สไตล์ เนื้อหาตีความได้ 2 แบบ จะฟังเป็นเพลงอกหักเพราะถูก“เธอ” คนที่เคยไว้ใจ เปลี่ยนไป ทอดทิ้งไป หรือจะฟังเป็นบทเพลงอิงการเมืองตามชื่อเพลง แล้วตีความเป็นความเจ็บปวดที่เกิดจากความไว้ใจนักการเมืองหลายๆคนที่มาหลอกประชาชนก็เป็นได้
ตามต่ออารมณ์รักกันด้วย “ฉันจะบอกให้รู้” อินโทรมีเสียงไวโอลินหวานๆขึ้นนำส่งเข้าโหมดเพลงรักอารมณ์หม่นเค้น
ส่วน “ศพสุดท้าย” พูดถึงศพของเด็กชายที่ถูกสังหารจากเหตุการณ์ทางการเมือง
สลับอารมณ์มามันในแบบ ปู พงษ์สิทธิ์สไตล์ กับ “คิดไม่ไกล” ที่ ว่าด้วยคนขายแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จนสุดท้ายอับจนหมดหนทางไปต้องทำผิดกฎหมายแล้วถูกจับติดคุก
เพลงคิดไม่ไกลภาคดนตรีมาในแนวเดียวกับเพลง “ม.ให้อะไร” ส่วนเพลงถัดไปคือ“อยากเป็นนักศึกษา” ที่ภาคเนื้อร้องชวนให้นึกถึงเพลง ม.ให้อะไร เหมือนกัน ขณะที่ภาคดนตรีบางท่อนก็ฟังแล้วชวนให้นึกถึงเพลง “แค่นั้น” ไม่น้อยเลย
อยากเป็นนักศึกษา เป็นเพลงที่บอกกล่าวถึงคนที่ตั้งใจร่ำเรียน เข้ามหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษา เพื่อหวังจะเป็นปัญญาชน และพยายามต่อสู่ฟันฝ่าไปให้ถึงจุดนั้น
มาต่อกันด้วย “นครลิง” ดนตรีเป็นโฟล์คร็อกสนุกๆ ว่าด้วยสังคมแบ่งสีในบ้านเรา ซึ่งเพลงนี้พี่ปูแสดงจุดยืนชัดเจนว่าเป็นพวกไม่ฝักใฝ่สีใด ส่วนอีกเพลงคือ “ปรองดอง” นำคำฮิตปรองดองมานำเสนอ มีเสียงไวโอลินขึ้นต้นนำมาในท่วงทำนองของเพลงชาติไทยแล้วเล่นแตกไลน์ให้มันเพี้ยนออกไป สื่อถึงความเป็นชาติไทยในยุคนี้ ก่อนจะส่งเข้าตัวเพลงแบบโจ๊ะสนุกๆ เปิดพื้นที่ให้เบสโซโลกันอย่างจุใจ เพลงนี้ฟังแล้วเหมาะเป็นเพลงสำหรับการแสดงสดมาก
ทั้ง 2 เพลง เป็นบทเพลงการเมืองที่พี่ปูนำเสนอออกมาในสไตล์เดียวกับฟรีทีวีบ้านเรา คือมุ่งนำเสนอสถานการณ์มากกว่าจะพูดลึกลงไปให้ถึงแก่นของปัญหาว่ามันเกิดจากอะไร สุดท้ายจึงกลายเป็นบทเพลงการเมืองแบบตีกิน เนื้อหาขาดน้ำหนัก ไร้ซึ่งพลัง นับว่าน่าเสียดายยิ่ง
ต่อกันด้วย “เพราะรักรออยู่” เป็นแนวอะคูสติกที่มีทางดนตรี ไลน์กีตาร์ ฉีกจากความเป็นพงษ์สิทธิ์สไตล์อย่างชัดเจน เพราะได้ “พี่โอม : ชาตรี คงสุวรรณ” มาแต่งทำนอง ทำดนตรี และเล่นกีตาร์ให้ ส่วนเนื้อร้องแต่งโดย “วีระนนท์ นวชานน” นับเป็นบทเพลงหนึ่งเดียวในอัลบั้มที่ไม่ใช่ผลงานการแต่งเนื้อร้อง/ทำนองโดยพงษ์สิทธิ์ คำภีร์
ปิดท้ายกันด้วย “ไม่มีวันท้อ” บทเพลงให้ความหวังกำลังใจ ออกแนวเพลงปลุกใจ เนื้อหาดี ภาษาสวยใช้ได้ มีสัมผัสฟังรื่นหู เป็นบทเพลงที่ให้อารมณ์ความรู้สึกคล้ายๆเพลงเปิด “25 ปี(มีหวัง)” แต่เพลงนี้ทำได้ดีลงตัวกว่า แถมยังสามารถตอบโจทย์ความมีหวังได้อย่างชัดเจนกว่า
และนั่นก็เป็น 10 บทเพลงจาก 25ปี(มีหวัง) ซึ่งแม้จะโลดแล่นอยู่ในวงการเพลงมายาวนานถึง 25 ปี ตั้งแต่น้องนายปู มาเป็นพี่ปู และขึ้นเป็นน้าปูในปัจจุบัน แต่น้ำเสียงของพี่ปูยังคงดีเยี่ยม เสียงหนักแน่นทรงพลังไม่มีตก ผิดกับรุ่นพี่เพื่อชีวิตหลายๆคนที่เสียงร้องตก ดร็อปลงไปแบบน่าใจหาย
ขณะที่หากพูดภาคดนตรีแล้ว ชุดนี้พี่ปูประกาศเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนในบันทึกที่ปกในว่า “เพลงและดนตรี ไม่ได้เปลี่ยนอะไรไปจากผม ทุกอย่าง ดนตรี เสียง คือตัวตนของผม...” นั่นจึงทำให้หลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้มีทางเพลง ทางดนตรี และท่วงทำนอง ที่จำเจซ้ำซากอยู่กับเป็นปูสไตล์แบบเดิมๆ แถมบางเพลงเมโลดี้ยังไปติดกลิ่นของบทเพลงเก่าๆมาอีก
แต่กระนั้นอัลบั้มนี้ก็มีความแปลกใหม่ให้ฟังกันในเพลง “เพราะรักรออยู่” ที่ได้พี่โอมมาทำเพลงให้ และมีสรรพสำเนียงเสียงใหม่ๆเข้ามาในบางเพลงกับเสียงไวโอลินอันพลิ้วไหวของ “สุวรรณ มโนษร” ยอดฝีมือแห่งไวโอลินในอันดับต้นๆของเมืองไทย
ทีนี้มาดูในภาคของเนื้อร้องกันบ้าง เนื้อเพลงกว่าครึ่งในอัลบั้มชุดนี้ ภาษาขาดความกลมกล่อมฟังไม่รื่นหู เป็นไปตามสไตล์การเขียนเพลงของพี่ปูในยุคหลัง ยกเว้นเพลงสุดท้าย “ไม่มีวันท้อ” ที่มีการใช้ภาษาได้ดีออกไปทางบทกวีให้กำลังใจเล็กๆเลยทีเดียว
ในส่วนของภาคเนื้อหานั้น อัลบั้มนี้มีเนื้อหาค่อนข้างหลากหลาย ทั้งเรื่องราวชีวิต สังคม ความรัก การเมือง และบทเพลงให้ความหวังกำลังใจ แต่ในเนื้อหาที่หลากหลายนี้หากฟังกันให้ลึกๆแล้ว มันได้สะท้อนความไม่เป็นเอกภาพของทั้งอัลบั้มให้เห็น เพราะในขณะที่พี่ปูมุ่งนำเสนอแนวคิดเรื่องความมีหวังเป็นหลัก ดังปรากฏอยู่ในเพลงแรกและเพลงสุดท้าย แต่ในบางเพลงโดยเฉพาะในบทเพลงการเมืองอย่าง “นครลิง” กับ “ปรองดอง” กับแสดงให้เห็นถึงความหมดหวังอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น ท่อน“...จะมีแผ่นดินสุดท้ายไหมหนอลิง...”ในนครลิง หรือที่ฟังหดหู่มากกับท่อน “...สงสาร สงสาร ประเทศไทย สงสาร สงสาร สงสารตัวเอง...”ในปรองดอง
และนั่นก็เป็นข้อเด่น-ข้อด้อยของอัลบั้ม 25 ปี(มีหวัง) ซึ่งใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของพี่ปูคงไม่น่าพลาด เพราะพี่แกว่างเว้นจากการทำสตูดิโออัลบั้มมาหลายปีแล้ว
ส่วนถ้าใครที่คิดว่าเนื่องในโอกาสพิเศษครบ 25 ปี ที่โลดแล่นในวงการเพลงพี่ปูจะผลิตผลงานที่มีอะไรพิเศษออกมา
อัลบั้ม “25 ปี(มีหวัง)” หาใช่คำตอบไม่
เพราะนี่ถือเป็นอัลบั้มธรรมดาตามมาตรฐานงานเพลงในยุคหลังๆของพี่ปู ซึ่งไม่ควรคาดหวังไว้สูงด้วยประการทั้งปวง
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : อุ๊บอิ๊บส์
อัลบั้ม : ภาษารัก
ยังคงผลิตงานคุณภาพสวนกระแสตลาดออกมาอย่างสม่ำเสมอสำหรับค่าย “ใบชาsong” โดย บรรณ สุวรรณโณชิน
“ภาษารัก” เป็นงานเพลงที่ “อุ๊บอิ๊บส์” นำ 10 บทเพลงรักอมตะสุดคลาสสิกของครู“สุรพล โทณะวณิก” อาทิ “ลมรัก”, “โอ้รัก”, “เก็บรัก”, “ความรักครั้งสุดท้าย” มาขับร้องใหม่ในอารมณ์ละเมียดละไม ดนตรีเรียบเรียงใหม่โดยบรรณที่มาพร้อมกับทีมงานฝีมือดี การบันทึกเสียงค่อนข้างเนี้ยบ มีมิติ มีความ คม ลึก โทนเพลงออกแนวลูกกรุงที่มีความหลากหลายในอารมณ์ เน้นความนุ่มนวลฟังสบาย สอดรับกับเสียงร้องหวานใสและอมเศร้า(ในบางเพลง)ของอุ๊บอิ๊บส์ที่สามารถเชื่อมอารมณ์เก่ากับใหม่ให้ไปด้วยกันได้อย่างน่าฟัง
ที่สำคัญคืออุ๊บอิ๊บส์ร้องเพลงไทยเป็นเพลงไทย ไม่ดัดจริตออกสำเนียง ดัดเสียง จนเว่อร์เกินงามอย่างที่นักร้องร่วมสมัยหลายๆคนนิยมกัน
ข่าวที่ไม่ค่อยปรากฏในฟรีทีวีกับเรื่องราวของเหี้ยกินมะเขือเทศจำนวนหนึ่งที่สลัดจากหนังลายดอกเป็นหนังกากี ไล่ออกอาละวาด ออกทุบตี ออกกัด ออกพ่นแก๊สพิษ ใส่ประชาชนตาดำๆผู้ที่ไม่ใช่สี ไม่ใช่พวกของตน ทำให้ใครและใครหลายๆคนรู้สึกหมดหวัง สิ้นหวังกับประเทศนี้
อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่มองว่าแม้พวกเหี้ยเหล่านี้เหิมเกริมถึงขนาดพยายามตั้งรัฐเหี้ยขึ้น แต่เราต้องต่อสู้กับพวกเหี้ยเหล่านี้โดยใช้คุณธรรมความดีสยบ พร้อมกับต้องสร้างความหวังให้กับตัวเอง สร้างความหวังให้กับกลุ่มคนผู้รักชาติ รักแผ่นดิน และรักความถูกต้องทั้งหลาย ให้มีความหวัง มีพลังใจ ไม่ท้อถอย ท้อแท้ ไม่ยอมแพ้ต่อพวกมาร พวกโจร และเหล่าพวกเหี้ยที่เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
เพราะด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง มันสามารถแปรเปลี่ยนมาเป็นในการต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคต่างๆนานาได้ ซึ่งมันได้สอดรับกับชื่ออัลบั้ม “25ปี(มีหวัง)” งานเพลงใหม่เอี่ยมอ่องของ "พี่ปู : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์" อดีตหนึ่งในขุนพลเพื่อชีวิตของเมืองไทย
ทั้งนี้หากย้อนกลับไปในยุคเพลงเพื่อชีวิตรุ่งโรจน์ในบ้านเราเมื่อประมาณ 20-30 ปีที่แล้ว ยุคนั้นบ้านเรามีบิ๊กโฟร์(Big 4) แห่งวงการเพลงเพื่อชีวิต นำโดย “คาราวาน”, “คาราบาว” ,“น้าหมู : พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ” และน้องเล็กคนสุดท้องคือ “พี่ปู : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ที่เผลอแผล็บเดียวงานเพลงของพี่ปูโลดแล่นอยู่ในยุทธจักรวงการเพลงไทยมาจนถึงวันนี้ได้ 25 ปีแล้ว
แน่นอนว่าเนื่องในโอกาสพิเศษเช่นนี้ พี่ปูที่ห่างหายจากการออกสตูดิโออัลบั้มไปนาน ย่อมไม่พลาดต่อการออกอัลบั้มใหม่ให้แฟนเพลงได้หายคิดถึงกันกับผลงานเพลงในชื่อชุด “25ปี(มีหวัง)” ที่ออกภายใต้สังกัด Warner Music
อัลบั้มนี้ใช้ชื่อสื่อตรงไปตรงมากับ 25 ปี พร้อมใส่วงเล็บมีหวังเอาไว้ข้างหลัง เพราะมันเป็นดังแนวคิดหลักในการนำเสนอของอัลบั้มนี้
25ปี(มีหวัง) เป็นไปตามสูตรของบทเพลงในยุคเทปคลาสเซ็ท คือมีทั้งหมด 10 เพลง เปิดประเดิมกันด้วย “25ปี(มีหวัง)” บทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ขึ้นอินโทรมาด้วยเสียงไวโอลินจากยอดฝีมือเล่นล้อกับฮาร์โมนิก้าในสำเนียงติดกลิ่นบลูส์ ดนตรีเพลงนี้ค่อนข้างดิบ โดยเฉพาะเสียงกีตาร์โซโล
เนื้อเพลงนี้ถือเป็นการมองโลกสวยทีเดียว เพราะแม้ขึ้นต้นมาแบบสะทกสะท้อนกับสภาพบ้านเมือง แต่ก็ยังคงมีหวังอยู่เต็มเปี่ยม
“...เห็นบ้านเมืองเรื่องราวสะท้อนใจ ไปยังไม่ถึงไหน เวียนวนว่ายกลับ
เห็นผู้คนหนุ่มสาวพอชื่นใจ นัยน์ตามีประกายแห่งความหวัง ดันหลังให้เราไปต่อ...”
ถัดมาเป็น “รักการเมือง” เพลงช้าๆนำเสนอในแบบฉบับ ปู พงษ์สิทธิ์สไตล์ เนื้อหาตีความได้ 2 แบบ จะฟังเป็นเพลงอกหักเพราะถูก“เธอ” คนที่เคยไว้ใจ เปลี่ยนไป ทอดทิ้งไป หรือจะฟังเป็นบทเพลงอิงการเมืองตามชื่อเพลง แล้วตีความเป็นความเจ็บปวดที่เกิดจากความไว้ใจนักการเมืองหลายๆคนที่มาหลอกประชาชนก็เป็นได้
ตามต่ออารมณ์รักกันด้วย “ฉันจะบอกให้รู้” อินโทรมีเสียงไวโอลินหวานๆขึ้นนำส่งเข้าโหมดเพลงรักอารมณ์หม่นเค้น
ส่วน “ศพสุดท้าย” พูดถึงศพของเด็กชายที่ถูกสังหารจากเหตุการณ์ทางการเมือง
สลับอารมณ์มามันในแบบ ปู พงษ์สิทธิ์สไตล์ กับ “คิดไม่ไกล” ที่ ว่าด้วยคนขายแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จนสุดท้ายอับจนหมดหนทางไปต้องทำผิดกฎหมายแล้วถูกจับติดคุก
เพลงคิดไม่ไกลภาคดนตรีมาในแนวเดียวกับเพลง “ม.ให้อะไร” ส่วนเพลงถัดไปคือ“อยากเป็นนักศึกษา” ที่ภาคเนื้อร้องชวนให้นึกถึงเพลง ม.ให้อะไร เหมือนกัน ขณะที่ภาคดนตรีบางท่อนก็ฟังแล้วชวนให้นึกถึงเพลง “แค่นั้น” ไม่น้อยเลย
อยากเป็นนักศึกษา เป็นเพลงที่บอกกล่าวถึงคนที่ตั้งใจร่ำเรียน เข้ามหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษา เพื่อหวังจะเป็นปัญญาชน และพยายามต่อสู่ฟันฝ่าไปให้ถึงจุดนั้น
มาต่อกันด้วย “นครลิง” ดนตรีเป็นโฟล์คร็อกสนุกๆ ว่าด้วยสังคมแบ่งสีในบ้านเรา ซึ่งเพลงนี้พี่ปูแสดงจุดยืนชัดเจนว่าเป็นพวกไม่ฝักใฝ่สีใด ส่วนอีกเพลงคือ “ปรองดอง” นำคำฮิตปรองดองมานำเสนอ มีเสียงไวโอลินขึ้นต้นนำมาในท่วงทำนองของเพลงชาติไทยแล้วเล่นแตกไลน์ให้มันเพี้ยนออกไป สื่อถึงความเป็นชาติไทยในยุคนี้ ก่อนจะส่งเข้าตัวเพลงแบบโจ๊ะสนุกๆ เปิดพื้นที่ให้เบสโซโลกันอย่างจุใจ เพลงนี้ฟังแล้วเหมาะเป็นเพลงสำหรับการแสดงสดมาก
ทั้ง 2 เพลง เป็นบทเพลงการเมืองที่พี่ปูนำเสนอออกมาในสไตล์เดียวกับฟรีทีวีบ้านเรา คือมุ่งนำเสนอสถานการณ์มากกว่าจะพูดลึกลงไปให้ถึงแก่นของปัญหาว่ามันเกิดจากอะไร สุดท้ายจึงกลายเป็นบทเพลงการเมืองแบบตีกิน เนื้อหาขาดน้ำหนัก ไร้ซึ่งพลัง นับว่าน่าเสียดายยิ่ง
ต่อกันด้วย “เพราะรักรออยู่” เป็นแนวอะคูสติกที่มีทางดนตรี ไลน์กีตาร์ ฉีกจากความเป็นพงษ์สิทธิ์สไตล์อย่างชัดเจน เพราะได้ “พี่โอม : ชาตรี คงสุวรรณ” มาแต่งทำนอง ทำดนตรี และเล่นกีตาร์ให้ ส่วนเนื้อร้องแต่งโดย “วีระนนท์ นวชานน” นับเป็นบทเพลงหนึ่งเดียวในอัลบั้มที่ไม่ใช่ผลงานการแต่งเนื้อร้อง/ทำนองโดยพงษ์สิทธิ์ คำภีร์
ปิดท้ายกันด้วย “ไม่มีวันท้อ” บทเพลงให้ความหวังกำลังใจ ออกแนวเพลงปลุกใจ เนื้อหาดี ภาษาสวยใช้ได้ มีสัมผัสฟังรื่นหู เป็นบทเพลงที่ให้อารมณ์ความรู้สึกคล้ายๆเพลงเปิด “25 ปี(มีหวัง)” แต่เพลงนี้ทำได้ดีลงตัวกว่า แถมยังสามารถตอบโจทย์ความมีหวังได้อย่างชัดเจนกว่า
และนั่นก็เป็น 10 บทเพลงจาก 25ปี(มีหวัง) ซึ่งแม้จะโลดแล่นอยู่ในวงการเพลงมายาวนานถึง 25 ปี ตั้งแต่น้องนายปู มาเป็นพี่ปู และขึ้นเป็นน้าปูในปัจจุบัน แต่น้ำเสียงของพี่ปูยังคงดีเยี่ยม เสียงหนักแน่นทรงพลังไม่มีตก ผิดกับรุ่นพี่เพื่อชีวิตหลายๆคนที่เสียงร้องตก ดร็อปลงไปแบบน่าใจหาย
ขณะที่หากพูดภาคดนตรีแล้ว ชุดนี้พี่ปูประกาศเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนในบันทึกที่ปกในว่า “เพลงและดนตรี ไม่ได้เปลี่ยนอะไรไปจากผม ทุกอย่าง ดนตรี เสียง คือตัวตนของผม...” นั่นจึงทำให้หลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้มีทางเพลง ทางดนตรี และท่วงทำนอง ที่จำเจซ้ำซากอยู่กับเป็นปูสไตล์แบบเดิมๆ แถมบางเพลงเมโลดี้ยังไปติดกลิ่นของบทเพลงเก่าๆมาอีก
แต่กระนั้นอัลบั้มนี้ก็มีความแปลกใหม่ให้ฟังกันในเพลง “เพราะรักรออยู่” ที่ได้พี่โอมมาทำเพลงให้ และมีสรรพสำเนียงเสียงใหม่ๆเข้ามาในบางเพลงกับเสียงไวโอลินอันพลิ้วไหวของ “สุวรรณ มโนษร” ยอดฝีมือแห่งไวโอลินในอันดับต้นๆของเมืองไทย
ทีนี้มาดูในภาคของเนื้อร้องกันบ้าง เนื้อเพลงกว่าครึ่งในอัลบั้มชุดนี้ ภาษาขาดความกลมกล่อมฟังไม่รื่นหู เป็นไปตามสไตล์การเขียนเพลงของพี่ปูในยุคหลัง ยกเว้นเพลงสุดท้าย “ไม่มีวันท้อ” ที่มีการใช้ภาษาได้ดีออกไปทางบทกวีให้กำลังใจเล็กๆเลยทีเดียว
ในส่วนของภาคเนื้อหานั้น อัลบั้มนี้มีเนื้อหาค่อนข้างหลากหลาย ทั้งเรื่องราวชีวิต สังคม ความรัก การเมือง และบทเพลงให้ความหวังกำลังใจ แต่ในเนื้อหาที่หลากหลายนี้หากฟังกันให้ลึกๆแล้ว มันได้สะท้อนความไม่เป็นเอกภาพของทั้งอัลบั้มให้เห็น เพราะในขณะที่พี่ปูมุ่งนำเสนอแนวคิดเรื่องความมีหวังเป็นหลัก ดังปรากฏอยู่ในเพลงแรกและเพลงสุดท้าย แต่ในบางเพลงโดยเฉพาะในบทเพลงการเมืองอย่าง “นครลิง” กับ “ปรองดอง” กับแสดงให้เห็นถึงความหมดหวังอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น ท่อน“...จะมีแผ่นดินสุดท้ายไหมหนอลิง...”ในนครลิง หรือที่ฟังหดหู่มากกับท่อน “...สงสาร สงสาร ประเทศไทย สงสาร สงสาร สงสารตัวเอง...”ในปรองดอง
และนั่นก็เป็นข้อเด่น-ข้อด้อยของอัลบั้ม 25 ปี(มีหวัง) ซึ่งใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของพี่ปูคงไม่น่าพลาด เพราะพี่แกว่างเว้นจากการทำสตูดิโออัลบั้มมาหลายปีแล้ว
ส่วนถ้าใครที่คิดว่าเนื่องในโอกาสพิเศษครบ 25 ปี ที่โลดแล่นในวงการเพลงพี่ปูจะผลิตผลงานที่มีอะไรพิเศษออกมา
อัลบั้ม “25 ปี(มีหวัง)” หาใช่คำตอบไม่
เพราะนี่ถือเป็นอัลบั้มธรรมดาตามมาตรฐานงานเพลงในยุคหลังๆของพี่ปู ซึ่งไม่ควรคาดหวังไว้สูงด้วยประการทั้งปวง
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : อุ๊บอิ๊บส์
อัลบั้ม : ภาษารัก
ยังคงผลิตงานคุณภาพสวนกระแสตลาดออกมาอย่างสม่ำเสมอสำหรับค่าย “ใบชาsong” โดย บรรณ สุวรรณโณชิน
“ภาษารัก” เป็นงานเพลงที่ “อุ๊บอิ๊บส์” นำ 10 บทเพลงรักอมตะสุดคลาสสิกของครู“สุรพล โทณะวณิก” อาทิ “ลมรัก”, “โอ้รัก”, “เก็บรัก”, “ความรักครั้งสุดท้าย” มาขับร้องใหม่ในอารมณ์ละเมียดละไม ดนตรีเรียบเรียงใหม่โดยบรรณที่มาพร้อมกับทีมงานฝีมือดี การบันทึกเสียงค่อนข้างเนี้ยบ มีมิติ มีความ คม ลึก โทนเพลงออกแนวลูกกรุงที่มีความหลากหลายในอารมณ์ เน้นความนุ่มนวลฟังสบาย สอดรับกับเสียงร้องหวานใสและอมเศร้า(ในบางเพลง)ของอุ๊บอิ๊บส์ที่สามารถเชื่อมอารมณ์เก่ากับใหม่ให้ไปด้วยกันได้อย่างน่าฟัง
ที่สำคัญคืออุ๊บอิ๊บส์ร้องเพลงไทยเป็นเพลงไทย ไม่ดัดจริตออกสำเนียง ดัดเสียง จนเว่อร์เกินงามอย่างที่นักร้องร่วมสมัยหลายๆคนนิยมกัน