โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
ในชุด “Clapton”(2010) มีซุ่มเสียงพิเศษมาช่วยสร้างสีสันใหม่ให้งานเพลงของ “เอริค(อีริค) แคลปตัน”(Eric Clapton) นั่นก็คือ เสียงทรัมเป็ตหรือเสียงแตรของ “วินตัน มาร์ซาลิส”(Wynton Marsalis) ที่แอบมาขโมยซีนในบางเพลง
การโคจรมาสนทนาภาษาดนตรีของทั้งคู่ในชุดนั้น ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากแฟนเพลงหลายๆคน ให้ทั้งสองมาทำโพรเจก(ดนตรี)ร่วมกันอย่างจริงๆจังๆ เพราะลุงเอริคนั้นคือมือกีตาร์บลูส์ขั้นเทพ ส่วนน้าวินตันก็เป็นมือทรัมเป็ตแจ๊ซขั้นเทพ ซึ่งทั้งบลูส์และแจ๊ซถือเป็นเครือญาติทางดนตรีที่สนิทชิดใกล้แนบแน่น
แถมที่ผ่านมาน้าวินตันแกยังเคยจับมือกับคุณปู่ “วิลลี่ เนลสัน”(Willie Nelson) ทำโพรเจคแบบนี้ประสบความสำเร็จมาแล้ว นั่นจึงทำให้เมื่อปีที่แล้วทั้งคุณลุงเอริคและคุณน้าวินตัน ตกลงจับมือกันทำอัลบั้มพิเศษไม่ใส่ไข่ขึ้นมา เป็นอัลบั้มแสดงสดในชื่อชุดยาว ยาว “Play the Blues Live from Jazz at Lincoln Center”
ผลงานแสดงสดชุดนี้เล่นที่ ลินคอล์น เซ็นเตอร์ ในนิวยอร์ก นอกจาก 2 ตัวเอกนำอย่างเอริคและวินตันแล้ว ยังมีทีมนักดนตรีแบ็กอัพชั้นเยี่ยมและวงลินคอร์น เซ็นเตอร์ ออร์เคสตร้า ที่จัดเต็มกันมา โดยบทเพลงเกือบทั้งหมดเป็นเพลงบลูส์ แจ๊ซดิ๊กซี่แลนด์ รุ่นครูที่เอริคและวินตันนำมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อใช้ในคอนเสิร์ตครั้งนี้โดยเฉพาะ ซึ่งได้ทำออกมาเป็นทั้งซีดีและดีวีดีตามยุคสมัยนิยม ในซีดีมีทั้งหมด 10 เพลง ส่วนในดีวีดีแถมโบนัสแทรคให้อีก 1 เพลง
Play the Bluesฯ เปิดตัวกันด้วย “Ice Cream” บทเพลงชื่อหวานเย็นชวนกิน มาในแนวดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ซมันๆ ให้นักดนตรีแต่ละคนโชว์ฝีมือโซโล อิมโพรไวซ์ กันพอหอมปากหอมคอ แต่ขอบอกว่ามันมาก พวกเขาเล่นเขาขาและรับส่งภาษาดนตรีกันได้อย่างรื่นไหล ซึ่งทางวงจัดมันใส่กันมา ทั้ง ทรอมโบน คลาริเน็ต แบนโจ เบส กลอง และที่ขาดไม่ได้คือ เสียงทรัมเป็ตจากน้าวินตันและกีตาร์ทางบลูส์จากคุณลุงเอริค
ในเพลงแรกนี้นอกจากจะเผยให้เห็นถึงฝีมืออันยอดเยี่ยมของผู้เข้าร่วมเล่นในคอนเสิร์ตครั้งนี้แล้ว ยังเผยให้เห็นถึงแนวทางหลักในคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย เพราะหลังจากเพลงนี้ ในเพลงถัดๆไป เป็นการสนทนาภาษาดนตรีกันอย่างเข้าขา สนุกสนาน
เมื่อนักดนตรีได้ลับฝีมือ ฝีปาก กันไปแล้วใน Ice Cream เพลงต่อๆมา พวกเขาได้ระดมอารมณ์เพลงบลูส์ ดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ซ(นิวออร์ลีนแจ๊ซ) สู่คนฟังอย่างต่อเนื่องรื่นไหล ไล่ไปตั้งแต่ “Forty-Four” อีกหนึ่งเพลงสนุกๆ มีการเปิดพื้นที่ให้อิมโพรไวซ์กันค่อนข้างยาว เอริคโซโลลูกบลูส์ได้อย่างถึงอารมณ์เรียกเสียงปรบมือได้ลั่นฮอลล์
“Joe Turner’s Blues” เพลงนี้ก็ยาวพอๆกับ 2 เพลงแรก คือปาเข้าไป 7 นาทีกว่าๆ แต่ว่าดนตรีหน่วงจังหวะลงมาเป็นบลูส์ช้าๆ ฟังให้อารมณ์ย้อนยุคมากๆ
“The Last Time” เป็นสวิงสนุกชวนขยับแข้งขยับขา น้าวินตันเป็นสารถีเล่นนำมา ท่อนท้ายทรอมโบน(ใส่มิวด์)โซโลได้เด็ดสะระตี่ไปเลย
ต่ออารมณ์กันด้วยสวิงที่หน่วงลงมาหน่อยกับ “Careless Love” ที่คลาริเน็ตในเพลงนี้เล่นอาเปจิโอได้เท่มาก ขณะที่ลุงเอริคนั้นโซโลกีตาร์ในทางบลูส์รับส่งกับลูกอิมโพร์ไวซ์ของวินตันได้อย่างเข้าขา
“Kidman Blues” เป็นเพลงสนุกๆ เปียโนโซโลทางแรกไทม์ ส่วนพวกเครื่องเป่านั้นพุดคุยกันในภาษาดนตรีได้มันมาก
จากนั้นมาถึงบทเพลงหนึ่งเดียวของเอริคในอัลบั้มชุดนี้กับ “Layla” เพลงนี้เล่นกันคนละอารมณ์กับต้นฉบับเลย โครงสร้างเพลงทางคอร์ดมาในทางเดียวกับ Layla ในชุดอันปลั๊ก แต่ว่ามีการใส่เสน่ห์และสีสันของเครื่องเป่าเข้าไป เป็นบลูส์แจ๊ซเข้มๆที่ช่วงอินโทรน้าวินตันโชว์เทคนิคการเป่าทรัมเป็ตด้วยเสียงแตกได้อย่างสะเด็ดสะเด่า ส่วนเอริคนั้นโซโลกีตาร์ได้อย่างบาดลึกเหมือนกลั่นมาจากหัวใจ ในอารมณ์ของคนที่แอบรักเมียเพื่อนซึ่งสุดท้ายก็สามารถได้มาไว้เชยชม
เพลงถัดไป“Joliet Bound” เป็นคันทรีแจ๊ซสนุก จากนั้นได้คุณปู่ “ทัจ มาฮาล”(Taj Mahal) มาร่วมแจมในเพลงบทเพลงพื้นบ้านอย่าง “Just A Closer Walk With Thee” ที่มาในจังหวะหน่วงเนิบช้า ให้คุณปู่ทัจได้โชว์เสียงร้อง โดยหลังจบเพลงพวกเล่นดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ซแจมกันอย่างเมามัน ก่อนที่แทรคปิดท้ายอังกอร์ก็เป็นดิ๊กซี่แลนด์ที่เปิดพื้นที่ให้นักดนตรีแต่ละคนแจมกันอย่างสนุก มันทั้งคนเล่น คนดู และคนฟัง
10 เพลง ผ่านพ้นไปกับคอนเสิร์ตของ 2 เทพทางดนตรีกับทีมงานยอดฝีมือ ซึ่งเสียงกีตาร์ของเอริคในชุดนี้ไม่เด่นแต่ไม่ด้อย ด้านเสียงร้องของเขาเน้นร้องให้กร้าวห้าวตามแบบฉบับของนักร้องบลูส์ผิวสี ส่วนเสียงทรัมเป็ตของน้าวินตันนั้นปรากฏเด่นในหลายเพลงแต่ว่าไม่โดด และไม่หลุด ทั้งคู่เล่นกลมกลืนเข้ากันเป็นอย่างดีกับทีมแบ็คอัพทั้งทีมเครื่องเป่าและทีมริทึ่มซึ่งแต่ละคนรู้จังหวะจะโคนกันเป็นอย่างดีว่าช่วงไหนใครควรเด่น ใครควรเป็นพระเอก ใครควรเป็นพระรอง ใครควรหลบให้ใคร นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่านอกจากฝีมือดีแล้วยังต้องซ้อมมาเป็นอย่างดีด้วย
สำหรับใครที่อยากฟังเพลงดังๆของเอริค อย่าง “Cocaine”, “Wonderful Tonight”, “Tears in Heaven”นั้น ไม่มีให้ฟังในคอนเสิร์ตนี้(ยกเว้นเพลง Layla ที่นำมาทำใหม่ดังที่กล่าวมาข้างต้น) แต่ที่มีให้ฟังกันมากเป็นพิเศษก็คือ การอิมโพร์ไวซ์(ด้น) แจม รับ-ส่ง กัน ซึ่งนักดนตรีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวชูโรงอย่าง เอริค และวินตัน หรือ พวกทีมริทึม ทีมเครื่องเป่าแบ็คอัพนั้นทำออกมาได้อย่างเข้าขา รื่นไหล และถึงในอารมณ์
นับเป็นหนึ่งในคอนเสิร์ตที่แสดงให้เห็นชัดว่าการเล่นดนตรีด้วยใจที่เข้าถึงจิตวิญญาณ ซึ่งตกผลึกมาจากฝีมืออันยอดเยี่ยมนั้นเป็นอย่างไร
ในชุด “Clapton”(2010) มีซุ่มเสียงพิเศษมาช่วยสร้างสีสันใหม่ให้งานเพลงของ “เอริค(อีริค) แคลปตัน”(Eric Clapton) นั่นก็คือ เสียงทรัมเป็ตหรือเสียงแตรของ “วินตัน มาร์ซาลิส”(Wynton Marsalis) ที่แอบมาขโมยซีนในบางเพลง
การโคจรมาสนทนาภาษาดนตรีของทั้งคู่ในชุดนั้น ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากแฟนเพลงหลายๆคน ให้ทั้งสองมาทำโพรเจก(ดนตรี)ร่วมกันอย่างจริงๆจังๆ เพราะลุงเอริคนั้นคือมือกีตาร์บลูส์ขั้นเทพ ส่วนน้าวินตันก็เป็นมือทรัมเป็ตแจ๊ซขั้นเทพ ซึ่งทั้งบลูส์และแจ๊ซถือเป็นเครือญาติทางดนตรีที่สนิทชิดใกล้แนบแน่น
แถมที่ผ่านมาน้าวินตันแกยังเคยจับมือกับคุณปู่ “วิลลี่ เนลสัน”(Willie Nelson) ทำโพรเจคแบบนี้ประสบความสำเร็จมาแล้ว นั่นจึงทำให้เมื่อปีที่แล้วทั้งคุณลุงเอริคและคุณน้าวินตัน ตกลงจับมือกันทำอัลบั้มพิเศษไม่ใส่ไข่ขึ้นมา เป็นอัลบั้มแสดงสดในชื่อชุดยาว ยาว “Play the Blues Live from Jazz at Lincoln Center”
ผลงานแสดงสดชุดนี้เล่นที่ ลินคอล์น เซ็นเตอร์ ในนิวยอร์ก นอกจาก 2 ตัวเอกนำอย่างเอริคและวินตันแล้ว ยังมีทีมนักดนตรีแบ็กอัพชั้นเยี่ยมและวงลินคอร์น เซ็นเตอร์ ออร์เคสตร้า ที่จัดเต็มกันมา โดยบทเพลงเกือบทั้งหมดเป็นเพลงบลูส์ แจ๊ซดิ๊กซี่แลนด์ รุ่นครูที่เอริคและวินตันนำมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อใช้ในคอนเสิร์ตครั้งนี้โดยเฉพาะ ซึ่งได้ทำออกมาเป็นทั้งซีดีและดีวีดีตามยุคสมัยนิยม ในซีดีมีทั้งหมด 10 เพลง ส่วนในดีวีดีแถมโบนัสแทรคให้อีก 1 เพลง
Play the Bluesฯ เปิดตัวกันด้วย “Ice Cream” บทเพลงชื่อหวานเย็นชวนกิน มาในแนวดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ซมันๆ ให้นักดนตรีแต่ละคนโชว์ฝีมือโซโล อิมโพรไวซ์ กันพอหอมปากหอมคอ แต่ขอบอกว่ามันมาก พวกเขาเล่นเขาขาและรับส่งภาษาดนตรีกันได้อย่างรื่นไหล ซึ่งทางวงจัดมันใส่กันมา ทั้ง ทรอมโบน คลาริเน็ต แบนโจ เบส กลอง และที่ขาดไม่ได้คือ เสียงทรัมเป็ตจากน้าวินตันและกีตาร์ทางบลูส์จากคุณลุงเอริค
ในเพลงแรกนี้นอกจากจะเผยให้เห็นถึงฝีมืออันยอดเยี่ยมของผู้เข้าร่วมเล่นในคอนเสิร์ตครั้งนี้แล้ว ยังเผยให้เห็นถึงแนวทางหลักในคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย เพราะหลังจากเพลงนี้ ในเพลงถัดๆไป เป็นการสนทนาภาษาดนตรีกันอย่างเข้าขา สนุกสนาน
เมื่อนักดนตรีได้ลับฝีมือ ฝีปาก กันไปแล้วใน Ice Cream เพลงต่อๆมา พวกเขาได้ระดมอารมณ์เพลงบลูส์ ดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ซ(นิวออร์ลีนแจ๊ซ) สู่คนฟังอย่างต่อเนื่องรื่นไหล ไล่ไปตั้งแต่ “Forty-Four” อีกหนึ่งเพลงสนุกๆ มีการเปิดพื้นที่ให้อิมโพรไวซ์กันค่อนข้างยาว เอริคโซโลลูกบลูส์ได้อย่างถึงอารมณ์เรียกเสียงปรบมือได้ลั่นฮอลล์
“Joe Turner’s Blues” เพลงนี้ก็ยาวพอๆกับ 2 เพลงแรก คือปาเข้าไป 7 นาทีกว่าๆ แต่ว่าดนตรีหน่วงจังหวะลงมาเป็นบลูส์ช้าๆ ฟังให้อารมณ์ย้อนยุคมากๆ
“The Last Time” เป็นสวิงสนุกชวนขยับแข้งขยับขา น้าวินตันเป็นสารถีเล่นนำมา ท่อนท้ายทรอมโบน(ใส่มิวด์)โซโลได้เด็ดสะระตี่ไปเลย
ต่ออารมณ์กันด้วยสวิงที่หน่วงลงมาหน่อยกับ “Careless Love” ที่คลาริเน็ตในเพลงนี้เล่นอาเปจิโอได้เท่มาก ขณะที่ลุงเอริคนั้นโซโลกีตาร์ในทางบลูส์รับส่งกับลูกอิมโพร์ไวซ์ของวินตันได้อย่างเข้าขา
“Kidman Blues” เป็นเพลงสนุกๆ เปียโนโซโลทางแรกไทม์ ส่วนพวกเครื่องเป่านั้นพุดคุยกันในภาษาดนตรีได้มันมาก
จากนั้นมาถึงบทเพลงหนึ่งเดียวของเอริคในอัลบั้มชุดนี้กับ “Layla” เพลงนี้เล่นกันคนละอารมณ์กับต้นฉบับเลย โครงสร้างเพลงทางคอร์ดมาในทางเดียวกับ Layla ในชุดอันปลั๊ก แต่ว่ามีการใส่เสน่ห์และสีสันของเครื่องเป่าเข้าไป เป็นบลูส์แจ๊ซเข้มๆที่ช่วงอินโทรน้าวินตันโชว์เทคนิคการเป่าทรัมเป็ตด้วยเสียงแตกได้อย่างสะเด็ดสะเด่า ส่วนเอริคนั้นโซโลกีตาร์ได้อย่างบาดลึกเหมือนกลั่นมาจากหัวใจ ในอารมณ์ของคนที่แอบรักเมียเพื่อนซึ่งสุดท้ายก็สามารถได้มาไว้เชยชม
เพลงถัดไป“Joliet Bound” เป็นคันทรีแจ๊ซสนุก จากนั้นได้คุณปู่ “ทัจ มาฮาล”(Taj Mahal) มาร่วมแจมในเพลงบทเพลงพื้นบ้านอย่าง “Just A Closer Walk With Thee” ที่มาในจังหวะหน่วงเนิบช้า ให้คุณปู่ทัจได้โชว์เสียงร้อง โดยหลังจบเพลงพวกเล่นดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ซแจมกันอย่างเมามัน ก่อนที่แทรคปิดท้ายอังกอร์ก็เป็นดิ๊กซี่แลนด์ที่เปิดพื้นที่ให้นักดนตรีแต่ละคนแจมกันอย่างสนุก มันทั้งคนเล่น คนดู และคนฟัง
10 เพลง ผ่านพ้นไปกับคอนเสิร์ตของ 2 เทพทางดนตรีกับทีมงานยอดฝีมือ ซึ่งเสียงกีตาร์ของเอริคในชุดนี้ไม่เด่นแต่ไม่ด้อย ด้านเสียงร้องของเขาเน้นร้องให้กร้าวห้าวตามแบบฉบับของนักร้องบลูส์ผิวสี ส่วนเสียงทรัมเป็ตของน้าวินตันนั้นปรากฏเด่นในหลายเพลงแต่ว่าไม่โดด และไม่หลุด ทั้งคู่เล่นกลมกลืนเข้ากันเป็นอย่างดีกับทีมแบ็คอัพทั้งทีมเครื่องเป่าและทีมริทึ่มซึ่งแต่ละคนรู้จังหวะจะโคนกันเป็นอย่างดีว่าช่วงไหนใครควรเด่น ใครควรเป็นพระเอก ใครควรเป็นพระรอง ใครควรหลบให้ใคร นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่านอกจากฝีมือดีแล้วยังต้องซ้อมมาเป็นอย่างดีด้วย
สำหรับใครที่อยากฟังเพลงดังๆของเอริค อย่าง “Cocaine”, “Wonderful Tonight”, “Tears in Heaven”นั้น ไม่มีให้ฟังในคอนเสิร์ตนี้(ยกเว้นเพลง Layla ที่นำมาทำใหม่ดังที่กล่าวมาข้างต้น) แต่ที่มีให้ฟังกันมากเป็นพิเศษก็คือ การอิมโพร์ไวซ์(ด้น) แจม รับ-ส่ง กัน ซึ่งนักดนตรีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวชูโรงอย่าง เอริค และวินตัน หรือ พวกทีมริทึม ทีมเครื่องเป่าแบ็คอัพนั้นทำออกมาได้อย่างเข้าขา รื่นไหล และถึงในอารมณ์
นับเป็นหนึ่งในคอนเสิร์ตที่แสดงให้เห็นชัดว่าการเล่นดนตรีด้วยใจที่เข้าถึงจิตวิญญาณ ซึ่งตกผลึกมาจากฝีมืออันยอดเยี่ยมนั้นเป็นอย่างไร