ใกล้จะปิดฤดูกาลแล้ว ก็อดจะหาหนังฟุตบอลเจ๋งๆ ซักเรื่องมาดูแก้เซ็งกันไม่ได้ นึกขึ้นมาถึงยุค 80 ที่มีหนังฟุตบอลอยู่เรื่องหนึ่ง เป็นหนังฟอร์มยักษ์ที่ระดมนักเตะเวิลด์คลาสที่เลิกเล่นไปแล้วในขณะนั้น อย่าง เปเล่ บ็อบบี่ มัวร์ คาซิเมียซ เดย์น่า ปีกลมกรดชาวโปแลนด์ ออสวัลโด้ อาร์ดิเลส ซึ่งเป็นมันสมองของอาร์เจนตินาชุดแชมป์โลกปี 1978 รวมถึงนักเตะทีมอิปสวิช ทาวน์ ซึ่งตอนนั้นคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพมาหมาดๆ
เรื่องนี้มีภาษาอังกฤษว่า Escape to victory หรือชื่อในภาษาไทยว่า “เตะแหลกแล้วแหกค่าย” ปัจจุบันหนังเรื่องนี้มีผลิตขายในรูปแบบดีวีดีลิขสิทธิ์อยู่ตามแผงต่างๆ ด้วยในราคาถูกมาก
หนังเรื่องดังกลาวเป็นผลงานกำกับโดย จอห์น ฮุสตัน และมีดาราใหญ่นำแสดงอยู่คือ ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน และ ไมเคิล เคน หนังจับเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่เยอรมันกำลังลำพองไปทั่วยุโรป ด้วยศักยภาพทางทหาร บรรดาทหารจากกองทัพชาติต่างๆ ที่รบกับเยอรมันแล้วแพ้ก็เลยถูกจับมารวมกันในค่ายเชลยศึกภายใต้การดูแลของนายพล แม็กซ์ ฟอนซีโดว์ ซึ่งชอบฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมรวมเชลยสัมพันธมิตรกับทีมเยอรมัน จึงต้องมีขึ้นเพื่อทั้งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเชลยกับผู้ควบคุม ทั้งเพื่อสปิริตของการกีฬา และเพื่อการหนีออกจากค่ายกักกันที่ว่านี้ ตอนจบของเรื่องนั้นนักเตะฝ่ายสัมพันธมิตรหนีรอดไปได้ จากการเซฟจุดโทษของสตอลโลน ความดีใจนั้นทำให้กองเชียร์ลงมาเต็มสนาม และพานักเตะหนีไปได้หมด

เพราะการระดมนักเตะระดับโลกมาเล่นหนังกันอย่างมากมายนั้น ทำให้หลายคนมองข้ามจุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้ไปหมด นั่นคือ เค้าโครงของตัวหนังเรื่องนี้มาจากเรื่องจริงนะครับ เพียงแต่จุดจบของเรื่องนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ในหนังเขาจบ เพราะชัยชนะนั้นทำให้บรรดานักเตะฝ่ายตรงข้ามนาซีถูกจับเข้าคุกเสียเกลี้ยงไปหมด และมีบ้างที่โดนประหารชีวิต เพราะฝีเท้าดีเกิน…พูดง่ายๆ ค่ายไม่ได้โดนแหกอย่างในหนังนะครับ
เรื่องราวจริงของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนปี 1941 ช่วงเวลาที่เยอรมันส่งกองทัพเข้าไปยึดยูเครนที่เป็นของสหภาพโซเวียต ศัตรูสำคัญของเยอรมันด้วยกองกำลังสองแสนนาย เมื่อเป็นผู้แพ้กิจการทุกอย่างในเมืองจึงต้องเปลี่ยน ลีกฟุตบอลที่กำลังแข่งขันกันอยู่ในยูเครนก็ต้องถูกยกเลิก นักฟุตบอลหลายคนโดยเฉพาะในทีม ไดนาโม เคียฟ ที่เปลี่ยนตัวเองมาเป็นทหาร เมื่อพ่ายแพ้ก็ถูกส่งตัวไปเป็นเชลยศึกในค่ายกักกัน เพื่อทำหน้าที่อย่างที่กองทัพเยอรมันสั่งตั้งแต่ผลิตขนมปัง ทำความสะอาด ไปกระทั่งอยู่ในโรงงานผลิตอาวุธ แต่ที่ไม่ยอมแพ้ก็มีการยิงเป้ากันไปเยอะเลย
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ค่ายกักกันดาร์นิทซ่า (Darnitsa Camp) ในเมืองเคียฟ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชลยที่ถูกคัดกรองแล้วว่าไม่มีพิษมีภัยต่อกองทัพนาซีของฮิตเลอร์ในบุคคลเหล่านี้ก็มีอดีตนักฟุตบอลของทีม ไดนาโม เคียฟ อยู่หลายคน
เรื่องจริงเกิดขึ้นเมื่อ มิคโคลา ทรุสเซวิช ซึ่งเป็นผู้รักษาประตูตัวจริงของ ไดนาโม เคียฟ ในเวลานั้น ถูกส่งกลับมาจากที่อื่นเพื่อมาทำงานพนักงานกวาดพื้นในโรงงานขนมปังหมายเลข 3 ผู้ดูแลโรงงานขนมปังนั้นแม้จะเป็นเยอรมันที่ชื่อ “โลซิฟ คอร์ดิค” แต่ก็เป็นแฟนฟุตบอลตัวยงโดยเฉพาะการเป็นแฟนทีม ไดนาโม เคียฟ เมื่อมีลูกน้องเป็นโกล์มือหนึ่งของทีมโปรด เขาก็ปิ๊งไอเดียที่จะสร้างทีมฟุตบอลของโรงงานขนมปังขึ้นมา คอร์ดิคเสนอไอเดียในเรื่องนี้กับทรุสเซวิช ซึ่งเจ้าตัวก็เห็นด้วย เขาค่อยๆ รวบรวมเพื่อนนักเตะที่กลายเป็นเชลยอยู่ตามโรงงานต่างๆ แต่เรื่องก็ไม่ง่ายนัก เพราะนักเตะบางคนมองว่าการที่เข้าเล่นในลีกที่จัดโดยนาซีนี้เท่ากับเป็นการยอมรับการเป็นเชลยและร่วมมือกับนาซี แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะเล่น เพราะชาวเมืองจะได้มีกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป สุดท้ายทีมฟุตบอลโรงงานขนมปังนี้มี 8 นักเตะตัวจริงของ ไดนาโมเคียฟ และอีก 3 คนมาจากทีม โลโคโมทีฟ เคียฟ
ทีมขนมปังใหม่นี้มีชื่อว่า FC Start (Football Club Start) พวกเขาลงสนามเป็นนัดแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1942 โดยเอาชนะทีม รูคห์ (Rukh FC) ซึ่งเจ้าของทีมนั้นเป็นผู้บริหารลีกและเป็นขี้ข้านาซีแบบเต็มตัว โดย เอฟซี สตาร์ต ชนะ 7-2 ชัยชนะเริ่มต้นครั้งนี้ทำเอาชาวเคียฟดีใจกันถ้วนหน้า ซึ่งก็ช่วยระบายแค้นในใจที่เมืองถูกนาซียึดครองไปได้
เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่า ทีมฟุตบอลนี้เป็นทีมแห่งเคียฟ และโซเวียต พวกเขาลงสนามด้วยเสื้อสีแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพแดง ทรุสเซวิช ประกาศต่อหน้าเพื่อนๆ ในทีม ว่า เสื้อแดงนี้จะไม่มีวันแพ้
“เพราะเราไม่มีอาวุธอยู่ในมือที่จะไปสู้กับพวกนาซี แต่เราสามารถที่จะต่อสู้ได้บนสนามฟุตบอลด้วยเสื้อที่เป็นสีของธงชาติของเราที่จะประกาศ ว่า ชาวเคียฟและกองทัพแดงจะไม่มีวันยอมแพ้ต่อพวกฟาสซิสต์ตลอดกาล”
คำสัญญาที่ว่าเป็นจริง เพราะตลอดปี 1942 พวกเขาไม่แพ้ใครเลย โดยเฉพาะชัยชนะแมตช์สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม ปีเดียวกันนั่นเอง เพราะมันดันเป็นการชนะเหนือทีม ฟลาเคล์ฟ (Flakelf FC) ซึ่งดันเป็นทีมของหน่วย SS ของกองทัพนาซีนั่นเอง ทันทีที่แพ้คำสั่งให้มีการรีแมตช์เกิดขึ้นทันทีใน 3 วันถัดมา โดยการแข่งขันจะมีขึ้นในเซนิต สเตเดียม โดยมีทหารและกองทัพเยอรมันเข้ามาดูและควบคุมการแข่งเต็มไปหมด
ทางโซเวียตรัสเซียบันทึกเอาไว้ว่า เจ้าหน้าที่หน่วย SS นายหนึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในสนาม ก่อนแข่ง ได้เข้าไปในห้องแต่งตัวของทีมสตาร์ตแล้วพูดว่า “ผมรู้ว่าพวกคุณเป็นทีมที่ดีมาก แต่กรุณาเล่นตามกฎของเรา และกรุณาอย่าแหกกฎของเรา ก่อนที่เกมจะเริ่มพวกคุณต้องแสดงความเคารพในแบบของเรานั่นคือสไตล์นาซี”
แต่คำขอร้องของกรรมการไม่เป็นผล ทีมสตาร์ตไม่ได้ทำอย่างที่ร้องขอ นั่นทำให้เกมการแข่งขันเป็นมากกว่าการแข่งฟุตบอล แต่มันคือ สงครามแข้งที่ทีมฟุตบอลจากหน่วย SS ทีมนี้จะเตะขา หวดแข้งไปที่ศีรษะโกล์ฝ่ายตรงข้าม ตีศอก และทำอะไรต่อมิอะไรจนกระทั่งคนที่เข้าไปชมเกมนี้บอกว่า มันไม่ใช่ฟุตบอลแล้ว…แต่มันคือการลงโทษหมู่ชัดๆ
แต่ถึงขนาดนั้น สตาร์ต ก็ยังนำในครึ่งแรกอยู่ 3-1 ในห้องแต่งตัวพวกเขาได้รับการร้องขอจากผู้ควบคุมลีกให้ขอยกเลิกแมตช์นี้เสีย ตามมาด้วยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ SS อีกนาย ว่า เกมนี้ทีมสตาร์ตห้ามชนะทีมเยอรมันต่อหน้านายพลหลายคน ซึ่งถ้าผลไม่เป็นไปตามที่หวัง นักฟุตบอลทุกนายจะต้องพบกับเรื่องที่ไม่คาดคิดแน่
คำขู่ที่ว่าไม่ทำให้นักฟุตบอลทีมนี้ยี่หระ พวกเขาลงเตะทั้งๆ ที่รู้อยู่ล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไม่ยอมล้มบอล พวกเขาจะต้องตายแน่ๆ เพราะชัยชนะอาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่คาดคิดต่อบรรดาเชลยศึก และประชาชนที่ถูกควบคุมทั้งหมด สุดท้ายเมื่อกรรมการเป่าหมดเวลา ทีมสตาร์ตก็เอาชนะทีมจากเยอรมันไปได้ 5-3 ลูกสุดท้ายที่ยิงได้ทำโดยกองหลังจอมบุกที่ชื่อว่า คลิเมนโก้ ที่เลื้อยหลบกองหลังเยอรมันทุกตัว หลบแม้กระทั่งผู้รักษาประตู แต่ก่อนที่จะแปเข้าไปง่ายๆ เขากลับกระดกบอลให้ลอยกลางอากาศแล้วตีลังกายิงเข้าไปแทน เรียกว่า เป็นการหยามกันอย่างสุดๆ ซึ่ง เปเล่ เอามาใช้ตอนเล่นในหนังนั่นเองครับ
รัสเซียรายงานต่อว่า หลังจากนั้น ราวๆ หนึ่งสัปดาห์ ทีมฟุตบอลทั้งทีมก็ถูกจับไปทรมานโดยหน่วยเกสตาโปของนาซี โดยยัดข้อหาว่าทีมฟุตบอลนี้เป็นสมาชิกของกลุ่มต่อต้านนาซี มิโคลา โครอตคิค ตายขณะกำลังทรมาน ที่เหลือถูกส่งไปค่ายกักกันไซเรต ที่นี่ อิวาน คุซเมนโก้ โอเลคไซ คลิเมนโก้ ผุ้ยิงตีลังกากลับหลังอย่างสุดสวย และตัว ทรุสเซวิช หัวเรือใหญ่ของทีมถูกประหารด้วยการยิงเป้าในเดือนกุมภาพันธ์ 1943 สมาชิกในทีมที่เหลือรอดชีวิตมาได้ ประกอบไปด้วย เฟเดอร์ ทุทซ์เชฟ มิคาอิล สเวอร์ริดอฟสกี้ และ มาร์คาร์ ฮอนชาเรนโก้ เป็น 3 คนที่รอดมาเล่าเรื่องต่างๆ ให้หน่วประชาสัมพันธ์รัสเซียไปใช้งานต่อ หลังจากนั้นการแข่งขันนัดนี้ก็ถูกเรียกจากสื่อและคนทั่วไปว่า แมตช์แห่งความตาย หรือ “Death Match” มีการพิมพ์หนังสือออกมาหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างออกมาเป็นหนังที่ฉายอยู่ในโซเวียต โดยเฉพาะในเขตยูเครนไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง แต่ที่รู้จักมากที่สุด ก็คือ เรื่อง Escape to Victory หรือเตะแหลกแล้วแหกค่าย ในปี 1981 นี่เองครับ ปีเดียวกันที่หนังฉายสนามของเซนิต สเตเดียม ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสตาร์ต สเตเดียม กันเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวนี้เชื่อถือไม่ได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังวิเคราะห์ ว่า มันถูกเสริมขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของพวกโซเวียต อย่างเรื่องที่นักเตะโดนจับไปยิงทิ้งนั้น ลูกชายของ Mikhail Pustinin บอกว่า พ่อเขาเล่าให้ฟังว่า โดนตำรวจตั้งด่านตรวจบัตรเรียกก่อนเข้าบ้าน แต่พอตำรวจจำได้ว่าเขาคือนักเตะของฝ่ายตรงข้าม ตำรวจเหล่านั้นก็ปล่อยให้ผ่านทันทีและยกนิ้วโป้งให้ด้วยว่า เล่นดีมาก แถมยังบอกด้วยว่า คุณพ่อของเขาพูดเรื่องการมาเยือนของหน่วย SS ว่า ไม่ได้มีเรื่องที่จะขู่ฆ่ากันอย่างที่บอก พวกนั้นเข้ามาจับมือแล้วขอให้แข่งกันให้ดีที่สุด เพื่อค้นหาสุดยอดของชาวอารยันต่างหาก
เช่นเดียวกับเรื่องกรรมการ หลายคนบอกว่า กรรมการเป็นโรมาเนียและฮังการี ซึ่งเกลียดความรุนแรงในสนามมาก ตัวกรรมการไม่ได้ตัดสินอย่างลำเอียงเช่นนั้นเลย ทุกอย่างขาวสะอาดและทีมเยอรมันก็ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างโดยดี
ใครจะเชื่อตามแบบไหนก็เชิญตามสะดวกครับ
เรื่องนี้มีภาษาอังกฤษว่า Escape to victory หรือชื่อในภาษาไทยว่า “เตะแหลกแล้วแหกค่าย” ปัจจุบันหนังเรื่องนี้มีผลิตขายในรูปแบบดีวีดีลิขสิทธิ์อยู่ตามแผงต่างๆ ด้วยในราคาถูกมาก
หนังเรื่องดังกลาวเป็นผลงานกำกับโดย จอห์น ฮุสตัน และมีดาราใหญ่นำแสดงอยู่คือ ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน และ ไมเคิล เคน หนังจับเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่เยอรมันกำลังลำพองไปทั่วยุโรป ด้วยศักยภาพทางทหาร บรรดาทหารจากกองทัพชาติต่างๆ ที่รบกับเยอรมันแล้วแพ้ก็เลยถูกจับมารวมกันในค่ายเชลยศึกภายใต้การดูแลของนายพล แม็กซ์ ฟอนซีโดว์ ซึ่งชอบฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมรวมเชลยสัมพันธมิตรกับทีมเยอรมัน จึงต้องมีขึ้นเพื่อทั้งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเชลยกับผู้ควบคุม ทั้งเพื่อสปิริตของการกีฬา และเพื่อการหนีออกจากค่ายกักกันที่ว่านี้ ตอนจบของเรื่องนั้นนักเตะฝ่ายสัมพันธมิตรหนีรอดไปได้ จากการเซฟจุดโทษของสตอลโลน ความดีใจนั้นทำให้กองเชียร์ลงมาเต็มสนาม และพานักเตะหนีไปได้หมด
เพราะการระดมนักเตะระดับโลกมาเล่นหนังกันอย่างมากมายนั้น ทำให้หลายคนมองข้ามจุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้ไปหมด นั่นคือ เค้าโครงของตัวหนังเรื่องนี้มาจากเรื่องจริงนะครับ เพียงแต่จุดจบของเรื่องนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ในหนังเขาจบ เพราะชัยชนะนั้นทำให้บรรดานักเตะฝ่ายตรงข้ามนาซีถูกจับเข้าคุกเสียเกลี้ยงไปหมด และมีบ้างที่โดนประหารชีวิต เพราะฝีเท้าดีเกิน…พูดง่ายๆ ค่ายไม่ได้โดนแหกอย่างในหนังนะครับ
เรื่องราวจริงของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนปี 1941 ช่วงเวลาที่เยอรมันส่งกองทัพเข้าไปยึดยูเครนที่เป็นของสหภาพโซเวียต ศัตรูสำคัญของเยอรมันด้วยกองกำลังสองแสนนาย เมื่อเป็นผู้แพ้กิจการทุกอย่างในเมืองจึงต้องเปลี่ยน ลีกฟุตบอลที่กำลังแข่งขันกันอยู่ในยูเครนก็ต้องถูกยกเลิก นักฟุตบอลหลายคนโดยเฉพาะในทีม ไดนาโม เคียฟ ที่เปลี่ยนตัวเองมาเป็นทหาร เมื่อพ่ายแพ้ก็ถูกส่งตัวไปเป็นเชลยศึกในค่ายกักกัน เพื่อทำหน้าที่อย่างที่กองทัพเยอรมันสั่งตั้งแต่ผลิตขนมปัง ทำความสะอาด ไปกระทั่งอยู่ในโรงงานผลิตอาวุธ แต่ที่ไม่ยอมแพ้ก็มีการยิงเป้ากันไปเยอะเลย
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ค่ายกักกันดาร์นิทซ่า (Darnitsa Camp) ในเมืองเคียฟ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชลยที่ถูกคัดกรองแล้วว่าไม่มีพิษมีภัยต่อกองทัพนาซีของฮิตเลอร์ในบุคคลเหล่านี้ก็มีอดีตนักฟุตบอลของทีม ไดนาโม เคียฟ อยู่หลายคน
เรื่องจริงเกิดขึ้นเมื่อ มิคโคลา ทรุสเซวิช ซึ่งเป็นผู้รักษาประตูตัวจริงของ ไดนาโม เคียฟ ในเวลานั้น ถูกส่งกลับมาจากที่อื่นเพื่อมาทำงานพนักงานกวาดพื้นในโรงงานขนมปังหมายเลข 3 ผู้ดูแลโรงงานขนมปังนั้นแม้จะเป็นเยอรมันที่ชื่อ “โลซิฟ คอร์ดิค” แต่ก็เป็นแฟนฟุตบอลตัวยงโดยเฉพาะการเป็นแฟนทีม ไดนาโม เคียฟ เมื่อมีลูกน้องเป็นโกล์มือหนึ่งของทีมโปรด เขาก็ปิ๊งไอเดียที่จะสร้างทีมฟุตบอลของโรงงานขนมปังขึ้นมา คอร์ดิคเสนอไอเดียในเรื่องนี้กับทรุสเซวิช ซึ่งเจ้าตัวก็เห็นด้วย เขาค่อยๆ รวบรวมเพื่อนนักเตะที่กลายเป็นเชลยอยู่ตามโรงงานต่างๆ แต่เรื่องก็ไม่ง่ายนัก เพราะนักเตะบางคนมองว่าการที่เข้าเล่นในลีกที่จัดโดยนาซีนี้เท่ากับเป็นการยอมรับการเป็นเชลยและร่วมมือกับนาซี แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะเล่น เพราะชาวเมืองจะได้มีกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป สุดท้ายทีมฟุตบอลโรงงานขนมปังนี้มี 8 นักเตะตัวจริงของ ไดนาโมเคียฟ และอีก 3 คนมาจากทีม โลโคโมทีฟ เคียฟ
ทีมขนมปังใหม่นี้มีชื่อว่า FC Start (Football Club Start) พวกเขาลงสนามเป็นนัดแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1942 โดยเอาชนะทีม รูคห์ (Rukh FC) ซึ่งเจ้าของทีมนั้นเป็นผู้บริหารลีกและเป็นขี้ข้านาซีแบบเต็มตัว โดย เอฟซี สตาร์ต ชนะ 7-2 ชัยชนะเริ่มต้นครั้งนี้ทำเอาชาวเคียฟดีใจกันถ้วนหน้า ซึ่งก็ช่วยระบายแค้นในใจที่เมืองถูกนาซียึดครองไปได้
เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่า ทีมฟุตบอลนี้เป็นทีมแห่งเคียฟ และโซเวียต พวกเขาลงสนามด้วยเสื้อสีแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพแดง ทรุสเซวิช ประกาศต่อหน้าเพื่อนๆ ในทีม ว่า เสื้อแดงนี้จะไม่มีวันแพ้
“เพราะเราไม่มีอาวุธอยู่ในมือที่จะไปสู้กับพวกนาซี แต่เราสามารถที่จะต่อสู้ได้บนสนามฟุตบอลด้วยเสื้อที่เป็นสีของธงชาติของเราที่จะประกาศ ว่า ชาวเคียฟและกองทัพแดงจะไม่มีวันยอมแพ้ต่อพวกฟาสซิสต์ตลอดกาล”
คำสัญญาที่ว่าเป็นจริง เพราะตลอดปี 1942 พวกเขาไม่แพ้ใครเลย โดยเฉพาะชัยชนะแมตช์สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม ปีเดียวกันนั่นเอง เพราะมันดันเป็นการชนะเหนือทีม ฟลาเคล์ฟ (Flakelf FC) ซึ่งดันเป็นทีมของหน่วย SS ของกองทัพนาซีนั่นเอง ทันทีที่แพ้คำสั่งให้มีการรีแมตช์เกิดขึ้นทันทีใน 3 วันถัดมา โดยการแข่งขันจะมีขึ้นในเซนิต สเตเดียม โดยมีทหารและกองทัพเยอรมันเข้ามาดูและควบคุมการแข่งเต็มไปหมด
ทางโซเวียตรัสเซียบันทึกเอาไว้ว่า เจ้าหน้าที่หน่วย SS นายหนึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในสนาม ก่อนแข่ง ได้เข้าไปในห้องแต่งตัวของทีมสตาร์ตแล้วพูดว่า “ผมรู้ว่าพวกคุณเป็นทีมที่ดีมาก แต่กรุณาเล่นตามกฎของเรา และกรุณาอย่าแหกกฎของเรา ก่อนที่เกมจะเริ่มพวกคุณต้องแสดงความเคารพในแบบของเรานั่นคือสไตล์นาซี”
แต่คำขอร้องของกรรมการไม่เป็นผล ทีมสตาร์ตไม่ได้ทำอย่างที่ร้องขอ นั่นทำให้เกมการแข่งขันเป็นมากกว่าการแข่งฟุตบอล แต่มันคือ สงครามแข้งที่ทีมฟุตบอลจากหน่วย SS ทีมนี้จะเตะขา หวดแข้งไปที่ศีรษะโกล์ฝ่ายตรงข้าม ตีศอก และทำอะไรต่อมิอะไรจนกระทั่งคนที่เข้าไปชมเกมนี้บอกว่า มันไม่ใช่ฟุตบอลแล้ว…แต่มันคือการลงโทษหมู่ชัดๆ
แต่ถึงขนาดนั้น สตาร์ต ก็ยังนำในครึ่งแรกอยู่ 3-1 ในห้องแต่งตัวพวกเขาได้รับการร้องขอจากผู้ควบคุมลีกให้ขอยกเลิกแมตช์นี้เสีย ตามมาด้วยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ SS อีกนาย ว่า เกมนี้ทีมสตาร์ตห้ามชนะทีมเยอรมันต่อหน้านายพลหลายคน ซึ่งถ้าผลไม่เป็นไปตามที่หวัง นักฟุตบอลทุกนายจะต้องพบกับเรื่องที่ไม่คาดคิดแน่
คำขู่ที่ว่าไม่ทำให้นักฟุตบอลทีมนี้ยี่หระ พวกเขาลงเตะทั้งๆ ที่รู้อยู่ล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไม่ยอมล้มบอล พวกเขาจะต้องตายแน่ๆ เพราะชัยชนะอาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่คาดคิดต่อบรรดาเชลยศึก และประชาชนที่ถูกควบคุมทั้งหมด สุดท้ายเมื่อกรรมการเป่าหมดเวลา ทีมสตาร์ตก็เอาชนะทีมจากเยอรมันไปได้ 5-3 ลูกสุดท้ายที่ยิงได้ทำโดยกองหลังจอมบุกที่ชื่อว่า คลิเมนโก้ ที่เลื้อยหลบกองหลังเยอรมันทุกตัว หลบแม้กระทั่งผู้รักษาประตู แต่ก่อนที่จะแปเข้าไปง่ายๆ เขากลับกระดกบอลให้ลอยกลางอากาศแล้วตีลังกายิงเข้าไปแทน เรียกว่า เป็นการหยามกันอย่างสุดๆ ซึ่ง เปเล่ เอามาใช้ตอนเล่นในหนังนั่นเองครับ
รัสเซียรายงานต่อว่า หลังจากนั้น ราวๆ หนึ่งสัปดาห์ ทีมฟุตบอลทั้งทีมก็ถูกจับไปทรมานโดยหน่วยเกสตาโปของนาซี โดยยัดข้อหาว่าทีมฟุตบอลนี้เป็นสมาชิกของกลุ่มต่อต้านนาซี มิโคลา โครอตคิค ตายขณะกำลังทรมาน ที่เหลือถูกส่งไปค่ายกักกันไซเรต ที่นี่ อิวาน คุซเมนโก้ โอเลคไซ คลิเมนโก้ ผุ้ยิงตีลังกากลับหลังอย่างสุดสวย และตัว ทรุสเซวิช หัวเรือใหญ่ของทีมถูกประหารด้วยการยิงเป้าในเดือนกุมภาพันธ์ 1943 สมาชิกในทีมที่เหลือรอดชีวิตมาได้ ประกอบไปด้วย เฟเดอร์ ทุทซ์เชฟ มิคาอิล สเวอร์ริดอฟสกี้ และ มาร์คาร์ ฮอนชาเรนโก้ เป็น 3 คนที่รอดมาเล่าเรื่องต่างๆ ให้หน่วประชาสัมพันธ์รัสเซียไปใช้งานต่อ หลังจากนั้นการแข่งขันนัดนี้ก็ถูกเรียกจากสื่อและคนทั่วไปว่า แมตช์แห่งความตาย หรือ “Death Match” มีการพิมพ์หนังสือออกมาหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างออกมาเป็นหนังที่ฉายอยู่ในโซเวียต โดยเฉพาะในเขตยูเครนไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง แต่ที่รู้จักมากที่สุด ก็คือ เรื่อง Escape to Victory หรือเตะแหลกแล้วแหกค่าย ในปี 1981 นี่เองครับ ปีเดียวกันที่หนังฉายสนามของเซนิต สเตเดียม ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสตาร์ต สเตเดียม กันเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวนี้เชื่อถือไม่ได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังวิเคราะห์ ว่า มันถูกเสริมขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของพวกโซเวียต อย่างเรื่องที่นักเตะโดนจับไปยิงทิ้งนั้น ลูกชายของ Mikhail Pustinin บอกว่า พ่อเขาเล่าให้ฟังว่า โดนตำรวจตั้งด่านตรวจบัตรเรียกก่อนเข้าบ้าน แต่พอตำรวจจำได้ว่าเขาคือนักเตะของฝ่ายตรงข้าม ตำรวจเหล่านั้นก็ปล่อยให้ผ่านทันทีและยกนิ้วโป้งให้ด้วยว่า เล่นดีมาก แถมยังบอกด้วยว่า คุณพ่อของเขาพูดเรื่องการมาเยือนของหน่วย SS ว่า ไม่ได้มีเรื่องที่จะขู่ฆ่ากันอย่างที่บอก พวกนั้นเข้ามาจับมือแล้วขอให้แข่งกันให้ดีที่สุด เพื่อค้นหาสุดยอดของชาวอารยันต่างหาก
เช่นเดียวกับเรื่องกรรมการ หลายคนบอกว่า กรรมการเป็นโรมาเนียและฮังการี ซึ่งเกลียดความรุนแรงในสนามมาก ตัวกรรมการไม่ได้ตัดสินอย่างลำเอียงเช่นนั้นเลย ทุกอย่างขาวสะอาดและทีมเยอรมันก็ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างโดยดี
ใครจะเชื่อตามแบบไหนก็เชิญตามสะดวกครับ