จริงๆ เรื่องราวของ หวังซื่อชง หลี่ซื่อหมิน หลี่มี และ หัวหน้ากองกำลังอื่นๆ สามารถหาอ่านได้แบบละเอียดในนวนิยายเรื่องมังกรคู่สู้สิบทิศซึ่งเป็นเรื่องราวของการก่อตังราชวงศ์ถัง แต่กระนั้นในเรื่องที่หวงอี้เขียน ก็ไม่ได้ใส่เรื่องที่ พระ 13 รูปแห่งเส้าหลินช่วยคุ้มครองหลี่ซื่อหมินในการศึกกับหวังซื่อชงไว้นะครับ
แต่สำหรับคนชอบเรื่องบู๊ งานนี้ขอเล่าเป็นเกร็ดเอาไว้หน่อย

เหตุการณ์ในเวลานั้นเป็นช่วงที่ราชวงศ์สุย(คศ 581-618) ซึ่งรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ปกครองแผ่นดินมาได้สามสิบปีเศษก็เกิดล้มครืนจนหลายฝ่ายแยกตัวออกมาตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่าและตั้งราชวงศ์ของตัวเองขึ้นกันใหญ่ เหตุการณ์ทางภาคเหนือของแผ่นดินจีนในยุคนั้นมี 3 ก๊กที่ครองความยิ่งใหญ่และอาจจะได้เป็นฮ่องเต้องค์ต่อไปนั่นคือ ก๊กถังของตระกูลหลี่ตั้งฐานทัพอยู่ที่ฉางอานหรือซีอานในปัจจุบัน ก๊กของหวังซื่อชงที่ลั่วหยาง และก๊กของโต้วเจี้ยนเต๋อที่อยู่ทางตะวันออกที่เหอเป่ย
หวังซื่อชงเดิมนั้นเป็นขุนนางในราชวงศ์สุยถือโอกาสช่วงชุลมุนยกกองทัพเข้ายึดลั่วหยางซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์สุยเดิมได้สำเร็จพร้อมตั้งตัวเป็นเจ้าทันที เมืองลั่วหยางนั้นเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การตั้งรับอย่างยิ่งยากแก่การตีแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ปกครองเมืองลั่วหยางสามารถกุมจุดยุทธศาสตร์บริเวณภูเขาหวนหยวน (Mount Huanyuan ) ในเขตหยวนโจว(Yuanzhou )ได้ โอกาสที่จะแพ้เป็นไม่มี
อย่างไรก็ตามแต่เดิมของเขาหวนหยวนนั้นเป็นที่ธรณีสงฆ์ที่ “ฮ่องเต้สุยเหวินตี้หยางเจี้ยน” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุย ได้ยกให้วัดเส้าหลินเพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูกสำหรับเลี้ยงเณรและพระในวัด แต่หวังซื่อชงกลับมองเห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นน่าจะทำเอาไว้เป็นป้อมและเป็นฐานทัพที่จะตั้งรับการมาเยือนของกองทัพถังได้เป็นอย่างดี เขาก็เลยส่งกองทัพของตัวเองเข้ายึดพื้นที่และไล่พระวัดเส้าหลินออกไปให้หมด ก่อนจะส่งหลานตัวเองพร้อมกองทัพไปนั่งบัญชาการอย่างสะดวกโยธิน
แต่หวังซื่อชงหารู้ไม่ว่า นั่นเป็นเหตุให้บรรดาพระเส้าหลินโกรธอย่างมากและผลักดันให้กองกำลังพระเหล่านี้หันไปจับมือกับหลี่ซื่อหมินที่กำลังเคลื่อนทัพเพื่อมาตีลั่วหยางเพื่อยึดที่เพาะปลูกของพระกลับคืนมา การทำสัญญาร่วมรบระหว่างกองทัพถังและกองกำลังของเส้าหลินกลายเป็นข่าวดังไปถึงเมืองลั่วหยาง เมื่อทราบข่าวดังนั้นหวังซื่อชงถึงกับยกทัพไปเพื่อจะทำลายวัดเส้าหลินกันทีเดียว
แต่หลี่ซื่อหมินกลับปล่อยข่าวล่อให้กองทัพหลักของหวังซื่อชงไล่ตามบดขยี้ตัวเอง โดยมีกองกำลังอันน้อยนิดคอยคุ้มครอง หารู้ไม่ว่านั่นคือแผนล่อเสือออกจากถ้ำ แถมกองกำลังน้อยนิดที่คุ้มครองหลี่ซื่อหมินที่ว่าก็เป็นพระวัดเส้าหลินระดับยอดฝีมือมือทั้งนั้น หลวงจีน 13 รูปที่ทำหน้าที่คุ้มครองหลี่ซื่อหมินนำโดย “ไต้ซือเจี่ยหยวน” หรือ ถ้าอ่านเป็นแต้จิ๋วแบบที่นักอ่านนวนิยายกำลังภายในคุ้นเคยก็คือ “ไต้ซื้อกั๊กเอี๋ยง” สามารถถ่วงเวลาให้กับหลี่ซื่อหมินได้สำเร็จ
เมื่อสามารถชักนำให้กำลังหลักของหวังซื่อชงไปไล่กวดหลี่ซื่อหมินอย่างเมามัน กองกำลังหลักของราชวงศ์ถังก็เข้าโจมตีและยึดป้อมที่หยวนโจวได้สำเร็จรวมถึงสามารถจับตัว “หวังเหยินเจ้อ (Wang ren ze)” หลานชายของหวังซื่อชงซึ่งคุมกองบัญชาการอยู่ได้ด้วย ว่ากันว่ากองร้อยแรกที่เข้าสู่สนามรบและฟาดฟันกับทหารในภูเขาก็คือกองร้อยยอดฝีมือจากวัดเส้าหลินนั่นเอง ข่าวร้ายที่ว่าเมื่อส่งไปถึงหวังซื่อชง ทุกอย่างก็จบ หัวหน้าก๊กผู้หยิ่งผยองต้องประกาศเลิกทัพกลับลั่วหยางทันที
เมื่อปราศจากป้อมและกองส่งเสบียงที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ก็ไม่มีอะไรที่จะหยุดยั้งกองทัพของหลี่ซื่อหมินได้อีก ทัพของโต้วเจี้ยนเต๋อที่หวังจะบุกเข้ามาตามแผนล้อมเว่ยช่วยจ้าวเพื่อให้หวังซื่อชงพอมีทางรอดกลับพ่ายแพ้ต่อหลี่ซื่อหมินเสียอีกในการศึกที่หูหล่อ โต้วเจี้ยนเต๋อถูกจับ ส่งผลให้เมืองลั่วหยางกลายเป็นเมืองที่โดดเดี่ยว ไม่นานหลังจากนั้นหวังซื่อชงก็ประกาศยอมแพ้ต่อทัพของหลี่ซื่อหมิน และวัดเส้าหลินก็กลายเป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์ถังทันที
แต่นักประวัติศาตร์กล่าวว่า แม้กองทัพพระจะแสดงฝีมือในการรบอย่างห้าวหาญและทำหน้าที่เหมือนกองรบพิเศษของราชวงศ์ถังที่ว่า แต่ก็ไม่ได้มีบันทึกอย่างเป็นทางการว่าได้มีการฝึกกองทัพหรือเทคนิคทางทหารภายในวัดแห่งนี้นะครับ
คำถามก็คือ แล้วพระในวัดรู้เรื่องทหารและการเคลื่อนพลได้อย่างไร?
คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่าพระในวัดในยุคถังนั้นล้วนแต่เป็นทหารเก่ามาบวชทั้งสิ้น ย้อนไปดูตั้งแต่สมัยไต้ซือ “ฮุ่ยเคอ” ศิษย์เอกของท่านตั๊กม้อเป็นต้น หลวงพ่อแขนเดียวท่านนี้ก็เป็นทหารมาก่อน ในสมัยถังนั้นทหารจำนวนมากเมื่อปลดก็มาบวชเป็นพระในวัดเส้าหลินชนิดที่บันทึกเอาไว้ว่า เส้าหลินมีพระอยู่ในวัดถึง 2000 กว่ารูปแต่ที่พร้อมประจัญบานหรือที่เรียกว่ากองทัพพระมีอยู่ 500 รูป หลายครั้งที่พระวัดเส้าหลินต้องออกรบโดยที่บางส่วนก็สึกจากความเป็นพระ บางส่วนก็ไม่สึกภายใต้การกำกับของจอมพลหลี่จิ้ง ยอดขุนพลของหลี่ซื่อหมิน จนขนาดที่หลี่จิ้งต้องเขียนบันทึกเอาไว้ถึงฝีมือและความเก่งกาจในสนามรบของเส้าหลินกันเป็นหลักเป็นฐานทีเดียวละครับ
แต่แม้หวงอี้จะไม่ได้เขียนเกี่ยวกับวัดเส้าหลินในมังกรคู่สู้สิบทิศ แต่กระนั้นมันก็น่าจะเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้นักประพันธ์ผู้นี้ได้ยึดเป็นหลักในงานประพันธ์ของเขาเสมอมาก็คือ ศาสนากับการเมืองนั้นยุ่งเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออก โดยการสร้างสำนักที่ดูจะเป็นตำนานลึกลับด้านสว่างของบู๊ลิ้มอย่าง เรือนฌานเมตรไตร และวัดเซ็นหรือฌานพิสุทธิ์ขึ้นมาเป็นตัวคอยกำหนดเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินกันแบบลับๆ
จริงๆหวงอี้ที่ไม่เขียนถึงวัดเส้าหลินเป็นหลักก็เพราะเขาต้องการจะแหวกกฏละธรรมเนียมของงานประพันธ์ในโลกของนวนิยายกำลังภายในนั่นเอง แต่ถ้าเราลงลึกไปอีก เราก็ยังเห็นได้อยู่ดีว่าหวงอี้เองก็ยังต้องใช้วิตวิญญานของเส้าหลินมาใส่ในงานของเขา เพราะเอาเข้าจริงวัดที่เชี่ยวชาญเรื่องเซ็นมากที่สุดก็ไม่แคล้วต้องเป็นวัดเส้าหลินนะครับ
วัดเซ็นพิสุทธ์ก็คือเส้าหลินจำแลงในจักรวาลของหวงอี้นั่นเอง
แต่แม้จะเป็นนวนิยาย แต่ผมว่ามันก็สะท้อนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จริงๆอยู่ดีว่า เอาเข้าจริงทั้งสายพระสงฆ์และสายพรตเต๋าก็ต้องมีส่วนในการวิ่งเต้นเลือกเจ้าชีวิตทั้งสิ้น แล้วถ้าเลือกข้างถูกและแสดงฝีมือได้อย่างเข้มแข็งสุดยอดผลดีก็จะตกมายังวัดเส้าหลินเองในฐานะของวัดอันดับหนึ่งและเป็นที่เทิดทูนของบุคคลทั่วไปตามแบบที่นวนิยายกำลังภายส่วนใหญ่วางโครงไว้นะครับ
เพราะในประวัติศาสตร์จริงนั้นเมื่อตระกูลหลี่สามารถครองแผ่นดินจีนได้ทั้งหมดในนามราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินก็ยิ่งได้ดิบได้ดีมากกว่าเดิม เพราะหลี่ซื่อหมินถึงกับตราราชโองการให้วัดเส้าหลินสามารถสร้างกองทัพพระขึ้นอย่างเป็นทางการได้ พร้อมกับเพิ่มอาณาเขตและสิ่งก่อสร้างให้กับวัดอย่างมากมาย พลังแห่งกองทัพพระยังคงยิ่งใหญ่ต่อเนื่อง เมื่อหมดสมัยของหลี่ซื่อหมินไปสู่ “อู่เจ๋อเทียน”หรือ “บูเช็กเทียน”จักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวของจีนที่ก็สนับสนุนให้วัดเส้าหลินก่อสร้างอาณาจักรของตัวเองชนิดที่กวีชื่อดังบางคนในยุคนั้นต้องแต่งกลอนประชดเพื่อบอกว่า “อารามสวยงามมา แต่ป่าหมด” กันทีเดียว
แถมวิชาการเรียนของวัดเส้าหลินในขณะนั้นก็ดูจะเป็นที่ครั่นคร้าม เพราะ มีบันทึกอย่างเป็นทางการหลายฉบับว่า การจะเป็นพระเส้าหลินเพื่อเรียนรู้และศึกษาพระธรรมให้ได้นั้น ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางธรรม หนุ่มๆทั้งหลายต้องฝึกฝนร่างกายและวิทยายุทธขั้นพื้นฐานกันเสียก่อน เมื่อผ่านด่านแรกนี้แล้ว หมายถึงว่าได้ทดสอบว่ามีกำลังวังชาแข็งแรงสามารถเข้าถึงพลังภายในและมีสุขภาพที่ดีพอแล้วจึงจะได้เชิญเข้าสู่การศึกษาพระธรรมกันต่อ
แนวทางปฏิบัติของเส้าหลินในช่วงหลังนี่เองที่ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่หลายต่อหลายเจ้ายิ่งไม่เชื่อเรื่องที่ท่านตั๊กม้อเป็นผู้สร้างสรรค์วิทยายุทธของวัดเส้าหลินขึ้นมา เพราะแนวที่เส้าหลินเป็นและทำอย่างต่อเนื่องขัดแย้งกับแนวทางของท่านตั๊กม้ออย่างยิ่ง แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธเหมือนกันว่า ท่านตั๊กม้อได้ทำให้พระในวัดแห่งนี้มีสุขภาพ พละกำลัง และความแข็งแกร่งจากเทคนิคที่ท่านคิดค้น
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แล้วอะไรกันแน่ที่ทำให้คนยิ่งเชื่อและพูดกันปากต่อปากว่าตั๊กม้อกับวิทยายุทธเส้าหลินคือเรื่องเดียวกัน?
คำตอบของเรื่องนั้นกลับมาอยู่ที่ “ปลายราชวงศ์ชิง”หรือราชวงศ์แมนจูซึ่งห่างจากเมื่อครั้งแรกที่หลวงพ่อตั๊กม้อได้สอนเรื่องกำลังภายในให้พระในวัดกว่าพันปีทีเดียวละครับ
แต่สำหรับคนชอบเรื่องบู๊ งานนี้ขอเล่าเป็นเกร็ดเอาไว้หน่อย
เหตุการณ์ในเวลานั้นเป็นช่วงที่ราชวงศ์สุย(คศ 581-618) ซึ่งรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ปกครองแผ่นดินมาได้สามสิบปีเศษก็เกิดล้มครืนจนหลายฝ่ายแยกตัวออกมาตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่าและตั้งราชวงศ์ของตัวเองขึ้นกันใหญ่ เหตุการณ์ทางภาคเหนือของแผ่นดินจีนในยุคนั้นมี 3 ก๊กที่ครองความยิ่งใหญ่และอาจจะได้เป็นฮ่องเต้องค์ต่อไปนั่นคือ ก๊กถังของตระกูลหลี่ตั้งฐานทัพอยู่ที่ฉางอานหรือซีอานในปัจจุบัน ก๊กของหวังซื่อชงที่ลั่วหยาง และก๊กของโต้วเจี้ยนเต๋อที่อยู่ทางตะวันออกที่เหอเป่ย
หวังซื่อชงเดิมนั้นเป็นขุนนางในราชวงศ์สุยถือโอกาสช่วงชุลมุนยกกองทัพเข้ายึดลั่วหยางซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์สุยเดิมได้สำเร็จพร้อมตั้งตัวเป็นเจ้าทันที เมืองลั่วหยางนั้นเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การตั้งรับอย่างยิ่งยากแก่การตีแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ปกครองเมืองลั่วหยางสามารถกุมจุดยุทธศาสตร์บริเวณภูเขาหวนหยวน (Mount Huanyuan ) ในเขตหยวนโจว(Yuanzhou )ได้ โอกาสที่จะแพ้เป็นไม่มี
อย่างไรก็ตามแต่เดิมของเขาหวนหยวนนั้นเป็นที่ธรณีสงฆ์ที่ “ฮ่องเต้สุยเหวินตี้หยางเจี้ยน” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุย ได้ยกให้วัดเส้าหลินเพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูกสำหรับเลี้ยงเณรและพระในวัด แต่หวังซื่อชงกลับมองเห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นน่าจะทำเอาไว้เป็นป้อมและเป็นฐานทัพที่จะตั้งรับการมาเยือนของกองทัพถังได้เป็นอย่างดี เขาก็เลยส่งกองทัพของตัวเองเข้ายึดพื้นที่และไล่พระวัดเส้าหลินออกไปให้หมด ก่อนจะส่งหลานตัวเองพร้อมกองทัพไปนั่งบัญชาการอย่างสะดวกโยธิน
แต่หวังซื่อชงหารู้ไม่ว่า นั่นเป็นเหตุให้บรรดาพระเส้าหลินโกรธอย่างมากและผลักดันให้กองกำลังพระเหล่านี้หันไปจับมือกับหลี่ซื่อหมินที่กำลังเคลื่อนทัพเพื่อมาตีลั่วหยางเพื่อยึดที่เพาะปลูกของพระกลับคืนมา การทำสัญญาร่วมรบระหว่างกองทัพถังและกองกำลังของเส้าหลินกลายเป็นข่าวดังไปถึงเมืองลั่วหยาง เมื่อทราบข่าวดังนั้นหวังซื่อชงถึงกับยกทัพไปเพื่อจะทำลายวัดเส้าหลินกันทีเดียว
แต่หลี่ซื่อหมินกลับปล่อยข่าวล่อให้กองทัพหลักของหวังซื่อชงไล่ตามบดขยี้ตัวเอง โดยมีกองกำลังอันน้อยนิดคอยคุ้มครอง หารู้ไม่ว่านั่นคือแผนล่อเสือออกจากถ้ำ แถมกองกำลังน้อยนิดที่คุ้มครองหลี่ซื่อหมินที่ว่าก็เป็นพระวัดเส้าหลินระดับยอดฝีมือมือทั้งนั้น หลวงจีน 13 รูปที่ทำหน้าที่คุ้มครองหลี่ซื่อหมินนำโดย “ไต้ซือเจี่ยหยวน” หรือ ถ้าอ่านเป็นแต้จิ๋วแบบที่นักอ่านนวนิยายกำลังภายในคุ้นเคยก็คือ “ไต้ซื้อกั๊กเอี๋ยง” สามารถถ่วงเวลาให้กับหลี่ซื่อหมินได้สำเร็จ
เมื่อสามารถชักนำให้กำลังหลักของหวังซื่อชงไปไล่กวดหลี่ซื่อหมินอย่างเมามัน กองกำลังหลักของราชวงศ์ถังก็เข้าโจมตีและยึดป้อมที่หยวนโจวได้สำเร็จรวมถึงสามารถจับตัว “หวังเหยินเจ้อ (Wang ren ze)” หลานชายของหวังซื่อชงซึ่งคุมกองบัญชาการอยู่ได้ด้วย ว่ากันว่ากองร้อยแรกที่เข้าสู่สนามรบและฟาดฟันกับทหารในภูเขาก็คือกองร้อยยอดฝีมือจากวัดเส้าหลินนั่นเอง ข่าวร้ายที่ว่าเมื่อส่งไปถึงหวังซื่อชง ทุกอย่างก็จบ หัวหน้าก๊กผู้หยิ่งผยองต้องประกาศเลิกทัพกลับลั่วหยางทันที
เมื่อปราศจากป้อมและกองส่งเสบียงที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ก็ไม่มีอะไรที่จะหยุดยั้งกองทัพของหลี่ซื่อหมินได้อีก ทัพของโต้วเจี้ยนเต๋อที่หวังจะบุกเข้ามาตามแผนล้อมเว่ยช่วยจ้าวเพื่อให้หวังซื่อชงพอมีทางรอดกลับพ่ายแพ้ต่อหลี่ซื่อหมินเสียอีกในการศึกที่หูหล่อ โต้วเจี้ยนเต๋อถูกจับ ส่งผลให้เมืองลั่วหยางกลายเป็นเมืองที่โดดเดี่ยว ไม่นานหลังจากนั้นหวังซื่อชงก็ประกาศยอมแพ้ต่อทัพของหลี่ซื่อหมิน และวัดเส้าหลินก็กลายเป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์ถังทันที
แต่นักประวัติศาตร์กล่าวว่า แม้กองทัพพระจะแสดงฝีมือในการรบอย่างห้าวหาญและทำหน้าที่เหมือนกองรบพิเศษของราชวงศ์ถังที่ว่า แต่ก็ไม่ได้มีบันทึกอย่างเป็นทางการว่าได้มีการฝึกกองทัพหรือเทคนิคทางทหารภายในวัดแห่งนี้นะครับ
คำถามก็คือ แล้วพระในวัดรู้เรื่องทหารและการเคลื่อนพลได้อย่างไร?
คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่าพระในวัดในยุคถังนั้นล้วนแต่เป็นทหารเก่ามาบวชทั้งสิ้น ย้อนไปดูตั้งแต่สมัยไต้ซือ “ฮุ่ยเคอ” ศิษย์เอกของท่านตั๊กม้อเป็นต้น หลวงพ่อแขนเดียวท่านนี้ก็เป็นทหารมาก่อน ในสมัยถังนั้นทหารจำนวนมากเมื่อปลดก็มาบวชเป็นพระในวัดเส้าหลินชนิดที่บันทึกเอาไว้ว่า เส้าหลินมีพระอยู่ในวัดถึง 2000 กว่ารูปแต่ที่พร้อมประจัญบานหรือที่เรียกว่ากองทัพพระมีอยู่ 500 รูป หลายครั้งที่พระวัดเส้าหลินต้องออกรบโดยที่บางส่วนก็สึกจากความเป็นพระ บางส่วนก็ไม่สึกภายใต้การกำกับของจอมพลหลี่จิ้ง ยอดขุนพลของหลี่ซื่อหมิน จนขนาดที่หลี่จิ้งต้องเขียนบันทึกเอาไว้ถึงฝีมือและความเก่งกาจในสนามรบของเส้าหลินกันเป็นหลักเป็นฐานทีเดียวละครับ
แต่แม้หวงอี้จะไม่ได้เขียนเกี่ยวกับวัดเส้าหลินในมังกรคู่สู้สิบทิศ แต่กระนั้นมันก็น่าจะเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้นักประพันธ์ผู้นี้ได้ยึดเป็นหลักในงานประพันธ์ของเขาเสมอมาก็คือ ศาสนากับการเมืองนั้นยุ่งเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออก โดยการสร้างสำนักที่ดูจะเป็นตำนานลึกลับด้านสว่างของบู๊ลิ้มอย่าง เรือนฌานเมตรไตร และวัดเซ็นหรือฌานพิสุทธิ์ขึ้นมาเป็นตัวคอยกำหนดเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินกันแบบลับๆ
จริงๆหวงอี้ที่ไม่เขียนถึงวัดเส้าหลินเป็นหลักก็เพราะเขาต้องการจะแหวกกฏละธรรมเนียมของงานประพันธ์ในโลกของนวนิยายกำลังภายในนั่นเอง แต่ถ้าเราลงลึกไปอีก เราก็ยังเห็นได้อยู่ดีว่าหวงอี้เองก็ยังต้องใช้วิตวิญญานของเส้าหลินมาใส่ในงานของเขา เพราะเอาเข้าจริงวัดที่เชี่ยวชาญเรื่องเซ็นมากที่สุดก็ไม่แคล้วต้องเป็นวัดเส้าหลินนะครับ
วัดเซ็นพิสุทธ์ก็คือเส้าหลินจำแลงในจักรวาลของหวงอี้นั่นเอง
แต่แม้จะเป็นนวนิยาย แต่ผมว่ามันก็สะท้อนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จริงๆอยู่ดีว่า เอาเข้าจริงทั้งสายพระสงฆ์และสายพรตเต๋าก็ต้องมีส่วนในการวิ่งเต้นเลือกเจ้าชีวิตทั้งสิ้น แล้วถ้าเลือกข้างถูกและแสดงฝีมือได้อย่างเข้มแข็งสุดยอดผลดีก็จะตกมายังวัดเส้าหลินเองในฐานะของวัดอันดับหนึ่งและเป็นที่เทิดทูนของบุคคลทั่วไปตามแบบที่นวนิยายกำลังภายส่วนใหญ่วางโครงไว้นะครับ
เพราะในประวัติศาสตร์จริงนั้นเมื่อตระกูลหลี่สามารถครองแผ่นดินจีนได้ทั้งหมดในนามราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินก็ยิ่งได้ดิบได้ดีมากกว่าเดิม เพราะหลี่ซื่อหมินถึงกับตราราชโองการให้วัดเส้าหลินสามารถสร้างกองทัพพระขึ้นอย่างเป็นทางการได้ พร้อมกับเพิ่มอาณาเขตและสิ่งก่อสร้างให้กับวัดอย่างมากมาย พลังแห่งกองทัพพระยังคงยิ่งใหญ่ต่อเนื่อง เมื่อหมดสมัยของหลี่ซื่อหมินไปสู่ “อู่เจ๋อเทียน”หรือ “บูเช็กเทียน”จักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวของจีนที่ก็สนับสนุนให้วัดเส้าหลินก่อสร้างอาณาจักรของตัวเองชนิดที่กวีชื่อดังบางคนในยุคนั้นต้องแต่งกลอนประชดเพื่อบอกว่า “อารามสวยงามมา แต่ป่าหมด” กันทีเดียว
แถมวิชาการเรียนของวัดเส้าหลินในขณะนั้นก็ดูจะเป็นที่ครั่นคร้าม เพราะ มีบันทึกอย่างเป็นทางการหลายฉบับว่า การจะเป็นพระเส้าหลินเพื่อเรียนรู้และศึกษาพระธรรมให้ได้นั้น ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางธรรม หนุ่มๆทั้งหลายต้องฝึกฝนร่างกายและวิทยายุทธขั้นพื้นฐานกันเสียก่อน เมื่อผ่านด่านแรกนี้แล้ว หมายถึงว่าได้ทดสอบว่ามีกำลังวังชาแข็งแรงสามารถเข้าถึงพลังภายในและมีสุขภาพที่ดีพอแล้วจึงจะได้เชิญเข้าสู่การศึกษาพระธรรมกันต่อ
แนวทางปฏิบัติของเส้าหลินในช่วงหลังนี่เองที่ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่หลายต่อหลายเจ้ายิ่งไม่เชื่อเรื่องที่ท่านตั๊กม้อเป็นผู้สร้างสรรค์วิทยายุทธของวัดเส้าหลินขึ้นมา เพราะแนวที่เส้าหลินเป็นและทำอย่างต่อเนื่องขัดแย้งกับแนวทางของท่านตั๊กม้ออย่างยิ่ง แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธเหมือนกันว่า ท่านตั๊กม้อได้ทำให้พระในวัดแห่งนี้มีสุขภาพ พละกำลัง และความแข็งแกร่งจากเทคนิคที่ท่านคิดค้น
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แล้วอะไรกันแน่ที่ทำให้คนยิ่งเชื่อและพูดกันปากต่อปากว่าตั๊กม้อกับวิทยายุทธเส้าหลินคือเรื่องเดียวกัน?
คำตอบของเรื่องนั้นกลับมาอยู่ที่ “ปลายราชวงศ์ชิง”หรือราชวงศ์แมนจูซึ่งห่างจากเมื่อครั้งแรกที่หลวงพ่อตั๊กม้อได้สอนเรื่องกำลังภายในให้พระในวัดกว่าพันปีทีเดียวละครับ