หากมองไปยังผู้คนรอบข้างในสภาพสังคมปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้สึกเหมือนๆ กันว่าทำไมคนส่วนใหญ่เฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่อย่างเมืองหลวงกรุงเทพมหานครฯ ด้วยแล้วถึงได้ "เห็นแก่ตัว" กันนัก
ความเห็นแก่ตัวที่แสดงให้เห็นผ่านจากมารยาทของการใช้รถใช้ถนน, การแย่งแซงคิวซื้อของกิน-ของใช้, ความมักง่ายในการทิ้งขยะ, การใช้บริการจากสิ่งที่เป็น "สาธารณะ" อย่างไม่ดูแลทะนุถนอมเพราะรู้สึกว่าไม่ใช่ของตัวเอง ฯลฯ
นั่นเป็นภาพที่เราเห็นและใจที่รู้สึก
แล้วกับตัวเราเองล่ะครับ
เคยสังเกตกันบ้างมั้ยว่าปริมาณของ "น้ำใจ" ตลอดจน "ความเห็นแก่ตัว" หรือความรู้สึกว่า "ธุระไม่ใช่" ของตัวเราเองมันมีมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับวันเวลาที่ผ่านมาเข้ามา?
ผันตามหรือว่าผกผัน?
มีเรื่องเกี่ยวกับตนเองมาเล่าให้ฟังครับ
ค่ำหนึ่งที่อบอ้าวและฝนตกพรำ
ขณะที่กำลังยืนรอรถเมล์อยู่หน้ากองสลากฯ มีหญิงชราแต่ไม่มากคนหนึ่งในชุดผ้าถุงเสื้อคอกระเช้า สภาพมอซอ มือซ้ายหิ้วกระเป๋าที่ทำมาจากถุงปุ๋ย แขนข้างขวากระเตงเด็กทารกไว้ที่เอวเดินเข้ามา
เธอ(หญิงชราไม่มาก)เดินเข้าไปหาหญิงสาวคนคนหนึ่งที่ยืนอยู่ข้างหน้าผม พร้อมถามด้วยภาษาอีสานใจความว่า ยายจะขึ้นตุ๊กๆ ไปหัวลำโพง จะต้องไปเรียกรถตรงไหน?
นอกจากจะไม่มีคำตอบให้ หญิงสาวที่อายุไม่น่าจะเกิน 30 คนนั้นยังก้าวเดินหนีไป ราวกับจะบอกว่า...อย่ามายุ่ง(นะ)!
แม้จะไม่ได้คำตอบซ้ำยังมาถูกเด็กอายุคราวหลานแสดงท่าทางไม่อยากจะเสวนาด้วยแต่ยายแกก็ไม่ได้แสดงท่าทางไม่พอใจอะไร ก่อนจะสืบเท้าเข้ามาหาผม
"ฟอร์มแล้วแบบนี้ แหม อยู่ป้ายรถเมล์ยังจะมาถามว่าจะเรียกตุ๊กๆ ที่ไหน เรื่องแค่นี้จะไม่รู้เลยหรือไง แล้วคอยดูนะเดี๋ยวพอตอบไป แกก็จะต้องบอกว่าตัวเองไม่มีค่ารถ ขอค่ารถหน่อย จากนั้นจะได้หรือไม่ได้เงินแกก็จะเข้าไปใช้วิธีการเช่นเดียวกันนี้กับคนอื่นๆ ต่อไป..." ทั้งหมดคือชุดความคิดของผมที่เกิดขึ้นในหัวนับตั้งแต่ที่เห็นยายแกเดินไปหาหญิงสาวคนแรกแล้ว
อันที่จริง แม้จำนวนเงินที่อาจจะต้องให้กับป้าแกตลอดจนคนอื่นๆ ที่หากินด้วยวิธีการเช่นนี้ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป บ้างก็ค่ารถ บ้างก็ค่าข้าว บ้างก็มาในรูปของพ่อค้าแม่ค้าพิการที่ขายของอาจจะเป็นดอกไม้หรือสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ในราคาแพงกว่าปกติ หรือจะเป็นวณิพกตามร้านเหล้ายามราตรี ฯ มันอาจจะไม่ได้มากมายอะไรนัก แต่ยอมรับครับว่าผมเองไม่ชอบเอาเสียเลยกับการที่คนเราจะมาทำมาหากินด้วยอาชีพที่อาศัยความสงสาร ความมีเมตตาของคนอื่นเช่นนี้
ทว่าครั้นจะเดินหนียายแกไปเลยก็ดูจะใจดำไปหน่อย นั่นเองที่ทำให้ผมได้แต่ยืนยิ้มแห้งๆ หลังแกเอ่ยปากถามคำถามเดียวกับหญิงสาวออกมา
ระหว่างที่เราทั้งคู่เก้ๆ กังๆ ซึ่งกันและกัน ผู้หญิงที่ยืนอยู่ด้านหลังก็เดินเข้ามาหา พอรู้ว่ายายต้องการอะไร เธอก็รีบกุลีกุจเดินออกไปเรียกตุ๊กๆ ให้ทันที
"มีเงินค่ารถมั้ยล่ะยาย" หญิงสาวถามยายแก่ที่ตอนนี้หอบหิ้วทั้งกระเป๋าถุงปุ๋ยกับเด็กทารกไปนั่งอยู่บนรถตุ๊กๆ เรียบร้อยแล้ว
"ไม่เป็นไร ยายมี ขอบใจมากๆ นะหนู"
แล้วตุ๊กๆ คันที่ว่าก็แล่นออกไป พร้อมๆ กับรถเมล์สายที่หญิงสาวรอขึ้นก็แล่นเข้ามาจอดพอดี
ส่วนผม โน่น!! กว่ารถโดยสารสายที่ต้องการจะผ่านมาก็ต้องยืนจนขาแข็งเกือบชั่วโมง...ราวกับจะบอกเป็นนัยถึงผลจากกรรมอะไรบางอย่าง
...
ช่วงที่หลายต่อหลายจังหวัดของประเทศไทยเราเกิดภาวะวิกฤติจาก "น้ำท่วม" อยู่นี้ ดูเหมือนว่าเราจะได้ยินคำว่า "น้ำใจ" อยู่บ่อยครั้งทีเดียว
หลายคนแสดงถึงความมีน้ำใจด้วยการบริจาคเงินตลอดจนสิ่งของต่างๆ, หลายคนแสดงถึงความมีน้ำใจด้วยการออกแรงกายช่วยเหลือ ขณะที่หลายคนก็แสดงออกถึงความมีน้ำใจด้วยการแสดงความเห็นอกเห็นใจไปยังบรรดาผู้ที่ประสบเหตุทั้งหลาย แม้หลายๆ คนนั้นจะมีสถานะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน
เห็นภาพ ได้ยินข่าวแล้วก็ให้น่าชื่นหัวอกหัวใจ
ทว่าในสถานการณ์เดียวกันนี้เราก็ต้องมาเห็นผู้คนในหลายๆ พื้นที่เขตชุมชน หลายหมู่บ้านต้องมาทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะได้รับผลกระทบจาก "คันกั้นน้ำ" ทั้งในรูปแบบของ พนัง, บิ๊กแบ็ก หรือแม้กระทั่งประตูระบายน้ำ ที่แตกต่างกัน
บ้านใกล้เรือนเคียง กำแพงเดียวกัน บางคนต้องมามาทะเลาะกันเพราะอีกฝ่ายไม่ยอมโบกปูน ไม่ยอมหาถุงทรายมาป้องกันน้ำให้ดี ทำให้น้ำไหลผ่านเข้าท่วมถึงบ้านตัวเอง
ต่างๆ เหล่านี้แม้จะเข้าใจได้ในเรื่องความทุกข์ยาก ความลำบากของคนที่ต้องมาได้รับความเดือดร้อน แต่กระนั้นเมื่อเห็นแล้วก็ต้องรู้สึกว่าไม่สบายใจ
เอาเป็นว่า ช่วงนี้น้ำที่เคยท่วมในหลายๆ พื้นที่ก็เริ่มลดปริมาณลงไปแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปริมาณน้ำใจของคนไทยที่เคยหลั่งไหลออกมาอย่างท่วมท้นให้แก่กันในยามที่เพื่อนร่วมชาติเกิดวิกฤตินี้พอถึงยามที่บ้านเมืองเป็นปกติมันคงจะไม่ลดตามลงตามน้ำไปด้วยก็แล้วกัน...
เช่นเดียวกัน อะไรที่มันเป็น "คันกั้นน้ำ" ก็ขอให้มันเป็นเพียงคันกั้นน้ำเท่านั้น หาอย่าได้มาเป็นสิ่งที่มาขวางกั้น "น้ำใจ" ที่มนุษย์เราสมควรจะมีให้กันและกันแต่อย่างใด
ความเห็นแก่ตัวที่แสดงให้เห็นผ่านจากมารยาทของการใช้รถใช้ถนน, การแย่งแซงคิวซื้อของกิน-ของใช้, ความมักง่ายในการทิ้งขยะ, การใช้บริการจากสิ่งที่เป็น "สาธารณะ" อย่างไม่ดูแลทะนุถนอมเพราะรู้สึกว่าไม่ใช่ของตัวเอง ฯลฯ
นั่นเป็นภาพที่เราเห็นและใจที่รู้สึก
แล้วกับตัวเราเองล่ะครับ
เคยสังเกตกันบ้างมั้ยว่าปริมาณของ "น้ำใจ" ตลอดจน "ความเห็นแก่ตัว" หรือความรู้สึกว่า "ธุระไม่ใช่" ของตัวเราเองมันมีมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับวันเวลาที่ผ่านมาเข้ามา?
ผันตามหรือว่าผกผัน?
มีเรื่องเกี่ยวกับตนเองมาเล่าให้ฟังครับ
ค่ำหนึ่งที่อบอ้าวและฝนตกพรำ
ขณะที่กำลังยืนรอรถเมล์อยู่หน้ากองสลากฯ มีหญิงชราแต่ไม่มากคนหนึ่งในชุดผ้าถุงเสื้อคอกระเช้า สภาพมอซอ มือซ้ายหิ้วกระเป๋าที่ทำมาจากถุงปุ๋ย แขนข้างขวากระเตงเด็กทารกไว้ที่เอวเดินเข้ามา
เธอ(หญิงชราไม่มาก)เดินเข้าไปหาหญิงสาวคนคนหนึ่งที่ยืนอยู่ข้างหน้าผม พร้อมถามด้วยภาษาอีสานใจความว่า ยายจะขึ้นตุ๊กๆ ไปหัวลำโพง จะต้องไปเรียกรถตรงไหน?
นอกจากจะไม่มีคำตอบให้ หญิงสาวที่อายุไม่น่าจะเกิน 30 คนนั้นยังก้าวเดินหนีไป ราวกับจะบอกว่า...อย่ามายุ่ง(นะ)!
แม้จะไม่ได้คำตอบซ้ำยังมาถูกเด็กอายุคราวหลานแสดงท่าทางไม่อยากจะเสวนาด้วยแต่ยายแกก็ไม่ได้แสดงท่าทางไม่พอใจอะไร ก่อนจะสืบเท้าเข้ามาหาผม
"ฟอร์มแล้วแบบนี้ แหม อยู่ป้ายรถเมล์ยังจะมาถามว่าจะเรียกตุ๊กๆ ที่ไหน เรื่องแค่นี้จะไม่รู้เลยหรือไง แล้วคอยดูนะเดี๋ยวพอตอบไป แกก็จะต้องบอกว่าตัวเองไม่มีค่ารถ ขอค่ารถหน่อย จากนั้นจะได้หรือไม่ได้เงินแกก็จะเข้าไปใช้วิธีการเช่นเดียวกันนี้กับคนอื่นๆ ต่อไป..." ทั้งหมดคือชุดความคิดของผมที่เกิดขึ้นในหัวนับตั้งแต่ที่เห็นยายแกเดินไปหาหญิงสาวคนแรกแล้ว
อันที่จริง แม้จำนวนเงินที่อาจจะต้องให้กับป้าแกตลอดจนคนอื่นๆ ที่หากินด้วยวิธีการเช่นนี้ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป บ้างก็ค่ารถ บ้างก็ค่าข้าว บ้างก็มาในรูปของพ่อค้าแม่ค้าพิการที่ขายของอาจจะเป็นดอกไม้หรือสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ในราคาแพงกว่าปกติ หรือจะเป็นวณิพกตามร้านเหล้ายามราตรี ฯ มันอาจจะไม่ได้มากมายอะไรนัก แต่ยอมรับครับว่าผมเองไม่ชอบเอาเสียเลยกับการที่คนเราจะมาทำมาหากินด้วยอาชีพที่อาศัยความสงสาร ความมีเมตตาของคนอื่นเช่นนี้
ทว่าครั้นจะเดินหนียายแกไปเลยก็ดูจะใจดำไปหน่อย นั่นเองที่ทำให้ผมได้แต่ยืนยิ้มแห้งๆ หลังแกเอ่ยปากถามคำถามเดียวกับหญิงสาวออกมา
ระหว่างที่เราทั้งคู่เก้ๆ กังๆ ซึ่งกันและกัน ผู้หญิงที่ยืนอยู่ด้านหลังก็เดินเข้ามาหา พอรู้ว่ายายต้องการอะไร เธอก็รีบกุลีกุจเดินออกไปเรียกตุ๊กๆ ให้ทันที
"มีเงินค่ารถมั้ยล่ะยาย" หญิงสาวถามยายแก่ที่ตอนนี้หอบหิ้วทั้งกระเป๋าถุงปุ๋ยกับเด็กทารกไปนั่งอยู่บนรถตุ๊กๆ เรียบร้อยแล้ว
"ไม่เป็นไร ยายมี ขอบใจมากๆ นะหนู"
แล้วตุ๊กๆ คันที่ว่าก็แล่นออกไป พร้อมๆ กับรถเมล์สายที่หญิงสาวรอขึ้นก็แล่นเข้ามาจอดพอดี
ส่วนผม โน่น!! กว่ารถโดยสารสายที่ต้องการจะผ่านมาก็ต้องยืนจนขาแข็งเกือบชั่วโมง...ราวกับจะบอกเป็นนัยถึงผลจากกรรมอะไรบางอย่าง
...
ช่วงที่หลายต่อหลายจังหวัดของประเทศไทยเราเกิดภาวะวิกฤติจาก "น้ำท่วม" อยู่นี้ ดูเหมือนว่าเราจะได้ยินคำว่า "น้ำใจ" อยู่บ่อยครั้งทีเดียว
หลายคนแสดงถึงความมีน้ำใจด้วยการบริจาคเงินตลอดจนสิ่งของต่างๆ, หลายคนแสดงถึงความมีน้ำใจด้วยการออกแรงกายช่วยเหลือ ขณะที่หลายคนก็แสดงออกถึงความมีน้ำใจด้วยการแสดงความเห็นอกเห็นใจไปยังบรรดาผู้ที่ประสบเหตุทั้งหลาย แม้หลายๆ คนนั้นจะมีสถานะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน
เห็นภาพ ได้ยินข่าวแล้วก็ให้น่าชื่นหัวอกหัวใจ
ทว่าในสถานการณ์เดียวกันนี้เราก็ต้องมาเห็นผู้คนในหลายๆ พื้นที่เขตชุมชน หลายหมู่บ้านต้องมาทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะได้รับผลกระทบจาก "คันกั้นน้ำ" ทั้งในรูปแบบของ พนัง, บิ๊กแบ็ก หรือแม้กระทั่งประตูระบายน้ำ ที่แตกต่างกัน
บ้านใกล้เรือนเคียง กำแพงเดียวกัน บางคนต้องมามาทะเลาะกันเพราะอีกฝ่ายไม่ยอมโบกปูน ไม่ยอมหาถุงทรายมาป้องกันน้ำให้ดี ทำให้น้ำไหลผ่านเข้าท่วมถึงบ้านตัวเอง
ต่างๆ เหล่านี้แม้จะเข้าใจได้ในเรื่องความทุกข์ยาก ความลำบากของคนที่ต้องมาได้รับความเดือดร้อน แต่กระนั้นเมื่อเห็นแล้วก็ต้องรู้สึกว่าไม่สบายใจ
เอาเป็นว่า ช่วงนี้น้ำที่เคยท่วมในหลายๆ พื้นที่ก็เริ่มลดปริมาณลงไปแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปริมาณน้ำใจของคนไทยที่เคยหลั่งไหลออกมาอย่างท่วมท้นให้แก่กันในยามที่เพื่อนร่วมชาติเกิดวิกฤตินี้พอถึงยามที่บ้านเมืองเป็นปกติมันคงจะไม่ลดตามลงตามน้ำไปด้วยก็แล้วกัน...
เช่นเดียวกัน อะไรที่มันเป็น "คันกั้นน้ำ" ก็ขอให้มันเป็นเพียงคันกั้นน้ำเท่านั้น หาอย่าได้มาเป็นสิ่งที่มาขวางกั้น "น้ำใจ" ที่มนุษย์เราสมควรจะมีให้กันและกันแต่อย่างใด