โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
หากพูดถึงวงโพรเกรสซีฟ เมทัล หรือ พร็อก เมทัล(Prog. Metal) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบอร์หนึ่งแห่งยุทธจักรวงการเพลงนับตั้งแต่ดนตรีแนวนี้อุบัติขึ้นมาในบรรณพิภพ ทอดตาทั้งแผ่นดินจนตาไหม้เกรียม เห็นจะไม่มีวงไหนสุดยอดเกินวงโรงละครแห่งความฝัน “ดรีม เธียเตอร์” (Dream Theater : DT) วงที่ฝีมือทางดนตรีของพวกเขาทำให้ใครและใครหลายคนสงสัยกันว่า นี่มันคนหรือเทพกันแน่(วะ)?!?
ดรีม เธียเตอร์ จุติขึ้นมาในปี ค.ศ. 1985 โดย 3 หนุ่ม 3 หน่อ แห่งเบิร์กลี คอลเลจ ออฟ มิวสิค(Berklee College of Music) คือ “จอห์น เพทรุคชี่”(John Petrucci) มือกีตาร์,”จอห์น เมียง”(John Myung) มือเบส และ “ไมค์ พอร์ทนอย”(Mike Portnoy) มือกลอง โดยมี “คริส คอลลินส์”(Chris Collins) นักร้องนำ และ “เควิน มัวร์”(Kevin Moore) คีย์บอร์ด มาสมทบเพิ่มเติมในภายหลัง
แม้ได้ฤกษ์ตกฟากมาจุติ แต่แรกเริ่มเดิมทีนักดนตรีกลุ่มนี้ยังไม่ได้ใช้ชื่อว่าดรีม เธียเตอร์ หากแต่ใช้ชื่อวงว่า “Majesty" โดยมี “The Majesty Demos” เป็นเดโมอัลบั้มออกมา
ชื่อมาเจสตี้ถูกใช้ได้ไม่ทันไรก็ถูกฟ้องร้องว่าเป็นชื่อซ้ำ พวกเขาจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อวง “Dream Theater” แทน ตามไอเดียของพี่ไมค์ที่นำชื่อมาจากโรงหนังเก่าในแคลิฟอร์เนีย พร้อมกันนี้ทางวงยังได้รับคุณน้าชาร์ลี โดมินิชี่(Charlie Dominici) ผู้มีอายุอานามมากกว่าสมาชิกทุกคนร่วมๆ 10 ปีมาเป็นนักร้องนำคนใหม่แทน คริส ที่ลาออกไป
DT เปิดประเดิมสตูดิโออัลบั้มแรกในนามของวงกันด้วย “When Dream And Day Unite” ในปี ค.ศ.1989 ที่เป็นดนตรีโพรเกรสซีฟร็อคผสมฮาร์ดร็อกอิทธิพลวงรุ่นพี่ๆ อย่าง Rush,Kansas,Yes และ Dixie Dreggs
ชาวด์ดนตรีในอัลบั้มชุดแรกแม้จะฟังเป็นคนละเรื่องกับยุคนี้(ซาวด์ออกย้อนยุค 70’s) อีกทั้งยังฟังไม่หนักแน่นและซับซ้อนซ่อนกลมากมายเท่ากับในยุคหลังๆ แต่ว่านี่คืออัลบั้มที่เป็นการปูรากฐานไปสู่ความเป็นสุดยอดแห่งพร็อก เมทัล ของวงโรงละครแห่งความฝันในยุคต่อมา
หลังอัลบั้มแรกผ่านพ้น DT ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก แต่น้าชาร์ลีนักร้องนำเสียงสูงลิบทะลุภูกระดึง กลับขอแยกวงลาออกไป โดยให้เหตุผลทางแนวทางดนตรีไม่ตรงกันและดรีม เธียเตอร์เป็นวงที่ดูไม่มีอนาคตเอาเสียเลย
ช่วงนั้นดรีม เธียเตอร์ ระส่ำอยู่พักใหญ่ ก่อนจะไปคว้า เจมส์ ลาบรี(James LaBrie) หรือชื่อเต็ม เควิน เจมส์ ลาบรี(Kevin James LaBrie) ผู้มีน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและมีลีลาการร้องที่เท่มั่กๆเข้าตาทางวง มารับหน้าที่แหกปากร้องนำ ก่อนจะส่งอัลบั้ม “Images and Words” ออกมาในปี 1992
Images and Words ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญที่เปิดตัวดรีม เธียเตอร์ในฐานะวงโพรเกรสซีฟ เมทัลให้โลกรับรู้ กับดนตรีอันหนักแน่น ซับซ้อน เนื้อหาแฝงปรัชญา รวมถึงฝีมือทางดนตรีอันยอดเยี่ยมและทีมเวิร์คที่แน่นปึ๊ก ในหลายเพลงพวกเล่นกันยาวเหยียดหลายนาที
อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีเพลงฮิตอย่าง อย่าง Pull Me Under,Another Day, และ Under A Glass มาทะลวงรูหูเขย่าต่อมดนตรีให้แฟนานุแฟนชาวหูเหล็กเฮฟวี่เมทัลได้ชื่นใจ สวนกระแสกรันจ์ อัลเทอร์เนทีฟที่ครองโลกในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
แต่ประทานโทษ กับชื่อเสียงความสำเร็จที่กำลังไปได้สวย เควินมือคีย์บอร์ดได้ขอลาออกแยกวงไปในระหว่างที่กำลังบันทึก “Awake”(1994) สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 อยู่
ดรีม เธียเตอร์ จึงดึง“ดีเรค เชอริเนียน”(Derek Sherinian) เด็กเก่าจากเบิร์กลีมาเล่นขัดตาทัพในการทัวร์คอนเสิร์ต ก่อนจะติดใจในฝีมือของหมอนี่จึงชวนมาเป็นสมาชิกอย่างจริงจังร่วมทำสตูดิโออัลบั้มออกมา 2 ชุดคือ “A change Of Seasons”(1995) และ “Falling Into Infinity”(1997)
ดีเรคแม้จะเป็นคนสนุกร่าเริง มีภาพลักษณ์เป็นที่น่าชวนจดจำของแฟนเพลง แต่ดูเหมือนว่าทางคีย์บอร์ดของเขาจะไปด้วยกันไม่ได้กับทางเพลงของวง ดรีม เธียเตอร์ จึงเปลี่ยนมือคีย์บอร์ดคนใหม่อีกครั้ง โดยดึง “จอร์แดน รูเดสส์”(Jordan Rudess) มือคีย์บอร์ดพ่อมดที่ DT เคยตามจีบมาตั้งแต่เมื่อครั้งอัลบั้ม Awake ให้มาร่วมงานกับทางวง (ยุคนั้นจอร์แดนเลือกที่จะไปเล่นให้กับ Dixie Dreggs วงในฝันของเขา ทำให้ DT ต้องฝันค้างไปหลายปี)
แล้ว DT โรงละครแห่งความฝันวงนี้ก็เดินเข้าสู่ยุคดรีมทีมกับสมาชิกยุคไลน์อัพ 5 พะหน่อ ได้แก่
จอห์น เพทรุคชี่ : ขยี้สายกีตาร์, จอห์น เมียง : ตะปบเบส,ไมค์ พอร์ทนอย : กระหน่ำกลอง, เจมส์ ลาบรี : แหกปากร้องนำ และจอร์แดน รูเดสส์ : พรมคีย์บอร์ด
ดรีม เธียเตอร์ในยุคดรีมทีมที่แต่ละคนมีฝีมือขั้นเทพในระดับตัวพ่อของวงการ ได้ส่งผลงานชุด “Metropolis Pt. 2: Scenes from a Memory”ออกมาในปี 1999 งานเพลงชุดนี้ถือเป็นผลงานอภิมหากาพย์ระดับมาสเตอร์พีชอันยอดเยี่ยมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงล้น
จากนั้น DT ได้ส่งสตูดิโออัลบั้มในมาตรฐานอันคงเส้นคงวาออกมาอีก 5 ชุด ได้แก่ “Six Degrees of Inner Turbulence”(2002), “Train of Thought”(2003), “Octavarium”(2005), “Systematic Chaos”(2007) และ Black Clouds & Silver Linings ในปี 2009 นอกจากนี้พวกเขายังมีผลงานบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตออกมาอีกเพียบ(มากกว่าสตูดิโออัลบั้มเสียอีก) นับเป็นวงขยันออกบันทึกการแสดงสดมากวงหนึ่ง
อย่างไรก็ตามบนเส้นทางสายฝันทางดนตรีของดรีม เธียเตอร์ที่ดูว่าราบลื่น ไร้ปัญหา จู่ๆก็มาสะดุดกึก ให้แฟนเพลงช็อกอารมณ์กันเมื่อพี่ไมค์ พอร์ทนอย มือกลองเทพประทานจากยุคก่อตั้งได้ประกาศขอแยกวงไปดื้อๆเมื่อปีที่แล้ว(ก่อน 11 ก.ย. เพียง 1 วัน)
งานนี้ทำให้ทางวงดรีม เธียเตอร์ต้องมาตั้งสมาธิรวบรวมลมปราณ เดินหน้าประกาศรับมือกลองคนใหม่ ซึ่งวงในระดับเทพฝีมือไม่ธรรมดาแบบนี้ วิธีการ“ออดิชั่น”เฟ้นหามือกลองของพวกเขาย่อมไม่ธรรมดาตามไปด้วย เพราะมีการถ่ายทำเป็นสารคดีกึ่งๆเรียลิตี้ลงในยูทูบให้เห็นถึงกระบวนการคัดเลือกยอดมือกลอง จาก 7 คนเหลือ 1 คน ซึ่งสุดท้ายแล้วพวกเขาก็ได้มือกลองชื่อไมค์กับมาเหมือนเดิม
พี่ไมค์ มือกลองคนใหม่คนนี้ คือ“ไมค์ แมงกินี”(Mike Mangini) ที่แม้จะไม่ได้เป็นพี่ไมค์ยาใจคนจนแต่เขาคือหนึ่งในยอดมือกลองแห่งยุคที่เคยร่วมวงในแนวเฮฟวี่ และแทรช เมทัล อย่าง เอ็กซ์ตรีม( (Extreme),แอนนิฮิเลเตอร์ (Annihilator),สตีฟ วาย(Steve Vai) มาแล้วอย่างโชกโชน รวมไปถึงยังมีดีกรีระดับ(อดีต)อาจารย์สอนกลองแห่งเบิร์กลี ที่พอได้รับเลือกเป็นมือกลองของ DT เขาถึงขนาดตัดสินใจลาออกจากงานสอนกลอง เพื่อมาทุ่มเทเวลาอย่างเต็มที่ให้กับผลงานชุด “A Dramatic Turn Of Events” (2011) สตูดิโออัลบั้มชุดล่าสุดของดรีม เธียเตอร์ ที่ได้ฤกษ์ส่งออกมาเขย่าต่อมดนตรีของบรรดาสาวกหูเหล็กเมื่อไม่นานมานี้
ภาพปกของอัลบั้มนี้ชวนตีความกับรูปตัวตลกปั่นจักรยานล้อเดียวบนเส้นเชือกเหนือเมฆบนฟากฟ้ากลางเวลาหาว ที่มีหางของเครื่องบิน DT โผล่ทะลุเมฆขึ้นมา โดยมีจุดชวนสะดุดตาเป็นรอยปริลุ่ยของเชือกเส้นสุดท้ายที่พร้อมจะขาดผึง ซึ่งแฟนเพลงหลายคนตีความว่านั่นคือความสัมพันธ์ของพอร์ทนอย กับสมาชิก DT ที่เหลือ ที่มันพร้อมจะขาดผึงได้ทุกเมื่อ
A Dramatic Turn Of Events เป็นผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 11 ที่พวกเขายังคงยึดแนวทางโพรเกรสซีฟ เมทัล อันเข้มข้นไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
อัลบั้มนี้เบิกฤกษ์ด้วย “On the Backs of Angels” ที่เป็นดังโหมโรง มีคีย์บอร์ดปูพรมมาบางๆก่อนจอห์นจะมาสานต่อด้วยปิ๊กกิ้งติดกลิ่นเอ็กซอติกบนทางตัวโน้ตชวนวังเวง โดยมีไลน์ลีดกีตาร์โซโลโอเวอร์ดับซ้อนทับเข้ามา(อีกไลน์)ในอารมณ์เนิบหน่วง ขณะที่กลองของแมงกินีทยอยส่งเสียงกลองเล็กกลองน้อยต่างๆตามเข้ามา ดีกรีดนตรีค่อยๆเพิ่มไดนามิกส่งเข้าสู่ซาวด์คีย์บอร์ดอันยิ่งใหญ่อลังการ แล้วพลันพวกเขาก็เปลี่ยนพาร์ทมาสู่ธีมหลักกับลูกริฟฟ์กีตาร์อันดุดันสอดประสานไปกับเสียงคีย์บอร์ดของรูเดสส์ ก่อนส่งต่อให้ลาบรีถ่ายทอดน้ำเสียงดำเนินเรื่องราว
แม้จะเป็นแค่เพียงเพลงแรก แต่ DT ก็โชว์เทพให้ฟังกันกับการเปลี่ยนพาร์ท ผ่อนถ่ายจังหวะ-อารมณ์ และส่งต่อแพทเทิร์นเพลงจากช่วงหนึ่งเข้าสู่ช่วงหนึ่งในอย่างแนบเนียน ช่วงท้ายอารมณ์เพลงถูกเบรกด้วยเสียงเปียโนหวานพลิ้ว ก่อนมาจัดหนักแบบฟูลออฟชั่นเต็มวงกันอีกครั้ง
แทรคต่อมาเป็น “Build Me Up, Break Me Down” ขึ้นต้นมาด้วยลูปกลองกับเสียงร้องผ่านเอฟเฟคของลาบรี ก่อนกีตาร์จะจัดหนักใส่ลูกริฟฟ์มันๆตามมา เสียงร้องในเพลงนี้มีการสลับไป-มาระหว่างเสียงจริงกับเสียงผ่านเอฟเฟค พร้อมด้วยลูกแหกปากของพี่เจมส์แบบให้สะใจกันพอหอมปากหอมคอ
จุดเด่นของเพลงนี้อยู่ที่ท่อนแยกเมโลดี้เพราะๆฟังติดหูจากน้ำเสียงของลาบรีนักร้องนำ ที่มาพร้อมกับไลน์ออร์เคสตร้าอันหนาแน่นของคีย์บอร์ด ท่อนท้ายของเพลงรูเดสส์ลากยาวด้วยเสียงคีย์บอร์ดอันเวิ้งว้างชวนจินตนาการ ก่อนส่งต่อเข้าสู่เพลงใหม่ได้อย่างแนบเนียนกลมกลืน
ต่อมาเป็น “Lost Not Forgotten” อารมณ์ความหนักมันของเพลงถูกเบรกด้วยเสียงเปียโนหวานซึ้งในช่วงต้น ก่อนจัดมันกันอีกครั้งกับไลน์เบสกลองที่โขยกควบกันมาแบบเต็มพิกัดในอารมณ์เมทัลสุดเหวี่ยง เปิดโอกาสให้แต่ละคนโชว์เทพกันเต็มที่ โดยเฉพาะการเล่นยูนิซั่นโน้ตตัวเดียวกันระหว่างกีตาร์กับคีย์บอร์ดและกีตาร์กับเบส รวมไปลูกเหยียบกระเดื่องของแมงกินีที่เบิ้ลเร็วจี๋ชนิดนรกเรียกพี่นั้นสุดยอดจริงๆครับพี่ท่าน
“This is the Life” ขึ้นต้นนำมาด้วยเสียงดนตรีอะคูสติกใสๆ ก่อนทางวงจะจัดหนักกระชากอารมณ์ไปกับซาวด์อีเลคทริคเปี่ยมพลัง แล้วดึงกลับมาด่ำดิ่งกลับเสียงร้องอันทรงพลังของลาบรี โดยมีรูเดสส์เล่นเสียงอะคูสติกเปียโนคุมประสานไป สอดประสานด้วยไลน์กีตาร์ล่องลอยของเพทรุคชี่
This is the Life เป็นบัลลาดร็อกซับซ้อนที่ซ่อนลูกเล่นทางดนตรีเอาไว้มากมาย ดนตรีของเพลงนี้ค่อยๆทวีดีกรีความเข้มข้นจากต้นเพลงเข้าสู่ท้ายเพลงที่ฟังเต็มแน่นไปด้วยพลังและไอเดียของนักดนตรี
ต่อกันด้วย “Bridges in the Sky” ขึ้นต้นมาในซาวด์ชวนพิศวงพร้อมเสียงร้องประหลาดๆที่ผมฟังแล้วผมอดนึกถึงเสียงเรอยาวๆไม่ได้ ก่อนต่อกันด้วยเสียงเพลงสวดชวนวังเวง แล้วสลับกลับที่เสียงประหลาดอีกครั้ง จากนั้นก็เป็นการจัดหนักใส่กันเต็มเม็ดในสไตล์ดรีม เธียเตอร์
“Outcry” อีกหนึ่งบทเพลงแสนยาว 11 กว่านาที ตัวเพลงมีการผสมซาวด์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะกับเสียงสังเคราะห์ที่ใส่เติมเสริมเข้ามาสร้างสีสัน เพลงนี้มีการเปลี่ยนอารมณ์เพลง กันอย่างหลากหลาย ทั้งเมทัลหนักๆ การเปลี่ยนท่วงทำนองสวยๆในท่อนแยก รวมไปถึงลูกประชันฝีมือทางดนตรีระดับเทพของเหล่าสมาชิก DT ในช่วงกลางเพลงที่ใส่กันแบบไม่ยั้ง
จากนั้นมาเบรกอารมณ์กันอีกครั้งกับ “Far From Heaven” บทเพลงที่ฟังเรียบง่ายที่สุดในอัลบั้มกับบัลลาดหวานๆ มีเสียงเปียโนเป็นตัวดำเนินเรื่อง สอดประสานด้วยเสียงเครื่องสายหวานพลิ้วที่ล่องลอยตามมาสมทบอีกทาง ซึ่งถ้าฟังกันแบบสังเกตให้ดีๆจะพบว่า งานเพลงชุดนี้ให้ความสำคัญกับเสียงหวานๆของเปียโนอยู่ไม่น้อยเลย
DT กระชากอารมณ์กลับคืนมาอีกครั้งใน “Breaking All Illusions” บทเพลงที่ยาวที่สุดในอัลบั้มถึงกว่า 12 นาที เป็นดังหมากาพย์ที่มีทั้งความมัน ความซับซ้อน ทั้งมากลีลา มากไอเดีย ทั้งเข้าขา ทั้งพาร์ทที่แตกต่างสวนทางแต่กลมกล่อมกลมกลืน นอกจากนี้ Breaking All Illusions ยังชวนให้ค้นหาติดตามไปกับตัวโน้ตที่ทาง DT สร้างสรรค์ขึ้นว่า พวกเขาจะดึงอารมณ์เราไปยังแห่งหนใด
“Beneath The Surface” บัลลาดเพราะๆกับเสียงร้องฟังผ่อนคลายของลาบรี ขณะที่ภาคดนตรีดนตรีเน้นเสียงอะคูสติกกีตาร์ปิ๊กกิ้งใสๆของเพทรุคชี่ สอดประสานด้วยไลน์เครื่องสายอันแสนหวาน แม้จะเป็นเพลงที่ฟังป็อบที่สุดในอัลบั้ม แต่กระนั้นก็ยังคงอุดมไปด้วยลูกเล่น ลีลา และฝีมืออันเหนือชั้น ไว้ลายเพลงปิดท้ายในอัลบั้ม A Dramatic Turn Of Events
อัลบั้มที่แม้จะเปลี่ยนมือกลองจากไมค์ พอร์ทนอย ที่ถือเป็นหนึ่งในกำลังหลักของวงมาเป็น ไมค์ แมงกินี แต่ว่านั่นดูจะไม่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคสำหรับ DT ในชุดนี้แต่อย่างใด เพราะแมงกินีที่แม้โดยรวมเสียงกลองของเขาอาจฟังไม่ดุดันและไม่เน้นลูกรัวกระเดื่องเร็วจี๋เป็นเม็ดเป้งๆเท่ากับพอร์ทนอย แต่ว่าในเรื่องของความหนักแน่น ความซับซ้อน ลูกเล่น กลเม็ด ลูกโชว์ลีลา แมงกินีทำออกมาได้ไม่ต่างไปจากพอร์ทนอย อีกทั้งยังทำออกมาได้กลมกลืนไม่น้อยและไม่มากเกินไป
ด้านน้ำเสียงของลาบรียังคงทรงพลังเหมือนเดิมเพียงแต่ว่าชุดนี้เขาลดความบ้าพลังลงไปแค่นั้นเอง ขณะที่เทพทางดนตรีอีก 3 คน คือ เพทรุคชี่ เมียง และรูเดสส์ ก็ยังคงความยอดเยี่ยมและความสดไปต่างจากเดิมแม้ว่าอายุอานามจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัวแล้วก็ตาม ที่สำคัญคือพวกเขาทั้งหมดยังเล่นด้วยสปิริตและทีมเวิร์คอันแน่นปึ้ก ซึ่งมันช่วยสานฝันของ DT ให้เดินไปในโรงละครความฝันของตัวเองได้อีกหลายปี
ถ้าพวกเขาไม่หมดไฟ หรือสำลักอีโก้ทะเลาะกันเองแล้วแยกทางกันไปเสียก่อน ดรีม เธียเตอร์ก็ยังคงเป็นวงเบอร์หนึ่งแห่งยุทธจักรวงการเพลงในโพรเกรสซีฟ เมทัล ที่ยากจะหาวงไหนขึ้นชั้นมาประกบคู่เขย่าบัลลังก์เทพได้
*****************************************
แกะกล่อง
“4”(สังกัด Sony Music) เป็นอัลบั้มที่ 4 ของ“บียอนเซ่” นักร้องสาวเซ็กซี่ เจ้าแม่ขาป็อบแด๊นซ์มากพลัง กับ 12 บทเพลงใหม่ ที่แม้ชุดนี้จะลดเพลงแด๊นซ์เร็วๆลงไปพอตัว แต่จุดเด่นในงานเพลงชุดนี้ถูกแทนที่ด้วยน้ำเสียงอันทรงพลังที่เธอถ่ายทอดออกมาผ่านเพลงช้าและเพลงจังหวะปานกลาง กับเนื้อหาทางดนตรีที่เข้มข้นขึ้น ตามตัวเลขอายุที่เติบโตขึ้นของเธอ
อัลบั้ม 4 มีบทเพลงน่าสนใจ อาทิ “1+1”, “Party” และ “Run The World(Girls)” โดยรวมแล้ว 4 ยังคงรักษามาตรฐานการทำเพลงแบบบียอนเซ่เอาไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่ชวนแด๊นซ์กระจาย เหมือนกับ 3 อัลบั้มที่ผ่านมา
หากพูดถึงวงโพรเกรสซีฟ เมทัล หรือ พร็อก เมทัล(Prog. Metal) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบอร์หนึ่งแห่งยุทธจักรวงการเพลงนับตั้งแต่ดนตรีแนวนี้อุบัติขึ้นมาในบรรณพิภพ ทอดตาทั้งแผ่นดินจนตาไหม้เกรียม เห็นจะไม่มีวงไหนสุดยอดเกินวงโรงละครแห่งความฝัน “ดรีม เธียเตอร์” (Dream Theater : DT) วงที่ฝีมือทางดนตรีของพวกเขาทำให้ใครและใครหลายคนสงสัยกันว่า นี่มันคนหรือเทพกันแน่(วะ)?!?
ดรีม เธียเตอร์ จุติขึ้นมาในปี ค.ศ. 1985 โดย 3 หนุ่ม 3 หน่อ แห่งเบิร์กลี คอลเลจ ออฟ มิวสิค(Berklee College of Music) คือ “จอห์น เพทรุคชี่”(John Petrucci) มือกีตาร์,”จอห์น เมียง”(John Myung) มือเบส และ “ไมค์ พอร์ทนอย”(Mike Portnoy) มือกลอง โดยมี “คริส คอลลินส์”(Chris Collins) นักร้องนำ และ “เควิน มัวร์”(Kevin Moore) คีย์บอร์ด มาสมทบเพิ่มเติมในภายหลัง
แม้ได้ฤกษ์ตกฟากมาจุติ แต่แรกเริ่มเดิมทีนักดนตรีกลุ่มนี้ยังไม่ได้ใช้ชื่อว่าดรีม เธียเตอร์ หากแต่ใช้ชื่อวงว่า “Majesty" โดยมี “The Majesty Demos” เป็นเดโมอัลบั้มออกมา
ชื่อมาเจสตี้ถูกใช้ได้ไม่ทันไรก็ถูกฟ้องร้องว่าเป็นชื่อซ้ำ พวกเขาจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อวง “Dream Theater” แทน ตามไอเดียของพี่ไมค์ที่นำชื่อมาจากโรงหนังเก่าในแคลิฟอร์เนีย พร้อมกันนี้ทางวงยังได้รับคุณน้าชาร์ลี โดมินิชี่(Charlie Dominici) ผู้มีอายุอานามมากกว่าสมาชิกทุกคนร่วมๆ 10 ปีมาเป็นนักร้องนำคนใหม่แทน คริส ที่ลาออกไป
DT เปิดประเดิมสตูดิโออัลบั้มแรกในนามของวงกันด้วย “When Dream And Day Unite” ในปี ค.ศ.1989 ที่เป็นดนตรีโพรเกรสซีฟร็อคผสมฮาร์ดร็อกอิทธิพลวงรุ่นพี่ๆ อย่าง Rush,Kansas,Yes และ Dixie Dreggs
ชาวด์ดนตรีในอัลบั้มชุดแรกแม้จะฟังเป็นคนละเรื่องกับยุคนี้(ซาวด์ออกย้อนยุค 70’s) อีกทั้งยังฟังไม่หนักแน่นและซับซ้อนซ่อนกลมากมายเท่ากับในยุคหลังๆ แต่ว่านี่คืออัลบั้มที่เป็นการปูรากฐานไปสู่ความเป็นสุดยอดแห่งพร็อก เมทัล ของวงโรงละครแห่งความฝันในยุคต่อมา
หลังอัลบั้มแรกผ่านพ้น DT ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก แต่น้าชาร์ลีนักร้องนำเสียงสูงลิบทะลุภูกระดึง กลับขอแยกวงลาออกไป โดยให้เหตุผลทางแนวทางดนตรีไม่ตรงกันและดรีม เธียเตอร์เป็นวงที่ดูไม่มีอนาคตเอาเสียเลย
ช่วงนั้นดรีม เธียเตอร์ ระส่ำอยู่พักใหญ่ ก่อนจะไปคว้า เจมส์ ลาบรี(James LaBrie) หรือชื่อเต็ม เควิน เจมส์ ลาบรี(Kevin James LaBrie) ผู้มีน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและมีลีลาการร้องที่เท่มั่กๆเข้าตาทางวง มารับหน้าที่แหกปากร้องนำ ก่อนจะส่งอัลบั้ม “Images and Words” ออกมาในปี 1992
Images and Words ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญที่เปิดตัวดรีม เธียเตอร์ในฐานะวงโพรเกรสซีฟ เมทัลให้โลกรับรู้ กับดนตรีอันหนักแน่น ซับซ้อน เนื้อหาแฝงปรัชญา รวมถึงฝีมือทางดนตรีอันยอดเยี่ยมและทีมเวิร์คที่แน่นปึ๊ก ในหลายเพลงพวกเล่นกันยาวเหยียดหลายนาที
อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีเพลงฮิตอย่าง อย่าง Pull Me Under,Another Day, และ Under A Glass มาทะลวงรูหูเขย่าต่อมดนตรีให้แฟนานุแฟนชาวหูเหล็กเฮฟวี่เมทัลได้ชื่นใจ สวนกระแสกรันจ์ อัลเทอร์เนทีฟที่ครองโลกในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
แต่ประทานโทษ กับชื่อเสียงความสำเร็จที่กำลังไปได้สวย เควินมือคีย์บอร์ดได้ขอลาออกแยกวงไปในระหว่างที่กำลังบันทึก “Awake”(1994) สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 อยู่
ดรีม เธียเตอร์ จึงดึง“ดีเรค เชอริเนียน”(Derek Sherinian) เด็กเก่าจากเบิร์กลีมาเล่นขัดตาทัพในการทัวร์คอนเสิร์ต ก่อนจะติดใจในฝีมือของหมอนี่จึงชวนมาเป็นสมาชิกอย่างจริงจังร่วมทำสตูดิโออัลบั้มออกมา 2 ชุดคือ “A change Of Seasons”(1995) และ “Falling Into Infinity”(1997)
ดีเรคแม้จะเป็นคนสนุกร่าเริง มีภาพลักษณ์เป็นที่น่าชวนจดจำของแฟนเพลง แต่ดูเหมือนว่าทางคีย์บอร์ดของเขาจะไปด้วยกันไม่ได้กับทางเพลงของวง ดรีม เธียเตอร์ จึงเปลี่ยนมือคีย์บอร์ดคนใหม่อีกครั้ง โดยดึง “จอร์แดน รูเดสส์”(Jordan Rudess) มือคีย์บอร์ดพ่อมดที่ DT เคยตามจีบมาตั้งแต่เมื่อครั้งอัลบั้ม Awake ให้มาร่วมงานกับทางวง (ยุคนั้นจอร์แดนเลือกที่จะไปเล่นให้กับ Dixie Dreggs วงในฝันของเขา ทำให้ DT ต้องฝันค้างไปหลายปี)
แล้ว DT โรงละครแห่งความฝันวงนี้ก็เดินเข้าสู่ยุคดรีมทีมกับสมาชิกยุคไลน์อัพ 5 พะหน่อ ได้แก่
จอห์น เพทรุคชี่ : ขยี้สายกีตาร์, จอห์น เมียง : ตะปบเบส,ไมค์ พอร์ทนอย : กระหน่ำกลอง, เจมส์ ลาบรี : แหกปากร้องนำ และจอร์แดน รูเดสส์ : พรมคีย์บอร์ด
ดรีม เธียเตอร์ในยุคดรีมทีมที่แต่ละคนมีฝีมือขั้นเทพในระดับตัวพ่อของวงการ ได้ส่งผลงานชุด “Metropolis Pt. 2: Scenes from a Memory”ออกมาในปี 1999 งานเพลงชุดนี้ถือเป็นผลงานอภิมหากาพย์ระดับมาสเตอร์พีชอันยอดเยี่ยมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงล้น
จากนั้น DT ได้ส่งสตูดิโออัลบั้มในมาตรฐานอันคงเส้นคงวาออกมาอีก 5 ชุด ได้แก่ “Six Degrees of Inner Turbulence”(2002), “Train of Thought”(2003), “Octavarium”(2005), “Systematic Chaos”(2007) และ Black Clouds & Silver Linings ในปี 2009 นอกจากนี้พวกเขายังมีผลงานบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตออกมาอีกเพียบ(มากกว่าสตูดิโออัลบั้มเสียอีก) นับเป็นวงขยันออกบันทึกการแสดงสดมากวงหนึ่ง
อย่างไรก็ตามบนเส้นทางสายฝันทางดนตรีของดรีม เธียเตอร์ที่ดูว่าราบลื่น ไร้ปัญหา จู่ๆก็มาสะดุดกึก ให้แฟนเพลงช็อกอารมณ์กันเมื่อพี่ไมค์ พอร์ทนอย มือกลองเทพประทานจากยุคก่อตั้งได้ประกาศขอแยกวงไปดื้อๆเมื่อปีที่แล้ว(ก่อน 11 ก.ย. เพียง 1 วัน)
งานนี้ทำให้ทางวงดรีม เธียเตอร์ต้องมาตั้งสมาธิรวบรวมลมปราณ เดินหน้าประกาศรับมือกลองคนใหม่ ซึ่งวงในระดับเทพฝีมือไม่ธรรมดาแบบนี้ วิธีการ“ออดิชั่น”เฟ้นหามือกลองของพวกเขาย่อมไม่ธรรมดาตามไปด้วย เพราะมีการถ่ายทำเป็นสารคดีกึ่งๆเรียลิตี้ลงในยูทูบให้เห็นถึงกระบวนการคัดเลือกยอดมือกลอง จาก 7 คนเหลือ 1 คน ซึ่งสุดท้ายแล้วพวกเขาก็ได้มือกลองชื่อไมค์กับมาเหมือนเดิม
พี่ไมค์ มือกลองคนใหม่คนนี้ คือ“ไมค์ แมงกินี”(Mike Mangini) ที่แม้จะไม่ได้เป็นพี่ไมค์ยาใจคนจนแต่เขาคือหนึ่งในยอดมือกลองแห่งยุคที่เคยร่วมวงในแนวเฮฟวี่ และแทรช เมทัล อย่าง เอ็กซ์ตรีม( (Extreme),แอนนิฮิเลเตอร์ (Annihilator),สตีฟ วาย(Steve Vai) มาแล้วอย่างโชกโชน รวมไปถึงยังมีดีกรีระดับ(อดีต)อาจารย์สอนกลองแห่งเบิร์กลี ที่พอได้รับเลือกเป็นมือกลองของ DT เขาถึงขนาดตัดสินใจลาออกจากงานสอนกลอง เพื่อมาทุ่มเทเวลาอย่างเต็มที่ให้กับผลงานชุด “A Dramatic Turn Of Events” (2011) สตูดิโออัลบั้มชุดล่าสุดของดรีม เธียเตอร์ ที่ได้ฤกษ์ส่งออกมาเขย่าต่อมดนตรีของบรรดาสาวกหูเหล็กเมื่อไม่นานมานี้
ภาพปกของอัลบั้มนี้ชวนตีความกับรูปตัวตลกปั่นจักรยานล้อเดียวบนเส้นเชือกเหนือเมฆบนฟากฟ้ากลางเวลาหาว ที่มีหางของเครื่องบิน DT โผล่ทะลุเมฆขึ้นมา โดยมีจุดชวนสะดุดตาเป็นรอยปริลุ่ยของเชือกเส้นสุดท้ายที่พร้อมจะขาดผึง ซึ่งแฟนเพลงหลายคนตีความว่านั่นคือความสัมพันธ์ของพอร์ทนอย กับสมาชิก DT ที่เหลือ ที่มันพร้อมจะขาดผึงได้ทุกเมื่อ
A Dramatic Turn Of Events เป็นผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 11 ที่พวกเขายังคงยึดแนวทางโพรเกรสซีฟ เมทัล อันเข้มข้นไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
อัลบั้มนี้เบิกฤกษ์ด้วย “On the Backs of Angels” ที่เป็นดังโหมโรง มีคีย์บอร์ดปูพรมมาบางๆก่อนจอห์นจะมาสานต่อด้วยปิ๊กกิ้งติดกลิ่นเอ็กซอติกบนทางตัวโน้ตชวนวังเวง โดยมีไลน์ลีดกีตาร์โซโลโอเวอร์ดับซ้อนทับเข้ามา(อีกไลน์)ในอารมณ์เนิบหน่วง ขณะที่กลองของแมงกินีทยอยส่งเสียงกลองเล็กกลองน้อยต่างๆตามเข้ามา ดีกรีดนตรีค่อยๆเพิ่มไดนามิกส่งเข้าสู่ซาวด์คีย์บอร์ดอันยิ่งใหญ่อลังการ แล้วพลันพวกเขาก็เปลี่ยนพาร์ทมาสู่ธีมหลักกับลูกริฟฟ์กีตาร์อันดุดันสอดประสานไปกับเสียงคีย์บอร์ดของรูเดสส์ ก่อนส่งต่อให้ลาบรีถ่ายทอดน้ำเสียงดำเนินเรื่องราว
แม้จะเป็นแค่เพียงเพลงแรก แต่ DT ก็โชว์เทพให้ฟังกันกับการเปลี่ยนพาร์ท ผ่อนถ่ายจังหวะ-อารมณ์ และส่งต่อแพทเทิร์นเพลงจากช่วงหนึ่งเข้าสู่ช่วงหนึ่งในอย่างแนบเนียน ช่วงท้ายอารมณ์เพลงถูกเบรกด้วยเสียงเปียโนหวานพลิ้ว ก่อนมาจัดหนักแบบฟูลออฟชั่นเต็มวงกันอีกครั้ง
แทรคต่อมาเป็น “Build Me Up, Break Me Down” ขึ้นต้นมาด้วยลูปกลองกับเสียงร้องผ่านเอฟเฟคของลาบรี ก่อนกีตาร์จะจัดหนักใส่ลูกริฟฟ์มันๆตามมา เสียงร้องในเพลงนี้มีการสลับไป-มาระหว่างเสียงจริงกับเสียงผ่านเอฟเฟค พร้อมด้วยลูกแหกปากของพี่เจมส์แบบให้สะใจกันพอหอมปากหอมคอ
จุดเด่นของเพลงนี้อยู่ที่ท่อนแยกเมโลดี้เพราะๆฟังติดหูจากน้ำเสียงของลาบรีนักร้องนำ ที่มาพร้อมกับไลน์ออร์เคสตร้าอันหนาแน่นของคีย์บอร์ด ท่อนท้ายของเพลงรูเดสส์ลากยาวด้วยเสียงคีย์บอร์ดอันเวิ้งว้างชวนจินตนาการ ก่อนส่งต่อเข้าสู่เพลงใหม่ได้อย่างแนบเนียนกลมกลืน
ต่อมาเป็น “Lost Not Forgotten” อารมณ์ความหนักมันของเพลงถูกเบรกด้วยเสียงเปียโนหวานซึ้งในช่วงต้น ก่อนจัดมันกันอีกครั้งกับไลน์เบสกลองที่โขยกควบกันมาแบบเต็มพิกัดในอารมณ์เมทัลสุดเหวี่ยง เปิดโอกาสให้แต่ละคนโชว์เทพกันเต็มที่ โดยเฉพาะการเล่นยูนิซั่นโน้ตตัวเดียวกันระหว่างกีตาร์กับคีย์บอร์ดและกีตาร์กับเบส รวมไปลูกเหยียบกระเดื่องของแมงกินีที่เบิ้ลเร็วจี๋ชนิดนรกเรียกพี่นั้นสุดยอดจริงๆครับพี่ท่าน
“This is the Life” ขึ้นต้นนำมาด้วยเสียงดนตรีอะคูสติกใสๆ ก่อนทางวงจะจัดหนักกระชากอารมณ์ไปกับซาวด์อีเลคทริคเปี่ยมพลัง แล้วดึงกลับมาด่ำดิ่งกลับเสียงร้องอันทรงพลังของลาบรี โดยมีรูเดสส์เล่นเสียงอะคูสติกเปียโนคุมประสานไป สอดประสานด้วยไลน์กีตาร์ล่องลอยของเพทรุคชี่
This is the Life เป็นบัลลาดร็อกซับซ้อนที่ซ่อนลูกเล่นทางดนตรีเอาไว้มากมาย ดนตรีของเพลงนี้ค่อยๆทวีดีกรีความเข้มข้นจากต้นเพลงเข้าสู่ท้ายเพลงที่ฟังเต็มแน่นไปด้วยพลังและไอเดียของนักดนตรี
ต่อกันด้วย “Bridges in the Sky” ขึ้นต้นมาในซาวด์ชวนพิศวงพร้อมเสียงร้องประหลาดๆที่ผมฟังแล้วผมอดนึกถึงเสียงเรอยาวๆไม่ได้ ก่อนต่อกันด้วยเสียงเพลงสวดชวนวังเวง แล้วสลับกลับที่เสียงประหลาดอีกครั้ง จากนั้นก็เป็นการจัดหนักใส่กันเต็มเม็ดในสไตล์ดรีม เธียเตอร์
“Outcry” อีกหนึ่งบทเพลงแสนยาว 11 กว่านาที ตัวเพลงมีการผสมซาวด์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะกับเสียงสังเคราะห์ที่ใส่เติมเสริมเข้ามาสร้างสีสัน เพลงนี้มีการเปลี่ยนอารมณ์เพลง กันอย่างหลากหลาย ทั้งเมทัลหนักๆ การเปลี่ยนท่วงทำนองสวยๆในท่อนแยก รวมไปถึงลูกประชันฝีมือทางดนตรีระดับเทพของเหล่าสมาชิก DT ในช่วงกลางเพลงที่ใส่กันแบบไม่ยั้ง
จากนั้นมาเบรกอารมณ์กันอีกครั้งกับ “Far From Heaven” บทเพลงที่ฟังเรียบง่ายที่สุดในอัลบั้มกับบัลลาดหวานๆ มีเสียงเปียโนเป็นตัวดำเนินเรื่อง สอดประสานด้วยเสียงเครื่องสายหวานพลิ้วที่ล่องลอยตามมาสมทบอีกทาง ซึ่งถ้าฟังกันแบบสังเกตให้ดีๆจะพบว่า งานเพลงชุดนี้ให้ความสำคัญกับเสียงหวานๆของเปียโนอยู่ไม่น้อยเลย
DT กระชากอารมณ์กลับคืนมาอีกครั้งใน “Breaking All Illusions” บทเพลงที่ยาวที่สุดในอัลบั้มถึงกว่า 12 นาที เป็นดังหมากาพย์ที่มีทั้งความมัน ความซับซ้อน ทั้งมากลีลา มากไอเดีย ทั้งเข้าขา ทั้งพาร์ทที่แตกต่างสวนทางแต่กลมกล่อมกลมกลืน นอกจากนี้ Breaking All Illusions ยังชวนให้ค้นหาติดตามไปกับตัวโน้ตที่ทาง DT สร้างสรรค์ขึ้นว่า พวกเขาจะดึงอารมณ์เราไปยังแห่งหนใด
“Beneath The Surface” บัลลาดเพราะๆกับเสียงร้องฟังผ่อนคลายของลาบรี ขณะที่ภาคดนตรีดนตรีเน้นเสียงอะคูสติกกีตาร์ปิ๊กกิ้งใสๆของเพทรุคชี่ สอดประสานด้วยไลน์เครื่องสายอันแสนหวาน แม้จะเป็นเพลงที่ฟังป็อบที่สุดในอัลบั้ม แต่กระนั้นก็ยังคงอุดมไปด้วยลูกเล่น ลีลา และฝีมืออันเหนือชั้น ไว้ลายเพลงปิดท้ายในอัลบั้ม A Dramatic Turn Of Events
อัลบั้มที่แม้จะเปลี่ยนมือกลองจากไมค์ พอร์ทนอย ที่ถือเป็นหนึ่งในกำลังหลักของวงมาเป็น ไมค์ แมงกินี แต่ว่านั่นดูจะไม่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคสำหรับ DT ในชุดนี้แต่อย่างใด เพราะแมงกินีที่แม้โดยรวมเสียงกลองของเขาอาจฟังไม่ดุดันและไม่เน้นลูกรัวกระเดื่องเร็วจี๋เป็นเม็ดเป้งๆเท่ากับพอร์ทนอย แต่ว่าในเรื่องของความหนักแน่น ความซับซ้อน ลูกเล่น กลเม็ด ลูกโชว์ลีลา แมงกินีทำออกมาได้ไม่ต่างไปจากพอร์ทนอย อีกทั้งยังทำออกมาได้กลมกลืนไม่น้อยและไม่มากเกินไป
ด้านน้ำเสียงของลาบรียังคงทรงพลังเหมือนเดิมเพียงแต่ว่าชุดนี้เขาลดความบ้าพลังลงไปแค่นั้นเอง ขณะที่เทพทางดนตรีอีก 3 คน คือ เพทรุคชี่ เมียง และรูเดสส์ ก็ยังคงความยอดเยี่ยมและความสดไปต่างจากเดิมแม้ว่าอายุอานามจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัวแล้วก็ตาม ที่สำคัญคือพวกเขาทั้งหมดยังเล่นด้วยสปิริตและทีมเวิร์คอันแน่นปึ้ก ซึ่งมันช่วยสานฝันของ DT ให้เดินไปในโรงละครความฝันของตัวเองได้อีกหลายปี
ถ้าพวกเขาไม่หมดไฟ หรือสำลักอีโก้ทะเลาะกันเองแล้วแยกทางกันไปเสียก่อน ดรีม เธียเตอร์ก็ยังคงเป็นวงเบอร์หนึ่งแห่งยุทธจักรวงการเพลงในโพรเกรสซีฟ เมทัล ที่ยากจะหาวงไหนขึ้นชั้นมาประกบคู่เขย่าบัลลังก์เทพได้
*****************************************
แกะกล่อง
“4”(สังกัด Sony Music) เป็นอัลบั้มที่ 4 ของ“บียอนเซ่” นักร้องสาวเซ็กซี่ เจ้าแม่ขาป็อบแด๊นซ์มากพลัง กับ 12 บทเพลงใหม่ ที่แม้ชุดนี้จะลดเพลงแด๊นซ์เร็วๆลงไปพอตัว แต่จุดเด่นในงานเพลงชุดนี้ถูกแทนที่ด้วยน้ำเสียงอันทรงพลังที่เธอถ่ายทอดออกมาผ่านเพลงช้าและเพลงจังหวะปานกลาง กับเนื้อหาทางดนตรีที่เข้มข้นขึ้น ตามตัวเลขอายุที่เติบโตขึ้นของเธอ
อัลบั้ม 4 มีบทเพลงน่าสนใจ อาทิ “1+1”, “Party” และ “Run The World(Girls)” โดยรวมแล้ว 4 ยังคงรักษามาตรฐานการทำเพลงแบบบียอนเซ่เอาไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่ชวนแด๊นซ์กระจาย เหมือนกับ 3 อัลบั้มที่ผ่านมา