paulheng_2000@yahoo.com
‘แด๊นซิ่ง ควีน’ ราชินีโลกเต้นรำในทศวรรษที่ 2 ของยุค 2000 ยังมีการขับเคี่ยวฟาดฟันกันอย่างถึงพริกถึงขิง ตาต่อตาฟันต่อฟันในรูปแบบดนตรีแด๊น-พ๊อพ, คลับ-แด๊นซ์, อิเล็กทรอนิกส์แด๊นซ์ และอิเล็กทรอนิกส์-ฮิพฮอพ หรืออิเล็กทรอ ฮอพ ที่จะหาเทรนด์หรือแนวโน้มใหม่ๆ มาสะกดหูมาสะกิดใจและสกัดสายตาคนฟังให้แช่นิ่งตะลึงงันกับพวกเธอ
การมาถึงของ เลดี้ กาก้า (Lady GaGa) ที่กระแทกคนฟังจนอยู่หมัด โดดเด่นขึ้นมาสุดกู่จากการนำเสนอตัวเองต่อสื่อและการแสดงบนเวที การจัดการภาพลักษณ์และแฟชั่นที่สามารถตรึงทุกอย่างให้มีจุดศูนย์รวมหรือโฟกัสที่ตัวเธอ และที่สำคัญคือ ดนตรีและเนื้อหาในบทเพลงที่เธอเป็นคนเขียนเองร่วมกับนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ แสดงถึงตัวตนของเธอออกมาค่อนข้างสูง และไม่ตามอย่างใครในตลาดเพลง
คนที่มาก่อนต่างก็ตาตื่นและใจเต้นตุ้มๆ ต่อมๆ เพราะความแรงของเลดี้ กาก้า กันโดยถ้วนทั่ว เพราะเธอสามารถก้าวข้ามกระโดดอย่างรวดเร็วจากพ๊อพสตาร์มุ่งสู่เบอร์หนึ่งในความเป็นซูเปอร์สตาร์ของวงการเพลงฝ่ายหญิง
คริสติน่า อกีเลร่า (Christina Aguilera) ขอร่วมแจมท้าชิง เจ้าแม่เพลงแด๊นซ์-พ๊อพดั้งเดิม ไคลี่ มิโนค (Kylie Minogue) พยายามฟื้นฟูและรักษาสถานะเดิมไว้ ละติน-พ๊อพสตาร์ เจนนิเฟอร์ โลเปซ (Jennifer Lopez)หรือ เจ.โล (J.Lo) ก็พยายามขยับปรับตัวเองสู่วงการคลับแบงเกอร์อย่างเต็มฝีเร่ง รวมถึงซูเปอร์สตาร์สายเออร์เบิ้น แบล๊ค มิวสิค อย่าง บียอนเซ่ (Beyoncé) ก็ไม่ยอมทิ้งระยะห่างของงานสตูดิโออัลบั้มตัวเอง แม้แต่ รีฮันน่า (Rihanna)ที่พุ่งแรงด้วยภาพลักษณ์ความแรงของดนตรีเออร์เบิ้น พ๊อพ ที่สะท้านทรวงคนรุ่นใหม่ ก็เร่งรีบในการที่จะอยู่ในกระแสไม่ให้ตกหล่นจากการมาถึงของเลดี้ กาก้า
มิพักต้องพูดถึง มาดอนน่า (Madonna) ราชินีเพลงพ๊อพเจ้าของตำแหน่งที่ระยะหลังชักใส่เกียร์ว่างไม่ค่อยอินังขังขอบกับเทรนด์ดนตรียุคใหม่เท่าไหร่
สังเวียนแด๊นซ์ของโลกดนตรีที่แย่งชิงกันของนักร้องสาวในสายพ๊อพสตาร์ยุคปัจจุบัน จึงขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดถึงพริกถึงขิงว่า ใครจะนำเทรนด์ดนตรีและแฟชั่นเต้นรำได้ยอดเยี่ยมที่สุด
แน่นอน บริทนีย์ สเปียส์ (Britney Spaers) ก็ไม่ตกขบวน ย่อมมีชื่อเป็นแคนดิเดทหรือผู้ท้าชิงในฐานะเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพและซูเปอร์สตาร์ทีนพ๊อพในอดีต ซึ่งค่อยๆ ฟื้นฟูตัวเองขึ้นมา หลังจากเสียศูนย์จิตแตกไประยะหนึ่ง
อัลบั้ม ‘Femme Fatale’ เป็นบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งในการยกระดับตัวเอง เพื่อก้าวข้ามผ่านพ้นจากกับดักความสำเร็จและแสดงพัฒนาการทางความคิดและดนตรีไปสู่เป้าหมายใหม่ ซึ่งนั่นก็คือ ความเป็นซูเปอร์สตาร์ในฐานะ ‘แด๊นซิ่ง ควีน’ ที่ใครๆ ก็อยากไปถึง
งานเพลงสตูดิโออัลบั้มชุดนี้ สามารถมองได้หลายมุม เพราะถือเป็นขั้วต่อของปัจจัยหลายๆ อย่างในการพิสูจน์ตัวเอง ความพยายามพลิกสภาพทั้งทางดนตรี สถานะทางพ๊อพสตาร์ และชีวิตส่วนตัว เพื่อนำตัวเองสู่อีกมิติหนึ่ง
อดีตอันแสนหวาน
ในเดือนมิถุนายน ปี 2010 (พ.ศ.2553) บริทนีย์ สเปียร์ส ยังรักษาสถานะที่เด่นดังเอาไว้ได้ในภาพรวม เมื่อถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 จาก 100 บุคคลที่เป็นเซเลบริตี้ที่ทรงอิทธิพลและเปี่ยมด้วยอำนาจหรือสมรรถภาพทางด้านชื่อเสียงของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเธอเป็นอยู่ในลำดับที่ 3 ของคนในวงการเพลงที่ถูกเลือกโดยฟอร์บส์ นิตยสารทางการเงินและเศรษฐกิจอันมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับโลก
ในปี 2003 (พ.ศ.2546) ในงานเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิค อวอร์ดส์ ปรากฏการณ์อันลือลั่นบนเวทีแสดงด้วยบทเพลง ‘Like a Virgin’ การขึ้นมาร้องเพลงพร้อมด้วยนักร้องคู่แข่งที่โดดเด่นแย่งซีนกับเธอในยุคสมัยแห่งความร้อนแรงนั้น บริทนีย์ สเปียร์ส กับคริสติน่า อากีเลร่า ร่วมกันร้องเพลงนี้ได้ครึ่งเพลงก็มีราชินีเพลงพ๊อพ มาดอนน่า โดดขึ้นมาร่วมวง และมีจุมพิตอย่างดูดดื่มระหว่างสามนักร้องบนเวที โดยเฉพาะการจูบแลกลิ้นหรือฟรองซ์ คิส ระหว่างบริทนีย์กับมาดอนน่า จนกลายเป็นความจดจำที่เล่าลือมาถึงทุกวันนี้ ในความร้อนแรงของสามสาวแห่งวงการเพลงพ๊อพโลกในขณะนั้น
ล่าสุด บริทนีย์ก็ใช้สูตรเดิมด้วยการจูบอย่างดูดดื่มกับรีฮันน่า บนเวทีการแสดงของงานมอบรางวัลบิลบอร์ด มิวสิค อวอร์ดส 2011
สำหรับแววของศิลปินในยุคเริ่มแรกของบริทนีย์ สเปียร์ส นอกจากพรสวรรค์ทางด้านการร้อง การเต้น และการแสดงแล้ว สิ่งที่มีอยู่ในตัวเธอที่ฉายรัศมีออกมา ซึ่งสำคัญที่สุดที่ไปเข้าตา แบรี่ ไวส์ ผู้บริหารค่ายเพลงจิฟ ที่บอกว่า ความโดดเด่นที่บริทนีย์มีอยู่นั่นก็คือ ดวงตาของพยัคฆ์ 'eye of the tiger' ซึ่งกลายเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เธอได้รับการเซ็นสัญญาในการเป็นนักร้องออกอัลบั้มมาในตลาดเพลง ซึ่งว่าไปแล้วก็เปรียบเสมือนการดูโหงวเฮ้งแบบศาสตร์ของคนจีนนั่นเอง
หากจะเปรียบเทียบกับ เด็บบี้ กิ๊บสัน (Debbie Gibson) ในแง่ของความเป็นบับเบิลกัม พ๊อพ สตาร์ ในยุคทศวรรษที่ 80 ในยุคแรกเริ่มแรกของบริทนีย์ สเปียร์ส ได้นำดนตรีเค้าร่างของบับเบิลกัมพ๊อพสู่ความเป็นทีนพ๊อพสมัยใหม่ได้อย่างโดดเด่น ฉีกหนีไม่ตกอยู่ภายใต้ร่มเงาของผู้มาก่อนในยุคทศวรรษที่ 80 แต่อย่างใด
ในช่วงเวลา 12 ปีที่โลดแล่นอยู่ในแถวหน้าของวงการเพลงโลก (นับตั้งแต่ออกอัลบั้มชุดแรก) ถือว่าเธอประสบความสำเร็จอย่างมากในเชิงพาณิชย์ผ่านดนตรีและบทเพลงของเธอ เพราะมีถึง 5 อัลบั้มที่ขึ้นสู่อันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดของอเมริกา และมี 24 บทเพลงที่ขึ้นสู่ท๊อป 40 ของชาร์ตเพลงฮิตกระแสหลัก และกับยอดขายถึง 70 ล้านก๊อปปี้ จากอดีตที่เธอทำงานมา 6 สตูดิโออัลบั้ม ‘…Baby One More Time’ (1999) ‘Oops!... I Did It Again’ (2000) ‘Britney’ (2001) ‘In The Zone’ (2003) ‘Blackout’ (2007) และ ‘Circus’ (2008) รวมถึงอัลบั้มรวมเพลงที่ออกมาอีก 3ชุด แต่เธอยังไม่เคยไปถึงรางวัลแกรมมี่เลยแม้แต่รางวัลเดียว
ซึ่งในวันเวลาที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนจะมีความพยายามที่จะสร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพื่อให้บริทนีย์ก้าวข้ามผ่านจากซูเปอร์สตาร์ทีนพ๊อพขึ้นสู่ความหลากหลายขยายวงสู่ความเป็น ‘ราชินีพ๊อพ’ คนใหม่ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2003 อัลบั้มชุดที่ 4 ‘In the Zone’ ของบริทนีย์ที่ออกวางจำหน่าย พร้อมกับตัดซิงเกิลแรกออกมา ‘Me Against the Music’ ได้มาดอนน่ามาฟีเจอริ่งหรือร้องร่วมในบทเพลงนี้ คล้ายมาเจิมให้บริทนีย์อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เธอเป็นเจเนอเรชั่นต่อไปที่จะมารับไม้ตำแหน่งราชินีเพลงพ๊อพอยู่ในที
นั่นก็แสดงให้เห็นขุมกำลังของเพลงเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ที่เธอตีแตกสู่คนฟังวงกว้างผ่านทีมเขียนเพลงและทำดนตรี แต่น่าเสียดายที่ทีมทำเพลงเองและชีวิตส่วนตัวของบริทนีย์ยังไม่สามารถทะลุความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่แหวกออกมาในบุคลิกที่จะนำไปสู่ความเป็นที่หนึ่งของวงการเพลงพ๊อพสายสาวเซ็กซี่ ที่เปี่ยมด้วยไอเดียและความคิดบรรเจิดทั้งงานเพลง ดนตรี และการแสดงที่นำเทรนด์แฟชั่นในตลาดเพลงได้ ในทางกลับกันชีวิตส่วนตัวของเธอกลับเต็มไปด้วยจ่าวคาวฉาวโฉ่อย่างควบคุมไม่อยู่
‘femme fatale’ นัยยะแห่งชื่ออัลบั้ม
การตั้งชื่ออัลบั้มถือมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับงานเพลงในแบบสตูดิโออัลบั้ม เพราะเปรียบเสมือนการขมวดความคิดทั้งหมด เพื่อสรุปรวมให้กินความของความหมายทั้งเนื้อหาและดนตรีในทุกบทเพลงสื่อสารออกมามากที่สุด
เพราะฉะนั้นการเลือกคำว่า ‘femme fatale’ มาตั้งเป็นชื่อในอัลบั้มชุดที่ 7 ของบริทนีย์ สเปียร์ส จึงน่าจะมีนัยยะสำคัญที่สื่อความหมายของตัวเธอออกมาผ่านศัพท์คำนี้
เพราะ femme fatale เป็นคำในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง หญิงที่ใช้เสน่ห์ยั่วยวนผู้ชายให้หลงใหล ซึ่งรากศัพท์น่าจะมาจากเทพปรกณัมของฮินดู ที่มีชื่อว่า ‘โมหิณี’ ซึ่งเป็นเทพแห่งความลุ่มหลง อันเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์หรือพระวิษณุที่มาปราบอสูร ซึ่งเป็นอมตะจากการดื่มน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทร
ผู้หญิงที่ลึกลับและก่อให้เกิดความยั่วยวนยากที่จะห้ามใจ มีเสน่ห์ที่ทำให้ติดบ่วงรักด้วยแรงปรารถนาเกินที่จะต้านทาน แต่แฝงด้วยอันตรายและการทำลายล้างซึ่งนำไปสู่ความตาย แต่ความหมายในปัจจุบันของ femme fatale จะมีความหมายออกไปในทางลบอยู่พอสมควร เป็นพลังอำนาจและจริตของหญิงงามเมืองที่จะใช้ความงามของเธอเป็นเสน่หาล่อลวงผู้คนไปสู่ความตายและหายนะ
โดยเฉพาะผู้ชาย นั่นก็หมายถึง ‘ผู้หญิงโคตรอันตรายที่เปี่ยมด้วยความสวยและพลังดึงดูดทางเพศ’ อีกนัยหนึ่งเป็นผู้หญิงสุดสวยที่ทำงานสายลับหรือจารชนที่ล้วงความลับ โดยใช้เสน่ห์ทางเพศและร่างกายเป็นตัวล่อลวงและแลกเปลี่ยน
แต่ในทางสังคมวิทยา femme fatale ก็เป็นคำที่ถูกนิยามหลากหลายออกไป แต่ที่ดูจะตรงกับความเป็นบริทนีย์ สเปียร์ส ค่อนข้างมาก คือ ผู้หญิงที่แหวกกรอบสังคมด้วยอิสระและเสรีทางปัจเจกอย่างน่ากลัวและหมิ่นเหม่ต่อกฎหรือวิถีของเพศสภาพผู้หญิงในแบบประเพณีนิยมของแต่ละสังคม
ข่าวคราวและข่าวคาวของเธอก็เป็นอาหารอันโอชะให้กับหนังสือพิมพ์หัวสีประเภทแท็บลอยด์ และนักแอบถ่ายภาพหรือปาปาราซซี่เป็นอย่างดี แต่มองในมุมกลับกันไม่รู้ใครเป็นเหยื่อใครกันแน่ ข่าวฉาวจิตแตกจิตหลุดและบำบัดการติดยาที่ไม่ใช่เรื่องผลงานทางดนตรีและเสียงเพลงของเธอ สามารถทำให้เธออยู่ในกระแสความสนใจหลักของสังคมอย่างมิยอมตกหล่น และสามารถขายรูปภาพและเรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วยมูลค่ามหาศาลเช่นกัน
ในโลกสมัยใหม่ที่ที่ผู้คนจ้องเสพแต่ข่าวสารข้อมูลเรื่องฉาวส่วนตัวของผู้มีชื่อเสียง โดยเฉพาะมุมในด้านมืดและด้านลบเป็นที่ชื่นชอบและสะใจ เนื่องด้วยปมริษยาที่อิจฉาในความมีชื่อเสียงเงินทองที่ฝังแฝงอยู่ในทุกผู้ตัวคน ผู้คนจะมีความสุขและสาแก่ใจถ้าดารานักร้องยอดนิยมระดับพ๊อพสตาร์มีมลทินและรอยด่างพร้อยในชีวิตส่วนตัวไม่แตกต่างจากคนธรรมดา และในฐานะบุคคลสาธารณะ ดารานักร้องเหล่านั้นก็ต้องได้รับผลสะท้อนกลับสาหัสเพิ่มเทียมเท่าตัวเช่นกัน
กรณีศึกษาของบริทนีย์ เห็นได้เด่นชัดที่เริ่มต้นจากวัยเยาว์ในฐานะนักแสดงเด็กที่ประกวดและรุดหน้าเด็กร่วมรุ่นคนอื่นๆ โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นที่โด่งดังพร้อมกันมาอย่าง จัสติน ทิมเบอร์เลก (Justin Timberlake) และคริสติน่า อากีเลร่า จากรายการ ‘เดอะ นิว มิคกี้ เมาส์ คลับ’ ในช่วงปี 1993-1994 (พ.ศ.2536-2537)
ว่าไปแล้วในช่วงต้นของชีวิตในวงการบันเทิงของบริทนีย์ สเปียร์ส ซึ่งอยู่ในยุคก่อนวัยรุ่นและช่วงวัยรุ่นเต็มตัวนั้น เธอและคนที่ข้องเกี่ยวบนเส้นทางในอาชีพสามารถปรุงแต่งความจัดจ้านแจ๊ดแจ๋ทางการแสดงและร้องเพลงให้ผสมกับความน่ารักไร้เดียงสาได้อย่างลงตัว และมีการขับเคลื่อนผ่านพัฒนาการการร้องเพลงของเธอได้อย่างยอดเยี่ยม
ความโด่งดังและสถานะของเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับชื่อเสียงในระดับโลกของเธอ ก็ต้องยอมรับในฝีมือการโปรดิวซ์และเขียนเพลงของทีมทำเพลงที่นำโดย แม็กซ์ มาร์ติน โปรดิวเซอร์ชาวสวีดิชซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นมาสเตอร์ มายด์ หรือคนบงการทางดนตรีและสร้างบุคลิกของบริทนีย์ สเปียร์ส ตัวจริงเสียงจริง
เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ชื่อ ‘femme fatale’ มาเป็นชื่ออัลบั้มก็น่าจะผ่านกระบวนกลั่นกรองทางความคิดเพื่อนำเสนอนัยยะสำคัญของชื่อ ในการที่บริทนีย์จะก้าวสู่สถานะของแด๊นซิ่ง ควีน ต่อไป อย่างไม่ต้องติดภาพกับอดีตอีกต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการก้าวข้ามผ่านสู่วุฒิภาวะทางอายุและดนตรีที่เข้มข้นและร้อนแรงมากขึ้น
แด๊นซ์กระจาย...สลายอดีต
อดีตเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพ ที่เคยถูกคาดหวังและดูจะมีความคาดหมายจากอุตสาหกรรมดนตรีว่า จะรับไม้ในตำแหน่ง ‘ราชินีพ๊อพ’ ต่อจากมาดอนน่า กับอัลบั้ม ‘Femme Fatale’ มีภาพรวมของงานเพลงและดนตรีที่ลื่นไหลกลมกล่อมลงตัว ซาวด์ที่ดึงดูดใจ ค่อนข้างที่จะเหมาะในดิสโก้ ปาร์ตี้ที่สามารถสร้างบุคลิกเฉพาะในแบบแด๊นซ์ ฟลอร์ พ๊อพ แบบบริทนีย์ สเปียร์ส ขึ้นมาได้อย่างโดดเด่น
โดยบริทนีย์ได้บอกถึงเจตนารมณ์ทางดนตรีของงานเพลงชุดนี้ว่า เธอต้องการสร้างอัลบั้มที่มีเสียงที่ดูสดใหม่สำหรับดนตรีเต้นรำตามคลับหรือเปิดในรถเพื่ออุ่นเครื่องในการออกแสวงหาความสำราญและบันเทิงยามค่ำคืน ซึ่งแน่นอนต้องเป็นอัลบั้มเพลงแด๊นซ์แบบของเธอที่สามารถสร้างบุคลิกที่มีความแตกต่างออกไป
ความสำเร็จทางดนตรีของบริทนีย์ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันต้องยอมรับว่า เกือบทั้งหมดมาจากคนเขียนเพลงและทีมโปรดักชั่นทางดนตรีที่กำหนดทิศทางและความคิดสร้างสรรค์ผ่านจาก แม็กซ์ มาร์ติน ซึ่งถือเป็นคู่บุญคู่บารมีทางโลกดนตรียอดนิยม รวมถึงดร.ลุค ที่มีส่วนสำคัญในบทเพลงฮิตที่มีมากมาย
แม้จะดูเหมือนว่าเธอจะมีเสียงร้องที่ค่อนข้างตกลงจากอดีตอยู่บ้าง รวมถึงเนื้อร้องที่ดูดาดๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เข้ามาแทนที่คือ ความเป็นพ๊อพหัวก้าวหน้าในกลิ่นอายของอวองท์-การ์ด พ๊อพ ที่มีการนำเทคนิคทางเสียงในสไตล์ดนตรีดับสเต็ปและพ๊อพหวานๆ ที่เป็นสไตล์ซูการี พ๊อพ มาผสมเขย่ารวมได้เก๋อยู่พอควร และก็เพิ่มความแข็งทื่อในโครงสร้างจังหวะแบบโรโบติค บีท และเอฟเฟ็คท์เสียงร้องเข้ามาแบบพองาม
อัลบั้มชุดนี้เปรียบเสมือนการทบทวนถึงห้วงลึกภายในจิตใต้สำนึกของเธอที่มีอยู่ในปัจจุบัน มุมมองต่อความรัก ชีวิต และความเป็นไปของสิ่งรอบตัว เนื้อหาของเพลงในอัลบั้มชุดนี้โดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเต้นรำและเชิญชวนปาร์ตี้ รวมถึงการแสดงออกของผู้หญิงเจ้าเสน่ห์และการตกหลุมรัก เพราะฉะนั้น อัลบั้ม ‘Femme Fatale’ น่าจะถือเป็นอัลบั้มที่ดีอีกชุดหนึ่งของบริทนีย์ ด้วยความตั้งใจที่จะแหวกออกจากแนวทางเดิมๆ มุ่งหน้าเพื่อนำไปสู่ดนตรีแบบปาร์ตี้เต้นรำอย่างไม่อ้อมค้อม โดยมีเนื้อหาที่บ่งชี้ถึงเรื่องเพศและความโศกเศร้าอันอบอวล ด้วยการวางธีมหรือใจความหลักของอัลบั้มชุดนี้แบบง่ายๆ เพื่อให้เข้าสู่ตลาดเพลงในแง่ความบันเทิงเริงรมย์มากที่สุด ด้วยเรื่องราวระหว่างเพศและปาร์ตี้ เนื้อร้องและความหมายในบางเพลงที่ดูกลวงโหวงและว่างเปล่า ความรู้สึกเหมือนอยู่ในคลับแด๊นซ์และเต้นรำในลักษณะเดอร์ตี้ แด๊นซ์ ผ่านบทเพลงและดนตรีของเธอ บนฟลอร์เต้นรำที่มืดสนิทและเสียงกระหึ่มก้องของดนตรีที่จะสร้างความตื่นเต้นอย่างรุนแรง
เสียงร้องที่ใช้เครื่องปรุงแต่งให้ออกมาในอารมณ์ไซเบอร์-กัม-พ๊อพ หรืออธิบายง่ายๆได้ว่า เสียร้องแข็งทื่อก้องลอยกังวานแบบหุ่นยนต์ในรูปแบบเพลงลูกกวาดติดหูง่ายและมีสัมผัสของความเป็นพ๊อพอยู่ ซึ่งว่าไปแล้วบริทนีย์ไม่เคยแสดงออกถึงความนักร้องที่คิดจะแหวกตัวเองให้หลุดออกจากร่มเงาของทีมทำเพลง โดยมากำหนดทิศทางดนตรีและเขียนเพลงเอง ครั้งนี้ก็เช่นกัน แม้งานเพลงและดนตรีที่ขยายขอบเขตเข้าสู่โหมดเพลงแด๊นซ์ที่อยู่ในระดับที่ดี แต่ก็เป็นการกำหนดจากทีมทำเพลงทั้งสิ้น
การแสดงถึงพัฒนาการที่จะก้าวสู่มิติของความเป็นแด๊นซ์พ๊อพอย่างเต็มตัวเพื่อสลัดทิ้งความเป็นทีนพ๊อพไว้เบื้องหลังให้เด็ดขาดอย่างคาดไม่ถึง โดยเสนอแนวความคิดผ่านทางบทเพลงและดนตรีที่มุ่งหน้าเข้าสู่ดนตรีเพื่อปาร์ตี้อย่างเต็มพิกัด โดยเฉพาะอารมณ์และการเต้นรำในแบบวิถีของเดอร์ตี้ แด๊นซ์ที่กรุ่นอวลกลิ่นอายของเรื่องทางเพศและความสลดรันทด แม็กซ์ มาร์ติน และ ดร.ลุค เป็นคู่หูนักผลิตเพลงฮิตที่อยู่แถวหน้าในโลกดนตรียอดนิยม ซึ่งมาทำหน้าที่หลักในงานเพลงชุดนี้ตามวาระถึง 7 เพลง จาก 12 บทเพลงในอัลบั้ม โดยยืนพื้นอยู่ที่ท่วงทำนองที่ติดหูง่ายสวยงามภายใต้จริตดนตรีแบบยูโรดิสโกที่เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของงานดนตรีในชุดนี้ และมีโปรดิวเซอร์คนอื่นๆ มาแทรกในบทเพลงต่างๆ วางคั่นจังหวะเพื่อกันเลี่ยนหู
ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคือ การโปรดิวซ์ของ บลัดไช (Bloodshy) และทีมโปรดิวซ์ที่ทำดนตรีในบทเพลง ‘How I Roll’ ให้พุ่งโดเด่นหลุดออกมาจากบทเพลงอื่นในอัลบั้ม ด้วยดนตรีเทคโนที่สวยอย่างแปลกประหลาดแต่ทว่าเข้ากับแฟชั่นเพลงอิเล็กทรอ ฮอพ ของยุคนี้
44.02 นาที จาก 12 บทเพลงที่บรรจุอยู่ในอัลบั้ม มีการบันทึกเสียงและผสมเสียงในระดับที่ดีทำให้มวลรวมของเสียงดูสดใหม่และกระจ่างแจ่ม บทเพลงเปิดหัวอัลบั้ม ‘Till The World Ends’ โดดเด่นที่เทรนซ์ ซินธิไซเซอร์ เน้นย้ำด้วยอิเล็กทรอบีท ซึ่งเนื้อร้องก็เป็นในสไตล์เพลงเต้นรำในคลับที่เป็นพิมพ์นิยม ดูเหมือนจะคมคายฉลาด กับซาวด์ดนตรีอิเล็กทรอพ๊อพทางยุโรปที่ผสมผสานกับซินธิ์ที่ลงตัว เป็นเพลงแด๊นซ์พ๊อพที่สนุกสนานและเหมาะกับการใช้เปิดเพื่อสร้างความสำราญเริงรมย์เพื่อผ่อนคลายในยามเสร็จงานของเหล่าสาวๆ
‘Hold It Against Me’ ถือเป็นบทเพลงที่ใช้สไตล์ดนตรีแด๊นซ์-คลับได้อย่างดีเยี่ยมลงตัว หลอมละลายสู่สัดส่วนดนตรีดับสเต็ปที่ร้อนแรงเข้ามา ซึ่งเป็นการสร้างสีสันของดนตรีในอีกแบบของเพลงแด๊นซ์ที่รับอิทธิพลสไตล์อังกฤษมา
‘Inside Out’ ไม่มีอะไรใหม่ในเชิงของความเป็นอิเล็กทรอนิกส์แด๊นซ์ ซึ่งมีซาวด์ดนตรีอย่างนี้มากมายจนเฝือหู เป็นบทเพลงที่มีซาวด์ล้าๆ และกรูฟช้าๆ สื่อความหมายซึ่งเสมือนการวิงวอนถึงความรักของเธอที่ทำให้มีบางสิ่งเพื่อที่จะจดจำ แสดงให้เห็นถึงการนำกลิ่นอายและอิทธิพลทางดนตรีดับสเต็ปมาผสมผสานให้เกิดเสียงอึมครึมที่ขมวดอารมณ์ให้เกิดภาวะเศร้าซึมในอารมณ์เพลง
‘I Wanna Go’ มีบุคลิกทางดนตรีเน้นนำด้วยเสียงสังเคราะห์อย่างแท้จริง เป็นบทเพลงสนุกสนานที่ใช้ซาวด์ดิสโก้มาบิดทำให้ร่วมสมัยและดูเก๋ไก๋ด้วยเสียงผิวปากที่โดดเด่นและมีเสน่ห์ทำให้ตัวเพลงลอยออกมาอย่างน่าประทับใจ ซาวด์เก่าที่ดูเหมือนเชยแต่นำมาแปลงจนได้ใจคนรุ่นปัจจุบันอย่างชาญฉลาดอยู่ในที
บทเพลงที่เห็นถึงพัฒนาการและความแตกต่างจากแนวเพลงและดนตรีเดิมๆ แบบบริทนีย์ สเปียร์ส จากที่เคยเป็นมา เป็นพัฒนาการในด้านที่ดีขึ้น เสียงของเพอร์คัสชั่นหรือเครื่องเคาะที่ยืนพื้น รวมถึงการปรบมือแทรกเข้ามาสอดคล้องพ้องกับเสียงจากกลองสแนร์ที่คุมโทนรวมทั้งหมดของดนตรีไว้ได้สมดุล รวมถึงเสียงจากดรัมแมชชีนที่วางจังหวะได้สวย เข้ากับเสียงร้องของเธอที่ใช้อารมณ์ธรรมดาๆ ไม่บีบเค้นมากอย่างลงตัว
ที่มีเสน่ห์อีกอย่างก็คือเปียโนที่เล่นแบบไม่มากมายแต่สวยแทรกเข้ามาได้ถูกส่วนและโดดเด่น ให้กลิ่นรสของเพลงและดนตรีที่แปลกออกไป ดูดิบๆ ประหลาดๆ แต่สละสลวย ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะไม่ใช่สูตรของเพลงที่เคยทำมาและตามอย่างในตลาดเพลง บทเพลง ‘How I Roll’ ใช้เทคนิคการร้องที่โดดเด่น เหมือนการท่องหลากไหลถ้อยคำต่อเนื่องมาจากกระแสสำนึก คล้ายการสะกดจิตคนฟัง ถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนวิธีคิดทางดนตรีไปข้างหน้าที่สำคัญของบริทนีย์ สเปียส์ ในอัลบั้มชุดนี้เลยทีเดียว ซึ่งเป็นซาวด์ของดนตรีแด๊นซ์ที่เปี่ยมด้วยความสนุกสนานครื้นเครงและน่าพอใจในพัฒนาการของภาพรวมทางดนตรีที่เหมาะสมกับยุคสมัย มีการถ่ายเทเบสไลน์ในรูปแบบดนตรีดับสเต็ปมาสู่ความเป็นเพลงพ๊อพได้อย่างลงตัว
บทเพลง ‘Big Fat Bass’ ที่ได้วิลล์.ไอ.แอม (will.i.am) แกนนำทางดนตรีและความคิดของวงแบล๊ค อายด์ พ์ (Black Eyed Peas) ที่สร้างกลิ่นอายดนตรีฮิพฮอพไซบอร์กให้บริทนีย์ได้อย่างรื่นเริงและไม่หลุดบุคลิกไปมากนัก เป็นบทเพลงที่ดีเด่นอีกหนึ่งเพลง การมาฟีเจอริ่งและเขียนเพลงให้ของเขา ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เห็นมิติทางดนตรีของบริทนีย์ สเปียร์ส ที่หลากหลายและเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีเสน่ห์และสีสัน โดยผสมระหว่างบุคลิกของตัวเองกับเทรนด์ดนตรีอิทรอนิกส์-ฮิพฮอพ อย่างนวลเนียน
บทเพลงที่บริทนีย์โชว์การร้องได้ดี ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการที่ก้าวไปข้างหน้า เสียงซินธิไซเซอร์ที่รกเรื้อรุงรังและสากหูในบทเพลง ‘Trouble For Me’เป็นบทเพลงในแนวฟังง่ายชักชวนให้ลุกเต้นสบายในแบบอัพแอนด์ดาวน์ ในแบบบับเบิลกัม เฮ้าส์ พิมพ์นิยม ดูเหมือนง่ายๆ ไม่มีอะไร แต่ก็แฝงสีสันของดนตรีเทคโนที่ดูดีอยู่บ้างเช่นกันในแบบของบริทนีย์
‘Trip to Your Heart’ เป็นบทเพลงที่มีจุดเด่นอยู่ที่การร้องก่อนเข้าไปสู่ท่อนประสานเสียงที่แสดงออกถึงน้ำเสียงที่สอดคล้องกับท่อนคอรัสอย่างแจ่มแจ๋ว รวมถึงซินธิไซเซอร์ที่สร้างซาวด์สังเคราะห์โอบอุ้มมวลเสียงในเพลงได้ดี มีกลิ่นอายดนตรีเทรนซ์ที่ฟุ้งลอยสวยงามด้วยเมโลดี้บ่งชี้ให้เห็นอารมณ์เปี่ยมสุขที่ลอยออกมา แม้การเขียนเนื้อร้องอาจจะติดรูปแบบทางคำและอารมณ์ความรู้สึกแบบทีนพ๊อพแบบเอาใจเด็กวัยรุ่นอยู่ก็ตาม
บทเพลงที่ดูเหมือนหลงทางไปไกลใช่น้อย ‘Gasoline’ และน่าจะเป็นเพลงที่อ่อนที่สุดในอัลบั้มทั้งเนื้อร้องและดนตรีที่ทื่อดื้อตรง เริ่มต้นด้วยพลังขับทางเสียงกีตาร์ ก่อนที่จะระเบิดมาเป็นดนตรีแด๊นซ์พ๊อพที่ดาษดื่น เมื่อมาผสมกับคำร้องที่ใช้สัญลักษณ์แบบตรงไปตรงมาทำให้ดูอ่อนยวบยาบ
เพลงที่มีโครงสร้างทางดนตรีจากเสียงอะคูสติคกีตาร์ใสกระจ่างกังวานและฟลุ๊ตหม่นหวานแบบบทเพลงโฟล์คอยู่พอควร ซึ่งแปลกแยกแตกต่างจากบทเพลงอื่นๆ ในอัลบั้มโดยสิ้นเชิง บทเพลงปิดท้ายที่ชื่อ ‘Criminal’ ใช้วิธีการร้องเพลงให้ลงจังหวะที่สอดรับกับเสียงฟลุ๊ตที่ขับเปล่งกังวานสากหูหม่นหมอง บริทนีย์ร้องเพลงนี้ได้ถึงอารมณ์เป็นอย่างมาก เสียงสวยเศร้าของเธอลอยอ้อยอิ่งแผ่กำจายความโศกลึกออกมาในเนื้อเสียงและน้ำเสียงที่ตกกระทบสู่โสตคนฟัง ผนวกกับเสียงอะคูสติคกีตาร์ที่เป็นแกนเดินนำดนตรีภายใต้เสียงซินธิไซเซอร์ที่อ่อนโยนครอบคลุมบรรยากาศในตัวเพลง เป็นเพลงพ๊อพที่มีเมโลดี้สวยงามผ่องแผ้ว เนื้อร้องลงถึงห้วงลึกภายในของคนสำนึกผิด แม้ความรักจะเลวร้ายแต่มันก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะยอมรับมัน
การทอดอาลัยกับห้วงเวลาของวัยรุ่นที่ลาจากไป สู่โลกแห่งความจริงของความเป็นผู้ใหญ่ การใช้สร้อยที่ร้องท่อนประโยคว่า bum bum bum ซึ่งมีอารมณ์แบบบับเบิลกัม โดยเฉพาะเสียงฟลุ๊ตที่มีเมโลดี้ในแนวดนตรีของเทพนิทาน และจังหวะที่สดใสเหมือนอยู่ในอารมณ์ฤดูร้อนอันผุดผ่องที่ย้อนแย้งกับตัวเนื้อหาในเพลง สมบูรณ์แบบและเป็นอิสระของบทเพลงที่ดีเลิศโดยตัวมันเอง ที่ได้สมดุลลงตัวกับคนร้องเพลงอย่างยอดเยี่ยมในแบบร๊อคบัลลาดที่รับอิทธิพลมาจากมาดอนน่าและแอ๊บบ้า
ภาพรวมของอัลบั้ม แม้จะเน้นหนักไปที่ดนตรีแด๊นซ์ โดยเฉพาะความใส่ใจเพื่อจะผลิตท่อนฮุคให้ติดหูติดปากโยกย้ายส่ายสะโพก โดยไม่ต้องสนใจถึงความลึกของเนื้อหาและดนตรีที่มีอยู่บ้างแต่พอสวย โดยมีอารมณ์ความรู้สึกรุนแรงและรวดร้าวจากอัลบั้มชุดนี้ ก็เข้าใจได้ทันทีเลยว่า บริทนีย์ต้องการที่จะแยกตัวเองออกจากการกระทำของเธอจากอดีต กลับขึ้นเวทีเพื่อก้าวสู่ความเป็นแด๊นซ์-พ๊อพ สตาร์ ยุคใหม่ด้วยการสื่อความหมายผ่านคำว่า ‘Femme Fatale’ ที่ใช้เป็นชื่ออัลบั้ม และต้องการเป็นผู้นำเทรนด์ดนตรีเต้นรำ รื้อฟื้นคืนชื่อเสียงในฐานะอันดับหนึ่งของโลกให้ได้อีกครั้ง เธอต้องยืนหยัดในฐานะเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพและก้าวข้ามขึ้นสู่จุดที่สูงกว่าให้ได้
สอบผ่านสู่ขอบเขตใหม่?
เมื่อมาดูถึงการเรียงเพลงทั้ง 12 บทเพลง จากเพลงแรกเริ่มต้นไปสู่บทเพลงสุดท้าย อัลบั้ม ‘Femme Fatale’ มีลักษณะเฉพาะที่มีความพิเศษอยู่ในการนำธีมของดนตรีแด๊นซ์พ๊อพนำมาร้อยกันได้อย่างลื่นไหล ตั้งแต่เพลงแรกเปิดหัวสู่บทเพลงต่อๆ ไปอย่างเป็นเอกภาพสอดคล้องกัน ซึ่งได้ทั้งพลังของจังหวะเพลงแด๊นซ์ที่ขับเคลื่อนออกมากับธีมของความรักและความปรารถนา รวมถึงความเศร้ารันทด เนื้อเพลงมีถ้อยความและเนื้อคำที่บ่งชี้ถึงความเข้าใจโลก ตกผลึกในด้านความรักและความเจ็บปวดในฐานะมนุษย์ผู้อ่อนไหวรู้ถูกผิดดีชั่ว
ดูเหมือนว่าหน้ากากพลาสติกที่เธอสวมใส่ในนาม บริทนีย์ สเปียร์ส ในโลกของดนตรีทีนพ๊อพสวยใสกรุ่นกำดัดไร้เดียงสาที่นำเสนอต่อผู้คนในอดีตที่ผ่านมา จะถูกฉีกออกเผยตัวตนที่แท้จริงในช่วงครึ่งทศวรรษหลังสุด แต่เธอก็ยังยืนยันตัวเองถึงดนตรีและบทเพลงของเธอว่า
“ฉันรู้ว่ามีศิลปินมากมายที่เกลียดเพลงที่ตัวเองบันทึกเสียง แต่ฉันไม่เคยรู้สึกถึงสิ่งเหล่านั้น เพราะฉันรักดนตรีที่เคยทำมาทั้งหมดของฉัน”
หากความหมายของคลับ แบงเกอร์ คือ บทเพลงที่ทำให้เหล่าผู้หญิงเจ้าสำราญรักสนุกในโลกกลางคืน ย่ำยามราตรีสู่ชีพจรของผับคลับแด๊นซ์ บทเพลงในอัลบั้มชุด ‘Femme Fatale’ ก็ต้องอยู่ในขอบข่ายนี้แน่นอนที่จะทำให้พวกเธอกระโดดขึ้นสู่ฟลอร์เต้นรำเพื่อปาร์ตี้ปลดปล่อยตัวเอง เริงระบำในโลกของเสียงเพลงอย่างมิรู้เวลา ดังบทเพลงแรกในอัลบั้ม ‘Till The World Ends’ ที่มีเนื้อร้องท่อนหนึ่งเน้นย้ำว่า ‘keep on dancing till the world ends’
ถ้าย้อนหลังกลับไปสู่อดีต ในฐานะที่เธอเป็นซูเปอร์สตาร์ทีนพ๊อพ ซึ่งเป็นดนตรีพ๊อพสำหรับวัยรุ่นวัยใสที่มีการนำเอาองค์ประกอบของดนตรีบับเบิลกัม, แด๊นซ์พ๊อพ, พ๊อพ, เออร์เบิ้นบัลลาด มาทำเป็นเพลงเพื่อตลาดเพลงวัยรุ่นโดยเฉพาะ และบริทนีย์ก็ถือเป็นผู้นำดนตรีแขนงนี้เข้าสู่ยุค 2000’s อย่างแท้จริง เมื่อมาดูในงานชุดหลังๆ บริทนีย์พยายามสลัดความเป็นทีนพ๊อพให้หลุดออกเพื่อเข้าสู่วงโคจรของดนตรีแด๊นซ์พ๊อพที่มาพร้อมกับความเซ็กซี่เย้ายวน
หากว่าไปแล้วดนตรีแด๊นซ์พ๊อพนั้นไม่เคยตายหรือจางหายไปจากดนตรีกระแสหลักเช่นกัน ตั้งแต่ได้รับความนิยมในกระแสหลักทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในยุคทศวรรษที่ 80 และขยายขอบข่ายไปทั่วโลกในยุคปลายทศวรรษที่ 90 และกลับมาได้รับความนิยมจนกลายเป็นดนตรีกระแสหลักที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอเมริกายุคนี้อีกครั้ง
รากเหง้าของแด๊นซ์พ๊อพนั้น เป็นการแตกแขนงมาจากดนตรีดิสโก้ ด้วยโครงสร้างจังหวะที่รัวกระหน่ำ นำบีทของแด๊นซ์คลับมาทำให้ง่ายละมุนหูขึ้น มีเมโลดี้ที่ดึงดูดและจับใจ มันจึงเป็นมากกว่าดนตรีเต้นรำธรรมดา เพราะมีส่วนผสมของการนำเสนอนักร้องที่มีเสียงร้องในระดับคุณภาพหรือทะลุขึ้นถึงระดับดีว่า (Diva) หรือนักร้องเสียงทอง และการเต้นรำหรือแด๊นซ์ที่มีการจัดองค์ประกอบที่โดดเด่น ผนวกกับการสร้างความบันเทิงทางสายตาผ่านแฟชั่นเซ็กซี่ยั่วยวนใจ และทีมนักเต้นหรือแด๊นเซอร์ที่เจนจัดชำนาญมาเสริมให้
แน่นอน...ในอัลบั้มชุด ‘Femme Fatale’ นี้สามารถนำสัญชาตญาณและธาตุของดนตรีแด๊นซ์พ๊อพมาใช้กับบริทนีย์ สเปียร์ส ได้อย่างชาญฉลาด โดยเพิ่มความทันสมัยของซาวด์ดนตรีซึ่งกำลังนิยมในฝั่งอังกฤษคือ ดับสเต็ป ได้อย่างลงตัวเหมาะสม
เพราะดับสเต็ปถือเป็นประเภทของดนตรีแด๊นซ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งริเริ่มเกิดขึ้นมาจากทางตอนใต้ของลอนดอนในอังกฤษ เสียงโดยรวมทั้งหมดของดนตรีแบบนี้ก็คือ มวลของเสียงดนตรีจะหนาแน่น โดยเฉพาะไลน์เบสและรูปแบบของกลองที่สะท้อนก้องกังวานอย่างอื้ออึงจะเป็นแกนครอบรวมเสียงทั้งหมด มีแซมเพิล และเสียงร้องแทรกเข้ามาบางครั้งคราวเท่านั้น ให้ความรู้สึกที่มืดดำและหม่นหมอง
แม้ดนตรีพ๊อพจะกัดกินตัวของมันเอง แต่ ‘Femme Fatale’ ไม่ใช่งานเพลงที่ครุ่นคิดหรือหวนหาอดีต แต่เป็นการเดินทางเข้าไปสำรวจหัวใจที่แตกสลาย ด้วยเสียงร้องของคนที่อ่อนล้า แต่เปี่ยมด้วยความทะเยอทะยานในการที่จะแสดงถึงพลังขับทางดนตรีของตัวเธอเองในความเป็นบริทนีย์ สเปียร์ส ที่จะก้าวเดินไปสู่อนาคต
แต่ถ้ามองอีกมุม ผ่านการปรุงแต่งของเทรนด์ดนตรีกระแสหลัก งานเพลงชุดนี้จัดเป็นการรับอิทธิพลจากแนวทางดนตรีของมาดอนน่า มาผสมกับไคลี่ มิโนค ซึ่งเป็น 2 พ๊อพสตาร์ดนตรีแด๊นซ์ที่เป็นตัวแทนยุคทศวรรษที่ 80 อันฟุ้งจรัส ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บริทนียเองมิสามารถหาบุคลิกทางดนตรีที่เป็นลักษณะเฉพาะและแสดงพัฒนาการของตัวเธอเองได้อย่างแจ่มชัด เพราะเธอไม่เคยเขียนเพลงของตัวเอง แน่นอนว่าไปแล้ว ถึงเธอจะมีพรสวรรค์ทางด้านเสียงร้อง แต่ทักษะการร้องที่วิเศษและพิเศษในระดับเข้มข้นถึงขั้นนักร้องเสียงทองหรือดิว่า (Diva) เธอก็ไม่สามารถขึ้นไปถึงได้อยู่ดี รวมถึงภาพลักษณ์และเรื่องราวชีวิตส่วนตัวที่ปรากฏภาพเป็นข่าวฉาวสติแตกในรอบหลายปีหลัง ทำให้ชีวิตทั้งหมดของเธออยู่ในช่วงขาลง
ปัญหาของบริทนีย์ที่ทำให้เธอไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่เด็ดเดี่ยวแสดงถึงตัวของเธอเองได้ก็คือ การที่เธอไม่สามารถเขียนเพลงเองทั้งเนื้อร้องและไอเดียทางดนตรี ทั้งที่วัยวุฒิและคุณวุฒิตรงนี้เลยมาถึงอายุหลักเลข 3 นำหน้าเข้าไปแล้ว สำคัญอย่างยิ่งในการก้าวขึ้นสู่ความเป็นซูเปอร์สตาร์
คำถามของเธอก็คือ พลังทางดนตรีของเธอมีอยู่จริงหรือไม่?
สำหรับสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ของบริทนีย์ เธอมีพรสวรรค์ในการร้องเพลง การแสดงบนเวที และความเป็นเอนเทอร์เทนเนอร์ แต่ในเรื่องของความสามารถและความคิดในเชิงของดนตรีและบทเพลงที่ออกมาตัวเธอเอง กลับไม่มีพรสวรรค์ในทางนี้ ซึ่งต้องอาศัยทีมทำเพลงและผลิตดนตรีป้อนให้ ทำให้เธอไม่สามารถทะลุผ่านขึ้นมาสู่อีกระดับได้อย่างที่ใจอยากเป็น ซึ่งต้องรับสภาพตรงนี้ให้ได้ เพราะนักร้องที่ขึ้นเป็นซูเปอร์สตาร์ เกือบร้อยทั้งร้อยสามารถนำเสนอการเขียนเพลงและไอเดียทางดนตรีที่เป็นของตัวเองที่มีลักษณะเฉพาะตัวออกมาได้เหนือโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ที่เคยอยู่ในระนาบเดียวกัน
แม้บทเพลงและดนตรีของบริทนีย์จะสร้างความสุขสนุกสนานบันเทิงเริงรื่นให้กับคนฟังและแฟนเพลง แต่เธอก็อธิบายถึงจุดประสงค์และรากฐานของที่มาในบทเพลงไม่ได้ เพียงแต่มีคนป้อนให้เธอและคาดเดาถึงตลาดเพลงกระแสหลักว่า เธอเอามันอยู่ เห็นได้จากการทำงานเป็นระยะเวลายาวนานกับทีมทำเพลงและโปรดิวเซอร์ แม็กซ์ มาร์ติน และ ดร.ลุค ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปั้นและสร้างเพลงให้เธอมาจนถึงปัจจุบันนี้
ว่าไปแล้ว บริทนีย์เป็นนักร้องที่สามารถปรับแปลงปรุงแต่งตัวเองได้ดี ตั้งแต่ก้าวเข้าสู่อาชีพอย่างจริงจังในวัยเด็ก โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ปรากฏสู่สาธารณชนทั้งชีวิตส่วนตัวและการร้องเพลง เธอเปลี่ยนจากเด็กน้อยเจื้อยแจ้วและร้องเพลงเก่งเกินวัยในสไตล์ดิสนีย์ คลับ แปลงโฉมมาสู่นักร้องวัยรุ่นสวยใสแจ่มจรัสสดชื่นเปี่ยมสีสัน และคลี่คลายสู่ภาพของเซ็กซี่สตาร์ด้วยระดับที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนแตกกระจายไม่มีชิ้นดีผ่านภาพชีวิตส่วนตัวและการสมรสที่ล้มเหลวจิตแตก
แม้อัลบั้ม ‘Blackout’ ของเธอจะได้รับการยอมรับว่า เป็นอัลบั้มโมเดิร์น พ๊อพ ที่เยี่ยมก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องฝีมือของทีมทำเพลงและผลิตดนตรีล้วนๆ เธอเป็นแค่คนส่งผ่านนำความคิดทั้งหมดออกมาสู่คนฟัง เมื่อมาถึงการเขียนเนื้อร้องในอัลบั้มชุดนี้ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจน ดูเหมือนตั้งใจให้ร้องง่ายติดปาก ความหมายทื่อๆ ตรงไปตรงมาให้จำง่ายๆ ติดหูติดปากติดใจทันที เพื่อผลิตเพลงแด๊นซ์ในแบบกลิ่นอายยูโรที่หลากหลายและผสมซาวด์อิเล็กทรอแด๊นซ์ร่วมสมัยเข้ามา เป็นสูตรที่พยายามสร้างเพลงฮิตร่วมสมัยขึ้นมา
การอยู่ในช่องว่างระหว่างทางที่เหลื่อมล้ำซ้ำซ้อน ระหว่างภาพของการขึ้นเป็นภาพจำหลักของวงการเพลงพ๊อพอันสำคัญโดดเด้งแห่งยุคสมัย กับภาพหุ่นเชิดทางดนตรีที่แสนสวยงามของทีมทำเพลงผลิตดนตรีเพื่อตลาดเพลงกระแสหลัก ยังไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แม้จะมีความพยายามสักเพียงใดก็ตาม ตราบเท่าที่บริทนีย์ สเปียร์ส ยังไม่สามารถเขียนเพลงของตัวเองและเสนอความคิดทางดนตรีที่เธอต้องการได้ โดยมีเครดิตอย่างเป็นรูปธรรม หากเธอยังอาศัยใบบุญพึ่งคนอื่นในการผลิตเพลงอย่างที่ผ่านมา ก็ต้องเป็นภาวะที่เหนื่อยหนักและเป็นภาระที่ต้องแบกไว้ในการสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับความเก่งกาจทางการร้องเพลงและผู้นำเทรนด์ดนตรีของโลกที่พยายามนำเสนอมาตลอด
เธอต้องเรียนรู้เพื่อจะเดินไปข้างหน้าทางด้านดนตรีและความเป็นตัวของตัวเองในบทเพลง หลังจากเยียวยาตัวเองเสร็จแล้ว ข้ามเส้นแบ่งบางๆ ของคำว่า นักแสดงเพลงหรือเพอร์ฟอร์แมนซ์ ไปสู่พลังขับเคลื่อนที่แท้จริงของคำว่า ‘ศิลปิน’ เพื่อแสดงตัวตนในวัฒนธรรมดนตรีกระแสหลักอีกคำรบหนึ่ง ในช่วงที่วันวัยเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสาวเต็มวัย สะพรั่งสู่สาวใหญ่อย่างเต็มตัว
เพราะในปัจจุบัน สามารถพูดง่ายๆ ว่า บริทนีย์ สเปียร์ส ไม่มีอะไรเลยในมิติทางด้านบทเพลงและดนตรีที่ออกมาจากตัวเธอเอง เสียงที่โดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะทางดนตรีล้วนใช้พลังขับเคลื่อนและดึงดูดใจทางเพศและความเซ็กซี่เย้ายวนผ่านภาพลักษณ์หน้าตารูปร่างและการดีดดิ้นผ่านมิวสิควิดีโอและบนเวทีการแสดง ผนวกกับการผลิตเพลงจากทีมทำเพลงที่เข้าใจบุคลิกของเธอและทิศทางดนตรีพ๊อพกระแสหลัก ทายใจรสนิยมดนตรีของคนฟังในตลาดเพลง
จุดอ่อนอีกอย่างสำหรับภาพลักษณ์ส่วนตัวของบริทนีย์ สเปียร์ส ทั้งชีวิตส่วนตัวและการแสดงออกทางความคิดและจุดยืนผ่านคำร้องในบทเพลงของเธอ เมื่อเปรียบเทียบกับ ไคลี่ มิโนค, มาดอนน่า, เลดี้ กาก้า หรือแม้กระทั่งริฮันน่า จุดที่อ่อนแอที่สุดของเธอคือการยอมจำนนในเชิงเพศสภาพ โดยไม่มีภาพของความเป็นเฟมินิสท์หรือภาพของผู้นำในการสนับสนุนกระบวนการเพื่อความเสมอภาคของสิทธิสตรี เป็นเพียงผู้ฟื้นฟูสภาพตัวเองจากความพ่ายแพ้ในเกมชีวิตทางเพศและครอบครัวที่กำลังกลับสู่ฟลอร์เต้นรำ
ในปัจจุบันที่ตลาดเพลงพ๊อพกำลังอยู่ในภาวะอิ่มตัวกับนักร้องสาวที่มาแรงในรุ่นหลัง อย่าง เกชา (Ke$ha) แคที่ เพอร์รี่ (Katy Perry) นิโคล เชอร์ซิงเกอร์ (Nicole Scherzinger) รวมถึงริฮันน่า(Rihanna) ที่กำลังก้าวสู่ขอบเขตของความเป็นซูเปอร์สตาร์ แม้ทั้งหมดจะถูกเลดี้ กาก้า แย่งซีนไปอย่างไม่ไว้หน้าก็ตาม บริทนีย์ สเปียร์ส ก็พยายามกลับเข้ามาสู่ลู่วิ่งของการแข่งขันนี้อย่างเต็มที่และเข้มแข็งอยู่ในที ผ่านทางภาพลักษณ์ผู้หญิงกร้านเจนจัดโลกแต่ไม่ถึงระดับขั้นแพศยา ที่มาทดแทนภาพความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาในอดีต
ในมาตรวัดทางดนตรีและเสียงร้องของบริทนีย์ สเปียร์ส ที่นำเสนอออกมาตั้งแต่อดีต จากทศวรรษกว่าๆ ที่ผ่านมา โดยมาตรฐานแล้วถือว่า เธอมียุคทองของเธอที่แสดงออกของดนตรีพ๊อพที่เพราะพริ้งรื่นหูที่มีอารมณ์ความรู้สึกสดใสก๋ากั๋นเคลือบดนตรีฟังค์กี้สีสันลูกกวาดแบบวัยรุ่นในปี 2000 (พ.ศ.2543) ผ่านอัลบั้ม 'Oops!...I Did It Again'
แต่ในโลกดนตรียอดนิยมยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการมาถึงของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ แด๊นซ์ และอิเล็กทรอนิกส์ ฮิพฮอพ มีนักร้องสาวมากมายที่อยู่บนเส้นทางสายนี้และก้าวขึ้นแซงหน้าบริทนีย์ สเปียร์ส ที่พยายามสลัดภาพเก่าๆ ของตัวเองทั้งในโลกดนตรีวัยรุ่นและภาพลักษณ์ส่วนตัวที่แหลกเหลวดำดิ่ง มีผลต่อบุคลิกภาพในโลกจริงและโลกมายาที่กัดกร่อนตัวเอง
แม้ ‘. . . Baby One More Time’ เป็นบทเพลงบับเบิลกัมในแบบทีนพ๊อพที่สร้างความมหัศจรรย์ให้เธอก้าวขึ้นเป็นนักร้องระดับโลกภายในชั่วข้ามคืน ความพยายามที่จะทะยานจากพ๊อพ ไอดอล หรือนักร้องขวัญใจวัยรุ่นยกระดับขึ้นสู่พ๊อพ ไอคอน สัญลักษณ์ของดนตรีและวัฒนธรรมพ๊อพที่มิถูกกาลเวลากัดกินได้ของ บริทนีย์ สเปียร์ส ก็ต้องทำงานอย่างเหนื่อยหนักกันต่อไป
การเปลี่ยนผ่านของช่วงวัย จากเด็กสู่วัยรุ่นและข้ามสู่ความเป็นผู้ใหญ่ใจแตกกร้านชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ เธอยังสร้างความน่าตื่นเต้นในดนตรีสมัยใหม่ที่แสดงถึงความก้าวล้ำอยู่อย่างต่อเนื่อง ‘Femme Fatale’ ก็น่าจะเป็นทางผ่านหนึ่งที่จะก้าวไปสู่อนาคตที่ไม่แน่นอน ท่ามกลางโลกดนตรียอดนิยมที่เปลี่ยนแปรไปอย่างรวดเร็ว...
>>>>>>>>>>
……….
รายชื่อบทเพลงในอัลบั้ม ‘Femme Fatale‘ ของ บริทนีย์ สเปียร์
1. ‘Till the World Ends’
2. ‘Hold It Against Me’
3. ‘Inside Out’
4. ‘I Wanna Go’
5. ‘How I Roll’
6. ‘(Drop Dead) Beautiful’ (featuring Sabi)
7. ‘Seal It with a Kiss’
8. ‘Big Fat Bass’ (featuring will.i.am)
9. ‘Trouble for Me’
10. ‘Trip to Your Heart’
11. ‘Gasoline’
12. ‘Criminal’
.........
ฟังมาแล้ว
>>>>>>>>
The Sun Come out (Sale el Sol) / Shakira
เพิ่งตกเป็นกระแสข่าวในการมาควงกับเคราร์ด ปิเก้ นักเตะกองหลังของยอดทีมแห่งสเปน อย่าง บาร์เซโลน่า และเป็นขุนพลชุดแชมป์โลกของทีมชาติสเปน สำหรับร๊อคสตาร์สาวชาวโคลัมเบียนคนนี้ ที่ผูกพันกับฟุตบอล รวมถึงเป็นนักร้องเพลงฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ อย่างเป็นทางการ
กับการไปท่องโลกผ่านบทเพลงภาษาอังกฤษมาพักใหญ่ แต่คงไม่ถูกจริตมากนัก จึงกลับมาทำงานเพลงในภาษาสเปนที่คงความหนักแน่นแบบละตินร๊อคที่จัดจ้านไว้ครบเครื่อง สื่อถึงพลังทางดนตรีที่ยังเปี่ยมความสดอย่างเป็นธรรมชาติ ดนตรีที่หนักแน่นละเมียดละไมที่อัดแน่นถึง 15 บทเพลง ทำให้เห็นว่า ยิ่งนานความยอดเยี่ยมของเธอยิ่งมากขึ้น ตามประสบการณ์และวันวัยทั้งเสียงร้องและดนตรีร๊อคในแบบละตินที่ไม่เหมือนใคร
Divas are forever / Shirley Bassey
แม้จะไม่มีบทเพลง ‘Can't Take My Eyes Off Of You’ ซึ่งเป็นเพลงในระดับบิ๊กฮิตในเมืองไทยของเธอ แต่บันทึกการแสดงสดที่กรุงอันท์เวิร์ป เบลเยี่ยม ในปี 1997 (พ.ศ.2540) ก็ยังคงความขรึมขลังและโชว์ความสามารถในการร้องเพลงและการแสดงได้สมกับชื่อคอนเสิร์ต
เธอนำบทเพลงในยุครุ่งเรือง กับการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เจมส์บอนด์ และโด่งดังเลื่องระบือไปทั้งโลกมาร้องบนเวทีนี้ไว้ครบครัน พร้อมเพลงฮิตที่โชว์พลังเสียงอย่างสุดกู่ไว้อย่างเต็มที่ แถมปิดท้ายด้วยสารคดีชีวิตส่วนตัวของเธอ
Wind-up City / ละอองฟอง
อัลบั้มชุดที่ 3 แต่เป็นชุดที่ 2 ในสังกัดสไปซี่ ดิสค์ ถือว่ามีระยะห่างในการทำงานมากพอสมควรทีเดียว กับอัลบั้มชุด 2 ‘Cozy Collection’ ถึงเกือบ 6 ปีเต็ม หากนับตั้งแต่ออกอัลบั้มชุดแรกในปี 2539 พวกเขาก็ยืนระยะมาถึงวันนี้ถึง 15 ปีเต็ม
ดนตรีในอัลบั้มชุดนี้ก็ยังคงระดับที่ไว้ใจได้ในเอกลักษณ์ของทางวง คือดนตรีในแนวสวีดิชพ๊อพที่ยืนหยัดมาตลอด ซึ่งว่าไปแล้วก็ไม่มีอะไรใหม่ แต่ถือเป็นวงเดียวในเมืองไทยที่เล่นแนวนี้ โดยเป็นดนตรีพ๊อพที่มีส่วนผสมของความสดใสเจิดจ้าของอารมณ์เพลง สีสันดนตรีที่มีท่วงทำนองลอยล่องออกมาด้วยเมโลดี้สวยๆ ผสมด้วยกลิ่นอายของดิสโก้บีท และเสียงคีย์บอร์ดที่ปูโอบอุ้มบรรยากาศในตัวเพลง
12 บทเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ขับเคลื่อนด้วยเสียงร้องบีบเล็กง้องแง้งของนักร้องนำสาวเช่นเดิม บางเพลงที่เป็นบัลลาดเนิบช้าก็มีกรุ่นอายของแจ๊ซที่เข้าท่าเข้าที ถือว่าเป็นงานที่ออกมาตามสภาพและมาตรฐานที่อยู่มือมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการจับอารมณ์คนฟังเพลงพ๊อพไทยรุ่นใหม่ได้ชะงัด
Olympia / Bryan Ferry
คนดนตรีระดับตำนานในยุคทศวรรษที่ 70 ที่โด่งดังเป็นจำหลักของยุคสมัยผ่านวงดนตรีร๊อกซี่ มิวสิค วงร๊อคหัวก้าวหน้าที่โดดเด่น เมื่อเป็นศิลปินเดี่ยวก็ยังรักษาเพดานการทำงานได้สูงเช่นเดิม คราวนี้มีอัลบั้มใหม่ออกมา เป็นงานชุดที่ 13 เข้าไปแล้ว
ยังคงความละมุนละม่อมละเมียดละไมของดนตรีร๊อคแบบผู้ใหญ่ ที่สุขุมคัมภีรภาพเป็นเสน่ห์อยู่มิห่างหาย โดยเฉพาะการโชว์ฝีมือและเชิงชั้นทางดนตรี เพราะแค่ 10 บทเพลงที่บรรจุอยู่ในอัลบั้ม ในแต่ละเพลงมีนักดนตรีและนักร้องร่วมเป็นแขกรับเชิญหลากหลายมากมายแตกต่างกันไป แสดงถึงบารมีของคนดนตรีรุ่นใหญ่อย่างแท้จริง
นับได้ว่าเป็นงานดนตรีที่ดี เนื้อร้องสละสลวย กับ 49:12 นาทีที่ฟังรวดเดียวจบทั้งอัลบั้มอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ด้วยดนตรีในแบบคอนเทมโพรารี่ พ๊อพร๊อคที่สมวัย โดยเฉพาะเสียงร้องประสานที่เพราะพริ้งและจัดวางองค์ประกอบได้ชาญฉลาด
………
ชีพจรดนตรี
>>>>>>>>>
คอนเสิร์ต ‘เจมส์ บลันท์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก’
หลังจากปล่อยให้แฟนเพลงชาวไทย ตั้งตารอคอยมายาวนาน ในที่สุด เจมส์ บลันท์ (James Blunt) เจ้าของเพลงดัง ‘You’re Beautiful’ ก็มีคอนเสิร์ต ‘เจมส์ บลันท์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก’ (James Blunt live in Bangkok) โดยสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ภูมิใจนำเสนออีกหนึ่งคอนเสิร์ตระดับโลก สู่ชาวไทยกับอีกหนึ่งศิลปินคุณภาพ เจมส์ บลันท์ เจ้าของยอดขายกว่า 15 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก มีผลงานเพลงฮิตติดชาร์ตมากมาย ที่แฟนเพลงทั่วโลกรวมทั้งแฟนเพลงชาวไทย ต่างเฝ้ารอชมการแสดงสด
ศิลปินหนุ่มชาวอังกฤษผู้นี้ เป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลงมากความสามารถ แจ้งเกิดตั้งแต่ผลงาน อัลบั้มแรก ‘Back to Bedlam’ ที่ส่งให้เขาก้าวขึ้นเป็นซุปเปอร์สตาร์ของโลกด้วยเพลง ‘You’re Beautiful’ ขึ้นอันดับหนึ่งใน 18 ประเทศ และติดอันดับท็อปเท็นใน 35 ประเทศ ขึ้นอันดับ 1 ในบิลบอร์ดชาร์ต ซึ่งกลายเป็นศิลปินจากอังกฤษคนแรก ที่ทำได้นับตั้งแต่เพลง 'Candle in the Wind 1997' ของเอลตัน จอห์น โดยอัลบั้มชุดนี้ก็ขายได้มากกว่า 10 ล้านชุดทั่วโลก
เจมส์ บลันท์ ก็ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องถึงอัลบั้มชุดที่ 2 ‘All the Lost Souls’ ที่มียอดขายกว่า 5 ล้านก็อปปี้ทั่วโลก เพลง ‘1973’, ‘Same Mistake’ และ ‘Carry You Home’ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ได้รับรางวัลและการยกย่องมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 2 รางวัลบริท อวอร์ด, 2 รางวัล เวิร์ลด์ มิวสิค อวอร์ด, 2 รางวัล เอ็มทีวี วิดิโอ มิวสิค อวอร์ด และรางวัลเอ็มทีวี ยูโรเปี้ยน มิวสิค อวอร์ด (MTV European Music Award) นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ถึง 5 สาขา
มาถึงอัลบั้มล่าสุด ‘Some Kind of trouble’ เพลงเปิดตัวของอัลบั้มนี้ได้แก่เพลง ‘So Far Gone’, ‘Superstar’ และ ‘Stay the Night’ ก็โด่งดังเป็นเพลงฮิต แม้ศิลปินมากความสามารถผู้นี้ จะมีความรักในการเขียนเพลงมากเพียงใด แต่ความสุขเหนือสิ่งอื่นใดของเขาก็คือ การได้เปิดการแสดงสด ได้เดินทางและแบ่งปันเสียงเพลงให้กับผู้ชม สำหรับทัวร์คอนเสิร์ตในครั้งนี้ เจมส์ บลันท์ กล่าวว่า เขารู้สึกตื่นเต้นและตั้งตารอคอย การทัวร์คอนเสิร์ตครั้งนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น
สำหรับแฟนเพลงชาวไทย คอนเสิร์ต ‘เจมส์ บลันท์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก’ จะมีขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เวลา 19.00 น. บัตรราคา 1,000 / 2,000 /3,000 /3,500 และ 4,000 บาท ซื้อได้ที่บูธไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา สอบถามรายละเอียด และส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมได้ที่ 0-2262-3838
บอสซ่าโนน่า : ออลสตาร์ บราซิลเลี่ยน แจ๊ซ คอนเสิร์ต
เตรียมความอิ่มเอมเอาไว้ครบทุกรส! สำหรับการรวมพลังของนักดนตรีแจ๊ซครั้งสำคัญ บนเวทีคอนเสิร์ต ‘บอสซ่าโนน่า : ออลสตาร์ บราซิลเลี่ยน แจ๊ซ คอนเสิร์ต’ การผสมผสานที่ลงตัวของเพลงแจ๊ซ ทั้งความสนุก ความหวาน และน่าหลงใหล ในสไตล์ของแจ๊ซ แอนด์ ละติน สัมผัสกับอิสระแห่งดนตรีที่ไม่มีขอบเขตในอีกรูปแบบหนึ่งของเพลงแจ๊ซ
นำทีมโดยสาวน้อยเสียงหวาน ณัฐชา ปัทมพงศ์ หรือ “โอ่ง เมลโล่ โมทีฟ ศิลปินสาวเจ้าของนามปากกาว่า โนน่า ซึ่งเป็นสุดยอดเสียงคุณภาพในแนวแจ๊ซ ไม่ว่าจะเป็นแนวดนตรีแจ๊ซ, บราซิเลี่ยน, ละติน, บอสซาโนว่า พร้อมด้วยศิลปินและนักดนตรีรับเชิญขุนพลแจ๊ซที่เป็นตัวจริงแห่งแจ๊ซ แอนด์ ละติน จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น บราซิล, มาเลเซีย, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา
ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง พร้อมลูกเล่นของดนตรีแจ๊ซสดๆ ในสไตล์บราซิเลี่ยน แจ๊ซ กับเสน่ห์ที่รับรองว่าคอเพลงแจ๊ซจะต้องไม่ผิดหวัง นอกจากนี้ ยังได้อิ่มบุญไปตามๆ กัน เพราะรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายบัตร จะนำไปมอบให้ มูลนิธิสายธารแห่งความหวัง (Wishing Well Project) องค์กรระดับชาติด้านการสานฝัน ดูแลคุณภาพชีวิตเด็กโรคมะเร็ง และสนับสนุนเครือข่ายกุมารชีวันตารักษ์ เพื่อการกุศลอีกด้วย
สำหรับคอนเสิร์ต ‘บอสซ่าโนน่า : ออลสตาร์ บราซิลเลี่ยน แจ๊ซ คอนเสิร์ต’ จะมีขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2554 เวลา 19.00 น. ณ CenterPoint Playhouse ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สามารถซื้อบัตรได้แล้วที่ Thaiticketmajor ทุกสาขา โทร 0-2262-3456 หรือ www.thaiticketmajor.com บัตรราคา 1,200 , 800 และ 500 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2361-9229 และ www.centerpointplayhouse.com
คอนเสิร์ตผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต
ในช่วงเทศกาลวันแม่ปีนี้ ลูกๆ คนไหนกำลังมองหาของขวัญให้แม่อยู่นั้น ทางบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวน ลูกๆ พาคุณแม่ไปชมคอนเสิร์ต ‘ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต’ เพื่อเป็นของขวัญสุดพิเศษให้กับคุณแม่ ผ่านบทเพลงย้อนยุคในอดีตสมัยคุณแม่ยังสาว ผ่านบทเพลงอันซาบซึ้ง และไพเราะ อาทิ ขอให้เหมือนเดิม , รักคุณเข้าแล้ว , หยาดเพชร , อิ่มอุ่น ถ่ายทอดโดยศิลปินคุณภาพ อาทิ สุเทพ วงศ์กำแหง , ก้อง สหรัฐ , ศุ บุญเลี้ยง, ปั่น และ แสตมป์ และ แขกรับเชิญพิเศษ พร้อมแสง สี เสียง วงดนตรีออร์เคสตร้า โชว์ตระการตาในแบบฉบับเวิร์คพอยท์
คอนเสิร์ต ‘ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต’ มีขึ้นในวันที่ 12 - 13 - 14 สิงหาคม 2554 วันละ 2 รอบ เวลา 14.00 น. และ 19.30 น. ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ กทม. บัตรราคา 1,200 1,500 1,800 2,000 2,500 และ 3,000 บาทพร้อมอาหารบุพเฟ่ต์ทุกที่นั่ง จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา โทร. 0 2262 3456
เขมวิช ภังคานนท์ หยิบปากกาเขียนหนังสือ พร้อมแต่งเพลงเพื่อชาวญี่ปุ่น
เขม-เขมวิช ภังคานนท์ โปรดิวเซอร์ นักร้อง และนักแต่งเพลง หยิบปากกาเขียนหนังสือ ‘สิ่งที่ตี๋ไม่มีวันลืม’ พร้อมแต่งเพลง ‘โอยะสึมิ’ (Oyasumi ) ซึ่งเป็นเพลงที่รวมอยู่ในซีดีซาวด์แทรก เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า หลับฝันดี หรือ ราตรีสวัสดิ์ โดยซีดีนี้จะรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเขียเกี่ยวกับเจ้าตี๋สุนัขพันธ์บุลเทอร์เรียของ เขม เขมวิช เอง เจ้าหมาขี้สงสัยพร้อมการเล่าเรื่องในแง่มุมน่ารักๆ ด้วยคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากมาย และคำถามเหล่านี้ มนุษย์เองก็ยังสงสัย และยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักแม่และการให้
สิ่งที่ตี๋ไม่มีวันลืม และซีดีซาวด์แทรก พร้อมวางจำหน่ายตามแผงหนังสือแล้ว ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/tt.fatdog และชมมิวสิควิดีโอ โอยะสึมิ ที่ http://www.youtube.com/watch?v=sGi6igxVsA4
>>>>>>>>>>>
พอล เฮง
paulheng_2000@yahoo.com
‘แด๊นซิ่ง ควีน’ ราชินีโลกเต้นรำในทศวรรษที่ 2 ของยุค 2000 ยังมีการขับเคี่ยวฟาดฟันกันอย่างถึงพริกถึงขิง ตาต่อตาฟันต่อฟันในรูปแบบดนตรีแด๊น-พ๊อพ, คลับ-แด๊นซ์, อิเล็กทรอนิกส์แด๊นซ์ และอิเล็กทรอนิกส์-ฮิพฮอพ หรืออิเล็กทรอ ฮอพ ที่จะหาเทรนด์หรือแนวโน้มใหม่ๆ มาสะกดหูมาสะกิดใจและสกัดสายตาคนฟังให้แช่นิ่งตะลึงงันกับพวกเธอ
การมาถึงของ เลดี้ กาก้า (Lady GaGa) ที่กระแทกคนฟังจนอยู่หมัด โดดเด่นขึ้นมาสุดกู่จากการนำเสนอตัวเองต่อสื่อและการแสดงบนเวที การจัดการภาพลักษณ์และแฟชั่นที่สามารถตรึงทุกอย่างให้มีจุดศูนย์รวมหรือโฟกัสที่ตัวเธอ และที่สำคัญคือ ดนตรีและเนื้อหาในบทเพลงที่เธอเป็นคนเขียนเองร่วมกับนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ แสดงถึงตัวตนของเธอออกมาค่อนข้างสูง และไม่ตามอย่างใครในตลาดเพลง
คนที่มาก่อนต่างก็ตาตื่นและใจเต้นตุ้มๆ ต่อมๆ เพราะความแรงของเลดี้ กาก้า กันโดยถ้วนทั่ว เพราะเธอสามารถก้าวข้ามกระโดดอย่างรวดเร็วจากพ๊อพสตาร์มุ่งสู่เบอร์หนึ่งในความเป็นซูเปอร์สตาร์ของวงการเพลงฝ่ายหญิง
คริสติน่า อกีเลร่า (Christina Aguilera) ขอร่วมแจมท้าชิง เจ้าแม่เพลงแด๊นซ์-พ๊อพดั้งเดิม ไคลี่ มิโนค (Kylie Minogue) พยายามฟื้นฟูและรักษาสถานะเดิมไว้ ละติน-พ๊อพสตาร์ เจนนิเฟอร์ โลเปซ (Jennifer Lopez)หรือ เจ.โล (J.Lo) ก็พยายามขยับปรับตัวเองสู่วงการคลับแบงเกอร์อย่างเต็มฝีเร่ง รวมถึงซูเปอร์สตาร์สายเออร์เบิ้น แบล๊ค มิวสิค อย่าง บียอนเซ่ (Beyoncé) ก็ไม่ยอมทิ้งระยะห่างของงานสตูดิโออัลบั้มตัวเอง แม้แต่ รีฮันน่า (Rihanna)ที่พุ่งแรงด้วยภาพลักษณ์ความแรงของดนตรีเออร์เบิ้น พ๊อพ ที่สะท้านทรวงคนรุ่นใหม่ ก็เร่งรีบในการที่จะอยู่ในกระแสไม่ให้ตกหล่นจากการมาถึงของเลดี้ กาก้า
มิพักต้องพูดถึง มาดอนน่า (Madonna) ราชินีเพลงพ๊อพเจ้าของตำแหน่งที่ระยะหลังชักใส่เกียร์ว่างไม่ค่อยอินังขังขอบกับเทรนด์ดนตรียุคใหม่เท่าไหร่
สังเวียนแด๊นซ์ของโลกดนตรีที่แย่งชิงกันของนักร้องสาวในสายพ๊อพสตาร์ยุคปัจจุบัน จึงขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดถึงพริกถึงขิงว่า ใครจะนำเทรนด์ดนตรีและแฟชั่นเต้นรำได้ยอดเยี่ยมที่สุด
แน่นอน บริทนีย์ สเปียส์ (Britney Spaers) ก็ไม่ตกขบวน ย่อมมีชื่อเป็นแคนดิเดทหรือผู้ท้าชิงในฐานะเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพและซูเปอร์สตาร์ทีนพ๊อพในอดีต ซึ่งค่อยๆ ฟื้นฟูตัวเองขึ้นมา หลังจากเสียศูนย์จิตแตกไประยะหนึ่ง
อัลบั้ม ‘Femme Fatale’ เป็นบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งในการยกระดับตัวเอง เพื่อก้าวข้ามผ่านพ้นจากกับดักความสำเร็จและแสดงพัฒนาการทางความคิดและดนตรีไปสู่เป้าหมายใหม่ ซึ่งนั่นก็คือ ความเป็นซูเปอร์สตาร์ในฐานะ ‘แด๊นซิ่ง ควีน’ ที่ใครๆ ก็อยากไปถึง
งานเพลงสตูดิโออัลบั้มชุดนี้ สามารถมองได้หลายมุม เพราะถือเป็นขั้วต่อของปัจจัยหลายๆ อย่างในการพิสูจน์ตัวเอง ความพยายามพลิกสภาพทั้งทางดนตรี สถานะทางพ๊อพสตาร์ และชีวิตส่วนตัว เพื่อนำตัวเองสู่อีกมิติหนึ่ง
อดีตอันแสนหวาน
ในเดือนมิถุนายน ปี 2010 (พ.ศ.2553) บริทนีย์ สเปียร์ส ยังรักษาสถานะที่เด่นดังเอาไว้ได้ในภาพรวม เมื่อถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 จาก 100 บุคคลที่เป็นเซเลบริตี้ที่ทรงอิทธิพลและเปี่ยมด้วยอำนาจหรือสมรรถภาพทางด้านชื่อเสียงของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเธอเป็นอยู่ในลำดับที่ 3 ของคนในวงการเพลงที่ถูกเลือกโดยฟอร์บส์ นิตยสารทางการเงินและเศรษฐกิจอันมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับโลก
ในปี 2003 (พ.ศ.2546) ในงานเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิค อวอร์ดส์ ปรากฏการณ์อันลือลั่นบนเวทีแสดงด้วยบทเพลง ‘Like a Virgin’ การขึ้นมาร้องเพลงพร้อมด้วยนักร้องคู่แข่งที่โดดเด่นแย่งซีนกับเธอในยุคสมัยแห่งความร้อนแรงนั้น บริทนีย์ สเปียร์ส กับคริสติน่า อากีเลร่า ร่วมกันร้องเพลงนี้ได้ครึ่งเพลงก็มีราชินีเพลงพ๊อพ มาดอนน่า โดดขึ้นมาร่วมวง และมีจุมพิตอย่างดูดดื่มระหว่างสามนักร้องบนเวที โดยเฉพาะการจูบแลกลิ้นหรือฟรองซ์ คิส ระหว่างบริทนีย์กับมาดอนน่า จนกลายเป็นความจดจำที่เล่าลือมาถึงทุกวันนี้ ในความร้อนแรงของสามสาวแห่งวงการเพลงพ๊อพโลกในขณะนั้น
ล่าสุด บริทนีย์ก็ใช้สูตรเดิมด้วยการจูบอย่างดูดดื่มกับรีฮันน่า บนเวทีการแสดงของงานมอบรางวัลบิลบอร์ด มิวสิค อวอร์ดส 2011
สำหรับแววของศิลปินในยุคเริ่มแรกของบริทนีย์ สเปียร์ส นอกจากพรสวรรค์ทางด้านการร้อง การเต้น และการแสดงแล้ว สิ่งที่มีอยู่ในตัวเธอที่ฉายรัศมีออกมา ซึ่งสำคัญที่สุดที่ไปเข้าตา แบรี่ ไวส์ ผู้บริหารค่ายเพลงจิฟ ที่บอกว่า ความโดดเด่นที่บริทนีย์มีอยู่นั่นก็คือ ดวงตาของพยัคฆ์ 'eye of the tiger' ซึ่งกลายเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เธอได้รับการเซ็นสัญญาในการเป็นนักร้องออกอัลบั้มมาในตลาดเพลง ซึ่งว่าไปแล้วก็เปรียบเสมือนการดูโหงวเฮ้งแบบศาสตร์ของคนจีนนั่นเอง
หากจะเปรียบเทียบกับ เด็บบี้ กิ๊บสัน (Debbie Gibson) ในแง่ของความเป็นบับเบิลกัม พ๊อพ สตาร์ ในยุคทศวรรษที่ 80 ในยุคแรกเริ่มแรกของบริทนีย์ สเปียร์ส ได้นำดนตรีเค้าร่างของบับเบิลกัมพ๊อพสู่ความเป็นทีนพ๊อพสมัยใหม่ได้อย่างโดดเด่น ฉีกหนีไม่ตกอยู่ภายใต้ร่มเงาของผู้มาก่อนในยุคทศวรรษที่ 80 แต่อย่างใด
ในช่วงเวลา 12 ปีที่โลดแล่นอยู่ในแถวหน้าของวงการเพลงโลก (นับตั้งแต่ออกอัลบั้มชุดแรก) ถือว่าเธอประสบความสำเร็จอย่างมากในเชิงพาณิชย์ผ่านดนตรีและบทเพลงของเธอ เพราะมีถึง 5 อัลบั้มที่ขึ้นสู่อันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดของอเมริกา และมี 24 บทเพลงที่ขึ้นสู่ท๊อป 40 ของชาร์ตเพลงฮิตกระแสหลัก และกับยอดขายถึง 70 ล้านก๊อปปี้ จากอดีตที่เธอทำงานมา 6 สตูดิโออัลบั้ม ‘…Baby One More Time’ (1999) ‘Oops!... I Did It Again’ (2000) ‘Britney’ (2001) ‘In The Zone’ (2003) ‘Blackout’ (2007) และ ‘Circus’ (2008) รวมถึงอัลบั้มรวมเพลงที่ออกมาอีก 3ชุด แต่เธอยังไม่เคยไปถึงรางวัลแกรมมี่เลยแม้แต่รางวัลเดียว
ซึ่งในวันเวลาที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนจะมีความพยายามที่จะสร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพื่อให้บริทนีย์ก้าวข้ามผ่านจากซูเปอร์สตาร์ทีนพ๊อพขึ้นสู่ความหลากหลายขยายวงสู่ความเป็น ‘ราชินีพ๊อพ’ คนใหม่ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2003 อัลบั้มชุดที่ 4 ‘In the Zone’ ของบริทนีย์ที่ออกวางจำหน่าย พร้อมกับตัดซิงเกิลแรกออกมา ‘Me Against the Music’ ได้มาดอนน่ามาฟีเจอริ่งหรือร้องร่วมในบทเพลงนี้ คล้ายมาเจิมให้บริทนีย์อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เธอเป็นเจเนอเรชั่นต่อไปที่จะมารับไม้ตำแหน่งราชินีเพลงพ๊อพอยู่ในที
นั่นก็แสดงให้เห็นขุมกำลังของเพลงเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ที่เธอตีแตกสู่คนฟังวงกว้างผ่านทีมเขียนเพลงและทำดนตรี แต่น่าเสียดายที่ทีมทำเพลงเองและชีวิตส่วนตัวของบริทนีย์ยังไม่สามารถทะลุความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่แหวกออกมาในบุคลิกที่จะนำไปสู่ความเป็นที่หนึ่งของวงการเพลงพ๊อพสายสาวเซ็กซี่ ที่เปี่ยมด้วยไอเดียและความคิดบรรเจิดทั้งงานเพลง ดนตรี และการแสดงที่นำเทรนด์แฟชั่นในตลาดเพลงได้ ในทางกลับกันชีวิตส่วนตัวของเธอกลับเต็มไปด้วยจ่าวคาวฉาวโฉ่อย่างควบคุมไม่อยู่
‘femme fatale’ นัยยะแห่งชื่ออัลบั้ม
การตั้งชื่ออัลบั้มถือมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับงานเพลงในแบบสตูดิโออัลบั้ม เพราะเปรียบเสมือนการขมวดความคิดทั้งหมด เพื่อสรุปรวมให้กินความของความหมายทั้งเนื้อหาและดนตรีในทุกบทเพลงสื่อสารออกมามากที่สุด
เพราะฉะนั้นการเลือกคำว่า ‘femme fatale’ มาตั้งเป็นชื่อในอัลบั้มชุดที่ 7 ของบริทนีย์ สเปียร์ส จึงน่าจะมีนัยยะสำคัญที่สื่อความหมายของตัวเธอออกมาผ่านศัพท์คำนี้
เพราะ femme fatale เป็นคำในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง หญิงที่ใช้เสน่ห์ยั่วยวนผู้ชายให้หลงใหล ซึ่งรากศัพท์น่าจะมาจากเทพปรกณัมของฮินดู ที่มีชื่อว่า ‘โมหิณี’ ซึ่งเป็นเทพแห่งความลุ่มหลง อันเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์หรือพระวิษณุที่มาปราบอสูร ซึ่งเป็นอมตะจากการดื่มน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทร
ผู้หญิงที่ลึกลับและก่อให้เกิดความยั่วยวนยากที่จะห้ามใจ มีเสน่ห์ที่ทำให้ติดบ่วงรักด้วยแรงปรารถนาเกินที่จะต้านทาน แต่แฝงด้วยอันตรายและการทำลายล้างซึ่งนำไปสู่ความตาย แต่ความหมายในปัจจุบันของ femme fatale จะมีความหมายออกไปในทางลบอยู่พอสมควร เป็นพลังอำนาจและจริตของหญิงงามเมืองที่จะใช้ความงามของเธอเป็นเสน่หาล่อลวงผู้คนไปสู่ความตายและหายนะ
โดยเฉพาะผู้ชาย นั่นก็หมายถึง ‘ผู้หญิงโคตรอันตรายที่เปี่ยมด้วยความสวยและพลังดึงดูดทางเพศ’ อีกนัยหนึ่งเป็นผู้หญิงสุดสวยที่ทำงานสายลับหรือจารชนที่ล้วงความลับ โดยใช้เสน่ห์ทางเพศและร่างกายเป็นตัวล่อลวงและแลกเปลี่ยน
แต่ในทางสังคมวิทยา femme fatale ก็เป็นคำที่ถูกนิยามหลากหลายออกไป แต่ที่ดูจะตรงกับความเป็นบริทนีย์ สเปียร์ส ค่อนข้างมาก คือ ผู้หญิงที่แหวกกรอบสังคมด้วยอิสระและเสรีทางปัจเจกอย่างน่ากลัวและหมิ่นเหม่ต่อกฎหรือวิถีของเพศสภาพผู้หญิงในแบบประเพณีนิยมของแต่ละสังคม
ข่าวคราวและข่าวคาวของเธอก็เป็นอาหารอันโอชะให้กับหนังสือพิมพ์หัวสีประเภทแท็บลอยด์ และนักแอบถ่ายภาพหรือปาปาราซซี่เป็นอย่างดี แต่มองในมุมกลับกันไม่รู้ใครเป็นเหยื่อใครกันแน่ ข่าวฉาวจิตแตกจิตหลุดและบำบัดการติดยาที่ไม่ใช่เรื่องผลงานทางดนตรีและเสียงเพลงของเธอ สามารถทำให้เธออยู่ในกระแสความสนใจหลักของสังคมอย่างมิยอมตกหล่น และสามารถขายรูปภาพและเรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วยมูลค่ามหาศาลเช่นกัน
ในโลกสมัยใหม่ที่ที่ผู้คนจ้องเสพแต่ข่าวสารข้อมูลเรื่องฉาวส่วนตัวของผู้มีชื่อเสียง โดยเฉพาะมุมในด้านมืดและด้านลบเป็นที่ชื่นชอบและสะใจ เนื่องด้วยปมริษยาที่อิจฉาในความมีชื่อเสียงเงินทองที่ฝังแฝงอยู่ในทุกผู้ตัวคน ผู้คนจะมีความสุขและสาแก่ใจถ้าดารานักร้องยอดนิยมระดับพ๊อพสตาร์มีมลทินและรอยด่างพร้อยในชีวิตส่วนตัวไม่แตกต่างจากคนธรรมดา และในฐานะบุคคลสาธารณะ ดารานักร้องเหล่านั้นก็ต้องได้รับผลสะท้อนกลับสาหัสเพิ่มเทียมเท่าตัวเช่นกัน
กรณีศึกษาของบริทนีย์ เห็นได้เด่นชัดที่เริ่มต้นจากวัยเยาว์ในฐานะนักแสดงเด็กที่ประกวดและรุดหน้าเด็กร่วมรุ่นคนอื่นๆ โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นที่โด่งดังพร้อมกันมาอย่าง จัสติน ทิมเบอร์เลก (Justin Timberlake) และคริสติน่า อากีเลร่า จากรายการ ‘เดอะ นิว มิคกี้ เมาส์ คลับ’ ในช่วงปี 1993-1994 (พ.ศ.2536-2537)
ว่าไปแล้วในช่วงต้นของชีวิตในวงการบันเทิงของบริทนีย์ สเปียร์ส ซึ่งอยู่ในยุคก่อนวัยรุ่นและช่วงวัยรุ่นเต็มตัวนั้น เธอและคนที่ข้องเกี่ยวบนเส้นทางในอาชีพสามารถปรุงแต่งความจัดจ้านแจ๊ดแจ๋ทางการแสดงและร้องเพลงให้ผสมกับความน่ารักไร้เดียงสาได้อย่างลงตัว และมีการขับเคลื่อนผ่านพัฒนาการการร้องเพลงของเธอได้อย่างยอดเยี่ยม
ความโด่งดังและสถานะของเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับชื่อเสียงในระดับโลกของเธอ ก็ต้องยอมรับในฝีมือการโปรดิวซ์และเขียนเพลงของทีมทำเพลงที่นำโดย แม็กซ์ มาร์ติน โปรดิวเซอร์ชาวสวีดิชซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นมาสเตอร์ มายด์ หรือคนบงการทางดนตรีและสร้างบุคลิกของบริทนีย์ สเปียร์ส ตัวจริงเสียงจริง
เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ชื่อ ‘femme fatale’ มาเป็นชื่ออัลบั้มก็น่าจะผ่านกระบวนกลั่นกรองทางความคิดเพื่อนำเสนอนัยยะสำคัญของชื่อ ในการที่บริทนีย์จะก้าวสู่สถานะของแด๊นซิ่ง ควีน ต่อไป อย่างไม่ต้องติดภาพกับอดีตอีกต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการก้าวข้ามผ่านสู่วุฒิภาวะทางอายุและดนตรีที่เข้มข้นและร้อนแรงมากขึ้น
แด๊นซ์กระจาย...สลายอดีต
อดีตเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพ ที่เคยถูกคาดหวังและดูจะมีความคาดหมายจากอุตสาหกรรมดนตรีว่า จะรับไม้ในตำแหน่ง ‘ราชินีพ๊อพ’ ต่อจากมาดอนน่า กับอัลบั้ม ‘Femme Fatale’ มีภาพรวมของงานเพลงและดนตรีที่ลื่นไหลกลมกล่อมลงตัว ซาวด์ที่ดึงดูดใจ ค่อนข้างที่จะเหมาะในดิสโก้ ปาร์ตี้ที่สามารถสร้างบุคลิกเฉพาะในแบบแด๊นซ์ ฟลอร์ พ๊อพ แบบบริทนีย์ สเปียร์ส ขึ้นมาได้อย่างโดดเด่น
โดยบริทนีย์ได้บอกถึงเจตนารมณ์ทางดนตรีของงานเพลงชุดนี้ว่า เธอต้องการสร้างอัลบั้มที่มีเสียงที่ดูสดใหม่สำหรับดนตรีเต้นรำตามคลับหรือเปิดในรถเพื่ออุ่นเครื่องในการออกแสวงหาความสำราญและบันเทิงยามค่ำคืน ซึ่งแน่นอนต้องเป็นอัลบั้มเพลงแด๊นซ์แบบของเธอที่สามารถสร้างบุคลิกที่มีความแตกต่างออกไป
ความสำเร็จทางดนตรีของบริทนีย์ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันต้องยอมรับว่า เกือบทั้งหมดมาจากคนเขียนเพลงและทีมโปรดักชั่นทางดนตรีที่กำหนดทิศทางและความคิดสร้างสรรค์ผ่านจาก แม็กซ์ มาร์ติน ซึ่งถือเป็นคู่บุญคู่บารมีทางโลกดนตรียอดนิยม รวมถึงดร.ลุค ที่มีส่วนสำคัญในบทเพลงฮิตที่มีมากมาย
แม้จะดูเหมือนว่าเธอจะมีเสียงร้องที่ค่อนข้างตกลงจากอดีตอยู่บ้าง รวมถึงเนื้อร้องที่ดูดาดๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เข้ามาแทนที่คือ ความเป็นพ๊อพหัวก้าวหน้าในกลิ่นอายของอวองท์-การ์ด พ๊อพ ที่มีการนำเทคนิคทางเสียงในสไตล์ดนตรีดับสเต็ปและพ๊อพหวานๆ ที่เป็นสไตล์ซูการี พ๊อพ มาผสมเขย่ารวมได้เก๋อยู่พอควร และก็เพิ่มความแข็งทื่อในโครงสร้างจังหวะแบบโรโบติค บีท และเอฟเฟ็คท์เสียงร้องเข้ามาแบบพองาม
อัลบั้มชุดนี้เปรียบเสมือนการทบทวนถึงห้วงลึกภายในจิตใต้สำนึกของเธอที่มีอยู่ในปัจจุบัน มุมมองต่อความรัก ชีวิต และความเป็นไปของสิ่งรอบตัว เนื้อหาของเพลงในอัลบั้มชุดนี้โดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเต้นรำและเชิญชวนปาร์ตี้ รวมถึงการแสดงออกของผู้หญิงเจ้าเสน่ห์และการตกหลุมรัก เพราะฉะนั้น อัลบั้ม ‘Femme Fatale’ น่าจะถือเป็นอัลบั้มที่ดีอีกชุดหนึ่งของบริทนีย์ ด้วยความตั้งใจที่จะแหวกออกจากแนวทางเดิมๆ มุ่งหน้าเพื่อนำไปสู่ดนตรีแบบปาร์ตี้เต้นรำอย่างไม่อ้อมค้อม โดยมีเนื้อหาที่บ่งชี้ถึงเรื่องเพศและความโศกเศร้าอันอบอวล ด้วยการวางธีมหรือใจความหลักของอัลบั้มชุดนี้แบบง่ายๆ เพื่อให้เข้าสู่ตลาดเพลงในแง่ความบันเทิงเริงรมย์มากที่สุด ด้วยเรื่องราวระหว่างเพศและปาร์ตี้ เนื้อร้องและความหมายในบางเพลงที่ดูกลวงโหวงและว่างเปล่า ความรู้สึกเหมือนอยู่ในคลับแด๊นซ์และเต้นรำในลักษณะเดอร์ตี้ แด๊นซ์ ผ่านบทเพลงและดนตรีของเธอ บนฟลอร์เต้นรำที่มืดสนิทและเสียงกระหึ่มก้องของดนตรีที่จะสร้างความตื่นเต้นอย่างรุนแรง
เสียงร้องที่ใช้เครื่องปรุงแต่งให้ออกมาในอารมณ์ไซเบอร์-กัม-พ๊อพ หรืออธิบายง่ายๆได้ว่า เสียร้องแข็งทื่อก้องลอยกังวานแบบหุ่นยนต์ในรูปแบบเพลงลูกกวาดติดหูง่ายและมีสัมผัสของความเป็นพ๊อพอยู่ ซึ่งว่าไปแล้วบริทนีย์ไม่เคยแสดงออกถึงความนักร้องที่คิดจะแหวกตัวเองให้หลุดออกจากร่มเงาของทีมทำเพลง โดยมากำหนดทิศทางดนตรีและเขียนเพลงเอง ครั้งนี้ก็เช่นกัน แม้งานเพลงและดนตรีที่ขยายขอบเขตเข้าสู่โหมดเพลงแด๊นซ์ที่อยู่ในระดับที่ดี แต่ก็เป็นการกำหนดจากทีมทำเพลงทั้งสิ้น
การแสดงถึงพัฒนาการที่จะก้าวสู่มิติของความเป็นแด๊นซ์พ๊อพอย่างเต็มตัวเพื่อสลัดทิ้งความเป็นทีนพ๊อพไว้เบื้องหลังให้เด็ดขาดอย่างคาดไม่ถึง โดยเสนอแนวความคิดผ่านทางบทเพลงและดนตรีที่มุ่งหน้าเข้าสู่ดนตรีเพื่อปาร์ตี้อย่างเต็มพิกัด โดยเฉพาะอารมณ์และการเต้นรำในแบบวิถีของเดอร์ตี้ แด๊นซ์ที่กรุ่นอวลกลิ่นอายของเรื่องทางเพศและความสลดรันทด แม็กซ์ มาร์ติน และ ดร.ลุค เป็นคู่หูนักผลิตเพลงฮิตที่อยู่แถวหน้าในโลกดนตรียอดนิยม ซึ่งมาทำหน้าที่หลักในงานเพลงชุดนี้ตามวาระถึง 7 เพลง จาก 12 บทเพลงในอัลบั้ม โดยยืนพื้นอยู่ที่ท่วงทำนองที่ติดหูง่ายสวยงามภายใต้จริตดนตรีแบบยูโรดิสโกที่เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของงานดนตรีในชุดนี้ และมีโปรดิวเซอร์คนอื่นๆ มาแทรกในบทเพลงต่างๆ วางคั่นจังหวะเพื่อกันเลี่ยนหู
ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคือ การโปรดิวซ์ของ บลัดไช (Bloodshy) และทีมโปรดิวซ์ที่ทำดนตรีในบทเพลง ‘How I Roll’ ให้พุ่งโดเด่นหลุดออกมาจากบทเพลงอื่นในอัลบั้ม ด้วยดนตรีเทคโนที่สวยอย่างแปลกประหลาดแต่ทว่าเข้ากับแฟชั่นเพลงอิเล็กทรอ ฮอพ ของยุคนี้
44.02 นาที จาก 12 บทเพลงที่บรรจุอยู่ในอัลบั้ม มีการบันทึกเสียงและผสมเสียงในระดับที่ดีทำให้มวลรวมของเสียงดูสดใหม่และกระจ่างแจ่ม บทเพลงเปิดหัวอัลบั้ม ‘Till The World Ends’ โดดเด่นที่เทรนซ์ ซินธิไซเซอร์ เน้นย้ำด้วยอิเล็กทรอบีท ซึ่งเนื้อร้องก็เป็นในสไตล์เพลงเต้นรำในคลับที่เป็นพิมพ์นิยม ดูเหมือนจะคมคายฉลาด กับซาวด์ดนตรีอิเล็กทรอพ๊อพทางยุโรปที่ผสมผสานกับซินธิ์ที่ลงตัว เป็นเพลงแด๊นซ์พ๊อพที่สนุกสนานและเหมาะกับการใช้เปิดเพื่อสร้างความสำราญเริงรมย์เพื่อผ่อนคลายในยามเสร็จงานของเหล่าสาวๆ
‘Hold It Against Me’ ถือเป็นบทเพลงที่ใช้สไตล์ดนตรีแด๊นซ์-คลับได้อย่างดีเยี่ยมลงตัว หลอมละลายสู่สัดส่วนดนตรีดับสเต็ปที่ร้อนแรงเข้ามา ซึ่งเป็นการสร้างสีสันของดนตรีในอีกแบบของเพลงแด๊นซ์ที่รับอิทธิพลสไตล์อังกฤษมา
‘Inside Out’ ไม่มีอะไรใหม่ในเชิงของความเป็นอิเล็กทรอนิกส์แด๊นซ์ ซึ่งมีซาวด์ดนตรีอย่างนี้มากมายจนเฝือหู เป็นบทเพลงที่มีซาวด์ล้าๆ และกรูฟช้าๆ สื่อความหมายซึ่งเสมือนการวิงวอนถึงความรักของเธอที่ทำให้มีบางสิ่งเพื่อที่จะจดจำ แสดงให้เห็นถึงการนำกลิ่นอายและอิทธิพลทางดนตรีดับสเต็ปมาผสมผสานให้เกิดเสียงอึมครึมที่ขมวดอารมณ์ให้เกิดภาวะเศร้าซึมในอารมณ์เพลง
‘I Wanna Go’ มีบุคลิกทางดนตรีเน้นนำด้วยเสียงสังเคราะห์อย่างแท้จริง เป็นบทเพลงสนุกสนานที่ใช้ซาวด์ดิสโก้มาบิดทำให้ร่วมสมัยและดูเก๋ไก๋ด้วยเสียงผิวปากที่โดดเด่นและมีเสน่ห์ทำให้ตัวเพลงลอยออกมาอย่างน่าประทับใจ ซาวด์เก่าที่ดูเหมือนเชยแต่นำมาแปลงจนได้ใจคนรุ่นปัจจุบันอย่างชาญฉลาดอยู่ในที
บทเพลงที่เห็นถึงพัฒนาการและความแตกต่างจากแนวเพลงและดนตรีเดิมๆ แบบบริทนีย์ สเปียร์ส จากที่เคยเป็นมา เป็นพัฒนาการในด้านที่ดีขึ้น เสียงของเพอร์คัสชั่นหรือเครื่องเคาะที่ยืนพื้น รวมถึงการปรบมือแทรกเข้ามาสอดคล้องพ้องกับเสียงจากกลองสแนร์ที่คุมโทนรวมทั้งหมดของดนตรีไว้ได้สมดุล รวมถึงเสียงจากดรัมแมชชีนที่วางจังหวะได้สวย เข้ากับเสียงร้องของเธอที่ใช้อารมณ์ธรรมดาๆ ไม่บีบเค้นมากอย่างลงตัว
ที่มีเสน่ห์อีกอย่างก็คือเปียโนที่เล่นแบบไม่มากมายแต่สวยแทรกเข้ามาได้ถูกส่วนและโดดเด่น ให้กลิ่นรสของเพลงและดนตรีที่แปลกออกไป ดูดิบๆ ประหลาดๆ แต่สละสลวย ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะไม่ใช่สูตรของเพลงที่เคยทำมาและตามอย่างในตลาดเพลง บทเพลง ‘How I Roll’ ใช้เทคนิคการร้องที่โดดเด่น เหมือนการท่องหลากไหลถ้อยคำต่อเนื่องมาจากกระแสสำนึก คล้ายการสะกดจิตคนฟัง ถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนวิธีคิดทางดนตรีไปข้างหน้าที่สำคัญของบริทนีย์ สเปียส์ ในอัลบั้มชุดนี้เลยทีเดียว ซึ่งเป็นซาวด์ของดนตรีแด๊นซ์ที่เปี่ยมด้วยความสนุกสนานครื้นเครงและน่าพอใจในพัฒนาการของภาพรวมทางดนตรีที่เหมาะสมกับยุคสมัย มีการถ่ายเทเบสไลน์ในรูปแบบดนตรีดับสเต็ปมาสู่ความเป็นเพลงพ๊อพได้อย่างลงตัว
บทเพลง ‘Big Fat Bass’ ที่ได้วิลล์.ไอ.แอม (will.i.am) แกนนำทางดนตรีและความคิดของวงแบล๊ค อายด์ พ์ (Black Eyed Peas) ที่สร้างกลิ่นอายดนตรีฮิพฮอพไซบอร์กให้บริทนีย์ได้อย่างรื่นเริงและไม่หลุดบุคลิกไปมากนัก เป็นบทเพลงที่ดีเด่นอีกหนึ่งเพลง การมาฟีเจอริ่งและเขียนเพลงให้ของเขา ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เห็นมิติทางดนตรีของบริทนีย์ สเปียร์ส ที่หลากหลายและเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีเสน่ห์และสีสัน โดยผสมระหว่างบุคลิกของตัวเองกับเทรนด์ดนตรีอิทรอนิกส์-ฮิพฮอพ อย่างนวลเนียน
บทเพลงที่บริทนีย์โชว์การร้องได้ดี ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการที่ก้าวไปข้างหน้า เสียงซินธิไซเซอร์ที่รกเรื้อรุงรังและสากหูในบทเพลง ‘Trouble For Me’เป็นบทเพลงในแนวฟังง่ายชักชวนให้ลุกเต้นสบายในแบบอัพแอนด์ดาวน์ ในแบบบับเบิลกัม เฮ้าส์ พิมพ์นิยม ดูเหมือนง่ายๆ ไม่มีอะไร แต่ก็แฝงสีสันของดนตรีเทคโนที่ดูดีอยู่บ้างเช่นกันในแบบของบริทนีย์
‘Trip to Your Heart’ เป็นบทเพลงที่มีจุดเด่นอยู่ที่การร้องก่อนเข้าไปสู่ท่อนประสานเสียงที่แสดงออกถึงน้ำเสียงที่สอดคล้องกับท่อนคอรัสอย่างแจ่มแจ๋ว รวมถึงซินธิไซเซอร์ที่สร้างซาวด์สังเคราะห์โอบอุ้มมวลเสียงในเพลงได้ดี มีกลิ่นอายดนตรีเทรนซ์ที่ฟุ้งลอยสวยงามด้วยเมโลดี้บ่งชี้ให้เห็นอารมณ์เปี่ยมสุขที่ลอยออกมา แม้การเขียนเนื้อร้องอาจจะติดรูปแบบทางคำและอารมณ์ความรู้สึกแบบทีนพ๊อพแบบเอาใจเด็กวัยรุ่นอยู่ก็ตาม
บทเพลงที่ดูเหมือนหลงทางไปไกลใช่น้อย ‘Gasoline’ และน่าจะเป็นเพลงที่อ่อนที่สุดในอัลบั้มทั้งเนื้อร้องและดนตรีที่ทื่อดื้อตรง เริ่มต้นด้วยพลังขับทางเสียงกีตาร์ ก่อนที่จะระเบิดมาเป็นดนตรีแด๊นซ์พ๊อพที่ดาษดื่น เมื่อมาผสมกับคำร้องที่ใช้สัญลักษณ์แบบตรงไปตรงมาทำให้ดูอ่อนยวบยาบ
เพลงที่มีโครงสร้างทางดนตรีจากเสียงอะคูสติคกีตาร์ใสกระจ่างกังวานและฟลุ๊ตหม่นหวานแบบบทเพลงโฟล์คอยู่พอควร ซึ่งแปลกแยกแตกต่างจากบทเพลงอื่นๆ ในอัลบั้มโดยสิ้นเชิง บทเพลงปิดท้ายที่ชื่อ ‘Criminal’ ใช้วิธีการร้องเพลงให้ลงจังหวะที่สอดรับกับเสียงฟลุ๊ตที่ขับเปล่งกังวานสากหูหม่นหมอง บริทนีย์ร้องเพลงนี้ได้ถึงอารมณ์เป็นอย่างมาก เสียงสวยเศร้าของเธอลอยอ้อยอิ่งแผ่กำจายความโศกลึกออกมาในเนื้อเสียงและน้ำเสียงที่ตกกระทบสู่โสตคนฟัง ผนวกกับเสียงอะคูสติคกีตาร์ที่เป็นแกนเดินนำดนตรีภายใต้เสียงซินธิไซเซอร์ที่อ่อนโยนครอบคลุมบรรยากาศในตัวเพลง เป็นเพลงพ๊อพที่มีเมโลดี้สวยงามผ่องแผ้ว เนื้อร้องลงถึงห้วงลึกภายในของคนสำนึกผิด แม้ความรักจะเลวร้ายแต่มันก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะยอมรับมัน
การทอดอาลัยกับห้วงเวลาของวัยรุ่นที่ลาจากไป สู่โลกแห่งความจริงของความเป็นผู้ใหญ่ การใช้สร้อยที่ร้องท่อนประโยคว่า bum bum bum ซึ่งมีอารมณ์แบบบับเบิลกัม โดยเฉพาะเสียงฟลุ๊ตที่มีเมโลดี้ในแนวดนตรีของเทพนิทาน และจังหวะที่สดใสเหมือนอยู่ในอารมณ์ฤดูร้อนอันผุดผ่องที่ย้อนแย้งกับตัวเนื้อหาในเพลง สมบูรณ์แบบและเป็นอิสระของบทเพลงที่ดีเลิศโดยตัวมันเอง ที่ได้สมดุลลงตัวกับคนร้องเพลงอย่างยอดเยี่ยมในแบบร๊อคบัลลาดที่รับอิทธิพลมาจากมาดอนน่าและแอ๊บบ้า
ภาพรวมของอัลบั้ม แม้จะเน้นหนักไปที่ดนตรีแด๊นซ์ โดยเฉพาะความใส่ใจเพื่อจะผลิตท่อนฮุคให้ติดหูติดปากโยกย้ายส่ายสะโพก โดยไม่ต้องสนใจถึงความลึกของเนื้อหาและดนตรีที่มีอยู่บ้างแต่พอสวย โดยมีอารมณ์ความรู้สึกรุนแรงและรวดร้าวจากอัลบั้มชุดนี้ ก็เข้าใจได้ทันทีเลยว่า บริทนีย์ต้องการที่จะแยกตัวเองออกจากการกระทำของเธอจากอดีต กลับขึ้นเวทีเพื่อก้าวสู่ความเป็นแด๊นซ์-พ๊อพ สตาร์ ยุคใหม่ด้วยการสื่อความหมายผ่านคำว่า ‘Femme Fatale’ ที่ใช้เป็นชื่ออัลบั้ม และต้องการเป็นผู้นำเทรนด์ดนตรีเต้นรำ รื้อฟื้นคืนชื่อเสียงในฐานะอันดับหนึ่งของโลกให้ได้อีกครั้ง เธอต้องยืนหยัดในฐานะเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงพ๊อพและก้าวข้ามขึ้นสู่จุดที่สูงกว่าให้ได้
สอบผ่านสู่ขอบเขตใหม่?
เมื่อมาดูถึงการเรียงเพลงทั้ง 12 บทเพลง จากเพลงแรกเริ่มต้นไปสู่บทเพลงสุดท้าย อัลบั้ม ‘Femme Fatale’ มีลักษณะเฉพาะที่มีความพิเศษอยู่ในการนำธีมของดนตรีแด๊นซ์พ๊อพนำมาร้อยกันได้อย่างลื่นไหล ตั้งแต่เพลงแรกเปิดหัวสู่บทเพลงต่อๆ ไปอย่างเป็นเอกภาพสอดคล้องกัน ซึ่งได้ทั้งพลังของจังหวะเพลงแด๊นซ์ที่ขับเคลื่อนออกมากับธีมของความรักและความปรารถนา รวมถึงความเศร้ารันทด เนื้อเพลงมีถ้อยความและเนื้อคำที่บ่งชี้ถึงความเข้าใจโลก ตกผลึกในด้านความรักและความเจ็บปวดในฐานะมนุษย์ผู้อ่อนไหวรู้ถูกผิดดีชั่ว
ดูเหมือนว่าหน้ากากพลาสติกที่เธอสวมใส่ในนาม บริทนีย์ สเปียร์ส ในโลกของดนตรีทีนพ๊อพสวยใสกรุ่นกำดัดไร้เดียงสาที่นำเสนอต่อผู้คนในอดีตที่ผ่านมา จะถูกฉีกออกเผยตัวตนที่แท้จริงในช่วงครึ่งทศวรรษหลังสุด แต่เธอก็ยังยืนยันตัวเองถึงดนตรีและบทเพลงของเธอว่า
“ฉันรู้ว่ามีศิลปินมากมายที่เกลียดเพลงที่ตัวเองบันทึกเสียง แต่ฉันไม่เคยรู้สึกถึงสิ่งเหล่านั้น เพราะฉันรักดนตรีที่เคยทำมาทั้งหมดของฉัน”
หากความหมายของคลับ แบงเกอร์ คือ บทเพลงที่ทำให้เหล่าผู้หญิงเจ้าสำราญรักสนุกในโลกกลางคืน ย่ำยามราตรีสู่ชีพจรของผับคลับแด๊นซ์ บทเพลงในอัลบั้มชุด ‘Femme Fatale’ ก็ต้องอยู่ในขอบข่ายนี้แน่นอนที่จะทำให้พวกเธอกระโดดขึ้นสู่ฟลอร์เต้นรำเพื่อปาร์ตี้ปลดปล่อยตัวเอง เริงระบำในโลกของเสียงเพลงอย่างมิรู้เวลา ดังบทเพลงแรกในอัลบั้ม ‘Till The World Ends’ ที่มีเนื้อร้องท่อนหนึ่งเน้นย้ำว่า ‘keep on dancing till the world ends’
ถ้าย้อนหลังกลับไปสู่อดีต ในฐานะที่เธอเป็นซูเปอร์สตาร์ทีนพ๊อพ ซึ่งเป็นดนตรีพ๊อพสำหรับวัยรุ่นวัยใสที่มีการนำเอาองค์ประกอบของดนตรีบับเบิลกัม, แด๊นซ์พ๊อพ, พ๊อพ, เออร์เบิ้นบัลลาด มาทำเป็นเพลงเพื่อตลาดเพลงวัยรุ่นโดยเฉพาะ และบริทนีย์ก็ถือเป็นผู้นำดนตรีแขนงนี้เข้าสู่ยุค 2000’s อย่างแท้จริง เมื่อมาดูในงานชุดหลังๆ บริทนีย์พยายามสลัดความเป็นทีนพ๊อพให้หลุดออกเพื่อเข้าสู่วงโคจรของดนตรีแด๊นซ์พ๊อพที่มาพร้อมกับความเซ็กซี่เย้ายวน
หากว่าไปแล้วดนตรีแด๊นซ์พ๊อพนั้นไม่เคยตายหรือจางหายไปจากดนตรีกระแสหลักเช่นกัน ตั้งแต่ได้รับความนิยมในกระแสหลักทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในยุคทศวรรษที่ 80 และขยายขอบข่ายไปทั่วโลกในยุคปลายทศวรรษที่ 90 และกลับมาได้รับความนิยมจนกลายเป็นดนตรีกระแสหลักที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอเมริกายุคนี้อีกครั้ง
รากเหง้าของแด๊นซ์พ๊อพนั้น เป็นการแตกแขนงมาจากดนตรีดิสโก้ ด้วยโครงสร้างจังหวะที่รัวกระหน่ำ นำบีทของแด๊นซ์คลับมาทำให้ง่ายละมุนหูขึ้น มีเมโลดี้ที่ดึงดูดและจับใจ มันจึงเป็นมากกว่าดนตรีเต้นรำธรรมดา เพราะมีส่วนผสมของการนำเสนอนักร้องที่มีเสียงร้องในระดับคุณภาพหรือทะลุขึ้นถึงระดับดีว่า (Diva) หรือนักร้องเสียงทอง และการเต้นรำหรือแด๊นซ์ที่มีการจัดองค์ประกอบที่โดดเด่น ผนวกกับการสร้างความบันเทิงทางสายตาผ่านแฟชั่นเซ็กซี่ยั่วยวนใจ และทีมนักเต้นหรือแด๊นเซอร์ที่เจนจัดชำนาญมาเสริมให้
แน่นอน...ในอัลบั้มชุด ‘Femme Fatale’ นี้สามารถนำสัญชาตญาณและธาตุของดนตรีแด๊นซ์พ๊อพมาใช้กับบริทนีย์ สเปียร์ส ได้อย่างชาญฉลาด โดยเพิ่มความทันสมัยของซาวด์ดนตรีซึ่งกำลังนิยมในฝั่งอังกฤษคือ ดับสเต็ป ได้อย่างลงตัวเหมาะสม
เพราะดับสเต็ปถือเป็นประเภทของดนตรีแด๊นซ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งริเริ่มเกิดขึ้นมาจากทางตอนใต้ของลอนดอนในอังกฤษ เสียงโดยรวมทั้งหมดของดนตรีแบบนี้ก็คือ มวลของเสียงดนตรีจะหนาแน่น โดยเฉพาะไลน์เบสและรูปแบบของกลองที่สะท้อนก้องกังวานอย่างอื้ออึงจะเป็นแกนครอบรวมเสียงทั้งหมด มีแซมเพิล และเสียงร้องแทรกเข้ามาบางครั้งคราวเท่านั้น ให้ความรู้สึกที่มืดดำและหม่นหมอง
แม้ดนตรีพ๊อพจะกัดกินตัวของมันเอง แต่ ‘Femme Fatale’ ไม่ใช่งานเพลงที่ครุ่นคิดหรือหวนหาอดีต แต่เป็นการเดินทางเข้าไปสำรวจหัวใจที่แตกสลาย ด้วยเสียงร้องของคนที่อ่อนล้า แต่เปี่ยมด้วยความทะเยอทะยานในการที่จะแสดงถึงพลังขับทางดนตรีของตัวเธอเองในความเป็นบริทนีย์ สเปียร์ส ที่จะก้าวเดินไปสู่อนาคต
แต่ถ้ามองอีกมุม ผ่านการปรุงแต่งของเทรนด์ดนตรีกระแสหลัก งานเพลงชุดนี้จัดเป็นการรับอิทธิพลจากแนวทางดนตรีของมาดอนน่า มาผสมกับไคลี่ มิโนค ซึ่งเป็น 2 พ๊อพสตาร์ดนตรีแด๊นซ์ที่เป็นตัวแทนยุคทศวรรษที่ 80 อันฟุ้งจรัส ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บริทนียเองมิสามารถหาบุคลิกทางดนตรีที่เป็นลักษณะเฉพาะและแสดงพัฒนาการของตัวเธอเองได้อย่างแจ่มชัด เพราะเธอไม่เคยเขียนเพลงของตัวเอง แน่นอนว่าไปแล้ว ถึงเธอจะมีพรสวรรค์ทางด้านเสียงร้อง แต่ทักษะการร้องที่วิเศษและพิเศษในระดับเข้มข้นถึงขั้นนักร้องเสียงทองหรือดิว่า (Diva) เธอก็ไม่สามารถขึ้นไปถึงได้อยู่ดี รวมถึงภาพลักษณ์และเรื่องราวชีวิตส่วนตัวที่ปรากฏภาพเป็นข่าวฉาวสติแตกในรอบหลายปีหลัง ทำให้ชีวิตทั้งหมดของเธออยู่ในช่วงขาลง
ปัญหาของบริทนีย์ที่ทำให้เธอไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่เด็ดเดี่ยวแสดงถึงตัวของเธอเองได้ก็คือ การที่เธอไม่สามารถเขียนเพลงเองทั้งเนื้อร้องและไอเดียทางดนตรี ทั้งที่วัยวุฒิและคุณวุฒิตรงนี้เลยมาถึงอายุหลักเลข 3 นำหน้าเข้าไปแล้ว สำคัญอย่างยิ่งในการก้าวขึ้นสู่ความเป็นซูเปอร์สตาร์
คำถามของเธอก็คือ พลังทางดนตรีของเธอมีอยู่จริงหรือไม่?
สำหรับสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ของบริทนีย์ เธอมีพรสวรรค์ในการร้องเพลง การแสดงบนเวที และความเป็นเอนเทอร์เทนเนอร์ แต่ในเรื่องของความสามารถและความคิดในเชิงของดนตรีและบทเพลงที่ออกมาตัวเธอเอง กลับไม่มีพรสวรรค์ในทางนี้ ซึ่งต้องอาศัยทีมทำเพลงและผลิตดนตรีป้อนให้ ทำให้เธอไม่สามารถทะลุผ่านขึ้นมาสู่อีกระดับได้อย่างที่ใจอยากเป็น ซึ่งต้องรับสภาพตรงนี้ให้ได้ เพราะนักร้องที่ขึ้นเป็นซูเปอร์สตาร์ เกือบร้อยทั้งร้อยสามารถนำเสนอการเขียนเพลงและไอเดียทางดนตรีที่เป็นของตัวเองที่มีลักษณะเฉพาะตัวออกมาได้เหนือโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ที่เคยอยู่ในระนาบเดียวกัน
แม้บทเพลงและดนตรีของบริทนีย์จะสร้างความสุขสนุกสนานบันเทิงเริงรื่นให้กับคนฟังและแฟนเพลง แต่เธอก็อธิบายถึงจุดประสงค์และรากฐานของที่มาในบทเพลงไม่ได้ เพียงแต่มีคนป้อนให้เธอและคาดเดาถึงตลาดเพลงกระแสหลักว่า เธอเอามันอยู่ เห็นได้จากการทำงานเป็นระยะเวลายาวนานกับทีมทำเพลงและโปรดิวเซอร์ แม็กซ์ มาร์ติน และ ดร.ลุค ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปั้นและสร้างเพลงให้เธอมาจนถึงปัจจุบันนี้
ว่าไปแล้ว บริทนีย์เป็นนักร้องที่สามารถปรับแปลงปรุงแต่งตัวเองได้ดี ตั้งแต่ก้าวเข้าสู่อาชีพอย่างจริงจังในวัยเด็ก โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ปรากฏสู่สาธารณชนทั้งชีวิตส่วนตัวและการร้องเพลง เธอเปลี่ยนจากเด็กน้อยเจื้อยแจ้วและร้องเพลงเก่งเกินวัยในสไตล์ดิสนีย์ คลับ แปลงโฉมมาสู่นักร้องวัยรุ่นสวยใสแจ่มจรัสสดชื่นเปี่ยมสีสัน และคลี่คลายสู่ภาพของเซ็กซี่สตาร์ด้วยระดับที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนแตกกระจายไม่มีชิ้นดีผ่านภาพชีวิตส่วนตัวและการสมรสที่ล้มเหลวจิตแตก
แม้อัลบั้ม ‘Blackout’ ของเธอจะได้รับการยอมรับว่า เป็นอัลบั้มโมเดิร์น พ๊อพ ที่เยี่ยมก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องฝีมือของทีมทำเพลงและผลิตดนตรีล้วนๆ เธอเป็นแค่คนส่งผ่านนำความคิดทั้งหมดออกมาสู่คนฟัง เมื่อมาถึงการเขียนเนื้อร้องในอัลบั้มชุดนี้ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจน ดูเหมือนตั้งใจให้ร้องง่ายติดปาก ความหมายทื่อๆ ตรงไปตรงมาให้จำง่ายๆ ติดหูติดปากติดใจทันที เพื่อผลิตเพลงแด๊นซ์ในแบบกลิ่นอายยูโรที่หลากหลายและผสมซาวด์อิเล็กทรอแด๊นซ์ร่วมสมัยเข้ามา เป็นสูตรที่พยายามสร้างเพลงฮิตร่วมสมัยขึ้นมา
การอยู่ในช่องว่างระหว่างทางที่เหลื่อมล้ำซ้ำซ้อน ระหว่างภาพของการขึ้นเป็นภาพจำหลักของวงการเพลงพ๊อพอันสำคัญโดดเด้งแห่งยุคสมัย กับภาพหุ่นเชิดทางดนตรีที่แสนสวยงามของทีมทำเพลงผลิตดนตรีเพื่อตลาดเพลงกระแสหลัก ยังไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แม้จะมีความพยายามสักเพียงใดก็ตาม ตราบเท่าที่บริทนีย์ สเปียร์ส ยังไม่สามารถเขียนเพลงของตัวเองและเสนอความคิดทางดนตรีที่เธอต้องการได้ โดยมีเครดิตอย่างเป็นรูปธรรม หากเธอยังอาศัยใบบุญพึ่งคนอื่นในการผลิตเพลงอย่างที่ผ่านมา ก็ต้องเป็นภาวะที่เหนื่อยหนักและเป็นภาระที่ต้องแบกไว้ในการสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับความเก่งกาจทางการร้องเพลงและผู้นำเทรนด์ดนตรีของโลกที่พยายามนำเสนอมาตลอด
เธอต้องเรียนรู้เพื่อจะเดินไปข้างหน้าทางด้านดนตรีและความเป็นตัวของตัวเองในบทเพลง หลังจากเยียวยาตัวเองเสร็จแล้ว ข้ามเส้นแบ่งบางๆ ของคำว่า นักแสดงเพลงหรือเพอร์ฟอร์แมนซ์ ไปสู่พลังขับเคลื่อนที่แท้จริงของคำว่า ‘ศิลปิน’ เพื่อแสดงตัวตนในวัฒนธรรมดนตรีกระแสหลักอีกคำรบหนึ่ง ในช่วงที่วันวัยเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสาวเต็มวัย สะพรั่งสู่สาวใหญ่อย่างเต็มตัว
เพราะในปัจจุบัน สามารถพูดง่ายๆ ว่า บริทนีย์ สเปียร์ส ไม่มีอะไรเลยในมิติทางด้านบทเพลงและดนตรีที่ออกมาจากตัวเธอเอง เสียงที่โดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะทางดนตรีล้วนใช้พลังขับเคลื่อนและดึงดูดใจทางเพศและความเซ็กซี่เย้ายวนผ่านภาพลักษณ์หน้าตารูปร่างและการดีดดิ้นผ่านมิวสิควิดีโอและบนเวทีการแสดง ผนวกกับการผลิตเพลงจากทีมทำเพลงที่เข้าใจบุคลิกของเธอและทิศทางดนตรีพ๊อพกระแสหลัก ทายใจรสนิยมดนตรีของคนฟังในตลาดเพลง
จุดอ่อนอีกอย่างสำหรับภาพลักษณ์ส่วนตัวของบริทนีย์ สเปียร์ส ทั้งชีวิตส่วนตัวและการแสดงออกทางความคิดและจุดยืนผ่านคำร้องในบทเพลงของเธอ เมื่อเปรียบเทียบกับ ไคลี่ มิโนค, มาดอนน่า, เลดี้ กาก้า หรือแม้กระทั่งริฮันน่า จุดที่อ่อนแอที่สุดของเธอคือการยอมจำนนในเชิงเพศสภาพ โดยไม่มีภาพของความเป็นเฟมินิสท์หรือภาพของผู้นำในการสนับสนุนกระบวนการเพื่อความเสมอภาคของสิทธิสตรี เป็นเพียงผู้ฟื้นฟูสภาพตัวเองจากความพ่ายแพ้ในเกมชีวิตทางเพศและครอบครัวที่กำลังกลับสู่ฟลอร์เต้นรำ
ในปัจจุบันที่ตลาดเพลงพ๊อพกำลังอยู่ในภาวะอิ่มตัวกับนักร้องสาวที่มาแรงในรุ่นหลัง อย่าง เกชา (Ke$ha) แคที่ เพอร์รี่ (Katy Perry) นิโคล เชอร์ซิงเกอร์ (Nicole Scherzinger) รวมถึงริฮันน่า(Rihanna) ที่กำลังก้าวสู่ขอบเขตของความเป็นซูเปอร์สตาร์ แม้ทั้งหมดจะถูกเลดี้ กาก้า แย่งซีนไปอย่างไม่ไว้หน้าก็ตาม บริทนีย์ สเปียร์ส ก็พยายามกลับเข้ามาสู่ลู่วิ่งของการแข่งขันนี้อย่างเต็มที่และเข้มแข็งอยู่ในที ผ่านทางภาพลักษณ์ผู้หญิงกร้านเจนจัดโลกแต่ไม่ถึงระดับขั้นแพศยา ที่มาทดแทนภาพความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาในอดีต
ในมาตรวัดทางดนตรีและเสียงร้องของบริทนีย์ สเปียร์ส ที่นำเสนอออกมาตั้งแต่อดีต จากทศวรรษกว่าๆ ที่ผ่านมา โดยมาตรฐานแล้วถือว่า เธอมียุคทองของเธอที่แสดงออกของดนตรีพ๊อพที่เพราะพริ้งรื่นหูที่มีอารมณ์ความรู้สึกสดใสก๋ากั๋นเคลือบดนตรีฟังค์กี้สีสันลูกกวาดแบบวัยรุ่นในปี 2000 (พ.ศ.2543) ผ่านอัลบั้ม 'Oops!...I Did It Again'
แต่ในโลกดนตรียอดนิยมยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการมาถึงของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ แด๊นซ์ และอิเล็กทรอนิกส์ ฮิพฮอพ มีนักร้องสาวมากมายที่อยู่บนเส้นทางสายนี้และก้าวขึ้นแซงหน้าบริทนีย์ สเปียร์ส ที่พยายามสลัดภาพเก่าๆ ของตัวเองทั้งในโลกดนตรีวัยรุ่นและภาพลักษณ์ส่วนตัวที่แหลกเหลวดำดิ่ง มีผลต่อบุคลิกภาพในโลกจริงและโลกมายาที่กัดกร่อนตัวเอง
แม้ ‘. . . Baby One More Time’ เป็นบทเพลงบับเบิลกัมในแบบทีนพ๊อพที่สร้างความมหัศจรรย์ให้เธอก้าวขึ้นเป็นนักร้องระดับโลกภายในชั่วข้ามคืน ความพยายามที่จะทะยานจากพ๊อพ ไอดอล หรือนักร้องขวัญใจวัยรุ่นยกระดับขึ้นสู่พ๊อพ ไอคอน สัญลักษณ์ของดนตรีและวัฒนธรรมพ๊อพที่มิถูกกาลเวลากัดกินได้ของ บริทนีย์ สเปียร์ส ก็ต้องทำงานอย่างเหนื่อยหนักกันต่อไป
การเปลี่ยนผ่านของช่วงวัย จากเด็กสู่วัยรุ่นและข้ามสู่ความเป็นผู้ใหญ่ใจแตกกร้านชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ เธอยังสร้างความน่าตื่นเต้นในดนตรีสมัยใหม่ที่แสดงถึงความก้าวล้ำอยู่อย่างต่อเนื่อง ‘Femme Fatale’ ก็น่าจะเป็นทางผ่านหนึ่งที่จะก้าวไปสู่อนาคตที่ไม่แน่นอน ท่ามกลางโลกดนตรียอดนิยมที่เปลี่ยนแปรไปอย่างรวดเร็ว...
>>>>>>>>>>
……….
รายชื่อบทเพลงในอัลบั้ม ‘Femme Fatale‘ ของ บริทนีย์ สเปียร์
1. ‘Till the World Ends’
2. ‘Hold It Against Me’
3. ‘Inside Out’
4. ‘I Wanna Go’
5. ‘How I Roll’
6. ‘(Drop Dead) Beautiful’ (featuring Sabi)
7. ‘Seal It with a Kiss’
8. ‘Big Fat Bass’ (featuring will.i.am)
9. ‘Trouble for Me’
10. ‘Trip to Your Heart’
11. ‘Gasoline’
12. ‘Criminal’
.........
ฟังมาแล้ว
>>>>>>>>
The Sun Come out (Sale el Sol) / Shakira
เพิ่งตกเป็นกระแสข่าวในการมาควงกับเคราร์ด ปิเก้ นักเตะกองหลังของยอดทีมแห่งสเปน อย่าง บาร์เซโลน่า และเป็นขุนพลชุดแชมป์โลกของทีมชาติสเปน สำหรับร๊อคสตาร์สาวชาวโคลัมเบียนคนนี้ ที่ผูกพันกับฟุตบอล รวมถึงเป็นนักร้องเพลงฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ อย่างเป็นทางการ
กับการไปท่องโลกผ่านบทเพลงภาษาอังกฤษมาพักใหญ่ แต่คงไม่ถูกจริตมากนัก จึงกลับมาทำงานเพลงในภาษาสเปนที่คงความหนักแน่นแบบละตินร๊อคที่จัดจ้านไว้ครบเครื่อง สื่อถึงพลังทางดนตรีที่ยังเปี่ยมความสดอย่างเป็นธรรมชาติ ดนตรีที่หนักแน่นละเมียดละไมที่อัดแน่นถึง 15 บทเพลง ทำให้เห็นว่า ยิ่งนานความยอดเยี่ยมของเธอยิ่งมากขึ้น ตามประสบการณ์และวันวัยทั้งเสียงร้องและดนตรีร๊อคในแบบละตินที่ไม่เหมือนใคร
Divas are forever / Shirley Bassey
แม้จะไม่มีบทเพลง ‘Can't Take My Eyes Off Of You’ ซึ่งเป็นเพลงในระดับบิ๊กฮิตในเมืองไทยของเธอ แต่บันทึกการแสดงสดที่กรุงอันท์เวิร์ป เบลเยี่ยม ในปี 1997 (พ.ศ.2540) ก็ยังคงความขรึมขลังและโชว์ความสามารถในการร้องเพลงและการแสดงได้สมกับชื่อคอนเสิร์ต
เธอนำบทเพลงในยุครุ่งเรือง กับการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เจมส์บอนด์ และโด่งดังเลื่องระบือไปทั้งโลกมาร้องบนเวทีนี้ไว้ครบครัน พร้อมเพลงฮิตที่โชว์พลังเสียงอย่างสุดกู่ไว้อย่างเต็มที่ แถมปิดท้ายด้วยสารคดีชีวิตส่วนตัวของเธอ
Wind-up City / ละอองฟอง
อัลบั้มชุดที่ 3 แต่เป็นชุดที่ 2 ในสังกัดสไปซี่ ดิสค์ ถือว่ามีระยะห่างในการทำงานมากพอสมควรทีเดียว กับอัลบั้มชุด 2 ‘Cozy Collection’ ถึงเกือบ 6 ปีเต็ม หากนับตั้งแต่ออกอัลบั้มชุดแรกในปี 2539 พวกเขาก็ยืนระยะมาถึงวันนี้ถึง 15 ปีเต็ม
ดนตรีในอัลบั้มชุดนี้ก็ยังคงระดับที่ไว้ใจได้ในเอกลักษณ์ของทางวง คือดนตรีในแนวสวีดิชพ๊อพที่ยืนหยัดมาตลอด ซึ่งว่าไปแล้วก็ไม่มีอะไรใหม่ แต่ถือเป็นวงเดียวในเมืองไทยที่เล่นแนวนี้ โดยเป็นดนตรีพ๊อพที่มีส่วนผสมของความสดใสเจิดจ้าของอารมณ์เพลง สีสันดนตรีที่มีท่วงทำนองลอยล่องออกมาด้วยเมโลดี้สวยๆ ผสมด้วยกลิ่นอายของดิสโก้บีท และเสียงคีย์บอร์ดที่ปูโอบอุ้มบรรยากาศในตัวเพลง
12 บทเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ขับเคลื่อนด้วยเสียงร้องบีบเล็กง้องแง้งของนักร้องนำสาวเช่นเดิม บางเพลงที่เป็นบัลลาดเนิบช้าก็มีกรุ่นอายของแจ๊ซที่เข้าท่าเข้าที ถือว่าเป็นงานที่ออกมาตามสภาพและมาตรฐานที่อยู่มือมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการจับอารมณ์คนฟังเพลงพ๊อพไทยรุ่นใหม่ได้ชะงัด
Olympia / Bryan Ferry
คนดนตรีระดับตำนานในยุคทศวรรษที่ 70 ที่โด่งดังเป็นจำหลักของยุคสมัยผ่านวงดนตรีร๊อกซี่ มิวสิค วงร๊อคหัวก้าวหน้าที่โดดเด่น เมื่อเป็นศิลปินเดี่ยวก็ยังรักษาเพดานการทำงานได้สูงเช่นเดิม คราวนี้มีอัลบั้มใหม่ออกมา เป็นงานชุดที่ 13 เข้าไปแล้ว
ยังคงความละมุนละม่อมละเมียดละไมของดนตรีร๊อคแบบผู้ใหญ่ ที่สุขุมคัมภีรภาพเป็นเสน่ห์อยู่มิห่างหาย โดยเฉพาะการโชว์ฝีมือและเชิงชั้นทางดนตรี เพราะแค่ 10 บทเพลงที่บรรจุอยู่ในอัลบั้ม ในแต่ละเพลงมีนักดนตรีและนักร้องร่วมเป็นแขกรับเชิญหลากหลายมากมายแตกต่างกันไป แสดงถึงบารมีของคนดนตรีรุ่นใหญ่อย่างแท้จริง
นับได้ว่าเป็นงานดนตรีที่ดี เนื้อร้องสละสลวย กับ 49:12 นาทีที่ฟังรวดเดียวจบทั้งอัลบั้มอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ด้วยดนตรีในแบบคอนเทมโพรารี่ พ๊อพร๊อคที่สมวัย โดยเฉพาะเสียงร้องประสานที่เพราะพริ้งและจัดวางองค์ประกอบได้ชาญฉลาด
………
ชีพจรดนตรี
>>>>>>>>>
คอนเสิร์ต ‘เจมส์ บลันท์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก’
หลังจากปล่อยให้แฟนเพลงชาวไทย ตั้งตารอคอยมายาวนาน ในที่สุด เจมส์ บลันท์ (James Blunt) เจ้าของเพลงดัง ‘You’re Beautiful’ ก็มีคอนเสิร์ต ‘เจมส์ บลันท์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก’ (James Blunt live in Bangkok) โดยสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ภูมิใจนำเสนออีกหนึ่งคอนเสิร์ตระดับโลก สู่ชาวไทยกับอีกหนึ่งศิลปินคุณภาพ เจมส์ บลันท์ เจ้าของยอดขายกว่า 15 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก มีผลงานเพลงฮิตติดชาร์ตมากมาย ที่แฟนเพลงทั่วโลกรวมทั้งแฟนเพลงชาวไทย ต่างเฝ้ารอชมการแสดงสด
ศิลปินหนุ่มชาวอังกฤษผู้นี้ เป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลงมากความสามารถ แจ้งเกิดตั้งแต่ผลงาน อัลบั้มแรก ‘Back to Bedlam’ ที่ส่งให้เขาก้าวขึ้นเป็นซุปเปอร์สตาร์ของโลกด้วยเพลง ‘You’re Beautiful’ ขึ้นอันดับหนึ่งใน 18 ประเทศ และติดอันดับท็อปเท็นใน 35 ประเทศ ขึ้นอันดับ 1 ในบิลบอร์ดชาร์ต ซึ่งกลายเป็นศิลปินจากอังกฤษคนแรก ที่ทำได้นับตั้งแต่เพลง 'Candle in the Wind 1997' ของเอลตัน จอห์น โดยอัลบั้มชุดนี้ก็ขายได้มากกว่า 10 ล้านชุดทั่วโลก
เจมส์ บลันท์ ก็ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องถึงอัลบั้มชุดที่ 2 ‘All the Lost Souls’ ที่มียอดขายกว่า 5 ล้านก็อปปี้ทั่วโลก เพลง ‘1973’, ‘Same Mistake’ และ ‘Carry You Home’ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ได้รับรางวัลและการยกย่องมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 2 รางวัลบริท อวอร์ด, 2 รางวัล เวิร์ลด์ มิวสิค อวอร์ด, 2 รางวัล เอ็มทีวี วิดิโอ มิวสิค อวอร์ด และรางวัลเอ็มทีวี ยูโรเปี้ยน มิวสิค อวอร์ด (MTV European Music Award) นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ถึง 5 สาขา
มาถึงอัลบั้มล่าสุด ‘Some Kind of trouble’ เพลงเปิดตัวของอัลบั้มนี้ได้แก่เพลง ‘So Far Gone’, ‘Superstar’ และ ‘Stay the Night’ ก็โด่งดังเป็นเพลงฮิต แม้ศิลปินมากความสามารถผู้นี้ จะมีความรักในการเขียนเพลงมากเพียงใด แต่ความสุขเหนือสิ่งอื่นใดของเขาก็คือ การได้เปิดการแสดงสด ได้เดินทางและแบ่งปันเสียงเพลงให้กับผู้ชม สำหรับทัวร์คอนเสิร์ตในครั้งนี้ เจมส์ บลันท์ กล่าวว่า เขารู้สึกตื่นเต้นและตั้งตารอคอย การทัวร์คอนเสิร์ตครั้งนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น
สำหรับแฟนเพลงชาวไทย คอนเสิร์ต ‘เจมส์ บลันท์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก’ จะมีขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เวลา 19.00 น. บัตรราคา 1,000 / 2,000 /3,000 /3,500 และ 4,000 บาท ซื้อได้ที่บูธไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา สอบถามรายละเอียด และส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมได้ที่ 0-2262-3838
บอสซ่าโนน่า : ออลสตาร์ บราซิลเลี่ยน แจ๊ซ คอนเสิร์ต
เตรียมความอิ่มเอมเอาไว้ครบทุกรส! สำหรับการรวมพลังของนักดนตรีแจ๊ซครั้งสำคัญ บนเวทีคอนเสิร์ต ‘บอสซ่าโนน่า : ออลสตาร์ บราซิลเลี่ยน แจ๊ซ คอนเสิร์ต’ การผสมผสานที่ลงตัวของเพลงแจ๊ซ ทั้งความสนุก ความหวาน และน่าหลงใหล ในสไตล์ของแจ๊ซ แอนด์ ละติน สัมผัสกับอิสระแห่งดนตรีที่ไม่มีขอบเขตในอีกรูปแบบหนึ่งของเพลงแจ๊ซ
นำทีมโดยสาวน้อยเสียงหวาน ณัฐชา ปัทมพงศ์ หรือ “โอ่ง เมลโล่ โมทีฟ ศิลปินสาวเจ้าของนามปากกาว่า โนน่า ซึ่งเป็นสุดยอดเสียงคุณภาพในแนวแจ๊ซ ไม่ว่าจะเป็นแนวดนตรีแจ๊ซ, บราซิเลี่ยน, ละติน, บอสซาโนว่า พร้อมด้วยศิลปินและนักดนตรีรับเชิญขุนพลแจ๊ซที่เป็นตัวจริงแห่งแจ๊ซ แอนด์ ละติน จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น บราซิล, มาเลเซีย, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา
ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง พร้อมลูกเล่นของดนตรีแจ๊ซสดๆ ในสไตล์บราซิเลี่ยน แจ๊ซ กับเสน่ห์ที่รับรองว่าคอเพลงแจ๊ซจะต้องไม่ผิดหวัง นอกจากนี้ ยังได้อิ่มบุญไปตามๆ กัน เพราะรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายบัตร จะนำไปมอบให้ มูลนิธิสายธารแห่งความหวัง (Wishing Well Project) องค์กรระดับชาติด้านการสานฝัน ดูแลคุณภาพชีวิตเด็กโรคมะเร็ง และสนับสนุนเครือข่ายกุมารชีวันตารักษ์ เพื่อการกุศลอีกด้วย
สำหรับคอนเสิร์ต ‘บอสซ่าโนน่า : ออลสตาร์ บราซิลเลี่ยน แจ๊ซ คอนเสิร์ต’ จะมีขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2554 เวลา 19.00 น. ณ CenterPoint Playhouse ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สามารถซื้อบัตรได้แล้วที่ Thaiticketmajor ทุกสาขา โทร 0-2262-3456 หรือ www.thaiticketmajor.com บัตรราคา 1,200 , 800 และ 500 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2361-9229 และ www.centerpointplayhouse.com
คอนเสิร์ตผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต
ในช่วงเทศกาลวันแม่ปีนี้ ลูกๆ คนไหนกำลังมองหาของขวัญให้แม่อยู่นั้น ทางบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวน ลูกๆ พาคุณแม่ไปชมคอนเสิร์ต ‘ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต’ เพื่อเป็นของขวัญสุดพิเศษให้กับคุณแม่ ผ่านบทเพลงย้อนยุคในอดีตสมัยคุณแม่ยังสาว ผ่านบทเพลงอันซาบซึ้ง และไพเราะ อาทิ ขอให้เหมือนเดิม , รักคุณเข้าแล้ว , หยาดเพชร , อิ่มอุ่น ถ่ายทอดโดยศิลปินคุณภาพ อาทิ สุเทพ วงศ์กำแหง , ก้อง สหรัฐ , ศุ บุญเลี้ยง, ปั่น และ แสตมป์ และ แขกรับเชิญพิเศษ พร้อมแสง สี เสียง วงดนตรีออร์เคสตร้า โชว์ตระการตาในแบบฉบับเวิร์คพอยท์
คอนเสิร์ต ‘ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต’ มีขึ้นในวันที่ 12 - 13 - 14 สิงหาคม 2554 วันละ 2 รอบ เวลา 14.00 น. และ 19.30 น. ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ กทม. บัตรราคา 1,200 1,500 1,800 2,000 2,500 และ 3,000 บาทพร้อมอาหารบุพเฟ่ต์ทุกที่นั่ง จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา โทร. 0 2262 3456
เขมวิช ภังคานนท์ หยิบปากกาเขียนหนังสือ พร้อมแต่งเพลงเพื่อชาวญี่ปุ่น
เขม-เขมวิช ภังคานนท์ โปรดิวเซอร์ นักร้อง และนักแต่งเพลง หยิบปากกาเขียนหนังสือ ‘สิ่งที่ตี๋ไม่มีวันลืม’ พร้อมแต่งเพลง ‘โอยะสึมิ’ (Oyasumi ) ซึ่งเป็นเพลงที่รวมอยู่ในซีดีซาวด์แทรก เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า หลับฝันดี หรือ ราตรีสวัสดิ์ โดยซีดีนี้จะรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเขียเกี่ยวกับเจ้าตี๋สุนัขพันธ์บุลเทอร์เรียของ เขม เขมวิช เอง เจ้าหมาขี้สงสัยพร้อมการเล่าเรื่องในแง่มุมน่ารักๆ ด้วยคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากมาย และคำถามเหล่านี้ มนุษย์เองก็ยังสงสัย และยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักแม่และการให้
สิ่งที่ตี๋ไม่มีวันลืม และซีดีซาวด์แทรก พร้อมวางจำหน่ายตามแผงหนังสือแล้ว ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/tt.fatdog และชมมิวสิควิดีโอ โอยะสึมิ ที่ http://www.youtube.com/watch?v=sGi6igxVsA4
>>>>>>>>>>>
พอล เฮง
paulheng_2000@yahoo.com