โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
“เกาให้ถูกที่คัน”
สำนวนที่คนไทยอยากเห็นนายกฯหญิงคนแรกของเมืองไทยนำไปใช้การแก้ปัญหาประเทศชาติ (พร้อมต่อต้านการมุ่งเกาแต่ที่คันของพี่ชายแต่เพียงฝ่ายเดียว) หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการ“เกากีตาร์”ไม่
แต่การเกากีตาร์กลับมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่นกีตาร์แบบ“ฟิงเกอร์สไตล์”(Fingerstyle) ซึ่งในเว็บไซต์ชมรมคนเล่นกีตาร์แนวฟิงเกอร์สไตล์ ได้พูดถึงวิธีการเล่นกีตาร์ในแนวนี้สรุปความว่า
...การเกากีตาร์ทั่วๆไปหรือที่เรียกกันว่าการเล่น“ปิ๊คกิ้ง”(Picking)ที่นิยมในเพลงโฟล์ค คันทรี มักจะมีรูปแบบการเกาที่เป็นแพทเทิร์นคงที่ไปตลอดเพลงแล้วเปลี่ยนคอร์ดไปเรื่อยๆ ส่วนแนวฟิงเกอร์สไตล์หมายถึงการเล่นกีตาร์ด้วยนิ้วเป็นหลัก มีลูกเล่น มีลีลา มีความซับซ้อนกว่าการเกากีตาร์ทั่วๆไป คล้ายการเล่นกีตาร์คลาสสิก แต่ไม่ได้มีรูปแบบในการเล่นโน้ตตายตัวขนาดนั้น...
ในบ้านเราช่วง 5-6 ปีหลังมานี่ กระแสการเล่นกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ถือว่ามาแรงพอตัว นอกจากจะมีคอนเสิร์ตจากมือกีตาร์แนวนี้ในระดับโลกหลายคนมาเล่นในบ้านเราแล้ว ยังมีผลงานเพลงแนวกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ออกมาสู่ยุทธจักรวงการเพลงไทย สวนกระแสเพลงตลาดสมัยนิยมให้ผู้ที่หลงใหลในเสียงกีตาร์ได้เสพกันพอสมควร โดยหนึ่งในนั้นก็คืออัลบั้ม “Fingersmile” ของ “โอเลตาร์”(Oletar) ในสังกัด “ใบชาsong” ค่ายเพลงที่ผลิตงานคุณภาพ ไม่โหล สวนกระแสตลาดเพลงไทยสมัยนิยมออกมาสู่ยุทธจักรเพลงไทยอยู่เรื่อยๆ
สำหรับ“โอเลตาร์” ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นหูของผู้ฟังเพลงกระแสหลักสักเท่าไหร่ แต่จากที่ไปไล่เรียงดูประวัติของหนุ่มชื่อแปลกคนนี้แล้ว ถือว่าไม่ธรรมดาเลย
โอเลตาร์ หรือชื่อจริงคือ “ศุกลวัฒณ์ มาตย์แพง” มือกีตาร์หน้าทะเล้นชาวนครพนมผู้นี้ เดิมมีชื่อเล่นว่า“โอเล”(เฉยๆ) เขาร่ำเรียนปวช.มาทางช่างไฟฟ้า พร้อมทั้งเริ่มเล่นดนตรีในคาเฟ่มาตั้งแต่ในสมัยนั้น ก่อนจะมาต่อปริญญาตรีสาขาเอกดนตรีสากล คณะศิลปศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งระหว่างเรียนได้เล่นดนตรีตามร้านอาหารคูกันไปเป็นรายได้เสริม พร้อมวาดอนาคตว่า ถ้าเรียนจบแล้วจะไปเป็นครูสอนดนตรีที่บ้านนอก แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ได้ไปเป็นครูบ้านนอก ตามคุณปิยะ ตระกูลราษฎร์ เพราะมีงานเข้า ทำให้เขาต้องทำงานดนตรีอยู่ในกรุงเทพฯเรื่อยมา
โอเล เป็นมือกีตาร์ระดับมือพระกาฬที่แม้แต่ลิงที่ศาลพระกาฬ ลพบุรี ยังเรียกพี่ในลีลาลูกนิ้วพราวแพรวสะแด่วแห้วของเขา โอเลเชี่ยวชาญด้านอะคูสติกกีตาร์ นิยมชมชอบการเล่นกีตาร์แนวฟิงเกอร์สไตล์ ผ่านการเล่นดนตรีมาอย่างโชกโชน ก่อนจะโคจรมาพบกับ “บรรณ สุวรรณโณชิน” หัวเรือใหญ่แห่งค่ายใบชาsong ที่ชักนำเข้าสู่วงการชา เอ๊ย!!! วงการเพลง ด้วยการเปิดให้เขาบันทึกเสียงกีตาร์ให้กับศิลปินในค่าย อาทิ สวีทนุช, อุ๊บอิ๊บ ฯ
จากนั้นเมื่อเวลาล่วงเลยมาสักระยะหนึ่ง คุณบรรณที่มองเห็นความสามารถในเชิงกีตาร์ที่มีลีลาในสกุลช่างอันโดดเด่นแปลกแตกต่างออกไป จึงให้มือกีตาร์หนุ่มนครพนมผู้นี้ เรียบเรียงเพลงไทยเดิมเพื่อเล่นบรรเลงในทางถนัด แล้วบันทึกเสียงเก็บมาเรื่อยๆเป็นเวลาปีกว่า ก่อนเดินทางไปอำเภอแจ้งเกิดอัลบั้มแรกในชีวิต คือ “Fingersmile” ซึ่งออกมาในนาม “โอเลตาร์”ที่เป็นชื่อใหม่ที่ทางค่ายใบชาsong ตั้งให้ โดยผสมคำว่า โอเล ชื่อเล่นเดิมของเขากับ กีตาร์ เครื่องดนตรีคู่กายเข้าไว้ด้วยกัน
Fingersmile อัลบั้มนิ้วยิ้มนี้ สื่อความชัดแจ้งอยู่แล้วว่า เป็นอัลบั้มเจือรอยยิ้ม ซึ่งทางคุณโอเลตาร์เผยว่าเขาเลือกทำเพลงออกมาตามอารมณ์ร่วมของแต่ละเพลง คือเมื่อได้ฟังเพลงไทยเดิมต้นฉบับแบบไหนก็เรียบเรียงทำเพลงออกมาแบบนั้น โดยอาจจะเปลี่ยนแปลงบางส่วน ประยุกต์ทำนองไปบ้าง ล้วนเป็นไปด้วยความรื่นรมย์ในแบบที่ดนตรีจะพึงพาไป
Fingersmile มีทั้งหมด 11 เพลง เป็นเพลงไทยเดิมอมตะทำนองคุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี 10 เพลง และเพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่อีก 1 เพลง ซึ่งโอเลตาร์เลือกนำเสนอบทเพลงไทยเดิมทั้ง 10 อย่างหลากหลาย ผ่านลีลาการพรมนิ้วจาก กีตาร์อะคูสติก(กีตาร์โปร่งสายเหล็ก),กีตาร์คลาสิค(สายไนล่อน),กีตาร์ไฟฟ้า และ อูคูเลเล่ เครื่องดนตรีตัวน้อยที่มาแรงมากในเมืองไทย
อัลบั้มนี้ เปิดตัวกันด้วย “ค้างคาวกินกล้วย”ในแบบอะคูสติกกีตาร์ กับการไล่โน้ตประสานซ้อน 2 ไลน์เปิดเพลง ก่อนส่งเข้าเพลงในอารมณ์สนุกๆ ด้วยการเล่นโน้ตในท่วงทำนองอมตะ(ลำโพงขวา) คู่ไปกับตีคอร์ดกระชับแน่นๆโอบอุ้มเมโลดี้(ลำโพงซ้าย) พร้อมทั้งการใส่ลูกเล่นสีสันต่างๆลงไปแก้เลี่ยนแบบจัดเต็ม ช่วยให้เพลงที่ออกมาฟังเพลิน ไม่รู้สึกน่าเบื่อกับเมโลดี้ๆที่ซ้ำมาซ้ำไป
เพลงถัดมา“ลาวเสี่ยงเทียน” โอเลตาร์ เล่นตบกีตาร์โปร่งสลับกันเล่นโน้ตในทำนองหลัก เพลงนี้เรียบเรียงออกมาฟังร่วมสมัยและลื่นไหลดีทีเดียว
สลับอารมณ์มาฟังเสียงนุ่มๆจากสายไนลอน(สายเอ็น)ของกีตาร์คลาสสิคในเพลง “ลาวดวงเดือน” กับทางกีตาร์คลาสสิค มีการเล่นทั้งเมโลดี้ เบส และเสียงประสาน สอดรับส่งกันไปในฟีลสวิง เพลงนี้มีสะดุดอารมณ์อยู่บ้าง ตรงท่อนร้องเล่นทำนองล้อกัน ซึ่งเสียงร้องฮึมฮัมประสานคอร์ดที่บางเหลือเกินมันฟังไม่ค่อยเข้าพวกเท่าไหร่ ไม่อย่างนั้นเพลงนี้จะน่าฟังยิ่งกว่านี้อีก
ส่วน “พม่ากลองยาว” เปิดเพลงมากันในกลิ่นลาติน จากนั้นจึงสานต่อด้วยการตบอะคูสติกกีตาร์คู่ไปกับการเล่นโน้ตพรมนิ้วพลิ้วๆในลีลามันๆลงไปบนเส้นลวด 6 สายอย่างลื่นไหล ละเอียด เจ๋งถึงใจพระเดชพระคุณคอกีตาร์ดีแท้
แล้วต่อกันด้วย“สร้อยแสงแดง” ที่โชว์การเล่นฮาร์โมนิคเปิดเพลง ก่อนส่งเข้าสู่ตัวเพลง ที่ไม่ได้เน้นการเล่นหวือหวา แต่อาศัยท่วงทำนองอันสวยงาม สร้างอารมณ์ให้เพลงนี้ฟังเพราะซึ้ง จับใจ
“อัศวลีลา” เพลงนี้โอเลตาร์มาอินเทรนด์สุดๆกับอูคูเลเล่ เล่นกระชับๆในลีลาม้าย่อง ฟังกันเพลินๆ ชวนให้นึกถึงละครจักรๆวงศ์ๆเรื่องแก้วหน้าม้าไม่น้อย ต่อจากนั้นเป็น“เขมรไล่ควาย”ที่มาด้วยกีตาร์คลาสสิคเพราะๆซึ้งๆ สลับกับการตีคอร์ดผสมเล่นโน้ตในอารมณ์ปร่าแปร่งที่อะเร้นจ์เพิ่มเข้ามา ฟังมี 2 อารมณ์ในเพลงเดียว ซึ่งการตีคอร์ดด้วยกีตาร์คลาสสิคในท่อนแปร่งๆนั้น ความแน่นของมันสู้การตีคอร์ด้วยกีตาร์โปร่งไม่ได้
ถัดมาเป็น “นกเขาขะแมร์” หรือที่ถูกนำมาทำเป็นเพลงลูกกรุง “นกเขาคูรัก” อันลือลั่น เพลงนี้แปลกกว่าเพลงอื่น ตรงที่ใช้กีตาร์ 2 ประเภทคือกีตาร์ไฟฟ้ากับกีตาร์โปร่ง เล่นสอดรับประสานกันในลีลาฟิวชั่นแจ๊ซฟังสบาย พร้อมมีลูกอิมโพรไวซ์แซมประปรายพอเป็นพิธี แบบไม่เต็มเหนี่ยว เหมือนยั่วให้อยากแล้วจากไป
ด้าน “ต้นวรเชษฐ์” ต้นไม้ต้นนี้ติดกลิ่นอะคูสติกบลูส์อยู่พอตัว ช่วยให้อารมณ์เพลงมีความแตกต่างออกไป ส่วน“แขกขาว”เป็นเสียงกีตาร์คลาสสิคใสๆฟังสบาย ปิดท้ายเพลงไทยเดิมบรรเลง แต่ยังไม่ปิดท้ายอัลบั้ม เพราะยังเหลือเพลงส่งท้ายจริงๆอีกหนึ่งเพลงนั่นก็คือ เพลง“ค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย”ที่เป็นเพลงร้องเพลงเพียงหนึ่งเดียวในอัลบั้มนี้ แต่งเนื้อร้อง-ทำนองขึ้นมาใหม่ โดยบรรณ สุวรรณโณชิน
เพลงนี้ บรรณได้ไอเดียมาจากชื่อเพลง“ค้างคาวกินกล้วย” ซึ่งเขาเปรียบ“ค้างคาว” แทนคนไทย และ“กล้วย” แทนสิ่งดีๆที่ควรอนุรักษ์ของไทย ซึ่งวันเวลาที่ผ่านมามีหลายสาเหตุถาโถมเข้ามา ทำให้ค้างคาวสยามยุคใหม่ไม่กินกล้วยกันแล้ว หากแต่หันไปกินแฮมเบอร์เกอร์ กินกิมจิ กินปลาดิบกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะค้างคาวสยามรุ่นใหม่ๆทั้งหลาย ที่หลงลืมความเป็นไทย(บางคนดูถูกเหยียดหยามด้วยซ้ำ)หันไปหลงใหลได้ปลื้มกับวัฒนธรรมต่างชาติดูน่าสะทกสะท้อนใจ ดังเนื้อร้องในท่อนท้ายที่ว่า
“...ลืมพื้นเพบ้านเรา เอาเขามามากมาย ลืมกันหมด จนทิ้งที่ปู่ย่ายาย ท่านได้สร้างมา
เอาสองตาเปิดมอง ลองพินิจด้วยใจ ความเป็นไทย วันนี้ ใครจะชื่นชม ถ้าไม่ใช่เรา”
เพลงค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย เป็นซิงเกิ้ลแรกที่ทางค่ายเปิดตัวออกมา เพลงนี้มีกีตาร์ตีคอร์ดแน่นๆอุ้มเสียงร้องของโอเลตาร์ ที่กระเดียดไปทางอัสนี โชติกุล โดยมีลูกเสียงหลง ลูกเพี้ยน เติมเสริมเข้ามาแบบกวนๆ ซึ่งฟังแล้วผมว่าหมอนี่เหมาะแล้วล่ะที่จะเล่นแต่เพลงบรรเลงกีตาร์เพียวๆ
และนั่นก็คือ 11 บทเพลงจาก “Fingersmile” อัลบั้มที่ชื่อฟังแล้วสวนทางกับคอนเซ็ปต์ของเพลงค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย แต่นี่ไม่ได้เป็นสาระที่จะมาลดทอนความน่าสนใจของอัลบั้มชุดนี้ลงแต่อย่างใด เพราะสำหรับผู้ชื่นชอบในเสียงกีตาร์ ผู้ที่นิยมฟังเพลงไทยประยุกต์ ผู้ที่นิยมฟังเพลงบรรเลงสบายๆ หรือผู้ที่นิยมฟังเพลงที่แตกต่างสวนกระแสเพลงไทยสมัยนิยมตลาดอิงการตลาด
Fingersmile ถือเป็นหนึ่งในอัลบั้มชวนฟังในอารมณ์สบายๆเพลินๆ แต่ไม่น่าเบื่อ เพราะมีความหลากหลายในจังหวะลีลากับต้นทุนเดิมจากท่วงทำนองที่คุ้นหู ผสมความแตกต่างเล็กๆจากทางกีตาร์ที่เขาเรียบเรียงขึ้นมาใหม่
แม้ในเพลงสุดท้าย ค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย ท่วงทำนองจะฟังแล้วไม่ได้ให้อารมณ์ร่วมหรือเข้าพวกกับเพลงไทยสักเดิมเท่าไหร่ แต่ว่าในส่วนเนื้อหานี่สิชวนให้ฉุกคิดไม่น้อยเลย
*****************************************
คลิกฟังเพลง ค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : รวมศิลปิน
อัลบั้ม : Transformers 3
เพลงร็อคมันๆดูจะกลายเป็นของคู่กันกับความวินาศสันตะโรในหนังหุ่นยนต์ต่างดาวเรื่องนี้ไปแล้วโดยในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ Transformers ภาค 3(สังกัด Warner Music) ไมเคิล เบย์ ยังคงใช้บริการเพลงของ Linkin Park มาเป็นเพลงนำในบทเพลง “Iridescent” จากอัลบั้มล่าสุด A Thousand Suns ที่จัดมาแบบมันๆในสไตล์นูเมทัลผสมอิเลคทรอนิกาส์ ร่วมด้วยเพลงใหม่ๆจากวงร็อคแห่งยุคสมัยรวมทั้งหมด 11 ซึ่งนอกจากเพลงนำของ Linkin Park แล้วยังมีเพลงร็อคมันๆอย่าง “Monster”(Paramore), “The Only Hope for Me Is You”(My Chemical Romance),“The Bottom”(Staind) และเพลงเพราะๆ“All That You Are” จากวง Goo Goo Dolls มาเบรกอารมณ์
*****************************************
คอนเสิร์ต
“Harmonic Salade”
คณะนักร้องประสานเสียง Siam Harmony จัดคอนเสิร์ต “Harmonic Salade” ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 เวลา 19.30 -21.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารสภาคริสตจักรในประเทศไทย (เชิงสะพานหัวช้าง) บัตรราคา 200 บาท,400 บาท และ 800 บาท
ในคอนเสิร์ตจะได้พบกับการขับร้องประสานเสียงแบบไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ (Acappella) โดยเพลงที่ร้องมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ เพลงในภาษาต่างๆ เพลงที่เลียนแบบเสียงเครื่องดนตรี เพลงพื้นบ้านของหลายๆประเทศ ที่มีทั้งยุค Baroque, Classic, Romantic, และ Contemporary
สำหรับ Siam Harmony ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 ควบคุมและฝึกซ้อมโดย Jose Libres Librodo ซึ่ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Siam Harmony ได้มีผลงานการแสดงต่าง ๆ อาทิ คอนเสิร์ตครั้งที่ 1 “ Harmonic Outburst an all A Cappella Concert”, Busan APEC Choral festival & Competition 2005 at Korea,คอนเสิร์ต “Swinging Along from Broadway to Hollywood” ซึ่งจัดโดย คุณกมลา สุโกศล,คอนเสิร์ตบอกรักแม่ ซึ่งจัดโดยสภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
และการขับร้องประสานเสียงในงานเทศการต่าง ๆ เป็นต้น
ทั้งผู้สนใจคอนเสิร์ต “Harmonic Salade” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 081-420-2125
“เกาให้ถูกที่คัน”
สำนวนที่คนไทยอยากเห็นนายกฯหญิงคนแรกของเมืองไทยนำไปใช้การแก้ปัญหาประเทศชาติ (พร้อมต่อต้านการมุ่งเกาแต่ที่คันของพี่ชายแต่เพียงฝ่ายเดียว) หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการ“เกากีตาร์”ไม่
แต่การเกากีตาร์กลับมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่นกีตาร์แบบ“ฟิงเกอร์สไตล์”(Fingerstyle) ซึ่งในเว็บไซต์ชมรมคนเล่นกีตาร์แนวฟิงเกอร์สไตล์ ได้พูดถึงวิธีการเล่นกีตาร์ในแนวนี้สรุปความว่า
...การเกากีตาร์ทั่วๆไปหรือที่เรียกกันว่าการเล่น“ปิ๊คกิ้ง”(Picking)ที่นิยมในเพลงโฟล์ค คันทรี มักจะมีรูปแบบการเกาที่เป็นแพทเทิร์นคงที่ไปตลอดเพลงแล้วเปลี่ยนคอร์ดไปเรื่อยๆ ส่วนแนวฟิงเกอร์สไตล์หมายถึงการเล่นกีตาร์ด้วยนิ้วเป็นหลัก มีลูกเล่น มีลีลา มีความซับซ้อนกว่าการเกากีตาร์ทั่วๆไป คล้ายการเล่นกีตาร์คลาสสิก แต่ไม่ได้มีรูปแบบในการเล่นโน้ตตายตัวขนาดนั้น...
ในบ้านเราช่วง 5-6 ปีหลังมานี่ กระแสการเล่นกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ถือว่ามาแรงพอตัว นอกจากจะมีคอนเสิร์ตจากมือกีตาร์แนวนี้ในระดับโลกหลายคนมาเล่นในบ้านเราแล้ว ยังมีผลงานเพลงแนวกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ออกมาสู่ยุทธจักรวงการเพลงไทย สวนกระแสเพลงตลาดสมัยนิยมให้ผู้ที่หลงใหลในเสียงกีตาร์ได้เสพกันพอสมควร โดยหนึ่งในนั้นก็คืออัลบั้ม “Fingersmile” ของ “โอเลตาร์”(Oletar) ในสังกัด “ใบชาsong” ค่ายเพลงที่ผลิตงานคุณภาพ ไม่โหล สวนกระแสตลาดเพลงไทยสมัยนิยมออกมาสู่ยุทธจักรเพลงไทยอยู่เรื่อยๆ
สำหรับ“โอเลตาร์” ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นหูของผู้ฟังเพลงกระแสหลักสักเท่าไหร่ แต่จากที่ไปไล่เรียงดูประวัติของหนุ่มชื่อแปลกคนนี้แล้ว ถือว่าไม่ธรรมดาเลย
โอเลตาร์ หรือชื่อจริงคือ “ศุกลวัฒณ์ มาตย์แพง” มือกีตาร์หน้าทะเล้นชาวนครพนมผู้นี้ เดิมมีชื่อเล่นว่า“โอเล”(เฉยๆ) เขาร่ำเรียนปวช.มาทางช่างไฟฟ้า พร้อมทั้งเริ่มเล่นดนตรีในคาเฟ่มาตั้งแต่ในสมัยนั้น ก่อนจะมาต่อปริญญาตรีสาขาเอกดนตรีสากล คณะศิลปศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งระหว่างเรียนได้เล่นดนตรีตามร้านอาหารคูกันไปเป็นรายได้เสริม พร้อมวาดอนาคตว่า ถ้าเรียนจบแล้วจะไปเป็นครูสอนดนตรีที่บ้านนอก แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ได้ไปเป็นครูบ้านนอก ตามคุณปิยะ ตระกูลราษฎร์ เพราะมีงานเข้า ทำให้เขาต้องทำงานดนตรีอยู่ในกรุงเทพฯเรื่อยมา
โอเล เป็นมือกีตาร์ระดับมือพระกาฬที่แม้แต่ลิงที่ศาลพระกาฬ ลพบุรี ยังเรียกพี่ในลีลาลูกนิ้วพราวแพรวสะแด่วแห้วของเขา โอเลเชี่ยวชาญด้านอะคูสติกกีตาร์ นิยมชมชอบการเล่นกีตาร์แนวฟิงเกอร์สไตล์ ผ่านการเล่นดนตรีมาอย่างโชกโชน ก่อนจะโคจรมาพบกับ “บรรณ สุวรรณโณชิน” หัวเรือใหญ่แห่งค่ายใบชาsong ที่ชักนำเข้าสู่วงการชา เอ๊ย!!! วงการเพลง ด้วยการเปิดให้เขาบันทึกเสียงกีตาร์ให้กับศิลปินในค่าย อาทิ สวีทนุช, อุ๊บอิ๊บ ฯ
จากนั้นเมื่อเวลาล่วงเลยมาสักระยะหนึ่ง คุณบรรณที่มองเห็นความสามารถในเชิงกีตาร์ที่มีลีลาในสกุลช่างอันโดดเด่นแปลกแตกต่างออกไป จึงให้มือกีตาร์หนุ่มนครพนมผู้นี้ เรียบเรียงเพลงไทยเดิมเพื่อเล่นบรรเลงในทางถนัด แล้วบันทึกเสียงเก็บมาเรื่อยๆเป็นเวลาปีกว่า ก่อนเดินทางไปอำเภอแจ้งเกิดอัลบั้มแรกในชีวิต คือ “Fingersmile” ซึ่งออกมาในนาม “โอเลตาร์”ที่เป็นชื่อใหม่ที่ทางค่ายใบชาsong ตั้งให้ โดยผสมคำว่า โอเล ชื่อเล่นเดิมของเขากับ กีตาร์ เครื่องดนตรีคู่กายเข้าไว้ด้วยกัน
Fingersmile อัลบั้มนิ้วยิ้มนี้ สื่อความชัดแจ้งอยู่แล้วว่า เป็นอัลบั้มเจือรอยยิ้ม ซึ่งทางคุณโอเลตาร์เผยว่าเขาเลือกทำเพลงออกมาตามอารมณ์ร่วมของแต่ละเพลง คือเมื่อได้ฟังเพลงไทยเดิมต้นฉบับแบบไหนก็เรียบเรียงทำเพลงออกมาแบบนั้น โดยอาจจะเปลี่ยนแปลงบางส่วน ประยุกต์ทำนองไปบ้าง ล้วนเป็นไปด้วยความรื่นรมย์ในแบบที่ดนตรีจะพึงพาไป
Fingersmile มีทั้งหมด 11 เพลง เป็นเพลงไทยเดิมอมตะทำนองคุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี 10 เพลง และเพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่อีก 1 เพลง ซึ่งโอเลตาร์เลือกนำเสนอบทเพลงไทยเดิมทั้ง 10 อย่างหลากหลาย ผ่านลีลาการพรมนิ้วจาก กีตาร์อะคูสติก(กีตาร์โปร่งสายเหล็ก),กีตาร์คลาสิค(สายไนล่อน),กีตาร์ไฟฟ้า และ อูคูเลเล่ เครื่องดนตรีตัวน้อยที่มาแรงมากในเมืองไทย
อัลบั้มนี้ เปิดตัวกันด้วย “ค้างคาวกินกล้วย”ในแบบอะคูสติกกีตาร์ กับการไล่โน้ตประสานซ้อน 2 ไลน์เปิดเพลง ก่อนส่งเข้าเพลงในอารมณ์สนุกๆ ด้วยการเล่นโน้ตในท่วงทำนองอมตะ(ลำโพงขวา) คู่ไปกับตีคอร์ดกระชับแน่นๆโอบอุ้มเมโลดี้(ลำโพงซ้าย) พร้อมทั้งการใส่ลูกเล่นสีสันต่างๆลงไปแก้เลี่ยนแบบจัดเต็ม ช่วยให้เพลงที่ออกมาฟังเพลิน ไม่รู้สึกน่าเบื่อกับเมโลดี้ๆที่ซ้ำมาซ้ำไป
เพลงถัดมา“ลาวเสี่ยงเทียน” โอเลตาร์ เล่นตบกีตาร์โปร่งสลับกันเล่นโน้ตในทำนองหลัก เพลงนี้เรียบเรียงออกมาฟังร่วมสมัยและลื่นไหลดีทีเดียว
สลับอารมณ์มาฟังเสียงนุ่มๆจากสายไนลอน(สายเอ็น)ของกีตาร์คลาสสิคในเพลง “ลาวดวงเดือน” กับทางกีตาร์คลาสสิค มีการเล่นทั้งเมโลดี้ เบส และเสียงประสาน สอดรับส่งกันไปในฟีลสวิง เพลงนี้มีสะดุดอารมณ์อยู่บ้าง ตรงท่อนร้องเล่นทำนองล้อกัน ซึ่งเสียงร้องฮึมฮัมประสานคอร์ดที่บางเหลือเกินมันฟังไม่ค่อยเข้าพวกเท่าไหร่ ไม่อย่างนั้นเพลงนี้จะน่าฟังยิ่งกว่านี้อีก
ส่วน “พม่ากลองยาว” เปิดเพลงมากันในกลิ่นลาติน จากนั้นจึงสานต่อด้วยการตบอะคูสติกกีตาร์คู่ไปกับการเล่นโน้ตพรมนิ้วพลิ้วๆในลีลามันๆลงไปบนเส้นลวด 6 สายอย่างลื่นไหล ละเอียด เจ๋งถึงใจพระเดชพระคุณคอกีตาร์ดีแท้
แล้วต่อกันด้วย“สร้อยแสงแดง” ที่โชว์การเล่นฮาร์โมนิคเปิดเพลง ก่อนส่งเข้าสู่ตัวเพลง ที่ไม่ได้เน้นการเล่นหวือหวา แต่อาศัยท่วงทำนองอันสวยงาม สร้างอารมณ์ให้เพลงนี้ฟังเพราะซึ้ง จับใจ
“อัศวลีลา” เพลงนี้โอเลตาร์มาอินเทรนด์สุดๆกับอูคูเลเล่ เล่นกระชับๆในลีลาม้าย่อง ฟังกันเพลินๆ ชวนให้นึกถึงละครจักรๆวงศ์ๆเรื่องแก้วหน้าม้าไม่น้อย ต่อจากนั้นเป็น“เขมรไล่ควาย”ที่มาด้วยกีตาร์คลาสสิคเพราะๆซึ้งๆ สลับกับการตีคอร์ดผสมเล่นโน้ตในอารมณ์ปร่าแปร่งที่อะเร้นจ์เพิ่มเข้ามา ฟังมี 2 อารมณ์ในเพลงเดียว ซึ่งการตีคอร์ดด้วยกีตาร์คลาสสิคในท่อนแปร่งๆนั้น ความแน่นของมันสู้การตีคอร์ด้วยกีตาร์โปร่งไม่ได้
ถัดมาเป็น “นกเขาขะแมร์” หรือที่ถูกนำมาทำเป็นเพลงลูกกรุง “นกเขาคูรัก” อันลือลั่น เพลงนี้แปลกกว่าเพลงอื่น ตรงที่ใช้กีตาร์ 2 ประเภทคือกีตาร์ไฟฟ้ากับกีตาร์โปร่ง เล่นสอดรับประสานกันในลีลาฟิวชั่นแจ๊ซฟังสบาย พร้อมมีลูกอิมโพรไวซ์แซมประปรายพอเป็นพิธี แบบไม่เต็มเหนี่ยว เหมือนยั่วให้อยากแล้วจากไป
ด้าน “ต้นวรเชษฐ์” ต้นไม้ต้นนี้ติดกลิ่นอะคูสติกบลูส์อยู่พอตัว ช่วยให้อารมณ์เพลงมีความแตกต่างออกไป ส่วน“แขกขาว”เป็นเสียงกีตาร์คลาสสิคใสๆฟังสบาย ปิดท้ายเพลงไทยเดิมบรรเลง แต่ยังไม่ปิดท้ายอัลบั้ม เพราะยังเหลือเพลงส่งท้ายจริงๆอีกหนึ่งเพลงนั่นก็คือ เพลง“ค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย”ที่เป็นเพลงร้องเพลงเพียงหนึ่งเดียวในอัลบั้มนี้ แต่งเนื้อร้อง-ทำนองขึ้นมาใหม่ โดยบรรณ สุวรรณโณชิน
เพลงนี้ บรรณได้ไอเดียมาจากชื่อเพลง“ค้างคาวกินกล้วย” ซึ่งเขาเปรียบ“ค้างคาว” แทนคนไทย และ“กล้วย” แทนสิ่งดีๆที่ควรอนุรักษ์ของไทย ซึ่งวันเวลาที่ผ่านมามีหลายสาเหตุถาโถมเข้ามา ทำให้ค้างคาวสยามยุคใหม่ไม่กินกล้วยกันแล้ว หากแต่หันไปกินแฮมเบอร์เกอร์ กินกิมจิ กินปลาดิบกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะค้างคาวสยามรุ่นใหม่ๆทั้งหลาย ที่หลงลืมความเป็นไทย(บางคนดูถูกเหยียดหยามด้วยซ้ำ)หันไปหลงใหลได้ปลื้มกับวัฒนธรรมต่างชาติดูน่าสะทกสะท้อนใจ ดังเนื้อร้องในท่อนท้ายที่ว่า
“...ลืมพื้นเพบ้านเรา เอาเขามามากมาย ลืมกันหมด จนทิ้งที่ปู่ย่ายาย ท่านได้สร้างมา
เอาสองตาเปิดมอง ลองพินิจด้วยใจ ความเป็นไทย วันนี้ ใครจะชื่นชม ถ้าไม่ใช่เรา”
เพลงค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย เป็นซิงเกิ้ลแรกที่ทางค่ายเปิดตัวออกมา เพลงนี้มีกีตาร์ตีคอร์ดแน่นๆอุ้มเสียงร้องของโอเลตาร์ ที่กระเดียดไปทางอัสนี โชติกุล โดยมีลูกเสียงหลง ลูกเพี้ยน เติมเสริมเข้ามาแบบกวนๆ ซึ่งฟังแล้วผมว่าหมอนี่เหมาะแล้วล่ะที่จะเล่นแต่เพลงบรรเลงกีตาร์เพียวๆ
และนั่นก็คือ 11 บทเพลงจาก “Fingersmile” อัลบั้มที่ชื่อฟังแล้วสวนทางกับคอนเซ็ปต์ของเพลงค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย แต่นี่ไม่ได้เป็นสาระที่จะมาลดทอนความน่าสนใจของอัลบั้มชุดนี้ลงแต่อย่างใด เพราะสำหรับผู้ชื่นชอบในเสียงกีตาร์ ผู้ที่นิยมฟังเพลงไทยประยุกต์ ผู้ที่นิยมฟังเพลงบรรเลงสบายๆ หรือผู้ที่นิยมฟังเพลงที่แตกต่างสวนกระแสเพลงไทยสมัยนิยมตลาดอิงการตลาด
Fingersmile ถือเป็นหนึ่งในอัลบั้มชวนฟังในอารมณ์สบายๆเพลินๆ แต่ไม่น่าเบื่อ เพราะมีความหลากหลายในจังหวะลีลากับต้นทุนเดิมจากท่วงทำนองที่คุ้นหู ผสมความแตกต่างเล็กๆจากทางกีตาร์ที่เขาเรียบเรียงขึ้นมาใหม่
แม้ในเพลงสุดท้าย ค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย ท่วงทำนองจะฟังแล้วไม่ได้ให้อารมณ์ร่วมหรือเข้าพวกกับเพลงไทยสักเดิมเท่าไหร่ แต่ว่าในส่วนเนื้อหานี่สิชวนให้ฉุกคิดไม่น้อยเลย
*****************************************
คลิกฟังเพลง ค้างคาวไม่ยอมกินกล้วย
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : รวมศิลปิน
อัลบั้ม : Transformers 3
เพลงร็อคมันๆดูจะกลายเป็นของคู่กันกับความวินาศสันตะโรในหนังหุ่นยนต์ต่างดาวเรื่องนี้ไปแล้วโดยในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ Transformers ภาค 3(สังกัด Warner Music) ไมเคิล เบย์ ยังคงใช้บริการเพลงของ Linkin Park มาเป็นเพลงนำในบทเพลง “Iridescent” จากอัลบั้มล่าสุด A Thousand Suns ที่จัดมาแบบมันๆในสไตล์นูเมทัลผสมอิเลคทรอนิกาส์ ร่วมด้วยเพลงใหม่ๆจากวงร็อคแห่งยุคสมัยรวมทั้งหมด 11 ซึ่งนอกจากเพลงนำของ Linkin Park แล้วยังมีเพลงร็อคมันๆอย่าง “Monster”(Paramore), “The Only Hope for Me Is You”(My Chemical Romance),“The Bottom”(Staind) และเพลงเพราะๆ“All That You Are” จากวง Goo Goo Dolls มาเบรกอารมณ์
*****************************************
คอนเสิร์ต
“Harmonic Salade”
คณะนักร้องประสานเสียง Siam Harmony จัดคอนเสิร์ต “Harmonic Salade” ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 เวลา 19.30 -21.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารสภาคริสตจักรในประเทศไทย (เชิงสะพานหัวช้าง) บัตรราคา 200 บาท,400 บาท และ 800 บาท
ในคอนเสิร์ตจะได้พบกับการขับร้องประสานเสียงแบบไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ (Acappella) โดยเพลงที่ร้องมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ เพลงในภาษาต่างๆ เพลงที่เลียนแบบเสียงเครื่องดนตรี เพลงพื้นบ้านของหลายๆประเทศ ที่มีทั้งยุค Baroque, Classic, Romantic, และ Contemporary
สำหรับ Siam Harmony ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 ควบคุมและฝึกซ้อมโดย Jose Libres Librodo ซึ่ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Siam Harmony ได้มีผลงานการแสดงต่าง ๆ อาทิ คอนเสิร์ตครั้งที่ 1 “ Harmonic Outburst an all A Cappella Concert”, Busan APEC Choral festival & Competition 2005 at Korea,คอนเสิร์ต “Swinging Along from Broadway to Hollywood” ซึ่งจัดโดย คุณกมลา สุโกศล,คอนเสิร์ตบอกรักแม่ ซึ่งจัดโดยสภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
และการขับร้องประสานเสียงในงานเทศการต่าง ๆ เป็นต้น
ทั้งผู้สนใจคอนเสิร์ต “Harmonic Salade” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 081-420-2125