“ครูพยงค์” ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแรก แต่กำลังใจดีเยี่ยม ด้านแพทย์เผย ต้องตัดไตข้างขวาและท่อปัสสาวะด้านขวาที่บวมทิ้ง เพื่อรักษามะเร็ง รับ แม้จะเป็นวิธีที่เสี่ยง แต่ก็เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้หายได้
หลังจากที่ “ครูพยงค์ มุกดา” ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล) วัย 85 ปี ถูกหามส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ด้วยอาการปัสสาวะเป็นเลือด ล่าสุดวันนี้(25 พ.ค.) ศ.นพ.กฤษฏา รัตนโอฬาร หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ พร้อมด้วย นพ.กิตติณัฐ กิจวิภัย แพทย์เจ้าของไข้ ได้เปิดแถลงข่าวความคืบหน้าอาการของครูเพลงชื่อดัง ว่ากำลังจะทำการตัดไตข้างขวาของครูพยงค์ เพื่อรักษามะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ ในวันพุธที่ 27 พ.ค. ที่จะถึงนี้ แต่ตอนนี้กำลังใจครูดีเยี่ยม พร้อมที่จะรับการรักษา
ศาสตราจารย์กฤษฎา : “ครูมาด้วยเรื่องปัสสาวะเป็นเลือด เมื่อมาถึงโรงพยาบาลอาจารย์นายแพทย์กิตติณัฐได้ทำการส่องกล้อง ก็พบว่ามีเนื้องอกอยู่ในกระเพาะปัสสาวะข้างขวา ว่าจะทำการผ่าตัด แต่เนื่องจากว่าสภาพร่างกายตอนนั้นไม่ดี มีของเสียในร่างกายในไตข้างนึง ต้องทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน จากการตรวจสภาพร่างการพบว่า ไตข้างขวาบวมมาก ในตำแหน่งที่ตรงกับตำแหน่งในเนื้องอกปัสสาวะ”
“ดังนั้นเราจึงวินิจฉัยว่า ไตข้างขวาบวม และในขณะเดียวกัน ไตข้างซ้ายก็ไม่ดี เลยต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ในการทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากส่องกล้องแล้ว เราทำการเจาะไตข้างขวา เพื่อให้น้ำปัสสาวะออกได้ เพื่อให้สภาพร่างกายดีขึ้น และระบายของเสียออกได้ ในวันรุ่งขึ้นหลังจากดูไตข้างขวามีการระบายของเสียดีขึ้น และคุณครูก็อยู่ในสภาพดีขึ้น เมื่อร่างกายของอาจารย์ดีขึ้น ก็สามารถรักษาอาการ ซึ่งเป็นต้นเหตุได้”
“ซึ่งเป็นเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ และทำการเข้าห้องผ่าตัดอีกครั้งนึง ก็เลยได้ขูดเอาเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะออกมา เราได้ทำการขูดเป็นที่เรียบร้อย แต่เนื่องจากพบว่า เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะเป็นเพียงส่วนเดียว แล้วมีเนื้องอกทางด้านขวาด้วย เพราะตัวนี้เป็นตัวที่ทำให้กระเพาะปัสสาววะบวมด้วย จึงต้องมีการผ่าตัดอีกครั้งหนึ่ง แต่พอได้คุยกับครูและญาติของครูแล้ว ว่าถ้าสมมุติจะรักษาให้หาย ต้องตัดไตข้างขวาของคุณครูออก ซึ่งทางอาจารย์กิตติณัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของไข้ เมื่อสักครู่ผมได้ขึ้นไปเยี่ยมคุณครูมาแล้ว ก็ร่าเริงแจ่มใสดี และได้บอกครูแล้ว คุณครูก็ยินดีที่จะได้รับการรักษาตรงนั้น”
สรุปว่าก้อนเนื้อที่พบคือมะเร็งร้าย?
นายแพทย์กิตติณัฐ : “ครับ เดิมนี่คือเราดูแล้ว ภาพใหญ่คิดว่าใช่ แต่พอไปตรวจก็ยืนยันว่าเป็น แต่ผมได้เรียนคุณครูแล้ว ครูก็รับสภาพ แต่ว่าโรคนี้เนื่องจากว่าการเป็นมะเร็งในทางเดินปัสสาวะ ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายได้ เราก็พยายามทำต่อเพราะว่าการขููดเนื้องอกที่ผ่านมา ก็ประสบผลสำเร็จ”
ศาสตราจารย์กฤษฎา : “เราทำการส่องกล้องในวันแรกที่เข้ามา เนื่องจากปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติแล้วเวลาที่มีคนไข้ปัสสาวะเป็นเลือดเข้ามา เราอาจจะหาคำตอบก่อนว่า เลือดออกที่ไหนบ้าง เพราะว่าเลือดออกในปัสสาวะมันจะมีปัญหาจากไต จากท่อไต หรือว่าปัสสาวะในต่อของผู้ชาย เพราะฉะนั้นการที่คนไข้มาครั้งแรก ในการปัสสาวะเป็นเลือด เราต้องส่องกล้องดูก่อน ก็เลยพบว่า เป็นในระบบท่อปัสสาวะ เราก็เลยตัดเนื้องอกไปพิสูจน์”
“เมื่อตัดเนื้อไปพิสูจน์แล้ว เราก็เปลี่ยนแผนการรักษา แต่อย่างที่เรียนให้ทราบว่า ร่างกายคนไข้ไม่แข็งแรงพอ การเอาเนื้องอกออกต้องดมยา เพราะคนไข้ร่างกายไม่ดี เราจึงต้องปรับสภาพร่างกายก่อน หลังจากค่าของเสียลดลงแล้ว เราจึงทำการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดที่ขูดเอาเนื้องอกออก ที่อาจารย์กิตติณัฐเป็นคนทำให้เมื่อสามวันก่อน ก็เลยได้เนื้องอกออกมาจำนวนหนึ่ง ก็ยังมีเนื้องอกบางส่วน ที่ยังอยู่ในท่อไต ซึ่งทำการขูดไม่ได้ ซึ่งเราจะต้องทำการผ่าตัดในครั้งต่อไป ซึ่งอาจารย์กิตติณัฐได้ทำการวางแผนไว้แล้ว”
“การผ่าตัด อันนี้เป็นสิ่งที่คิดว่าน่าจะมีผลกับร่างกายในระดับหนึ่ง เพราะว่าไตข้างซ้ายของครูไม่ค่อยดี แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ชีวิตต้องมาก่อน เนื่องจากว่าท่อไตข้างขวาของครูเป็นโรค การผ่าตัดไตครั้งต่อไปของครูน่าจะยุ่งยากนิดนึง แต่ว่าการกำจัดโรค เป็นผลดีมากกว่าที่จะทิ้งโรคอันนี้ไว้ ซึ่งทำให้เลือดออกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทางคณะแพทย์เห็นว่าการเอาเนื้องอกออกซะก่อน สิ่งที่จะตามมาเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้”
เผยครูพยงค์อายุมากแล้ว ทำให้การผ่าตัดยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ก็อุ่นใจได้เพราะผู้ป่วยที่เคยรักษามาก่อนหน้านี้เคยรักษาให้หายมาแล้ว
นายแพทย์กิตติณัฐ : “จริงๆ แล้วคนที่อายุมาก ความเสี่ยงในการผ่าตัดมีมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า แล้วคนไข้ที่มีอาการเป็นแบบนี้ อายุขนาดนี้ ทางโรงพยาบาลเราไม่ได้รับการรักษาบ่อยครั้ง อย่้างไรก็ตามเนื่องจากคนไข้อายุเยอะ เราคงไม่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท คนอื่นเคยรักษาหายมาแล้ว แต่สำหรับครูเราก็ไม่ประมาทอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นทีมหลายๆ ทีมที่ทำการรักษา อีกอย่างนึง ผมคิดว่าจะใช้การผ่าตัดผ่านทางกล้องด้วย ซึ่งการผ่าตัดประเภทนี้มันทำให้เกิดแผลค่อนข้างเล็ก และช่วยให้คนไข้เสียเลือดน้อยและเจ็บปวดน้อย อันนี้เป็นวิธีที่เราวางแผนการรักษาไว้”
ศาสตราจารย์กฤษฎา : “ครูอายุ 85 ปีแล้ว การผ่าตัดในคนสูงอายุก็มีความเสี่ยงสูง ทั้งจากโรคต่างๆ ทั้งโรคปอดและหัวใจ แต่เมื่อเรามาชั่งน้ำหนักดูแล้ว ในอาการของครู ถ้าเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป มันจะทรมานกว่าเพราะมันจะมีเลือดออก ผมคิดว่าการกำจัดต้นตอของเหตุอันนี้ ถึงแม้ว่าอาการผ่าตัดจะดูเสี่ยงนิดหน่อย แต่ว่าน่าจะคุ้มในการรักษาโรคอันนี้ ครั้งนี้เราจะใช้วิธีการใหม่ๆ ร่วมด้วย คือการใช้กล้องส่องแทน แต่ก่อนจะเห็นว่าการผ่าตัดถุงน้ำดีมีแผลยาวเป็นพืด แต่ว่าเดี๋ยวนี้เขาก็ใช้วิธีส่องแทนแล้ว ซึ่งการผ่าตัดโดยเจาะรู จะใช้เวลา ในเวลาที่พอเหมาะพอสม และคนไข้ก็จะเสียเลือดน้อย คิดว่าการผ่าตัดตรงนี้จะทำให้ครูปลอดภัยระดับหนึ่ง การผ่าตัดตรงนี้ปลอดภัยมากกว่าการผ่าตัดแบบอื่น”
พบเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ และในท่อไต ซึ่งในส่วนของกระเพาะปัสสาวะสามารถเอาออกได้ ด้วยการส่องกล้อง แต่ในไตไม่สามารถเอาออกได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัด
นายแพทย์กิตติณัฐ : “เนื้องอกที่เจอมันจะอยู่่ในกระเพาะปัสสาวะ ส่วนที่มันมีอยู่ในท่อไตจะมีอีกประมาณ 1-2เซนติเมตร ซึ่งโดยเทคนิคการผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้องเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเอาออกได้ แต่ในท่อไตเราไม่สามารถเอาออกได้หมด จึงต้องมีการผ่าตัด ตามที่ท่านหัวหน้าแพทย์ได้เรียนไว้ คือการเจาะรูเล็กๆ เข้าทางผนังหน้าท้องเพื่อช่วยเอาเนื้องอกที่ยังอยู่เอาออกให้หมด แต่ยังไงก็ตามเนื้องอกที่เหลืออยู่ในขณะนี้คิดว่าเป็นส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะทั้งหมดผมคิดว่าเราเอาออกหมดแล้ว แล้วตอนนี้คนไข้เลือดที่เคยออกก็หยุดหมดแล้ว”
หลังจากรับการผ่าตัดไปแล้วจะมีเนื้องอกขึ้นมาอีกหรือเปล่า?
นายแพทย์กิตติณัฐ : “โดยปกติในกรณีที่เป็นมะเร็ง เราจะใช้ดูอาการภายในระยะเวลา 5 ปี ส่วนใหญ่คงจะบอกได้ชัดหลังผ่าตัดไปแล้ว เพราะว่าจะต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อซ้ำอีกครั้งนึง ตรงนี้มันไม่ได้ลุกลามออกมาข้างนอก ผมเชื่อว่ามันจะไม่กลับมาอีก แต่อย่างไรก็ตามเราคงจะประมาทไม่ได้ ในระยะยาวเราอาจจะต้องติดตามไปตลอด และอาจจะมีคนไข้บางส่วน ก่อนหน้านี้มันมีเคสที่มีเนื้องอกที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าได้ ซึ่งมันอาจจะกลับมาอีก”
ศาสตราจารย์กฤษฎา : “หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะและเนื้องอกท่อไต ไตของเราทั้งสองข้างมีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ทีนี้การที่ไตกรองของเสียออกจากเลือดก็จะกลายเป็นน้ำปัสสาวะ น้ำปัสสาวะมันไม่ได้เข้าปัสสาวะโดยตรง แต่มันจะผ่านท่อ มันก็จะเข้าในกระเพาะปัสสาวะแล้วระบายออก แล้วเนื้องอกของครูเกิดจากท่อไตด้านขวา และเนื้องอกมันโผล่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อตอนส่งกล้องครั้งแรก เราจึงเข้าใจว่าเป็นเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ แต่หลังจากที่ได้มาทำการส่องอีกครั้งนึง วันนั้นไม่ได้ดมยา แต่พอส่องกล้องเข้าไปปุ๊บเห็นเนื้อก็เลยตัดเนื้อไปพิสูจน์ แต่พอผ่าตัดโดยการตั้งใจเมื่อสองวันก่อน ปรากกว่าเห็นเนื้องอกที่ออกมาจากท่อไต จริงๆ โดยหลักการเค้าจะไม่ใช้ส่้องไปทางรูนั้น แต่การผ่าตัดที่จะเกิดขึ้น อีกประมาณ 2-3 วันข้างหน้า จะใช้คนละวิธีกัน”
นายแพทย์กิตติณัฐ : “โดยส่วนใหญ่เนื้องอกประเภทนี้มีสาเหตุหลักๆ ในเรื่องของการสูบบุหรี่ และมีคนไข้ที่ได้รับสารเคมีบางอย่าง แต่ของครูท่านไม่ได้สูบบุหรี่แล้ว ก็คงตอบสาเหตุชัดๆ ได้ยาก เพราะโดยทั่วไปสาเหตุที่เราทราบก็มีอยู่ 2 สาเหตุที่กล่าวมา”
ตอนนี้ครูพยงค์ปัสสาวะไม่เป็นเลือดแล้ว ส่วนอาการอื่นๆ ก็ดีขึ้นตามลำดับ
นายแพทย์กิตติณัฐ : “ไม่มีแล้วเพราะว่าเราได้ทำการรักษาและได้ระบายของเสีย ออกจากร่างกายแล้ว ตอนนี้ก็เลยปัสสาวะใส ทีนี้ของเสียที่อยู่ในร่างกายเปรียบเทียบกับวันที่เข้ามา ดีขึ้นมากแล้ว ใกล้เคียงกับคนปกติที่มีอายุ 80 กว่า ครูมีสภาพร่างกายที่ดีขึ้น และสดใสขึ้นตามลำดับ”
ศาสตราจารย์กฤษฎา : “จริงๆ คนเราสามารถใช้ไตข้างเดียวก็ได้ เห็นจากการที่มีคนสามารถบริจาคไตได้ แต่สำหรับของครูพยงค์ การที่ครูพยงค์มีเนื้องอกข้างเดียวแล้วของเสียเยอะ เพราะว่าไตข้างซ้ายที่ครูมีอยู่ก็ทำงานได้ไม่ดี เนื่องจากสาเหตุอะไรไม่ทราบ ก็เลยทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่ดี แต่หลังจากที่เราได้เจาะไตเอาของเสียที่อยู่ในร่างกายออกแล้ว ก็เลยทำให้ร่างกายของอาจารย์ดีขึ้น ถ้าเกิดลำพังไตข้างใดข้างนึงผิดปกติก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร ค่าของเสียก็คงจะไม่สูงเหมือนอย่างวันแรกที่ท่านมา แต่ตอนนี้ทุกอย่างก็โอเ้ค สภาพร่างกายของคุณครูก็ดีขึ้นแล้ว พร้อมที่จะได้รับการรักษาต่อไป”
นายแพทย์กิตติ “ครูเคยได้รับการผ่าตัดนิ่วมาแล้ว ตอนท่านอายุประมาณ 30 เพระเราก็ไม่ทราบจริงๆ ว่าการผ่าตัดตอนโน้นเป็นยังไง เพราะตอนนี้มันผ่านมา 50 ปีแล้ว คุณครูท่านก็จำรายละเอียดอะไรไม่ได้แล้ว หลังจากนี้ก็คงต้องดูผลเลือดจากการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว กรณีที่ไตข้างซ้ายเหลือข้างเดียว ก็คงต้องรอดูว่าไตข้างซ้ายอาจจะกลับมาทำงานได้ดีก็ได้ แต่ถ้าสมมุติว่า ถ้าทำงานไม่ไหวก็อาจจะต้องฟอกไต ซึ่งการฟอกไตต้องทำเป็นประจำ การผ่าตัดอาจจะเป็นวันพุธนี้(27) ถ้าร่างกายแข็งแรงดี ถ้าไม่มีโรคอะไรแทรกซ้อนโอกาสที่จะปลอดภัยก็สูงมาก”