ผ่านไปแล้วสำหรับคอนเสิร์ตการกุศล A Moment of Grace with JIM BRICKMAN กับการมาเยือนเมืองไทยครั้งล่าสุดของ จิม บริคแมน ศิลปินแนวนิวเอจชั้นนำ เจ้าของเสียงเปียโนสุดโรแมนติกที่ฝากผลงานเอาไว้กับแฟนเพลงทั่วโลก
ความพิเศษของคอนเสิร์ตการกุศลครั้งนี้ นอกจากจะอยู่ที่แขกรับเชิญที่เป็นนักร้องดัง ทั้ง John Trones ที่ควบตำแหน่งผู้จัดการส่วนตัวและนักร้องนำของบริคแมน และหนึ่งสาวไทยอย่าง กบ เสาวนิตย์ นวพันธ์ ที่จะมาเป็นดิว่าให้กับบริคแมนแล้ว ยังมีแขกพิเศษอย่าง โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร นักเปียโนหนุ่มไฟแรงของเมืองไทย ที่จะได้โอกาสขึ้นไปดูเอทเปียโนร่วมกับบริคแมนด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่บริคแมนเปิดโอกาสให้มีศิลปินในประเทศที่เขาไปเยือนได้ขึ้นมาประลองฝีมือในด้านเปียโนกับเขากันแบบสดๆ เช่นนี้
นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ศิลปินไทยที่จะขึ้นไปแสดงในเวทีวันนั้น อันได้แก่ อ.ศิริพงศ์ ทิพย์ธัญ หัวหน้ากลุ่มวิชาเครื่องสายตะวันตก และ อ.อภิชัย เลี่ยมทอง อาจารย์ประจำวิชา Cello และ Chamber Music ของมหาวิทยาลัยรังสิต มือไวโอลินชั้นคอนเสิร์ตมาสเตอร์และมือเชลโลของ Bangkok Symphony Orchestra วงออร์เครสต้าอันดับหนึ่งของเมืองไทย
นับเป็นโอกาสอันดีที่ทีมงานผู้จัดการออนไลน์จะได้มาเปิดใจพูดคุยกับทั้งสองท่านถึงเรื่องคอนเสิร์ตดังกล่าว และทัศนคติเกี่ยวกับแวดวงดนตรีคลาสสิกในเมืองไทย ของนักดนตรีสองท่านที่อดีตต่างก็เคยเป็นนักเรียนดนตรีที่มีโอกาสไปศึกษาและทำงานในต่างประเทศ และเคยผ่านประสบการณ์ได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากศิลปินเอกของโลกอย่าง Isaac Stern และ Mstislav Rostropovich มาแล้ว
ร่วมไปถึงความเห็นในทิศทางของการพัฒนาดนตรีในเยาวชนไทย และการมาถึงของรายการ 123 Unity Thailnd รายการที่รวบรวมเยาวชนกว่า 123 ชีวิตเพื่อมาสร้างเป็นวงออร์เครสต้าเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ที่กำลังออกอากาศทางช่อง Thai PBS ในขณะนี้ ซึ่งทั้งสองท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนในรายการดังกล่าวด้วย
1. ในฐานะนักดนตรีคลาสสิกทั้งสองท่านรู้สึกอย่างไรกับดนตรีนิวเอจครับ
อ.อภิชัย - จริงๆ ผมก็ฟังหลายอย่างน่ะ อย่างร็อคผมก็ฟัง แม้จะไม่มีความรู้อะไรมาก แต่ในฐานะนักดนตรีแล้วเราก็ควรจะฟังเพลงได้ทุกประเภท แม้จริงๆ ผมจะทำงานกับเพลงคลาสสิก แต่เวลาผมอยู่ในรถหรือฟังเพื่อผ่อนคลายก็ฟังอย่างอื่นเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องคลาสสิกอย่างเดียว
อ.ศิริพงศ์ - อาจารย์อ็อปนี่เขาชอบ โบว์ สุนิตา มาก ส่วนผมจริงๆ ก็ชอบแร็ป กับฮิปฮอป เหมือนกัน
2. อย่างนี้มาร่วมงานกับนักดนตรีแนวนิวเอจก็ไม่ต้องปรับอะไรมาก
อ.ศิริพงศ์ - จริงๆ ก็ตามที่อาจารย์อ.อ็อปบอกก็คือนักดนตรีคลาสสิกอย่างเราก็ชอบเพลงทุกแนว เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการฟังเพลงของเรา จะได้ทราบว่าดนตรีชื่อนี้มันเป็นยังไง ยุคสมัยของดนตรีมันไปถึงไหนแล้ว คือฟังเพลงไม่ได้เพื่อความสนุกอย่างเดียว มันเป็นการเสริมสร้างความรู้ที่แตกต่างอีกด้วย เป็นการอัพเดทเทรนด์ไปในตัวด้วย
3. อย่างนี้อ.ศิริพงศ์ต้องเคยร่วมงานกับศิลปินมาแล้วมากมาย
อ.ศิริพงศ์ - ใช่ครับ ศิลปินนอกเหนือจากแวดวงคลาสสิกที่ผมเคยร่วมงานด้วยก็มี Kenny G, Gypsy King, Pat Metheny ส่วนศิลปินไทยที่เคยร่วมงานด้วยก็มีตั้งแต่ P.O.P เบิร์ด ธงชัย และอีกหลายๆ คน
อ.อภิชัย - อาจารย์เบิร์ดนี่เพลงลูกทุ่งก็เล่นมาแล้ว
อ.ศิริพงศ์ - อ่า ใช่ครับ เพลงลูกทุ่งก็เล่นมาแล้ว กับสุนารี ราชสีมา เพราะจริงๆ วงการเพลงลูกทุ่งนี่เขาจะใช้เครื่องสายค่อนข้างเยอะ
4. ทราบมาว่าอ.ศิริพงศ์เคยได้เป็นคอนเสิร์ตมาสเตอร์ที่อายุน้อยที่สุดของวง Bangkok Symphony Orchestra อยากทราบที่มาว่าเป็นอย่างไรครับ
อ.ศิริพงศ์ - เดิมทีตำแหน่งเดิมเป็นของอ. สิทธิชัย เพ็งเจริญ และ อ. สุทิน ศรีณรงค์ สองท่านนี้อยู่ในช่วงที่ไล่ๆ กัน คือตอนนั้นเป็นช่วงที่อ.สิทธิชัยลาออกไปทำงานที่อื่นตอนที่ผมเรียนจบมาพอดี อายุผมตอนนั้นตอนจบปริญญาตรีก็ประมาณ 22 ปี ซึ่งตำแหน่งนี้จริงๆ ต้องเป็นที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับพอสมควร
5. พอได้มาเป็นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ
อ.ศิริพงศ์ - ตื่นเต้นครับ เป็นความรู้สึกที่ดีว่าเราประสบความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งแล้ว ตั้งตอนตอนเด็กๆ แล้วที่ผมไปดูการแสดงคอนเสิร์ตก็ได้แต่สงสัยว่าทำไมพอคอนเสิร์ตเลิก ต้องมีคนๆ นี้ได้จับมือกับคอนดักเตอร์ ต้องได้รับดอกไม้ มันดูเท่จังเลย พอวันนี้มาเป็นเราก็เป็นความรู้สึกที่เยี่ยมมาก หลังจากเป็นได้ 2 ปีก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปเรียนต่อปริญญาโท แล้วก็กลับมาเป็นอีกครั้งจนวันนี้
6. หน้าที่คอนเสิร์ตมาสเตอร์ของ BSO ต้องทำอะไรบ้าง
อ.ศิริพงศ์ - หน้าที่หลักของผมก็คือหน้าที่ในการเชื่อมความเข้าใจระหว่างคอนดักเตอร์และทีมในวง รวมไปถึงในฐานะคอมมิตตีที่ร่วมตัดสินใจในการเลือกเพลงที่จะนำมาเล่น กำหนดเรื่องการซ้อม และระยะเวลาของการซ้อม โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องสาย เวลาที่เราดูวงเมืองนอกเล่นแล้วรู้สึกว่าทำไมเขาเล่นพร้อมเพรียงกันจังเลย ผมจะรับผิดชอบในตรงนั้น
7. แล้วการเตรียมตัวของการเป็นคอนเสิร์ตมาสเตอร์กับการเป็นมือโซโลไวโอลินในการแสดงคอนแชร์โต้มีความแตกต่างกันแค่ไหน
อ.ศิริพงศ์ - แตกต่างกันมาก การที่คุณจะขึ้นไปโซโลในเพลงคอนแซร์โต้ คุณต้องมีความชัวร์อย่างที่สุด ส่วนตัวผมการขึ้นแสดงคอนแชร์โต้ผมจะให้เวลากับการเตรียมตัวที่มากกว่า เพราะมันเป็นภาระความรับผิดชอบที่มากกว่า อย่างคอนเสิร์ตมาสเตอร์นี่เราต้องเป็นผู้นำก็จริง แต่เรายังมีเพื่อนที่อยู่ข้างหลังอีกนับสิบที่คอยช่วยเหลือเราอยู่
8. แล้วอาจารย์อภิชัยใช้เวลาในการเตรียมตัวก่อนขึ้นแสดงคอนแชร์โต้แค่ไหน
อ.อภิชัย - เตรียมตัวนานครับ มันเป็นเพลงที่โชว์ทักษะของผู้เล่นอย่างที่สุด เหนือกว่าการแสดงในรูปแบบอื่นๆ
9. มากกว่าการแสดงแบบรีไซเทิล(การเล่นดนตรีเดี่ยว)แค่ไหนครับ
อ.อภิชัย - ต่างกันมากครับ ประเภทรีไซเทิลที่เป็นอะไรที่เล็กๆ แต่อันนี้เราต้องเล่นกับวงใหญ่ ต้องร่วมงานกับนักดนตรีหลายคน แต่โอกาสในการเล่นคอนแชร์โต้ที่เมืองไทยค่อนข้างน้อย เพราะหนึ่งเลยเราต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก เพราะอย่างเราๆ นี่ก็ต้องทั้งสอนทั้งเล่นไปด้วย สองก็คือเหตุผลทางการตลอดด้วย ถ้าคนเล่นเดี่ยวนั้นเป็นคนไทย ก็มักจะเรียกคนดูได้น้อยกว่านักดนตรีต่างชาติที่มีเปิดการแสดงในบ้านเรา ดังนั้นโอกาสของนักดนตรีไทยที่จะได้ขึ้นแสดงคอนแชร์โต้ซัก 2-3 ครั้งในชีวิตก็เยี่ยมแล้ว
10.ตอนนี้กระแสของดนตรีคลาสสิกในสื่อภาพยนตร์และละครกำลังดัง ทั้ง Season Change, Nodame Catabile หรือ Beethoven Virus มันมีผลต่อภาพรวมของแวดวงเพลงคลาสสิกในบ้านเราแค่ไหน
อ.อภิชัย - ดีครับ มันปลุกกระแสได้ส่วนหนึ่ง เพราะสิ่งที่ฝังหัวคนเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกมานานก็คือมันดนตรีที่น่าเบื่อ เป็นอะไรที่อยู่ในอดีตกาล แต่ถ้าสังเกตดูดีๆ จะรู้ว่าเราแทบจะฟังเพลงคลาสสิกทุกๆ วัน ทั้งในซาวด์แทร็คหนัง เพลงประกอบโฆษณา หลายๆ อย่าง
อ.ศิริพงศ์ - แต่ก่อนพอพูดถึงคำว่าดนตรีคลาสสิก สิ่งที่ตามมาก็คือต้องปีนบันไดฟัง
อ.อภิชัย - ซึ่งจริงๆ แล้วไม่อยากจะให้แบ่งแยกว่าอะไรคลาสสิกไม่คลาสสิก ดนตรีก็คือดนตรี แต่ว่าเพลงคลาสสิกเป็นแนวเพลงที่พิสูจน์แล้วว่าอยู่เหนือกาลเวลา กาลเวลาไม่สามารถทำลายมันลงได้ เมื่อ 300 ปีเล่นยังไง เดี๋ยวนี้ก็ยังเล่นกันอยู่ อีกกี่ร้อยปีก็ยังคงเหมือนเดิม เป็นสิ่งที่ไม่มีวันตาย จะมีปัญหานิดหน่อยตรงที่กำแพงด้านความซับซ้อนของมันที่ผู้คนยังไม่เคยชินกับมันเท่านั้นเอง
11. แล้วอย่างโนดาเมะนี่สามารถทำลายกำแพงตรงนั้นลงได้หรือเปล่า
อ.อภิชัย - แน่นอนเลยครับ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าผู้สร้างเขาเก่งมากๆ ในการนำเพลงมาใส่ในหนังเพื่อสร้างบรรยากาศได้อย่างลงตัวโดยไม่ต้องใช้คำพูด
อ.ศิริพงศ์ - คือจริงๆ การฟังเพลงคลาสสิกมันมีหลายรูปแบบ บางครั้งเราต้องมีความรู้ที่มาของเพลงถึงจะซึมซับได้อย่างเต็มที่ แต่ในกรณีของโนดาเมะเขาสามารถเลือกเพลงที่เป็นที่คุ้นหูกันอยู่แล้วมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12. เมื่อก่อนนี้เรามีหนังอย่าง Amadeus ที่ทำให้เกิดแฟนเพลงคลาสสิกมาแล้วมากมาย
อ.ศิริพงศ์ - ในกรณีของอมาเดอุสนั้นจะเน้นที่ตัวคอมโพสเซอร์ ความเป็นโอเปร่า เรื่องราวระหว่างโมสาร์ตกับซาลีเอรีเป็นหลัก พูดถึงความเป็นคู่แค้นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น จริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างในหนัง แต่ในกรณีของโนดาเมะนี่จะมีความหลากหลายมาก ทั้งเนื้อหาและรูปแบบของดนตรี
อ.อภิชัย - มันเข้าถึงวัยรุ่นได้มากกว่า เรื่องราวของความทะเยอทะยานของเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งเรื่องราวในอมาเดอุสมันดูเป็นสิ่งที่ไกลตัวมากกว่า
13.จากทั้งสองเรื่องที่เห็นมา ทั้ง Nodame Catabile และ Beethoven Virus รู้สึกว่าคนที่เป็นคอนดักเตอร์จะต้องโหดมาก มันจำเป็นสำหรับงานของเขาหรือเปล่า
อ.อภิชัย - มันก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่น่ะครับ มันอยู่ที่ว่าการที่คุณจะดุได้คุณต้องมีสิ่งที่เรียกว่า "บารมี" ในตัวอยู่พอสมควร การที่ใครซักคนจะมาดุโดยไม่มีบารมี คนในวงก็ไม่ยอมรับ
14. แล้วอย่างหลังในชีวิตจริงนี่มีมาเจอบ่อยไหมครับ
อ.อภิชัย - มีครับ ที่เห็นบางคนที่ดุโดยไม่มีสาเหตุก็ยังมี แต่ถามว่าจะได้ใจจากนักดนตรีไหม คำตอบคือไม่มีทาง คนเป็นคอนดักเตอร์จะต้องมีความเข้าใจตัวงานเพลงและพื้นฐานของนักดนตรี โดยเฉพาะคอนดักเตอร์ที่มาจากต่างประเทศจะต้องเข้าใจพื้นฐานทางการศึกษาของนักดนตรีในบ้านเราด้วย ที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนวงดังๆ ในตะวันตก จะมาคาดหวังให้ซ้อมแค่สองครั้งแล้วออกมาเพอร์เฟ็คนั่นมันต้องใช้เวลามากนิดนึง ต้องให้ความเข้าใจ คนทำหน้าที่ตรงนี้ที่ทำงานร่วมกันแบบค่อยๆ สอนแบบนี้จะได้ใจจากนักดนตรีมากกว่า
อ.ศิริพงศ์ - จริงๆ แล้วคอนดักเตอร์มันจะเหมือนผู้นำชุมชน ต้องเข้าใจของสภาพของชุมชุนเป็นหลัก
อ.อภิชัย - เขาไม่ควรคิดว่าตัวเองเป็นเจ้านาย คอนดักเตอร์ที่ดีคือผู้ที่คอยแนะนำ ไม่ใช่คอยสั่งเอาโน่นเอานี่ พอไม่ได้แล้วอารมณ์เสีย
อ.ศิริพงศ์ - คอนดักเตอร์ที่ดีก็คือครูที่ดีครับ
15. คอนเสิร์ตมาสเตอร์กับคอนดักเตอร์เคยขัดแย้งกันบ้างไหม
อ.ศิริพงศ์ - ผมจะทำงานร่วมกับคอนดักเตอร์ทั้งการปรึกษาเรื่องระยะเวลาของการซ้อมแต่ละเพลง กับปัญหาที่คอนดักเตอร์ที่เขาบอกมา ส่วนเรื่องความเห็นที่ไม่ตรงกันนี่ก็พอมีบ้าง ในกรณีที่คอนดักเตอร์คนนั้นในความเห็นของเราไม่มีความสามารถเพียงพอ ก็เกิดความขัดแย้งได้ แต่ในฐานะมืออาชีพก็ต้องร่วมงานกันจนตลอดรอดฝั่ง
อ.อภิชัย - ความสัมพันธ์ในวงออร์เครสต้าก็เหมือนกับเกมฟุตบอล ที่คอนดักเตอร์จะทำหน้าที่ของโค้ช ก็จะเตรียมงานทุกอย่างเอาไว้ก่อนหน้าที่จะแสดงจริง ที่เราเห็นคอนดักเตอร์ไปโบกไม้หน้าเวทีนั้นเขาเตรียมงานเอาไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนหน้าที่ของอาจารย์เบิร์ดก็คือเป็นกัปตันทีมที่จะคอยรับคำสั่งของผู้จัดการทีมหรือตัวคอนดักเตอร์อีกที ซึ่งถึงแม้บางคำสั่งของโค้ชจะขัดแย้งต่อความรู้สึกของผู้เล่น แต่หน้าที่ของกัปตันทีมก็คือพยายามทำให้ทีมเดินต่อไปข้างหน้าในทิศทางที่พร้อมเพรียงกันที่สุด
16.เห็นตอนนี้มีรายการโทรทัศน์อย่าง 123 Unity ที่พยายามส่งเสริมเยาวชนที่รักในการเล่นดนตรีคลาสสิก ที่ทั้งสองท่านก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของที่นั่นด้วย
อ.ศิริพงศ์ - ครับ ซึ่งเพลงที่จะเล่นก็คือเพลงคลาสสิกที่ป็อปปูลาที่คนรู้จักกันดี
17. เห็นว่าในวงเอาเด็กไปเป็นร้อยคนเลย
อ.ศิริพงศ์ - ในวงออร์เครสต้าถ้ามีสมาชิกที่พร้อมจะแสดงยิ่งเยอะยิ่งดี อีกอย่างโปรแกรมของเพลงที่จะแสดงในรายการยูนิตี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในยุคโรแมนติกซึ่งทุกอย่างขยายตัวหมด อย่างในยุคคลาสสิกสมาชิกของวงออร์เครสต้าจะอยู่ที่ประมาณ 50 คน พอต่อมาในยุคโรแมนติก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 70-80-90 จนกระทั้งมีซิมโฟนีบทหนึ่งของมาร์เลอร์ที่ได้ชื่อว่า Symphony of a Thousand ที่ต้องใช้สมาชิกในวงหลายร้อนคนด้วยกัน
อ.อภิชัย - รายการนี้ถือเป็นโอกาสอันดีของเยาวชน เพราะในสมัยผมยังไม่มีอะไรแบบนี้มาส่งเสริมเยาวชนที่รักในเพลงคลาสสิก
อ.ศิริพงศ์ - ข้อดีของรายการนี้สิ่งที่เด็กจะได้รับอย่างแรกก็คือจะได้เรียนรู้เพลงใหม่ๆ ได้คลังเพลงที่เพิ่มขึ้น สองก็คือการที่เราจะเล่นในวงออร์เครสต้าเราต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับคนหมู่มาก ซึ่งประสบการณ์ตรงนี้เป็นที่อาจจะหาไม่ได้จากทีอื่น และเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
18.เห็นตอนหนึ่งของการทดสอบเครื่องสาย เห็นอ.ศิริพงศ์สั่งให้น้องๆ ที่เล่นเสร็จแล้วร้องเพลงให้ฟังด้วย
อ.ศิริพงศ์ - ที่ให้ร้องเพลงส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการทดสอบการกล้าแสดงออกของเด็กที่มาทดสอบ และก็การทดสอบทางดนตรีอย่างหนึ่ง เพราะส่วนใหญ่คนที่ร้องเพลงไม่เพี้ยนก็จะเล่นดนตรีไม่เพี้ยนด้วย
19. ตอนนี้ความตื่นตัวของวงการเพลงคลาสสิกในเอเชียใครเป็นเบอร์ 123
อ.ศิริพงศ์ - ก็ยังคงเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
อ.อภิชัย - อยากจะบอกว่ากระแสนักดนตรีคลาสสิกในเมืองจีนกำลังมาแรงมาก ผมเคยถามเพื่อนที่เป็นคนจีนว่าทำไมคนจีนถึงเก่งเรื่องกีฬาและดนตรีนัก เขาก็บอกว่ามันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เขาหลุดพ้นจากสภาพความเป็นคอมมิวนิสต์ คือที่นั่นเขาจะส่งเสริมคนที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีหรือกีฬาไปศึกษาต่อที่เมืองนอก ซึ่งโอกาสที่พวกนั้นจะไม่ต้องกลับมาก็มีสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตั้งความหวังเอาไว้กับการเล่นดนตรีที่สูง
อ.ศิริพงศ์ - ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนี่ก็อย่างที่รู้กันว่าเขาเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยมาก จนทำให้การเรียนดนตรีของเขาจริงจังตามไปด้วย เรื่องของดนตรีเนี่ยน่ะครับ พรสวรรค์มีส่วนแค่ 10% เท่านั้น ส่วนความมีวินัยและความขยันเป็นส่วน 90% ที่เหลือ
20. แล้วพัฒนาการของดนตรีคลาสสิกของเยาวชนไทยในอนาคต ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างครับ
อ.ศิริพงศ์ - ผมคิดว่าถ้าเทียบเป็นกราฟแล้วเราอยู่ในแนวโน้มที่จะดีมากขึ้น สิ่งที่เราต้องการจริงๆ ตอนนี้ไม่ใช่เด็กที่สนใจเรียนดนตรีคลาสสิก แต่เป็นครูที่มีคุณภาพพอที่จะมาสอนให้เด็กกลายเป็นนักดนตรีที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง เพื่อรองรับกับเด็กที่มีความสนใจมากขึ้น
อ.อภิชัย - สถานการณ์ของครูดนตรีในเมืองไทยตอนนี้อยู่ในขั้นที่ขาดแคลนมาก อย่างตามโรงเรียนดนตรีที่เปิดตามห้าง บางครั้งพอขาดครูสอน ก็จะไปตามหาเอาประเภทใครก็ได้ที่เล่นดนตรีได้นิดๆ หน่อยๆ มาเป็นคนสอน ซึ่งการสอนตามวิธีที่ผิดๆ ถูกๆ แบบนั้นจะส่งผลเสียต่อเด็กในอนาคต ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่มาถึงมือผมหรืออ.เบิร์ดที่เราต้องมานั่งแก้ระบบการเรียนรู้ของเขาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากๆ เพราะเขาติดกับการเรียนรู้แบบผิดๆ มาตั้งแต่ต้น สู้เราเอาคนที่ไม่เคยรู้เลยมาสอนใหม่จะง่ายกว่ามาก เพราะเด็กเหล่านั้นที่เล่นมาได้ระดับหนึ่งแล้วไม่อยากที่จะกลับไปตั้งต้นใหม่อีก 4 ปี เพราะเขาคิดว่าเหมือนการถอยหลังเข้าคลองเพราะชาชินกับการเรียนรู้มาผิดๆ มาทั้งชีวิต ซึ่งการที่เด็กๆ พวกนั้นจะกลับมาได้ต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิมเป็นสองเท่า สิ่งที่เราขาดตอนนี้คือเรื่องของบุคลากรและการบริหารจัดการที่เหมาะสม
อ.ศิริพงศ์ - มันจึงกลายเป็นว่าสิ่งที่ขาดแคลนตอนนี้ไม่ใช่คนเรียน แต่เป็นคนสอนที่มีคุณภาพ
21. พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ส่งลูกไปเรียนดนตรีทุกวันนี้เขาคาดหวังอะไรบ้าง
อ.ศิริพงศ์ - มันจะมีด้วยกันอยู่สองแบบ พวกหนึ่งจะเห็นว่าโรงเรียนดนตรีคือที่ฝากเลี้ยงเด็ก แบบเอามาทิ้งไว้สองชั่วโมงเดี๋ยวกลับมารับ
อ.อภิชัย - แล้วพ่อแม่ก็จะไม่รับรู้ด้วยว่าวันๆ เด็กได้อะไรไปบ้าง ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้เด็กไม่มีวันที่จะประสบความสำเร็จแน่นอน จะให้เด็กซ้อมไปวันๆ โดยที่ผู้ปกครองเอาแต่ดูทีวีอย่างเดียวโดยไม่มีส่วนร่วมรับรองว่าเด็กจะไปประสบความสำเร็จแน่นอน
อ.ศิริพงศ์ - อีกประเภทหนึ่งก็คือส่งเด็กมาเรียนด้วยความสนใจดนตรีของผู้ปกครองจริงๆ
22. แล้วประเภทที่ตั้งเป้าให้ลูกเป็นมือไวโอลินชั้นเอกแบบ Jascha Heifetz เลยนี่มีหรือเปล่า
อ.ศิริพงศ์ - มีครับ ประเภทนี้ก็มีมาเหมือนกัน
23. แบบนั้นจะเป็นการกดดันเด็กมากเกินไปหรือเปล่า
อ.ศิริพงศ์ - มันอยู่ที่วิธีการสอนของครูด้วย มันปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่คุณจะดีกว่าคนอื่น คุณต้องซ้อมมากกว่าคนอื่น เหมือนกับการวิ่งแข่งที่ต้องซ้อมเพื่อทำสถิติให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องของดนตรีสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญไม่ได้มีแต่ทักษะอย่างเดียว มันเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกายด้วย การเคลื่อนไหวของนิ้ว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีความละเอียดอ่อนอย่างมากสำหรับการเล่นไวโอลิน ทั้งความสัมพันธ์ของมือซ้ายมือขวา ซึ่งในร่างกายของเรามีองค์ประกอบมากมายที่จะช่วยในการเล่นทั้งหมด ดังนั้นการซ้อมบ่อยๆ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้กล้ามเนื้อของเราอยู่ตัว ไม่ต่างกับนักกีฬา
24. ระดับอาจารย์ทุกวันนี้ยังต้องซ้อมทุกวันหรือเปล่าครับ
อ.อภิชัย - แน่นอนครับ เพราะว่ายิ่งเราแก่ตัวลง การทำงานของกล้ามเนื้อเรื่องความยืดหยุ่นจะช้าลง ดังนั้นการได้รับการศึกษาที่ถูกวิธีในเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในยุโรป อเมริกา จีน เกาลี ญี่ปุ่น เขาจะส่งเด็กไปเรียนดนตรีตั้งแต่ 4-5 ขวบ
25. หลังจากวัยนั้นผ่านไปก็จะยากขึ้นสำหรับเครื่องสาย
อ.อภิชัย - ก็ไม่เชิงน่ะ มันก็อยู่ที่ความพยายามของแต่ละคนด้วย อย่างผมเริ่มเล่นเชลโลเอาเมื่ออายุ 18 ปีแล้ว ซึ่งผมก็เชื่ออย่างที่อ.เบิร์ดบอกว่าพรสวรรค์มีส่วนแค่ 10% แต่ตอนนั้นผมก็ซ้อมแบบบ้าระห่ำเหมือนกัน
อ.ศิริพงศ์ - ผมเองสนิทกับอ.อ็อปตั้งแต่เด็กบอกได้เลยว่าเขามาได้ถึงทุกวันนี้เพราะความพยายามที่ต้องนับถือจริงๆ
อ.อภิชัย - เหมือนกับว่าทุกอย่างไม่มีคำว่าสายถ้าเราเอาจริงกับมัน
อ.ศิริพงศ์ - แต่ทางด้านร่างกาย ต้องยอมรับว่าการเริ่มเล่นดนตรียิ่งเด็กเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบ อย่างผมนี่ก็เริ่มเรียนเปียโนตอนอายุ 4 ขวบ มาเปลี่ยนเป็นเล่นไวโอลินตอน 7 ขวบ
26. ประสบการณ์ในการสอนไวโอลินของอ.ศิริพงศ์เคยเจอเด็กประเภทที่ความผิดปกติของร่างกายมีส่วนในการเสริมทักษะในการเล่นดนตรีของเขาบ้างหรือเปล่า เช่นในกรณีของ Niccolo Paganini
อ.ศิริพงศ์ - ที่มีอยู่คนหนึ่งเขาเป็นเด็กที่ตัวสูงมาก แขนขาก็ยาวมาก เวลาปลายคันชักคนอื่นเขาจะสุดแขน แต่ของเขานี่แค่ครึ่งเดียวเอง ดังนั้นสิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสรีระของเด็กแต่ละคนไป
อ.อภิชัย - มันก็เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน เพราะปัญหาของคนหนึ่งอาจจะต้องการวิธีแก้ต่างจากคนอื่นๆ หน้าที่ของครูดนตรีอย่างเราก็ไม่ต่างจากหมอ ซึ่งต้องออกยาตามอาการที่เกิดขึ้นตามความแตกต่างของเด็กแต่ละคนไป
ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของเด็กที่เรียนดนตรีที่ไม่ควรจะเรียนจากครูหลายๆ คนพร้อมกัน แบบเรียนกับครูแล้ว ผมยังว่างอยู่ขอไปเรียนกับอาจารย์คนนี้หน่อย ซึ่งไม่ควร เพราะสุดท้ายผลเสียจะตกมาอยู่ที่ตัวเด็กเองเพราะจะสับสน เนื่องจากแต่ละครูก็จะมีวิธีการแก้ปัญหาของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เหมือนกับการรับยาที่ต่างชนิดเพื่อรักษาอาการอย่างเดียวกัน ซึ่งผลเสียก็จะตกอยู่กับตัวนักเรียนเอง ควรจะเรียนกับครูคนหนึ่งให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน แล้วค่อยไปเรียนกับครูคนอื่นต่อ ไม่ควรเรียนกับครูสองคนพร้อมกัน
27. การมีชีวิตเป็นนักดนตรีคลาสสิกที่ต้องเล่นเพลงตามตัวโน้ต ภายใต้การควบคุมของคอนดักเตอร์ ทำให้รู้สึกอึดอัดมากกว่านักดนตรีแนวอื่นๆ หรือเปล่า
อ.อภิชัย - ไม่ครับ หน้าที่หลักของเราคือการถ่ายทอดเพลงที่แต่งขึ้นมาโดยศิลปินระดับคีตกวี ในวงออร์เครสต้าเรากับเพื่อนนักดนตรีอีกหลายชีวิตก็ถ่ายทอดดนตรีให้ออกมาในแนวทางเดียวกับมุมมองของคอนดักเตอร์ แม้บางครั้งที่ผมมีความเห็นที่ขัดแย้งกับคอนดักเตอร์ แต่ก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องปฎิบัติตาม
28. มีไหมที่เห็นในโน้ตแล้วเล่นต่างออกไป
อ.อภิชัย - มีครับ ผมเองก็เปลี่ยนเองประจำ โดยปกติ 30% ผมเชื่อตามนั้น แต่ส่วนใหญ่ผมเปลี่ยนเองเลย
29. แล้วมันมีขอบเขตแค่ไหนที่อยู่ๆ นักดนตรีจะเปลี่ยนแปลงโน้ตที่เขียนเอาไว้แล้ว
อ.อภิชัย - บางครั้งผมก็ไม่รู้น่ะว่าถูกหรือผิด บางอันที่เขาเขียนให้มันเบา แต่ผมอยากจะเล่นให้มันดัง เพราะมันจะฟังดูดีกว่าสำหรับผม เพราะจริงๆ คนที่ฟังเขาก็ฟังจากหู เขาไม่ได้มานั่งดูว่าตรงนี้เขาเขียนเอาไว้ว่าอย่างไร
อ.ศิริพงศ์ - หน้าที่ของเราก็เหมือนกับผู้สื่อสาร เป็นเหมือนกับนักแสดง สิ่งที่เรามีอยู่ในมือคือโน้ตเพลงเหมือนกับบทบาทที่ต้องแสดง ซึ่งไม่มีใครรู้หรอกครับว่าโน้ตที่ลอกกันมาเป็นร้อยปีนี้ถูกต้องตามความต้องการเดิมของผู้ประพันธ์ร้อยเปอร์เซนต์หรือเปล่า เช่นเพลงของโมสาร์ตเราก็ไม่มีลายมือของโมสาร์ตจริงๆ มากำกับว่าเขาต้องการถ่ายทอดเพลงนี้อย่างไรถึงชัดเจนที่สุด อาจจะมีที่ตกๆ หล่นๆ ไปบ้างก็ได้ ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นักดนตรีได้เรียนรู้และค้นคว้ามาอย่างดี ว่าใครจะใส่สีสันของดนตรีที่ไหนอย่างไร
30. กระแสการมาเปิดคอนเสิร์ตของวงออร์เครสต้าจากเมืองนอกในบ้านเราเป็นอย่างไรบ้างครับ
อ.อภิชัย - น้อยมากครับ ซึ่งจริงๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนดู แต่ไม่มีคนจัดเข้ามามากกว่า เพราะมีวงจากเมืองนอกมาทีไรเห็นก็ขายบัตรหมดทุกที แต่ปัญหาคือไม่ค่อยมีให้ดูเท่าไหร่
อ.ศิริพงศ์ - ขนาดตอนที่วงวงอิสราเอล ฟิลฮาร์โมนิค มาเมืองไทยบัตรเป็นหมื่นยังขายหมดเกลี้ยง ผมเองก็ไปดูกับเขามาเหมือนกัน อยากให้ผู้จัดช่วยเห็นความสำคัญของการนำเข้าดนตรีคลาสสิกดีๆ มากกว่านี้
31. แล้วในการมาเปิดการแสดงร่วมกับ จิม บริคแมน ครั้งนี้ ทั้งสองท่านเตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ
อ.ศิริพงศ์ - เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้ร่วมงานกับจิม การได้มีโอกาสมาร่วมแสดงกับศิลปินระดับโลกอย่างนี้ ในฐานะตัวแทนของศิลปินไทย ผมก็ได้เตรียมตัวซ้อมในส่วนพื้นฐานให้ร่างกายเราพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าเขาจะมีมุกอะไรมาแจมกับเราเราก็พร้อมเสมอ
32. แล้วก่อนการแสดงจะมีโอกาสได้ซ้อมกับตัวจริงเขาหรือเปล่า
อ.อภิชัย - ก็ก่อนการแสดงทางนักดนตรีไทยทุกคนก็จะได้ซ้อมกับเขาพร้อมกันในวันแสดงเลยครับ
"กบ เสาวนิตย์" นักร้องหญิงไทยเบอร์ 1 ของ "จิม บริคแมน"
ความพิเศษของคอนเสิร์ตการกุศลครั้งนี้ นอกจากจะอยู่ที่แขกรับเชิญที่เป็นนักร้องดัง ทั้ง John Trones ที่ควบตำแหน่งผู้จัดการส่วนตัวและนักร้องนำของบริคแมน และหนึ่งสาวไทยอย่าง กบ เสาวนิตย์ นวพันธ์ ที่จะมาเป็นดิว่าให้กับบริคแมนแล้ว ยังมีแขกพิเศษอย่าง โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร นักเปียโนหนุ่มไฟแรงของเมืองไทย ที่จะได้โอกาสขึ้นไปดูเอทเปียโนร่วมกับบริคแมนด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่บริคแมนเปิดโอกาสให้มีศิลปินในประเทศที่เขาไปเยือนได้ขึ้นมาประลองฝีมือในด้านเปียโนกับเขากันแบบสดๆ เช่นนี้
นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ศิลปินไทยที่จะขึ้นไปแสดงในเวทีวันนั้น อันได้แก่ อ.ศิริพงศ์ ทิพย์ธัญ หัวหน้ากลุ่มวิชาเครื่องสายตะวันตก และ อ.อภิชัย เลี่ยมทอง อาจารย์ประจำวิชา Cello และ Chamber Music ของมหาวิทยาลัยรังสิต มือไวโอลินชั้นคอนเสิร์ตมาสเตอร์และมือเชลโลของ Bangkok Symphony Orchestra วงออร์เครสต้าอันดับหนึ่งของเมืองไทย
นับเป็นโอกาสอันดีที่ทีมงานผู้จัดการออนไลน์จะได้มาเปิดใจพูดคุยกับทั้งสองท่านถึงเรื่องคอนเสิร์ตดังกล่าว และทัศนคติเกี่ยวกับแวดวงดนตรีคลาสสิกในเมืองไทย ของนักดนตรีสองท่านที่อดีตต่างก็เคยเป็นนักเรียนดนตรีที่มีโอกาสไปศึกษาและทำงานในต่างประเทศ และเคยผ่านประสบการณ์ได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากศิลปินเอกของโลกอย่าง Isaac Stern และ Mstislav Rostropovich มาแล้ว
ร่วมไปถึงความเห็นในทิศทางของการพัฒนาดนตรีในเยาวชนไทย และการมาถึงของรายการ 123 Unity Thailnd รายการที่รวบรวมเยาวชนกว่า 123 ชีวิตเพื่อมาสร้างเป็นวงออร์เครสต้าเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ที่กำลังออกอากาศทางช่อง Thai PBS ในขณะนี้ ซึ่งทั้งสองท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนในรายการดังกล่าวด้วย
1. ในฐานะนักดนตรีคลาสสิกทั้งสองท่านรู้สึกอย่างไรกับดนตรีนิวเอจครับ
อ.อภิชัย - จริงๆ ผมก็ฟังหลายอย่างน่ะ อย่างร็อคผมก็ฟัง แม้จะไม่มีความรู้อะไรมาก แต่ในฐานะนักดนตรีแล้วเราก็ควรจะฟังเพลงได้ทุกประเภท แม้จริงๆ ผมจะทำงานกับเพลงคลาสสิก แต่เวลาผมอยู่ในรถหรือฟังเพื่อผ่อนคลายก็ฟังอย่างอื่นเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องคลาสสิกอย่างเดียว
อ.ศิริพงศ์ - อาจารย์อ็อปนี่เขาชอบ โบว์ สุนิตา มาก ส่วนผมจริงๆ ก็ชอบแร็ป กับฮิปฮอป เหมือนกัน
2. อย่างนี้มาร่วมงานกับนักดนตรีแนวนิวเอจก็ไม่ต้องปรับอะไรมาก
อ.ศิริพงศ์ - จริงๆ ก็ตามที่อาจารย์อ.อ็อปบอกก็คือนักดนตรีคลาสสิกอย่างเราก็ชอบเพลงทุกแนว เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการฟังเพลงของเรา จะได้ทราบว่าดนตรีชื่อนี้มันเป็นยังไง ยุคสมัยของดนตรีมันไปถึงไหนแล้ว คือฟังเพลงไม่ได้เพื่อความสนุกอย่างเดียว มันเป็นการเสริมสร้างความรู้ที่แตกต่างอีกด้วย เป็นการอัพเดทเทรนด์ไปในตัวด้วย
3. อย่างนี้อ.ศิริพงศ์ต้องเคยร่วมงานกับศิลปินมาแล้วมากมาย
อ.ศิริพงศ์ - ใช่ครับ ศิลปินนอกเหนือจากแวดวงคลาสสิกที่ผมเคยร่วมงานด้วยก็มี Kenny G, Gypsy King, Pat Metheny ส่วนศิลปินไทยที่เคยร่วมงานด้วยก็มีตั้งแต่ P.O.P เบิร์ด ธงชัย และอีกหลายๆ คน
อ.อภิชัย - อาจารย์เบิร์ดนี่เพลงลูกทุ่งก็เล่นมาแล้ว
อ.ศิริพงศ์ - อ่า ใช่ครับ เพลงลูกทุ่งก็เล่นมาแล้ว กับสุนารี ราชสีมา เพราะจริงๆ วงการเพลงลูกทุ่งนี่เขาจะใช้เครื่องสายค่อนข้างเยอะ
4. ทราบมาว่าอ.ศิริพงศ์เคยได้เป็นคอนเสิร์ตมาสเตอร์ที่อายุน้อยที่สุดของวง Bangkok Symphony Orchestra อยากทราบที่มาว่าเป็นอย่างไรครับ
อ.ศิริพงศ์ - เดิมทีตำแหน่งเดิมเป็นของอ. สิทธิชัย เพ็งเจริญ และ อ. สุทิน ศรีณรงค์ สองท่านนี้อยู่ในช่วงที่ไล่ๆ กัน คือตอนนั้นเป็นช่วงที่อ.สิทธิชัยลาออกไปทำงานที่อื่นตอนที่ผมเรียนจบมาพอดี อายุผมตอนนั้นตอนจบปริญญาตรีก็ประมาณ 22 ปี ซึ่งตำแหน่งนี้จริงๆ ต้องเป็นที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับพอสมควร
5. พอได้มาเป็นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ
อ.ศิริพงศ์ - ตื่นเต้นครับ เป็นความรู้สึกที่ดีว่าเราประสบความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งแล้ว ตั้งตอนตอนเด็กๆ แล้วที่ผมไปดูการแสดงคอนเสิร์ตก็ได้แต่สงสัยว่าทำไมพอคอนเสิร์ตเลิก ต้องมีคนๆ นี้ได้จับมือกับคอนดักเตอร์ ต้องได้รับดอกไม้ มันดูเท่จังเลย พอวันนี้มาเป็นเราก็เป็นความรู้สึกที่เยี่ยมมาก หลังจากเป็นได้ 2 ปีก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปเรียนต่อปริญญาโท แล้วก็กลับมาเป็นอีกครั้งจนวันนี้
6. หน้าที่คอนเสิร์ตมาสเตอร์ของ BSO ต้องทำอะไรบ้าง
อ.ศิริพงศ์ - หน้าที่หลักของผมก็คือหน้าที่ในการเชื่อมความเข้าใจระหว่างคอนดักเตอร์และทีมในวง รวมไปถึงในฐานะคอมมิตตีที่ร่วมตัดสินใจในการเลือกเพลงที่จะนำมาเล่น กำหนดเรื่องการซ้อม และระยะเวลาของการซ้อม โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องสาย เวลาที่เราดูวงเมืองนอกเล่นแล้วรู้สึกว่าทำไมเขาเล่นพร้อมเพรียงกันจังเลย ผมจะรับผิดชอบในตรงนั้น
7. แล้วการเตรียมตัวของการเป็นคอนเสิร์ตมาสเตอร์กับการเป็นมือโซโลไวโอลินในการแสดงคอนแชร์โต้มีความแตกต่างกันแค่ไหน
อ.ศิริพงศ์ - แตกต่างกันมาก การที่คุณจะขึ้นไปโซโลในเพลงคอนแซร์โต้ คุณต้องมีความชัวร์อย่างที่สุด ส่วนตัวผมการขึ้นแสดงคอนแชร์โต้ผมจะให้เวลากับการเตรียมตัวที่มากกว่า เพราะมันเป็นภาระความรับผิดชอบที่มากกว่า อย่างคอนเสิร์ตมาสเตอร์นี่เราต้องเป็นผู้นำก็จริง แต่เรายังมีเพื่อนที่อยู่ข้างหลังอีกนับสิบที่คอยช่วยเหลือเราอยู่
8. แล้วอาจารย์อภิชัยใช้เวลาในการเตรียมตัวก่อนขึ้นแสดงคอนแชร์โต้แค่ไหน
อ.อภิชัย - เตรียมตัวนานครับ มันเป็นเพลงที่โชว์ทักษะของผู้เล่นอย่างที่สุด เหนือกว่าการแสดงในรูปแบบอื่นๆ
9. มากกว่าการแสดงแบบรีไซเทิล(การเล่นดนตรีเดี่ยว)แค่ไหนครับ
อ.อภิชัย - ต่างกันมากครับ ประเภทรีไซเทิลที่เป็นอะไรที่เล็กๆ แต่อันนี้เราต้องเล่นกับวงใหญ่ ต้องร่วมงานกับนักดนตรีหลายคน แต่โอกาสในการเล่นคอนแชร์โต้ที่เมืองไทยค่อนข้างน้อย เพราะหนึ่งเลยเราต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก เพราะอย่างเราๆ นี่ก็ต้องทั้งสอนทั้งเล่นไปด้วย สองก็คือเหตุผลทางการตลอดด้วย ถ้าคนเล่นเดี่ยวนั้นเป็นคนไทย ก็มักจะเรียกคนดูได้น้อยกว่านักดนตรีต่างชาติที่มีเปิดการแสดงในบ้านเรา ดังนั้นโอกาสของนักดนตรีไทยที่จะได้ขึ้นแสดงคอนแชร์โต้ซัก 2-3 ครั้งในชีวิตก็เยี่ยมแล้ว
10.ตอนนี้กระแสของดนตรีคลาสสิกในสื่อภาพยนตร์และละครกำลังดัง ทั้ง Season Change, Nodame Catabile หรือ Beethoven Virus มันมีผลต่อภาพรวมของแวดวงเพลงคลาสสิกในบ้านเราแค่ไหน
อ.อภิชัย - ดีครับ มันปลุกกระแสได้ส่วนหนึ่ง เพราะสิ่งที่ฝังหัวคนเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกมานานก็คือมันดนตรีที่น่าเบื่อ เป็นอะไรที่อยู่ในอดีตกาล แต่ถ้าสังเกตดูดีๆ จะรู้ว่าเราแทบจะฟังเพลงคลาสสิกทุกๆ วัน ทั้งในซาวด์แทร็คหนัง เพลงประกอบโฆษณา หลายๆ อย่าง
อ.ศิริพงศ์ - แต่ก่อนพอพูดถึงคำว่าดนตรีคลาสสิก สิ่งที่ตามมาก็คือต้องปีนบันไดฟัง
อ.อภิชัย - ซึ่งจริงๆ แล้วไม่อยากจะให้แบ่งแยกว่าอะไรคลาสสิกไม่คลาสสิก ดนตรีก็คือดนตรี แต่ว่าเพลงคลาสสิกเป็นแนวเพลงที่พิสูจน์แล้วว่าอยู่เหนือกาลเวลา กาลเวลาไม่สามารถทำลายมันลงได้ เมื่อ 300 ปีเล่นยังไง เดี๋ยวนี้ก็ยังเล่นกันอยู่ อีกกี่ร้อยปีก็ยังคงเหมือนเดิม เป็นสิ่งที่ไม่มีวันตาย จะมีปัญหานิดหน่อยตรงที่กำแพงด้านความซับซ้อนของมันที่ผู้คนยังไม่เคยชินกับมันเท่านั้นเอง
11. แล้วอย่างโนดาเมะนี่สามารถทำลายกำแพงตรงนั้นลงได้หรือเปล่า
อ.อภิชัย - แน่นอนเลยครับ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าผู้สร้างเขาเก่งมากๆ ในการนำเพลงมาใส่ในหนังเพื่อสร้างบรรยากาศได้อย่างลงตัวโดยไม่ต้องใช้คำพูด
อ.ศิริพงศ์ - คือจริงๆ การฟังเพลงคลาสสิกมันมีหลายรูปแบบ บางครั้งเราต้องมีความรู้ที่มาของเพลงถึงจะซึมซับได้อย่างเต็มที่ แต่ในกรณีของโนดาเมะเขาสามารถเลือกเพลงที่เป็นที่คุ้นหูกันอยู่แล้วมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12. เมื่อก่อนนี้เรามีหนังอย่าง Amadeus ที่ทำให้เกิดแฟนเพลงคลาสสิกมาแล้วมากมาย
อ.ศิริพงศ์ - ในกรณีของอมาเดอุสนั้นจะเน้นที่ตัวคอมโพสเซอร์ ความเป็นโอเปร่า เรื่องราวระหว่างโมสาร์ตกับซาลีเอรีเป็นหลัก พูดถึงความเป็นคู่แค้นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น จริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างในหนัง แต่ในกรณีของโนดาเมะนี่จะมีความหลากหลายมาก ทั้งเนื้อหาและรูปแบบของดนตรี
อ.อภิชัย - มันเข้าถึงวัยรุ่นได้มากกว่า เรื่องราวของความทะเยอทะยานของเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งเรื่องราวในอมาเดอุสมันดูเป็นสิ่งที่ไกลตัวมากกว่า
13.จากทั้งสองเรื่องที่เห็นมา ทั้ง Nodame Catabile และ Beethoven Virus รู้สึกว่าคนที่เป็นคอนดักเตอร์จะต้องโหดมาก มันจำเป็นสำหรับงานของเขาหรือเปล่า
อ.อภิชัย - มันก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่น่ะครับ มันอยู่ที่ว่าการที่คุณจะดุได้คุณต้องมีสิ่งที่เรียกว่า "บารมี" ในตัวอยู่พอสมควร การที่ใครซักคนจะมาดุโดยไม่มีบารมี คนในวงก็ไม่ยอมรับ
14. แล้วอย่างหลังในชีวิตจริงนี่มีมาเจอบ่อยไหมครับ
อ.อภิชัย - มีครับ ที่เห็นบางคนที่ดุโดยไม่มีสาเหตุก็ยังมี แต่ถามว่าจะได้ใจจากนักดนตรีไหม คำตอบคือไม่มีทาง คนเป็นคอนดักเตอร์จะต้องมีความเข้าใจตัวงานเพลงและพื้นฐานของนักดนตรี โดยเฉพาะคอนดักเตอร์ที่มาจากต่างประเทศจะต้องเข้าใจพื้นฐานทางการศึกษาของนักดนตรีในบ้านเราด้วย ที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนวงดังๆ ในตะวันตก จะมาคาดหวังให้ซ้อมแค่สองครั้งแล้วออกมาเพอร์เฟ็คนั่นมันต้องใช้เวลามากนิดนึง ต้องให้ความเข้าใจ คนทำหน้าที่ตรงนี้ที่ทำงานร่วมกันแบบค่อยๆ สอนแบบนี้จะได้ใจจากนักดนตรีมากกว่า
อ.ศิริพงศ์ - จริงๆ แล้วคอนดักเตอร์มันจะเหมือนผู้นำชุมชน ต้องเข้าใจของสภาพของชุมชุนเป็นหลัก
อ.อภิชัย - เขาไม่ควรคิดว่าตัวเองเป็นเจ้านาย คอนดักเตอร์ที่ดีคือผู้ที่คอยแนะนำ ไม่ใช่คอยสั่งเอาโน่นเอานี่ พอไม่ได้แล้วอารมณ์เสีย
อ.ศิริพงศ์ - คอนดักเตอร์ที่ดีก็คือครูที่ดีครับ
15. คอนเสิร์ตมาสเตอร์กับคอนดักเตอร์เคยขัดแย้งกันบ้างไหม
อ.ศิริพงศ์ - ผมจะทำงานร่วมกับคอนดักเตอร์ทั้งการปรึกษาเรื่องระยะเวลาของการซ้อมแต่ละเพลง กับปัญหาที่คอนดักเตอร์ที่เขาบอกมา ส่วนเรื่องความเห็นที่ไม่ตรงกันนี่ก็พอมีบ้าง ในกรณีที่คอนดักเตอร์คนนั้นในความเห็นของเราไม่มีความสามารถเพียงพอ ก็เกิดความขัดแย้งได้ แต่ในฐานะมืออาชีพก็ต้องร่วมงานกันจนตลอดรอดฝั่ง
อ.อภิชัย - ความสัมพันธ์ในวงออร์เครสต้าก็เหมือนกับเกมฟุตบอล ที่คอนดักเตอร์จะทำหน้าที่ของโค้ช ก็จะเตรียมงานทุกอย่างเอาไว้ก่อนหน้าที่จะแสดงจริง ที่เราเห็นคอนดักเตอร์ไปโบกไม้หน้าเวทีนั้นเขาเตรียมงานเอาไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนหน้าที่ของอาจารย์เบิร์ดก็คือเป็นกัปตันทีมที่จะคอยรับคำสั่งของผู้จัดการทีมหรือตัวคอนดักเตอร์อีกที ซึ่งถึงแม้บางคำสั่งของโค้ชจะขัดแย้งต่อความรู้สึกของผู้เล่น แต่หน้าที่ของกัปตันทีมก็คือพยายามทำให้ทีมเดินต่อไปข้างหน้าในทิศทางที่พร้อมเพรียงกันที่สุด
16.เห็นตอนนี้มีรายการโทรทัศน์อย่าง 123 Unity ที่พยายามส่งเสริมเยาวชนที่รักในการเล่นดนตรีคลาสสิก ที่ทั้งสองท่านก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของที่นั่นด้วย
อ.ศิริพงศ์ - ครับ ซึ่งเพลงที่จะเล่นก็คือเพลงคลาสสิกที่ป็อปปูลาที่คนรู้จักกันดี
17. เห็นว่าในวงเอาเด็กไปเป็นร้อยคนเลย
อ.ศิริพงศ์ - ในวงออร์เครสต้าถ้ามีสมาชิกที่พร้อมจะแสดงยิ่งเยอะยิ่งดี อีกอย่างโปรแกรมของเพลงที่จะแสดงในรายการยูนิตี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในยุคโรแมนติกซึ่งทุกอย่างขยายตัวหมด อย่างในยุคคลาสสิกสมาชิกของวงออร์เครสต้าจะอยู่ที่ประมาณ 50 คน พอต่อมาในยุคโรแมนติก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 70-80-90 จนกระทั้งมีซิมโฟนีบทหนึ่งของมาร์เลอร์ที่ได้ชื่อว่า Symphony of a Thousand ที่ต้องใช้สมาชิกในวงหลายร้อนคนด้วยกัน
อ.อภิชัย - รายการนี้ถือเป็นโอกาสอันดีของเยาวชน เพราะในสมัยผมยังไม่มีอะไรแบบนี้มาส่งเสริมเยาวชนที่รักในเพลงคลาสสิก
อ.ศิริพงศ์ - ข้อดีของรายการนี้สิ่งที่เด็กจะได้รับอย่างแรกก็คือจะได้เรียนรู้เพลงใหม่ๆ ได้คลังเพลงที่เพิ่มขึ้น สองก็คือการที่เราจะเล่นในวงออร์เครสต้าเราต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับคนหมู่มาก ซึ่งประสบการณ์ตรงนี้เป็นที่อาจจะหาไม่ได้จากทีอื่น และเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
18.เห็นตอนหนึ่งของการทดสอบเครื่องสาย เห็นอ.ศิริพงศ์สั่งให้น้องๆ ที่เล่นเสร็จแล้วร้องเพลงให้ฟังด้วย
อ.ศิริพงศ์ - ที่ให้ร้องเพลงส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการทดสอบการกล้าแสดงออกของเด็กที่มาทดสอบ และก็การทดสอบทางดนตรีอย่างหนึ่ง เพราะส่วนใหญ่คนที่ร้องเพลงไม่เพี้ยนก็จะเล่นดนตรีไม่เพี้ยนด้วย
19. ตอนนี้ความตื่นตัวของวงการเพลงคลาสสิกในเอเชียใครเป็นเบอร์ 123
อ.ศิริพงศ์ - ก็ยังคงเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
อ.อภิชัย - อยากจะบอกว่ากระแสนักดนตรีคลาสสิกในเมืองจีนกำลังมาแรงมาก ผมเคยถามเพื่อนที่เป็นคนจีนว่าทำไมคนจีนถึงเก่งเรื่องกีฬาและดนตรีนัก เขาก็บอกว่ามันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เขาหลุดพ้นจากสภาพความเป็นคอมมิวนิสต์ คือที่นั่นเขาจะส่งเสริมคนที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีหรือกีฬาไปศึกษาต่อที่เมืองนอก ซึ่งโอกาสที่พวกนั้นจะไม่ต้องกลับมาก็มีสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตั้งความหวังเอาไว้กับการเล่นดนตรีที่สูง
อ.ศิริพงศ์ - ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนี่ก็อย่างที่รู้กันว่าเขาเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยมาก จนทำให้การเรียนดนตรีของเขาจริงจังตามไปด้วย เรื่องของดนตรีเนี่ยน่ะครับ พรสวรรค์มีส่วนแค่ 10% เท่านั้น ส่วนความมีวินัยและความขยันเป็นส่วน 90% ที่เหลือ
20. แล้วพัฒนาการของดนตรีคลาสสิกของเยาวชนไทยในอนาคต ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างครับ
อ.ศิริพงศ์ - ผมคิดว่าถ้าเทียบเป็นกราฟแล้วเราอยู่ในแนวโน้มที่จะดีมากขึ้น สิ่งที่เราต้องการจริงๆ ตอนนี้ไม่ใช่เด็กที่สนใจเรียนดนตรีคลาสสิก แต่เป็นครูที่มีคุณภาพพอที่จะมาสอนให้เด็กกลายเป็นนักดนตรีที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง เพื่อรองรับกับเด็กที่มีความสนใจมากขึ้น
อ.อภิชัย - สถานการณ์ของครูดนตรีในเมืองไทยตอนนี้อยู่ในขั้นที่ขาดแคลนมาก อย่างตามโรงเรียนดนตรีที่เปิดตามห้าง บางครั้งพอขาดครูสอน ก็จะไปตามหาเอาประเภทใครก็ได้ที่เล่นดนตรีได้นิดๆ หน่อยๆ มาเป็นคนสอน ซึ่งการสอนตามวิธีที่ผิดๆ ถูกๆ แบบนั้นจะส่งผลเสียต่อเด็กในอนาคต ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่มาถึงมือผมหรืออ.เบิร์ดที่เราต้องมานั่งแก้ระบบการเรียนรู้ของเขาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากๆ เพราะเขาติดกับการเรียนรู้แบบผิดๆ มาตั้งแต่ต้น สู้เราเอาคนที่ไม่เคยรู้เลยมาสอนใหม่จะง่ายกว่ามาก เพราะเด็กเหล่านั้นที่เล่นมาได้ระดับหนึ่งแล้วไม่อยากที่จะกลับไปตั้งต้นใหม่อีก 4 ปี เพราะเขาคิดว่าเหมือนการถอยหลังเข้าคลองเพราะชาชินกับการเรียนรู้มาผิดๆ มาทั้งชีวิต ซึ่งการที่เด็กๆ พวกนั้นจะกลับมาได้ต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิมเป็นสองเท่า สิ่งที่เราขาดตอนนี้คือเรื่องของบุคลากรและการบริหารจัดการที่เหมาะสม
อ.ศิริพงศ์ - มันจึงกลายเป็นว่าสิ่งที่ขาดแคลนตอนนี้ไม่ใช่คนเรียน แต่เป็นคนสอนที่มีคุณภาพ
21. พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ส่งลูกไปเรียนดนตรีทุกวันนี้เขาคาดหวังอะไรบ้าง
อ.ศิริพงศ์ - มันจะมีด้วยกันอยู่สองแบบ พวกหนึ่งจะเห็นว่าโรงเรียนดนตรีคือที่ฝากเลี้ยงเด็ก แบบเอามาทิ้งไว้สองชั่วโมงเดี๋ยวกลับมารับ
อ.อภิชัย - แล้วพ่อแม่ก็จะไม่รับรู้ด้วยว่าวันๆ เด็กได้อะไรไปบ้าง ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้เด็กไม่มีวันที่จะประสบความสำเร็จแน่นอน จะให้เด็กซ้อมไปวันๆ โดยที่ผู้ปกครองเอาแต่ดูทีวีอย่างเดียวโดยไม่มีส่วนร่วมรับรองว่าเด็กจะไปประสบความสำเร็จแน่นอน
อ.ศิริพงศ์ - อีกประเภทหนึ่งก็คือส่งเด็กมาเรียนด้วยความสนใจดนตรีของผู้ปกครองจริงๆ
22. แล้วประเภทที่ตั้งเป้าให้ลูกเป็นมือไวโอลินชั้นเอกแบบ Jascha Heifetz เลยนี่มีหรือเปล่า
อ.ศิริพงศ์ - มีครับ ประเภทนี้ก็มีมาเหมือนกัน
23. แบบนั้นจะเป็นการกดดันเด็กมากเกินไปหรือเปล่า
อ.ศิริพงศ์ - มันอยู่ที่วิธีการสอนของครูด้วย มันปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่คุณจะดีกว่าคนอื่น คุณต้องซ้อมมากกว่าคนอื่น เหมือนกับการวิ่งแข่งที่ต้องซ้อมเพื่อทำสถิติให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องของดนตรีสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญไม่ได้มีแต่ทักษะอย่างเดียว มันเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกายด้วย การเคลื่อนไหวของนิ้ว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีความละเอียดอ่อนอย่างมากสำหรับการเล่นไวโอลิน ทั้งความสัมพันธ์ของมือซ้ายมือขวา ซึ่งในร่างกายของเรามีองค์ประกอบมากมายที่จะช่วยในการเล่นทั้งหมด ดังนั้นการซ้อมบ่อยๆ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้กล้ามเนื้อของเราอยู่ตัว ไม่ต่างกับนักกีฬา
24. ระดับอาจารย์ทุกวันนี้ยังต้องซ้อมทุกวันหรือเปล่าครับ
อ.อภิชัย - แน่นอนครับ เพราะว่ายิ่งเราแก่ตัวลง การทำงานของกล้ามเนื้อเรื่องความยืดหยุ่นจะช้าลง ดังนั้นการได้รับการศึกษาที่ถูกวิธีในเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในยุโรป อเมริกา จีน เกาลี ญี่ปุ่น เขาจะส่งเด็กไปเรียนดนตรีตั้งแต่ 4-5 ขวบ
25. หลังจากวัยนั้นผ่านไปก็จะยากขึ้นสำหรับเครื่องสาย
อ.อภิชัย - ก็ไม่เชิงน่ะ มันก็อยู่ที่ความพยายามของแต่ละคนด้วย อย่างผมเริ่มเล่นเชลโลเอาเมื่ออายุ 18 ปีแล้ว ซึ่งผมก็เชื่ออย่างที่อ.เบิร์ดบอกว่าพรสวรรค์มีส่วนแค่ 10% แต่ตอนนั้นผมก็ซ้อมแบบบ้าระห่ำเหมือนกัน
อ.ศิริพงศ์ - ผมเองสนิทกับอ.อ็อปตั้งแต่เด็กบอกได้เลยว่าเขามาได้ถึงทุกวันนี้เพราะความพยายามที่ต้องนับถือจริงๆ
อ.อภิชัย - เหมือนกับว่าทุกอย่างไม่มีคำว่าสายถ้าเราเอาจริงกับมัน
อ.ศิริพงศ์ - แต่ทางด้านร่างกาย ต้องยอมรับว่าการเริ่มเล่นดนตรียิ่งเด็กเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบ อย่างผมนี่ก็เริ่มเรียนเปียโนตอนอายุ 4 ขวบ มาเปลี่ยนเป็นเล่นไวโอลินตอน 7 ขวบ
26. ประสบการณ์ในการสอนไวโอลินของอ.ศิริพงศ์เคยเจอเด็กประเภทที่ความผิดปกติของร่างกายมีส่วนในการเสริมทักษะในการเล่นดนตรีของเขาบ้างหรือเปล่า เช่นในกรณีของ Niccolo Paganini
อ.ศิริพงศ์ - ที่มีอยู่คนหนึ่งเขาเป็นเด็กที่ตัวสูงมาก แขนขาก็ยาวมาก เวลาปลายคันชักคนอื่นเขาจะสุดแขน แต่ของเขานี่แค่ครึ่งเดียวเอง ดังนั้นสิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสรีระของเด็กแต่ละคนไป
อ.อภิชัย - มันก็เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน เพราะปัญหาของคนหนึ่งอาจจะต้องการวิธีแก้ต่างจากคนอื่นๆ หน้าที่ของครูดนตรีอย่างเราก็ไม่ต่างจากหมอ ซึ่งต้องออกยาตามอาการที่เกิดขึ้นตามความแตกต่างของเด็กแต่ละคนไป
ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของเด็กที่เรียนดนตรีที่ไม่ควรจะเรียนจากครูหลายๆ คนพร้อมกัน แบบเรียนกับครูแล้ว ผมยังว่างอยู่ขอไปเรียนกับอาจารย์คนนี้หน่อย ซึ่งไม่ควร เพราะสุดท้ายผลเสียจะตกมาอยู่ที่ตัวเด็กเองเพราะจะสับสน เนื่องจากแต่ละครูก็จะมีวิธีการแก้ปัญหาของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เหมือนกับการรับยาที่ต่างชนิดเพื่อรักษาอาการอย่างเดียวกัน ซึ่งผลเสียก็จะตกอยู่กับตัวนักเรียนเอง ควรจะเรียนกับครูคนหนึ่งให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน แล้วค่อยไปเรียนกับครูคนอื่นต่อ ไม่ควรเรียนกับครูสองคนพร้อมกัน
27. การมีชีวิตเป็นนักดนตรีคลาสสิกที่ต้องเล่นเพลงตามตัวโน้ต ภายใต้การควบคุมของคอนดักเตอร์ ทำให้รู้สึกอึดอัดมากกว่านักดนตรีแนวอื่นๆ หรือเปล่า
อ.อภิชัย - ไม่ครับ หน้าที่หลักของเราคือการถ่ายทอดเพลงที่แต่งขึ้นมาโดยศิลปินระดับคีตกวี ในวงออร์เครสต้าเรากับเพื่อนนักดนตรีอีกหลายชีวิตก็ถ่ายทอดดนตรีให้ออกมาในแนวทางเดียวกับมุมมองของคอนดักเตอร์ แม้บางครั้งที่ผมมีความเห็นที่ขัดแย้งกับคอนดักเตอร์ แต่ก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องปฎิบัติตาม
28. มีไหมที่เห็นในโน้ตแล้วเล่นต่างออกไป
อ.อภิชัย - มีครับ ผมเองก็เปลี่ยนเองประจำ โดยปกติ 30% ผมเชื่อตามนั้น แต่ส่วนใหญ่ผมเปลี่ยนเองเลย
29. แล้วมันมีขอบเขตแค่ไหนที่อยู่ๆ นักดนตรีจะเปลี่ยนแปลงโน้ตที่เขียนเอาไว้แล้ว
อ.อภิชัย - บางครั้งผมก็ไม่รู้น่ะว่าถูกหรือผิด บางอันที่เขาเขียนให้มันเบา แต่ผมอยากจะเล่นให้มันดัง เพราะมันจะฟังดูดีกว่าสำหรับผม เพราะจริงๆ คนที่ฟังเขาก็ฟังจากหู เขาไม่ได้มานั่งดูว่าตรงนี้เขาเขียนเอาไว้ว่าอย่างไร
อ.ศิริพงศ์ - หน้าที่ของเราก็เหมือนกับผู้สื่อสาร เป็นเหมือนกับนักแสดง สิ่งที่เรามีอยู่ในมือคือโน้ตเพลงเหมือนกับบทบาทที่ต้องแสดง ซึ่งไม่มีใครรู้หรอกครับว่าโน้ตที่ลอกกันมาเป็นร้อยปีนี้ถูกต้องตามความต้องการเดิมของผู้ประพันธ์ร้อยเปอร์เซนต์หรือเปล่า เช่นเพลงของโมสาร์ตเราก็ไม่มีลายมือของโมสาร์ตจริงๆ มากำกับว่าเขาต้องการถ่ายทอดเพลงนี้อย่างไรถึงชัดเจนที่สุด อาจจะมีที่ตกๆ หล่นๆ ไปบ้างก็ได้ ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นักดนตรีได้เรียนรู้และค้นคว้ามาอย่างดี ว่าใครจะใส่สีสันของดนตรีที่ไหนอย่างไร
30. กระแสการมาเปิดคอนเสิร์ตของวงออร์เครสต้าจากเมืองนอกในบ้านเราเป็นอย่างไรบ้างครับ
อ.อภิชัย - น้อยมากครับ ซึ่งจริงๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนดู แต่ไม่มีคนจัดเข้ามามากกว่า เพราะมีวงจากเมืองนอกมาทีไรเห็นก็ขายบัตรหมดทุกที แต่ปัญหาคือไม่ค่อยมีให้ดูเท่าไหร่
อ.ศิริพงศ์ - ขนาดตอนที่วงวงอิสราเอล ฟิลฮาร์โมนิค มาเมืองไทยบัตรเป็นหมื่นยังขายหมดเกลี้ยง ผมเองก็ไปดูกับเขามาเหมือนกัน อยากให้ผู้จัดช่วยเห็นความสำคัญของการนำเข้าดนตรีคลาสสิกดีๆ มากกว่านี้
31. แล้วในการมาเปิดการแสดงร่วมกับ จิม บริคแมน ครั้งนี้ ทั้งสองท่านเตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ
อ.ศิริพงศ์ - เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้ร่วมงานกับจิม การได้มีโอกาสมาร่วมแสดงกับศิลปินระดับโลกอย่างนี้ ในฐานะตัวแทนของศิลปินไทย ผมก็ได้เตรียมตัวซ้อมในส่วนพื้นฐานให้ร่างกายเราพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าเขาจะมีมุกอะไรมาแจมกับเราเราก็พร้อมเสมอ
32. แล้วก่อนการแสดงจะมีโอกาสได้ซ้อมกับตัวจริงเขาหรือเปล่า
อ.อภิชัย - ก็ก่อนการแสดงทางนักดนตรีไทยทุกคนก็จะได้ซ้อมกับเขาพร้อมกันในวันแสดงเลยครับ
"กบ เสาวนิตย์" นักร้องหญิงไทยเบอร์ 1 ของ "จิม บริคแมน"