เพราะเป็นวงดนตรีแนวเพลงชีวิตที่มีชื่อเสียงในระดับแนวหน้าของเมืองไทย ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่หลายคนจะจับตามองไปยังทัศนะคติรวมไปถึงความเคลื่อนไหวของ "คาราบาว" ในช่วงที่สังคมทางด้านการเมืองกำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้
เฉพาะอย่างยิ่งกับตัวตนที่เปรียบเสมือนหัวใจของวง อย่าง "แอ๊ด คาราบาว" (ยืนยง โอภากุล) ซึ่งช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเขาค่อนข้างถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงข้อกังขาใน "จุดยืน" และ "อุดมคติ" ที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างความประพฤติในชีวิตจริงกับเรื่องราวต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดผ่านออกมาในบทเพลง
แต่งเพลงเอาใจผู้มีอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน แต่ก็(เคย)เข้ามาทำธุรกิจขายเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ให้กับคนเหล่านั้นเสียเอง
แต่งเพลงวิจารณ์บรรดานายทุน แต่ก็ยอมที่จะรับเงินนายทุนไปเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าหลากชนิดไม่เว้นแม้กระทั่งเครื่องดื่มของมึนเมา
แต่งเพลงด่านักการเมือง แต่ก็แต่งเพลงช่วยนักการเมืองหาเสียง
ฯลฯ
นับตั้งแต่การเข้ามาบริหารงานของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กระทั่งถึงวันนี้ที่ได้ทำให้ผู้คนแบ่งออกเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน "แอ๊ด คาราบาว" ถูกจับตามองไม่น้อยว่าจะขาทั้งสองข้างของเขาจะเลือกไปยืนในทิศทางใด ในขณะที่พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ศิลปินทั้งในและนอกสาขาของเพลงชีวิตจำนวนไม่น้อยได้แสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัดไปแล้วถึงทัศนะคติและแนวคิดของตนเอง
"แอ๊ด คาราบาว" อาจจะเคยร้องเพลง "คนโลภ" หรืออาจจะเคยแต่งเพลง "แจกแดกแหลก" ในชุด "25 ปี ลูกลุงขี้เมา" วิพากษ์วิจารณ์ความเห็นแก่ได้ของนักการเมืองเลวๆ การเลือกตั้งที่วนเวียนซ้ำซากอยู่กับการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทว่าในอีกฟากหนึ่งเขาก็ดีใจได้ปลื้มกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย "เฉลิม อยู่บำรุง" ซึ่งเห็นดีเห็นงามกับการให้มีการเพิ่มวันตีไก่ชน
เขาอาจจะเคยแต่งเพลง "สมภารเซ้งโบสถ์" วิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกฯ ทักษิณกรณีขายหุ้นให้กับบริษัทเทมาเส็กโดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว ทว่าเนื้อหาในบทเพลงดังกล่าวก็มิได้ถือว่าซัดอีกฝ่ายแบบตรงๆ สักเท่าไหร่
ต่างจาก "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา"
ตามข้อมูลจาก www.carabao.net ระบุว่าเพลง 7 ตุลา ลดธงครึ่งเสานี้ "แอ๊ด คาราบาว" แต่งขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2551 หนึ่งวันหลังเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าทำร้ายผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภาตลอดจนลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต พิการ บาดเจ็บเกือบๆ จะ 500 ราย และเป็นเพลงที่คาราบาวใช้เล่นเปิดก่อนแสดงคอนเสิร์ตในแต่ละค่ำคืน
จากที่เคยใช้คำที่ออกไปในทางอ้อมๆ เปรียบเปรย ทว่าในเนื้อหาของ 7 ตุลา ลดธงครึ่งเสากลับมีการใช้คำที่ค่อนข้างตรง ประณามถึงสันดานแห่งความโลภ ความเห็นแก่ได้ของบรรดานักการเมืองที่ห่วงแต่(แถลง)เรื่องงบประมาณของแผ่นดินโดยไม่แยแสว่าภายนอกกำแพงของอาคารรัฐสภากำลังมีคนไทยด้วยกันกำลังได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต
คนหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ในวันนั้นจากบทเพลง 7 ตุลาฯ ก็คือ "ผัวเจ๊แดง" นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบัน
นับจากนี้คงต้องมองกันต่อไปว่า "ทิศทาง" ของ "คาราบาว" จาก "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา" นี้จะยังคงแน่วแน่ มั่นคงมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ถ้าคนที่ถูกมองว่าสมควรจะต้องรับผิดชอบกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ออกมาดังเช่นที่เป็นอยู่ เช่นนี้ แล้ว "คาราบาว" ซึ่งต้องยอมรับว่ามีต้นทุนสูงเพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างขึ้นมาในสังคมหากมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวล่ะ จะทำอะไรต่อไป หรือไม่ อย่างไร?
เพราะขืนจบกันแล้วจบกันเพียงแค่นี้ "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา" อันก่อเกิดขึ้นมาจากเลือด เนื้อ อวัยวะ และชีวิตของมนุษย์ร่วมชาติผู้บริสุทธิ์ก็คงจะไร้ค่า และเป็นเสมือนกับอีกหลายๆ บทเพลงของ "คาราบาว" ที่ไม่แคล้วจะต้องถูกเปรียบได้กับร่างกายซึ่งแม้จะดูสวย หล่อ หากแต่ก็ไร้จิตวิญญาณ
แต่ที่สำคัญเหนือกว่านั้นก็คือ มันคงไม่ใประโยชน์อะไรขึ้นมาเลยทั้งกับฝ่ายที่แยกสี-ไม่แยกสี เลือกข้าง-ไม่เลือกข้าง หากฟัง "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา" แล้ว ยังไม่เข้าใจความหมาย และไม่สามารถแยกได้ถึงความผิด-ชอบ ชั่ว-ดี ที่ซุกซ่อนอยู่ในเนื้อหาของบทเพลงที่ว่านี้ได้
เพลง 7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา
คำร้อง/ทำนอง-แอ๊ด คาราบาว
เช้าวันที่ 7ตุลา ต้องหลั่งน้ำตา บนกองเลือด
ที่สองชีวิตถูกเชือด เพื่อสังเวยพิธีกรรมในสภา
การใช้ความรุนแรง โล่ กระบอง และแก๊สน้ำตา
ตำรวจรับคำสั่งมา แล้วใครกันหว่า มันเป็นคนสั่ง
ขอลดธงครึ่งเสา ให้กับความรุนแรง
ที่สามีเจ๊แดง ควรแสดงความรับผิดชอบ
ล้มตายดังไม้หล่น อีกหลายร้อยคน หามส่งโรงหมอ
เห็นแล้วไม่คุ้มค่าต่อตำแหน่งผู้นำมนุษย์หัวโขน
รามเกียรติ์ตอนนี้ แค่โหมโรงก็ถึงเลือดเชือดคน
บ้านเมืองวิกฤติวิกล ประชาชนเกลียดนักการเมือง
มันชี้ให้เห็นเด่นชัด ให้ประวัติได้จารึก
แม้ยามบ้านเมืองระทึก ยังห่วงจะงับแต่งบประมาณ
คงจะเห็น กันแล้วธาตุแท้ เห็นตับ เห็นไต ไส้พุงสันดาน
คนไทยผู้น่าสงสาร ยังคงอีกนาน อีกนาน
ถ้าไม่เรียนรู้ เรียนรู้ เล่ห์นักการเมือง
เราไม่ใช่พวกสมชาย และไม่ชอบดูเอเอสทีวี
เมืองไทยก้าวต่อไปนี้ ต้องสามัคคีกันแก้ปัญหา
เช้าวันที่ 7 ตุลา ไม่น่าประเมิน ประมาทมวลชน
ในการรับมือจราจล ต้องคิดว่าคนทุกคนคือไทย
ถึงผิดชอบชั่วดีแต่ประชาชนล้วนมาด้วยใจ
เพราะอยากเห็นประเทศก้าวไกล ประชาธิปไตย อารยไตย...
เฉพาะอย่างยิ่งกับตัวตนที่เปรียบเสมือนหัวใจของวง อย่าง "แอ๊ด คาราบาว" (ยืนยง โอภากุล) ซึ่งช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเขาค่อนข้างถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงข้อกังขาใน "จุดยืน" และ "อุดมคติ" ที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างความประพฤติในชีวิตจริงกับเรื่องราวต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดผ่านออกมาในบทเพลง
แต่งเพลงเอาใจผู้มีอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน แต่ก็(เคย)เข้ามาทำธุรกิจขายเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ให้กับคนเหล่านั้นเสียเอง
แต่งเพลงวิจารณ์บรรดานายทุน แต่ก็ยอมที่จะรับเงินนายทุนไปเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าหลากชนิดไม่เว้นแม้กระทั่งเครื่องดื่มของมึนเมา
แต่งเพลงด่านักการเมือง แต่ก็แต่งเพลงช่วยนักการเมืองหาเสียง
ฯลฯ
นับตั้งแต่การเข้ามาบริหารงานของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กระทั่งถึงวันนี้ที่ได้ทำให้ผู้คนแบ่งออกเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน "แอ๊ด คาราบาว" ถูกจับตามองไม่น้อยว่าจะขาทั้งสองข้างของเขาจะเลือกไปยืนในทิศทางใด ในขณะที่พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ศิลปินทั้งในและนอกสาขาของเพลงชีวิตจำนวนไม่น้อยได้แสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัดไปแล้วถึงทัศนะคติและแนวคิดของตนเอง
"แอ๊ด คาราบาว" อาจจะเคยร้องเพลง "คนโลภ" หรืออาจจะเคยแต่งเพลง "แจกแดกแหลก" ในชุด "25 ปี ลูกลุงขี้เมา" วิพากษ์วิจารณ์ความเห็นแก่ได้ของนักการเมืองเลวๆ การเลือกตั้งที่วนเวียนซ้ำซากอยู่กับการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทว่าในอีกฟากหนึ่งเขาก็ดีใจได้ปลื้มกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย "เฉลิม อยู่บำรุง" ซึ่งเห็นดีเห็นงามกับการให้มีการเพิ่มวันตีไก่ชน
เขาอาจจะเคยแต่งเพลง "สมภารเซ้งโบสถ์" วิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกฯ ทักษิณกรณีขายหุ้นให้กับบริษัทเทมาเส็กโดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว ทว่าเนื้อหาในบทเพลงดังกล่าวก็มิได้ถือว่าซัดอีกฝ่ายแบบตรงๆ สักเท่าไหร่
ต่างจาก "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา"
ตามข้อมูลจาก www.carabao.net ระบุว่าเพลง 7 ตุลา ลดธงครึ่งเสานี้ "แอ๊ด คาราบาว" แต่งขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2551 หนึ่งวันหลังเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าทำร้ายผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภาตลอดจนลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต พิการ บาดเจ็บเกือบๆ จะ 500 ราย และเป็นเพลงที่คาราบาวใช้เล่นเปิดก่อนแสดงคอนเสิร์ตในแต่ละค่ำคืน
จากที่เคยใช้คำที่ออกไปในทางอ้อมๆ เปรียบเปรย ทว่าในเนื้อหาของ 7 ตุลา ลดธงครึ่งเสากลับมีการใช้คำที่ค่อนข้างตรง ประณามถึงสันดานแห่งความโลภ ความเห็นแก่ได้ของบรรดานักการเมืองที่ห่วงแต่(แถลง)เรื่องงบประมาณของแผ่นดินโดยไม่แยแสว่าภายนอกกำแพงของอาคารรัฐสภากำลังมีคนไทยด้วยกันกำลังได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต
คนหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ในวันนั้นจากบทเพลง 7 ตุลาฯ ก็คือ "ผัวเจ๊แดง" นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบัน
นับจากนี้คงต้องมองกันต่อไปว่า "ทิศทาง" ของ "คาราบาว" จาก "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา" นี้จะยังคงแน่วแน่ มั่นคงมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ถ้าคนที่ถูกมองว่าสมควรจะต้องรับผิดชอบกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ออกมาดังเช่นที่เป็นอยู่ เช่นนี้ แล้ว "คาราบาว" ซึ่งต้องยอมรับว่ามีต้นทุนสูงเพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างขึ้นมาในสังคมหากมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวล่ะ จะทำอะไรต่อไป หรือไม่ อย่างไร?
เพราะขืนจบกันแล้วจบกันเพียงแค่นี้ "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา" อันก่อเกิดขึ้นมาจากเลือด เนื้อ อวัยวะ และชีวิตของมนุษย์ร่วมชาติผู้บริสุทธิ์ก็คงจะไร้ค่า และเป็นเสมือนกับอีกหลายๆ บทเพลงของ "คาราบาว" ที่ไม่แคล้วจะต้องถูกเปรียบได้กับร่างกายซึ่งแม้จะดูสวย หล่อ หากแต่ก็ไร้จิตวิญญาณ
แต่ที่สำคัญเหนือกว่านั้นก็คือ มันคงไม่ใประโยชน์อะไรขึ้นมาเลยทั้งกับฝ่ายที่แยกสี-ไม่แยกสี เลือกข้าง-ไม่เลือกข้าง หากฟัง "7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา" แล้ว ยังไม่เข้าใจความหมาย และไม่สามารถแยกได้ถึงความผิด-ชอบ ชั่ว-ดี ที่ซุกซ่อนอยู่ในเนื้อหาของบทเพลงที่ว่านี้ได้
เพลง 7 ตุลา ลดธงครึ่งเสา
คำร้อง/ทำนอง-แอ๊ด คาราบาว
เช้าวันที่ 7ตุลา ต้องหลั่งน้ำตา บนกองเลือด
ที่สองชีวิตถูกเชือด เพื่อสังเวยพิธีกรรมในสภา
การใช้ความรุนแรง โล่ กระบอง และแก๊สน้ำตา
ตำรวจรับคำสั่งมา แล้วใครกันหว่า มันเป็นคนสั่ง
ขอลดธงครึ่งเสา ให้กับความรุนแรง
ที่สามีเจ๊แดง ควรแสดงความรับผิดชอบ
ล้มตายดังไม้หล่น อีกหลายร้อยคน หามส่งโรงหมอ
เห็นแล้วไม่คุ้มค่าต่อตำแหน่งผู้นำมนุษย์หัวโขน
รามเกียรติ์ตอนนี้ แค่โหมโรงก็ถึงเลือดเชือดคน
บ้านเมืองวิกฤติวิกล ประชาชนเกลียดนักการเมือง
มันชี้ให้เห็นเด่นชัด ให้ประวัติได้จารึก
แม้ยามบ้านเมืองระทึก ยังห่วงจะงับแต่งบประมาณ
คงจะเห็น กันแล้วธาตุแท้ เห็นตับ เห็นไต ไส้พุงสันดาน
คนไทยผู้น่าสงสาร ยังคงอีกนาน อีกนาน
ถ้าไม่เรียนรู้ เรียนรู้ เล่ห์นักการเมือง
เราไม่ใช่พวกสมชาย และไม่ชอบดูเอเอสทีวี
เมืองไทยก้าวต่อไปนี้ ต้องสามัคคีกันแก้ปัญหา
เช้าวันที่ 7 ตุลา ไม่น่าประเมิน ประมาทมวลชน
ในการรับมือจราจล ต้องคิดว่าคนทุกคนคือไทย
ถึงผิดชอบชั่วดีแต่ประชาชนล้วนมาด้วยใจ
เพราะอยากเห็นประเทศก้าวไกล ประชาธิปไตย อารยไตย...