xs
xsm
sm
md
lg

“เจ้าบ้านเจ้าเรือน” จากตัวอักษรสู่ละคร "ละครเรื่องนี้ ถ้าไม่ได้พี่ติ๊ก ก็ไม่ทำ"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


 
“เจ้าบ้านเจ้าเรือน” จากตัวอักษรสู่ละคร

 
"ละครเรื่องนี้ ถ้าไม่ได้พี่ติ๊ก ก็ไม่ทำ"
 
 
 
 
จากประโยคดังกล่าว ทำให้ละครเรื่องนี้ ผู้จัด "ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา" ถึงได้เลื่อนเวลามาเรื่อยๆ ปีกว่า ถึงจะได้เริ่่มต้นถ่ายทำกัน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 อย่างเข้มข้นเลยทีเดียว
 
 
ละครเรื่อง “เจ้าบ้านเจ้าเรือน” บทประพันธ์ของ “แก้วเก้า” (รศ.ดร.วินิตา ดิถียนต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2547) จินตนิยาย แนวลี้ลับ ระทึก น่าติดตาม
 
 
เริ่มแรกตีพิมพ์ลงในนิตยสารสกุลไทยก่อน ช่วงปี 2553 -2554 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เมื่อจบก็รวมเล่ม ผู้อ่านซื้อไปอ่านรวดเดียวจบ และบอกกันว่า สนุกกว่าอ่านครั้งแรกอีก 
 
 
ในงานเสวนา (หัวข้อเดียวกัน) บรรยากาศพูดคุยสนุกสนานมาก โดยเฉพาะคำถามคำตอบจาก 4 ท่าน (ผู้ประพันธ์, ผู้จัด(วรายุฑ มิลินทจินดา), ผู้กำกับ(รัญญา ศิยานนท์), ผู้เขียนบท(ปราณประมูล / ทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์) นำมาเสนอ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมละครให้มากขึ้น

 
 
 

“วรายุฑ มิลินทจินดา” ผู้จัด
 
 
เหตใดถึงเลือกเรื่องนี้มาทำเป็นละคร
 
 
“เป็นคนอ่านหนังสือ อ่านนวนิยายตั้งแต่เด็กๆ พออ่านเรื่องนี้มันเหมือนมีมนต์ขลัง ทำให้รู้สึกอยากทำละครเรื่องนี้ อยากให้คนดูละครเรื่องนี้รู้สึกว่า คนในแผ่นดินของเรา มีเจ้าบ้านเจ้าเรือนจริงๆ ไม่ใช่แค่นวนิยาย”
 
 
พอมาทำเป็นละครแล้วเป็นอย่างไร
 
 
“ยากมากค่ะ ยากกว่าสี่แผ่นดิน เพราะนั่นมีแค่สี่แผ่นดิน แต่เรื่องนี้มีห้าแผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ 5-6-7-8-9 ยากในด้านของผู้จัด ยากในด้านโปรดักชั่น จะทำอย่างไรให้คนดู ดูแล้วลื่นไหลไปกับตัวละคร แล้วมีหลายๆ อย่างต้องขออาจารย์(วินิตา)เยอะมาก เช่น ขอให้พระเอกเล่นเปียโนแทนตีขิม จะได้ดูสง่า หรืออย่างตอนคุณแพรขาวพบคุณไรวินท์ทุกครั้งจะใส่ชุดนอน ขอให้เปลี่ยนการแต่งตัวมาแต่งตามสถานที่ที่เธอไปปรากฏตัวเพื่อความสวยงาม”
 
 
 
การเลือกทีมงาน
 
 
“คนเขียนบท แอ๊นท์งานเยอะมาก ก็เลยถามอาจารย์ๆ บอกเอาคนนี้ล่ะค่ะ ก็เลยเป็นแอ๊นท์เขียนให้ ส่วนบุ๋ม สนิทกันมาก เคยเห็นงานเขา เป็นผู้ช่วยก็หลายเรื่อง คิดว่าสักวันหนึ่งต้องมากำกับให้ไก่ แล้วเราจะเอาของง่ายๆ ไปให้ได้อย่างไร ต้องบอกเลยว่าเขามีความสามารถมากมากทีเดียว
 
 
เวลาทำละคร ไก่จะยุ่งไปหมดทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวดาราเอง เขาเรียกไก่ว่าเป็น ผู้กำกับผู้กำกับผู้กำกับอีกที เป็นซุปเปอร์ไดเร็คเตอร์ บุ๋มสามารถสื่อสารกับตัวละครได้อย่างชัดเจน พี่ติ๊กก็ชอบลองของเรานะ เราก็กลัวในความเป็นซุปเปอร์สตาร์ของเขา
 
 
เขาเคยถามบุ๋ม แล้วก็มาถามไก่ ปรากฏว่าเราสองคนตอบเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมาย สร้างความเชื่อให้เขาได้ว่าเราทางเดียวกัน ออกมาเหมือนกัน ที่สำคัญ ถ้าไมได้พี่ติ๊กเราไม่ทำค่ะ ใครจะหล่อข้ามชาติได้ขนาดนี้คะ ทั้งผีทั้งคนหลงกัน
 
 
ต้องบอกว่าแฟนหนังสือของอาจารย์เยอะมาก แล้วจินตนาการของคนอ่านมันลึกล้ำกว่าคนทำ คนอ่านเป็นล้านๆ คน คนทำ หัวใจแค่ 3 คน เราจะต้องเอาชนะคนทั้งล้านคนให้ได้ เราจะทำยังไงให้เขารู้สึกอิ่มเอมเปรมปรีดิ์กับสิ่งที่เขาฝันจากตัวหนังสือ เราจะถึงเขาแค่ไหน เราจะส่งไปได้มั้ย
 
 
มันยากสำหรับผู้จัดเล็กๆ อย่างเรา เราต้องคิดเยอะๆๆๆ คิดเกิน ไว้อีก มันก็บ้านะ “แอ๊นท์ พี่ว่าให้เข้าไปในบ้านเลยละกัน” อย่างน้อยมากกว่าหนังสือนิดหนึ่งไม่โดนตำหนิแน่ ถ้าทำน้อยกว่าหนังสือก็โดนว่าแน่ แต่ถ้าทำเกินก็ เอ้ย เกินไปหรือเปล่า”
 
 
 
การคัดเลือกนักแสดง
 
 
“นอกจากพระเอกนางเอกแล้ว “จอย รินลณี” เป็นสีนวล มีคนบอกว่าจอยสวยเกินไป ในหนังสือบอกว่าไม่สวย เราก็บอกแอ๊นท์ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้อีนี่น่ารำคาญ ให้ผู้ชายไม่เอาแล้วไปยุ่งกับคนอื่น “มาลาตี”ก็เลือกจากบุคลิกที่ผู้ชายคนไหนก็อยากจะเข้าใกล้มีสัมพันธ์ด้วย มีเสน่ห์ หน้าซื่อ ก็ได้ตัวน้อง “ปุยฝ้าย” มา มีร้องเพลงด้วย ฝีมือการแสดงก็โอเค. มีสั่นเล็กน้อย เข้ากับพี่ติ๊กแล้วเป็นลม
 
 
เธอเป็นแฟนคลับพี่ติ๊กตอนถ่ายฟิตติ้งก็ “อุ้ย.จะทำยังดีๆ” ตัวละครเยอะมาก ทั้งอดีต-ปัจจุบัน ต้องเรียงลำดับเมียต่างๆ ตั้งแต่อายุมากยันน้อย อายุแค่นี้จะเอาดารามาเล่นก็ดูเจนจัดเกินไป ก็ต้องหาเด็กที่ดูอินโนเซนต์หน่อย
 
“ต๊อก” ก็สำคัญมากไม่ใช่ใครก็ได้ ไม่พูดไม่อะไรแต่สายตาเขา เราก็อยู่กับบุ๋มทุกฉาก อันไหนน้อยไปก็เอาอีก
น้องชมพูเก่งมาก มหัศจรรย์สำหรับเด็ก 5 ขวบ ทำได้อย่างที่อาจารย์เขียนไว้เลย บอกว่าเล่นไปแล้วเห็นผีนะ เขาก็ทำได้อย่างที่จินตนาการเขาออกมา ถ้าเราได้เด็กไม่ดี เรื่องนี้ก็หมดรสชาติ เพราะเด็กสื่อสารเยอะ”

 
 
 
 
 
 
“ปราณประมูล” ผู้เขียนบทโทรทัศน์
 
 
“ก่อนหน้าเคยเขียนงานของคุณหญิงมาแล้วจากเรื่อง “มาลัยสามชาย” หลังจากออกอากาศไปแล้ว คุณหญิงติติงว่า ทำไมคุณแอ๊นท์เกร็งจัง ไม่ยอมเปลี่ยนอะไรเลย ดิฉันก็หวังว่าจะเปลี่ยน “อุ๊ยตาย แฟนคลับอาจารย์น่ากลัวจะตาย” พลาดไปแล้วๆ พอมาเรื่องนี้ เติมให้มีรสมีชาติต่างๆ นานา
 
 
นิยายเรื่องนี้อ่านมาก่อนที่จะทราบว่าจะได้เขียน เป็นนิยายที่สนุก ตื่นเต้น พล็อตของอาจารย์เป็นพล็อตที่ไม่ตามสูตร เป็นสุดยอดแห่งการไม่มีสูตร เป็นของอาจารย์เอง นิยายที่คนสมัยนี้ย้อนไปพบกับผู้ชายในอดีตไม่ว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ “ทวิภพ, แต่ปางก่อน” ผู้ชายคนนั้นจะเป็นตัวแทนของผู้ชายในอุดมคติ
 
 
ขณะที่ผู้ชายปัจจุบันใช้ไม่ได้ ผู้ชายยุคก่อนจะดีงาม แต่ถ้าเรานึกถึงความจริงๆ ผู้ชายสมัยก่อนต้องเลวกว่าสมัยนี้ในแง่ของสังคมโดยเฉพาะสมัยคุณไรวินท์ ได้รับการให้ท้าย ถ้าเราได้ศึกษาเรื่องของคุณปู่คุณย่า เจ้าพระยา, คุณพระ ทุกคนจะมีเมียเยอะ คนรุ่นคุณพ่อคุณแม่เราก็จะเจอกับเมียหลวงเมียน้อย ซึ่งสมัยก่อนคือเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องเลวร้าย
 
 
พอเราเอามาตรฐานของสมัยนี้ไปตัดสิน สังคมที่ผู้ชายมีเมียเยอะก็เรียกว่าเป็นสังคมที่ไม่ดี รับไม่ได้ “เฮ้ย...แล้วมันจะโรแมนติกยังไงเนี่ย” พระเอกเลวมากเลย หลอกผู้หญิง มีเมียนับไม่ถ้วน แล้วไม่ได้มีหลักคิดใดๆ ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเอาคนสวย เอาคนดีอะไรเลย เอาทุกคน ทุกชนชั้น สาวยันเด็ก น้องเพื่อน เฮ้ย.เป็นพระเอกได้ยังไง”
 
 
 
 
แล้วจะทำอย่างไร
 
 
“เราจะซื่อสัตย์ต่อตีมของเรื่อง ต่อเจตนารมณ์ของนวนิยาย เขาเล่าเรื่องคนๆ นี้มาเพื่อจะบอกอะไร แมสเสจอะไรที่ต้องการจะบอกกับคนดู ตรงนี้เราต้องกดให้ถึง คิดแค่นี้ค่ะ”
 
 
 
 
แมสเสจของเรื่องนี้คืออะไร
 
 
“ตัวเอกของเรื่อง นางเอกได้ผ่านชีวิตทุกข์ระทมของครอบครัว นางเอกจึงออกมาจากครอบครัวมาอยู่ตรงนี้ แล้วนางเอกก็มาเจอเจ้าบ้านเจ้าเรือน อยากจะบอกจริงๆ ว่านางเอกเรื่องนี้ได้ทุกคน ก็มาลัยสามชายเหมือนกันนะคะ
 
 
หลังจากนางเอกเจอผู้ชายเลวร้ายในครอบครัว ก็มีผู้ชายดีๆ มาดูแล เป็นผู้ชายจากชาติภพอื่น หนึ่ง. แล้วก็เป็นผู้ชายมนุษย์จริงๆ หนึ่งคน ซึ่งดีเกินมนุษย์นะคะ ดีเหลือเกิน ผัวคนแรกพัสกรเลว มาแต่งกับสาโรจน์ แล้วก็มีเจ้าบ้านเจ้าเรือน ยังไงเธอก็ต้องเลือกที่เป็นมนุษย์อยู่ดี
 
 
ผู้ชายที่มาจากภพอื่นในอดีตไม่ใช่คนดีแต่ดูแลช่วยเหลือจนเธอรัก ถ้าเธอไม่ลืมพระเอกเธอก็จะไม่แต่งงานกับสาโรจน์ นางเอกคือตัวนำบอกเล่าความเป็นสมัยใหม่ เอาลูกมาเป็นข้ออ้างว่าลูกไม่โตจะไม่แต่ง เพราะว่าเธอไม่ได้มีใจด้วย
 
 
เราจดจ่ออยู่ที่ตัวละคร ทำไมไรวินท์อยู่ตรงนี้ เรามีเหตุผลของเรา ต้องเล่าไปตามเรื่องที่มีมา แล้วสีนวลทำไมอยู่ในนั้น แล้วมีผีในน้ำในคลอง เรายังเพิ่มสัมภเวสีผีในซอยอีก ผีเยอะมากจนพี่ไก่บอก “แอ๊นท์ นี่ไม่ได้นึกถึงละครเลย เอาแค่สำคัญๆ “ เราก็ไปตามตัวละคร
 
 
 
 
การเล่าเรื่องเป็นอย่างไร
 
 
“เราตีตารางเลยฉากนี้เกิดรัชกาลอะไร พ.ศ.อะไร แต่งชุดยังไง เพลงต้องเป็นอะไร มานั่งอินเสิร์ทเลยค่ะ ตะแลงนี่ยุคไหน ปลายรัชกาลที่ 5 ต่อรัชกาลที่ 6 ถ้ามี พ.ศ.ชัดเจน ก็ไล่ขึ้นไปๆ พระเอกเปลี่ยนจากตีขิมมาเป็นเปียโนก็ต้องเปลี่ยนเป็นปลายรัชกาล 6-7 ที่มีอารยธรรมฝรั่งเข้ามา”

 
 
 
 
 
 
เพื่อความต่อเนื่อง อ่านต่อตอนที่ 2 “ผู้กำกับ” และ “ผู้ประพันธ์” ได้เลยจ้า













กำลังโหลดความคิดเห็น