กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ป่วยโรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรระวังการกินทุเรียน หวั่นเสี่ยงทำอาการทรุด แนะกินแต่พอดี ไม่ถี่ทุกวัน และไม่กินพร้อมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ทุเรียนจัดอยู่ในอาหารกลุ่มผลไม้ที่ให้วิตามินแร่ธาตุ และเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต แต่สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรระวังเป็นพิเศษ หากกินทุเรียนในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้อาการเสี่ยงทรุดได้ เพราะในทุเรียนมีแป้งและน้ำตาลสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ ต้องคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ควรกินทุเรียนแต่พอเหมาะ ไม่กินในปริมาณมาก และไม่กินถี่ทุกวัน หากเป็นไปได้ กินไม่เกิน 1 เม็ดเล็กต่อวัน
และเนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินได้เท่าคนปกติ ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
“ทั้งนี้ ไม่ควรกินทุเรียนพร้อมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดน้ำได้ และจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการย่อยสลายน้ำตาลที่เนื้อเยื่อต่างๆ ที่กล้ามเนื้อและไขมัน เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นไขมันและไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูงมากกว่าปกติ ผลที่เกิดตามมาคือ การย่อยสลายทุเรียนและแอลกอฮอล์จะให้ความร้อนและเป็นกลไกที่ต้องใช้น้ำ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดน้ำได้
และนอกจากนั้นจะมีผลทำให้เอนไซม์ตัวสำคัญลดลง ส่งผลให้สารแอลดีไฮด์เกิดการสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดอาการหน้าแดง ชา วิงเวียน และอาเจียน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทางด้านแพทย์หญิงนภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กล่าวว่า ทุเรียน 1 เม็ด เท่ากับ 2 ส่วน ให้พลังงาน 130 กิโลแคลอรี จึงควรกินไม่เกิน 2 เม็ดต่อวัน และไม่กินถี่ทุกวัน เพราะอาจส่งผลให้น้ำหนักเกิน ร้อนใน เจ็บคอ บางรายจึงนิยมกินทุเรียนกับมังคุด เพราะในมังคุดมีสารต้านการอักเสบ ช่วยแก้เรื่องร้อนใน และยังมีน้ำในปริมาณมาก การกินทุเรียนกับมังคุดจึงเข้ากันดี มีใยอาหารสูง
นอกจากนี้ ในมื้อที่กินทุเรียน ควรควบคุมอาหารประเภทข้าว แป้ง ขนมหวาน ควบคู่ไปด้วย เช่น กินทุเรียนแล้วก็ไม่ต้องซ้ำด้วยของหวานอื่น หรือถ้าจะกินทุเรียนมื้อนี้ ควรลดข้าวให้น้อยลง รวมถึงไม่ควรกินข้าวเหนียวทุเรียนบ่อย เนื่องจากมีความหวานมัน
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 199 กรกฎาคม 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ทุเรียนจัดอยู่ในอาหารกลุ่มผลไม้ที่ให้วิตามินแร่ธาตุ และเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต แต่สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรระวังเป็นพิเศษ หากกินทุเรียนในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้อาการเสี่ยงทรุดได้ เพราะในทุเรียนมีแป้งและน้ำตาลสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ ต้องคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ควรกินทุเรียนแต่พอเหมาะ ไม่กินในปริมาณมาก และไม่กินถี่ทุกวัน หากเป็นไปได้ กินไม่เกิน 1 เม็ดเล็กต่อวัน
และเนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินได้เท่าคนปกติ ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
“ทั้งนี้ ไม่ควรกินทุเรียนพร้อมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดน้ำได้ และจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการย่อยสลายน้ำตาลที่เนื้อเยื่อต่างๆ ที่กล้ามเนื้อและไขมัน เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นไขมันและไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูงมากกว่าปกติ ผลที่เกิดตามมาคือ การย่อยสลายทุเรียนและแอลกอฮอล์จะให้ความร้อนและเป็นกลไกที่ต้องใช้น้ำ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดน้ำได้
และนอกจากนั้นจะมีผลทำให้เอนไซม์ตัวสำคัญลดลง ส่งผลให้สารแอลดีไฮด์เกิดการสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดอาการหน้าแดง ชา วิงเวียน และอาเจียน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทางด้านแพทย์หญิงนภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กล่าวว่า ทุเรียน 1 เม็ด เท่ากับ 2 ส่วน ให้พลังงาน 130 กิโลแคลอรี จึงควรกินไม่เกิน 2 เม็ดต่อวัน และไม่กินถี่ทุกวัน เพราะอาจส่งผลให้น้ำหนักเกิน ร้อนใน เจ็บคอ บางรายจึงนิยมกินทุเรียนกับมังคุด เพราะในมังคุดมีสารต้านการอักเสบ ช่วยแก้เรื่องร้อนใน และยังมีน้ำในปริมาณมาก การกินทุเรียนกับมังคุดจึงเข้ากันดี มีใยอาหารสูง
นอกจากนี้ ในมื้อที่กินทุเรียน ควรควบคุมอาหารประเภทข้าว แป้ง ขนมหวาน ควบคู่ไปด้วย เช่น กินทุเรียนแล้วก็ไม่ต้องซ้ำด้วยของหวานอื่น หรือถ้าจะกินทุเรียนมื้อนี้ ควรลดข้าวให้น้อยลง รวมถึงไม่ควรกินข้าวเหนียวทุเรียนบ่อย เนื่องจากมีความหวานมัน
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 199 กรกฎาคม 2560 โดย กองบรรณาธิการ)