ทางฝ่ายพระสงฆ์ได้มีถ้อยคำเรียกองค์พระมหากษัตริย์ว่า “สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า” บรมบพิตร นั้นก็เป็นคำใช้ทั่วไป แม้ในพระราชสมัญญา พระปรมาภิไธย ก็มีคำบรมบพิตร หมายความถึง ความที่ทรงเป็นเจ้า เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชามหากษัตริย์ ส่วนคำว่า พระราชสมภารเจ้า คือมีคำว่า “สมภาร” รวมอยู่ด้วย
คำว่าสมภารนี้ปกติใช้เป็นนามของเจ้าอาวาส ว่าเป็นสมภารวัดนั้น ว่าเป็นสมภารวัดนี้ พระเถระซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัด บริหารวัดก็เรียกว่า “สมภารเจ้าวัด” และก็ได้นำเอาคำนี้มาถวายพระมหากษัตริย์ด้วยว่า “พระราชสมภารเจ้า” พูดง่ายๆ ก็คือว่า เป็นสมภารของประเทศชาติทั้งหมด เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้บริหารประเทศชาติทั้งหมด เหมือนอย่างสมภารวัดเป็นผู้บริหาร เป็นผู้ปกครองวัด
และคำว่า “สมภาร” นี้ก็มักจะแปลกันว่า มีภาระมาก มีภาระพร้อม ยกตัวอย่างสมภารวัด ก็มีภาระมาก มีภาระพร้อม จะต้องดูแลทั้งในด้านปกครอง ทั้งในด้านอบรมสั่งสอน ในด้านเผยแผ่ ทั้งในด้านสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ถาวรวัตถุต่างๆในวัด เป็นต้นทุกอย่าง มีภาระมาก มีภาระพร้อม พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีภาระมาก มีภาระ พร้อม เพราะจะต้องทรงปกครองประชาชนทั้งประเทศ สมภารวัดนั้นเพียงวัดหนึ่งๆ แต่พระมหากษัตริย์นั้นทั้งประเทศ นี่เป็นความหมายทั่วไป
อีกความหมายหนึ่ง การที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระบารมีก็เรียกอย่างหนึ่งว่า “โพธิสมภาร” คือบำเพ็ญบารมีเพื่อความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สัมภาระนั้นจึงมีความหมายถึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ด้วย และคำว่าสัมภาระนี้มาจาก “ภรธาตุ” ที่แปลว่า “เลี้ยง” เช่นว่ามารดาบิดาเลี้ยงบุตร ภาระจึงแปลว่าเลี้ยง และการเลี้ยงนั้นก็คือการที่บำรุงให้อิ่มหนำสำราญ อย่างมารดาบิดาเลี้ยงบุตรธิดา ก็บำรุงให้อิ่มหนำสำราญ
พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญโพธิสมภาร ก็คือการที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีให้บริบูรณ์ ถ้าเทียบอย่างกับมารดาบิดาเลี้ยงบุตรก็คือว่า ให้อิ่มหนำสำราญ ก็คือให้บริบูรณ์
สัมภาระ จึงหมายถึง บำเพ็ญ ได้บำเพ็ญบารมีนั้นเพื่อพระโพธิญาณ ก็เรียกว่า โพธิสมภาร คือเป็นการที่บำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์เพื่อโพธิ คือความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นคำที่ใช้สำหรับพระโพธิสัตว์มาในคัมภีร์ และเมื่อนำมาใช้ต่อพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชสมภารเจ้า จึงมีความหมายเหมือนอย่างทรงเป็นพระโพธิสัตว์สำหรับประชาชน เป็น “ราชาโพธิสัตว์” ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมให้สมบูรณ์ ตามหน้าที่ของพระราชาผู้ปกครองประชาชน พึงปฏิบัติกระทำเพื่อประชาชน
(จากหนังสือธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
คำว่าสมภารนี้ปกติใช้เป็นนามของเจ้าอาวาส ว่าเป็นสมภารวัดนั้น ว่าเป็นสมภารวัดนี้ พระเถระซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัด บริหารวัดก็เรียกว่า “สมภารเจ้าวัด” และก็ได้นำเอาคำนี้มาถวายพระมหากษัตริย์ด้วยว่า “พระราชสมภารเจ้า” พูดง่ายๆ ก็คือว่า เป็นสมภารของประเทศชาติทั้งหมด เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้บริหารประเทศชาติทั้งหมด เหมือนอย่างสมภารวัดเป็นผู้บริหาร เป็นผู้ปกครองวัด
และคำว่า “สมภาร” นี้ก็มักจะแปลกันว่า มีภาระมาก มีภาระพร้อม ยกตัวอย่างสมภารวัด ก็มีภาระมาก มีภาระพร้อม จะต้องดูแลทั้งในด้านปกครอง ทั้งในด้านอบรมสั่งสอน ในด้านเผยแผ่ ทั้งในด้านสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ถาวรวัตถุต่างๆในวัด เป็นต้นทุกอย่าง มีภาระมาก มีภาระพร้อม พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีภาระมาก มีภาระ พร้อม เพราะจะต้องทรงปกครองประชาชนทั้งประเทศ สมภารวัดนั้นเพียงวัดหนึ่งๆ แต่พระมหากษัตริย์นั้นทั้งประเทศ นี่เป็นความหมายทั่วไป
อีกความหมายหนึ่ง การที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระบารมีก็เรียกอย่างหนึ่งว่า “โพธิสมภาร” คือบำเพ็ญบารมีเพื่อความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สัมภาระนั้นจึงมีความหมายถึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ด้วย และคำว่าสัมภาระนี้มาจาก “ภรธาตุ” ที่แปลว่า “เลี้ยง” เช่นว่ามารดาบิดาเลี้ยงบุตร ภาระจึงแปลว่าเลี้ยง และการเลี้ยงนั้นก็คือการที่บำรุงให้อิ่มหนำสำราญ อย่างมารดาบิดาเลี้ยงบุตรธิดา ก็บำรุงให้อิ่มหนำสำราญ
พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญโพธิสมภาร ก็คือการที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีให้บริบูรณ์ ถ้าเทียบอย่างกับมารดาบิดาเลี้ยงบุตรก็คือว่า ให้อิ่มหนำสำราญ ก็คือให้บริบูรณ์
สัมภาระ จึงหมายถึง บำเพ็ญ ได้บำเพ็ญบารมีนั้นเพื่อพระโพธิญาณ ก็เรียกว่า โพธิสมภาร คือเป็นการที่บำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์เพื่อโพธิ คือความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นคำที่ใช้สำหรับพระโพธิสัตว์มาในคัมภีร์ และเมื่อนำมาใช้ต่อพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชสมภารเจ้า จึงมีความหมายเหมือนอย่างทรงเป็นพระโพธิสัตว์สำหรับประชาชน เป็น “ราชาโพธิสัตว์” ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมให้สมบูรณ์ ตามหน้าที่ของพระราชาผู้ปกครองประชาชน พึงปฏิบัติกระทำเพื่อประชาชน
(จากหนังสือธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)