ท่านพุทธศาสนิกชนผู้สนใจในการสดับและปฏิบัติธรรมทั้งหลาย…
วันนี้จะบรรยายเรื่องบังสุกุลตายต่อจากบังสุกุลเป็น เมื่อคนเราตายแล้วหมู่ญาติมักจะนำศพไปฝังที่ป่าช้า ซึ่งมีอยู่ประจำหมู่บ้าน ไม่นิยมเก็บศพไว้ในบ้าน และถ้าจะเก็บศพไว้ก็ไม่เกิน ๓ วัน ๗ วัน มักจะเผาให้เสร็จไปในเวลานิมนต์พระภิกษุสามเณรไปพิจารณาผ้าบังสุกุล ก็นำผ้าไปทอดไว้ที่โลงหรือหีบใส่ศพ ลางหมู่บ้านก็นิยมเปิดฝาโลงหรือฝาหีบให้เห็นศพ ลางทีก็ทำศพนั่งทำอาการประคองผ้าที่นำไปทอด ทำสะพานหกไว้ เมื่อพระภิกษุสามเณรเดินไปบนสะพานหก ศพจะลุกขึ้นนั่งประคองผ้า พระภิกษุสามเณรจะต้องเดินไปพิจารณาผ้านั้นทีละรูป ห้ามเดินไปมากกว่านั้น
ทั้งนี้ มุ่งให้พระภิกษุสามเณรไม่กลัวศพหรือกลัวผี ท่านมุ่งให้พระภิกษุสามเณรพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน ไม่นิยมใช้สายสิญจน์โยงมาจากศพ และทอดผ้าบนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงอย่างที่นิยมทำกันในปัจจุบันนี้ โบราณาจารย์ท่านให้คาถา “อนิจจาทิลักขณะ” ในเวลาพิจารณาบังสุกุลตาย ดังนี้
อนิจฺจา วต สังฺขาราอุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติเตสํ วูปสโม สุโข
แปลความว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบระงับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข ดังนี้
คาถานี้มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ใจความว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า “พระมหากาล” ท่านชอบพิจารณาศพหรืออสุภในป่าช้า จึงสั่งนายป่าช้า (สัปเหร่อ) ว่า เมื่อมีคนนำศพมาฝังหรือเผา ขอให้แจ้งแก่ท่านทราบด้วย วันหนึ่งมีคนนำศพสตรีผู้มีรูปร่างสวยงาม เพิ่งแรกทำกาลกิริยา (เพิ่งตาย) หมู่ญาตินำไปสู่ป่าช้าเพื่อฌาปนกิจ นายป่าช้าจึงไปแจ้งแก่พระภิกษุมหากาล ท่านก็ไปพิจารณาโดยแยบคายตามนัยคาถานั้น เมื่อทำไว้ในใจด้วยอุบายที่ชอบกำกับไปพร้อมกับการพิจารณาอสุภะนั้น ก็ได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยจตุปฏิสัมภิทา เพราะฉะนั้น คาถานี้จึงกลายเป็นคาถาบังสุกุลคนตาย
อีกแห่งหนึ่งมีที่มาในมหาปรินิพพานสูตร ใจความว่า เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ขณะนั้นท้าวโกสีย์สักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ นำเทพบริษัทมาเฝ้าสักการะพระสรีรศพ ได้กล่าวคาถานี้ในท่ามกลางเทพบริษัท แต่ในพระสูตรมิได้แสดงว่า เมื่อท้าวสักกเทวราชกล่าวคาถานี้จบแล้ว เทพบริษัทตนใดได้สำเร็จมรรคผลอย่างไรหาได้กล่าวถึงไม่ บัดนี้จะอธิบายใจความในคาถานี้ต่อไปพอสมควรแก่เวลา
“อนิจฺจา วต สังฺขารา” สังขารทั้งหลายเป็นอนิจจา ไม่เที่ยงหนอ
“อุปฺปาทวยธมฺมิโน” มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
“อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ” ครั้นเกิดขึ้นแล้วในที่สุดย่อมดับไป
“เตสํ วูปสโม สุโข” ความสงบระงับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข
ก็คำว่า “สังขารๆ” นั้น แปลความรูปศัพท์ว่า กระทำพร้อม ถือเอาความประชุมพร้อมหรือปรุงขึ้น เพราะถ้าอยู่ตามลำพังท่านไม่เรียกว่าสังขาร ท่านเรียกว่าธรรมหรือธาตุหรือสภาวะ แปลว่า มีเองเป็นเองทรงตัวอยู่อย่างนั้น ต่อเมื่อธาตุหรือธรรมหรือสภาวะนั้นๆ มาประชุมพร้อมกันขึ้นจึงเป็นสังขารได้ในคำว่า “ฉ ธาตุโร ปุริโส” คนมาจากธาตุ ๖ ดังนี้
คำว่าปรุงแต่งนั้น จะบุคคลปรุงแต่งหรือกรรมปรุงแต่งหรือธรรมดาปรุงแต่งก็ตาม เมื่อปรากฏมีขึ้นแล้วก็เรียกว่า “สังขาร” หมด สังขารนั้นจัดเป็น ๒ อย่าง คือสังขารที่เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง สังขารที่เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง สังขารที่เป็นรูปธรรมนั้น ได้แก่ มนุษย์และสัตว์ที่เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร หรือ สวิญญาณกสังขาร แปลว่า สังขารที่มีเจ้าเข้าเจ้าของ หรือสังขารที่มีวิญญาณ ทราบรู้อะไรๆได้ ส่วน สังขารที่ปราศจากวิญญาณ ไม่มีใครเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ เช่นพัสดุสิ่งของเครื่องใช้สอยต่างๆ ตลอดถึงแผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น เรียก อนุปาทินนกสังขาร หรือ อวิญญาณกสังขาร สังขาร ๒ อย่างนี้จัดเป็นรูปธรรม
สังขารที่เป็นนามธรรมนั้น ได้แก่ สังขารในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หมายถึงขันธ์ที่ ๔ อันได้แก่ เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง แบ่งเป็นอัญญสมานาเจตสิก ๑๑ โสภณเจตสิก ๒๕ อกุศลเจตสิก ๑๔ รวม ๕๐ ดวง ก็เรียกสังขารเหมือนกัน แต่หมายถึงขันธ์ที่ ๔ ในขันธ์ ๕ ดังกล่าวมา
ส่วนสังขารในปฏิจจสมุบปาทธรรม ได้ในคำว่า “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา” เป็นต้น หมายถึงสังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร สังขารคือบุญ อปุญญาภิสังขาร สังขารคือบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารคืออเนญชา ไม่ถึงกับเป็นบุญเป็นบาป อีกแห่งหนึ่งหมายถึงสังขารในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ท่านจัดเป็น ๓ เหมือนกัน เรียกว่า กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ มโนสังขาร๑ ลมหายใจเข้าออกจัดเป็นกายสังขาร วิตกวิจารจัดเป็นวจีสังขาร สัญญากับเวทนาจัดเป็นมโนสังขาร สังขารชื่อเดียวกันแต่มีความหมายแตกต่างกันดังพรรณนามาฉะนี้
ก็คำว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอในคาถานี้นั้น หมายถึงสังขารชนิดไหน? น่าจะหมายเอาสังขารส่วนรูปธรรมที่เป็นคนหรือสัตว์ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นอุปาทินนกะ หรือสวิญญาณกะ ครั้นเมื่อตายแล้วก็เป็นซากศพ ที่เรียกว่า “อสุภะ หรือทับศัพท์ว่า อสุภ” เป็นอนุปาทินนกะ หรืออวิญญาณกะ เพราะท่านมหากาลไปพิจารณาศพของหญิงสาวที่เพิ่งตายใหม่ๆ หรือท้าวสักกเทวราชกล่าวในท่ามกลางเทพบริษัท เพราะมาเฝ้าเห็นพระบรมสรีรศพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้ว จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ต่างก็ไม่เที่ยงทั้งหมด สมด้วยพระพุทธพจน์ข้อว่า “สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ” ขึ้นชื่อว่าสังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยง ไม่มี ดังนี้
ส่วน พระนิพพานเป็น “วิสังขาร” พ้นจากความเป็นสังขาร ดังนั้น พระนิพพานจึงเป็นของเที่ยงและเป็นสุขด้วย คำที่ว่าสังขารเป็นอนิจจาไม่เที่ยงนั้น เพราะเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปไม่คงที่อยู่ได้ แต่ลางอย่างค่อยๆเสื่อมหรือเสื่อมทีละน้อยๆ หรือเก่าเสื่อมใหม่ก็เกิดขึ้นแทน จึงเห็นได้ยาก ได้ในข้อว่า “อุปฺปาทวยธมฺมิโน” มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ลางอย่างเสื่อมไปเร็วจนผิดนัยน์ตา เช่น ตาย ได้ในคำว่า “อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ” ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป หมายความว่าเกิดแล้วที่จะไม่เสื่อมไม่ดับไม่ตายเป็นอันไม่มี
ข้อว่าลางอย่างเสื่อมทีละน้อยหรือค่อยๆเสื่อมเห็นได้ยากนั้น เพราะมีสันตติคือการสืบต่อ เช่น เท้าที่เราเดินอยู่เสมอก็สึกกร่อนเสื่อมไปเสมอ แต่ที่ไม่รู้สึกว่าเสื่อมไปก็เพราะมีสันตติของใหม่เกิดสืบแทนของเก่าที่ชำรุดสึกกร่อนเสื่อมไป ไม่เช่นนั้นคนเราเดินมา ๕๐-๖๐ ปี เท้าคนคงจะหายไปมาก หรือเหมือนตะเกียงหรือเทียนที่จุดทิ้งไว้ ไส้และน้ำมันถูกเผาหมดไป ก็มีอุปกรณ์เชื่อมถึงกันไม่ขาดสาย และเมื่ออันตรายไม่มี ดวงประทีปจึงติดอยู่ได้ ถ้าเครื่องอุปกรณ์นั้นๆ ต่อไม่ติดกันหรือมีอันตราย ดวงประทีปนั้นก็จะพลันดับ
มนุษย์และสัตว์ก็เหมือนกัน ถ้าอวัยวะส่วนแห่งร่างกายนั้นๆ ของใหม่เกิดแทนไม่ทันของเก่าที่เสื่อมไปชำรุดไป หรือมีอันตราย มนุษย์และสัตว์ก็ตาย ชื่อว่าขาดสันตติ ตอนขาดสันตตินี้เห็นไม่เที่ยงชัดเจน เมื่อสันตติยังไม่ขาดก็ไม่เที่ยงเป็นลำดับๆ มา แต่เห็นยากหน่อย สันตติปิดบังอนิจจัง ฉะนี้
เมื่อประสงค์จะเห็นอนิจจัง ต้องพินิจพิจารณาความแปรปรวนของสังขาร นึกถึงปัจจุบันไปหาอดีต เช่น คนแก่ในบัดนี้มาจากเด็กในอดีต หรือนึกถึงปัจจุบันไปในอนาคต เช่น เด็กในบัดนี้จะกลายเป็นคนแก่ในวันข้างหน้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง การพินิจพิจารณาเช่นนี้อาจเพิกหรือเปิดสันตติได้
ก็การพิจารณาสังขารในเวลาไม่มีพยานปรากฏอยู่เฉพาะหน้า สู้มีพยานปรากฏให้เห็นไม่ได้ เพราะเห็นง่ายไม่มีข้อโต้แย้งหรือเถียงไม่ขึ้น เพราะเหตุนี้ เวลาเราไปอาบน้ำศพหรือเวลาไปปลงศพไปเยี่ยมคนตาย หรือเห็นคนตาย ควรนึกปลงอสุภะด้วยคาถา “อนิจฺจา วต สังฺขารา” เป็นต้น พร้อมทั้งคำแปลเพื่อให้รู้ความหมาย
เมื่อพิจารณาอนิจจลักขณะในสังขาร ทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วดังนี้บ่อยๆ ก็จะเกิด นิพพิทา ความเบื่อหน่าย เมื่อนิพพิทาเกิดก็เป็นวิถีทางให้เกิดวิราคะ คือ คลายติดใจ คือความไม่ยินดีหรือปราศจากความยินดีพอใจในสังขารทั้งหลายทั้งปวง
นิพพิทา วิราคะ เป็นมรรควิถีให้ประสบ วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น หมายถึงหลุดพ้นแห่งจิตที่เข้าไปอยากผิดๆ ถือตนผิดๆ เห็นผิดๆ และสำคัญมั่นหมายผิดๆ เพราะรู้ผิดๆ ด้วยตัณหา มานะทิฏฐิ อุปทาน อวิชชา เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสังขารว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นของของตนหมดไป เห็นถูกเห็นจริงตามความเป็นจริงว่า สักว่ารูปนาม สักว่าขันธ์ ๕ เป็นสังขารธรรม ทั้งส่วนรูปธรรมทั้งส่วนนามธรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็จะประสบสุขหรือพ้นทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย
เพราะฉะนั้น คาถาบทสุดท้ายท่านจึงว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” ความสงบระงับสังขารทั้งหลายที่ไม่เที่ยงนั้น คือไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นสุข หมายถึงสุขในพระนิพพาน
พระนิพพานได้แก่ความดับ หมายถึงดับกิเลสและกองทุกข์ ดับสนิทดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับตลอดไป ไม่กลับติดต่อเกิดอีกจึงจะเรียกว่า “นิพพาน” ดับกิเลส “กิเลสนิพพาน” ดับขันธ์เรียก “ขันธนิพพาน” ขันธ์ที่หมดกิเลสแล้วเป็นขันธ์เปล่า ไม่มีใครเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ เช่น สุญญาคารเรือนเปล่าไม่มีอะไรรกรุงรังน่าสบายใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” พระนิพพานสูญเปล่าอย่างยิ่ง เมื่อขันธ์ไม่มีกิเลสแล้ว ไม่มีทุกข์ ก็เป็นสุขอย่างยิ่ง แต่มิใช่สุขเวทนา เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ นี้เป็นคำอธิบายในคาถาบังสุกุลตาย คือ อนิจฺจา วต สังฺขารา
ในคณะธรรมยุตยังนิยมสวดคาถาต่อท้ายคาถาบังสุกุลตาย อีกคาถาหนึ่ง ว่าดังนี้
สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จมรึสุ จ มริสฺสเร
ตเถวาหํ มริสฺสสามินตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย
แปลความว่า
“สพฺเพ สตฺตา” สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
“มรนฺติ จ” กำลังตายหรือตายอยู่ในบัดนี้ด้วย
“มรึสุ จ” ตายแล้วในอดีตด้วย
“มริสฺสเร” จักตายในอนาคตด้วย
“ตเถวาหํ มริสฺสสามิ” แม้ตัวเราก็จักต้องตายเหมือนกันอย่างนี้
“นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย” ความสงสัยในเรื่องตายนี้ไม่มีแก่เรา
คาถานี้หมายถึงมรณสติ การระลึกถึงความตาย ยกเอาคนหรือสัตว์ที่ตายในปัจจุบันเป็นตัวอย่าง และอดีตล่วงมาแล้ว และเป็นอนาคตจักมีในวันข้างหน้า ล้วนต้องตายด้วยกันทั้งนั้น แม้ตัวเราก็จักต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือไม่ต้องสงสัยว่าเกิดมาแล้วจักไม่ตาย การระลึกถึงความตายบ่อยๆ ทำให้ไม่กลัวตาย และจะได้รีบร้อนละความชั่ว ทำแต่ความดีอันเป็นบุญกุศลก่อนที่จะแก่จะเจ็บจะตาย จะได้ไม่ประมาทในขัยในวัยในอายุและในชีวิต ทำให้กล้าหาญไม่กลัวตาย และตระเตรียมเสบียงเดินทาง คือกุศลไว้ให้มากด้วยความไม่ประมาท สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญมรณสติไว้ว่า
“มรณสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา อมตคธาอมตปริโยสานา”
ภิกษุทั้งหลาย มรณสติ อันบุคคลเจริญมากแล้ว ทำให้ขึ้นใจมากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่สุด หมายความว่า ผู้ใดมาเจริญมรณสติให้เป็นนิจจภาวนาอยู่ ผู้นั้นจะไม่ตายหรือไม่ตายเปล่า ดังนี้…
(ส่วนหนึ่งของการบรรยายธรรม วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560 โดย สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
วันนี้จะบรรยายเรื่องบังสุกุลตายต่อจากบังสุกุลเป็น เมื่อคนเราตายแล้วหมู่ญาติมักจะนำศพไปฝังที่ป่าช้า ซึ่งมีอยู่ประจำหมู่บ้าน ไม่นิยมเก็บศพไว้ในบ้าน และถ้าจะเก็บศพไว้ก็ไม่เกิน ๓ วัน ๗ วัน มักจะเผาให้เสร็จไปในเวลานิมนต์พระภิกษุสามเณรไปพิจารณาผ้าบังสุกุล ก็นำผ้าไปทอดไว้ที่โลงหรือหีบใส่ศพ ลางหมู่บ้านก็นิยมเปิดฝาโลงหรือฝาหีบให้เห็นศพ ลางทีก็ทำศพนั่งทำอาการประคองผ้าที่นำไปทอด ทำสะพานหกไว้ เมื่อพระภิกษุสามเณรเดินไปบนสะพานหก ศพจะลุกขึ้นนั่งประคองผ้า พระภิกษุสามเณรจะต้องเดินไปพิจารณาผ้านั้นทีละรูป ห้ามเดินไปมากกว่านั้น
ทั้งนี้ มุ่งให้พระภิกษุสามเณรไม่กลัวศพหรือกลัวผี ท่านมุ่งให้พระภิกษุสามเณรพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน ไม่นิยมใช้สายสิญจน์โยงมาจากศพ และทอดผ้าบนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงอย่างที่นิยมทำกันในปัจจุบันนี้ โบราณาจารย์ท่านให้คาถา “อนิจจาทิลักขณะ” ในเวลาพิจารณาบังสุกุลตาย ดังนี้
อนิจฺจา วต สังฺขาราอุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติเตสํ วูปสโม สุโข
แปลความว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบระงับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข ดังนี้
คาถานี้มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ใจความว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า “พระมหากาล” ท่านชอบพิจารณาศพหรืออสุภในป่าช้า จึงสั่งนายป่าช้า (สัปเหร่อ) ว่า เมื่อมีคนนำศพมาฝังหรือเผา ขอให้แจ้งแก่ท่านทราบด้วย วันหนึ่งมีคนนำศพสตรีผู้มีรูปร่างสวยงาม เพิ่งแรกทำกาลกิริยา (เพิ่งตาย) หมู่ญาตินำไปสู่ป่าช้าเพื่อฌาปนกิจ นายป่าช้าจึงไปแจ้งแก่พระภิกษุมหากาล ท่านก็ไปพิจารณาโดยแยบคายตามนัยคาถานั้น เมื่อทำไว้ในใจด้วยอุบายที่ชอบกำกับไปพร้อมกับการพิจารณาอสุภะนั้น ก็ได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยจตุปฏิสัมภิทา เพราะฉะนั้น คาถานี้จึงกลายเป็นคาถาบังสุกุลคนตาย
อีกแห่งหนึ่งมีที่มาในมหาปรินิพพานสูตร ใจความว่า เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ขณะนั้นท้าวโกสีย์สักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ นำเทพบริษัทมาเฝ้าสักการะพระสรีรศพ ได้กล่าวคาถานี้ในท่ามกลางเทพบริษัท แต่ในพระสูตรมิได้แสดงว่า เมื่อท้าวสักกเทวราชกล่าวคาถานี้จบแล้ว เทพบริษัทตนใดได้สำเร็จมรรคผลอย่างไรหาได้กล่าวถึงไม่ บัดนี้จะอธิบายใจความในคาถานี้ต่อไปพอสมควรแก่เวลา
“อนิจฺจา วต สังฺขารา” สังขารทั้งหลายเป็นอนิจจา ไม่เที่ยงหนอ
“อุปฺปาทวยธมฺมิโน” มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
“อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ” ครั้นเกิดขึ้นแล้วในที่สุดย่อมดับไป
“เตสํ วูปสโม สุโข” ความสงบระงับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข
ก็คำว่า “สังขารๆ” นั้น แปลความรูปศัพท์ว่า กระทำพร้อม ถือเอาความประชุมพร้อมหรือปรุงขึ้น เพราะถ้าอยู่ตามลำพังท่านไม่เรียกว่าสังขาร ท่านเรียกว่าธรรมหรือธาตุหรือสภาวะ แปลว่า มีเองเป็นเองทรงตัวอยู่อย่างนั้น ต่อเมื่อธาตุหรือธรรมหรือสภาวะนั้นๆ มาประชุมพร้อมกันขึ้นจึงเป็นสังขารได้ในคำว่า “ฉ ธาตุโร ปุริโส” คนมาจากธาตุ ๖ ดังนี้
คำว่าปรุงแต่งนั้น จะบุคคลปรุงแต่งหรือกรรมปรุงแต่งหรือธรรมดาปรุงแต่งก็ตาม เมื่อปรากฏมีขึ้นแล้วก็เรียกว่า “สังขาร” หมด สังขารนั้นจัดเป็น ๒ อย่าง คือสังขารที่เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง สังขารที่เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง สังขารที่เป็นรูปธรรมนั้น ได้แก่ มนุษย์และสัตว์ที่เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร หรือ สวิญญาณกสังขาร แปลว่า สังขารที่มีเจ้าเข้าเจ้าของ หรือสังขารที่มีวิญญาณ ทราบรู้อะไรๆได้ ส่วน สังขารที่ปราศจากวิญญาณ ไม่มีใครเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ เช่นพัสดุสิ่งของเครื่องใช้สอยต่างๆ ตลอดถึงแผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น เรียก อนุปาทินนกสังขาร หรือ อวิญญาณกสังขาร สังขาร ๒ อย่างนี้จัดเป็นรูปธรรม
สังขารที่เป็นนามธรรมนั้น ได้แก่ สังขารในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หมายถึงขันธ์ที่ ๔ อันได้แก่ เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง แบ่งเป็นอัญญสมานาเจตสิก ๑๑ โสภณเจตสิก ๒๕ อกุศลเจตสิก ๑๔ รวม ๕๐ ดวง ก็เรียกสังขารเหมือนกัน แต่หมายถึงขันธ์ที่ ๔ ในขันธ์ ๕ ดังกล่าวมา
ส่วนสังขารในปฏิจจสมุบปาทธรรม ได้ในคำว่า “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา” เป็นต้น หมายถึงสังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร สังขารคือบุญ อปุญญาภิสังขาร สังขารคือบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารคืออเนญชา ไม่ถึงกับเป็นบุญเป็นบาป อีกแห่งหนึ่งหมายถึงสังขารในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ท่านจัดเป็น ๓ เหมือนกัน เรียกว่า กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ มโนสังขาร๑ ลมหายใจเข้าออกจัดเป็นกายสังขาร วิตกวิจารจัดเป็นวจีสังขาร สัญญากับเวทนาจัดเป็นมโนสังขาร สังขารชื่อเดียวกันแต่มีความหมายแตกต่างกันดังพรรณนามาฉะนี้
ก็คำว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอในคาถานี้นั้น หมายถึงสังขารชนิดไหน? น่าจะหมายเอาสังขารส่วนรูปธรรมที่เป็นคนหรือสัตว์ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นอุปาทินนกะ หรือสวิญญาณกะ ครั้นเมื่อตายแล้วก็เป็นซากศพ ที่เรียกว่า “อสุภะ หรือทับศัพท์ว่า อสุภ” เป็นอนุปาทินนกะ หรืออวิญญาณกะ เพราะท่านมหากาลไปพิจารณาศพของหญิงสาวที่เพิ่งตายใหม่ๆ หรือท้าวสักกเทวราชกล่าวในท่ามกลางเทพบริษัท เพราะมาเฝ้าเห็นพระบรมสรีรศพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้ว จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ต่างก็ไม่เที่ยงทั้งหมด สมด้วยพระพุทธพจน์ข้อว่า “สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ” ขึ้นชื่อว่าสังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยง ไม่มี ดังนี้
ส่วน พระนิพพานเป็น “วิสังขาร” พ้นจากความเป็นสังขาร ดังนั้น พระนิพพานจึงเป็นของเที่ยงและเป็นสุขด้วย คำที่ว่าสังขารเป็นอนิจจาไม่เที่ยงนั้น เพราะเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปไม่คงที่อยู่ได้ แต่ลางอย่างค่อยๆเสื่อมหรือเสื่อมทีละน้อยๆ หรือเก่าเสื่อมใหม่ก็เกิดขึ้นแทน จึงเห็นได้ยาก ได้ในข้อว่า “อุปฺปาทวยธมฺมิโน” มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ลางอย่างเสื่อมไปเร็วจนผิดนัยน์ตา เช่น ตาย ได้ในคำว่า “อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ” ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป หมายความว่าเกิดแล้วที่จะไม่เสื่อมไม่ดับไม่ตายเป็นอันไม่มี
ข้อว่าลางอย่างเสื่อมทีละน้อยหรือค่อยๆเสื่อมเห็นได้ยากนั้น เพราะมีสันตติคือการสืบต่อ เช่น เท้าที่เราเดินอยู่เสมอก็สึกกร่อนเสื่อมไปเสมอ แต่ที่ไม่รู้สึกว่าเสื่อมไปก็เพราะมีสันตติของใหม่เกิดสืบแทนของเก่าที่ชำรุดสึกกร่อนเสื่อมไป ไม่เช่นนั้นคนเราเดินมา ๕๐-๖๐ ปี เท้าคนคงจะหายไปมาก หรือเหมือนตะเกียงหรือเทียนที่จุดทิ้งไว้ ไส้และน้ำมันถูกเผาหมดไป ก็มีอุปกรณ์เชื่อมถึงกันไม่ขาดสาย และเมื่ออันตรายไม่มี ดวงประทีปจึงติดอยู่ได้ ถ้าเครื่องอุปกรณ์นั้นๆ ต่อไม่ติดกันหรือมีอันตราย ดวงประทีปนั้นก็จะพลันดับ
มนุษย์และสัตว์ก็เหมือนกัน ถ้าอวัยวะส่วนแห่งร่างกายนั้นๆ ของใหม่เกิดแทนไม่ทันของเก่าที่เสื่อมไปชำรุดไป หรือมีอันตราย มนุษย์และสัตว์ก็ตาย ชื่อว่าขาดสันตติ ตอนขาดสันตตินี้เห็นไม่เที่ยงชัดเจน เมื่อสันตติยังไม่ขาดก็ไม่เที่ยงเป็นลำดับๆ มา แต่เห็นยากหน่อย สันตติปิดบังอนิจจัง ฉะนี้
เมื่อประสงค์จะเห็นอนิจจัง ต้องพินิจพิจารณาความแปรปรวนของสังขาร นึกถึงปัจจุบันไปหาอดีต เช่น คนแก่ในบัดนี้มาจากเด็กในอดีต หรือนึกถึงปัจจุบันไปในอนาคต เช่น เด็กในบัดนี้จะกลายเป็นคนแก่ในวันข้างหน้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง การพินิจพิจารณาเช่นนี้อาจเพิกหรือเปิดสันตติได้
ก็การพิจารณาสังขารในเวลาไม่มีพยานปรากฏอยู่เฉพาะหน้า สู้มีพยานปรากฏให้เห็นไม่ได้ เพราะเห็นง่ายไม่มีข้อโต้แย้งหรือเถียงไม่ขึ้น เพราะเหตุนี้ เวลาเราไปอาบน้ำศพหรือเวลาไปปลงศพไปเยี่ยมคนตาย หรือเห็นคนตาย ควรนึกปลงอสุภะด้วยคาถา “อนิจฺจา วต สังฺขารา” เป็นต้น พร้อมทั้งคำแปลเพื่อให้รู้ความหมาย
เมื่อพิจารณาอนิจจลักขณะในสังขาร ทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วดังนี้บ่อยๆ ก็จะเกิด นิพพิทา ความเบื่อหน่าย เมื่อนิพพิทาเกิดก็เป็นวิถีทางให้เกิดวิราคะ คือ คลายติดใจ คือความไม่ยินดีหรือปราศจากความยินดีพอใจในสังขารทั้งหลายทั้งปวง
นิพพิทา วิราคะ เป็นมรรควิถีให้ประสบ วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น หมายถึงหลุดพ้นแห่งจิตที่เข้าไปอยากผิดๆ ถือตนผิดๆ เห็นผิดๆ และสำคัญมั่นหมายผิดๆ เพราะรู้ผิดๆ ด้วยตัณหา มานะทิฏฐิ อุปทาน อวิชชา เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสังขารว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นของของตนหมดไป เห็นถูกเห็นจริงตามความเป็นจริงว่า สักว่ารูปนาม สักว่าขันธ์ ๕ เป็นสังขารธรรม ทั้งส่วนรูปธรรมทั้งส่วนนามธรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็จะประสบสุขหรือพ้นทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย
เพราะฉะนั้น คาถาบทสุดท้ายท่านจึงว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” ความสงบระงับสังขารทั้งหลายที่ไม่เที่ยงนั้น คือไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นสุข หมายถึงสุขในพระนิพพาน
พระนิพพานได้แก่ความดับ หมายถึงดับกิเลสและกองทุกข์ ดับสนิทดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับตลอดไป ไม่กลับติดต่อเกิดอีกจึงจะเรียกว่า “นิพพาน” ดับกิเลส “กิเลสนิพพาน” ดับขันธ์เรียก “ขันธนิพพาน” ขันธ์ที่หมดกิเลสแล้วเป็นขันธ์เปล่า ไม่มีใครเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ เช่น สุญญาคารเรือนเปล่าไม่มีอะไรรกรุงรังน่าสบายใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” พระนิพพานสูญเปล่าอย่างยิ่ง เมื่อขันธ์ไม่มีกิเลสแล้ว ไม่มีทุกข์ ก็เป็นสุขอย่างยิ่ง แต่มิใช่สุขเวทนา เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ นี้เป็นคำอธิบายในคาถาบังสุกุลตาย คือ อนิจฺจา วต สังฺขารา
ในคณะธรรมยุตยังนิยมสวดคาถาต่อท้ายคาถาบังสุกุลตาย อีกคาถาหนึ่ง ว่าดังนี้
สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จมรึสุ จ มริสฺสเร
ตเถวาหํ มริสฺสสามินตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย
แปลความว่า
“สพฺเพ สตฺตา” สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
“มรนฺติ จ” กำลังตายหรือตายอยู่ในบัดนี้ด้วย
“มรึสุ จ” ตายแล้วในอดีตด้วย
“มริสฺสเร” จักตายในอนาคตด้วย
“ตเถวาหํ มริสฺสสามิ” แม้ตัวเราก็จักต้องตายเหมือนกันอย่างนี้
“นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย” ความสงสัยในเรื่องตายนี้ไม่มีแก่เรา
คาถานี้หมายถึงมรณสติ การระลึกถึงความตาย ยกเอาคนหรือสัตว์ที่ตายในปัจจุบันเป็นตัวอย่าง และอดีตล่วงมาแล้ว และเป็นอนาคตจักมีในวันข้างหน้า ล้วนต้องตายด้วยกันทั้งนั้น แม้ตัวเราก็จักต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือไม่ต้องสงสัยว่าเกิดมาแล้วจักไม่ตาย การระลึกถึงความตายบ่อยๆ ทำให้ไม่กลัวตาย และจะได้รีบร้อนละความชั่ว ทำแต่ความดีอันเป็นบุญกุศลก่อนที่จะแก่จะเจ็บจะตาย จะได้ไม่ประมาทในขัยในวัยในอายุและในชีวิต ทำให้กล้าหาญไม่กลัวตาย และตระเตรียมเสบียงเดินทาง คือกุศลไว้ให้มากด้วยความไม่ประมาท สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญมรณสติไว้ว่า
“มรณสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา อมตคธาอมตปริโยสานา”
ภิกษุทั้งหลาย มรณสติ อันบุคคลเจริญมากแล้ว ทำให้ขึ้นใจมากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่สุด หมายความว่า ผู้ใดมาเจริญมรณสติให้เป็นนิจจภาวนาอยู่ ผู้นั้นจะไม่ตายหรือไม่ตายเปล่า ดังนี้…
(ส่วนหนึ่งของการบรรยายธรรม วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560 โดย สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)