“...พระพุทธศาสนามีคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมและเป็นไปตามเหตุผล ดังนั้น ผู้มีปัญญาตริตรองจึงเห็นจริง และมีศรัทธาเกิดขึ้นอย่างมั่นคง การส่งเสริมเผยแพร่พระศาสนากล่าวได้ว่า ควรจะเน้นที่การสร้างศรัทธาเป็นข้อสำคัญ
ความศรัทธาความเชื่อนั้น กล่าวได้ว่ามี 2 อย่าง ได้แก่ ศรัทธาที่มีผู้อื่นชักนำ กับศรัทธาที่เกิดขึ้นในตนเอง ศรัทธาอย่างไหนก็ตาม อาจให้ผลได้ทั้งทางดีและทางเสื่อม ขึ้นอยู่กับวิธีการที่สร้างขึ้น ถ้าสักแต่ว่าเชื่อ ไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์จากศรัทธานั้น อาจเกิดโทษก็ได้ จำเป็นต้องใช้ปัญญาความรู้เหตุรู้ผล พิจารณาวิเคราะห์ให้เห็นถ่องแท้ก่อน ว่าเรื่องใด สิ่งใดมาจากความคิดที่ดีหรือจากความคิดที่ชั่ว แล้วปลูกศรัทธาลงแต่ในส่วนที่เกิดจากความคิดที่ดี จึงจะได้ประโยชน์เต็มเปี่ยม
ผู้ที่จะเผยแพร่พุทธธรรม ควรอย่างยิ่งที่จะถือเป็นภาระเบื้องต้น ในการชี้แจงให้ผู้ฟังเห็นคุณเห็นโทษของสิ่งต่างๆโดยชัดแจ้ง จึงจะสามารถสร้างศรัทธาที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นได้ และสามารถจรรโลงพระศาสนา ส่งเสริมจริยธรรมได้เป็นผลสำเร็จ...”
พระบรมราโชวาท ในประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 22 ณ หอประชุมวัดโสธรฯ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม พ.ศ. 2517
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560)
ความศรัทธาความเชื่อนั้น กล่าวได้ว่ามี 2 อย่าง ได้แก่ ศรัทธาที่มีผู้อื่นชักนำ กับศรัทธาที่เกิดขึ้นในตนเอง ศรัทธาอย่างไหนก็ตาม อาจให้ผลได้ทั้งทางดีและทางเสื่อม ขึ้นอยู่กับวิธีการที่สร้างขึ้น ถ้าสักแต่ว่าเชื่อ ไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์จากศรัทธานั้น อาจเกิดโทษก็ได้ จำเป็นต้องใช้ปัญญาความรู้เหตุรู้ผล พิจารณาวิเคราะห์ให้เห็นถ่องแท้ก่อน ว่าเรื่องใด สิ่งใดมาจากความคิดที่ดีหรือจากความคิดที่ชั่ว แล้วปลูกศรัทธาลงแต่ในส่วนที่เกิดจากความคิดที่ดี จึงจะได้ประโยชน์เต็มเปี่ยม
ผู้ที่จะเผยแพร่พุทธธรรม ควรอย่างยิ่งที่จะถือเป็นภาระเบื้องต้น ในการชี้แจงให้ผู้ฟังเห็นคุณเห็นโทษของสิ่งต่างๆโดยชัดแจ้ง จึงจะสามารถสร้างศรัทธาที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นได้ และสามารถจรรโลงพระศาสนา ส่งเสริมจริยธรรมได้เป็นผลสำเร็จ...”
พระบรมราโชวาท ในประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 22 ณ หอประชุมวัดโสธรฯ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม พ.ศ. 2517
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560)