นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึง สภาพอากาศร้อนในช่วงนี้ว่า อากาศร้อนจะไม่มีผลทางตรงต่อสุขภาพจิต แต่จะมีผลทางอ้อมมากกว่า โดยอากาศร้อนจะเป็นตัวกระตุ้นหรือเพิ่มความเครียดให้มากขึ้น เช่น ถ้ามีความเครียดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเครียดการเงิน การงาน หรือครอบครัว หากไม่มีวิธีจัดการกับความเครียดที่ดี เมื่อเจอสภาพอากาศที่ร้อนย่อมเพิ่มความเครียดให้สูงขึ้น อาจเกิดการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้ง และเกิดความรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากความเครียดรุนแรงจะทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี พฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงอาจเป็นได้ทั้งการใช้อาวุธ การใช้วาจารุนแรง หรือการทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้แนะให้มีสติ รู้เรา รู้จัดการ โดยมี “สติ” เตือนใจตัวเองอยู่เสมอว่า ร้อนกาย อย่าร้อนใจ อย่าให้ใครมาจุดประกายโทสะ คล้อยตามอารมณ์เขา ขอให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป
“รู้เรา” โดยสังเกตว่าตนเองมีความเครียดอยู่แล้วหรือไม่ อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อาการทางจิตใจ เช่น ว้าวุ่น สมาธิไม่ค่อยดี ถ้ามีอาการเหล่านี้อยู่แสดงว่ามีความเครียด
โดยเมื่อรู้ว่าตัวเองมีความเครียด ให้ “รู้จัดการ” ลดความเครียดลง เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ โยคะ ไท้เก๊ก ทำงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ผ่อนคลายเพลิดเพลินใจ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกหายใจคลายเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอิ่ม นอนหลับ เพราะถ้าร้อนด้วย หิวด้วย นอนไม่พอด้วย ย่อมหงุดหงิด โมโหง่าย หรือหาบุคคลที่อยู่ใกล้ๆ ที่คุยแล้วรู้สึกดี สนทนากันในเรื่องเบาๆสบายๆ
ที่สำคัญ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะคนเราหากเมาแล้วก็ขาดสติ ทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย และหากยิ่งดื่มช่วงอากาศร้อน จะยิ่งทำให้ร้อนข้างในร่างกายมากขึ้น ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ส่งผลให้ขาดน้ำรุนแรง อาจทำให้ช็อค หมดสติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้
“ความเครียดในสังคมมีมากอยู่แล้ว พอเจออากาศร้อน ยิ่งทำให้คนมีความอดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย โอกาสฟิวส์ขาด ระเบิดอารมณ์ ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาต่างๆก็จะสูงขึ้น หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ดังนั้น การมีสติ รู้เรา รู้จัดการ กับอารมณ์และความเครียดที่เกิดขึ้น ย่อมช่วยลดอุณหภูมิใจไม่ให้สูงไปกับสภาพอากาศที่ร้อนได้ ที่สำคัญ เมื่อดูแลใจตนเองไม่ให้ร้อน ไปกับสภาพอากาศที่ร้อนแล้ว ก็อย่าลืมดูแลใจคนรอบข้างให้ใจเย็นลงด้วย” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ต้องการลดอุณหภูมิใจ ขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้แนะให้มีสติ รู้เรา รู้จัดการ โดยมี “สติ” เตือนใจตัวเองอยู่เสมอว่า ร้อนกาย อย่าร้อนใจ อย่าให้ใครมาจุดประกายโทสะ คล้อยตามอารมณ์เขา ขอให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป
“รู้เรา” โดยสังเกตว่าตนเองมีความเครียดอยู่แล้วหรือไม่ อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อาการทางจิตใจ เช่น ว้าวุ่น สมาธิไม่ค่อยดี ถ้ามีอาการเหล่านี้อยู่แสดงว่ามีความเครียด
โดยเมื่อรู้ว่าตัวเองมีความเครียด ให้ “รู้จัดการ” ลดความเครียดลง เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ โยคะ ไท้เก๊ก ทำงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ผ่อนคลายเพลิดเพลินใจ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกหายใจคลายเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอิ่ม นอนหลับ เพราะถ้าร้อนด้วย หิวด้วย นอนไม่พอด้วย ย่อมหงุดหงิด โมโหง่าย หรือหาบุคคลที่อยู่ใกล้ๆ ที่คุยแล้วรู้สึกดี สนทนากันในเรื่องเบาๆสบายๆ
ที่สำคัญ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะคนเราหากเมาแล้วก็ขาดสติ ทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย และหากยิ่งดื่มช่วงอากาศร้อน จะยิ่งทำให้ร้อนข้างในร่างกายมากขึ้น ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ส่งผลให้ขาดน้ำรุนแรง อาจทำให้ช็อค หมดสติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้
“ความเครียดในสังคมมีมากอยู่แล้ว พอเจออากาศร้อน ยิ่งทำให้คนมีความอดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย โอกาสฟิวส์ขาด ระเบิดอารมณ์ ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาต่างๆก็จะสูงขึ้น หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ดังนั้น การมีสติ รู้เรา รู้จัดการ กับอารมณ์และความเครียดที่เกิดขึ้น ย่อมช่วยลดอุณหภูมิใจไม่ให้สูงไปกับสภาพอากาศที่ร้อนได้ ที่สำคัญ เมื่อดูแลใจตนเองไม่ให้ร้อน ไปกับสภาพอากาศที่ร้อนแล้ว ก็อย่าลืมดูแลใจคนรอบข้างให้ใจเย็นลงด้วย” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ต้องการลดอุณหภูมิใจ ขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 196 เมษายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)