ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า-คอมเมดี้ เรื่อง “20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น” ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์ต้นฉบับของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งทำได้ดีไม่น้อยกว่าต้นแบบ เต็มไปด้วยสาระ น่าประทับใจ แตกต่างจากหนังที่ใครๆอาจคิดว่าเป็นแค่แนวเบาสมอง แต่หากจะจัดหมวดหมู่เป็นภาพยนตร์รัก ก็คงเป็นภาพยนตร์ประเภทความรักที่เป็นรักแท้และยั่งยืน
เรื่องราวเริ่มต้นให้ผู้ชมได้รู้จักคุณย่าสุดแสบอย่าง “ย่าป่าน” หญิงชราวัย 74 ปี ที่ปากร้าย เจ้าอารมณ์ ขี้บ่น มักมีเรื่องมีราวกับคนอื่นเสมอ ซึ่งหนังได้ย้อนให้เห็นบางมุมของชีวิตในอดีตของย่าป่านว่า เธอสูญเสียสามีไปตั้งแต่ลูกชายยังแบเบาะ เธอจึงกลายเป็นหญิงแกร่ง เลี้ยงลูกคนเดียว จนลูกได้ดิบได้ดี แต่ก็ทำให้หญิงชรากลายเป็นคนจู้จี้ เข้มงวดในทุกๆเรื่อง
แต่คนที่ย่าป่านให้ความสำคัญ และไม่ค่อยจะโวยวายอะไรก็ยังพอมีอยู่ ได้แก่ “ลูกชาย” ซึ่งเป็นอาจารย์สอนระดับมหาวิทยาลัย มีหน้าตาในสังคม, “บูม” หลานชายวัยรุ่นสุดที่รัก ซึ่งมีความฝันอยากเป็นนักดนตรี รวมถึง “ปู่เชียร” เพื่อนละแวกบ้าน รุ่นราวคราวเดียวกัน ที่ให้ความช่วยเหลือกันมาตั้งแต่เด็ก
ส่วนคนที่โดนผลกระทบหนักที่สุด ก็เป็น “ลูกสะใภ้” ของย่าป่าน ที่จะโดนบ่นทุกวัน ตั้งแต่เรื่องทำกับข้าว งานบ้าน หรือเลี้ยงดูลูก และด้วยความเครียดสะสมนานเข้า เธอจึงล้มป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล
เหตุการณ์ครั้งนั้น กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อลูกชายของย่าป่าน รู้สึกเห็นใจภรรยาที่ต้องรับศึกหนักกับความเจ้ากี้เจ้าการของแม่ จึงพูดคุยกันว่า การให้ย่าป่านไปอยู่บ้านพักคนชรา น่าจะเป็นทางออกที่ดี และแม้ว่ายังไม่ได้ข้อสรุป แต่เผอิญเสียงนี้ไปเข้าหูย่าป่าน จึงทำให้หญิงชรามีสีหน้าซึมเศร้าลงไปอย่างเห็นได้ชัด
วันถัดมา ย่าป่านออกจากบ้านไปซื้อข้าวของตามปกติ ระหว่างทางกลับบ้านในช่วงค่ำ หญิงชราซึ่งกำลังครุ่นคิดใจลอยเรื่องที่ลูกชายอยากให้ไปอยู่ที่อื่น ก็สังเกตเห็นร้านถ่ายรูปเก่าๆร้านหนึ่ง จึงเดินแวะเข้าไปดู ภาพของนักแสดงฮอลลีวู้ดยุคเก่าแสนคลาสสิก ชวนให้ย่าป่านรู้สึกถูกใจอย่างประหลาด จึงตัดสินใจก้าวเข้าไปในร้าน
ชายชราเจ้าของร้านยิ้มอย่างอ่อนโยนและสุภาพ บอกว่าจะถ่ายรูปให้ย่าป่านดูอ่อนกว่าวัยอีกหลายปี และแล้วเมื่อหญิงชราออกจากร้าน สิ่งมหัศจรรย์สุดเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นโดยที่เธอไม่ทันรู้ตัว แต่สิ่งที่เธอเริ่มรู้สึกว่าผิดสังเกต คือ กลุ่มวัยรุ่นชายบนรถเมล์ มองมาด้วยสายตาแปลกๆ แถมยังพูดจาแทะโลม แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ย่าป่านจะรับมือกับพวกวัยรุ่นได้สบายๆ แต่เธอก็พบกับสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่อาจจะตั้งรับได้ทัน เมื่อมองหน้าตัวเองในกระจกแล้วพบว่า ใบหน้าที่ปรากฏนั้น คือ ตนเองในวัย 20 ปี ซึ่งเธอก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
หลังจากทำใจได้แล้ว ย่าป่านก็ตั้งต้นชีวิตใหม่ แต่ก็ไม่ได้อยู่ห่างไกลจากชีวิตเดิมนัก โดยทิ้งจดหมายร่ำลาลูกชายว่า ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องตามหา แค่ขอไปใช้ชีวิตส่วนตัวสักพัก เธอได้ไปเช่าห้องว่างในบ้านของปู่เชียร ใช้ชีวิตสนุกสนานตามแบบหญิงสาววัย 20 ปี แต่อยู่ภายใต้ความคิดอ่านแบบหญิงชราวัยเจ็ดสิบ
ย่าป่านในร่างสาวรุ่นที่ใช้ชื่อว่า “ปานวาด” ยังแวะเวียนไปที่ชมรมผู้สูงอายุเหมือนเคย จนมีโอกาสได้ร้องเพลงเก่าๆ ที่เคยร้องจนชนะประกวดในวัยสาว ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ “นัท” โปรดิวเซอร์ดังในวงการดนตรี ผ่านไปฟังพอดี นัทจึงหมายมั่นปั้นมือว่า จะปลุกปั้นปานวาดให้เป็นนักร้องดาวรุ่งดวงใหม่
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง บูมหลานรักของย่าป่าน ก็มีโอกาสแวะไปฟังเช่นกัน เขาจึงอยากชักชวนสาวสวยอย่างปานวาด มาร่วมวงแทนนักร้องคนเก่า ซึ่งปานวาดก็ตอบตกลง เพราะบูมคือหลานรักของตน ปานวาดตัดสินใจเปลี่ยนแนวเพลงให้หลานใหม่ทั้งหมด ด้วยการใช้เพลงเก่าคลาสสิก มาผสมผสานกับงานดนตรีปัจจุบัน
การตัดสินใจร่วมงานกับหลานรัก นอกจากเปลี่ยนวงดนตรีที่ไร้คนสนใจ ให้กลายเป็นวงหน้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังทำให้ปานวาดมีโอกาสกลับเข้าไปในบ้านที่ตนคุ้นเคย เพื่อสืบข่าวลูกชาย และหลานๆว่า อยู่ดีมีสุขกันเหมือนเดิมหรือเปล่า เพราะแม้ว่าร่างกายของเธอจะเป็นหญิงสาว แต่หัวใจของย่าป่านก็ยังเป็นคนเดิม ที่เป็นห่วงเป็นใยลูกชายเสมอ
ชีวิตที่สนุกสนานนั้น ดำเนินไปเรื่อยๆ ปานวาดกับบูม กลายเป็นเพื่อนร่วมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์นัท ยิ่งทำให้โด่งดังในวงกว้าง และย่าป่านยังคอยเป็นแรงผลักดันให้หลานรัก ไม่ท้อแท้กับอุปสรรคต่างๆ หากมีความรักมีความฝันที่จะก้าวสู่วงการดนตรี
อย่างไรก็ตาม วันหนึ่งความลับของสิ่งมหัศจรรย์การย้อนวัยก็ถูกปู่เชียรจับได้ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าปานวาด เป็นคนร้ายแอบขโมยเงินในบัญชีของย่าป่านมาใช้ แถมยังมีเสื้อผ้าชุดเก่าของหญิงชราซุกซ่อนไว้ในลิ้นชักด้วย แต่เมื่อทั้งสองทำความเข้าใจกันได้ ปู่เชียรก็พร้อมสนับสนุนให้คุณย่าในร่างสาวน้อย ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ส่วนเรื่องการติดต่อกับครอบครัวเดิมนั้น ปู่เชียรก็ช่วยรับหน้าที่เป็นสื่อกลางว่า ย่าป่านสบายดี ไม่ต้องเป็นห่วง
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ปานวาดและปู่เชียร รับรู้ถึงข้อแม้ในพรมหัศจรรย์ คือ หากย่าป่านในร่างปานวาดได้รับบาดแผลใด จนถึงกับเลือดตกยางออก บาดแผลบริเวณนั้นจะเหี่ยวย่น และไม่สามารถคืนสภาพกลับเป็นผิวพรรณแบบหญิงสาวได้ตามเดิม
และแล้ววันแห่งการตัดสินใจครั้งสำคัญก็เกิดขึ้น คือ วันที่วงดนตรีของปานวาดกับบูมต้องขึ้นเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ แต่บูมประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง เด็กหนุ่มจำเป็นต้องได้รับเลือดกรุ๊ปเดียวกันในการช่วยเหลือ ปานวาดไม่รีรอที่จะช่วยหลานรัก ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ลูกชายของย่าป่านรู้ความจริงแล้วว่า “ปานวาด” หญิงสาวลึกลับที่อยู่ในวงดนตรีของลูกชายนั้น คือแม่ของตนเอง
นาทีนั้น ลูกชายของย่าป่านร่ำไห้พลางขอโทษในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของแม่ และลืมความเสียสละที่เธอเลี้ยงดูเขามาตลอด ย่าป่านโอบกอดลูกชายด้วยความรักและให้อภัย รวมทั้งยืนยันว่า แม้การบริจาคเลือด จะทำให้เธอกลายสภาพกลับเป็นหญิงชราดังเดิม ก็ไม่สำคัญเท่ากับการได้ช่วยเหลือคนที่เธอรัก
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ให้ข้อคิดที่ชัดเจนในเรื่อง “ความรักของมารดา” ซึ่งเปรียบดั่งความรักแท้จริงอย่างหนึ่งที่มีบนโลกก็ว่าได้ ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวในภาพยนตร์ที่ไม่ว่าจะเป็นร่างใด หรือเวลาผ่านไปแค่ไหน ความเป็นแม่ก็มิได้เปลี่ยนแปลง และไม่อาจสั่นคลอนความรักที่มีต่อลูกได้
หลักพุทธศาสนาว่าด้วยมงคลแห่งชีวิตทั้ง 38 ประการนั้น มีมงคลเกี่ยวข้องกับบิดามารดา ในข้อ 11 คือ “การบำรุงบิดามารดา” และนับเป็นแก่นสำคัญอย่างหนึ่งของศาสนา เพราะเป็นการตอบแทนผู้มีพระคุณที่มอบชีวิตที่ดีให้
พระคุณของบิดามารดานั้น มีการเปรียบไว้หลากหลาย อาทิ เป็นเทวดาของลูก (คอยปกป้องภัยอันตราย และเลี้ยงดูจนเติบใหญ่) เป็นอรหันต์ของลูก (เป็นบุคคลที่ลูกควรเคารพบูชา) รวมทั้งเป็นพรหมของลูก อันสอดคล้องกับ พรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เมตตา มีความปรารถนาดี รักลูกของตนโดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีเวลาสิ้นสุด
กรุณา ไม่ทอดทิ้ง และให้ความช่วยเหลือยามลำบาก
มุทิตา ยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จ (ข้อนี้ ในภาพยนตร์สื่อให้เห็นว่า ย่าป่านนั้น ภูมิใจและยินดีทุกครั้ง เมื่อใครถามถึงหน้าที่การงานของลูกชาย ที่ประสบความสำเร็จเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย)
อุเบกขา การไม่วุ่นวายกับชีวิตของลูกจนเกินพอดี และเป็นที่ปรึกษาในเวลาที่ต้องการ
ภาพยนตร์เรื่อง 20 ใหม่ฯ จึงเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่สื่อความหมายดีๆ ถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก ขณะเดียวกันยังมีข้อคิดให้ตระหนักถึงช่องว่างระหว่างวัยผู้สูงวัยกับคนรุ่นใหม่ ที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าอกเข้าใจกันให้มากขึ้น เพื่อครอบครัวจะได้มีแต่ความรักและความสุข
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย ชยวรรศ มานะศิริ)
เรื่องราวเริ่มต้นให้ผู้ชมได้รู้จักคุณย่าสุดแสบอย่าง “ย่าป่าน” หญิงชราวัย 74 ปี ที่ปากร้าย เจ้าอารมณ์ ขี้บ่น มักมีเรื่องมีราวกับคนอื่นเสมอ ซึ่งหนังได้ย้อนให้เห็นบางมุมของชีวิตในอดีตของย่าป่านว่า เธอสูญเสียสามีไปตั้งแต่ลูกชายยังแบเบาะ เธอจึงกลายเป็นหญิงแกร่ง เลี้ยงลูกคนเดียว จนลูกได้ดิบได้ดี แต่ก็ทำให้หญิงชรากลายเป็นคนจู้จี้ เข้มงวดในทุกๆเรื่อง
แต่คนที่ย่าป่านให้ความสำคัญ และไม่ค่อยจะโวยวายอะไรก็ยังพอมีอยู่ ได้แก่ “ลูกชาย” ซึ่งเป็นอาจารย์สอนระดับมหาวิทยาลัย มีหน้าตาในสังคม, “บูม” หลานชายวัยรุ่นสุดที่รัก ซึ่งมีความฝันอยากเป็นนักดนตรี รวมถึง “ปู่เชียร” เพื่อนละแวกบ้าน รุ่นราวคราวเดียวกัน ที่ให้ความช่วยเหลือกันมาตั้งแต่เด็ก
ส่วนคนที่โดนผลกระทบหนักที่สุด ก็เป็น “ลูกสะใภ้” ของย่าป่าน ที่จะโดนบ่นทุกวัน ตั้งแต่เรื่องทำกับข้าว งานบ้าน หรือเลี้ยงดูลูก และด้วยความเครียดสะสมนานเข้า เธอจึงล้มป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล
เหตุการณ์ครั้งนั้น กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อลูกชายของย่าป่าน รู้สึกเห็นใจภรรยาที่ต้องรับศึกหนักกับความเจ้ากี้เจ้าการของแม่ จึงพูดคุยกันว่า การให้ย่าป่านไปอยู่บ้านพักคนชรา น่าจะเป็นทางออกที่ดี และแม้ว่ายังไม่ได้ข้อสรุป แต่เผอิญเสียงนี้ไปเข้าหูย่าป่าน จึงทำให้หญิงชรามีสีหน้าซึมเศร้าลงไปอย่างเห็นได้ชัด
วันถัดมา ย่าป่านออกจากบ้านไปซื้อข้าวของตามปกติ ระหว่างทางกลับบ้านในช่วงค่ำ หญิงชราซึ่งกำลังครุ่นคิดใจลอยเรื่องที่ลูกชายอยากให้ไปอยู่ที่อื่น ก็สังเกตเห็นร้านถ่ายรูปเก่าๆร้านหนึ่ง จึงเดินแวะเข้าไปดู ภาพของนักแสดงฮอลลีวู้ดยุคเก่าแสนคลาสสิก ชวนให้ย่าป่านรู้สึกถูกใจอย่างประหลาด จึงตัดสินใจก้าวเข้าไปในร้าน
ชายชราเจ้าของร้านยิ้มอย่างอ่อนโยนและสุภาพ บอกว่าจะถ่ายรูปให้ย่าป่านดูอ่อนกว่าวัยอีกหลายปี และแล้วเมื่อหญิงชราออกจากร้าน สิ่งมหัศจรรย์สุดเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นโดยที่เธอไม่ทันรู้ตัว แต่สิ่งที่เธอเริ่มรู้สึกว่าผิดสังเกต คือ กลุ่มวัยรุ่นชายบนรถเมล์ มองมาด้วยสายตาแปลกๆ แถมยังพูดจาแทะโลม แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ย่าป่านจะรับมือกับพวกวัยรุ่นได้สบายๆ แต่เธอก็พบกับสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่อาจจะตั้งรับได้ทัน เมื่อมองหน้าตัวเองในกระจกแล้วพบว่า ใบหน้าที่ปรากฏนั้น คือ ตนเองในวัย 20 ปี ซึ่งเธอก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
หลังจากทำใจได้แล้ว ย่าป่านก็ตั้งต้นชีวิตใหม่ แต่ก็ไม่ได้อยู่ห่างไกลจากชีวิตเดิมนัก โดยทิ้งจดหมายร่ำลาลูกชายว่า ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องตามหา แค่ขอไปใช้ชีวิตส่วนตัวสักพัก เธอได้ไปเช่าห้องว่างในบ้านของปู่เชียร ใช้ชีวิตสนุกสนานตามแบบหญิงสาววัย 20 ปี แต่อยู่ภายใต้ความคิดอ่านแบบหญิงชราวัยเจ็ดสิบ
ย่าป่านในร่างสาวรุ่นที่ใช้ชื่อว่า “ปานวาด” ยังแวะเวียนไปที่ชมรมผู้สูงอายุเหมือนเคย จนมีโอกาสได้ร้องเพลงเก่าๆ ที่เคยร้องจนชนะประกวดในวัยสาว ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ “นัท” โปรดิวเซอร์ดังในวงการดนตรี ผ่านไปฟังพอดี นัทจึงหมายมั่นปั้นมือว่า จะปลุกปั้นปานวาดให้เป็นนักร้องดาวรุ่งดวงใหม่
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง บูมหลานรักของย่าป่าน ก็มีโอกาสแวะไปฟังเช่นกัน เขาจึงอยากชักชวนสาวสวยอย่างปานวาด มาร่วมวงแทนนักร้องคนเก่า ซึ่งปานวาดก็ตอบตกลง เพราะบูมคือหลานรักของตน ปานวาดตัดสินใจเปลี่ยนแนวเพลงให้หลานใหม่ทั้งหมด ด้วยการใช้เพลงเก่าคลาสสิก มาผสมผสานกับงานดนตรีปัจจุบัน
การตัดสินใจร่วมงานกับหลานรัก นอกจากเปลี่ยนวงดนตรีที่ไร้คนสนใจ ให้กลายเป็นวงหน้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังทำให้ปานวาดมีโอกาสกลับเข้าไปในบ้านที่ตนคุ้นเคย เพื่อสืบข่าวลูกชาย และหลานๆว่า อยู่ดีมีสุขกันเหมือนเดิมหรือเปล่า เพราะแม้ว่าร่างกายของเธอจะเป็นหญิงสาว แต่หัวใจของย่าป่านก็ยังเป็นคนเดิม ที่เป็นห่วงเป็นใยลูกชายเสมอ
ชีวิตที่สนุกสนานนั้น ดำเนินไปเรื่อยๆ ปานวาดกับบูม กลายเป็นเพื่อนร่วมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์นัท ยิ่งทำให้โด่งดังในวงกว้าง และย่าป่านยังคอยเป็นแรงผลักดันให้หลานรัก ไม่ท้อแท้กับอุปสรรคต่างๆ หากมีความรักมีความฝันที่จะก้าวสู่วงการดนตรี
อย่างไรก็ตาม วันหนึ่งความลับของสิ่งมหัศจรรย์การย้อนวัยก็ถูกปู่เชียรจับได้ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าปานวาด เป็นคนร้ายแอบขโมยเงินในบัญชีของย่าป่านมาใช้ แถมยังมีเสื้อผ้าชุดเก่าของหญิงชราซุกซ่อนไว้ในลิ้นชักด้วย แต่เมื่อทั้งสองทำความเข้าใจกันได้ ปู่เชียรก็พร้อมสนับสนุนให้คุณย่าในร่างสาวน้อย ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ส่วนเรื่องการติดต่อกับครอบครัวเดิมนั้น ปู่เชียรก็ช่วยรับหน้าที่เป็นสื่อกลางว่า ย่าป่านสบายดี ไม่ต้องเป็นห่วง
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ปานวาดและปู่เชียร รับรู้ถึงข้อแม้ในพรมหัศจรรย์ คือ หากย่าป่านในร่างปานวาดได้รับบาดแผลใด จนถึงกับเลือดตกยางออก บาดแผลบริเวณนั้นจะเหี่ยวย่น และไม่สามารถคืนสภาพกลับเป็นผิวพรรณแบบหญิงสาวได้ตามเดิม
และแล้ววันแห่งการตัดสินใจครั้งสำคัญก็เกิดขึ้น คือ วันที่วงดนตรีของปานวาดกับบูมต้องขึ้นเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ แต่บูมประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง เด็กหนุ่มจำเป็นต้องได้รับเลือดกรุ๊ปเดียวกันในการช่วยเหลือ ปานวาดไม่รีรอที่จะช่วยหลานรัก ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ลูกชายของย่าป่านรู้ความจริงแล้วว่า “ปานวาด” หญิงสาวลึกลับที่อยู่ในวงดนตรีของลูกชายนั้น คือแม่ของตนเอง
นาทีนั้น ลูกชายของย่าป่านร่ำไห้พลางขอโทษในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของแม่ และลืมความเสียสละที่เธอเลี้ยงดูเขามาตลอด ย่าป่านโอบกอดลูกชายด้วยความรักและให้อภัย รวมทั้งยืนยันว่า แม้การบริจาคเลือด จะทำให้เธอกลายสภาพกลับเป็นหญิงชราดังเดิม ก็ไม่สำคัญเท่ากับการได้ช่วยเหลือคนที่เธอรัก
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ให้ข้อคิดที่ชัดเจนในเรื่อง “ความรักของมารดา” ซึ่งเปรียบดั่งความรักแท้จริงอย่างหนึ่งที่มีบนโลกก็ว่าได้ ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวในภาพยนตร์ที่ไม่ว่าจะเป็นร่างใด หรือเวลาผ่านไปแค่ไหน ความเป็นแม่ก็มิได้เปลี่ยนแปลง และไม่อาจสั่นคลอนความรักที่มีต่อลูกได้
หลักพุทธศาสนาว่าด้วยมงคลแห่งชีวิตทั้ง 38 ประการนั้น มีมงคลเกี่ยวข้องกับบิดามารดา ในข้อ 11 คือ “การบำรุงบิดามารดา” และนับเป็นแก่นสำคัญอย่างหนึ่งของศาสนา เพราะเป็นการตอบแทนผู้มีพระคุณที่มอบชีวิตที่ดีให้
พระคุณของบิดามารดานั้น มีการเปรียบไว้หลากหลาย อาทิ เป็นเทวดาของลูก (คอยปกป้องภัยอันตราย และเลี้ยงดูจนเติบใหญ่) เป็นอรหันต์ของลูก (เป็นบุคคลที่ลูกควรเคารพบูชา) รวมทั้งเป็นพรหมของลูก อันสอดคล้องกับ พรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เมตตา มีความปรารถนาดี รักลูกของตนโดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีเวลาสิ้นสุด
กรุณา ไม่ทอดทิ้ง และให้ความช่วยเหลือยามลำบาก
มุทิตา ยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จ (ข้อนี้ ในภาพยนตร์สื่อให้เห็นว่า ย่าป่านนั้น ภูมิใจและยินดีทุกครั้ง เมื่อใครถามถึงหน้าที่การงานของลูกชาย ที่ประสบความสำเร็จเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย)
อุเบกขา การไม่วุ่นวายกับชีวิตของลูกจนเกินพอดี และเป็นที่ปรึกษาในเวลาที่ต้องการ
ภาพยนตร์เรื่อง 20 ใหม่ฯ จึงเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่สื่อความหมายดีๆ ถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก ขณะเดียวกันยังมีข้อคิดให้ตระหนักถึงช่องว่างระหว่างวัยผู้สูงวัยกับคนรุ่นใหม่ ที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าอกเข้าใจกันให้มากขึ้น เพื่อครอบครัวจะได้มีแต่ความรักและความสุข
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย ชยวรรศ มานะศิริ)