ขึ้นชื่อว่า “โรคภัยไข้เจ็บ” เมื่อเป็นแล้วก็มักมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ซึ่งถ้ารักษาอย่างถูกต้อง อาการเจ็บปวดก็จะทุเลาและหายไปในที่สุด แต่ยังมีโรคบางอย่างที่แม้จะไม่รุนแรง ทว่ากลับสร้างความเจ็บปวดเรื้อรัง จนต้องทุกข์ทรมานไปตลอดชีวิต
และเมื่อต้องอยู่กับความเจ็บปวดเรื้อรังเหล่านี้ ก็ต้องหาวิธีที่จะทำให้มันบรรเทาเบาบางลงบ้าง ซึ่งการปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์ หรือการใช้ชีวิตบางอย่าง ก็อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้
1. หายใจลึกๆ หรือทำสมาธิ เพื่อผ่อนคลาย
การหายใจลึกๆและการทำสมาธิ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายความตึงตัว จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดลงได้
ผู้ที่ไม่เคยทำสมาธิมาก่อนก็สามารถทำได้ง่ายๆ วิธีการก็คือ หาที่เงียบสงบ อยู่ในท่าที่สบาย หยุดความคิดชั่วขณะ และเพ่งไปที่จุดใต้สะดือ จากนั้นค่อยๆสูดลมเข้าไปยังจุดนั้นให้เต็มท้อง แล้วค่อยๆปล่อยลมออกมา
แม้ว่าการทำสมาธิจะมีหลากหลายวิธี แต่ที่ให้ผลดีคือ อานาปานสติ ด้วยการรวมความรู้สึกทั้งหมด หรือสติ ไปกำหนดจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเอง ปล่อยวางความคิดทั้งหมด และภาวนาคำหรือวลีสั้นๆ เช่น หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” ก็จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
2. ลดความเครียด เพราะยิ่งเครียด ก็ยิ่งปวดมากขึ้น
หลายคนไม่เคยรู้ว่า ความรู้สึกแง่ลบต่างๆ อาทิ ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เกลียด โกรธ อิจฉาริษยา ฯลฯ อาจเพิ่มความไวของร่างกายต่อความรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น ดังนั้น หากรู้จักควบคุมความรู้สึกแง่ลบมิให้เกิดขึ้น ก็อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังลงได้
มีเทคนิคหลายอย่างที่สามารถช่วยลดความเครียด และทำให้ผ่อนคลายได้ เช่น การฟังดนตรีที่มีท่วงทำนองสบายๆ ซึ่งจะช่วยให้อารมณ์ดี และทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น การจินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกสงบสุขในใจ และการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
3. ออกกำลังกาย คลายความเจ็บปวด
นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้น้ำหนักลดลง ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นเบาหวานแล้ว ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ที่ช่วยให้อารมณ์ดี และระงับความเจ็บปวด อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำ
การออกกำลังกายมีหลายวิธี เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน แต่ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพยามเจ็บป่วย
4. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
ลำพังอาการเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว ก็ยากที่จะหลับตาลงได้ แต่หากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปด้วย ยิ่งจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม ซ้ำร้ายยังได้โรคภัยจากพิษของสุราเพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้น คนที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ควรงดดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มให้น้อยลง ก็จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และเมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ความเจ็บปวดย่อมบรรเทาเบาบางลง
5. เลิกสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้เจ็บปวดมากขึ้น
ไม่น่าเชื่อว่า บุหรี่จะทำให้เจ็บปวดมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องจริง เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง จึงทำให้อาการเจ็บปวดแย่ลง รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งอีกด้วย
6. นวดบรรเทาอาการ
การนวดประคบเพื่อผ่อนคลาย สามารถช่วยลดความตึงเครียด และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จึงเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเจ็บปวดเรื้อรัง รวมถึงอาการปวดคอและหลังด้วย
7. กินอาหารตามหลักโภชนาการ
การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ
ดังนั้น ควรเลือกกินอาหารจำพวกไขมันและโซเดียม(เกลือ) ต่ำ เมล็ดธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม ผักและผลไม้ ให้ครบทุกหมวดหมู่ เพื่อช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถรับมือกับอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ดียิ่งขึ้น
8. ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
การเอาใจไปจดจ่ออยู่กับอาการเจ็บปวด มีแต่จะทำให้รู้สึกแย่ลงกว่าเดิม และแม้ว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดได้ แต่ก็สามารถควบคุมมันได้ โดยสิ่งที่ควรทำคือ ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ สวดมนต์ไหว้พระ ฯลฯ เพื่อดึงความสนใจให้อยู่กับเรื่องตรงหน้า ก็จะทำให้เพลิดเพลินจนลืมความเจ็บปวดไปได้บ้าง
9. เข้าร่วมกลุ่มคนที่มีภาวะเจ็บปวดเรื้อรัง
การเข้าร่วมพบปะพูดคุยกับกลุ่มคนที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังเหมือนกัน จะทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทักษะการจัดการความเจ็บปวดของคนอื่นๆ ด้วย
ในรายที่เจ็บป่วยเรื้อรังจนมีอาการซึมเศร้า ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้จัดการกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และป้องกันความคิดแง่ร้ายที่จะทำให้อาการแย่ลง
10. จดบันทึกระดับความเจ็บปวด
การรักษาอาการเจ็บปวดให้ได้ผล แพทย์จำเป็นต้องซักถามอาการคนไข้ทุกครั้งที่มาพบ การจดบันทึกระดับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ด้วยการให้คะแนนตั้งแต่ 1-10 รวมถึงกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้เป็นอย่างดี เพื่อวางแผนรักษาอย่างถูกต้อง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย เบญญา)
และเมื่อต้องอยู่กับความเจ็บปวดเรื้อรังเหล่านี้ ก็ต้องหาวิธีที่จะทำให้มันบรรเทาเบาบางลงบ้าง ซึ่งการปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์ หรือการใช้ชีวิตบางอย่าง ก็อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้
1. หายใจลึกๆ หรือทำสมาธิ เพื่อผ่อนคลาย
การหายใจลึกๆและการทำสมาธิ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายความตึงตัว จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดลงได้
ผู้ที่ไม่เคยทำสมาธิมาก่อนก็สามารถทำได้ง่ายๆ วิธีการก็คือ หาที่เงียบสงบ อยู่ในท่าที่สบาย หยุดความคิดชั่วขณะ และเพ่งไปที่จุดใต้สะดือ จากนั้นค่อยๆสูดลมเข้าไปยังจุดนั้นให้เต็มท้อง แล้วค่อยๆปล่อยลมออกมา
แม้ว่าการทำสมาธิจะมีหลากหลายวิธี แต่ที่ให้ผลดีคือ อานาปานสติ ด้วยการรวมความรู้สึกทั้งหมด หรือสติ ไปกำหนดจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเอง ปล่อยวางความคิดทั้งหมด และภาวนาคำหรือวลีสั้นๆ เช่น หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” ก็จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
2. ลดความเครียด เพราะยิ่งเครียด ก็ยิ่งปวดมากขึ้น
หลายคนไม่เคยรู้ว่า ความรู้สึกแง่ลบต่างๆ อาทิ ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เกลียด โกรธ อิจฉาริษยา ฯลฯ อาจเพิ่มความไวของร่างกายต่อความรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น ดังนั้น หากรู้จักควบคุมความรู้สึกแง่ลบมิให้เกิดขึ้น ก็อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังลงได้
มีเทคนิคหลายอย่างที่สามารถช่วยลดความเครียด และทำให้ผ่อนคลายได้ เช่น การฟังดนตรีที่มีท่วงทำนองสบายๆ ซึ่งจะช่วยให้อารมณ์ดี และทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น การจินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกสงบสุขในใจ และการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
3. ออกกำลังกาย คลายความเจ็บปวด
นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้น้ำหนักลดลง ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นเบาหวานแล้ว ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ที่ช่วยให้อารมณ์ดี และระงับความเจ็บปวด อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำ
การออกกำลังกายมีหลายวิธี เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน แต่ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพยามเจ็บป่วย
4. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
ลำพังอาการเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว ก็ยากที่จะหลับตาลงได้ แต่หากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปด้วย ยิ่งจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม ซ้ำร้ายยังได้โรคภัยจากพิษของสุราเพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้น คนที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ควรงดดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มให้น้อยลง ก็จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และเมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ความเจ็บปวดย่อมบรรเทาเบาบางลง
5. เลิกสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้เจ็บปวดมากขึ้น
ไม่น่าเชื่อว่า บุหรี่จะทำให้เจ็บปวดมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องจริง เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง จึงทำให้อาการเจ็บปวดแย่ลง รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งอีกด้วย
6. นวดบรรเทาอาการ
การนวดประคบเพื่อผ่อนคลาย สามารถช่วยลดความตึงเครียด และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จึงเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเจ็บปวดเรื้อรัง รวมถึงอาการปวดคอและหลังด้วย
7. กินอาหารตามหลักโภชนาการ
การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ
ดังนั้น ควรเลือกกินอาหารจำพวกไขมันและโซเดียม(เกลือ) ต่ำ เมล็ดธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม ผักและผลไม้ ให้ครบทุกหมวดหมู่ เพื่อช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถรับมือกับอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ดียิ่งขึ้น
8. ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
การเอาใจไปจดจ่ออยู่กับอาการเจ็บปวด มีแต่จะทำให้รู้สึกแย่ลงกว่าเดิม และแม้ว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดได้ แต่ก็สามารถควบคุมมันได้ โดยสิ่งที่ควรทำคือ ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ สวดมนต์ไหว้พระ ฯลฯ เพื่อดึงความสนใจให้อยู่กับเรื่องตรงหน้า ก็จะทำให้เพลิดเพลินจนลืมความเจ็บปวดไปได้บ้าง
9. เข้าร่วมกลุ่มคนที่มีภาวะเจ็บปวดเรื้อรัง
การเข้าร่วมพบปะพูดคุยกับกลุ่มคนที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังเหมือนกัน จะทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทักษะการจัดการความเจ็บปวดของคนอื่นๆ ด้วย
ในรายที่เจ็บป่วยเรื้อรังจนมีอาการซึมเศร้า ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้จัดการกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และป้องกันความคิดแง่ร้ายที่จะทำให้อาการแย่ลง
10. จดบันทึกระดับความเจ็บปวด
การรักษาอาการเจ็บปวดให้ได้ผล แพทย์จำเป็นต้องซักถามอาการคนไข้ทุกครั้งที่มาพบ การจดบันทึกระดับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ด้วยการให้คะแนนตั้งแต่ 1-10 รวมถึงกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้เป็นอย่างดี เพื่อวางแผนรักษาอย่างถูกต้อง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย เบญญา)