ท่านผู้อ่านครับ ปัญหาเรื่องน้ำตาลทำให้เป็นโรคเรื้อรังได้อย่างไร เป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพสนใจกันมาก ผู้เขียนขอขยายความดังนี้ครับ
อาหารที่เรารับประทานกัน เป็นระบบอาหารที่เรียกว่า อาหารไขมันต่ำ (Low Fat Diet) ซึ่งเราเรียนมาตั้งแต่เด็กว่า ให้เรากินอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย 3 อย่างคือ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน
อาหารคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าวแป้งน้ำตาล กินให้ได้รับพลังงาน ร้อยละ 60 อาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ร้อยละ 20 และอาหารไขมัน ที่ได้มาจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ร้อยละ 20-30
ตามหลักพีรามิดอาหาร ที่สหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ตั้งแต่ปี 1977 และคนทั่วโลกก็ถือปฏิบัติกันมา 40-50 ปีแล้ว อัตราโรคอ้วนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามกันมา
อะไรเล่าที่เป็นสาเหตุ? ในฉบับก่อนๆมา ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่า ตัวปัญหาสำคัญคือ การบริโภคแป้ง น้ำตาล ขนมหวาน น้ำอัดลมต่างๆ มากเกินไป
คนทางโลกตะวันตกจะกินขนมปังชนิดต่างๆ เนื้อสัตว์ นม เนย ผัก ของหวาน น้ำอัดลม น้ำดื่มต่างๆ ส่วนทางบ้านเราก็กินข้าวเป็นหลัก 2-3 มื้อ กินผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ และยังกินของหวาน บางคนดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำชาเขียว น้ำผลไม้ การกินอาหารแบบนี้ รวมๆกันแล้วแป้งและน้ำตาลจะมากเกินไป
มีการพบว่า คนอเมริกันกินน้ำตาลคนละ 22 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งโดยปกติเขาแนะนำให้ผู้ชายกินน้ำตาลได้ คนละ 9 ช้อนชา ผู้หญิงคนละ 6 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งน้อยมาก ในบ้านเราก็เช่นเดียวกัน เรากินน้ำตาลกันถึงวันละ 20 ช้อนชาต่อคน!! และจากสถิติพบว่า ปริมาณน้ำตาลและโรคอ้วน โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นพร้อมๆกันไปอย่างรวดเร็ว
นพ.นอร์แมน แคปเพน (Norman M Kaplan) ศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคซัส เมืองดาลัส ได้รายงานเรื่อง สี่สหายเดนตาย ในวารสารทางการแพทย์ (Arch Intern Med 1989 ; 149:1514-1520) โดยพบว่า เรามักจะพบสี่สหาย มาด้วยกันบ่อยๆ คือ ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
ตอนนั้นยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่า เพื่อนสี่คนนี้มาด้วยกัน หรือต่างคนต่างมาพบกันโดยบังเอิญ ก่อนหน้านี้ ศาสตราจารย์เจอราล์ด เรเวน (Gerald Reaven) อายุรแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก็เคยรายงานไว้ในวารสารเบาหวาน ในปี 1988 เช่นกัน ท่านเรียกกลุ่มสี่สหายนี้ว่า กลุ่มอาการเอ็กซ์ (syndrome X) เนื่องจากยังไม่รู้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร จึงใช้ชื่อเอ็กซ์ไว้ก่อน
ท่านพบว่า ความอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นกลุ่มอาการที่พบร่วมกัน ต่อมายังพบว่า มีภาวะกรดยูริกและสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ไฟบริโนเจน และสาร PAI-1 สูงขึ้นร่วมด้วย และพบว่าภาวะเหล่านี้เกิดจากอินซูลินในเลือดสูง และมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน การค้นพบนี้ทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
ศ.เรเวนศึกษาเรื่องภาวะดื้อต่ออินซูลินอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ปัจจุบันท่านอายุ 88 ปีแล้ว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งภาวะดื้อต่ออินซูลิน” (Father of Insulin resistance)
ปัญหาที่นักวิจัยสงสัยมากในตอนแรกคือ โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเดียวกัน หรือเป็นคนละโรค แต่มาเป็นพร้อมกันโดยบังเอิญ งานวิจัยต่อมาจึงทำให้รู้ว่ามันเป็นโรคเดียวกัน มีที่มาอย่างที่เดียวกัน
ศาสตราจารย์ราล์ฟ เดอฟรอนโซ (Ralph Defronzo) อายุรแพทย์แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคซัส ที่แอนโตนิโอ อธิบายว่า ที่เราเห็นภายนอก คือ ความอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นเพียงภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร แต่มันมาจากความผิดปกติที่ถูกปิดบังไว้ คือ ภาวะอินซูลินในเลือดสูง และภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Hyperinsulinemia and Insulin Resistance) ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาอยู่ข้างใต้
ท่านผู้อ่านครับ ในเวลาที่เรากินแป้งและน้ำตาลเข้าไปในร่างกาย ร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ออกมาในกระแสเลือด ฮอร์โมนตัวนี้จะพาเอาน้ำตาลที่ย่อยสลายแล้วเป็นกลูโคสเข้าไปในเซลล์ เพื่อให้เซลล์ใช้เป็นพลังงานต่อไป
ฮอร์โมนอินซูลินสร้างจากตับอ่อน ถ้าเรากินแป้งและน้ำตาลไม่มากเกินไป ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ในคนที่กินแป้งและน้ำตาลมากทุกๆวัน ชอบอาหารรสหวาน กินจนติดเป็นนิสัย ตับอ่อนก็จะสร้างอินซูลินออกมามากตลอดเวลา เพื่อตอบสนองระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง
ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นแบบนี้ตลอดเวลาหลายๆปี เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงและอินซูลินออกมามากตลอดเวลา เซลล์ก็จะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินตามมา คือ ผนังเซลล์ไม่ยอมให้น้ำตาลเข้าไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ในตับประมาณ 80 กรัมและกล้ามเนื้อประมาณ 400 กรัม เพื่อเอาไว้ใช้ในเวลาขาดแคลน น้ำตาลส่วนเกินที่มากเกินไปนั้น ตับจะเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ เก็บไว้ในเซลล์ไขมันแถวหน้าท้อง
อินซูลินยังมีฤทธิ์ยับยั้งการนำไขมันที่มีอยู่ในเซลล์ไขมันออกมา เพื่อใช้เป็นพลังงานด้วย จะเห็นว่าอินซูลินนอกจากทำหน้าที่นำน้ำตาลไปให้เซลล์ต่างๆใช้เป็นพลังงานแล้ว มันยังทำให้เกิดการสะสมไขมันด้วย ถ้าเรากินน้ำตาลมากเกินไป มันจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันเก็บไว้ ผลคือเราก็จะอ้วนขึ้น!!
นอกจากนั้น อินซูลินยังมีฤทธิ์ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ด้วย เนื่องจากอินซูลินทำให้มีการดูดกลับของเกลือโซเดียมที่ไต ทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และอินซูลินยังทำให้กล้ามเนื้อผนังเส้นเลือดหนาตัวขึ้น ทำให้รูหลอดเลือดตีบแคบลง
ดังนั้น จะเห็นว่า อินซูลินเป็นตัวทำให้เกิดสี่สหาย เป็นเรื่องเดียวกัน คือ พอมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูง ระดับอินซูลินในเลือดก็สูงด้วย และอินซูลินไม่ทำงานด้วย นั่นคือเราเป็นเบาหวานแล้ว ในขณะนั้นระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ก็สูงด้วย เพราะตับจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นไตรกลีเซอไรด์
และอินซูลินก็ทำให้ความดันโลหิตสูงตามมา ดังที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้เราเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจ ตามมานั้น เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเกิดจากสาเหตุเดียว คือ กินแป้งและน้ำตาลมากเกินไปนั่นเอง (www.youtube.com พิมพ์คำว่า Prof. Robert Lustig, MD.-what is metabolic syndrome)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
อาหารที่เรารับประทานกัน เป็นระบบอาหารที่เรียกว่า อาหารไขมันต่ำ (Low Fat Diet) ซึ่งเราเรียนมาตั้งแต่เด็กว่า ให้เรากินอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย 3 อย่างคือ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน
อาหารคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าวแป้งน้ำตาล กินให้ได้รับพลังงาน ร้อยละ 60 อาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ร้อยละ 20 และอาหารไขมัน ที่ได้มาจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ร้อยละ 20-30
ตามหลักพีรามิดอาหาร ที่สหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ตั้งแต่ปี 1977 และคนทั่วโลกก็ถือปฏิบัติกันมา 40-50 ปีแล้ว อัตราโรคอ้วนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามกันมา
อะไรเล่าที่เป็นสาเหตุ? ในฉบับก่อนๆมา ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่า ตัวปัญหาสำคัญคือ การบริโภคแป้ง น้ำตาล ขนมหวาน น้ำอัดลมต่างๆ มากเกินไป
คนทางโลกตะวันตกจะกินขนมปังชนิดต่างๆ เนื้อสัตว์ นม เนย ผัก ของหวาน น้ำอัดลม น้ำดื่มต่างๆ ส่วนทางบ้านเราก็กินข้าวเป็นหลัก 2-3 มื้อ กินผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ และยังกินของหวาน บางคนดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำชาเขียว น้ำผลไม้ การกินอาหารแบบนี้ รวมๆกันแล้วแป้งและน้ำตาลจะมากเกินไป
มีการพบว่า คนอเมริกันกินน้ำตาลคนละ 22 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งโดยปกติเขาแนะนำให้ผู้ชายกินน้ำตาลได้ คนละ 9 ช้อนชา ผู้หญิงคนละ 6 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งน้อยมาก ในบ้านเราก็เช่นเดียวกัน เรากินน้ำตาลกันถึงวันละ 20 ช้อนชาต่อคน!! และจากสถิติพบว่า ปริมาณน้ำตาลและโรคอ้วน โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นพร้อมๆกันไปอย่างรวดเร็ว
นพ.นอร์แมน แคปเพน (Norman M Kaplan) ศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคซัส เมืองดาลัส ได้รายงานเรื่อง สี่สหายเดนตาย ในวารสารทางการแพทย์ (Arch Intern Med 1989 ; 149:1514-1520) โดยพบว่า เรามักจะพบสี่สหาย มาด้วยกันบ่อยๆ คือ ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
ตอนนั้นยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่า เพื่อนสี่คนนี้มาด้วยกัน หรือต่างคนต่างมาพบกันโดยบังเอิญ ก่อนหน้านี้ ศาสตราจารย์เจอราล์ด เรเวน (Gerald Reaven) อายุรแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก็เคยรายงานไว้ในวารสารเบาหวาน ในปี 1988 เช่นกัน ท่านเรียกกลุ่มสี่สหายนี้ว่า กลุ่มอาการเอ็กซ์ (syndrome X) เนื่องจากยังไม่รู้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร จึงใช้ชื่อเอ็กซ์ไว้ก่อน
ท่านพบว่า ความอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นกลุ่มอาการที่พบร่วมกัน ต่อมายังพบว่า มีภาวะกรดยูริกและสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ไฟบริโนเจน และสาร PAI-1 สูงขึ้นร่วมด้วย และพบว่าภาวะเหล่านี้เกิดจากอินซูลินในเลือดสูง และมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน การค้นพบนี้ทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
ศ.เรเวนศึกษาเรื่องภาวะดื้อต่ออินซูลินอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ปัจจุบันท่านอายุ 88 ปีแล้ว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งภาวะดื้อต่ออินซูลิน” (Father of Insulin resistance)
ปัญหาที่นักวิจัยสงสัยมากในตอนแรกคือ โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเดียวกัน หรือเป็นคนละโรค แต่มาเป็นพร้อมกันโดยบังเอิญ งานวิจัยต่อมาจึงทำให้รู้ว่ามันเป็นโรคเดียวกัน มีที่มาอย่างที่เดียวกัน
ศาสตราจารย์ราล์ฟ เดอฟรอนโซ (Ralph Defronzo) อายุรแพทย์แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคซัส ที่แอนโตนิโอ อธิบายว่า ที่เราเห็นภายนอก คือ ความอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นเพียงภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร แต่มันมาจากความผิดปกติที่ถูกปิดบังไว้ คือ ภาวะอินซูลินในเลือดสูง และภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Hyperinsulinemia and Insulin Resistance) ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาอยู่ข้างใต้
ท่านผู้อ่านครับ ในเวลาที่เรากินแป้งและน้ำตาลเข้าไปในร่างกาย ร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ออกมาในกระแสเลือด ฮอร์โมนตัวนี้จะพาเอาน้ำตาลที่ย่อยสลายแล้วเป็นกลูโคสเข้าไปในเซลล์ เพื่อให้เซลล์ใช้เป็นพลังงานต่อไป
ฮอร์โมนอินซูลินสร้างจากตับอ่อน ถ้าเรากินแป้งและน้ำตาลไม่มากเกินไป ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ในคนที่กินแป้งและน้ำตาลมากทุกๆวัน ชอบอาหารรสหวาน กินจนติดเป็นนิสัย ตับอ่อนก็จะสร้างอินซูลินออกมามากตลอดเวลา เพื่อตอบสนองระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง
ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นแบบนี้ตลอดเวลาหลายๆปี เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงและอินซูลินออกมามากตลอดเวลา เซลล์ก็จะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินตามมา คือ ผนังเซลล์ไม่ยอมให้น้ำตาลเข้าไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ในตับประมาณ 80 กรัมและกล้ามเนื้อประมาณ 400 กรัม เพื่อเอาไว้ใช้ในเวลาขาดแคลน น้ำตาลส่วนเกินที่มากเกินไปนั้น ตับจะเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ เก็บไว้ในเซลล์ไขมันแถวหน้าท้อง
อินซูลินยังมีฤทธิ์ยับยั้งการนำไขมันที่มีอยู่ในเซลล์ไขมันออกมา เพื่อใช้เป็นพลังงานด้วย จะเห็นว่าอินซูลินนอกจากทำหน้าที่นำน้ำตาลไปให้เซลล์ต่างๆใช้เป็นพลังงานแล้ว มันยังทำให้เกิดการสะสมไขมันด้วย ถ้าเรากินน้ำตาลมากเกินไป มันจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันเก็บไว้ ผลคือเราก็จะอ้วนขึ้น!!
นอกจากนั้น อินซูลินยังมีฤทธิ์ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ด้วย เนื่องจากอินซูลินทำให้มีการดูดกลับของเกลือโซเดียมที่ไต ทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และอินซูลินยังทำให้กล้ามเนื้อผนังเส้นเลือดหนาตัวขึ้น ทำให้รูหลอดเลือดตีบแคบลง
ดังนั้น จะเห็นว่า อินซูลินเป็นตัวทำให้เกิดสี่สหาย เป็นเรื่องเดียวกัน คือ พอมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูง ระดับอินซูลินในเลือดก็สูงด้วย และอินซูลินไม่ทำงานด้วย นั่นคือเราเป็นเบาหวานแล้ว ในขณะนั้นระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ก็สูงด้วย เพราะตับจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นไตรกลีเซอไรด์
และอินซูลินก็ทำให้ความดันโลหิตสูงตามมา ดังที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้เราเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจ ตามมานั้น เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเกิดจากสาเหตุเดียว คือ กินแป้งและน้ำตาลมากเกินไปนั่นเอง (www.youtube.com พิมพ์คำว่า Prof. Robert Lustig, MD.-what is metabolic syndrome)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)