• ไม่ธรรมดา...บ.ญี่ปุ่นใช้เทคนิคพิเศษ ทำความสะอาดพระพุทธรูปอายุนับร้อยปี
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า ตามประเพณีญี่ปุ่น เมื่อใกล้สิ้นปีจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนครั้งใหญ่ ปัดกวาดสิ่งสกปรกโชคร้ายที่สะสมมาทั้งปี พร้อมกับชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ เพื่อต้อนรับปีใหม่ที่กำลังมาถึง โดยไม่เว้นแม้แต่พระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ที่ต้องนำมาทำความสะอาดเช่นกัน
Buddha MayClean Co. คือบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองซะไก จังหวัดโอซากา ประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเสียงด้านการให้บริการทำความสะอาดพระพุทธรูป แท่นบูชา และวัตถุเปราะบางอื่นๆ ด้วยเทคนิคพิเศษ คือ ใช้สารซักฟอกพิเศษขจัดฝุ่น แล้วเช็ดทำความสะอาดด้วยโฟม
เนื่องจากหากให้ผู้หล่อองค์พระทำความสะอาดเอง อาจต้องใช้เวลาเกือบปีจึงจะแล้วเสร็จ เพราะต้องถอดออกเป็นชิ้นๆ ลอกทองคำเปลวออก เพื่อทำความสะอาด จากนั้นจึงปิดทองคำเปลวใหม่ แล้วประกอบกลับไปดังเดิม
แต่บริษัท Buddha MayClean ใช้เวลาเพียงวันเดียวในการทำความสะอาดพระพุทธรูป โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขจัดฝุ่น แต่ไม่ทำลายทองคำเปลว ดังในภาพที่เห็น เป็นการทำความสะอาดพระพุทธรูปอายุหลายร้อยปีเป็นครั้งแรก
• พม่าเตรียมเสนอ “บริเวณภูเขาโปปา” เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
พม่า : เว็บไซต์ Myanmar Times รายงานว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2016 คณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนต่างๆ จากสมาคมวิทยาศาสตร์พื้นพิภพแห่งประเทศพม่า กลุ่มคนรักภูเขาโปปา และกองธรณีวิทยามหาวิทยาลัยย่างกุ้งและภาครัฐ ได้เริ่มดำเนินการเพื่อเตรียมยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโก ให้บริเวณภูเขาโปปา ซึ่งมีพื้นที่กว่า 360 ตารางไมล์ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลก ในปลายปีค.ศ. 2017
อู ถั่น ตุ่น ประธานคณะทำงาน เผยว่า จะรวมหมู่บ้านกว่า 200 แห่งให้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
“ชาวบ้านรู้สึกดีใจที่เราจะนำหมู่บ้านของพวกเขา รวมอยู่ในอุทยานธรณีโลก ได้มีการรณรงค์ให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องอุทยานธรณีโลก เนื่องจากองค์การยูเนสโกได้ให้คำจำกัดความของอุทยานธรณีโลกว่า ต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่น และในระยะยาวต้องมีการจัดแสดงและปกป้องมรดกทางธรณีวิทยาของพื้นที่ดังกล่าวด้วย”
ทั้งนี้ เว็บไซต์ขององค์การยูเนสโก ได้ให้รายละเอียดของอุทยานธรณีโลกว่า คือพื้นที่ที่รวมถึงภูมิประเทศและเป็นที่ตั้งของสิ่งสำคัญต่างๆทางภูมิศาสตร์นานาชาติ มีการใช้มรดกทางธรณีวิทยาร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าใจยิ่งขึ้น ถึงปัญหาสำคัญๆที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ อาทิ การใช้แหล่งทรัพยากรบนผืนโลกอย่างยั่งยืน การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น
อนึ่ง ภูเขาโปปา ตั้งอยู่ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ทางตอนกลางของพม่า บริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยมรดกทางธรณีวิทยา เพราะเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว และมีชื่อเสียงในการเป็นสถานที่แสวงบุญ เนื่องจากบริเวณภูเขาโปปาเป็นที่ตั้งของวัดหลายแห่ง และโบราณวัตถุจำนวนมาก วัดที่สำคัญคือวัดตวงกาลัต Taung Kalat ตั้งอยู่บนยอดเขา ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาโปปา
• แม่ชีเกาหลีใต้เขียนหนังสืออาหารวัด หลังหายป่วยมะเร็ง โดยใช้อาหารเป็นยา
เกาหลีใต้ : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2016 “แม่ชีซอน แจ” แม่ชีในพุทธศาสนา ผู้มีชื่อเสียงในเรื่องอาหารของวัดพุทธในเกาหลีใต้ ได้ออกหนังสือเล่มใหม่ที่มีชื่อว่า “What Do You Eat for Living?” (คุณกินอะไรเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้)
“ตั้งแต่หนังสือเล่มแรกของฉันตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2000 มีหลายคนขอให้ฉันเขียนหนังสือตำราอาหาร ที่ไม่เน้นถึงวิธีทำอาหารให้มีรสชาติอร่อย” แม่ชีซอน แจ กล่าว
โดยใน ค.ศ. 1994 แม่ชีซอน แจ ได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์เรื่องอาหารของวัดพุทธในเกาหลีใต้ ซึ่งไม่เคยมีใครเขียนมาก่อน ทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจเรื่องการกินเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เธอยังให้คำแนะนำเรื่องนิสัยการกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเลือกกิน รวมทั้งสอนการทำอาหารวัด โดยยึดหลักตามพุทธศาสนาที่ว่า “อาหารเป็นยา” “การบำรุงเลี้ยงเป็นยา” และ “ปรับเปลี่ยนการกินตามฤดูกาล”
ปัจจุบัน แม่ชีซอน แจ อายุ 60 ปี เธอสนใจเรื่องการทำอาหารวัด ภายหลังจากหายป่วยโรคมะเร็งปอดด้วยการใช้อาหารเยียวยา ความสำเร็จของเธอได้รับการยกย่องจากนิกายโชเก อันเป็นนิกายหลักของพุทธศาสนาในเกาหลีใต้ ซึ่งได้มอบตำแหน่ง “ผู้เชี่ยวชาญอาหารวัด” แก่เธอ
แม่ชีซอน แจ กล่าวว่าอาหารวัดมีความคล้ายคลึงกับอาหารมังสวิรัติ แต่ข้อแตกต่างคือ อาหารของวัดพุทธเกาหลีใต้ แฝงไว้ด้วยปัญญา เพราะการกินอาหารขณะใช้ชีวิตอยู่ภายในวัด ไม่ใช่เพียงแค่การทำให้ท้องอิ่มและมีสุขภาพดี แต่ยังเป็นการใช้ชีวิตสมณะผ่านประสบการณ์การทำอาหารอีกด้วย
• ออสเตรเลียขาดแคลนครูสอนพุทธศาสนาใน รร.รัฐ
ออสเตรเลีย : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า ปัจจุบัน โรงเรียนรัฐบาลกว่า 3,000 แห่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย กำลังประสบปัญหาขาดแคลนครูสอนพุทธศาสนา
ไบรอัน ไวท์ ประธานสภาพุทธแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ เผยว่า ทางสภาฯซึ่งทำหน้าที่ฝึกครูสอนธรรมะ ได้ส่งครูอาสาสมัคร 70 คนไปสอนที่โรงเรียนรัฐบาลต่างๆภายในรัฐ แต่ยังคงขาดครูอีก 60 คนเป็นอย่างน้อย
“เรายังมีโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วรัฐ ที่อยู่ในคิวรอครูสอนพุทธศาสนา รวมถึงโรงเรียนอื่นๆที่ต้องการ ซึ่งติดต่อเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ผมคิดว่าความต้องการครูสอนพุทธศาสนา เกิดจากการที่สังคมตื่นตัวเรื่องการทำสมาธิและตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับ และรู้ว่าแม้แต่เด็กวัย 6-7 ขวบ ก็สามารถทำสมาธิได้ อีกทั้งศาสนาพุทธเองมีภาพพจน์ที่ดีในสังคม เนื่องจากเป็นหนทางดำเนินชีวิตเพื่อมุ่งสู่ความสงบสุข”
ทั้งนี้ ศาสนาพุทธได้เข้ามาหยั่งรากในประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1850 แต่เริ่มมีการเผยแพร่อย่างจริงจังในช่วงปลาย ค.ศ.1970 โดยกลุ่มผู้ลี้ภัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการเผยแผ่ของศาสนาพุทธแบบทิเบต ที่เข้าไปยังหมู่ประเทศตะวันตก
จากข้อมูลกองสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุว่า ใน ค.ศ. 2011 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศ รองจากศาสนาคริสต์ มีจำนวนกว่า 5 แสนคน (จากประชากรทั้งสิ้นราว 21.5 ล้านคนในขณะนั้น) ซึ่งตัวเลขได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสองเท่าระหว่าง ค.ศ. 1996-2006 โดย 75%เป็นชาวพุทธเชื้อสายเอเชียที่อพยพเข้ามาเมื่อหลายสิบปีก่อน อีก 25% เป็นชาวพุทธเชื้อชาติคอเคเซียนที่เกิดในออสเตรเลีย
• ทิเบตเตรียมกำหนดมาตรฐานภาพวาดทังก้า
จีน : สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่เขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เผยว่า กำลังเตรียมกำหนดมาตรฐานภาพวาดทังก้า ซึ่งเป็นจิตรกรรมม้วนตามประเพณีพุทธทิเบต เพื่อปรับปรุงคุณภาพชิ้นงานทังก้า และปกป้องศิลปินผู้วาดภาพตามแบบงานฝีมือโบราณ
หวังเชน ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานการดูแลคุณภาพและเทคนิค ระบุว่า จะกำหนดมาตรฐานของภาพวาดทังก้าจากลักษณะของผ้า สี ฝีมือการวาด และอื่นๆ รวมถึงหลักการจัดอันดับสินค้าทังก้า ภายใน ค.ศ. 2017
ทังก้า เป็นรูปแบบการวาดภาพพุทธศิลป์บนผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ในสมัยอาณาจักรทิเบตโบราณ “ทูโบ” (ราว ค.ศ. 629-840) โดยจะวาดด้วยสีจากแร่ธาตุและวัตถุธรรมชาติ เช่น ปะการัง โมรา ไพลิน ไข่มุก และทอง ซึ่งสีจะติดคงทนนานหลายร้อยปี
ชาวทิเบตมักแขวนภาพทังก้าบนผนังภายในบ้านเพื่อสักการะ ทังก้าเป็นของที่ระลึกยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกเขตทิเบต ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดทังก้าเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีคนกว่า 3,000 คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมทังก้าในทิเบต
“เนื่องจากภาพทังก้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เราจึงควรกำหนดมาตรฐานการผลิตและการตลาด เพื่อพัฒนาศิลปะอันยอดเยี่ยมนี้ไว้” ไนอิมะ เชอริง เจ้าหน้าที่กองวัฒนธรรมเขตปกครองตนเองทิเบต กล่าว
อนึ่ง องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนภาพวาดทังก้า ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานฝีมือต่อผ้า และงานประติมากรรม เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ใน ค.ศ. 2009
• “เจ้าพ่อเฟซบุ๊ค” อดีตคนไร้ศาสนา สนใจศึกษาศาสนาพุทธอย่างลึกซึ้ง
สหรัฐอเมริกา : เว็บไซต์ huffingtonpost.com.au รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Facebook ได้ละทิ้งความเชื่อเดิมเรื่องการไม่มีศาสนา หันมายืนยันในตอนนี้แล้วว่า “ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญมาก”
ครั้งหนึ่ง ซักเคอร์เบิร์กเคยระบุข้อมูลส่วนตัวบนเฟซบุ๊คว่าเป็นคนไม่มีศาสนา แต่ล่าสุดเขาได้เปลี่ยนใจ เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2016 เขาได้เขียนข้อความอวยพรจากครอบครัวมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ลงบนเฟซบุ๊คเนื่องในเทศกาลคริสต์มาสและฮานุกกะห์ (เทศกาลแห่งแสงไฟของชาวยิว)
มีคนเขียนเข้ามาถามซักเคอร์เบิร์กว่า “คุณไม่เชื่อในพระเจ้ามิใช่หรือ?” เขาตอบว่า “ผมไม่เชื่อ ผมถูกเลี้ยงดูแบบชาวยิว และได้ผ่านช่วงเวลาที่เคยสงสัยในเรื่องต่างๆมาแล้ว แต่ตอนนี้ ผมเชื่อแล้วว่า ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญมาก” ซึ่งเขาไม่ได้ให้รายละเอียดว่านับถือศาสนาใด แต่ได้เขียนลงบนเฟซบุ๊คถึงเทศกาลวันหยุดว่า “เฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส”
เมื่อฤดูร้อน ค.ศ. 2016 ซักเคอร์เบิร์กและพริสซิลลา ชาน สองสามีภรรยาได้เข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ที่นครวาติกัน และพูดคุยหารือในเรื่องการนำเทคโนโลยีสื่อสารเข้าถึงคนยากจนทั่วโลก ซึ่งซักเคอร์เบิร์กบอกว่า รู้สึกประทับใจในความเมตตาของพระองค์
“เราทูลพระองค์ว่า เรารู้สึกชื่นชมในสารที่แสดงถึงความอ่อนโยนและมีเมตตาของพระองค์ และวิธีการใหม่ๆที่ทรงใช้สื่อสารกับคนทุกศาสนาความเชื่อทั่วโลก นับเป็นการพบกันที่เราจะไม่มีวันลืม คุณสามารถรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น ความกรุณา และอยากช่วยเหลือผู้คนของพระองค์” ซักเคอร์เบิร์ก เขียนบนเฟซบุ๊ค
อย่างไรก็ดี ซักเคอร์เบิร์ก ก็มีความสนใจในพุทธศาสนา ซึ่งภรรยาของเขานับถืออยู่เช่นกัน โดยในค.ศ. 2015 เขาและภรรยาได้เดินทางไปยังประเทศจีน และเข้าสักการะพระเจดีย์ห่านป่าใหญ่ในเมืองซีอาน ซักเคอร์เบิร์กได้สวดขอพรให้เกิดสันติสุขบนโลก และให้ครอบครัวของเขามีสุขภาพดี โดยได้ลงข้อความและรูปขณะสักการะบนเฟซบุ๊ค
“พริสซิลลาเป็นชาวพุทธ และขอให้ผมสวดขอพรแทนเธอ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาและปรัชญาที่น่าทึ่ง ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และผมยังคงหวังที่จะเรียนรู้และเข้าใจให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น”
• จีนตะลึง! เศียรพระพุทธรูปอายุ 600 ปี โผล่เหนืออ่างเก็บน้ำหลังน้ำลด
จีน : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2016 ขณะทางการจีนได้ทำการปิดซ่อมแซมประตูสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในอ่างเก็บน้ำหงเหมิน ใกล้เมืองฝูโจว มณฑลเจียงซี เป็นเหตุให้ระดับน้ำลดต่ำลงกว่า 10 เมตร ทำให้ชาวบ้านสังเกตเห็นเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุราว 600 กว่าปีโผล่ขึ้นจากน้ำ
ต่อมา ทีมนักวิจัยได้นำทีมนักโบราณคดีดำลงสำรวจใต้น้ำบริเวณดังกล่าว พบว่า พระพุทธรูปมีขนาด 3.8 เมตร แกะสลักบนหน้าผาในยุคราชวงค์หมิง (ค.ศ. 1368-1644) และพบสิ่งที่ดูเหมือนเป็นฐานของวิหารขนาด 165 ตารางเมตร ทำให้เชื่อได้ว่า พระพุทธรูปดังกล่าวเคยเป็นส่วนหนึ่งของวัดแห่งนี้
“การวิจัยเบื้องต้นเผยว่า พระพุทธรูปอาจถูกสร้างขึ้นระหว่างต้นราชวงค์หมิง หรืออาจสร้างก่อนหน้านี้ในราชวงค์หยวน ถ้าพระพุทธรูปไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ มันอาจถูกทำลายด้วยสภาพอากาศ ปฎิกริยาออกซิเดชั่น หรือภัยอื่นๆ” ซูชางจิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางโบราณคดีมณฑลเจียงซู กล่าว
อ่างเก็บน้ำหงเหมิน หรือที่เรียกว่า ทะเลสาบซุยเซียน สร้างในค.ศ. 1958 ครอบคลุมพื้นที่ของเมืองหนานชางและลี่ชวน จุน้ำได้ถึง 1.2 พันล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นเมืองโบราณชื่อเซียวฉี ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญในการลำเลียงน้ำและการค้าขายระหว่างมณฑลเจียงซีและฝูเจี้ยน
“ซากเมืองเซียวฉีไม่ได้โผล่ขึ้นมาเมื่อระดับน้ำลดลง แต่ทีมนักประดาน้ำได้สำรวจเมืองไปด้วย” จิน ฮุยหลิน ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์เมืองหนานชาง กล่าว และตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงที่อ่างเก็บน้ำถูกสร้างขึ้นนั้น ประเทศจีนขาดหน่วยงานรัฐที่คอยปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปกป้องโบราณวัตถุ ดังนั้น จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปดังกล่าวได้
ขณะที่ กวน ซิหยง หัวหน้าเขตเทศบาลเมืองหงเหมิน เผยว่า พระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นตรงจุดที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่เรือล่มได้ง่ายเมื่อสายน้ำเชี่ยว ตามตำนานเล่าว่า คนโบราณจึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อสวดขอพรให้ปลอดภัย
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบอักษรจีน 30 คำจารึกบนหน้าผาด้วย ซึ่งจะได้วางแผนทำการวิจัยต่อไป และร่างมาตรการที่จะปกป้องโบราณวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำในอ่างเก็บน้ำ
“ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำจะเพิ่มขึ้น เมื่อน้ำในฤดูใบไม้ผลิราวเดือนมีนาคมไหลเข้าท่วมพื้นที่ และเศียรของพระพุทธรูปก็จะจมลงใต้น้ำอีกครั้ง” เจ้าหน้าที่ของกองบริหารจัดการน้ำเมืองหนานชาง กล่าว
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย เภตรา)
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า ตามประเพณีญี่ปุ่น เมื่อใกล้สิ้นปีจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนครั้งใหญ่ ปัดกวาดสิ่งสกปรกโชคร้ายที่สะสมมาทั้งปี พร้อมกับชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ เพื่อต้อนรับปีใหม่ที่กำลังมาถึง โดยไม่เว้นแม้แต่พระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ที่ต้องนำมาทำความสะอาดเช่นกัน
Buddha MayClean Co. คือบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองซะไก จังหวัดโอซากา ประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเสียงด้านการให้บริการทำความสะอาดพระพุทธรูป แท่นบูชา และวัตถุเปราะบางอื่นๆ ด้วยเทคนิคพิเศษ คือ ใช้สารซักฟอกพิเศษขจัดฝุ่น แล้วเช็ดทำความสะอาดด้วยโฟม
เนื่องจากหากให้ผู้หล่อองค์พระทำความสะอาดเอง อาจต้องใช้เวลาเกือบปีจึงจะแล้วเสร็จ เพราะต้องถอดออกเป็นชิ้นๆ ลอกทองคำเปลวออก เพื่อทำความสะอาด จากนั้นจึงปิดทองคำเปลวใหม่ แล้วประกอบกลับไปดังเดิม
แต่บริษัท Buddha MayClean ใช้เวลาเพียงวันเดียวในการทำความสะอาดพระพุทธรูป โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขจัดฝุ่น แต่ไม่ทำลายทองคำเปลว ดังในภาพที่เห็น เป็นการทำความสะอาดพระพุทธรูปอายุหลายร้อยปีเป็นครั้งแรก
• พม่าเตรียมเสนอ “บริเวณภูเขาโปปา” เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
พม่า : เว็บไซต์ Myanmar Times รายงานว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2016 คณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนต่างๆ จากสมาคมวิทยาศาสตร์พื้นพิภพแห่งประเทศพม่า กลุ่มคนรักภูเขาโปปา และกองธรณีวิทยามหาวิทยาลัยย่างกุ้งและภาครัฐ ได้เริ่มดำเนินการเพื่อเตรียมยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโก ให้บริเวณภูเขาโปปา ซึ่งมีพื้นที่กว่า 360 ตารางไมล์ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลก ในปลายปีค.ศ. 2017
อู ถั่น ตุ่น ประธานคณะทำงาน เผยว่า จะรวมหมู่บ้านกว่า 200 แห่งให้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
“ชาวบ้านรู้สึกดีใจที่เราจะนำหมู่บ้านของพวกเขา รวมอยู่ในอุทยานธรณีโลก ได้มีการรณรงค์ให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องอุทยานธรณีโลก เนื่องจากองค์การยูเนสโกได้ให้คำจำกัดความของอุทยานธรณีโลกว่า ต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่น และในระยะยาวต้องมีการจัดแสดงและปกป้องมรดกทางธรณีวิทยาของพื้นที่ดังกล่าวด้วย”
ทั้งนี้ เว็บไซต์ขององค์การยูเนสโก ได้ให้รายละเอียดของอุทยานธรณีโลกว่า คือพื้นที่ที่รวมถึงภูมิประเทศและเป็นที่ตั้งของสิ่งสำคัญต่างๆทางภูมิศาสตร์นานาชาติ มีการใช้มรดกทางธรณีวิทยาร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าใจยิ่งขึ้น ถึงปัญหาสำคัญๆที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ อาทิ การใช้แหล่งทรัพยากรบนผืนโลกอย่างยั่งยืน การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น
อนึ่ง ภูเขาโปปา ตั้งอยู่ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ทางตอนกลางของพม่า บริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยมรดกทางธรณีวิทยา เพราะเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว และมีชื่อเสียงในการเป็นสถานที่แสวงบุญ เนื่องจากบริเวณภูเขาโปปาเป็นที่ตั้งของวัดหลายแห่ง และโบราณวัตถุจำนวนมาก วัดที่สำคัญคือวัดตวงกาลัต Taung Kalat ตั้งอยู่บนยอดเขา ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาโปปา
• แม่ชีเกาหลีใต้เขียนหนังสืออาหารวัด หลังหายป่วยมะเร็ง โดยใช้อาหารเป็นยา
เกาหลีใต้ : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2016 “แม่ชีซอน แจ” แม่ชีในพุทธศาสนา ผู้มีชื่อเสียงในเรื่องอาหารของวัดพุทธในเกาหลีใต้ ได้ออกหนังสือเล่มใหม่ที่มีชื่อว่า “What Do You Eat for Living?” (คุณกินอะไรเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้)
“ตั้งแต่หนังสือเล่มแรกของฉันตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2000 มีหลายคนขอให้ฉันเขียนหนังสือตำราอาหาร ที่ไม่เน้นถึงวิธีทำอาหารให้มีรสชาติอร่อย” แม่ชีซอน แจ กล่าว
โดยใน ค.ศ. 1994 แม่ชีซอน แจ ได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์เรื่องอาหารของวัดพุทธในเกาหลีใต้ ซึ่งไม่เคยมีใครเขียนมาก่อน ทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจเรื่องการกินเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เธอยังให้คำแนะนำเรื่องนิสัยการกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเลือกกิน รวมทั้งสอนการทำอาหารวัด โดยยึดหลักตามพุทธศาสนาที่ว่า “อาหารเป็นยา” “การบำรุงเลี้ยงเป็นยา” และ “ปรับเปลี่ยนการกินตามฤดูกาล”
ปัจจุบัน แม่ชีซอน แจ อายุ 60 ปี เธอสนใจเรื่องการทำอาหารวัด ภายหลังจากหายป่วยโรคมะเร็งปอดด้วยการใช้อาหารเยียวยา ความสำเร็จของเธอได้รับการยกย่องจากนิกายโชเก อันเป็นนิกายหลักของพุทธศาสนาในเกาหลีใต้ ซึ่งได้มอบตำแหน่ง “ผู้เชี่ยวชาญอาหารวัด” แก่เธอ
แม่ชีซอน แจ กล่าวว่าอาหารวัดมีความคล้ายคลึงกับอาหารมังสวิรัติ แต่ข้อแตกต่างคือ อาหารของวัดพุทธเกาหลีใต้ แฝงไว้ด้วยปัญญา เพราะการกินอาหารขณะใช้ชีวิตอยู่ภายในวัด ไม่ใช่เพียงแค่การทำให้ท้องอิ่มและมีสุขภาพดี แต่ยังเป็นการใช้ชีวิตสมณะผ่านประสบการณ์การทำอาหารอีกด้วย
• ออสเตรเลียขาดแคลนครูสอนพุทธศาสนาใน รร.รัฐ
ออสเตรเลีย : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า ปัจจุบัน โรงเรียนรัฐบาลกว่า 3,000 แห่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย กำลังประสบปัญหาขาดแคลนครูสอนพุทธศาสนา
ไบรอัน ไวท์ ประธานสภาพุทธแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ เผยว่า ทางสภาฯซึ่งทำหน้าที่ฝึกครูสอนธรรมะ ได้ส่งครูอาสาสมัคร 70 คนไปสอนที่โรงเรียนรัฐบาลต่างๆภายในรัฐ แต่ยังคงขาดครูอีก 60 คนเป็นอย่างน้อย
“เรายังมีโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วรัฐ ที่อยู่ในคิวรอครูสอนพุทธศาสนา รวมถึงโรงเรียนอื่นๆที่ต้องการ ซึ่งติดต่อเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ผมคิดว่าความต้องการครูสอนพุทธศาสนา เกิดจากการที่สังคมตื่นตัวเรื่องการทำสมาธิและตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับ และรู้ว่าแม้แต่เด็กวัย 6-7 ขวบ ก็สามารถทำสมาธิได้ อีกทั้งศาสนาพุทธเองมีภาพพจน์ที่ดีในสังคม เนื่องจากเป็นหนทางดำเนินชีวิตเพื่อมุ่งสู่ความสงบสุข”
ทั้งนี้ ศาสนาพุทธได้เข้ามาหยั่งรากในประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1850 แต่เริ่มมีการเผยแพร่อย่างจริงจังในช่วงปลาย ค.ศ.1970 โดยกลุ่มผู้ลี้ภัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการเผยแผ่ของศาสนาพุทธแบบทิเบต ที่เข้าไปยังหมู่ประเทศตะวันตก
จากข้อมูลกองสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุว่า ใน ค.ศ. 2011 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศ รองจากศาสนาคริสต์ มีจำนวนกว่า 5 แสนคน (จากประชากรทั้งสิ้นราว 21.5 ล้านคนในขณะนั้น) ซึ่งตัวเลขได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสองเท่าระหว่าง ค.ศ. 1996-2006 โดย 75%เป็นชาวพุทธเชื้อสายเอเชียที่อพยพเข้ามาเมื่อหลายสิบปีก่อน อีก 25% เป็นชาวพุทธเชื้อชาติคอเคเซียนที่เกิดในออสเตรเลีย
• ทิเบตเตรียมกำหนดมาตรฐานภาพวาดทังก้า
จีน : สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่เขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เผยว่า กำลังเตรียมกำหนดมาตรฐานภาพวาดทังก้า ซึ่งเป็นจิตรกรรมม้วนตามประเพณีพุทธทิเบต เพื่อปรับปรุงคุณภาพชิ้นงานทังก้า และปกป้องศิลปินผู้วาดภาพตามแบบงานฝีมือโบราณ
หวังเชน ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานการดูแลคุณภาพและเทคนิค ระบุว่า จะกำหนดมาตรฐานของภาพวาดทังก้าจากลักษณะของผ้า สี ฝีมือการวาด และอื่นๆ รวมถึงหลักการจัดอันดับสินค้าทังก้า ภายใน ค.ศ. 2017
ทังก้า เป็นรูปแบบการวาดภาพพุทธศิลป์บนผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ในสมัยอาณาจักรทิเบตโบราณ “ทูโบ” (ราว ค.ศ. 629-840) โดยจะวาดด้วยสีจากแร่ธาตุและวัตถุธรรมชาติ เช่น ปะการัง โมรา ไพลิน ไข่มุก และทอง ซึ่งสีจะติดคงทนนานหลายร้อยปี
ชาวทิเบตมักแขวนภาพทังก้าบนผนังภายในบ้านเพื่อสักการะ ทังก้าเป็นของที่ระลึกยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกเขตทิเบต ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดทังก้าเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีคนกว่า 3,000 คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมทังก้าในทิเบต
“เนื่องจากภาพทังก้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เราจึงควรกำหนดมาตรฐานการผลิตและการตลาด เพื่อพัฒนาศิลปะอันยอดเยี่ยมนี้ไว้” ไนอิมะ เชอริง เจ้าหน้าที่กองวัฒนธรรมเขตปกครองตนเองทิเบต กล่าว
อนึ่ง องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนภาพวาดทังก้า ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานฝีมือต่อผ้า และงานประติมากรรม เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ใน ค.ศ. 2009
• “เจ้าพ่อเฟซบุ๊ค” อดีตคนไร้ศาสนา สนใจศึกษาศาสนาพุทธอย่างลึกซึ้ง
สหรัฐอเมริกา : เว็บไซต์ huffingtonpost.com.au รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Facebook ได้ละทิ้งความเชื่อเดิมเรื่องการไม่มีศาสนา หันมายืนยันในตอนนี้แล้วว่า “ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญมาก”
ครั้งหนึ่ง ซักเคอร์เบิร์กเคยระบุข้อมูลส่วนตัวบนเฟซบุ๊คว่าเป็นคนไม่มีศาสนา แต่ล่าสุดเขาได้เปลี่ยนใจ เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2016 เขาได้เขียนข้อความอวยพรจากครอบครัวมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ลงบนเฟซบุ๊คเนื่องในเทศกาลคริสต์มาสและฮานุกกะห์ (เทศกาลแห่งแสงไฟของชาวยิว)
มีคนเขียนเข้ามาถามซักเคอร์เบิร์กว่า “คุณไม่เชื่อในพระเจ้ามิใช่หรือ?” เขาตอบว่า “ผมไม่เชื่อ ผมถูกเลี้ยงดูแบบชาวยิว และได้ผ่านช่วงเวลาที่เคยสงสัยในเรื่องต่างๆมาแล้ว แต่ตอนนี้ ผมเชื่อแล้วว่า ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญมาก” ซึ่งเขาไม่ได้ให้รายละเอียดว่านับถือศาสนาใด แต่ได้เขียนลงบนเฟซบุ๊คถึงเทศกาลวันหยุดว่า “เฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส”
เมื่อฤดูร้อน ค.ศ. 2016 ซักเคอร์เบิร์กและพริสซิลลา ชาน สองสามีภรรยาได้เข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ที่นครวาติกัน และพูดคุยหารือในเรื่องการนำเทคโนโลยีสื่อสารเข้าถึงคนยากจนทั่วโลก ซึ่งซักเคอร์เบิร์กบอกว่า รู้สึกประทับใจในความเมตตาของพระองค์
“เราทูลพระองค์ว่า เรารู้สึกชื่นชมในสารที่แสดงถึงความอ่อนโยนและมีเมตตาของพระองค์ และวิธีการใหม่ๆที่ทรงใช้สื่อสารกับคนทุกศาสนาความเชื่อทั่วโลก นับเป็นการพบกันที่เราจะไม่มีวันลืม คุณสามารถรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น ความกรุณา และอยากช่วยเหลือผู้คนของพระองค์” ซักเคอร์เบิร์ก เขียนบนเฟซบุ๊ค
อย่างไรก็ดี ซักเคอร์เบิร์ก ก็มีความสนใจในพุทธศาสนา ซึ่งภรรยาของเขานับถืออยู่เช่นกัน โดยในค.ศ. 2015 เขาและภรรยาได้เดินทางไปยังประเทศจีน และเข้าสักการะพระเจดีย์ห่านป่าใหญ่ในเมืองซีอาน ซักเคอร์เบิร์กได้สวดขอพรให้เกิดสันติสุขบนโลก และให้ครอบครัวของเขามีสุขภาพดี โดยได้ลงข้อความและรูปขณะสักการะบนเฟซบุ๊ค
“พริสซิลลาเป็นชาวพุทธ และขอให้ผมสวดขอพรแทนเธอ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาและปรัชญาที่น่าทึ่ง ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และผมยังคงหวังที่จะเรียนรู้และเข้าใจให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น”
• จีนตะลึง! เศียรพระพุทธรูปอายุ 600 ปี โผล่เหนืออ่างเก็บน้ำหลังน้ำลด
จีน : เว็บไซต์ Buddhistdoor Global รายงานว่า เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2016 ขณะทางการจีนได้ทำการปิดซ่อมแซมประตูสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในอ่างเก็บน้ำหงเหมิน ใกล้เมืองฝูโจว มณฑลเจียงซี เป็นเหตุให้ระดับน้ำลดต่ำลงกว่า 10 เมตร ทำให้ชาวบ้านสังเกตเห็นเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุราว 600 กว่าปีโผล่ขึ้นจากน้ำ
ต่อมา ทีมนักวิจัยได้นำทีมนักโบราณคดีดำลงสำรวจใต้น้ำบริเวณดังกล่าว พบว่า พระพุทธรูปมีขนาด 3.8 เมตร แกะสลักบนหน้าผาในยุคราชวงค์หมิง (ค.ศ. 1368-1644) และพบสิ่งที่ดูเหมือนเป็นฐานของวิหารขนาด 165 ตารางเมตร ทำให้เชื่อได้ว่า พระพุทธรูปดังกล่าวเคยเป็นส่วนหนึ่งของวัดแห่งนี้
“การวิจัยเบื้องต้นเผยว่า พระพุทธรูปอาจถูกสร้างขึ้นระหว่างต้นราชวงค์หมิง หรืออาจสร้างก่อนหน้านี้ในราชวงค์หยวน ถ้าพระพุทธรูปไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ มันอาจถูกทำลายด้วยสภาพอากาศ ปฎิกริยาออกซิเดชั่น หรือภัยอื่นๆ” ซูชางจิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางโบราณคดีมณฑลเจียงซู กล่าว
อ่างเก็บน้ำหงเหมิน หรือที่เรียกว่า ทะเลสาบซุยเซียน สร้างในค.ศ. 1958 ครอบคลุมพื้นที่ของเมืองหนานชางและลี่ชวน จุน้ำได้ถึง 1.2 พันล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นเมืองโบราณชื่อเซียวฉี ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญในการลำเลียงน้ำและการค้าขายระหว่างมณฑลเจียงซีและฝูเจี้ยน
“ซากเมืองเซียวฉีไม่ได้โผล่ขึ้นมาเมื่อระดับน้ำลดลง แต่ทีมนักประดาน้ำได้สำรวจเมืองไปด้วย” จิน ฮุยหลิน ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์เมืองหนานชาง กล่าว และตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงที่อ่างเก็บน้ำถูกสร้างขึ้นนั้น ประเทศจีนขาดหน่วยงานรัฐที่คอยปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปกป้องโบราณวัตถุ ดังนั้น จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปดังกล่าวได้
ขณะที่ กวน ซิหยง หัวหน้าเขตเทศบาลเมืองหงเหมิน เผยว่า พระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นตรงจุดที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่เรือล่มได้ง่ายเมื่อสายน้ำเชี่ยว ตามตำนานเล่าว่า คนโบราณจึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อสวดขอพรให้ปลอดภัย
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบอักษรจีน 30 คำจารึกบนหน้าผาด้วย ซึ่งจะได้วางแผนทำการวิจัยต่อไป และร่างมาตรการที่จะปกป้องโบราณวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำในอ่างเก็บน้ำ
“ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำจะเพิ่มขึ้น เมื่อน้ำในฤดูใบไม้ผลิราวเดือนมีนาคมไหลเข้าท่วมพื้นที่ และเศียรของพระพุทธรูปก็จะจมลงใต้น้ำอีกครั้ง” เจ้าหน้าที่ของกองบริหารจัดการน้ำเมืองหนานชาง กล่าว
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย เภตรา)