เทรนด์ดูแลสุขภาพกำลังมาแรงในยุคนี้ เริ่มจากการกินอาหารถูกหลักโภชนาการ ใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ และที่ขาดไม่ได้คือ การออกกำลังกาย ซึ่งล้วนส่งเสริมให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ
บางคนเลือกออกกำลังกายด้วยการเดิน ขี่จักรยาน เล่นกีฬา ฯลฯ แต่บางคนเลือกที่จะเข้าฟิตเนส แหล่งรวมการออกกำลังกายของคนยุคใหม่
แต่การเล่นฟิตเนสอย่างชาญฉลาด ต้องเริ่มต้นด้วยความรู้ที่ถูกต้อง จึงจะส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะยังมีความเชื่อเดิมๆ ที่จดจำต่อๆกันมา ซึ่งอาจไม่ถูกต้องนัก จึงควรทำความเข้าใจกันใหม่ ดังนี้
1. ความเชื่อ : อย่าออกกำลังกายขณะท้องว่าง
ความจริง : มีงานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์แล้วว่า การออกกำลังกายก่อนกินอาหารเช้า จะช่วยเผาผลาญไขมันได้มากกว่า
2. ความเชื่อ : จำเป็นต้องมีการยืดเหยียดก่อนออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ความจริง : งานวิจัยหลายชิ้นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ เผยว่า การยืดเหยียดหลังการออกกำลังกายมีประโยชน์มาก แต่การยืดเหยียดก่อนการออกกำลังกายไม่มีผลใดๆ ขณะที่การวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย เพื่อให้เลือดไหลเวียน กลับให้ประโยชน์มากกว่า
3. ความเชื่อ : การวิ่งบนเครื่องออกกำลังกายแบบสายพานวิ่ง สร้างแรงกระแทกที่หัวเข่า น้อยกว่าการวิ่งบนทางเท้า
ความจริง : น้ำหนักตัวต่างหากที่สร้างแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า ไม่ใช่พื้นผิวที่วิ่ง การลดอาการเข่าตึง ต้องอาศัยการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบเป็นประจำ
4. ความเชื่อ : ท่าซิทอัพและท่าเกร็งกล้ามเนื้อท้อง ช่วยสลายไขมันหน้าท้องได้ดี
ความจริง : การเกร็งกล้ามเนื้อท้องช่วยให้กล้ามเนื้อท้องแข็งแรง แต่ชั้นไขมันที่กล้ามเนื้อท้องจะสลายได้ ก็ด้วยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (แอโรบิก) และโภชนาการที่เหมาะสมเท่านั้น
5. ความเชื่อ : การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยกระตุ้นกระบวนการสันดาปให้ยาวนานขึ้น และเผาผลาญแคลอรีจำนวนมากตลอดวัน
ความจริง : กระบวนการสันดาปเพิ่มขึ้นก็จริง แต่จำนวนแคลอรีที่ถูกเผาผลาญ เพิ่มขึ้นเพียง 20 แคลอรีต่อวันเท่านั้น
6. ความเชื่อ : การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยลดน้ำหนักได้เห็นผลกว่าการเล่นเวทเทรนนิ่ง
ความจริง : การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยเผาผลาญไขมันและแคลอรี ทำให้น้ำหนักลดลง แต่เสี่ยงที่จะสูญเสียกล้ามเนื้อ และทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง รวมทั้งกระบวนการสันดาปจะทำงานช้าลง ทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบมากต่อการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว
7. ความเชื่อ : การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ที่ช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
ความจริง : น้ำช่วยพยุงร่างกายให้ลอยน้ำได้ แต่การว่ายน้ำไม่ใช่การออกกำลังกายที่เข้มข้นเท่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอรูปแบบอื่นๆ ดังนั้น จึงไม่ช่วยลดน้ำหนักเลย
8. ความเชื่อ : ผู้หญิงที่เล่นเวทเทรนนิ่ง (การฝึกด้วยน้ำหนัก) จะดูเหมือนนักเพาะกาย
ความจริง : โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายผู้หญิงไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เหมือนผู้ชาย ดังนั้น หากต้องการมีรูปร่างเหมือนนักเพาะกาย ก็จะต้องฝึกอย่างหนักหน่วง การเล่นเวทเทรนนิ่งเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็นในการเล่นฟิตเนสของผู้หญิง เพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ และเพื่อเผาผลาญไขมัน
9. ความเชื่อ : ท่าสควอท (ท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า สะโพก และหน้าท้อง) ทำให้เข่าตึงและบาดเจ็บ
ความจริง : ท่าสควอทเป็นท่าบริหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อหัวเข่า และยิ่งย่อลงลึกเท่าไร ยิ่งสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงได้มากขึ้นเท่านั้น
10. ความเชื่อ : การเล่นโยคะช่วยคลายอาการปวดหลัง
ความจริง : การเล่นโยคะช่วยคลายอาการปวดหลังที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อเท่านั้น ไม่ใช่อาการปวดหลังจากสาเหตุอื่น เพราะหากเป็นสาเหตุอื่น นอกจากโยคะจะไม่ช่วยให้หายปวดหลังแล้ว มันอาจยิ่งทำให้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น
11. ความเชื่อ : ถ้าไม่มีเหงื่อออกขณะออกกำลังกาย นั่นหมายความว่า ไม่ได้ออกกำลังกายหนักเพียงพอ
ความจริง : เหงื่อออกเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต่อสู้กับความร้อน เพื่อให้ร่างกายเย็นลง ไม่เกี่ยวกับการออกแรงมากหรือน้อย
12. ความเชื่อ : เราสามารถตั้งเป้าให้ไขมันส่วนไหนของร่างกายถูกเผาผลาญได้
ความจริง : การออกกำลังกายช่วยลดไขมันโดยรวมของร่างกาย แต่ไม่มีหนทางใดที่จะเลือกลดไขมันส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้มากหรือน้อยตามต้องการของแต่ละคนได้
13. ความเชื่อ : การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และยิ่งทำให้หิว
ความจริง : แต่งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า จริงๆแล้วการออกกำลังกายแบบเข้มข้น กลับช่วยลดความอยากอาหารและรู้สึกหิวได้จริงๆ
14. ความเชื่อ : ถ้าออกกำลังกายทุกวัน จะสามารถกินตามใจปาก แถมลดน้ำหนักได้ด้วย
ความจริง : แม้ว่าจะออกกำลังกายทุกวัน แต่ก็ยังต้องจำกัดจำนวนแคลอรีที่กินเข้าไป เพราะถ้าต้องการสลายไขมัน จะต้องกินแคลอรีให้น้อยกว่าที่ต้องเผาผลาญ
15. ความเชื่อ : ถ้าไม่ได้นอนหมดแรงลงบนพื้นหลังการออกกำลังกาย แสดงว่าไม่ได้ออกกำลังกายหนักพอ
ความจริง : ความเชื่อนี้เหลวไหลสิ้นดี เพราะการออกกำลังกายอย่างฉลาด ต้องให้ผลดีมากกว่า และเสี่ยงที่จะบาดเจ็บน้อยกว่าการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560 โดย เบญญา)
บางคนเลือกออกกำลังกายด้วยการเดิน ขี่จักรยาน เล่นกีฬา ฯลฯ แต่บางคนเลือกที่จะเข้าฟิตเนส แหล่งรวมการออกกำลังกายของคนยุคใหม่
แต่การเล่นฟิตเนสอย่างชาญฉลาด ต้องเริ่มต้นด้วยความรู้ที่ถูกต้อง จึงจะส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะยังมีความเชื่อเดิมๆ ที่จดจำต่อๆกันมา ซึ่งอาจไม่ถูกต้องนัก จึงควรทำความเข้าใจกันใหม่ ดังนี้
1. ความเชื่อ : อย่าออกกำลังกายขณะท้องว่าง
ความจริง : มีงานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์แล้วว่า การออกกำลังกายก่อนกินอาหารเช้า จะช่วยเผาผลาญไขมันได้มากกว่า
2. ความเชื่อ : จำเป็นต้องมีการยืดเหยียดก่อนออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ความจริง : งานวิจัยหลายชิ้นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ เผยว่า การยืดเหยียดหลังการออกกำลังกายมีประโยชน์มาก แต่การยืดเหยียดก่อนการออกกำลังกายไม่มีผลใดๆ ขณะที่การวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย เพื่อให้เลือดไหลเวียน กลับให้ประโยชน์มากกว่า
3. ความเชื่อ : การวิ่งบนเครื่องออกกำลังกายแบบสายพานวิ่ง สร้างแรงกระแทกที่หัวเข่า น้อยกว่าการวิ่งบนทางเท้า
ความจริง : น้ำหนักตัวต่างหากที่สร้างแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า ไม่ใช่พื้นผิวที่วิ่ง การลดอาการเข่าตึง ต้องอาศัยการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบเป็นประจำ
4. ความเชื่อ : ท่าซิทอัพและท่าเกร็งกล้ามเนื้อท้อง ช่วยสลายไขมันหน้าท้องได้ดี
ความจริง : การเกร็งกล้ามเนื้อท้องช่วยให้กล้ามเนื้อท้องแข็งแรง แต่ชั้นไขมันที่กล้ามเนื้อท้องจะสลายได้ ก็ด้วยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (แอโรบิก) และโภชนาการที่เหมาะสมเท่านั้น
5. ความเชื่อ : การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยกระตุ้นกระบวนการสันดาปให้ยาวนานขึ้น และเผาผลาญแคลอรีจำนวนมากตลอดวัน
ความจริง : กระบวนการสันดาปเพิ่มขึ้นก็จริง แต่จำนวนแคลอรีที่ถูกเผาผลาญ เพิ่มขึ้นเพียง 20 แคลอรีต่อวันเท่านั้น
6. ความเชื่อ : การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยลดน้ำหนักได้เห็นผลกว่าการเล่นเวทเทรนนิ่ง
ความจริง : การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยเผาผลาญไขมันและแคลอรี ทำให้น้ำหนักลดลง แต่เสี่ยงที่จะสูญเสียกล้ามเนื้อ และทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง รวมทั้งกระบวนการสันดาปจะทำงานช้าลง ทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบมากต่อการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว
7. ความเชื่อ : การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ที่ช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
ความจริง : น้ำช่วยพยุงร่างกายให้ลอยน้ำได้ แต่การว่ายน้ำไม่ใช่การออกกำลังกายที่เข้มข้นเท่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอรูปแบบอื่นๆ ดังนั้น จึงไม่ช่วยลดน้ำหนักเลย
8. ความเชื่อ : ผู้หญิงที่เล่นเวทเทรนนิ่ง (การฝึกด้วยน้ำหนัก) จะดูเหมือนนักเพาะกาย
ความจริง : โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายผู้หญิงไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เหมือนผู้ชาย ดังนั้น หากต้องการมีรูปร่างเหมือนนักเพาะกาย ก็จะต้องฝึกอย่างหนักหน่วง การเล่นเวทเทรนนิ่งเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็นในการเล่นฟิตเนสของผู้หญิง เพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ และเพื่อเผาผลาญไขมัน
9. ความเชื่อ : ท่าสควอท (ท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า สะโพก และหน้าท้อง) ทำให้เข่าตึงและบาดเจ็บ
ความจริง : ท่าสควอทเป็นท่าบริหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อหัวเข่า และยิ่งย่อลงลึกเท่าไร ยิ่งสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงได้มากขึ้นเท่านั้น
10. ความเชื่อ : การเล่นโยคะช่วยคลายอาการปวดหลัง
ความจริง : การเล่นโยคะช่วยคลายอาการปวดหลังที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อเท่านั้น ไม่ใช่อาการปวดหลังจากสาเหตุอื่น เพราะหากเป็นสาเหตุอื่น นอกจากโยคะจะไม่ช่วยให้หายปวดหลังแล้ว มันอาจยิ่งทำให้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น
11. ความเชื่อ : ถ้าไม่มีเหงื่อออกขณะออกกำลังกาย นั่นหมายความว่า ไม่ได้ออกกำลังกายหนักเพียงพอ
ความจริง : เหงื่อออกเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต่อสู้กับความร้อน เพื่อให้ร่างกายเย็นลง ไม่เกี่ยวกับการออกแรงมากหรือน้อย
12. ความเชื่อ : เราสามารถตั้งเป้าให้ไขมันส่วนไหนของร่างกายถูกเผาผลาญได้
ความจริง : การออกกำลังกายช่วยลดไขมันโดยรวมของร่างกาย แต่ไม่มีหนทางใดที่จะเลือกลดไขมันส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้มากหรือน้อยตามต้องการของแต่ละคนได้
13. ความเชื่อ : การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และยิ่งทำให้หิว
ความจริง : แต่งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า จริงๆแล้วการออกกำลังกายแบบเข้มข้น กลับช่วยลดความอยากอาหารและรู้สึกหิวได้จริงๆ
14. ความเชื่อ : ถ้าออกกำลังกายทุกวัน จะสามารถกินตามใจปาก แถมลดน้ำหนักได้ด้วย
ความจริง : แม้ว่าจะออกกำลังกายทุกวัน แต่ก็ยังต้องจำกัดจำนวนแคลอรีที่กินเข้าไป เพราะถ้าต้องการสลายไขมัน จะต้องกินแคลอรีให้น้อยกว่าที่ต้องเผาผลาญ
15. ความเชื่อ : ถ้าไม่ได้นอนหมดแรงลงบนพื้นหลังการออกกำลังกาย แสดงว่าไม่ได้ออกกำลังกายหนักพอ
ความจริง : ความเชื่อนี้เหลวไหลสิ้นดี เพราะการออกกำลังกายอย่างฉลาด ต้องให้ผลดีมากกว่า และเสี่ยงที่จะบาดเจ็บน้อยกว่าการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560 โดย เบญญา)