ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของคนเรา เพราะมีหน้าที่อบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความอบอุ่น ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ให้แก่สมาชิกในครอบครัว
ถึงแม้ครอบครัวจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม แต่ก็สามารถสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ที่สุดให้เกิดขึ้นได้ เพราะครอบครัวที่อบอุ่น แข็งแรง จะสร้างคนที่มีคุณภาพดีออกสู่สังคม ทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
และวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันครอบครัว” เพราะฉะนั้น จึงขอเสนอ 8 เคล็ดลับ วิธีสร้างครอบครัว Stronger Together อย่างยั่งยืน
1. สร้างสมดุลชีวิตงานและครอบครัว
ทุกๆคนในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป คนเป็นพ่อแม่เปรียบเหมือนเสาหลัก ที่ต้องทำงานหาเงินมาเลี้ยงดูลูกๆ ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในบ้าน ขณะที่คนเป็นลูกมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน ประพฤติตนเป็นลูกที่ดี ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของพ่อแม่
แต่ไม่ว่าจะเป็นบทบาทใดก็ตาม หากรู้จักสร้างสมดุลชีวิต รู้จักจัดแบ่งเวลาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด และให้เวลากับสมาชิกคนอื่นๆ ครอบครัวก็จะเข้มแข็งและเป็นสุขได้
2. ดูแลสุขภาพกายใจ
“อโรคยปรมา ลาภา” พุทธภาษิตที่แปลว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นั้น เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลา เพราะหากร่างกายเจ็บป่วย ย่อมส่งผลเสียต่อจิตใจ ในทางกลับกัน หากใจป่วยอาจลามไปถึงกายได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ครอบครัวจะเป็นสุขได้อย่างไร
ดังนั้น จึงควรหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพกายใจของตนเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หาเวลาว่างทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ อาทิ ดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ ฯลฯ ซึ่งเป็นเหมือนการชาร์ตแบต เพิ่มพลังชีวิต เมื่อกายพร้อม ใจพร้อม ครอบครัวก็ย่อม strong ไปด้วย
3. สร้างวินัย
วินัยที่ดีเริ่มต้นจากในครอบครัว เช่น การตรงต่อเวลา มีกาลเทศะ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย รู้จักค่าของเงิน ประหยัดอดออม เข้านอนตื่นนอนเป็นเวลา ฯลฯ เหล่านี้เมื่อกระทำต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้สมาชิกทุกคนรู้จักควบคุมตนเองได้แล้ว ยังช่วยให้ดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี ไม่ล่วงเกินสิทธิของผู้อื่น หรือประพฤติผิดมรรยาทสังคม
4. มีกฎกติกา
บ้านเมืองมี “กฎหมาย” เพื่อปกป้องทุกคนในชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ บ้านเราก็ต้องมี “กฎกติกา” เพื่อปกป้องสมาชิกจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่น การกำหนดเวลาในแต่ละวันในการดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นโทรศัพท์มือถือ เพื่อป้องกันสายตาหรือการใช้เวลาที่ไม่เหมาะสม หรือกฎกติกาในการใช้สิ่งต่างๆ ร่วมกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ กฎกติกาในบ้านควรได้รับความเห็นชอบจากทุกๆคน และเมื่อใครทำผิดกติกา ต้องมีบทลงโทษ สิ่งเหล่านี้แหละที่จะช่วยสร้างครอบครัวแข็งแรงได้ไม่ยาก
5. พูดคุยสื่อสาร
การพูดคุยสื่อสารภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่มีทางที่จะรู้ว่าสมาชิกแต่ละคนมีความรู้สึกหรือคิดเห็นเช่นไร หากไม่เคยได้นั่งพูดคุยสื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาสุขหรือทุกข์ บางคนอาจไม่อยากพูด ก็สามารถเขียนเป็นข้อความได้ เพราะแค่ได้รู้ว่า ยังมีคนอื่นๆคอยรับฟังอยู่ ก็เพียงพอที่จะช่วยให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป
ดังนั้น จึงควรหาเวลาพูดคุยสื่อสารกันในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลามีปัญหาเท่านั้น เรื่องที่พูดคุยกันอาจเป็นเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เหตุการณ์ต่างๆ การเรียน การงาน ซึ่งอาจมีทั้งเรื่องซีเรียสหรือสนุกสนาน
6. ทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกัน
พยายามจัดสรรเวลาให้ครอบครัว เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง อาจเป็นการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันในวันอาทิตย์ เดินออกกำลังกาย ทำสวน ทำงานบ้าน หรือนั่งดูทีวีด้วยกัน เพื่อให้เป็นเวลาของครอบครัวที่ทุกคนได้ทำสิ่งดีๆร่วมกัน
ซึ่งนอกจากจะได้ความสนุกสนานแล้ว การทำกิจกรรมร่วมกัน ยังสอนให้รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น และเสริมสร้างความผูกพัน ความสามัคคี ให้ครอบครัวแข็งแกร่งอีกด้วย
7. หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
คำพังเพยที่ว่า “สองหัวดีกว่าหัวเดียว” ยังใช้ได้ดีเสมอในยามที่เกิดปัญหาขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง หรือเกี่ยวข้องกับทุกๆคนในครอบครัว แต่จะยิ่งดีไปกว่านั้น หากมีหลายๆหัวช่วยกันคิด
เพราะการระดมความคิดเห็นจากทุกคน จะช่วยให้มองเห็นปัญหา และหนทางแก้ไข ในหลากหลายมุมมอง อันนำไปสู่การเลือกทางออกที่ดีที่สุด และถือเป็นการตัดสินใจที่ทุกคนมีส่วนร่วมกัน
8. เป็นกำลังใจให้กัน
ไม่ว่าจะเกิดเรื่องดีหรือร้ายภายในครอบครัว การอยู่เคียงข้างกันเพื่อร่วมยินดีหรือฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคงไม่มีใครอยากอยู่คนเดียวในโลกทั้งยามสุขและทุกข์ แต่ต้องการคนใกล้ตัวที่พร้อมจะแชร์ความรู้สึกทุกอย่างให้กัน
แต่เหนืออื่นใด กำลังใจของทุกคนในครอบครัว จะช่วยผลักดันให้เรายังคงเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ว่าทางข้างหน้าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ หรือเต็มไปด้วยขวากหนามก็ตาม
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย ประกายรุ้ง)
ถึงแม้ครอบครัวจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม แต่ก็สามารถสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ที่สุดให้เกิดขึ้นได้ เพราะครอบครัวที่อบอุ่น แข็งแรง จะสร้างคนที่มีคุณภาพดีออกสู่สังคม ทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
และวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันครอบครัว” เพราะฉะนั้น จึงขอเสนอ 8 เคล็ดลับ วิธีสร้างครอบครัว Stronger Together อย่างยั่งยืน
1. สร้างสมดุลชีวิตงานและครอบครัว
ทุกๆคนในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป คนเป็นพ่อแม่เปรียบเหมือนเสาหลัก ที่ต้องทำงานหาเงินมาเลี้ยงดูลูกๆ ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในบ้าน ขณะที่คนเป็นลูกมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน ประพฤติตนเป็นลูกที่ดี ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของพ่อแม่
แต่ไม่ว่าจะเป็นบทบาทใดก็ตาม หากรู้จักสร้างสมดุลชีวิต รู้จักจัดแบ่งเวลาเพื่อทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด และให้เวลากับสมาชิกคนอื่นๆ ครอบครัวก็จะเข้มแข็งและเป็นสุขได้
2. ดูแลสุขภาพกายใจ
“อโรคยปรมา ลาภา” พุทธภาษิตที่แปลว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นั้น เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลา เพราะหากร่างกายเจ็บป่วย ย่อมส่งผลเสียต่อจิตใจ ในทางกลับกัน หากใจป่วยอาจลามไปถึงกายได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ครอบครัวจะเป็นสุขได้อย่างไร
ดังนั้น จึงควรหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพกายใจของตนเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หาเวลาว่างทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ อาทิ ดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ ฯลฯ ซึ่งเป็นเหมือนการชาร์ตแบต เพิ่มพลังชีวิต เมื่อกายพร้อม ใจพร้อม ครอบครัวก็ย่อม strong ไปด้วย
3. สร้างวินัย
วินัยที่ดีเริ่มต้นจากในครอบครัว เช่น การตรงต่อเวลา มีกาลเทศะ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย รู้จักค่าของเงิน ประหยัดอดออม เข้านอนตื่นนอนเป็นเวลา ฯลฯ เหล่านี้เมื่อกระทำต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้สมาชิกทุกคนรู้จักควบคุมตนเองได้แล้ว ยังช่วยให้ดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี ไม่ล่วงเกินสิทธิของผู้อื่น หรือประพฤติผิดมรรยาทสังคม
4. มีกฎกติกา
บ้านเมืองมี “กฎหมาย” เพื่อปกป้องทุกคนในชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ บ้านเราก็ต้องมี “กฎกติกา” เพื่อปกป้องสมาชิกจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่น การกำหนดเวลาในแต่ละวันในการดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นโทรศัพท์มือถือ เพื่อป้องกันสายตาหรือการใช้เวลาที่ไม่เหมาะสม หรือกฎกติกาในการใช้สิ่งต่างๆ ร่วมกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ กฎกติกาในบ้านควรได้รับความเห็นชอบจากทุกๆคน และเมื่อใครทำผิดกติกา ต้องมีบทลงโทษ สิ่งเหล่านี้แหละที่จะช่วยสร้างครอบครัวแข็งแรงได้ไม่ยาก
5. พูดคุยสื่อสาร
การพูดคุยสื่อสารภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่มีทางที่จะรู้ว่าสมาชิกแต่ละคนมีความรู้สึกหรือคิดเห็นเช่นไร หากไม่เคยได้นั่งพูดคุยสื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาสุขหรือทุกข์ บางคนอาจไม่อยากพูด ก็สามารถเขียนเป็นข้อความได้ เพราะแค่ได้รู้ว่า ยังมีคนอื่นๆคอยรับฟังอยู่ ก็เพียงพอที่จะช่วยให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป
ดังนั้น จึงควรหาเวลาพูดคุยสื่อสารกันในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลามีปัญหาเท่านั้น เรื่องที่พูดคุยกันอาจเป็นเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เหตุการณ์ต่างๆ การเรียน การงาน ซึ่งอาจมีทั้งเรื่องซีเรียสหรือสนุกสนาน
6. ทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกัน
พยายามจัดสรรเวลาให้ครอบครัว เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง อาจเป็นการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันในวันอาทิตย์ เดินออกกำลังกาย ทำสวน ทำงานบ้าน หรือนั่งดูทีวีด้วยกัน เพื่อให้เป็นเวลาของครอบครัวที่ทุกคนได้ทำสิ่งดีๆร่วมกัน
ซึ่งนอกจากจะได้ความสนุกสนานแล้ว การทำกิจกรรมร่วมกัน ยังสอนให้รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น และเสริมสร้างความผูกพัน ความสามัคคี ให้ครอบครัวแข็งแกร่งอีกด้วย
7. หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
คำพังเพยที่ว่า “สองหัวดีกว่าหัวเดียว” ยังใช้ได้ดีเสมอในยามที่เกิดปัญหาขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง หรือเกี่ยวข้องกับทุกๆคนในครอบครัว แต่จะยิ่งดีไปกว่านั้น หากมีหลายๆหัวช่วยกันคิด
เพราะการระดมความคิดเห็นจากทุกคน จะช่วยให้มองเห็นปัญหา และหนทางแก้ไข ในหลากหลายมุมมอง อันนำไปสู่การเลือกทางออกที่ดีที่สุด และถือเป็นการตัดสินใจที่ทุกคนมีส่วนร่วมกัน
8. เป็นกำลังใจให้กัน
ไม่ว่าจะเกิดเรื่องดีหรือร้ายภายในครอบครัว การอยู่เคียงข้างกันเพื่อร่วมยินดีหรือฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคงไม่มีใครอยากอยู่คนเดียวในโลกทั้งยามสุขและทุกข์ แต่ต้องการคนใกล้ตัวที่พร้อมจะแชร์ความรู้สึกทุกอย่างให้กัน
แต่เหนืออื่นใด กำลังใจของทุกคนในครอบครัว จะช่วยผลักดันให้เรายังคงเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ว่าทางข้างหน้าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ หรือเต็มไปด้วยขวากหนามก็ตาม
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย ประกายรุ้ง)