“นิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ ย่อมไม่ใช่ดวงจันทร์
มันเป็นเพียงดัชนีชี้บอกทางเท่านั้น
คำสอนหรือกฎแห่งความสำเร็จ ก็ไม่ใช่ความสำเร็จ
มันเป็นเพียงทฤษฎีบอกวิธีการไปสู่ความสำเร็จเท่านั้น”
ที่กล่าวมาเช่นนี้เพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า เมื่อเรียนแล้ว รู้แล้ว ก็อย่ายึดติดถือมั่นอยู่กับองค์ความรู้นั้น กระทั่งละเลยการลงมือปฏิบัติ ด้วยการนำมาปรับใช้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตน เพื่อพิสูจน์ผลให้รู้แจ้งเห็นจริงผ่านประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง
เพราะคงไม่มีใครคิดจะเอาฟันปลอมของคนอื่นมาใส่ เพื่อเคี้ยวอาหาร หรือไม่มีใครอยากใส่แว่นสายตาของคนอื่น เพื่อมองโลกไปตลอดชีวิตแน่ๆ เช่นเดียวกัน ทฤษฎีวิชาการ หรือสูตรแห่งความสำเร็จใดๆ ก็ล้วนแต่เป็นเพียงประสบการณ์ของคนอื่นที่ผ่านชีวิตมาก่อน แล้วนำมาเขียนไว้เป็นตำรา แต่ตำรายังไม่ใช่ความสำเร็จ ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย มันเป็นแค่แผนที่บอกทางไปสู่ความสำเร็จเท่านั้น
ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนน่าจะรู้ดีว่า พุทธศาสนามีเป้าหมายทางการศึกษาที่พระพุทธองค์ได้วางระบบในการเข้าถึงไว้อย่างเป็นระเบียบชัดเจนแล้วว่า “รู้ทฤษฎี ลงมือปฏิบัติ ผลที่ได้รับ” ภาษาพระเรียกว่า “ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ” นั่นหมายความว่า เราต้องไม่ปฏิเสธที่จะเรียนรู้ทฤษฎี แต่เรียนแล้ว รู้แล้ว ต้องลงมือปฏิบัติด้วย โดยเฉพาะธรรมะ อย่าเรียนเพียงเพื่อนำความรู้จากหลักธรรม มาโต้แย้งถกเถียงกัน แต่เรียนเพื่อนำธรรมะมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตน
ปัจจุบันนี้ โลกเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ผู้คนต้องทำงานแข่งกันด้วยความรวดเร็ว ดังนั้น คนที่นอนกอดอยู่กับทฤษฎีอย่างไม่รู้จักปล่อยวางความยึดติด ไม่พร้อมที่จะปรับตัวปรับองค์ความรู้ที่มี ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ต่างจากคนเขลาที่หลงเข้าใจว่า นิ้วที่ชี้บอกดวงจันทร์นั้น คือดวงจันทร์จริงๆ
บุคคลหรือองค์กรใดเข้าข่ายลักษณะนี้ ก็เตรียมสูญพันธุ์ได้เลย ดังที่ “ชาร์ล ดาร์วิน” เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการกล่าวไว้ว่า
“เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอด มิใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดสุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวเก่งที่สุดต่างหาก”
ดังนั้น ต้องรู้จักปรับตัว ปล่อยวางความยึดติดอยู่กับวิธีเก่าๆ ความสำเร็จเดิมๆที่เคยทำได้ ในขณะที่สถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนไปแล้ว
ดังเช่นการทดลองในการวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งจับผึ้ง 6 ตัวใส่ในขวด และจับแมลงวัน 6 ตัวใส่ไว้ในขวดอีกใบ จากนั้นค่อยๆวางขวดนอนลง โดยหันก้นขวดไปทางหน้าต่าง พบว่าผึ้งพยายามที่จะบินออกทางก้นขวด มันบินวนเวียนอยู่ที่ตรงนั้น แม้จะออกไม่ได้ก็ตาม จนกระทั่งต้องตายเพราะขาดอากาศหรือขาดอาหาร ในขณะที่แมลงวันจะบินออกมาทางฝั่งคอขวด ที่อยู่ด้านตรงข้าม
เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผึ้งเป็นสัตว์ฉลาด มีองค์ความรู้ พวกมันรู้ว่าการบินไปในทิศทางที่มีแสงสว่างจะเป็นทางออกจากรัง โพรงไม้ ในซอกหลืบที่มืดมิดเสมอ แต่เมื่อต้องมาอยู่ในขวด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผึ้งไม่เคยเผชิญมาก่อน มันก็ยังคงยึดติดอยู่กับความเชื่อแบบเดิมที่มีมาตลอด คือ ต้องบินออกทางแสงสว่างเท่านั้น
แต่สำหรับแมลงวัน มันเป็นสัตว์ที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ดังนั้น เมื่อถูกจับไว้ในขวด มันจึงบินชนผนังขวดจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง ลองผิดลองถูกเรื่อยไป กระทั่งมาพบทางออกได้ในที่สุด
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า คนฉลาด รู้มาก ก็สามารถล้มเหลวได้เพราะความรู้มาก หากขืนยังหลงยึดติดถือมั่นอยู่ในความรู้เก่าหรือสูตรสำเร็จเดิมๆ อย่างไม่รู้จักปล่อยวาง แล้วเริ่มต้นใหม่ในสิ่งที่ต่างออกไป ในขณะที่ผู้ไม่รู้ก็อาจจะประสบความสำเร็จ จากการลองทำในสิ่งที่แตกต่างไปเรื่อยๆได้เช่นกัน
และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมอาจารย์ที่สอนบริหารธุรกิจหลายท่าน จึงล้มเหลวในการประกอบธุรกิจ ทั้งๆที่มีความรู้มีทฤษฎีแน่นมาก ในขณะที่ผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจหลายคน ไม่ได้รู้ในทฤษฏีอะไรมากมาย บางท่านจบแค่ ม.3 ด้วยซ้ำ แต่เพราะการลงมือทำแบบลองผิดลองถูก ในที่สุดก็คลำถูกเป้าแห่งความสำเร็จ นั่นเพราะท่านเหล่านั้นไร้รูปแบบ ไม่มีทฤษฎีให้คิดให้ยึดติดมากมายอะไรเหมือนนักวิชาการ ดังปรัชญาของ “บรูซ ลี” ดารากังฟูชื่อสะท้านฮอลลีวู้ดกล่าวไว้
“จงทำจิตให้โล่งว่าง
ทำตนให้ไร้แบบแผน ไร้รูปร่าง เหมือนน้ำ
น้ำเมื่อนำมาใส่แก้ว มันจะกลายเป็นแก้ว
เอามาใส่ขวด มันก็จะกลายเป็นขวด
ใส่ลงไปในกา(น้ำ) มันก็จะกลายเป็นกาน้ำ
บางครั้งก็ไหลเอื่อยเฉื่อยช้า
แต่บางครั้งก็ซัดพุ่งกระหน่ำถาโถมเข้ามาอย่างรุนแรง
ฉะนั้น จงเป็นน้ำเถิดสหายข้า”
ทว่าการที่เราจะทำตนทำจิตให้โล่งว่างไร้รูปแบบเหมือนน้ำได้ อันดับแรกต้องพร้อมที่จะปรับตัวในทุกสถานการณ์ นั่นหมายถึง ต้องยอมปล่อยวางความยึดติดถือมั่นในสิ่งเดิมๆออกไป คือต้องโละของเก่าทิ้ง ลืมทฤษฏีเดิมๆไปก่อน
ลองนึกภาพถึงในห้องเรียน หากบนกระดานไวท์บอร์ดเต็มไปด้วยรอยปากกาเคมี ที่เขียนทฤษฎีต่างๆมากมายเต็มไปหมด การที่จะเขียนทฤษฎีใหม่ใส่เข้าไปอีกย่อมทำไม่ได้ ฉะนั้น อาจารย์ก็จำเป็นต้องลบข้อมูลเก่าทิ้ง เพื่อให้กระดานมีพื้นที่ว่างพอที่จะเขียนทฤษฎีใหม่
สอดคล้องกับที่ “กฤษณมูรติ” ปราชญ์ชาวอินเดียแนะนำ “การลบทิ้ง นำมาซึ่งสิ่งที่นิ่งและเงียบสงบ ความสงบเงียบคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า ‘สุญญตา’ เป็นความว่างเปล่า มันหมายถึงความไม่มีอะไร และด้วยความไม่มีอะไรนี้เท่านั้น ที่จะทำให้ทุกอย่างลื่นไหลไปได้ในโลกของความจริงที่เหนือสมมติ”
ฉะนั้น จงปล่อยวาง อย่าได้ยึดติดอยู่กับทฤษฎีหรือคำสอน เพราะความรู้ต่างๆที่ใช้ได้ผลในสถานการณ์หนึ่ง แต่เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป บางทีความรู้นั้นก็อาจใช้ไม่ได้ผล ในกรณีนี้เราก็ต้องปรับตัวเรียนรู้กันใหม่อีกครั้ง ดังใน อลคัททูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่ม 12 ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงธรรม มีอุปมาเหมือนเรือหรือแพข้ามฟากแก่พวกเธอ เพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่ต้องการให้ยึดติดถือมั่น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้เดินทางไกล พบแม่น้ำขวางหน้า ฝั่งข้างนี้มีภัยอันตราย ส่วนฝั่งข้างโน้นเป็นที่สบายปลอดภัย เรือหรือสะพานจะข้ามฝั่งก็ไม่มี บุคคลผู้นั้นคิดว่าจะช้าไม่ได้ อันตราย เขาจึงรวบรวมกิ่งไม้และใบไม้ มาผูกเป็นแพให้ลอยน้ำ แล้วใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำด้วยความพยายาม กระทั่งข้ามแม่น้ำนั้นได้โดยปลอดภัย เขาจึงคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรามาก เราอาศัยแพนี้มาจึงข้ามพ้นอันตรายได้ อย่ากระนั้นเลย เราควรยกเอาแพนี้ขึ้นทูนหัวไปด้วยดีกว่า แล้วเขาก็เอาแพนั้นขึ้นทูนหัวเดินไป
ภิกษุทั้งหลาย! การกระทำของบุคคลผู้นี้ ชื่อว่าทำไม่ถูก ปฏิบัติไม่ถูกต่อหน้าที่ ทางที่ถูกนั้นเมื่อเขาอาศัยแพข้ามฝั่งได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยกแพขึ้นบก ควรปล่อยให้ลอยเอาไว้ในน้ำนั่นแหละ แล้วเขาก็เดินไปแต่ตัว อย่างนี้จึงชื่อว่าทำได้ถูกต้องต่อแพนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น
การที่เราแสดงธรรมมีอุปมาเหมือนแพ เพื่อต้องการให้พวกเธอสละออก ไม่ใช่เพื่อให้ยึดติดถือมั่นอยู่ในธรรม”
สรุปความสั้นๆตรงนี้ว่า นิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ ย่อมไม่ใช่ดวงจันทร์ เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอด ก็ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดสุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวได้เก่งที่สุด
ทว่าการปรับตัวได้ดี เราก็จำเป็นต้องรู้จักการปล่อยวาง ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ ฉะนั้น จงเป็น Water เถิด กัลยาณมิตรเอ๋ย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย ทาสโพธิญาณ)
มันเป็นเพียงดัชนีชี้บอกทางเท่านั้น
คำสอนหรือกฎแห่งความสำเร็จ ก็ไม่ใช่ความสำเร็จ
มันเป็นเพียงทฤษฎีบอกวิธีการไปสู่ความสำเร็จเท่านั้น”
ที่กล่าวมาเช่นนี้เพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า เมื่อเรียนแล้ว รู้แล้ว ก็อย่ายึดติดถือมั่นอยู่กับองค์ความรู้นั้น กระทั่งละเลยการลงมือปฏิบัติ ด้วยการนำมาปรับใช้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตน เพื่อพิสูจน์ผลให้รู้แจ้งเห็นจริงผ่านประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง
เพราะคงไม่มีใครคิดจะเอาฟันปลอมของคนอื่นมาใส่ เพื่อเคี้ยวอาหาร หรือไม่มีใครอยากใส่แว่นสายตาของคนอื่น เพื่อมองโลกไปตลอดชีวิตแน่ๆ เช่นเดียวกัน ทฤษฎีวิชาการ หรือสูตรแห่งความสำเร็จใดๆ ก็ล้วนแต่เป็นเพียงประสบการณ์ของคนอื่นที่ผ่านชีวิตมาก่อน แล้วนำมาเขียนไว้เป็นตำรา แต่ตำรายังไม่ใช่ความสำเร็จ ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย มันเป็นแค่แผนที่บอกทางไปสู่ความสำเร็จเท่านั้น
ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนน่าจะรู้ดีว่า พุทธศาสนามีเป้าหมายทางการศึกษาที่พระพุทธองค์ได้วางระบบในการเข้าถึงไว้อย่างเป็นระเบียบชัดเจนแล้วว่า “รู้ทฤษฎี ลงมือปฏิบัติ ผลที่ได้รับ” ภาษาพระเรียกว่า “ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ” นั่นหมายความว่า เราต้องไม่ปฏิเสธที่จะเรียนรู้ทฤษฎี แต่เรียนแล้ว รู้แล้ว ต้องลงมือปฏิบัติด้วย โดยเฉพาะธรรมะ อย่าเรียนเพียงเพื่อนำความรู้จากหลักธรรม มาโต้แย้งถกเถียงกัน แต่เรียนเพื่อนำธรรมะมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตน
ปัจจุบันนี้ โลกเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ผู้คนต้องทำงานแข่งกันด้วยความรวดเร็ว ดังนั้น คนที่นอนกอดอยู่กับทฤษฎีอย่างไม่รู้จักปล่อยวางความยึดติด ไม่พร้อมที่จะปรับตัวปรับองค์ความรู้ที่มี ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ต่างจากคนเขลาที่หลงเข้าใจว่า นิ้วที่ชี้บอกดวงจันทร์นั้น คือดวงจันทร์จริงๆ
บุคคลหรือองค์กรใดเข้าข่ายลักษณะนี้ ก็เตรียมสูญพันธุ์ได้เลย ดังที่ “ชาร์ล ดาร์วิน” เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการกล่าวไว้ว่า
“เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอด มิใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดสุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวเก่งที่สุดต่างหาก”
ดังนั้น ต้องรู้จักปรับตัว ปล่อยวางความยึดติดอยู่กับวิธีเก่าๆ ความสำเร็จเดิมๆที่เคยทำได้ ในขณะที่สถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนไปแล้ว
ดังเช่นการทดลองในการวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งจับผึ้ง 6 ตัวใส่ในขวด และจับแมลงวัน 6 ตัวใส่ไว้ในขวดอีกใบ จากนั้นค่อยๆวางขวดนอนลง โดยหันก้นขวดไปทางหน้าต่าง พบว่าผึ้งพยายามที่จะบินออกทางก้นขวด มันบินวนเวียนอยู่ที่ตรงนั้น แม้จะออกไม่ได้ก็ตาม จนกระทั่งต้องตายเพราะขาดอากาศหรือขาดอาหาร ในขณะที่แมลงวันจะบินออกมาทางฝั่งคอขวด ที่อยู่ด้านตรงข้าม
เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผึ้งเป็นสัตว์ฉลาด มีองค์ความรู้ พวกมันรู้ว่าการบินไปในทิศทางที่มีแสงสว่างจะเป็นทางออกจากรัง โพรงไม้ ในซอกหลืบที่มืดมิดเสมอ แต่เมื่อต้องมาอยู่ในขวด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผึ้งไม่เคยเผชิญมาก่อน มันก็ยังคงยึดติดอยู่กับความเชื่อแบบเดิมที่มีมาตลอด คือ ต้องบินออกทางแสงสว่างเท่านั้น
แต่สำหรับแมลงวัน มันเป็นสัตว์ที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ดังนั้น เมื่อถูกจับไว้ในขวด มันจึงบินชนผนังขวดจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง ลองผิดลองถูกเรื่อยไป กระทั่งมาพบทางออกได้ในที่สุด
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า คนฉลาด รู้มาก ก็สามารถล้มเหลวได้เพราะความรู้มาก หากขืนยังหลงยึดติดถือมั่นอยู่ในความรู้เก่าหรือสูตรสำเร็จเดิมๆ อย่างไม่รู้จักปล่อยวาง แล้วเริ่มต้นใหม่ในสิ่งที่ต่างออกไป ในขณะที่ผู้ไม่รู้ก็อาจจะประสบความสำเร็จ จากการลองทำในสิ่งที่แตกต่างไปเรื่อยๆได้เช่นกัน
และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมอาจารย์ที่สอนบริหารธุรกิจหลายท่าน จึงล้มเหลวในการประกอบธุรกิจ ทั้งๆที่มีความรู้มีทฤษฎีแน่นมาก ในขณะที่ผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจหลายคน ไม่ได้รู้ในทฤษฏีอะไรมากมาย บางท่านจบแค่ ม.3 ด้วยซ้ำ แต่เพราะการลงมือทำแบบลองผิดลองถูก ในที่สุดก็คลำถูกเป้าแห่งความสำเร็จ นั่นเพราะท่านเหล่านั้นไร้รูปแบบ ไม่มีทฤษฎีให้คิดให้ยึดติดมากมายอะไรเหมือนนักวิชาการ ดังปรัชญาของ “บรูซ ลี” ดารากังฟูชื่อสะท้านฮอลลีวู้ดกล่าวไว้
“จงทำจิตให้โล่งว่าง
ทำตนให้ไร้แบบแผน ไร้รูปร่าง เหมือนน้ำ
น้ำเมื่อนำมาใส่แก้ว มันจะกลายเป็นแก้ว
เอามาใส่ขวด มันก็จะกลายเป็นขวด
ใส่ลงไปในกา(น้ำ) มันก็จะกลายเป็นกาน้ำ
บางครั้งก็ไหลเอื่อยเฉื่อยช้า
แต่บางครั้งก็ซัดพุ่งกระหน่ำถาโถมเข้ามาอย่างรุนแรง
ฉะนั้น จงเป็นน้ำเถิดสหายข้า”
ทว่าการที่เราจะทำตนทำจิตให้โล่งว่างไร้รูปแบบเหมือนน้ำได้ อันดับแรกต้องพร้อมที่จะปรับตัวในทุกสถานการณ์ นั่นหมายถึง ต้องยอมปล่อยวางความยึดติดถือมั่นในสิ่งเดิมๆออกไป คือต้องโละของเก่าทิ้ง ลืมทฤษฏีเดิมๆไปก่อน
ลองนึกภาพถึงในห้องเรียน หากบนกระดานไวท์บอร์ดเต็มไปด้วยรอยปากกาเคมี ที่เขียนทฤษฎีต่างๆมากมายเต็มไปหมด การที่จะเขียนทฤษฎีใหม่ใส่เข้าไปอีกย่อมทำไม่ได้ ฉะนั้น อาจารย์ก็จำเป็นต้องลบข้อมูลเก่าทิ้ง เพื่อให้กระดานมีพื้นที่ว่างพอที่จะเขียนทฤษฎีใหม่
สอดคล้องกับที่ “กฤษณมูรติ” ปราชญ์ชาวอินเดียแนะนำ “การลบทิ้ง นำมาซึ่งสิ่งที่นิ่งและเงียบสงบ ความสงบเงียบคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า ‘สุญญตา’ เป็นความว่างเปล่า มันหมายถึงความไม่มีอะไร และด้วยความไม่มีอะไรนี้เท่านั้น ที่จะทำให้ทุกอย่างลื่นไหลไปได้ในโลกของความจริงที่เหนือสมมติ”
ฉะนั้น จงปล่อยวาง อย่าได้ยึดติดอยู่กับทฤษฎีหรือคำสอน เพราะความรู้ต่างๆที่ใช้ได้ผลในสถานการณ์หนึ่ง แต่เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป บางทีความรู้นั้นก็อาจใช้ไม่ได้ผล ในกรณีนี้เราก็ต้องปรับตัวเรียนรู้กันใหม่อีกครั้ง ดังใน อลคัททูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่ม 12 ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงธรรม มีอุปมาเหมือนเรือหรือแพข้ามฟากแก่พวกเธอ เพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่ต้องการให้ยึดติดถือมั่น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้เดินทางไกล พบแม่น้ำขวางหน้า ฝั่งข้างนี้มีภัยอันตราย ส่วนฝั่งข้างโน้นเป็นที่สบายปลอดภัย เรือหรือสะพานจะข้ามฝั่งก็ไม่มี บุคคลผู้นั้นคิดว่าจะช้าไม่ได้ อันตราย เขาจึงรวบรวมกิ่งไม้และใบไม้ มาผูกเป็นแพให้ลอยน้ำ แล้วใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำด้วยความพยายาม กระทั่งข้ามแม่น้ำนั้นได้โดยปลอดภัย เขาจึงคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรามาก เราอาศัยแพนี้มาจึงข้ามพ้นอันตรายได้ อย่ากระนั้นเลย เราควรยกเอาแพนี้ขึ้นทูนหัวไปด้วยดีกว่า แล้วเขาก็เอาแพนั้นขึ้นทูนหัวเดินไป
ภิกษุทั้งหลาย! การกระทำของบุคคลผู้นี้ ชื่อว่าทำไม่ถูก ปฏิบัติไม่ถูกต่อหน้าที่ ทางที่ถูกนั้นเมื่อเขาอาศัยแพข้ามฝั่งได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยกแพขึ้นบก ควรปล่อยให้ลอยเอาไว้ในน้ำนั่นแหละ แล้วเขาก็เดินไปแต่ตัว อย่างนี้จึงชื่อว่าทำได้ถูกต้องต่อแพนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น
การที่เราแสดงธรรมมีอุปมาเหมือนแพ เพื่อต้องการให้พวกเธอสละออก ไม่ใช่เพื่อให้ยึดติดถือมั่นอยู่ในธรรม”
สรุปความสั้นๆตรงนี้ว่า นิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ ย่อมไม่ใช่ดวงจันทร์ เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอด ก็ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดสุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวได้เก่งที่สุด
ทว่าการปรับตัวได้ดี เราก็จำเป็นต้องรู้จักการปล่อยวาง ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ ฉะนั้น จงเป็น Water เถิด กัลยาณมิตรเอ๋ย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย ทาสโพธิญาณ)