• วิธีฝึกความกล้า
ปุจฉา :
อยากเรียนถามหลวงปู่ ว่าการจะสร้างความกล้าให้กับตนเอง ควรทำอย่างไร เพราะรู้สึกว่า เราเป็นคนไม่ค่อยมีความกล้าหาญในการตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ เนื่องเพราะเกรงกลัวสายตาและคำตำหนิจากผู้อื่น ทั้งที่บางครั้งเราค่อนข้างแน่ใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ค่อยมีความมั่นใจเท่าไหร่ เลยไม่ได้แสดงออกไป
วิสัชนา :
หัดทำอะไรด้วยใจ ตั้งใจ เต็มใจ จริงใจ แม้เรื่องเล็กๆน้อย เมื่องานนั้นๆสำเร็จ คุณก็จะรู้สึกภาคภูมิยินดีในใจ ความภาคภูมิยินดีเมื่อเกิดขึ้นกับคุณบ่อยๆ คุณจะเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น
อีกวิธีหนึ่งคือ การฝึกสติอาจจะฝึกจากการรับรู้ลมหายใจ ที่เข้าและออกในกายคุณก็ได้ หรือไม่ก็มีสติรู้ว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ เช่น ยืนก็รู้ว่ายืนอยู่ เดินก็รู้ว่าเดินอยู่ นั่งก็รู้ว่านั่งอยู่ นอนก็รู้ว่านอนอยู่ รู้ให้ชัดเช่นนี้ ก็เป็นการฝึกให้เกิดความมั่นใจได้เหมือนกัน
• ใครคือสัตบุรุษ
ปุจฉา : นมัสการหลวงปู่ที่เคารพ
1. สัตบุรุษคืออะไร ใครจัดได้ว่าเป็นสัตบุรุษ
2. หลักคำสอนที่ว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม หมายความว่าอย่างไร ปัจจุบันยังเป็นจริงหรือไม่
3. คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมของผู้กำลังศึกษา คืออะไร
วิสัชนา : 1. สัตบุรุษ คือ บุรุษผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือบุรุษผู้มีคุณสมบัติผู้ดี มี 7 อย่าง
• รู้จักเหตุ เรียกว่า ธัมมัญญุตา
• รู้จักผล เรียกว่า อัตถัญญุตา
• รู้จักตน เรียกว่า อัตตัญญุตา
• รู้จักประมาณ เรียกว่า มัตตัญญุตา
• รู้จักกาล เรียกว่า กาลัญญุตา
• รู้จักสังคม เรียกว่า ปริสัญญุตา
• รู้จักบุคคล เรียกว่า ปุคคลัญญุตา
คนมีธรรมทั้ง 7 ดังกล่าวนี้ จึงได้ชื่อว่า สัตตบุรุษ
2. ผู้มีธรรมย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ ทั้งอารมณ์ชอบและชัง เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอารมณ์ชอบจะเกิดความเมาประมาท ขาดสติ อาจทำพูดคิดผิด ผู้ที่ตกอยู่ในอารมณ์ชัง อาจเผลอแสดงกิริยาน่ารังเกียจ จนกลายเป็นคนผิดคนเลวในสังคม
3. ค่านิยมของผู้กำลังศึกษาในปัจจุบัน มักจะคล้อยตามวัตถุนิยมและความฟุ่มเฟือย ลื่นไหลไปตามแฟชั่น สุดท้ายค่านิยมเหล่านั้นก็กลับมาล้างผลาญตนเอง ล้างผลาญเศรษฐกิจ อนาคต และแม้กระทั่งชีวิต
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนรุ่นใหม่เดินตามก้นต่างชาติมากเกินไปจนลืมชีวิตไทยๆ ซึ่งเต็มพร้อมไปด้วยความละอายชั่วกลัวบาป นี่เรียกว่าคุณธรรม ส่วนจริยธรรมคือการลงมือปฏิบัติดี พูดดี คิดดี
• การใช้สติเป็นการสร้างอัตตาหรือไม่
ปุจฉา : กราบเท้าหลวงปู่ที่เคารพ
การใช้สติรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นในกายก็ดี นอกกายก็ดี เหตุใดจึงไม่เป็นการสร้างอัตตาตัวตนขึ้นมาครับ เพราะผู้มีสติระลึกรู้ก็คือตัวเรานี่ครับ ขอความกรุณาวิสัชนาแก่ผู้ไม่รู้ด้วยครับ
วิสัชนา :
พระบรมศาสดาท่านสอนให้มีสติระลึกรู้ตามความเป็นจริงทั้งในและนอกกาย ก็เพื่อจะได้เห็นธรรมชาติแท้ของร่างกายและสรรพสิ่งว่า ประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ
ธาตุทั้ง 4 ประชุมรวมกันอยู่ได้ ก็เพราะอิงอาศัยเหตุปัจจัย คราใดที่เหตุปัจจัยแตกดับ ธาตุทั้ง 4 แยกแตกจากกัน ก็เป็นอันว่าสรรพสิ่งและกายนั้นๆก็มิได้มีตัวตนที่แท้จริง
มีสติเฝ้าดูตามความเป็นจริงเช่นนี้ จะถือว่าเป็นการสร้างอัตตาได้อย่างไร
ลองทำดู ถ้าคุณทำได้ถูกตรง ก็ถือว่าคุณมีวาสนา
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)
ปุจฉา :
อยากเรียนถามหลวงปู่ ว่าการจะสร้างความกล้าให้กับตนเอง ควรทำอย่างไร เพราะรู้สึกว่า เราเป็นคนไม่ค่อยมีความกล้าหาญในการตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ เนื่องเพราะเกรงกลัวสายตาและคำตำหนิจากผู้อื่น ทั้งที่บางครั้งเราค่อนข้างแน่ใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ค่อยมีความมั่นใจเท่าไหร่ เลยไม่ได้แสดงออกไป
วิสัชนา :
หัดทำอะไรด้วยใจ ตั้งใจ เต็มใจ จริงใจ แม้เรื่องเล็กๆน้อย เมื่องานนั้นๆสำเร็จ คุณก็จะรู้สึกภาคภูมิยินดีในใจ ความภาคภูมิยินดีเมื่อเกิดขึ้นกับคุณบ่อยๆ คุณจะเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น
อีกวิธีหนึ่งคือ การฝึกสติอาจจะฝึกจากการรับรู้ลมหายใจ ที่เข้าและออกในกายคุณก็ได้ หรือไม่ก็มีสติรู้ว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ เช่น ยืนก็รู้ว่ายืนอยู่ เดินก็รู้ว่าเดินอยู่ นั่งก็รู้ว่านั่งอยู่ นอนก็รู้ว่านอนอยู่ รู้ให้ชัดเช่นนี้ ก็เป็นการฝึกให้เกิดความมั่นใจได้เหมือนกัน
• ใครคือสัตบุรุษ
ปุจฉา : นมัสการหลวงปู่ที่เคารพ
1. สัตบุรุษคืออะไร ใครจัดได้ว่าเป็นสัตบุรุษ
2. หลักคำสอนที่ว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม หมายความว่าอย่างไร ปัจจุบันยังเป็นจริงหรือไม่
3. คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมของผู้กำลังศึกษา คืออะไร
วิสัชนา : 1. สัตบุรุษ คือ บุรุษผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือบุรุษผู้มีคุณสมบัติผู้ดี มี 7 อย่าง
• รู้จักเหตุ เรียกว่า ธัมมัญญุตา
• รู้จักผล เรียกว่า อัตถัญญุตา
• รู้จักตน เรียกว่า อัตตัญญุตา
• รู้จักประมาณ เรียกว่า มัตตัญญุตา
• รู้จักกาล เรียกว่า กาลัญญุตา
• รู้จักสังคม เรียกว่า ปริสัญญุตา
• รู้จักบุคคล เรียกว่า ปุคคลัญญุตา
คนมีธรรมทั้ง 7 ดังกล่าวนี้ จึงได้ชื่อว่า สัตตบุรุษ
2. ผู้มีธรรมย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ ทั้งอารมณ์ชอบและชัง เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอารมณ์ชอบจะเกิดความเมาประมาท ขาดสติ อาจทำพูดคิดผิด ผู้ที่ตกอยู่ในอารมณ์ชัง อาจเผลอแสดงกิริยาน่ารังเกียจ จนกลายเป็นคนผิดคนเลวในสังคม
3. ค่านิยมของผู้กำลังศึกษาในปัจจุบัน มักจะคล้อยตามวัตถุนิยมและความฟุ่มเฟือย ลื่นไหลไปตามแฟชั่น สุดท้ายค่านิยมเหล่านั้นก็กลับมาล้างผลาญตนเอง ล้างผลาญเศรษฐกิจ อนาคต และแม้กระทั่งชีวิต
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนรุ่นใหม่เดินตามก้นต่างชาติมากเกินไปจนลืมชีวิตไทยๆ ซึ่งเต็มพร้อมไปด้วยความละอายชั่วกลัวบาป นี่เรียกว่าคุณธรรม ส่วนจริยธรรมคือการลงมือปฏิบัติดี พูดดี คิดดี
• การใช้สติเป็นการสร้างอัตตาหรือไม่
ปุจฉา : กราบเท้าหลวงปู่ที่เคารพ
การใช้สติรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นในกายก็ดี นอกกายก็ดี เหตุใดจึงไม่เป็นการสร้างอัตตาตัวตนขึ้นมาครับ เพราะผู้มีสติระลึกรู้ก็คือตัวเรานี่ครับ ขอความกรุณาวิสัชนาแก่ผู้ไม่รู้ด้วยครับ
วิสัชนา :
พระบรมศาสดาท่านสอนให้มีสติระลึกรู้ตามความเป็นจริงทั้งในและนอกกาย ก็เพื่อจะได้เห็นธรรมชาติแท้ของร่างกายและสรรพสิ่งว่า ประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ
ธาตุทั้ง 4 ประชุมรวมกันอยู่ได้ ก็เพราะอิงอาศัยเหตุปัจจัย คราใดที่เหตุปัจจัยแตกดับ ธาตุทั้ง 4 แยกแตกจากกัน ก็เป็นอันว่าสรรพสิ่งและกายนั้นๆก็มิได้มีตัวตนที่แท้จริง
มีสติเฝ้าดูตามความเป็นจริงเช่นนี้ จะถือว่าเป็นการสร้างอัตตาได้อย่างไร
ลองทำดู ถ้าคุณทำได้ถูกตรง ก็ถือว่าคุณมีวาสนา
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)