การพิจารณาธรรมะ ไม่จำเป็นจะต้องพิจารณาให้กว้างขวางมากมาย สำหรับผู้ต้องการความสงบสุขและความสว่างไสว ความเฉลียวฉลาด
พิจารณาไตรลักษณ์ที่กายกับใจ
การถอดถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกภายในใจ กายของเรา ใจของเรานี้ เป็นสิ่งที่สมบูรณ์แล้ว สำหรับเป็นสถานที่พิจารณา แต่การที่จะพิจารณาไปเกี่ยวกับสิ่งภายนอก เพื่อเทียบเข้ามากับเรื่องภายในนั้น เป็นธรรมอันสมควรแก่ท่านผู้ปฏิบัติเหมือนกัน
ปัญญาขั้นต้น หากเราไม่สามารถให้เป็นปัญญาขึ้นมาทีเดียว ก็กรุณาพิจารณาเอาสัญญา(ความจำได้หมายรู้) เป็นเครื่องคาดหมายไว้ แล้วไตร่ตรองไปตามสภาพความจริงของเขา
เราจะแยกออกไปทางข้างนอกถึงสัตว์ ถึงบุคคล ถึงต้นไม้ภูเขา หรือสภาพทั่วๆ ไปที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วย หู แล้วเทียบเคียงกันกับตัวของเรา จะมีอะไรเป็นหลักยืนตัวไว้ สำหรับสภาพทั้งหลายเหล่านั้นกับตัวของเรา จะต้องปรากฏเรื่องของไตรลักษณ์เป็นหลักประจำโลกทั่วๆ ไป ไม่มีชิ้นใดส่วนใดที่จะเหลือจากหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ไปได้เลย
เพราะฉะนั้น หลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นธรรมรับรองหรือเป็นทางเดินอันราบรื่นของปัญญาผู้ใคร่จะพินิจพิจารณาตาม
มองดูสภาพใดชิ้นใดจะเห็นเป็นเรื่องของไตรลักษณ์เต็มอยู่ในชิ้นนั้นสิ่งนั้นไม่มีบกพร่อง เมื่อน้อมเข้ามาถึงกายถึงใจของเราก็ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเกี่ยวกับเราโดยเฉพาะ
นับแต่วันที่เราอุบัติขึ้นมาถึงบัดนี้ มีความแปรสภาพ ประจำตนมาตลอดสาย ไม่ปรากฏว่าได้หยุดพักระหว่างทางในชั่ววินาทีหนึ่งเลย เรื่องสภาพเหล่านี้จะต้องดำเนิน หรือหมุนตัวไปตามหลักของธรรมชาติอย่างนั้นตลอดมา
เป็นแต่เพียงว่าเราไม่สามารถจะทราบสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาของเรา จึงไม่เห็นตามความจริงของหลักไตรลักษณ์ แล้วก็เป็นเหตุให้ใจของเราฝืนหลักไตรลักษณ์ แล้วนำทุกข์มาเผาผลาญตนเองให้ได้รับความเดือดร้อน
ถ้าพิจารณาให้เห็นตามหลักของไตรลักษณ์จริงๆ แล้ว เพียงมองลงไปที่กายที่ใจของเรานี้ ก็จะเห็นเรื่องของไตรลักษณ์ประกาศตัวอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน
การพิจารณาไตรลักษณ์ เป็นเรื่องถอดถอน
การยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นภูเขาทั้งลูก ทับถมจิตใจให้ได้รับความเดือดร้อนวุ่นวาย หาความสงบสบายใจไม่ได้ ก็เนื่องจากสัญญาความสำคัญมั่นหมาย ยกสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นตน โดยไม่ทราบว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภูเขาทั้งลูกนั่นเอง ใจจึงหาเวลาจะขยับขยายตัวออกจากความทุกข์ความร้อนภายในใจไม่ได้ เนื่องจากตัวได้นำสิ่งเหล่านี้แบกไว้บนบ่า คือ บนดวงใจเสมอ
การพิจารณาเรื่องของไตรลักษณ์ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย และไม่ใช่เป็นของเล่นด้วย แต่เป็นเรื่องจะถอดถอนความถือว่าตนว่าตัวที่เรียกว่าอัตตา ให้เห็นชัดตามหลักธรรมชาติว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอนัตตาโดยแท้จริง ไม่ควรจะนำตนเข้าไปเคลือบแฝงกับอาการเหล่านี้แม้อาการเดียว
สิ่งที่ทำให้เราได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน ความลำบากภายในจิตในใจ ทำไมเราจึงไม่ชิน ทุกข์เกิดขณะไหน เราก็เดือดร้อนบ่นกันทั่วโลกทั่วสังสาร ถ้าหากว่าเป็นผู้เคยชินต่อทุกข์มาแล้ว โลกนี้ได้เคยผ่านความทุกข์มาเป็นเวลานาน คงไม่มีใครจะบ่นกันว่าทุกข์ว่าเดือดร้อน แต่นี้ไปที่ไหนบ่นกันทั่วดินแดน ก็เพราะความไม่ชินกับทุกข์นั่นเอง
เรื่องของทุกข์เป็นเรื่องของทุกข์ต่างหาก เพราะได้เคยชินและได้ผ่านมาเป็นเวลานาน ไม่ควรจะตื่นเต้นกับเรื่องความทุกข์ความลำบากเหล่านี้
ทุกข์ก็ให้เขาเป็นไปตามเรื่องของทุกข์ เพราะชินกับเขามาแล้ว พอทนกันได้แล้วไม่ต้องบ่นกัน
แต่นี่ไม่เป็นเช่นนั้น ปรากฏขึ้นมานิดก็ต้องทำใจให้กระเพื่อมให้เกิดความเดือดร้อนมากยิ่งกว่านั้น จนหาที่ปลงที่วางไม่ได้ รับประทานไม่ได้นอนไม่หลับ ถึงกับต้องรับประทานยาระงับประสาท รับประทานยาระงับมากเท่าไร ก็ยิ่งขนทุกข์เข้ามามากเท่านั้น บางทีถึงกับตัดสินตัวเองไปในทางที่ผิด โดยกินยาฆ่าตัวตายบ้าง เพื่อหวังครองสุขในชาติหน้า แต่ไม่ทราบความหมายว่า ทุกข์ในชาติหน้านั้น จะอยู่ในที่เช่นไร และใครเป็นผู้จะหลุดออกจากทุกข์ในชาติหน้านั้น
เพราะชาติหน้ากับชาตินี้ ก็คือเรื่องของใจเป็นผู้ได้รับทุกข์ เมื่อไปชาติหน้า หากใจดวงนี้ยังเป็นทุกข์อยู่แล้ว เราจะหวังครองสุขมาแต่ที่ไหน
เพราะไม่มีทุกข์ที่ไหนปรากฏตัวขึ้นมาเฉยๆ และไม่มีสุขที่ไหนเพิ่งจะปรากฏตัวขึ้นมาเป็นสมบัติอันล้ำค่าแก่บุคคลผู้ต้องการ แล้วจะได้เข้าครอบครองเสียทีเดียว โดยไม่ต้องบำเพ็ญเหตุเพื่อความสุขอันนั้นขึ้นมา
ที่เราจะพิจารณาถึงเรื่องหลักความจริงที่ท่านสอนไว้นี้ ก็เพื่อจะถอนเหตุที่จะทำให้เกิดความทุกข์ ความลำบาก ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดภายในตัวของเราออก ด้วยอำนาจของปัญญา ตรองไปตามทางสายไตรลักษณ์ที่เดินไปเช่นนั้น ให้เห็นจริงตามหลักของไตรลักษณ์จริงๆ
ส่วนใดที่เห็นว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะทำความสนิทติดใจกับสิ่งนั้น เราก็จะได้ทำความรู้สึกตัวของเราและหาทางออก ก็มีนัยเช่นเดียวกันกับเรื่อง อนิจจัง เรื่อง อนัตตา
มีชิ้นไหนบ้างที่จะถือเป็นเราเป็นของเราได้ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ นี้เป็นสมบัติของใคร ไม่ปรากฏว่าเป็นสมบัติของใคร ซึ่งควรจะเรียกว่าเป็นอนัตตาได้ แม้จะมาอาศัยเป็นสภาพร่างกาย ก็อาศัยกันชั่วระยะกาลเท่านั้นตามกรรมนิยม ความแปรสภาพแห่งธาตุขันธ์อันนี้ก็แปรไปอยู่ตามเรื่องของเขา ทั้งๆที่เราก็เป็นเจ้าของอยู่ เขาไม่ได้ฟังเสียงเราเลย หน้าที่ของเขาก็แปรตามสภาพ หน้าที่ของเขาก็แสดงความทุกข์ไปตามหลักความจริงของเขา
เรื่องธรรมะ อนัตตา ที่ว่าไม่ใช่ใครนั้น ใครจะเสกสรร ปั้นยอว่าเป็นของใครก็ตาม เขาก็คือเรื่องของเขาอยู่นั้นเอง ไม่ได้เป็นอื่นไปจากความเป็นเช่นนั้น พอที่จะเสกสรร ปั้นยอกันให้ได้รับความหนักหน่วงถ่วงจิตใจของตนและเสียประโยชน์ไปเปล่า โดยไม่ได้รับประโยชน์จากอะไรจากความเสกสรรปั้นยอนั่นเลย นี่การพิจารณาปัญญา พิจารณาอย่างนี้
เราดูใกล้ๆ ดูในอวัยวะของเรานี้ ชิ้นไหนบ้างที่ว่าจะเป็นตัวจริงๆ ดูชิ้นเล็กชิ้นน้อยไปถึงชิ้นใหญ่ ดูชิ้นไหนก็สักแต่ว่าเป็นชิ้นนั้นๆ อยู่เท่านั้น แม้ในขณะที่ครองกันอยู่เช่นนี้ นี่เป็นปัญญาขั้นหนึ่งที่เราจะได้เรียนรอบรู้เรื่องของขันธ์ คือ รูปขันธ์ของเราที่อยู่ด้วยกัน
ทรัพย์สมบัติอยู่ในบ้านของเรามีมากมีน้อย เรายังรู้จักว่าทรัพย์สมบัติประเภทไหนมีคุณค่ามาก มีคุณค่าน้อย และมีจำนวนเท่าไร ควรจะทำประโยชน์จากสมบัตินั้นๆ อย่างไรบ้างตามหน้าที่ของเขา
สมบัติภายในตัวของเรา ได้แก่ ร่างกาย เราก็ควรจะพิจารณาตามหลักธรรมให้ทราบชัดว่า ส่วนไหนเป็นอย่างไร เป็นต้น ปัญญาก็จะได้มีทางเดินออกจากความเป็นชิ้นเป็นอันที่เรียกว่าอัตตา ความหายกังวลก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้นมา
(จากส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง “ไตรลักษณ์”)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 132 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2554 โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)
พิจารณาไตรลักษณ์ที่กายกับใจ
การถอดถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกภายในใจ กายของเรา ใจของเรานี้ เป็นสิ่งที่สมบูรณ์แล้ว สำหรับเป็นสถานที่พิจารณา แต่การที่จะพิจารณาไปเกี่ยวกับสิ่งภายนอก เพื่อเทียบเข้ามากับเรื่องภายในนั้น เป็นธรรมอันสมควรแก่ท่านผู้ปฏิบัติเหมือนกัน
ปัญญาขั้นต้น หากเราไม่สามารถให้เป็นปัญญาขึ้นมาทีเดียว ก็กรุณาพิจารณาเอาสัญญา(ความจำได้หมายรู้) เป็นเครื่องคาดหมายไว้ แล้วไตร่ตรองไปตามสภาพความจริงของเขา
เราจะแยกออกไปทางข้างนอกถึงสัตว์ ถึงบุคคล ถึงต้นไม้ภูเขา หรือสภาพทั่วๆ ไปที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วย หู แล้วเทียบเคียงกันกับตัวของเรา จะมีอะไรเป็นหลักยืนตัวไว้ สำหรับสภาพทั้งหลายเหล่านั้นกับตัวของเรา จะต้องปรากฏเรื่องของไตรลักษณ์เป็นหลักประจำโลกทั่วๆ ไป ไม่มีชิ้นใดส่วนใดที่จะเหลือจากหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ไปได้เลย
เพราะฉะนั้น หลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นธรรมรับรองหรือเป็นทางเดินอันราบรื่นของปัญญาผู้ใคร่จะพินิจพิจารณาตาม
มองดูสภาพใดชิ้นใดจะเห็นเป็นเรื่องของไตรลักษณ์เต็มอยู่ในชิ้นนั้นสิ่งนั้นไม่มีบกพร่อง เมื่อน้อมเข้ามาถึงกายถึงใจของเราก็ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเกี่ยวกับเราโดยเฉพาะ
นับแต่วันที่เราอุบัติขึ้นมาถึงบัดนี้ มีความแปรสภาพ ประจำตนมาตลอดสาย ไม่ปรากฏว่าได้หยุดพักระหว่างทางในชั่ววินาทีหนึ่งเลย เรื่องสภาพเหล่านี้จะต้องดำเนิน หรือหมุนตัวไปตามหลักของธรรมชาติอย่างนั้นตลอดมา
เป็นแต่เพียงว่าเราไม่สามารถจะทราบสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาของเรา จึงไม่เห็นตามความจริงของหลักไตรลักษณ์ แล้วก็เป็นเหตุให้ใจของเราฝืนหลักไตรลักษณ์ แล้วนำทุกข์มาเผาผลาญตนเองให้ได้รับความเดือดร้อน
ถ้าพิจารณาให้เห็นตามหลักของไตรลักษณ์จริงๆ แล้ว เพียงมองลงไปที่กายที่ใจของเรานี้ ก็จะเห็นเรื่องของไตรลักษณ์ประกาศตัวอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน
การพิจารณาไตรลักษณ์ เป็นเรื่องถอดถอน
การยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นภูเขาทั้งลูก ทับถมจิตใจให้ได้รับความเดือดร้อนวุ่นวาย หาความสงบสบายใจไม่ได้ ก็เนื่องจากสัญญาความสำคัญมั่นหมาย ยกสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นตน โดยไม่ทราบว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภูเขาทั้งลูกนั่นเอง ใจจึงหาเวลาจะขยับขยายตัวออกจากความทุกข์ความร้อนภายในใจไม่ได้ เนื่องจากตัวได้นำสิ่งเหล่านี้แบกไว้บนบ่า คือ บนดวงใจเสมอ
การพิจารณาเรื่องของไตรลักษณ์ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย และไม่ใช่เป็นของเล่นด้วย แต่เป็นเรื่องจะถอดถอนความถือว่าตนว่าตัวที่เรียกว่าอัตตา ให้เห็นชัดตามหลักธรรมชาติว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอนัตตาโดยแท้จริง ไม่ควรจะนำตนเข้าไปเคลือบแฝงกับอาการเหล่านี้แม้อาการเดียว
สิ่งที่ทำให้เราได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน ความลำบากภายในจิตในใจ ทำไมเราจึงไม่ชิน ทุกข์เกิดขณะไหน เราก็เดือดร้อนบ่นกันทั่วโลกทั่วสังสาร ถ้าหากว่าเป็นผู้เคยชินต่อทุกข์มาแล้ว โลกนี้ได้เคยผ่านความทุกข์มาเป็นเวลานาน คงไม่มีใครจะบ่นกันว่าทุกข์ว่าเดือดร้อน แต่นี้ไปที่ไหนบ่นกันทั่วดินแดน ก็เพราะความไม่ชินกับทุกข์นั่นเอง
เรื่องของทุกข์เป็นเรื่องของทุกข์ต่างหาก เพราะได้เคยชินและได้ผ่านมาเป็นเวลานาน ไม่ควรจะตื่นเต้นกับเรื่องความทุกข์ความลำบากเหล่านี้
ทุกข์ก็ให้เขาเป็นไปตามเรื่องของทุกข์ เพราะชินกับเขามาแล้ว พอทนกันได้แล้วไม่ต้องบ่นกัน
แต่นี่ไม่เป็นเช่นนั้น ปรากฏขึ้นมานิดก็ต้องทำใจให้กระเพื่อมให้เกิดความเดือดร้อนมากยิ่งกว่านั้น จนหาที่ปลงที่วางไม่ได้ รับประทานไม่ได้นอนไม่หลับ ถึงกับต้องรับประทานยาระงับประสาท รับประทานยาระงับมากเท่าไร ก็ยิ่งขนทุกข์เข้ามามากเท่านั้น บางทีถึงกับตัดสินตัวเองไปในทางที่ผิด โดยกินยาฆ่าตัวตายบ้าง เพื่อหวังครองสุขในชาติหน้า แต่ไม่ทราบความหมายว่า ทุกข์ในชาติหน้านั้น จะอยู่ในที่เช่นไร และใครเป็นผู้จะหลุดออกจากทุกข์ในชาติหน้านั้น
เพราะชาติหน้ากับชาตินี้ ก็คือเรื่องของใจเป็นผู้ได้รับทุกข์ เมื่อไปชาติหน้า หากใจดวงนี้ยังเป็นทุกข์อยู่แล้ว เราจะหวังครองสุขมาแต่ที่ไหน
เพราะไม่มีทุกข์ที่ไหนปรากฏตัวขึ้นมาเฉยๆ และไม่มีสุขที่ไหนเพิ่งจะปรากฏตัวขึ้นมาเป็นสมบัติอันล้ำค่าแก่บุคคลผู้ต้องการ แล้วจะได้เข้าครอบครองเสียทีเดียว โดยไม่ต้องบำเพ็ญเหตุเพื่อความสุขอันนั้นขึ้นมา
ที่เราจะพิจารณาถึงเรื่องหลักความจริงที่ท่านสอนไว้นี้ ก็เพื่อจะถอนเหตุที่จะทำให้เกิดความทุกข์ ความลำบาก ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดภายในตัวของเราออก ด้วยอำนาจของปัญญา ตรองไปตามทางสายไตรลักษณ์ที่เดินไปเช่นนั้น ให้เห็นจริงตามหลักของไตรลักษณ์จริงๆ
ส่วนใดที่เห็นว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะทำความสนิทติดใจกับสิ่งนั้น เราก็จะได้ทำความรู้สึกตัวของเราและหาทางออก ก็มีนัยเช่นเดียวกันกับเรื่อง อนิจจัง เรื่อง อนัตตา
มีชิ้นไหนบ้างที่จะถือเป็นเราเป็นของเราได้ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ นี้เป็นสมบัติของใคร ไม่ปรากฏว่าเป็นสมบัติของใคร ซึ่งควรจะเรียกว่าเป็นอนัตตาได้ แม้จะมาอาศัยเป็นสภาพร่างกาย ก็อาศัยกันชั่วระยะกาลเท่านั้นตามกรรมนิยม ความแปรสภาพแห่งธาตุขันธ์อันนี้ก็แปรไปอยู่ตามเรื่องของเขา ทั้งๆที่เราก็เป็นเจ้าของอยู่ เขาไม่ได้ฟังเสียงเราเลย หน้าที่ของเขาก็แปรตามสภาพ หน้าที่ของเขาก็แสดงความทุกข์ไปตามหลักความจริงของเขา
เรื่องธรรมะ อนัตตา ที่ว่าไม่ใช่ใครนั้น ใครจะเสกสรร ปั้นยอว่าเป็นของใครก็ตาม เขาก็คือเรื่องของเขาอยู่นั้นเอง ไม่ได้เป็นอื่นไปจากความเป็นเช่นนั้น พอที่จะเสกสรร ปั้นยอกันให้ได้รับความหนักหน่วงถ่วงจิตใจของตนและเสียประโยชน์ไปเปล่า โดยไม่ได้รับประโยชน์จากอะไรจากความเสกสรรปั้นยอนั่นเลย นี่การพิจารณาปัญญา พิจารณาอย่างนี้
เราดูใกล้ๆ ดูในอวัยวะของเรานี้ ชิ้นไหนบ้างที่ว่าจะเป็นตัวจริงๆ ดูชิ้นเล็กชิ้นน้อยไปถึงชิ้นใหญ่ ดูชิ้นไหนก็สักแต่ว่าเป็นชิ้นนั้นๆ อยู่เท่านั้น แม้ในขณะที่ครองกันอยู่เช่นนี้ นี่เป็นปัญญาขั้นหนึ่งที่เราจะได้เรียนรอบรู้เรื่องของขันธ์ คือ รูปขันธ์ของเราที่อยู่ด้วยกัน
ทรัพย์สมบัติอยู่ในบ้านของเรามีมากมีน้อย เรายังรู้จักว่าทรัพย์สมบัติประเภทไหนมีคุณค่ามาก มีคุณค่าน้อย และมีจำนวนเท่าไร ควรจะทำประโยชน์จากสมบัตินั้นๆ อย่างไรบ้างตามหน้าที่ของเขา
สมบัติภายในตัวของเรา ได้แก่ ร่างกาย เราก็ควรจะพิจารณาตามหลักธรรมให้ทราบชัดว่า ส่วนไหนเป็นอย่างไร เป็นต้น ปัญญาก็จะได้มีทางเดินออกจากความเป็นชิ้นเป็นอันที่เรียกว่าอัตตา ความหายกังวลก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้นมา
(จากส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง “ไตรลักษณ์”)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 132 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2554 โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)