...ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม...
...พูดถึงวิธีปฏิบัติงานโดยแยบคายต่อไป ข้อแรก จะต้องสร้างศรัทธาให้มีขึ้นก่อน เพราะศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทำให้มีการปฏิบัติด้วยใจในทันที แม้ก่อนที่จะลงมือทำ ดังนั้นไม่ว่าจะทำการใดๆ จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นก่อน และการสร้างศรัทธานั้น จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องด้วย ศรัทธาที่พึงประสงค์จะต้องไม่เกิดจากความเชื่อง่าย ใจอ่อนปราศจากเหตุผล หากจะต้องเกิดขึ้นจากความเพ่งพินิจ พิจารณา ใคร่ครวญแล้วด้วยความคิดจิตใจที่หนักแน่นสมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนเห็นถ่องแท้ถึงคุณค่าและประโยชน์อันแท้จริงในผลของการปฏิบัติที่จะบังเกิดตามมา ศรัทธาลักษณะนี้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมน้อมนำฉันทะ ความพอใจ ความกระตือรือร้น ความพากเพียรขวนขวาย ตลอดจนความฉลาดริเริ่มให้เกิดขึ้นเกื้อกูลกันอย่างพร้อมเพรียง แล้วสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานดำเนินก้าวหน้าไปโดยราบรื่นจนสัมฤทธิ์ผล...
...ผู้ที่ทำบุญก็ทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง คือความเจริญรุ่งเรืองนั้นมาจากจิตใจ ผู้ที่ทำดีผู้ที่สงเคราะห์ผู้อื่นนั้น ก็มีจิตใจที่ผ่องใส จิตใจที่เข้มแข็งขึ้นมา เกิดความผ่องใสความอิ่มใจ ปีตินั้นทำให้จิตใจเรามีความเข้มแข็ง เมื่อมีความเข้มแข็งแล้ว กิจการใดที่ทำก็ทำได้ดี ได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของกิจการนั้นๆ ก็จะทำให้เจริญรุ่งเรือง
ฉะนั้น ถ้าใครมาพูดว่าการเสียแรงในการสงเคราะห์ผู้อื่น หรือการบริจาคทรัพย์สำหรับผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่สมควร ก็อย่าไปเชื่อ เพราะว่าการบริจาคทั้งกายทั้งใจนั้นเพื่อผู้อื่น เป็นสิ่งที่ส่งเสริมนำให้มีความเจริญรุ่งเรืองแน่นอน และจิตใจเราก็บริสุทธิ์ผ่องใสขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ฉะนั้น การที่มีจิตใจเมตตาผู้อื่นนั้น ก็เป็นการเมตตาผู้อื่นและเป็นการเมตตาตนเองด้วย เพราะว่ากิจที่ทำย่อมเป็นกิจที่ดี...
...การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นนั้น จะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดี หรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังจะต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่องพร้อมๆกันไปด้วย
การรักษาพื้นฐาน ก็คือการปฏิบัติบริหารงานที่ทำอยู่เป็นประจำนั้นไม่ให้บกพร่อง ซึ่งเป็นกิจที่ลำบากยากอยู่ เพราะงานใดที่ต้องทำ เป็นประจำตลอดเวลา อาจทำให้รู้สึกชินชา ด้วยต้องกระทำซ้ำซาก ไม่น่าตื่นตาตื่นใจเหมือนงานที่มีเข้ามาใหม่ๆ จึงมักทำให้เบื่อหน่าย ชวนให้ทอดธุระละเลย จนเกิดความบกพร่องและเสียหายขึ้น แล้วพลอยทำให้งานใหม่นั้นเดินหน้าไปไม่ได้ หรือดำเนินไปไม่ราบรื่น...
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 131 ตุลาคม 2554)
...พูดถึงวิธีปฏิบัติงานโดยแยบคายต่อไป ข้อแรก จะต้องสร้างศรัทธาให้มีขึ้นก่อน เพราะศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทำให้มีการปฏิบัติด้วยใจในทันที แม้ก่อนที่จะลงมือทำ ดังนั้นไม่ว่าจะทำการใดๆ จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นก่อน และการสร้างศรัทธานั้น จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องด้วย ศรัทธาที่พึงประสงค์จะต้องไม่เกิดจากความเชื่อง่าย ใจอ่อนปราศจากเหตุผล หากจะต้องเกิดขึ้นจากความเพ่งพินิจ พิจารณา ใคร่ครวญแล้วด้วยความคิดจิตใจที่หนักแน่นสมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนเห็นถ่องแท้ถึงคุณค่าและประโยชน์อันแท้จริงในผลของการปฏิบัติที่จะบังเกิดตามมา ศรัทธาลักษณะนี้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมน้อมนำฉันทะ ความพอใจ ความกระตือรือร้น ความพากเพียรขวนขวาย ตลอดจนความฉลาดริเริ่มให้เกิดขึ้นเกื้อกูลกันอย่างพร้อมเพรียง แล้วสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานดำเนินก้าวหน้าไปโดยราบรื่นจนสัมฤทธิ์ผล...
...ผู้ที่ทำบุญก็ทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง คือความเจริญรุ่งเรืองนั้นมาจากจิตใจ ผู้ที่ทำดีผู้ที่สงเคราะห์ผู้อื่นนั้น ก็มีจิตใจที่ผ่องใส จิตใจที่เข้มแข็งขึ้นมา เกิดความผ่องใสความอิ่มใจ ปีตินั้นทำให้จิตใจเรามีความเข้มแข็ง เมื่อมีความเข้มแข็งแล้ว กิจการใดที่ทำก็ทำได้ดี ได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของกิจการนั้นๆ ก็จะทำให้เจริญรุ่งเรือง
ฉะนั้น ถ้าใครมาพูดว่าการเสียแรงในการสงเคราะห์ผู้อื่น หรือการบริจาคทรัพย์สำหรับผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่สมควร ก็อย่าไปเชื่อ เพราะว่าการบริจาคทั้งกายทั้งใจนั้นเพื่อผู้อื่น เป็นสิ่งที่ส่งเสริมนำให้มีความเจริญรุ่งเรืองแน่นอน และจิตใจเราก็บริสุทธิ์ผ่องใสขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ฉะนั้น การที่มีจิตใจเมตตาผู้อื่นนั้น ก็เป็นการเมตตาผู้อื่นและเป็นการเมตตาตนเองด้วย เพราะว่ากิจที่ทำย่อมเป็นกิจที่ดี...
...การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นนั้น จะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดี หรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังจะต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่องพร้อมๆกันไปด้วย
การรักษาพื้นฐาน ก็คือการปฏิบัติบริหารงานที่ทำอยู่เป็นประจำนั้นไม่ให้บกพร่อง ซึ่งเป็นกิจที่ลำบากยากอยู่ เพราะงานใดที่ต้องทำ เป็นประจำตลอดเวลา อาจทำให้รู้สึกชินชา ด้วยต้องกระทำซ้ำซาก ไม่น่าตื่นตาตื่นใจเหมือนงานที่มีเข้ามาใหม่ๆ จึงมักทำให้เบื่อหน่าย ชวนให้ทอดธุระละเลย จนเกิดความบกพร่องและเสียหายขึ้น แล้วพลอยทำให้งานใหม่นั้นเดินหน้าไปไม่ได้ หรือดำเนินไปไม่ราบรื่น...
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 131 ตุลาคม 2554)