หลักธรรมที่อำนวยประโยชน์ในชีวิตนี้ หรือหลักธรรมสำหรับการตั้งตัวได้ในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า คาถาหัวใจเศรษฐี 4 ประการ คือ อุ อา กะ สะ
โดยคำว่า อุ ย่อมาจาก อุฏฐานสัมปทา
คำว่า อา ย่อมาจาก อารักขสัมปทา
คำว่า กะ ย่อมาจาก กัลยาณมิตตตา
และคำว่า สะ ย่อมาจาก สมชีวิตา
หรือเรียกอีกอย่างว่า คาถาแก้จน โดยนักปราชญ์ในสมัยโบราณได้กำหนดเป็นอุบายวิธีให้คนเรามีศรัทธาจดจำหลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ได้แม่นยำ
เพื่อจะได้นำไปบูรณาการเชิงปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวันให้ได้รับประโยชน์สุขทันตาเห็นในปัจจุบัน คือ ได้ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ หรือความมั่งคั่งร่ำรวยเจริญด้วยโภคทรัพย์ สามารถสร้างตนเป็นหลักฐานได้ในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนับเป็นความปรารถนาของมนุษย์ปุถุชน
หลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ เป็นหลักที่ทำให้บุคคลได้รับประโยชน์และรักษาผลประโยชน์ของตนไว้ได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ
หลักข้อที่ 1 อุฏฐานสัมปทา สอนให้บุคคลมีความขยันแสวงหาทรัพย์สมบัติในทางที่ชอบ ในทางที่สุจริตด้วยความสามารถของตน
หลักข้อที่ 2 อารักขสัมปทา สอนให้บุคคลรักษาทรัพย์ที่หามาได้มิให้สูญหายไปเพราะอันตรายต่างๆ รวมถึงรักษากิจการงานของตนไว้ด้วย
หลักข้อที่ 3 กัลยาณมิตตตา สอนให้บุคคลคบหาแต่กัลยาณมิตร หลีกเว้นจากคบคนชั่ว รวมถึงการหาคู่ครองที่เหมาะสม มีคุณธรรมไว้เป็นคู่คิดมิตรคู่กายอีกด้วย
หลักข้อที่ 4 สมชีวิตา สอนให้บุคคลรู้จักดำรงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์และฐานะของตน โดยให้รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ เพื่อการที่เป็นประโยชน์ต่อการครองชีพเท่านั้น
บุคคลผู้มีเศรษฐกิจดีหรือขั้นพัฒนาตนเป็นเศรษฐีนั้น เพราะเขามีหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ทั้ง 4 ประการนี้ ท่านจึงเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” บ้าง “หลักเศรษฐกิจเชิงพุทธ” บ้าง ซึ่งก็เป็นความจริง
หากบุคคลมีหลักธรรมทั้ง 4 นี้บริบูรณ์ ย่อมประกันได้ว่า ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึ้น ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่แล้วก็จะไม่สูญสลายโดยไร้ประโยชน์ด้วย
ตรงกันข้าม บุคคลที่จัดว่าเป็นคนยากจนหรือผู้ทำมาหากินไม่พอกินนั้น หากสอบสวนดูก็จะพบว่าเขาขาดหลักธรรมทั้ง ๔ นี้ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง หรือทั้งหมด เช่น
บางคนเป็นคนตระหนี่ละเอียดลออในการใช้จ่าย แต่มักเกียจคร้าน ทำงานพอให้มีกินแล้วก็หยุด หมดแล้วก็ค่อยไปทำใหม่ ดังนี้ก็มี
บางคนขยันทำมาหากิน งานหนักเอางานเบาสู้ ได้ทรัพย์สมบัติมาแล้วกลับคบเพื่อนไม่ดีเป็นมิตรเทียม จึงล้างผลาญสมบัตินั้นหมดไปเสียบ้าง
ไม่รู้จักใช้ทรัพย์สมบัติ กินใช้ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์เสียบ้าง ดังนี้ก็มี บางรายหาทรัพย์ได้แล้ว ไม่รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติ ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ใช้จ่ายในทางที่ไม่ถูกไม่ควรก็มี
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็หมดสิ้นไปโดยเร็ว
หลักธรรมเพื่อการสร้างตนทางเศรษฐกิจทั้ง 4 ประการนี้ หากบุคคลนำมาบูรณาการเชิงปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนของหมวดธรรม คือ ใช้ครบ 4 ประการ นอกจากจะได้รับผลพึ่งตนได้ทางเศรษฐกิจทันตาเห็นในชาติปัจจุบันแล้ว ยังจะได้รับผลดีอันเป็นคุณค่าทางจริยธรรมดังนี้อีกด้วย คือ
1. ทำให้ตั้งตัวเป็นหลักฐานได้
2. ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ในครอบครัวดีและมีความสุขสมควรแก่อัตภาพ
3. ทำให้ไม่ต้องมีหนี้สินอันเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
4. ทำให้มีเงินทองใช้เมื่อเกิดความจำเป็น
5. ทำให้มีโอกาสสร้างความดีอื่นๆ ได้มากขึ้น
(จากหนังสือพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
โดยคำว่า อุ ย่อมาจาก อุฏฐานสัมปทา
คำว่า อา ย่อมาจาก อารักขสัมปทา
คำว่า กะ ย่อมาจาก กัลยาณมิตตตา
และคำว่า สะ ย่อมาจาก สมชีวิตา
หรือเรียกอีกอย่างว่า คาถาแก้จน โดยนักปราชญ์ในสมัยโบราณได้กำหนดเป็นอุบายวิธีให้คนเรามีศรัทธาจดจำหลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ได้แม่นยำ
เพื่อจะได้นำไปบูรณาการเชิงปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวันให้ได้รับประโยชน์สุขทันตาเห็นในปัจจุบัน คือ ได้ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ หรือความมั่งคั่งร่ำรวยเจริญด้วยโภคทรัพย์ สามารถสร้างตนเป็นหลักฐานได้ในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนับเป็นความปรารถนาของมนุษย์ปุถุชน
หลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ เป็นหลักที่ทำให้บุคคลได้รับประโยชน์และรักษาผลประโยชน์ของตนไว้ได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ
หลักข้อที่ 1 อุฏฐานสัมปทา สอนให้บุคคลมีความขยันแสวงหาทรัพย์สมบัติในทางที่ชอบ ในทางที่สุจริตด้วยความสามารถของตน
หลักข้อที่ 2 อารักขสัมปทา สอนให้บุคคลรักษาทรัพย์ที่หามาได้มิให้สูญหายไปเพราะอันตรายต่างๆ รวมถึงรักษากิจการงานของตนไว้ด้วย
หลักข้อที่ 3 กัลยาณมิตตตา สอนให้บุคคลคบหาแต่กัลยาณมิตร หลีกเว้นจากคบคนชั่ว รวมถึงการหาคู่ครองที่เหมาะสม มีคุณธรรมไว้เป็นคู่คิดมิตรคู่กายอีกด้วย
หลักข้อที่ 4 สมชีวิตา สอนให้บุคคลรู้จักดำรงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์และฐานะของตน โดยให้รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ เพื่อการที่เป็นประโยชน์ต่อการครองชีพเท่านั้น
บุคคลผู้มีเศรษฐกิจดีหรือขั้นพัฒนาตนเป็นเศรษฐีนั้น เพราะเขามีหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ทั้ง 4 ประการนี้ ท่านจึงเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” บ้าง “หลักเศรษฐกิจเชิงพุทธ” บ้าง ซึ่งก็เป็นความจริง
หากบุคคลมีหลักธรรมทั้ง 4 นี้บริบูรณ์ ย่อมประกันได้ว่า ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึ้น ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่แล้วก็จะไม่สูญสลายโดยไร้ประโยชน์ด้วย
ตรงกันข้าม บุคคลที่จัดว่าเป็นคนยากจนหรือผู้ทำมาหากินไม่พอกินนั้น หากสอบสวนดูก็จะพบว่าเขาขาดหลักธรรมทั้ง ๔ นี้ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง หรือทั้งหมด เช่น
บางคนเป็นคนตระหนี่ละเอียดลออในการใช้จ่าย แต่มักเกียจคร้าน ทำงานพอให้มีกินแล้วก็หยุด หมดแล้วก็ค่อยไปทำใหม่ ดังนี้ก็มี
บางคนขยันทำมาหากิน งานหนักเอางานเบาสู้ ได้ทรัพย์สมบัติมาแล้วกลับคบเพื่อนไม่ดีเป็นมิตรเทียม จึงล้างผลาญสมบัตินั้นหมดไปเสียบ้าง
ไม่รู้จักใช้ทรัพย์สมบัติ กินใช้ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์เสียบ้าง ดังนี้ก็มี บางรายหาทรัพย์ได้แล้ว ไม่รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติ ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ใช้จ่ายในทางที่ไม่ถูกไม่ควรก็มี
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็หมดสิ้นไปโดยเร็ว
หลักธรรมเพื่อการสร้างตนทางเศรษฐกิจทั้ง 4 ประการนี้ หากบุคคลนำมาบูรณาการเชิงปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนของหมวดธรรม คือ ใช้ครบ 4 ประการ นอกจากจะได้รับผลพึ่งตนได้ทางเศรษฐกิจทันตาเห็นในชาติปัจจุบันแล้ว ยังจะได้รับผลดีอันเป็นคุณค่าทางจริยธรรมดังนี้อีกด้วย คือ
1. ทำให้ตั้งตัวเป็นหลักฐานได้
2. ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ในครอบครัวดีและมีความสุขสมควรแก่อัตภาพ
3. ทำให้ไม่ต้องมีหนี้สินอันเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
4. ทำให้มีเงินทองใช้เมื่อเกิดความจำเป็น
5. ทำให้มีโอกาสสร้างความดีอื่นๆ ได้มากขึ้น
(จากหนังสือพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)