ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนกพิราบตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่โรงครัวของเศรษฐี โดยพ่อครัวได้ทำรังเล็กๆให้อยู่ ทุกๆเช้านกพิราบก็บินออกไปหากิน ตกเย็นจึงกลับมานอนที่รัง เป็นเช่นนี้มานาน
อยู่มาวันหนึ่ง มีกาตัวหนึ่งบินผ่านโรงครัวของเศรษฐี และได้กลิ่นหอมของปลาและเนื้อ ที่พ่อครัวนำมาปรุงอาหาร จึงเกิดความโลภ คิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้กินอาหารเหล่านี้ แล้วกาก็ยืนจับบนกิ่งไม้ ไม่ไกลจากโรงครัว พลางสอดส่ายสายตาหาลู่ทาง จนถึงเวลาเย็นก็เห็นนกพิราบบินมา แล้วเข้าไปในโรงครัว ก็เลยคิดได้ว่า ต้องอาศัยนกพิราบตัวนี้ จึงจะได้กินเนื้อในโรงครัว
รุ่งขึ้นกาก็บินมาแต่เช้า เพื่อให้ทันเวลาที่นกพิราบออกหากิน แล้วมันก็บินตามนกพิราบไปเรื่อยๆ เมื่อนกพิราบเห็นดังนั้น จึงเอ่ยขึ้นว่า
“ทำไมเจ้าจึงมาเที่ยวบินตามเราเช่นนี้”
กาจึงตอบว่า “นาย.. ฉันชอบใจกิริยาของท่าน และตั้งแต่บัดนี้ไป ฉันจะขอตามไปปรนนิบัติท่านทุกที่”
“เจ้ามีอาหารอย่างหนึ่ง เรามีอาหารอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การปรนนิบัติของเจ้า คงทำได้ยาก” นกพิราบบอกกับกา
กาจึงเอ่ยว่า “นาย.. เวลาท่านบินไปหากิน ฉันก็บินไปหากินด้วย บินไปกับท่าน คอยดูแลท่านไงล่ะ”
เมื่อนกพิราบได้ฟังดังนั้น จึงบอกกาว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดีแล้ว ขอเจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด”
วันนั้นนกทั้งสองต่างก็เที่ยวแสวงหาอาหารด้วยกัน จนตกเย็นทั้งสองก็บินกลับโรงครัวพร้อมกัน เมื่อพ่อครัวเห็นนกทั้งสองตัว ก็คิดว่านกพิราบของเราพาตัวอื่นมา จึงได้ทำรังให้กาด้วย ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองก็อาศัยอยู่ที่โรงครัวด้วยกัน
วันหนึ่งมีคนนำปลาและเนื้อจำนวนมากมาให้เศรษฐี พ่อครัวก็รับมาไว้ในโรงครัว กาเห็นแล้วก็เกิดความโลภ คิดในใจว่าพรุ่งนี้จะไม่ออกหากิน จะกินปลาและเนื้อนี้แหละ
รุ่งเช้า นกพิราบจะออกไปหากิน จึงได้ส่งเสียงเรียกกาเหมือนเช่นเคย
“นาย.. ท่านไปเถิด ฉันรู้สึกไม่สบาย” กาตอบ พร้อมกับแกล้งทำท่านอนซม
นกพิราบสังเกตท่าทางของกาแล้ว ก็รู้ว่าโกหก จึงเอ่ยขึ้นว่า “เจ้าคงอยากกินปลาและเนื้อในโรงครัวนี้ล่ะซิ... อย่าทำอย่างนั้นเลย ออกไปหากินกับเราเถิด”
แต่กาก็ยืนยันว่าไม่สบายจริงๆ จึงไม่สามารถจะไปได้ นกพิราบจึงเตือนว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าก็อย่าโลภ ไปแอบลักขโมยกินเนื้อและปลาที่แขวนอยู่ มิฉะนั้นเจ้าจะต้องรับกรรมที่ก่อไว้” แล้วนกพิราบก็บินออกไปหากินเพียงลำพัง
ฝ่ายพ่อครัวก็นำปลาและเนื้อมาทอดเสร็จแล้ว ก็หาฝามาปิดชามไว้ แต่เปิดไว้หน่อยหนึ่ง เพื่อให้ไอระเหยไปให้หมด แล้วก็ออกไปยืนเช็ดเหงื่ออยู่นอกครัว
ขณะนั้น กาก็โผล่หัวขึ้นมาจากรัง มองดูจนทั่ว เห็นว่าพ่อครัวออกไปข้างนอก จึงคิดว่า ความปรารถนาของตนเป็นจริงแล้ว จึงออกจากรังลงไปใกล้ชามอาหาร และคิดจะกินเนื้อชิ้นใหญ่ เมื่อกาเอาปากเขี่ยฝาที่ปิดชามอยู่ ฝาก็หล่นลงพื้นจนเกิดเสียงดัง
พ่อครัวได้ยินเสียงจึงรีบกลับเข้าไปดู เห็นกากำลังจะจิกกินเนื้อในชาม จึงคิดว่า “เจ้ากาชั่วตัวนี้เลี้ยงไม่เชื่อง คิดจะกินเนื้อทอดของมหาเศรษฐี ข้าเองต้องอาศัยท่านเศรษฐีเลี้ยงชีวิต ไม่ได้อาศัยกาชั่วตัวนี้” เมื่อคิดแล้วจึงปิดประตู ต้อนจับกาจนได้ แล้วจัดการถอนขนหมดตัว เอาขิงสดโขลกกับเกลือป่น คลุกกับเนยเปรี้ยว ทาจนทั่วตัวกา แล้วเหวี่ยงลงในรังของมัน การู้สึกเจ็บแสบแสนสาหัส
ครั้นเวลาเย็น นกพิราบบินกลับมา เห็นสภาพของกา จึงพูดขึ้นว่า “เพราะเจ้าไม่เชื่อฟังคำของเรา จิตมีแต่ความโลภ จึงต้องประสบความทุกข์ทรมานอย่างนี้” แล้วนกพิราบก็คิดว่า “บัดนี้เราไม่อาจอยู่ที่นี่ได้แล้ว” จึงบินไปอยู่ที่อื่น ส่วนกาก็สิ้นชีวิตอยู่ในรังนั้นเอง
.........
บุคคลใด เมื่อท่านผู้หวังดีมีความเอ็นดู เกื้อกูล กล่าวตักเตือนสั่งสอนในเรื่องดีมีประโยชน์ แต่กลับไม่เชื่อฟัง และมิได้กระทำตามคำสอน บุคคลนั้นจะต้องประสบกับหายนะ เหมือนกาไม่กระทำตามถ้อยคำของนกพิราบนั่นเอง
(เค้าโครงจากนิทานชาดก)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 128 กรกฎาคม 2554 โดย ไม้หอม)
อยู่มาวันหนึ่ง มีกาตัวหนึ่งบินผ่านโรงครัวของเศรษฐี และได้กลิ่นหอมของปลาและเนื้อ ที่พ่อครัวนำมาปรุงอาหาร จึงเกิดความโลภ คิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้กินอาหารเหล่านี้ แล้วกาก็ยืนจับบนกิ่งไม้ ไม่ไกลจากโรงครัว พลางสอดส่ายสายตาหาลู่ทาง จนถึงเวลาเย็นก็เห็นนกพิราบบินมา แล้วเข้าไปในโรงครัว ก็เลยคิดได้ว่า ต้องอาศัยนกพิราบตัวนี้ จึงจะได้กินเนื้อในโรงครัว
รุ่งขึ้นกาก็บินมาแต่เช้า เพื่อให้ทันเวลาที่นกพิราบออกหากิน แล้วมันก็บินตามนกพิราบไปเรื่อยๆ เมื่อนกพิราบเห็นดังนั้น จึงเอ่ยขึ้นว่า
“ทำไมเจ้าจึงมาเที่ยวบินตามเราเช่นนี้”
กาจึงตอบว่า “นาย.. ฉันชอบใจกิริยาของท่าน และตั้งแต่บัดนี้ไป ฉันจะขอตามไปปรนนิบัติท่านทุกที่”
“เจ้ามีอาหารอย่างหนึ่ง เรามีอาหารอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การปรนนิบัติของเจ้า คงทำได้ยาก” นกพิราบบอกกับกา
กาจึงเอ่ยว่า “นาย.. เวลาท่านบินไปหากิน ฉันก็บินไปหากินด้วย บินไปกับท่าน คอยดูแลท่านไงล่ะ”
เมื่อนกพิราบได้ฟังดังนั้น จึงบอกกาว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดีแล้ว ขอเจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด”
วันนั้นนกทั้งสองต่างก็เที่ยวแสวงหาอาหารด้วยกัน จนตกเย็นทั้งสองก็บินกลับโรงครัวพร้อมกัน เมื่อพ่อครัวเห็นนกทั้งสองตัว ก็คิดว่านกพิราบของเราพาตัวอื่นมา จึงได้ทำรังให้กาด้วย ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองก็อาศัยอยู่ที่โรงครัวด้วยกัน
วันหนึ่งมีคนนำปลาและเนื้อจำนวนมากมาให้เศรษฐี พ่อครัวก็รับมาไว้ในโรงครัว กาเห็นแล้วก็เกิดความโลภ คิดในใจว่าพรุ่งนี้จะไม่ออกหากิน จะกินปลาและเนื้อนี้แหละ
รุ่งเช้า นกพิราบจะออกไปหากิน จึงได้ส่งเสียงเรียกกาเหมือนเช่นเคย
“นาย.. ท่านไปเถิด ฉันรู้สึกไม่สบาย” กาตอบ พร้อมกับแกล้งทำท่านอนซม
นกพิราบสังเกตท่าทางของกาแล้ว ก็รู้ว่าโกหก จึงเอ่ยขึ้นว่า “เจ้าคงอยากกินปลาและเนื้อในโรงครัวนี้ล่ะซิ... อย่าทำอย่างนั้นเลย ออกไปหากินกับเราเถิด”
แต่กาก็ยืนยันว่าไม่สบายจริงๆ จึงไม่สามารถจะไปได้ นกพิราบจึงเตือนว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าก็อย่าโลภ ไปแอบลักขโมยกินเนื้อและปลาที่แขวนอยู่ มิฉะนั้นเจ้าจะต้องรับกรรมที่ก่อไว้” แล้วนกพิราบก็บินออกไปหากินเพียงลำพัง
ฝ่ายพ่อครัวก็นำปลาและเนื้อมาทอดเสร็จแล้ว ก็หาฝามาปิดชามไว้ แต่เปิดไว้หน่อยหนึ่ง เพื่อให้ไอระเหยไปให้หมด แล้วก็ออกไปยืนเช็ดเหงื่ออยู่นอกครัว
ขณะนั้น กาก็โผล่หัวขึ้นมาจากรัง มองดูจนทั่ว เห็นว่าพ่อครัวออกไปข้างนอก จึงคิดว่า ความปรารถนาของตนเป็นจริงแล้ว จึงออกจากรังลงไปใกล้ชามอาหาร และคิดจะกินเนื้อชิ้นใหญ่ เมื่อกาเอาปากเขี่ยฝาที่ปิดชามอยู่ ฝาก็หล่นลงพื้นจนเกิดเสียงดัง
พ่อครัวได้ยินเสียงจึงรีบกลับเข้าไปดู เห็นกากำลังจะจิกกินเนื้อในชาม จึงคิดว่า “เจ้ากาชั่วตัวนี้เลี้ยงไม่เชื่อง คิดจะกินเนื้อทอดของมหาเศรษฐี ข้าเองต้องอาศัยท่านเศรษฐีเลี้ยงชีวิต ไม่ได้อาศัยกาชั่วตัวนี้” เมื่อคิดแล้วจึงปิดประตู ต้อนจับกาจนได้ แล้วจัดการถอนขนหมดตัว เอาขิงสดโขลกกับเกลือป่น คลุกกับเนยเปรี้ยว ทาจนทั่วตัวกา แล้วเหวี่ยงลงในรังของมัน การู้สึกเจ็บแสบแสนสาหัส
ครั้นเวลาเย็น นกพิราบบินกลับมา เห็นสภาพของกา จึงพูดขึ้นว่า “เพราะเจ้าไม่เชื่อฟังคำของเรา จิตมีแต่ความโลภ จึงต้องประสบความทุกข์ทรมานอย่างนี้” แล้วนกพิราบก็คิดว่า “บัดนี้เราไม่อาจอยู่ที่นี่ได้แล้ว” จึงบินไปอยู่ที่อื่น ส่วนกาก็สิ้นชีวิตอยู่ในรังนั้นเอง
.........
บุคคลใด เมื่อท่านผู้หวังดีมีความเอ็นดู เกื้อกูล กล่าวตักเตือนสั่งสอนในเรื่องดีมีประโยชน์ แต่กลับไม่เชื่อฟัง และมิได้กระทำตามคำสอน บุคคลนั้นจะต้องประสบกับหายนะ เหมือนกาไม่กระทำตามถ้อยคำของนกพิราบนั่นเอง
(เค้าโครงจากนิทานชาดก)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 128 กรกฎาคม 2554 โดย ไม้หอม)