โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งหรือสองของคนในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะประชากรในเมืองใหญ่ๆ ที่ผู้คนมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารเนื้อสัตว์และไขมันมาก ทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหาความ เครียดในการทำงาน และจากปัญหาในชีวิต
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเริ่มเป็นปัญหาขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่กินดีอยู่ดี คนอ้วน ไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก้อนไขมันและหินปูนเริ่มจับตัวเป็นก้อน(Plaques) แล้วจับตาม ผนังเส้นเลือด ทำให้รูในเส้นเลือดตีบตันลง ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อออกแรงทำงาน หรือเวลาออกกำลังกาย บางครั้งก้อนไขมันเล็กๆ อาจจะหลุดไปอุดเส้นเลือดหัวใจ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันและถึงแก่ชีวิตได้
นพ.เมเยอร์ เฟรดแมน (Mayer Friedman) อายุรแพทย์ทางโรคหัวใจสังเกตพบว่า เก้าอี้คนไข้ในห้องนั่งรอตรวจมักจะหักบริเวณครึ่งหน้า เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ดูแล ก็ได้คำตอบว่า คนไข้ชอบนั่งขอบเก้าอี้ทางด้านหน้า และไม่นั่งนิ่งๆ จะโยกไปมาตลอดเวลา ครั้งแรกเขายังไม่เข้าใจอะไรมากนัก จนเมื่อเขาได้ร่วมกับ นพ.เรย์ โรเซนแมน (Ray Rosenman) เพื่อนร่วมงาน ทำการศึกษาเรื่องของความเครียด เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยการซักประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณ สามพันกว่าคน เขาพบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นคนฉลาด เป็นคนเก่ง ชอบแข่งขันชิง ดีชิงเด่น เป็นคนเครียดง่าย ทำงานแข่งกับเวลา
นพ.เฟรดแมน ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบัน วิจัยโรงพยาบาลเม้าส์ไซออน ในนครซานฟรานซิสโก กล่าวว่า คนไข้เหล่านี้ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ แต่อยู่ในสภาพเหมือนนักวิ่งที่กำลังออกจากจุดสตาร์ท ซึ่งได้รับความกดดัน และถ้าชีวิตเป็นการแข่งขันที่ไม่สิ้นสุดแล้วละก็ คนเหล่านี้มักจะมาอยู่ที่จุดเริ่มออกสตาร์ทเสมอ นพ.เฟรดแมนเรียกบุคลิกภาพแบบนี้ว่า บุคลิกภาพแบบ เอ (Personality Type A) ซึ่งเป็นคนที่มีความพยายามที่จะแข่งขัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้เวลาที่น้อยที่สุด และลึกๆแล้วคนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีบุคลิกขาดความมั่นคงในตนเอง กลัวความล้มเหลว จึงต้องทด แทนโดยการแข่งขันให้ประสบชัยชนะโดยเร็ว และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็จะตั้งเป้าให้สูงขึ้นไปอีก ยากขึ้น และกดดันมากขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้เป็นคนก้าวร้าว ใจร้อน และขาดความอดทน คนเหล่านี้จึงมี เวลาน้อยสำหรับเพื่อน ครอบครัว และการพักผ่อน คนที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
นพ.เฟรดแมน ได้ร่วมกับเพื่อนเขียนหนังสือ 2 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือขายดีในเวลาต่อมา คือ หนังสือ Type A Behavior and Your Heart และ Treating Type A Behavior and Your Heart
นอกจากนี้ นพ.เฟรดแมนยังได้เรียกบุคลิกภาพอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจว่า บุคลิกภาพแบบ บี (Personality Type B) ซึ่งจะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพดังนี้ คือ
• รับฟังความเห็นของผู้อื่น และพร้อมจะหยุดโต้เถียงเมื่อได้รับคำแนะนำ
• เป็นคนกัดแล้วปล่อย เห็นว่างานในชีวิต เป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด ค่อยทำค่อยไป ไม่รีบร้อน ไม่ทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
• อดทนต่อการรอคอย สามารถรอคอยอะไรได้นานๆ โดยไม่หงุดหงิด รอคิวสาธารณะต่างๆ อดทนได้เวลาที่คนทำอะไรช้าๆ ไม่ทันใจเรา
• ยอมรับฟังคำวิจารณ์ของผู้อื่น ทั้งในส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และพร้อมที่จะพูดคุยทำความเข้าใจด้วย
• ให้อภัยผู้อื่นได้เมื่อถูกล่วงเกิน ให้โอกาสแก่คนอื่น เช่น ในเวลาที่ขับรถช้า ก็มักจะขับในเลนซ้าย เพื่อให้โอกาสผู้ที่ขับรถเร็วกว่าแซงในเลนขวา
• ยิ้มเสมอๆ เป็นคนใจเย็น คนที่มีลักษณะใจเย็น ไม่โกรธง่าย ไม่เห็นแก่ตัว เป็นคนสุขุมคัมภีรภาพ จิตใจหนักแน่นมั่นคง คนที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้มักจะไม่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เหล่านี้เป็นการศึกษาของ นพ.เฟรดแมน และคณะ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเริ่มเป็นปัญหาขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่กินดีอยู่ดี คนอ้วน ไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก้อนไขมันและหินปูนเริ่มจับตัวเป็นก้อน(Plaques) แล้วจับตาม ผนังเส้นเลือด ทำให้รูในเส้นเลือดตีบตันลง ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อออกแรงทำงาน หรือเวลาออกกำลังกาย บางครั้งก้อนไขมันเล็กๆ อาจจะหลุดไปอุดเส้นเลือดหัวใจ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันและถึงแก่ชีวิตได้
นพ.เมเยอร์ เฟรดแมน (Mayer Friedman) อายุรแพทย์ทางโรคหัวใจสังเกตพบว่า เก้าอี้คนไข้ในห้องนั่งรอตรวจมักจะหักบริเวณครึ่งหน้า เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ดูแล ก็ได้คำตอบว่า คนไข้ชอบนั่งขอบเก้าอี้ทางด้านหน้า และไม่นั่งนิ่งๆ จะโยกไปมาตลอดเวลา ครั้งแรกเขายังไม่เข้าใจอะไรมากนัก จนเมื่อเขาได้ร่วมกับ นพ.เรย์ โรเซนแมน (Ray Rosenman) เพื่อนร่วมงาน ทำการศึกษาเรื่องของความเครียด เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยการซักประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณ สามพันกว่าคน เขาพบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นคนฉลาด เป็นคนเก่ง ชอบแข่งขันชิง ดีชิงเด่น เป็นคนเครียดง่าย ทำงานแข่งกับเวลา
นพ.เฟรดแมน ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบัน วิจัยโรงพยาบาลเม้าส์ไซออน ในนครซานฟรานซิสโก กล่าวว่า คนไข้เหล่านี้ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ แต่อยู่ในสภาพเหมือนนักวิ่งที่กำลังออกจากจุดสตาร์ท ซึ่งได้รับความกดดัน และถ้าชีวิตเป็นการแข่งขันที่ไม่สิ้นสุดแล้วละก็ คนเหล่านี้มักจะมาอยู่ที่จุดเริ่มออกสตาร์ทเสมอ นพ.เฟรดแมนเรียกบุคลิกภาพแบบนี้ว่า บุคลิกภาพแบบ เอ (Personality Type A) ซึ่งเป็นคนที่มีความพยายามที่จะแข่งขัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้เวลาที่น้อยที่สุด และลึกๆแล้วคนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีบุคลิกขาดความมั่นคงในตนเอง กลัวความล้มเหลว จึงต้องทด แทนโดยการแข่งขันให้ประสบชัยชนะโดยเร็ว และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็จะตั้งเป้าให้สูงขึ้นไปอีก ยากขึ้น และกดดันมากขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้เป็นคนก้าวร้าว ใจร้อน และขาดความอดทน คนเหล่านี้จึงมี เวลาน้อยสำหรับเพื่อน ครอบครัว และการพักผ่อน คนที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
นพ.เฟรดแมน ได้ร่วมกับเพื่อนเขียนหนังสือ 2 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือขายดีในเวลาต่อมา คือ หนังสือ Type A Behavior and Your Heart และ Treating Type A Behavior and Your Heart
นอกจากนี้ นพ.เฟรดแมนยังได้เรียกบุคลิกภาพอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจว่า บุคลิกภาพแบบ บี (Personality Type B) ซึ่งจะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพดังนี้ คือ
• รับฟังความเห็นของผู้อื่น และพร้อมจะหยุดโต้เถียงเมื่อได้รับคำแนะนำ
• เป็นคนกัดแล้วปล่อย เห็นว่างานในชีวิต เป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด ค่อยทำค่อยไป ไม่รีบร้อน ไม่ทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
• อดทนต่อการรอคอย สามารถรอคอยอะไรได้นานๆ โดยไม่หงุดหงิด รอคิวสาธารณะต่างๆ อดทนได้เวลาที่คนทำอะไรช้าๆ ไม่ทันใจเรา
• ยอมรับฟังคำวิจารณ์ของผู้อื่น ทั้งในส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และพร้อมที่จะพูดคุยทำความเข้าใจด้วย
• ให้อภัยผู้อื่นได้เมื่อถูกล่วงเกิน ให้โอกาสแก่คนอื่น เช่น ในเวลาที่ขับรถช้า ก็มักจะขับในเลนซ้าย เพื่อให้โอกาสผู้ที่ขับรถเร็วกว่าแซงในเลนขวา
• ยิ้มเสมอๆ เป็นคนใจเย็น คนที่มีลักษณะใจเย็น ไม่โกรธง่าย ไม่เห็นแก่ตัว เป็นคนสุขุมคัมภีรภาพ จิตใจหนักแน่นมั่นคง คนที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้มักจะไม่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เหล่านี้เป็นการศึกษาของ นพ.เฟรดแมน และคณะ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)