xs
xsm
sm
md
lg

ความรู้คู่สุขภาพ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สูบบุหรี่-เบาหวาน เสี่ยงสมองเสื่อม
รายงานในเจอร์นัล ออฟ นิวโรโลจี, นิวโรเซอร์จิลี แอนด์ ไซเคียเอทรี ระบุว่าคนอายุไม่เกิน 55 ปีที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 5 เท่า และถ้าเป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในมินนิโซตาและนอร์ทแคโรไลนา รวมถึงจากโรงพยาบาลจอห์นส์ ฮอปกินส์ และศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี ทำการศึกษาและติดตามผลกลุ่มตัวอย่างอายุ 46-70 ปี กว่า 11,000 คน ในระยะเวลา 12-14 ปีที่ติดตามผล พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 203 คนเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งดูเหมือนว่ารูปแบบการใช้ชีวิตในช่วงวัยกลางคนมีบทบาทสำคัญกับเรื่องนี้
การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับโรคสมองเสื่อม ซึ่งนักวิจัยระบุว่าไม่ใช่สิ่งที่เกินคาด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สามารถทำลายสมองและหลอดเลือดที่เลี้ยงสมองได้ ผู้ที่ยังสูบบุหรี่มีแนวโน้มเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนที่ไม่เคยสูบเลยถึง 70% ส่วนคนที่ความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่มีอาการนี้ 60% และคนที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่เป็นกว่าเท่าตัว

คิดดีชีวิตยืนยาว
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก สหรัฐฯ ได้ศึกษาผู้หญิง 100,000 คน อายุระหว่าง 50-79 ปี ที่ไม่เป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเมื่อเริ่มต้นการศึกษา
หลังจากติดตามผลนาน 8 ปี พบว่าคนที่มีจิตใจแจ่มใสมีแนวโน้มน้อยลงในการเสียชีวิตจากอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโคเลสเตอรอลสูง หรืออาการจากภาวะซึม เศร้า การสูบบุหรี่ ไม่ค่อยมีกิจกรรมเคลื่อนไหว ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีความคิดแง่ลบกับคนอื่นหรือไม่ไว้ใจคน อื่น มีแนวโน้มเพิ่มที่จะเสียชีวิตเร็วขึ้น
งานวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเซอร์คูเลชันระบุว่าผู้หญิงที่มองโลกในแง่ดีมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อยลง 9% และมีแนวโน้มเสียชีวิตจากโรคใดๆ ก็ตามหลังการติดตามผลน้อยลง 14% ขณะที่ผู้หญิง ที่มองโลกติดลบมีแนวโน้มเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 16%
ฮิลลารี ทินเดิล ผู้จัดทำรายงานการวิจัยนี้ ระบุว่ามีหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่าความคิดแง่ลบชนิดฝังหัวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และว่าหนึ่งในความเป็นไปได้ที่สามารถอธิบายเรื่องนี้คือ ผู้ที่มองโลกแง่บวกสามารถรับมือกับเหตุการณ์ร้ายๆ ได้ดีกว่า เช่น การดูแลตัวเองเมื่อป่วย อีกทั้งยังมีแนวโน้มออกกำลังกายมากกว่าคนที่มองโลกแง่ร้าย ขณะที่ทัศนคติติดลบอาจเชื่อมโยงกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ หรือกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์
ในงานศึกษาอีกฉบับจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาในแคนาดา พบว่าการคาดหวังในแง่บวกช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นประสาทและข้อต่อบริเวณคอ ฟื้นตัวเร็วขึ้นสามเท่า ส่วนคนที่คาดหวังต่ำว่าจะหายสนิทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสี่เท่าที่จะยังมีอาการเรื้อรังอยู่อีกหกเดือน

เตือนนอนวันละมากกว่า 8 ชม. เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มเป็นเท่าตัว
อันตราย! ผลวิจัยระบุคนที่นอน เกินวันละ 8 ชม. ไม่ว่าจะเป็นพวก นอนจนตะวันสายโด่ง หรือพวกที่แอบหลับตอนบ่าย มีแนวโน้มเพิ่มเท่าตัวที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์
งานวิจัยล่าสุดนี้จัดทำโดยผู้เชี่ยว ชาญจากโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมาดริด สเปน โดยการศึกษาชาย-หญิงอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 3,286 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะถูกสอบถามประวัติสุขภาพและรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น นอนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง โดยครอบ คลุมการงีบหลับตอนกลางวันด้วย
จากนั้น นักวิจัยจะติดตามผลกลุ่ม ตัวอย่างนานกว่าสามปี ซึ่งปรากฏว่าในระหว่างนั้นมี 140 คนที่มีอาการอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมรูปแบบ อื่นๆ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ นอนวันละเกิน 8-9 ชั่วโมง มีแนวโน้มเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว
ในรายงานที่อยู่ในวารสารยูโรเปียน เจอร์นัล ออฟ นิวโรโลจี้ นักวิจัยระบุว่าได้ค้นพบความเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างการนอนนานๆ กับโรคสมองเสื่อม
“การนอนนานๆ อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้น ของโรคนี้ หรืออาจทำให้ความ เสี่ยงโรคนี้เพิ่ม ขึ้น แต่กลไกของความเชื่อมโยงนี้ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้”
ดร.ซูซานน์ ซอเรนเซน หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอัลไซเมอร์ โซไซตี้ แสดงความเห็นว่า รายงานฉบับนี้สะท้อนว่า การนอนนานกว่าปกติและความรู้สึกง่วงเหงาซึมเซาระหว่างวัน อาจเชื่อมโยงกับการเป็นโรคสมองเสื่อมภายในสามปี
“ไม่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรมที่บ่งชี้ว่าการนอนนานกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงของโรคสมองเสื่อม แต่อาจเป็นเพียงสัญญาณเบื้องต้นของอาการที่ยังตรวจไม่พบเท่านั้น เนื่องจากขณะนี้มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันงานศึกษาล่าสุดนี้”

ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติมีแนวโน้มเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การศึกษาในสหรัฐฯพบว่าผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทองตั้งแต่อายุ 42 ปี หรือน้อยกว่านั้น มีแนวโน้มเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ซึ่งเป็นประเภทที่พบมากที่สุดในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง
ทีมนักวิจัยได้ศึกษาและติดตามผลผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 1,400 คนนาน 20 ปี ซึ่งพบว่ากว่า 90% ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเป็นคนที่เข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ เชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างมากในช่วงต้นของวัยทอง
ทั้งนี้ เอสโตรเจนที่มีปริมาณสูงในกระแสเลือดของผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนช่วยปกป้องหัวใจ
นักวิจัยเสริมว่า ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตควรโฟกัสที่ปริมาณเอสโตรเจน

ร้องเพลงสุขใจ ช่วยผู้ป่วยลำไส้แปรปรวน
เผยเคล็ดลับสุขภาพจากงานวิจัยล่าสุด ว่าการร้องเพลงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากโรคลำไส้แปรปรวน โดยผลการวิจัยจากสวีเดนพบว่า ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่ร้องเพลงสัปดาห์ละครั้งนานหนึ่งปี มีอาการปวดท้องน้อยลง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะกิจกรรมรื่นเริงนี้ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความรู้สึกดี ‘ออกซิโตซิน’ ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวดออกมามากขึ้น
ทั้งนี้ โรคลำไส้แปรปรวนพบในประชากร 10-15% ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดช่องท้อง ลำไส้ใหญ่บวม และท้องเสีย และผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า
โรคนี้ไม่มีทางรักษา ไม่ว่าจะด้วยการเปลี่ยนอาหารหรือการใช้ยาบำบัดใดๆ รวมถึงยังไม่ทราบสาเหตุของโรค แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความเครียด

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 107 ตุลาคม 2552 โดยธาราทิพย์)
กำลังโหลดความคิดเห็น