ความเดิมจากตอนที่แล้ว
เรื่องราวของผู้กล่าวคำว่า “นโม” ๕ คน ในจำนวน ๘ คนที่ปรากฏในพระสูตร ได้แก่๑.พรหมายุพราหมณ์ ๒.ชาณุโสณีพราหมณ์ ๓.พระเจ้าปเสนทิโกศล ๔.ท้าวสักกะจอมเทพ ๕.ธนัญชานีพราหมณ์
๖.อารามทัณฑพราหมณ์ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สมจิตตวรรคที่ ๔ มีพรรณนาไว้ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระมหากัจจายนะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ พราหมณ์อารามทัณฑะได้เข้าไปหาท่าน ได้ปราศรัยแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า “ดูกรท่านกัจจายนะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน”
พระมหากัจจายนะ (มหา) ตอบว่า “ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุกำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุมและท่วมทับ แม้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน”
พราหมณ์อารามทัณฑะ(อา.) “ดูกรท่านกัจจายนะ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้สมณะกับสมณะวิวาทกัน”
มหา. “ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ ถูกทิฐิราคะกลุ้มรุมและท่วมทับ แม้สมณะกับสมณะก็วิวาทกัน”
อา. “ดูกรท่านกัจจายนะ ก็ในโลก ยังจะมีใครบ้างไหม ที่ก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้ และก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้เสียได้”
มหา. “ดูกรพราหมณ์ ในโลก มีท่านผู้เช่นนี้”
อา. “ดูกรท่านกัจจายนะ ท่านผู้นั้นเป็นใคร?”
มหา. “ดูกรพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี ณ พระนครนั้น ทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลังประทับอยู่ ท่านผู้นั้นก็คือพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
เมื่อพระมหากัจจายนะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วคุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับได้เปล่งอุทาน (คำที่เกิดแต่ปีติเก็บไว้ข้างในใจไม่อยู่ ก็ล้นออกข้างนอก) ๓ ครั้ง ว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น) ผู้ก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้แล้ว กับทั้งได้ก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้ด้วย ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านกัจจายนะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านกัจจายนะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”
ในคำตอบของพระมหากัจจายนะที่กล่าวว่ากามราคะเป็นเหตุแห่งการวิวาทนั้น กามราคะ หมายถึงอาการที่จิตยินดีเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ซึ่งเรียกว่ากามคุณ จนหลงใหลไม่ปล่อยวางง่าย บุคคลเมื่อปล่อยตนให้ตกไปในอำนาจแห่งกามราคะ ย่อมนำให้เขาก่อการวิวาทกับผู้อื่นได้ง่าย เพราะความปรารถนาให้ตนสำเร็จในกามราคะนั้น ยกตัวอย่างเช่นความปรารถนาในหญิงงามของบุรุษ เมื่อหญิงงามมีเพียงคนเดียว บุรุษผู้ ปรารถนาในหญิงนั้นมีหลายคน บุรุษเหล่านั้นย่อมหาวิธีการที่จะทำให้ตนได้ครอบครองหญิงงามคนนี้ ที่สุดเพราะ ความแก่งแย่งนี้ ทำให้เกิดการวิวาทขึ้น ถ้าบุรุษนั้นเป็นกษัตริย์ การวิวาทย่อมทำให้เกิดสงครามขึ้นได้ในที่สุด
ในคำตอบที่กล่าวว่าทิฐิราคะเป็นเหตุแห่งการวิวาทนั้น ทิฐิราคะ หมายถึงความเห็นที่เกี่ยวกับความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ ความใคร่ในกามคุณ จัดเป็นมิจฉาทิฐิ สมณะที่ยึดถือทิฐิราคะ ย่อมทำให้เกิดความอวดดื้อถือดี คิดว่าความเห็นของตนถูกต้อง การกระทำตามความเห็นนั้นของตนถูกต้อง แปลงความในพระธรรมวินัยให้สอด คล้องกับความเห็นของตน เมื่อใดที่มีสมณะอื่นมาแสดงความเห็นที่ไม่สอดคล้องกับตน ก็พยายามเอาชนะสมณะนั้นโดยถือว่าความเห็นของตนถูกต้อง ที่สุดด้วยอำนาจแห่งความหลงผิด ก็ทำให้สมณะเหล่านั้นทะเลาะกัน
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้อธิบายเรื่องทิฐินี้ไว้ในพุทธาจาโรลิขิต ดังนี้ นะโม คือความนอบน้อม ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมแต่พระบรมครูปราชญ์ พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่นอบน้อมต่อพระพุทธองค์ได้แก่ ผู้พิจารณาตน ผู้มีสติ ผู้ละทิฐิ ผู้เข้าถึงอริยสัจธรรม ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้ไม่ยึดในขันธ์ เช่น ผู้เห็นทุกข์ในทุกข์ เห็นธรรมในธรรม ตามความเป็นจริง....ผู้ใดยังสำคัญว่า ตนรู้แล้ว ตนเป็นผู้ที่ฉลาดแล้ว ผู้นั้นแบกความโง่ ก็ได้แก่งมโง่ของตนนั่นเอง มิใช่อื่น อย่าสำคัญตนว่า เป็นโง่ เป็นรู้ เป็นฉลาดใดๆ หากมีคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาไม่มี ละทิฐิ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ละด้วยตนไม่หลง ปฏิบัติตนให้แจ้ง ละ ปล่อยวาง หากยังแสดงตนอวดว่าเป็นคนเฉยๆ ไม่โง่ ไม่ฉลาด ก็คือผู้แสดงทิฐิในตน ถือว่าตนโง่ก็เป็นทิฐิ ถือว่าตนฉลาดก็เป็นทิฐิ ถือว่าตนไม่โง่ไม่ฉลาดก็เป็นทิฐิ....
พรรณนาเรื่องอารามทัณฑพราหมณ์ โดยพิสดารเช่นนี้ ด้วยประสงค์จะให้พระเถรานุเถระได้ตระหนักถึงกิจแห่งพุทธสาวก ที่ต้องหมั่นศึกษาทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในพุทธธรรม สามารถยังบุคคลผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริง ใจ เหมือนดังที่พระมหากัจจจายนะได้กระทำให้อารามทัณฑพราหมณ์เลื่อมใส จนเปล่งอุทานว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” แล
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยพระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
เรื่องราวของผู้กล่าวคำว่า “นโม” ๕ คน ในจำนวน ๘ คนที่ปรากฏในพระสูตร ได้แก่๑.พรหมายุพราหมณ์ ๒.ชาณุโสณีพราหมณ์ ๓.พระเจ้าปเสนทิโกศล ๔.ท้าวสักกะจอมเทพ ๕.ธนัญชานีพราหมณ์
๖.อารามทัณฑพราหมณ์ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สมจิตตวรรคที่ ๔ มีพรรณนาไว้ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระมหากัจจายนะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ พราหมณ์อารามทัณฑะได้เข้าไปหาท่าน ได้ปราศรัยแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า “ดูกรท่านกัจจายนะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน”
พระมหากัจจายนะ (มหา) ตอบว่า “ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุกำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุมและท่วมทับ แม้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน”
พราหมณ์อารามทัณฑะ(อา.) “ดูกรท่านกัจจายนะ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้สมณะกับสมณะวิวาทกัน”
มหา. “ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ ถูกทิฐิราคะกลุ้มรุมและท่วมทับ แม้สมณะกับสมณะก็วิวาทกัน”
อา. “ดูกรท่านกัจจายนะ ก็ในโลก ยังจะมีใครบ้างไหม ที่ก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้ และก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้เสียได้”
มหา. “ดูกรพราหมณ์ ในโลก มีท่านผู้เช่นนี้”
อา. “ดูกรท่านกัจจายนะ ท่านผู้นั้นเป็นใคร?”
มหา. “ดูกรพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี ณ พระนครนั้น ทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลังประทับอยู่ ท่านผู้นั้นก็คือพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
เมื่อพระมหากัจจายนะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วคุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับได้เปล่งอุทาน (คำที่เกิดแต่ปีติเก็บไว้ข้างในใจไม่อยู่ ก็ล้นออกข้างนอก) ๓ ครั้ง ว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น) ผู้ก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้แล้ว กับทั้งได้ก้าวล่วงการกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุมและท่วมทับนี้ด้วย ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านกัจจายนะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านกัจจายนะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”
ในคำตอบของพระมหากัจจายนะที่กล่าวว่ากามราคะเป็นเหตุแห่งการวิวาทนั้น กามราคะ หมายถึงอาการที่จิตยินดีเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ซึ่งเรียกว่ากามคุณ จนหลงใหลไม่ปล่อยวางง่าย บุคคลเมื่อปล่อยตนให้ตกไปในอำนาจแห่งกามราคะ ย่อมนำให้เขาก่อการวิวาทกับผู้อื่นได้ง่าย เพราะความปรารถนาให้ตนสำเร็จในกามราคะนั้น ยกตัวอย่างเช่นความปรารถนาในหญิงงามของบุรุษ เมื่อหญิงงามมีเพียงคนเดียว บุรุษผู้ ปรารถนาในหญิงนั้นมีหลายคน บุรุษเหล่านั้นย่อมหาวิธีการที่จะทำให้ตนได้ครอบครองหญิงงามคนนี้ ที่สุดเพราะ ความแก่งแย่งนี้ ทำให้เกิดการวิวาทขึ้น ถ้าบุรุษนั้นเป็นกษัตริย์ การวิวาทย่อมทำให้เกิดสงครามขึ้นได้ในที่สุด
ในคำตอบที่กล่าวว่าทิฐิราคะเป็นเหตุแห่งการวิวาทนั้น ทิฐิราคะ หมายถึงความเห็นที่เกี่ยวกับความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ ความใคร่ในกามคุณ จัดเป็นมิจฉาทิฐิ สมณะที่ยึดถือทิฐิราคะ ย่อมทำให้เกิดความอวดดื้อถือดี คิดว่าความเห็นของตนถูกต้อง การกระทำตามความเห็นนั้นของตนถูกต้อง แปลงความในพระธรรมวินัยให้สอด คล้องกับความเห็นของตน เมื่อใดที่มีสมณะอื่นมาแสดงความเห็นที่ไม่สอดคล้องกับตน ก็พยายามเอาชนะสมณะนั้นโดยถือว่าความเห็นของตนถูกต้อง ที่สุดด้วยอำนาจแห่งความหลงผิด ก็ทำให้สมณะเหล่านั้นทะเลาะกัน
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้อธิบายเรื่องทิฐินี้ไว้ในพุทธาจาโรลิขิต ดังนี้ นะโม คือความนอบน้อม ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมแต่พระบรมครูปราชญ์ พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่นอบน้อมต่อพระพุทธองค์ได้แก่ ผู้พิจารณาตน ผู้มีสติ ผู้ละทิฐิ ผู้เข้าถึงอริยสัจธรรม ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้ไม่ยึดในขันธ์ เช่น ผู้เห็นทุกข์ในทุกข์ เห็นธรรมในธรรม ตามความเป็นจริง....ผู้ใดยังสำคัญว่า ตนรู้แล้ว ตนเป็นผู้ที่ฉลาดแล้ว ผู้นั้นแบกความโง่ ก็ได้แก่งมโง่ของตนนั่นเอง มิใช่อื่น อย่าสำคัญตนว่า เป็นโง่ เป็นรู้ เป็นฉลาดใดๆ หากมีคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาไม่มี ละทิฐิ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ละด้วยตนไม่หลง ปฏิบัติตนให้แจ้ง ละ ปล่อยวาง หากยังแสดงตนอวดว่าเป็นคนเฉยๆ ไม่โง่ ไม่ฉลาด ก็คือผู้แสดงทิฐิในตน ถือว่าตนโง่ก็เป็นทิฐิ ถือว่าตนฉลาดก็เป็นทิฐิ ถือว่าตนไม่โง่ไม่ฉลาดก็เป็นทิฐิ....
พรรณนาเรื่องอารามทัณฑพราหมณ์ โดยพิสดารเช่นนี้ ด้วยประสงค์จะให้พระเถรานุเถระได้ตระหนักถึงกิจแห่งพุทธสาวก ที่ต้องหมั่นศึกษาทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในพุทธธรรม สามารถยังบุคคลผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริง ใจ เหมือนดังที่พระมหากัจจจายนะได้กระทำให้อารามทัณฑพราหมณ์เลื่อมใส จนเปล่งอุทานว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” แล
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยพระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)