ความประมาท นั้นแปลว่า ความขาดสติ ความละเลย ความทอดทิ้ง ความเพิก เฉยความเฉื่อยชา ความไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ความผัดเพี้ยน ความไม่เอาเรื่อง เอาราว ไม่ใส่ใจ ความนิ่งนอนใจ ความเรื่อย เปื่อย เรียกว่า ความประมาท สิ่งที่ควรจะต้องทำเห็นอยู่ก็ผัดเพี้ยนไป ไว้พรุ่งนี้เถอะค่อยทำ นี่เรียกว่าความประมาท หรือมัวแต่เพลิดเพลินมัวเมาหลงใหลในความสุข จึงละเลยไม่ใส่ใจไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ นี่ก็เรียกว่าความประมาท
ความประมาทนี้สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเกิดความประมาทเสียอย่างเดียว อะไรจะเกิดขึ้น
๑. เริ่มต้นทีเดียว ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์สั่งสอนมา ๔๕ พรรษา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ มีในคัมภีร์มากมายเท่าไร เรียนกันเท่าไร รู้จำได้เท่าไร ประมาทเสียอย่างเดียว ธรรมเหล่านั้นก็นอนหลับอยู่ในคัมภีร์หมด ไม่ได้รับการปฏิบัติ เพราะความ ประมาทตัวเดียวก็ทำให้เสียหมด ฉะนั้นใครจะมาพูดว่ารู้ธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ ประมาทเสียอย่างเดียวเขาก็ไม่ปฏิบัติเลย ความไม่ประมาทจึงรวมเอาธรรมอื่นๆไว้หมดก็เพราะอย่างนี้
แต่ถ้าไม่ประมาทก็ตรงกันข้าม เรียนธรรมมาข้อหนึ่งก็ได้รับการปฏิบัติข้อหนึ่ง เรียนมาสองข้อก็ได้รับการปฏิบัติสองข้อ เรียนมาเท่าไรก็ได้รับการปฏิบัติทั้งหมด ความไม่ประมาทจึงครอบคลุมเหมือนเป็นรอยเท้าช้าง เพราะทำให้ธรรมทุกข้อที่พระพุทธเจ้าสอนที่ได้เล่าเรียนได้รับการปฏิบัติจริง
๒. มันไปดักข้างหน้าอีกที คนที่ปฏิบัติธรรมหรือสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าไปในความดีงาม พอไปถึงจุดได้ประสบความสำเร็จมีความสุขเป็นคนดีแล้ว ก็มักจะภูมิใจ พอใจในความดีงามความสุขความสำเร็จ แล้วก็หยุดหรือเฉื่อยชาลง ตลอดจนหลงเพลินในความดีงามความสุขสำเร็จนั้น ไม่ก้าวต่อไป อุตส่าห์ปฏิบัติธรรมทำ ความดีเจริญก้าวหน้า ก็มาตกหลุมสำคัญคือหลุมความ ประมาทไปเสีย
นี่แหละความไม่ประมาท มันสำคัญตรงนี้ คือคนที่ไม่ดีเราก็พยายามสอนให้เขาทำดี ยังไม่มีความสุขก็พยายามสอนจ้ำจี้จ้ำไชให้สร้างตัว พัฒนาชีวิต พัฒนาทุกอย่างจะได้มีความสุข ยังไม่มีความสำเร็จก็ส่งเสริมกระตุ้นเร้าให้เขาขยันหมั่นเพียร ก็อุตส่าห์สอนกันมาจนกระทั่งเขาก็มีความสำเร็จมีความสุขมีความดีจริง แต่พอเขาดีมีความสุขมีความสำเร็จ เขาก็มาตกหลุมความประมาทอีก
ความประมาทเป็นหลุมดักคนดี คนประสบความสำเร็จ และคนมีความสุข เพราะฉะนั้น บุคคล วงศ์ตระกูล สังคม ประเทศชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองเดี๋ยวก็มาตกหลุมนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ในพระสูตรว่า แม้แต่พระอริยเจ้าปฏิบัติธรรมได้บรรลุธรรมพิเศษเบื้องสูง ก็มาภูมิใจว่าเรานี้ได้พยายามปฏิบัติประสบความสำเร็จแล้ว ได้บรรลุธรรมพิเศษเบื้องสูงถึงเพียงนี้ เสร็จแล้วก็ “เกิดสันโดษขึ้นมา” คือ เกิดความพอใจในความดีที่ตนได้บรรลุธรรม ตอนนี้ก็จะทำให้เฉื่อย ไม่ขมีขมัน ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย พระพุทธเจ้าเรียกพระอริยะนั้นว่า “ปมาทวิหารี” แปลว่า ผู้อยู่ด้วยความประมาท ถ้าหยุดแล้วก็หมายถึงเสื่อมลง ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรมสูงสุดเป็นพระอรหันต์อย่าได้นอนใจ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ บุคคลผู้เดียวที่จะพ้นจากความประมาทคือพระอรหันต์ แม้แต่พระอนาคามีก็ยังประมาทได้
เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาทจึงเป็นหลักธรรมสูงสุด มีพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ประมาทเลย ถ้าเป็นมนุษย์ปุถุชนก็ต้องเร่งกันอยู่เสมอ ท่านใช้ความไม่ประมาทนี้เป็นตัววัดการพัฒนามนุษย์ คนเราที่ว่าเจริญแล้วก็มักจะมาติดตรงนี้
สำหรับคนที่ว่าดี เช่น พระโสดาบันบรรลุธรรมที่เป็นความดีเบื้องสูงเกิดความประมาท พอใจ หยุดหรือเฉื่อยลง ก็กลายเป็นผู้ประมาท
คนที่มีความสุขก็เหมือนกัน อาจจะสุขเพราะว่าทำปัจจัยภายนอกได้ผลประสบความสำเร็จ ได้สร้างทรัพย์สินเงินทองขึ้นพรั่งพร้อม เช่น พ่อแม่เคยยากจนข้นแค้น ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็กระตือรือร้นขวน ขวายเร่งรัดทำการงานหาเงินจนกระทั่งมั่งมีศรีสุข ตัวเองเคยขยันมาจนชินเป็นนิสัยก็เลยขยันต่อมา แต่พอมีลูก ลูกเกิดมาท่าม กลางความสุขสบาย ไม่เคยสร้างนิสัยขยันหมั่นเพียรมาก่อน และพ่อแม่ก็ใช้พรหมวิหารไม่ครบ เอาแต่เมตตา กรุณา มุทิตา ไม่ยอมใช้อุเบกขา ไม่ฝึกลูก ไม่หัดให้ลูกรับผิดชอบ ทำให้ลูกอย่างเดียว ไม่ดูให้ลูกทำ ลูกก็เลยเพลิดเพลินหลงมัวเมาในความสุข ก็เลยเสื่อม เพราะมัวเมาในความสุขจากความพรั่งพร้อมภายนอก
ไม่เฉพาะสุขภายนอกจากวัตถุที่พรั่งพร้อมเป็นต้น แม้แต่สุขภายในก็ทำให้ประมาทได้ คนที่ปฏิบัติธรรมมาดีก็มีความสุขทางจิตใจมากขึ้นๆ บางทีแค่รู้จักใช้ธรรม มาทำใจ ก็ทำจิตใจให้สบายได้ หายทุกข์ แม้ แต่ยามประสบเคราะห์ร้ายและภัยพิบัติ เกิดความพลัดพราก ความเสื่อมภายนอก แต่ปรับใจได้ ทำใจได้ก็มีความสุข อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับใจได้มีความสุขสบายก็ทำให้ประมาทได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงว่าดี จริง แม้แต่ปรับใจได้ทำใจได้ก็มีจุดเสื่อมเหมือนกัน คือ เกิดความสบายใจแล้ว เลยไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ได้แต่สุขสบายสงบใจอยู่ข้างใน แต่ปัญหาข้างนอก มีอยู่ไม่แก้ไข เพราะตัวเองสบายใจแล้ว เป็นอย่างไรก็เป็นไป เราทำใจได้แล้ว ฉะนั้นก็กลับไปแพ้คนที่เขาจิตใจไม่สบายมีความทุกข์เร่าร้อนกระวนกระวายปรับใจไม่ได้ ต้องไป แก้ไขข้างนอก แม้ว่าเขาจะเสียอย่างหนึ่งคือใจเป็นทุกข์ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาภายนอกได้บ้าง เขาทุกข์ข้างในแต่แก้ไขข้างนอก ส่วนคนปรับใจได้ข้างในสบายแต่ข้างนอกเป็นไฟ ก็เลยดีคนละอย่างเสียคนละอย่าง ดีไม่จริงทั้งคู่
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนหลักความไม่ประมาทมาดักไว้ว่า ถ้าทำความสุขให้เกิดขึ้นแก่ตนได้ จะสุขจากปัจจัยภายนอกก็ตาม จากปัจจัยภายในก็ตาม จะ ต้องไม่ประมาท จะต้องไม่หลงติดในความสุข ไม่ว่าประการใดๆ ทั้งสิ้น
(จากส่วนหนึ่งของหนังสือ ‘จาริกบุญ-จารึกธรรม’)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม)
ความประมาทนี้สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเกิดความประมาทเสียอย่างเดียว อะไรจะเกิดขึ้น
๑. เริ่มต้นทีเดียว ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์สั่งสอนมา ๔๕ พรรษา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ มีในคัมภีร์มากมายเท่าไร เรียนกันเท่าไร รู้จำได้เท่าไร ประมาทเสียอย่างเดียว ธรรมเหล่านั้นก็นอนหลับอยู่ในคัมภีร์หมด ไม่ได้รับการปฏิบัติ เพราะความ ประมาทตัวเดียวก็ทำให้เสียหมด ฉะนั้นใครจะมาพูดว่ารู้ธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ ประมาทเสียอย่างเดียวเขาก็ไม่ปฏิบัติเลย ความไม่ประมาทจึงรวมเอาธรรมอื่นๆไว้หมดก็เพราะอย่างนี้
แต่ถ้าไม่ประมาทก็ตรงกันข้าม เรียนธรรมมาข้อหนึ่งก็ได้รับการปฏิบัติข้อหนึ่ง เรียนมาสองข้อก็ได้รับการปฏิบัติสองข้อ เรียนมาเท่าไรก็ได้รับการปฏิบัติทั้งหมด ความไม่ประมาทจึงครอบคลุมเหมือนเป็นรอยเท้าช้าง เพราะทำให้ธรรมทุกข้อที่พระพุทธเจ้าสอนที่ได้เล่าเรียนได้รับการปฏิบัติจริง
๒. มันไปดักข้างหน้าอีกที คนที่ปฏิบัติธรรมหรือสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าไปในความดีงาม พอไปถึงจุดได้ประสบความสำเร็จมีความสุขเป็นคนดีแล้ว ก็มักจะภูมิใจ พอใจในความดีงามความสุขความสำเร็จ แล้วก็หยุดหรือเฉื่อยชาลง ตลอดจนหลงเพลินในความดีงามความสุขสำเร็จนั้น ไม่ก้าวต่อไป อุตส่าห์ปฏิบัติธรรมทำ ความดีเจริญก้าวหน้า ก็มาตกหลุมสำคัญคือหลุมความ ประมาทไปเสีย
นี่แหละความไม่ประมาท มันสำคัญตรงนี้ คือคนที่ไม่ดีเราก็พยายามสอนให้เขาทำดี ยังไม่มีความสุขก็พยายามสอนจ้ำจี้จ้ำไชให้สร้างตัว พัฒนาชีวิต พัฒนาทุกอย่างจะได้มีความสุข ยังไม่มีความสำเร็จก็ส่งเสริมกระตุ้นเร้าให้เขาขยันหมั่นเพียร ก็อุตส่าห์สอนกันมาจนกระทั่งเขาก็มีความสำเร็จมีความสุขมีความดีจริง แต่พอเขาดีมีความสุขมีความสำเร็จ เขาก็มาตกหลุมความประมาทอีก
ความประมาทเป็นหลุมดักคนดี คนประสบความสำเร็จ และคนมีความสุข เพราะฉะนั้น บุคคล วงศ์ตระกูล สังคม ประเทศชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองเดี๋ยวก็มาตกหลุมนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ในพระสูตรว่า แม้แต่พระอริยเจ้าปฏิบัติธรรมได้บรรลุธรรมพิเศษเบื้องสูง ก็มาภูมิใจว่าเรานี้ได้พยายามปฏิบัติประสบความสำเร็จแล้ว ได้บรรลุธรรมพิเศษเบื้องสูงถึงเพียงนี้ เสร็จแล้วก็ “เกิดสันโดษขึ้นมา” คือ เกิดความพอใจในความดีที่ตนได้บรรลุธรรม ตอนนี้ก็จะทำให้เฉื่อย ไม่ขมีขมัน ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย พระพุทธเจ้าเรียกพระอริยะนั้นว่า “ปมาทวิหารี” แปลว่า ผู้อยู่ด้วยความประมาท ถ้าหยุดแล้วก็หมายถึงเสื่อมลง ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรมสูงสุดเป็นพระอรหันต์อย่าได้นอนใจ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ บุคคลผู้เดียวที่จะพ้นจากความประมาทคือพระอรหันต์ แม้แต่พระอนาคามีก็ยังประมาทได้
เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาทจึงเป็นหลักธรรมสูงสุด มีพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ประมาทเลย ถ้าเป็นมนุษย์ปุถุชนก็ต้องเร่งกันอยู่เสมอ ท่านใช้ความไม่ประมาทนี้เป็นตัววัดการพัฒนามนุษย์ คนเราที่ว่าเจริญแล้วก็มักจะมาติดตรงนี้
สำหรับคนที่ว่าดี เช่น พระโสดาบันบรรลุธรรมที่เป็นความดีเบื้องสูงเกิดความประมาท พอใจ หยุดหรือเฉื่อยลง ก็กลายเป็นผู้ประมาท
คนที่มีความสุขก็เหมือนกัน อาจจะสุขเพราะว่าทำปัจจัยภายนอกได้ผลประสบความสำเร็จ ได้สร้างทรัพย์สินเงินทองขึ้นพรั่งพร้อม เช่น พ่อแม่เคยยากจนข้นแค้น ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็กระตือรือร้นขวน ขวายเร่งรัดทำการงานหาเงินจนกระทั่งมั่งมีศรีสุข ตัวเองเคยขยันมาจนชินเป็นนิสัยก็เลยขยันต่อมา แต่พอมีลูก ลูกเกิดมาท่าม กลางความสุขสบาย ไม่เคยสร้างนิสัยขยันหมั่นเพียรมาก่อน และพ่อแม่ก็ใช้พรหมวิหารไม่ครบ เอาแต่เมตตา กรุณา มุทิตา ไม่ยอมใช้อุเบกขา ไม่ฝึกลูก ไม่หัดให้ลูกรับผิดชอบ ทำให้ลูกอย่างเดียว ไม่ดูให้ลูกทำ ลูกก็เลยเพลิดเพลินหลงมัวเมาในความสุข ก็เลยเสื่อม เพราะมัวเมาในความสุขจากความพรั่งพร้อมภายนอก
ไม่เฉพาะสุขภายนอกจากวัตถุที่พรั่งพร้อมเป็นต้น แม้แต่สุขภายในก็ทำให้ประมาทได้ คนที่ปฏิบัติธรรมมาดีก็มีความสุขทางจิตใจมากขึ้นๆ บางทีแค่รู้จักใช้ธรรม มาทำใจ ก็ทำจิตใจให้สบายได้ หายทุกข์ แม้ แต่ยามประสบเคราะห์ร้ายและภัยพิบัติ เกิดความพลัดพราก ความเสื่อมภายนอก แต่ปรับใจได้ ทำใจได้ก็มีความสุข อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับใจได้มีความสุขสบายก็ทำให้ประมาทได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงว่าดี จริง แม้แต่ปรับใจได้ทำใจได้ก็มีจุดเสื่อมเหมือนกัน คือ เกิดความสบายใจแล้ว เลยไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ได้แต่สุขสบายสงบใจอยู่ข้างใน แต่ปัญหาข้างนอก มีอยู่ไม่แก้ไข เพราะตัวเองสบายใจแล้ว เป็นอย่างไรก็เป็นไป เราทำใจได้แล้ว ฉะนั้นก็กลับไปแพ้คนที่เขาจิตใจไม่สบายมีความทุกข์เร่าร้อนกระวนกระวายปรับใจไม่ได้ ต้องไป แก้ไขข้างนอก แม้ว่าเขาจะเสียอย่างหนึ่งคือใจเป็นทุกข์ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาภายนอกได้บ้าง เขาทุกข์ข้างในแต่แก้ไขข้างนอก ส่วนคนปรับใจได้ข้างในสบายแต่ข้างนอกเป็นไฟ ก็เลยดีคนละอย่างเสียคนละอย่าง ดีไม่จริงทั้งคู่
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนหลักความไม่ประมาทมาดักไว้ว่า ถ้าทำความสุขให้เกิดขึ้นแก่ตนได้ จะสุขจากปัจจัยภายนอกก็ตาม จากปัจจัยภายในก็ตาม จะ ต้องไม่ประมาท จะต้องไม่หลงติดในความสุข ไม่ว่าประการใดๆ ทั้งสิ้น
(จากส่วนหนึ่งของหนังสือ ‘จาริกบุญ-จารึกธรรม’)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม)