ชายตัดฟืนคนหนึ่งเป็นคนที่มีนิสัยชอบโทษคนอื่นอยู่เสมอ เช้านี้เขาไม่ได้ยินเสียงไก่ขันปลุกเหมือนทุกวัน เพราะเมื่อคืนเขากินเหล้าจนเมาหลับไป
ใกล้เที่ยงแล้วเขาจึงงัวเงียตื่นขึ้นมา เมื่อเห็นแสงแดดที่แผดจ้า เขาก็รีบคว้าขวาน ออกไปตัดต้นไม้ เมื่อเดินผ่านไก่โต้งที่กำลังคุ้ยเขี่ยหาอาหารอยู่ เขาก็ตะโกนใส่มันว่า
“เป็นเพราะแกแท้ๆ ที่ไม่ยอมส่งเสียงขันปลุกข้าเลย ทำให้ข้าตื่นสาย แกนี่เลี้ยงเสียข้าวสุกจริงๆ” พูดจบเขาก็เดินเข้าป่าไป
บ่ายคล้อยแล้ว ยังไม่ทันที่ชายหนุ่มจะตัดฟืนได้มากพอ ดวงอาทิตย์ก็เริ่มลับขอบฟ้า เขาจึงต้องแบกฟืนอันน้อยนิดกลับบ้านอย่างหัวเสีย ระหว่างทางเขาได้เจอเพื่อนบ้านที่เป็นคนตัดฟืนเหมือนกัน หอบฟืนกองใหญ่เดินผ่านมา
เพื่อนบ้านจึงถามเขาว่า “ทำไมวันนี้ได้ฟืนน้อยล่ะ”
เขาตอบด้วยความโมโหว่า “เป็นเพราะพระอาทิตย์น่ะซิ ตกดินเร็ว ทำให้ข้าตัดไม่ทัน ไม่รู้จะรีบตกดินไปทำไม”
เมื่อไปถึงบ้านเขาก็โยนฟืนกองไว้ริมรั้ว ไม่ได้เอามาเก็บในบ้านเหมือนเคย แล้วก็รีบเข้า ครัวหุงหาข้าวกิน หลังกินข้าวเสร็จ ชายหนุ่มจึงเข้านอน คืนนั้นฝนตกหนัก ไม้ฟืนที่กอง อยู่จึงเปียกฝนหมด รุ่งเช้าเมื่อเขาตื่นขึ้นมาเห็นฟืนเปียกน้ำ จึงบ่นขึ้นอย่างไม่พอใจว่า
“เป็นเพราะฝนแท้ๆ ที่ทำให้ฟืนข้าเปียก จนเอาไปขายไม่ได้ วันนี้ข้าจะไม่ออกไปตัดฟืน แล้ว”
ชายหนุ่มจึงกินๆนอนๆ อยู่บ้านทั้งวันโดยไม่ทำอะไร ในที่สุดข้าวสารที่เหลืออยู่นิดเดียวก็หมดลง
"แย่แล้ว..เย็นนี้ข้าจะเอาข้าวสารที่ไหนมาหุงกิน นี่เป็นเพราะเจ้าโต้งที่ไม่ยอมขันปลุก ทำให้ข้าตื่นสาย เป็นเพราะพระอาทิตย์ที่รีบตกดิน จนข้าตัดฟืนได้น้อย แล้วก็เป็นเพราะฝนที่ตกลงมาเมื่อคืน ทำให้ฟืนเปียก จนไม่มีฟืนไปขาย ข้าก็เลยไม่มีเงินซื้อข้าวสารมาหุงกิน” ชายตัดฟืนบ่นซ้ำซากกับตัวเอง และวันนั้นเขาต้องนอนหิวโหยไปตลอดคืน โดยไม่มีข้าวสักเมล็ดตกถึงท้อง
.......
ในหลักพระพุทธศาสนาสอนว่า “ผลย่อมเกิดแต่เหตุ” ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตของเรา ควรตั้งสติทบทวนดูว่า เกิดจากการกระทำของตนเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้แก้ไขถูกทาง เพราะคนที่เอาแต่ตำหนิติเตียนกล่าวโทษผู้อื่น โดยไม่มองดูตัวเองนั้น ย่อมจะทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้ในภายหลังดังเช่นชายตัดฟืนคนนี้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยไม้หอม)
ใกล้เที่ยงแล้วเขาจึงงัวเงียตื่นขึ้นมา เมื่อเห็นแสงแดดที่แผดจ้า เขาก็รีบคว้าขวาน ออกไปตัดต้นไม้ เมื่อเดินผ่านไก่โต้งที่กำลังคุ้ยเขี่ยหาอาหารอยู่ เขาก็ตะโกนใส่มันว่า
“เป็นเพราะแกแท้ๆ ที่ไม่ยอมส่งเสียงขันปลุกข้าเลย ทำให้ข้าตื่นสาย แกนี่เลี้ยงเสียข้าวสุกจริงๆ” พูดจบเขาก็เดินเข้าป่าไป
บ่ายคล้อยแล้ว ยังไม่ทันที่ชายหนุ่มจะตัดฟืนได้มากพอ ดวงอาทิตย์ก็เริ่มลับขอบฟ้า เขาจึงต้องแบกฟืนอันน้อยนิดกลับบ้านอย่างหัวเสีย ระหว่างทางเขาได้เจอเพื่อนบ้านที่เป็นคนตัดฟืนเหมือนกัน หอบฟืนกองใหญ่เดินผ่านมา
เพื่อนบ้านจึงถามเขาว่า “ทำไมวันนี้ได้ฟืนน้อยล่ะ”
เขาตอบด้วยความโมโหว่า “เป็นเพราะพระอาทิตย์น่ะซิ ตกดินเร็ว ทำให้ข้าตัดไม่ทัน ไม่รู้จะรีบตกดินไปทำไม”
เมื่อไปถึงบ้านเขาก็โยนฟืนกองไว้ริมรั้ว ไม่ได้เอามาเก็บในบ้านเหมือนเคย แล้วก็รีบเข้า ครัวหุงหาข้าวกิน หลังกินข้าวเสร็จ ชายหนุ่มจึงเข้านอน คืนนั้นฝนตกหนัก ไม้ฟืนที่กอง อยู่จึงเปียกฝนหมด รุ่งเช้าเมื่อเขาตื่นขึ้นมาเห็นฟืนเปียกน้ำ จึงบ่นขึ้นอย่างไม่พอใจว่า
“เป็นเพราะฝนแท้ๆ ที่ทำให้ฟืนข้าเปียก จนเอาไปขายไม่ได้ วันนี้ข้าจะไม่ออกไปตัดฟืน แล้ว”
ชายหนุ่มจึงกินๆนอนๆ อยู่บ้านทั้งวันโดยไม่ทำอะไร ในที่สุดข้าวสารที่เหลืออยู่นิดเดียวก็หมดลง
"แย่แล้ว..เย็นนี้ข้าจะเอาข้าวสารที่ไหนมาหุงกิน นี่เป็นเพราะเจ้าโต้งที่ไม่ยอมขันปลุก ทำให้ข้าตื่นสาย เป็นเพราะพระอาทิตย์ที่รีบตกดิน จนข้าตัดฟืนได้น้อย แล้วก็เป็นเพราะฝนที่ตกลงมาเมื่อคืน ทำให้ฟืนเปียก จนไม่มีฟืนไปขาย ข้าก็เลยไม่มีเงินซื้อข้าวสารมาหุงกิน” ชายตัดฟืนบ่นซ้ำซากกับตัวเอง และวันนั้นเขาต้องนอนหิวโหยไปตลอดคืน โดยไม่มีข้าวสักเมล็ดตกถึงท้อง
.......
ในหลักพระพุทธศาสนาสอนว่า “ผลย่อมเกิดแต่เหตุ” ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตของเรา ควรตั้งสติทบทวนดูว่า เกิดจากการกระทำของตนเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้แก้ไขถูกทาง เพราะคนที่เอาแต่ตำหนิติเตียนกล่าวโทษผู้อื่น โดยไม่มองดูตัวเองนั้น ย่อมจะทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้ในภายหลังดังเช่นชายตัดฟืนคนนี้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยไม้หอม)