สังขารุเบกขาญาณ เป็นกลางกับความปรุงแต่ง
และสิ่งที่เป็นคู่ๆ ทั้งหมด เช่น เห็นสุขกับทุกข์
กุศลกับอกุศล ฯลฯ เสมอกันโดยความเป็นไตรลักษณ์
พอใจเป็นกลาง จิตใจไม่ดิ้น ก็มีโอกาสเห็นนิพพาน
เพราะนิพพานเป็นธรรมะที่ไม่ดิ้น
จิตใจมีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นสภาวธรรมระดับนั้น
ครั้งที่ 024
สังขารุเบกขาญาณ
โยม : 'ทีนี้จะทำยังไงให้ได้รู้แบบเป็นกลางจริงๆ น่ะครับหลวงพ่อ'
หลวงพ่อ : 'เอ้อ อันนี้สอบตกเลย จะทำยังไง รู้ไปอย่างที่มันเป็นสิ เพราะงั้นรู้ไปแล้ว ใจมันไม่เป็นกลางก็รู้ว่าไม่เป็นกลางนะ ยกตัวอย่าง สมมติความสุขเกิดขึ้น ใจเราพอใจ ยินดี พอใจ ให้รู้ว่าพอใจ ต่อมาก็เห็นความพอใจดับไป เราก็เห็นความสุขอยู่ เสร็จแล้วความสุขก็ดับไป เราก็เสียดายขึ้นมา ให้รู้ว่าเสียดาย เสร็จแล้วพอความทุกข์มา เราเห็นเลยใจเราไม่ชอบ ไม่เป็นกลาง เราก็ดูไป พอใจเราเป็นกลาง ความทุกข์ก็หายไปบ้าง ไม่หายบ้าง แล้วแต่เหตุ ในที่สุด นานไปๆ ปัญญามันเกิด เราจะเห็นเลย ความสุขก็ของชั่วคราว ไม่ต้องดีใจหรอก ความทุกข์ก็ของชั่วคราว ไม่ต้องเสียใจหรอก นี่ใจจะเป็นกลาง กลางเพราะปัญญา เพราะปัญญาเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง เห็นว่าสภาวะทั้งหลาย ชั่วคราวหมดเลย ไม่ต้องดีใจ ไม่ต้องเสียใจ เป็นกลางเพราะปัญญา จิตที่เป็นกลางเพราะปัญญานี่ เรียกว่ามันมีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหมดเลย กับสิ่งที่เป็นคู่ๆ ทั้งหมดเลย มันเห็นสุขกับทุกข์เสมอกัน เสมอกันโดยความเป็นไตรลักษณ์นะ มันเห็นกุศลและอกุศลเสมอกันโดยความเป็นไตรลักษณ์ เห็นสภาวะที่หยาบ ที่ละเอียด สภาวะภายใน ภายนอก สภาวะที่ใกล้ ที่ไกล สภาวะที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตอะไรนี่ เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มันเป็นกลาง พอใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้น ใจไม่ดิ้นนี่แหละสำคัญมาก จิตใจที่ไม่ดิ้นนี่มีโอกาสที่จะเห็นนิพพาน เพราะนิพพานเป็นธรรมะที่ไม่ดิ้น จิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหนเราก็เห็นสภาวธรรมระดับนั้น ยกตัวอย่างวันนี้จิตใจเราหดหู่นะ โลกทั้งโลกหดหู่ทั้งโลกเลย เคยรู้สึกมั้ย'
โยม : 'เคยครับ'
หลวงพ่อ : 'ถ้าวันนี้จิตใจเรามีโทสะ ดูไปทางไหนโลกก็ดูน่าหงุดหงิดไปหมดเลย ถ้าวันนี้จิตใจเรามีความสุข สมมติว่า เอ่อ ไปจีบสาวสำเร็จใหม่ๆ แหม อยู่ในอารมณ์รัก โลกเป็นสีชมพู ที่เขาบอกว่าเป็นสีชมพู เพราะฉะนั้นใจเราเป็นยังไงเราก็เห็นโลกเป็นอย่างนั้น เห็นสภาวธรรมเป็นอย่างนั้น ถ้าใจเราไม่ปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมะที่ไม่ปรุงแต่ง ใจเราไม่ปรุงแต่งได้เพราะว่ามีปัญญา มีปัญญารู้ทันว่าสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนี่ล้วนแต่ไม่เที่ยง ล้วนแต่เป็นทุกข์ ล้วนแต่บังคับไม่ได้ ความสุขมาไม่หลงดีใจ ความทุกข์มาก็ไม่เสียใจ เป็นกลาง ไม่ดิ้นรนปรุงแต่ง แต่ถ้าไม่เป็นกลาง จะดิ้นรนปรุงแต่ง เช่นความทุกข์ เกิดขึ้นก็ดิ้นว่าทำยังไงจะหาย ความสุขเกิดขึ้นก็ดิ้นว่าทำยังไงจะอยู่นานๆ อยากปฏิบัติก็ดิ้นนะ กำหนดโน่นกำหนดนี่ใหญ่เลย นั่นก็ ปรุงแต่งนะ ปรุงแต่งการปฏิบัติขึ้นมาอีก ไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพานเลยนะ อยากได้มรรคผลนิพพานนี่ง่ายๆ สุดๆ เลย ให้รู้ทุกข์ไป รู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนแค่นี้เอง วิธีรู้กายรู้ใจ จะรู้กายรู้ใจได้ ถ้าไม่สุดโต่งไปสองข้าง ข้างกามสุขัลลิกานุโยค ตามกิเลสไป ข้างอัตตกิลมถานุโยค บังคับตัวเองไว้ พวกเราชอบบังคับตัวเอง นักปฏิบัติ บังคับเอาๆ ทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม
วิธีจะรู้กายรู้ใจที่ถูกต้อง ต้องไม่เผลอไป ไม่ไปเพ่งไว้ กำหนดไว้ แล้วก็รู้กายรู้ใจอย่างที่มันเป็น วิธีรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง พระองค์ทรงแสดงไว้ในสติปัฏฐาน การรู้กาย รู้ใจเรียกว่ารู้ทุกข์ในอริยสัจนั่นเอง ถ้าเมื่อไร เรารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง เราจะรู้เลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เราสามารถสลัดคืนกายกับใจให้โลกได้นะ คืนธรรมชาติเดิมได้ ความดิ้นรนของจิตที่จะหาความสุข ความดิ้นรนของจิตที่จะหลีกหนีความทุกข์ จะดับโดยอัตโนมัติ เมื่อไรไม่มีตัวเรา ก็ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ตัวเราเป็นสุข ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ตัวเราพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง คือรู้ว่าขันธ์ห้ากายใจนี้ไม่ใช่เรานะ แล้วคืนโลกได้ ไม่ยึดถือได้นะ ตัณหาคือตัวสมุทัยนี่จะถูกละโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นเมื่อไรรู้ทุกข์เมื่อนั้นสมุทัยจะถูกละ ทันทีที่สมุทัยถูกละ จิตจะหมดความดิ้นรน นิโรธจะแจ้งขึ้นต่อหน้าต่อตา สันติสุขก็ปรากฏ นิพพานปรากฏ'
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า
ปฏิบัติธรรมยอมรับความเป็นธรรมดา)
และสิ่งที่เป็นคู่ๆ ทั้งหมด เช่น เห็นสุขกับทุกข์
กุศลกับอกุศล ฯลฯ เสมอกันโดยความเป็นไตรลักษณ์
พอใจเป็นกลาง จิตใจไม่ดิ้น ก็มีโอกาสเห็นนิพพาน
เพราะนิพพานเป็นธรรมะที่ไม่ดิ้น
จิตใจมีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นสภาวธรรมระดับนั้น
ครั้งที่ 024
สังขารุเบกขาญาณ
โยม : 'ทีนี้จะทำยังไงให้ได้รู้แบบเป็นกลางจริงๆ น่ะครับหลวงพ่อ'
หลวงพ่อ : 'เอ้อ อันนี้สอบตกเลย จะทำยังไง รู้ไปอย่างที่มันเป็นสิ เพราะงั้นรู้ไปแล้ว ใจมันไม่เป็นกลางก็รู้ว่าไม่เป็นกลางนะ ยกตัวอย่าง สมมติความสุขเกิดขึ้น ใจเราพอใจ ยินดี พอใจ ให้รู้ว่าพอใจ ต่อมาก็เห็นความพอใจดับไป เราก็เห็นความสุขอยู่ เสร็จแล้วความสุขก็ดับไป เราก็เสียดายขึ้นมา ให้รู้ว่าเสียดาย เสร็จแล้วพอความทุกข์มา เราเห็นเลยใจเราไม่ชอบ ไม่เป็นกลาง เราก็ดูไป พอใจเราเป็นกลาง ความทุกข์ก็หายไปบ้าง ไม่หายบ้าง แล้วแต่เหตุ ในที่สุด นานไปๆ ปัญญามันเกิด เราจะเห็นเลย ความสุขก็ของชั่วคราว ไม่ต้องดีใจหรอก ความทุกข์ก็ของชั่วคราว ไม่ต้องเสียใจหรอก นี่ใจจะเป็นกลาง กลางเพราะปัญญา เพราะปัญญาเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง เห็นว่าสภาวะทั้งหลาย ชั่วคราวหมดเลย ไม่ต้องดีใจ ไม่ต้องเสียใจ เป็นกลางเพราะปัญญา จิตที่เป็นกลางเพราะปัญญานี่ เรียกว่ามันมีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหมดเลย กับสิ่งที่เป็นคู่ๆ ทั้งหมดเลย มันเห็นสุขกับทุกข์เสมอกัน เสมอกันโดยความเป็นไตรลักษณ์นะ มันเห็นกุศลและอกุศลเสมอกันโดยความเป็นไตรลักษณ์ เห็นสภาวะที่หยาบ ที่ละเอียด สภาวะภายใน ภายนอก สภาวะที่ใกล้ ที่ไกล สภาวะที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตอะไรนี่ เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มันเป็นกลาง พอใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้น ใจไม่ดิ้นนี่แหละสำคัญมาก จิตใจที่ไม่ดิ้นนี่มีโอกาสที่จะเห็นนิพพาน เพราะนิพพานเป็นธรรมะที่ไม่ดิ้น จิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหนเราก็เห็นสภาวธรรมระดับนั้น ยกตัวอย่างวันนี้จิตใจเราหดหู่นะ โลกทั้งโลกหดหู่ทั้งโลกเลย เคยรู้สึกมั้ย'
โยม : 'เคยครับ'
หลวงพ่อ : 'ถ้าวันนี้จิตใจเรามีโทสะ ดูไปทางไหนโลกก็ดูน่าหงุดหงิดไปหมดเลย ถ้าวันนี้จิตใจเรามีความสุข สมมติว่า เอ่อ ไปจีบสาวสำเร็จใหม่ๆ แหม อยู่ในอารมณ์รัก โลกเป็นสีชมพู ที่เขาบอกว่าเป็นสีชมพู เพราะฉะนั้นใจเราเป็นยังไงเราก็เห็นโลกเป็นอย่างนั้น เห็นสภาวธรรมเป็นอย่างนั้น ถ้าใจเราไม่ปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมะที่ไม่ปรุงแต่ง ใจเราไม่ปรุงแต่งได้เพราะว่ามีปัญญา มีปัญญารู้ทันว่าสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนี่ล้วนแต่ไม่เที่ยง ล้วนแต่เป็นทุกข์ ล้วนแต่บังคับไม่ได้ ความสุขมาไม่หลงดีใจ ความทุกข์มาก็ไม่เสียใจ เป็นกลาง ไม่ดิ้นรนปรุงแต่ง แต่ถ้าไม่เป็นกลาง จะดิ้นรนปรุงแต่ง เช่นความทุกข์ เกิดขึ้นก็ดิ้นว่าทำยังไงจะหาย ความสุขเกิดขึ้นก็ดิ้นว่าทำยังไงจะอยู่นานๆ อยากปฏิบัติก็ดิ้นนะ กำหนดโน่นกำหนดนี่ใหญ่เลย นั่นก็ ปรุงแต่งนะ ปรุงแต่งการปฏิบัติขึ้นมาอีก ไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพานเลยนะ อยากได้มรรคผลนิพพานนี่ง่ายๆ สุดๆ เลย ให้รู้ทุกข์ไป รู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนแค่นี้เอง วิธีรู้กายรู้ใจ จะรู้กายรู้ใจได้ ถ้าไม่สุดโต่งไปสองข้าง ข้างกามสุขัลลิกานุโยค ตามกิเลสไป ข้างอัตตกิลมถานุโยค บังคับตัวเองไว้ พวกเราชอบบังคับตัวเอง นักปฏิบัติ บังคับเอาๆ ทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม
วิธีจะรู้กายรู้ใจที่ถูกต้อง ต้องไม่เผลอไป ไม่ไปเพ่งไว้ กำหนดไว้ แล้วก็รู้กายรู้ใจอย่างที่มันเป็น วิธีรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง พระองค์ทรงแสดงไว้ในสติปัฏฐาน การรู้กาย รู้ใจเรียกว่ารู้ทุกข์ในอริยสัจนั่นเอง ถ้าเมื่อไร เรารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง เราจะรู้เลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เราสามารถสลัดคืนกายกับใจให้โลกได้นะ คืนธรรมชาติเดิมได้ ความดิ้นรนของจิตที่จะหาความสุข ความดิ้นรนของจิตที่จะหลีกหนีความทุกข์ จะดับโดยอัตโนมัติ เมื่อไรไม่มีตัวเรา ก็ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ตัวเราเป็นสุข ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ตัวเราพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง คือรู้ว่าขันธ์ห้ากายใจนี้ไม่ใช่เรานะ แล้วคืนโลกได้ ไม่ยึดถือได้นะ ตัณหาคือตัวสมุทัยนี่จะถูกละโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นเมื่อไรรู้ทุกข์เมื่อนั้นสมุทัยจะถูกละ ทันทีที่สมุทัยถูกละ จิตจะหมดความดิ้นรน นิโรธจะแจ้งขึ้นต่อหน้าต่อตา สันติสุขก็ปรากฏ นิพพานปรากฏ'
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า
ปฏิบัติธรรมยอมรับความเป็นธรรมดา)