ครั้งที่ 96
การทำหน้าที่สำรวมระวัง
และการสั่งสมบุญอันมีอานิสงส์มาก
คราวหนึ่ง พระมหากัสสปะพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลเข้าฌานสมาบัติอยู่ 7 วัน ออกจากฌานในวันที่ 7 ตรวจ ดูที่ภิกขาจารด้วยทิพจักษุเพื่อสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์ให้ได้บุญมาก เห็นหญิงคนหนึ่งผู้เฝ้านาข้าวสาลีเก็บรวงข้าวสาลีแล้วทำข้าวตอกอยู่
ท่านพิจารณาว่า 'หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ?' ทราบว่า 'มีศรัทธา และเมื่อให้อาหารแก่เราแล้วจักได้สมบัติมาก' ดังนี้แล้ว ห่มจีวรถือบาตรไปยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี
กุลธิดาเห็นพระเถระแล้วมีจิตเลื่อมใส ซาบซ่านไปด้วยปีติ 5 ประการ ขอร้องพระเถระให้ยืนรออยู่ก่อน รีบไปนำข้าวตอกมา โดยเร็ว ใส่ลงในบาตรของพระเถระแล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตั้งความปรารถนาว่า 'ขอให้ดิฉันได้เป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว กล่าวคือ ขอให้ได้เห็นธรรมอย่างที่ท่านเห็นแล้ว'
พระเถระกล่าวอนุโมทนา 'ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิด'
ดูก่อนท่านผู้แสวงธรรม! คนสมัยก่อนนี้ แม้เพียงเด็กหญิงเฝ้าไร่นาก็ยังปรารถนาการบรรลุธรรม ถือเอาการบรรลุธรรมเป็นจุดมุ่งหมายสูงสูดของชีวิต
กุลธิดานั้นไหว้พระเถระแล้วกลับไปพร้อมกับระลึกถึงทานที่ตนให้แล้ว งูพิษตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงแห่งหนึ่งในระหว่างทาง เมื่อกุลธิดามาถึงตรงนั้นมันออกจากโพรงกัดนางสิ้นชีวิต
นางทำกาลกิริยาด้วยจิตเลื่อมใสไปเกิดในวิมานทองในภพดาวดึงส์ มีอัตตภาพประดับประดาด้วยอลังการทั้งปวงประดุจบุคคลที่หลับแล้วตื่นขึ้น
นางนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่งยาว 12 ศอก และห่มผ้าทิพย์อีกผืนหนึ่ง มีนางอัปสรจำนวนพันแวดล้อม ยืนอยู่ที่ประตูวิมานซึ่งประดับประดาด้วยขันทองคำ ที่เต็มไปด้วยข้าวตอกทองคำห้อยย้อยอยู่เพื่อประกาศบุพพกรรมของตนมองดูสมบัติของตนแล้วใคร่ครวญด้วยทิพจักษุว่า 'สมบัตินี้เราได้เพราะเหตุไรหนอ? เราทำอะไรหนอจึงได้สมบัติเห็นปานนี้' รู้ว่า 'สมบัตินี้ เราได้เพราะผลแห่งทานที่เราให้แล้วแก่พระมหากัสสปเถระ พระผู้เป็นเจ้าของเรา'
ดูก่อนภราดา! ทานที่บุคคลทำแล้วแก่พระผู้ออกจากฌานสมบัติ โดยเฉพาะนิโรธสมาบัติย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก และให้ผลในปัจจุบันนี้ทันที
นางคิดว่า 'เราทำกรรมดีเพียงเล็กน้อยคือถวายข้าวตอกแก่พระเถระเพียงเล็กน้อยยังได้สมบัติมากถึงปานนี้ บัดนี้ เราไม่ควรประมาท เราควรปฏิบัติพระเถระเพื่อทำสมบัติของเราให้ถาวร' คิดดังนี้แล้วจึงนำไม้กวาดซึ่งทำด้วยทองไปกวาดบริเวณที่อยู่ของพระเถระ ตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้แล้วกลับสู่วิมาน
พระเถระเห็นบริเวณสะอาดเรียบร้อย และมีน้ำใช้น้ำฉันบริบูรณ์ คิดว่าคงจะเป็นภิกษุหนุ่มหรือสามเณรมาทำไว้ ในวันที่สองก็เหมือนกัน พอถึงวันที่สาม พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดกระทบพื้น เห็นแสงสว่างแห่งสรีระลอดเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตูออกมาดู และถามว่า 'นั่นใคร?'
นางตอบว่า 'ดิฉันเอง อุปัฏฐายิกาของท่าน ชื่อลาชเทพธิดา'
'อุปัฏฐายิกาของเราที่ชื่ออย่างนี้ไม่มี' พระเถระพูด
นางเล่าเรื่องแต่เบื้องหลังให้ท่านทราบโดยตลอด และว่า เพราะความสำนึกคุณของท่าน และเพื่อรักษาสมบัติให้ถาวรด้วยความไม่ประมาทจึงมาทำเช่นนี้
'เมื่อวานและเมื่อวานซืน ท่านมาทำเหมือนกันหรือ?' พระเถระถาม
'เจ้าค่ะ' นางตอบ
'เทพธิดา! ที่ท่านทำแล้วก็เป็นอันแล้วไป แต่ต่อไปอย่าทำอีก ไปเสียเถิดเทพธิดา ท่านอย่ามาที่นี่อีกเลย'
'พระคุณเจ้า โปรดอย่าให้ดิฉันต้องพินาศเลย ขอทานจงให้โอกาสแก่ดิฉันเพื่อดิฉันจักได้ทำสมบัติให้ถาวรด้วยเถิด'
พระเถระกล่าวว่า 'ออกไปเสียเถิดเทพธิดา ถ้าท่านทำอย่างนี้ ต่อไปภายหน้าพระธรรมกถึกผู้แสดงธรรมจึงพึงตำหนิเราได้ว่า 'นัยว่า แม้พระมหากัสสปเถระก็ยังมีเทพธิดาตนหนึ่งมาปรนนิบัติรับใช้ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้ เทพธิดา! ตั้งแต่วันนี้ไปท่านอย่าได้มาที่นี่อีกเลย'
นางเทพธิดาคร่ำครวญอยู่ว่า พระคุณเจ้าอย่าให้ดิฉันต้องพินาศเลย แต่พระเถระไม่ยินยอม กล่าวเป็นเชิงตำหนิว่าท่านไม่รู้จักประมาณของตน นางไม่อาจทนอยู่ได้อีกจึงเหาะขึ้นอากาศประคองอัญชลีคร่ำครวญอยู่ว่า 'พระคุณเจ้าอย่าให้สมบัติที่ดิฉันได้แล้วฉิบหายเสีย ขอได้โปรดให้ดิฉันทำสมบัติให้ถาวรเถิด'
พระศาสดาประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ทรงแผ่พระรัศมีไปประทับนั่ง ตรัสอยู่เบื้องหน้าของเทพธิดาว่า 'เทพธิดาเอย! การสำรวมระวังเป็นหน้าที่ของกัสสปะบุตรของเรา ส่วนการกำหนดว่า นี้เป็นประโยชน์ของเรา แล้วทำบุญ เป็นหน้าที่ของผู้ต้องการบุญ ก็การทำบุญนั้นย่อมนำความสุขมาให้ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า' ดังนี้แล้วตรัสต่อไปว่า
'ถ้าบุคคลทำบุญก็พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้'
การทำหน้าที่สำรวมระวัง
และการสั่งสมบุญอันมีอานิสงส์มาก
คราวหนึ่ง พระมหากัสสปะพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลเข้าฌานสมาบัติอยู่ 7 วัน ออกจากฌานในวันที่ 7 ตรวจ ดูที่ภิกขาจารด้วยทิพจักษุเพื่อสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์ให้ได้บุญมาก เห็นหญิงคนหนึ่งผู้เฝ้านาข้าวสาลีเก็บรวงข้าวสาลีแล้วทำข้าวตอกอยู่
ท่านพิจารณาว่า 'หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ?' ทราบว่า 'มีศรัทธา และเมื่อให้อาหารแก่เราแล้วจักได้สมบัติมาก' ดังนี้แล้ว ห่มจีวรถือบาตรไปยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี
กุลธิดาเห็นพระเถระแล้วมีจิตเลื่อมใส ซาบซ่านไปด้วยปีติ 5 ประการ ขอร้องพระเถระให้ยืนรออยู่ก่อน รีบไปนำข้าวตอกมา โดยเร็ว ใส่ลงในบาตรของพระเถระแล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตั้งความปรารถนาว่า 'ขอให้ดิฉันได้เป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว กล่าวคือ ขอให้ได้เห็นธรรมอย่างที่ท่านเห็นแล้ว'
พระเถระกล่าวอนุโมทนา 'ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิด'
ดูก่อนท่านผู้แสวงธรรม! คนสมัยก่อนนี้ แม้เพียงเด็กหญิงเฝ้าไร่นาก็ยังปรารถนาการบรรลุธรรม ถือเอาการบรรลุธรรมเป็นจุดมุ่งหมายสูงสูดของชีวิต
กุลธิดานั้นไหว้พระเถระแล้วกลับไปพร้อมกับระลึกถึงทานที่ตนให้แล้ว งูพิษตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงแห่งหนึ่งในระหว่างทาง เมื่อกุลธิดามาถึงตรงนั้นมันออกจากโพรงกัดนางสิ้นชีวิต
นางทำกาลกิริยาด้วยจิตเลื่อมใสไปเกิดในวิมานทองในภพดาวดึงส์ มีอัตตภาพประดับประดาด้วยอลังการทั้งปวงประดุจบุคคลที่หลับแล้วตื่นขึ้น
นางนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่งยาว 12 ศอก และห่มผ้าทิพย์อีกผืนหนึ่ง มีนางอัปสรจำนวนพันแวดล้อม ยืนอยู่ที่ประตูวิมานซึ่งประดับประดาด้วยขันทองคำ ที่เต็มไปด้วยข้าวตอกทองคำห้อยย้อยอยู่เพื่อประกาศบุพพกรรมของตนมองดูสมบัติของตนแล้วใคร่ครวญด้วยทิพจักษุว่า 'สมบัตินี้เราได้เพราะเหตุไรหนอ? เราทำอะไรหนอจึงได้สมบัติเห็นปานนี้' รู้ว่า 'สมบัตินี้ เราได้เพราะผลแห่งทานที่เราให้แล้วแก่พระมหากัสสปเถระ พระผู้เป็นเจ้าของเรา'
ดูก่อนภราดา! ทานที่บุคคลทำแล้วแก่พระผู้ออกจากฌานสมบัติ โดยเฉพาะนิโรธสมาบัติย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก และให้ผลในปัจจุบันนี้ทันที
นางคิดว่า 'เราทำกรรมดีเพียงเล็กน้อยคือถวายข้าวตอกแก่พระเถระเพียงเล็กน้อยยังได้สมบัติมากถึงปานนี้ บัดนี้ เราไม่ควรประมาท เราควรปฏิบัติพระเถระเพื่อทำสมบัติของเราให้ถาวร' คิดดังนี้แล้วจึงนำไม้กวาดซึ่งทำด้วยทองไปกวาดบริเวณที่อยู่ของพระเถระ ตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้แล้วกลับสู่วิมาน
พระเถระเห็นบริเวณสะอาดเรียบร้อย และมีน้ำใช้น้ำฉันบริบูรณ์ คิดว่าคงจะเป็นภิกษุหนุ่มหรือสามเณรมาทำไว้ ในวันที่สองก็เหมือนกัน พอถึงวันที่สาม พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดกระทบพื้น เห็นแสงสว่างแห่งสรีระลอดเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตูออกมาดู และถามว่า 'นั่นใคร?'
นางตอบว่า 'ดิฉันเอง อุปัฏฐายิกาของท่าน ชื่อลาชเทพธิดา'
'อุปัฏฐายิกาของเราที่ชื่ออย่างนี้ไม่มี' พระเถระพูด
นางเล่าเรื่องแต่เบื้องหลังให้ท่านทราบโดยตลอด และว่า เพราะความสำนึกคุณของท่าน และเพื่อรักษาสมบัติให้ถาวรด้วยความไม่ประมาทจึงมาทำเช่นนี้
'เมื่อวานและเมื่อวานซืน ท่านมาทำเหมือนกันหรือ?' พระเถระถาม
'เจ้าค่ะ' นางตอบ
'เทพธิดา! ที่ท่านทำแล้วก็เป็นอันแล้วไป แต่ต่อไปอย่าทำอีก ไปเสียเถิดเทพธิดา ท่านอย่ามาที่นี่อีกเลย'
'พระคุณเจ้า โปรดอย่าให้ดิฉันต้องพินาศเลย ขอทานจงให้โอกาสแก่ดิฉันเพื่อดิฉันจักได้ทำสมบัติให้ถาวรด้วยเถิด'
พระเถระกล่าวว่า 'ออกไปเสียเถิดเทพธิดา ถ้าท่านทำอย่างนี้ ต่อไปภายหน้าพระธรรมกถึกผู้แสดงธรรมจึงพึงตำหนิเราได้ว่า 'นัยว่า แม้พระมหากัสสปเถระก็ยังมีเทพธิดาตนหนึ่งมาปรนนิบัติรับใช้ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้ เทพธิดา! ตั้งแต่วันนี้ไปท่านอย่าได้มาที่นี่อีกเลย'
นางเทพธิดาคร่ำครวญอยู่ว่า พระคุณเจ้าอย่าให้ดิฉันต้องพินาศเลย แต่พระเถระไม่ยินยอม กล่าวเป็นเชิงตำหนิว่าท่านไม่รู้จักประมาณของตน นางไม่อาจทนอยู่ได้อีกจึงเหาะขึ้นอากาศประคองอัญชลีคร่ำครวญอยู่ว่า 'พระคุณเจ้าอย่าให้สมบัติที่ดิฉันได้แล้วฉิบหายเสีย ขอได้โปรดให้ดิฉันทำสมบัติให้ถาวรเถิด'
พระศาสดาประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ทรงแผ่พระรัศมีไปประทับนั่ง ตรัสอยู่เบื้องหน้าของเทพธิดาว่า 'เทพธิดาเอย! การสำรวมระวังเป็นหน้าที่ของกัสสปะบุตรของเรา ส่วนการกำหนดว่า นี้เป็นประโยชน์ของเรา แล้วทำบุญ เป็นหน้าที่ของผู้ต้องการบุญ ก็การทำบุญนั้นย่อมนำความสุขมาให้ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า' ดังนี้แล้วตรัสต่อไปว่า
'ถ้าบุคคลทำบุญก็พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้'