ครั้งที่ 87
บาปกรรมย่อมตามแผดเผาคนพาล
เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
อีกคราวหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะและพระลักขณะลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เช่นกัน พระมหาโมคคัลลานะแสดงอาการยิ้มแย้มทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้วในเรื่องอชครเปรต
ณ สำนักพระศาสดา พระลักขณะถามขึ้น พระมหาโมคคัลลานะจึงตอบว่า
ข้าพเจ้าเห็นอหิเปรตตนหนึ่ง มีอัตตภาพใหญ่ยาวเป็นอันมาก ศีรษะของมันเหมือนศีรษะมนุษย์ แต่อัตตภาพอื่นๆ ของมันเหมือนถูกไฟไหม้อยู่ทั่วตน พระศาสดาตรัสว่า แม้เปรตนี้พระองค์ก็เคยทรงเห็นแล้วในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ แต่ไม่ตรัสบอกใครเพราะทรงเอ็นดูต่อหมู่สัตว์ว่า “ผู้ใดไม่เชื่อคำของเรา ความไม่เชื่อของเขานั้นจะเป็นโทษแก่เขา”
ภิกษุทั้งหลายทูลถามถึงปุพพกรรมของเปรตนั้น พระพุทธองค์ตรัสเล่าให้ฟังดังนี้
ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี ประชาชนชาวเมืองช่วยกันสร้างบรรณศาลาหลังหนึ่ง ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าใกล้ฝั่งแม่น้ำ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเนืองนิตย์ แม้พวกชาวเมืองก็ถือของหอม ดอกไม้ เครื่องสักการะ ไปสู่ที่บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งเช้าและเย็น
ชายชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง มีนาอยู่ในหนทางที่ชาวเมืองเดินไปมาสู่ที่บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ชาวเมืองได้เหยียบย่ำนาของเขา แม้เขาห้ามอยู่บ่อยๆ ว่า "ขอพวกท่านอย่าเหยียบนาของข้าพเจ้า" ก็หาสำเร็จประโยชน์ประการใดไม่
ชาวนาผู้นั้นคิดว่า "ถ้าบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่พึงมีในที่นี้ไซร้ ชนทั้งหลายก็จะไม่เหยียบย่ำนาของเรา"
เขาตกลงใจจะทำกรรมอันน่าหวาดเสียว คือการเผาบรรณศาลา เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าออกไปบิณฑบาตในเวลาเช้า เขาไปที่บรรณศาลาทุบหม้อน้ำและภาชนะเครื่องใช้แล้วจุดไฟเผาบรรณศาลา
เมื่อกลับจากบิณฑบาต พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นไฟไหม้บรรณศาลาอยู่ ท่านมิได้มีความเดือดร้อนหลีกไปแล้วตามอัธยาศัย
ฝ่ายมหาชนมาสู่ที่บำรุงเห็นบรรณศาลาถูกไฟไหม้จึงกล่าวกันว่า "พระผู้เป็นเจ้าของเราไป ณ ที่ไหนหนอแล"
ชาวนาอยู่ท่ามกลางมหาชนนั่นเอง กล่าวขึ้นว่า "ข้าพเจ้าเป็นผู้เผาบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น"
เมื่อได้ยินดังนี้ ประชาชนก็ชวนกันลงประชาทัณฑ์โดยการโบยด้วยหวายบ้าง ปาด้วยท่อนไม้และก้อนดินบ้าง จนบุรุษนั้นสิ้นชีวิต เขาไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ไหม้อยู่ในนรกนั้นสิ้นกาลนาน บัดนี้มาเกิดเป็นอหิเปรตถูกไฟไหม้อยู่ทั่วตัวด้วยเศษแห่งกรรมที่เหลือ
พระศาสดาตรัสต่อไปว่า
“ภิกษุทั้งหลาย! กรรมชั่วที่บุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล เหมือนน้ำนมที่รีดใหม่ในขณะนั้นยังไม่ทันแปรไป ภิกษุทั้งหลาย! บาปกรรมย่อมตามแผดเผาคนพาลเหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้”
ดูก่อนท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งกรรม! บุคคลบางคนเมื่อทำกรรมชั่วลงไปแล้ว กรรมนั้นยังไม่ให้ผลก็สำคัญผิดว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มีจึงชะล่าใจทำอีกและทำไปเรื่อยๆ เหมือนเด็กน้อยเหยียบถ่านไฟที่เถ้ากลบไว้เข้าใจว่าไฟไม่ร้อน แต่พอเถ้าที่กลบไว้นั้นออกไปสิ้น ไฟย่อมไหม้เขาให้เร่าร้อน ฉันใด บุคคลผู้ทำกรรมชั่วก็ฉันเดียวกัน เมื่อกรรมชั่วยังไม่ให้ผลเพราะผลแห่งกรรมดีบางอย่างคุ้มครองอยู่ เขาย่อมประมาท เพลิดเพลินในการทำชั่วนั้น สมจริงดังที่พระศาสดาตรัสว่า
"คนชั่ว ทำบาป เมื่อบาปยังไม่ให้ผลสำคัญผิดคิดว่าบาปนั้นเป็นของดี แต่พอบาปให้ผลเขาก็เห็นว่าบาปนั้นเป็นของชั่ว ฝ่ายคนดี ทำความดี เมื่อความดียังไม่ให้ผลก็สำคัญผิดคิดว่าความดีเป็นความชั่ว แต่เมื่อความดีให้ผลเขาก็เห็นว่ากรรมดีเป็นความดี"
บาปกรรมย่อมตามแผดเผาคนพาล
เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
อีกคราวหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะและพระลักขณะลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เช่นกัน พระมหาโมคคัลลานะแสดงอาการยิ้มแย้มทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้วในเรื่องอชครเปรต
ณ สำนักพระศาสดา พระลักขณะถามขึ้น พระมหาโมคคัลลานะจึงตอบว่า
ข้าพเจ้าเห็นอหิเปรตตนหนึ่ง มีอัตตภาพใหญ่ยาวเป็นอันมาก ศีรษะของมันเหมือนศีรษะมนุษย์ แต่อัตตภาพอื่นๆ ของมันเหมือนถูกไฟไหม้อยู่ทั่วตน พระศาสดาตรัสว่า แม้เปรตนี้พระองค์ก็เคยทรงเห็นแล้วในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ แต่ไม่ตรัสบอกใครเพราะทรงเอ็นดูต่อหมู่สัตว์ว่า “ผู้ใดไม่เชื่อคำของเรา ความไม่เชื่อของเขานั้นจะเป็นโทษแก่เขา”
ภิกษุทั้งหลายทูลถามถึงปุพพกรรมของเปรตนั้น พระพุทธองค์ตรัสเล่าให้ฟังดังนี้
ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี ประชาชนชาวเมืองช่วยกันสร้างบรรณศาลาหลังหนึ่ง ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าใกล้ฝั่งแม่น้ำ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเนืองนิตย์ แม้พวกชาวเมืองก็ถือของหอม ดอกไม้ เครื่องสักการะ ไปสู่ที่บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งเช้าและเย็น
ชายชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง มีนาอยู่ในหนทางที่ชาวเมืองเดินไปมาสู่ที่บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ชาวเมืองได้เหยียบย่ำนาของเขา แม้เขาห้ามอยู่บ่อยๆ ว่า "ขอพวกท่านอย่าเหยียบนาของข้าพเจ้า" ก็หาสำเร็จประโยชน์ประการใดไม่
ชาวนาผู้นั้นคิดว่า "ถ้าบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่พึงมีในที่นี้ไซร้ ชนทั้งหลายก็จะไม่เหยียบย่ำนาของเรา"
เขาตกลงใจจะทำกรรมอันน่าหวาดเสียว คือการเผาบรรณศาลา เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าออกไปบิณฑบาตในเวลาเช้า เขาไปที่บรรณศาลาทุบหม้อน้ำและภาชนะเครื่องใช้แล้วจุดไฟเผาบรรณศาลา
เมื่อกลับจากบิณฑบาต พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นไฟไหม้บรรณศาลาอยู่ ท่านมิได้มีความเดือดร้อนหลีกไปแล้วตามอัธยาศัย
ฝ่ายมหาชนมาสู่ที่บำรุงเห็นบรรณศาลาถูกไฟไหม้จึงกล่าวกันว่า "พระผู้เป็นเจ้าของเราไป ณ ที่ไหนหนอแล"
ชาวนาอยู่ท่ามกลางมหาชนนั่นเอง กล่าวขึ้นว่า "ข้าพเจ้าเป็นผู้เผาบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น"
เมื่อได้ยินดังนี้ ประชาชนก็ชวนกันลงประชาทัณฑ์โดยการโบยด้วยหวายบ้าง ปาด้วยท่อนไม้และก้อนดินบ้าง จนบุรุษนั้นสิ้นชีวิต เขาไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ไหม้อยู่ในนรกนั้นสิ้นกาลนาน บัดนี้มาเกิดเป็นอหิเปรตถูกไฟไหม้อยู่ทั่วตัวด้วยเศษแห่งกรรมที่เหลือ
พระศาสดาตรัสต่อไปว่า
“ภิกษุทั้งหลาย! กรรมชั่วที่บุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล เหมือนน้ำนมที่รีดใหม่ในขณะนั้นยังไม่ทันแปรไป ภิกษุทั้งหลาย! บาปกรรมย่อมตามแผดเผาคนพาลเหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้”
ดูก่อนท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งกรรม! บุคคลบางคนเมื่อทำกรรมชั่วลงไปแล้ว กรรมนั้นยังไม่ให้ผลก็สำคัญผิดว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มีจึงชะล่าใจทำอีกและทำไปเรื่อยๆ เหมือนเด็กน้อยเหยียบถ่านไฟที่เถ้ากลบไว้เข้าใจว่าไฟไม่ร้อน แต่พอเถ้าที่กลบไว้นั้นออกไปสิ้น ไฟย่อมไหม้เขาให้เร่าร้อน ฉันใด บุคคลผู้ทำกรรมชั่วก็ฉันเดียวกัน เมื่อกรรมชั่วยังไม่ให้ผลเพราะผลแห่งกรรมดีบางอย่างคุ้มครองอยู่ เขาย่อมประมาท เพลิดเพลินในการทำชั่วนั้น สมจริงดังที่พระศาสดาตรัสว่า
"คนชั่ว ทำบาป เมื่อบาปยังไม่ให้ผลสำคัญผิดคิดว่าบาปนั้นเป็นของดี แต่พอบาปให้ผลเขาก็เห็นว่าบาปนั้นเป็นของชั่ว ฝ่ายคนดี ทำความดี เมื่อความดียังไม่ให้ผลก็สำคัญผิดคิดว่าความดีเป็นความชั่ว แต่เมื่อความดีให้ผลเขาก็เห็นว่ากรรมดีเป็นความดี"