ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาชีวิต แต่หากมีความรู้อย่างเดียวไม่มีคุณธรรมคอยกำกับแล้ว ความรู้นั้นอาจจะสร้างความเดือดร้อนได้ เปรียบเหมือนคนที่มีอาวุธในมือ หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น ตายไปก็ต้องเป็นเปรต ตกนรกหมกไหม้ ได้รับแต่ความทุกข์ทรมาน ตัวอย่างของคนเช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตดังเรื่องราวที่ว่า
ครั้งหนึ่ง ในขณะที่พระมหาโมคคัลลานเถระลงจากภูเขา คิชฌกูฏพร้อมกับพระลักขณะเถระ ท่านได้แสดงอาการยิ้ม ทำให้พระเถระที่มาด้วยกันสงสัยว่าท่านยิ้มเพราะอะไร
ต่อมาเมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา พระเถระรูปเดิมจึงถามเรื่องนี้ขึ้น พระมหาโมคคัลลานะจึงบอกถึงสาเหตุที่ยิ้มว่าได้เห็นเปรตตัวหนึ่ง มีร่างกายยาวประมาณ ๓ คาวุต ถูกค้อนเหล็ก ๖ หมื่นอันที่ติดไฟลุกโพลง หล่นใส่ศีรษะกลางกระหม่อมของเปรตนั้น จนศีรษะแตกกระจัดกระจาย แล้วศีรษะก็กลับรวมกันขึ้นมา ใหม่ ค้อนเหล็กก็หล่นใส่อีกอยู่อย่างนั้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เปรตตัวนั้นร้องโอดโอยได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส
พระศาสดาเมื่อได้ทรงสดับเรื่องที่พระเถระเล่าให้ฟังแล้ว จึงตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรตนี้ เราก็เคยเห็นเช่นกันตอนที่อยู่ที่โพธิมัณฑประเทศ แต่เราไม่ได้บอกใครก็เพื่ออนุเคราะห์แก่คนบางพวกที่ไม่เชื่อเรา การที่พวกเขาไม่เชื่อว่าเปรตมีจริง นั้นทำให้ไม่กลัวบาปกรรม ไม่นำมาซึ่งประโยชน์อะไรเลย แต่ว่าตอนนี้เราเป็นพยานของโมคคัลลานะ จึงบอกได้ ”
เหล่าภิกษุฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงทูลถามถึงบุรพกรรม ของเปรตนั้น พระศาสดาจึงตรัสเล่าให้ฟังว่า
ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี ได้มีบุรุษเปลี้ยคนหนึ่ง เป็นผู้มีศิลปะในการดีดก้อนกรวด เขาไปนั่งอยู่ใต้ต้นไทรย้อยต้นหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร พวกเด็กๆ ชาวบ้านเข้ามาหาเขาและขอร้องให้เขาดีดก้อนกรวดไปเจาะใบไทรย้อยนั้นให้เป็นรูปช้างบ้าง รูปม้าบ้าง เขาก็ดีดก้อนกรวดเจาะใบไม้เป็นรูปช้าง รูปม้าให้เด็กๆดู เด็กอยากให้ดีดเป็นรูปอะไร ก็สามารถทำให้ดูได้หมด พวกเด็กๆ ก็ให้ของกินแก่เขาเป็นสินน้ำใจ
ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน และเสด็จไปที่ต้นไทรต้นนั้นในเวลาเที่ยงตรงพอดี แดดก็ส่องใบไม้ลงมา เงาที่ตกถูกพระราชาจึงเป็นรูปสัตว์ต่างๆ พระองค์ทรงสงสัยว่าคืออะไร แต่พอมองขึ้นไปบนต้นไม้ก็เห็นใบไม้ เป็นรูปช้างรูปม้าต่างๆ นานา จึงตรัสถามว่า ใครเป็นคนทำ และเมื่อทรงทราบว่าเป็นบุรุษเปลี้ย จึงมีรับสั่งให้คนไปนำบุรุษเปลี้ยนั้นมาหา แล้วตรัสว่า
“ปุโรหิตของเราปากกล้านัก พอเราพูดนิดเดียว ก็พูด เสียยืดยาว ท่านจะดีดมูลแพะเข้าไปในปากของปุโรหิตนั้นได้หรือไม่?”
บุรุษเปลี้ยทูลว่า “ได้ พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้คนนำมูลแพะมา แล้วประทับนั่งในม่านกับปุโรหิต ข้าพระองค์รู้ดีว่าจะต้องทำอย่างไร”
พระราชาได้ทรงกระทำตามที่เขาแนะนำ บุรุษเปลี้ยก็ให้คนเอากรรไกรเจาะช่องเล็กๆ ช่องหนึ่งไว้ที่ม่าน เมื่อปุโรหิตอ้าปากพูดกับพระราชา บุรุษเปลี้ยก็ดีดมูลแพะใส่ปากทีละก้อนๆ ปุโรหิตจำต้องกลืนมูลแพะที่เข้าปากก้อนแล้วก้อนเล่า เมื่อมูลแพะหมด บุรุษเปลี้ยจึงสั่นม่านเพื่อให้สัญญาณแก่พระราชา พระราชาจึงตรัสว่า
“ท่านปุโรหิต ท่านพูดมากเหลือเกิน แม้แต่กลืนกินมูลแพะไปตั้งเยอะแล้ว ยังไม่หยุดพูดอีก ท่านนี้มีปากกล้านัก”
ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นถึงกับอึ้งไป และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปุโรหิตนี้ก็ไม่พูดพล่ามกับพระราชาอีกเลย พระราชาจึงมีรับสั่งให้เรียกบุรุษเปลี้ยมาแล้วพระราชทานทรัพย์สมบัติให้มากมาย ต่อมาบุรุษคนหนึ่งเห็นสมบัติของบุรุษเปลี้ย จึงคิดว่าบุรุษผู้นี้เป็นคนเปลี้ย อาศัยศิลปะนี้ จึงได้สมบัติมาก มายขนาดนี้ เราก็ควรจะศึกษาศิลปะนี้ไว้ แล้วเขาก็เข้าไปหา บุรุษเปลี้ยเพื่อขอให้สอนวิชา แต่บุรุษเปลี้ยปฏิเสธ เขาจึง คิดว่าจะต้องทำให้บุรุษเปลี้ยผู้นี้สอนศิลปะแก่เขาให้ได้ จึงทำทีเข้าไปนวดเฟ้นแก่บุรุษเปลี้ย จนเวลาผ่านไปนานเข้า บุรุษเปลี้ยก็ใจอ่อนยอมสอนศิลปะให้เขา
หลังจากเรียนวิชาจบแล้วบุรุษเปลี้ยจึงถามว่าจะไปทำอะไร เขาตอบว่าจะไปทดลองวิชานอกเมือง จะดีดแม่โคหรือ มนุษย์ให้ตาย บุรุษเปลี้ยจึงกล่าวว่า
“ถ้าเจ้าฆ่าแม่โคตายจะต้องโดนปรับสินไหมหนึ่งร้อย ถ้า ฆ่ามนุษย์ตายจะโดนปรับสินไหมหนึ่งพัน ท่านและลูกเมียจะเอาเงินที่ไหนมาเสียค่าสินไหมเล่า ท่านอย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อนเลย ถ้าจะทดลองวิชา ก็ไปหาดีดคนที่ไม่มีพ่อไม่มี แม่ เพราะจะไม่ต้องโดนปรับสินไหม”
บุรุษนั้นพอได้ฟังคำแนะนำก็่ไปเที่ยวเสาะหาคนที่ไม่มี พ่อไม่มีแม่ หรือแม่โคที่ไม่มีเจ้าของเพื่อจะลองวิชา แต่ไปที่ไหนก็ยังหาไม่เจอ ในขณะเดียวกันนั่นเอง มีพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งนามว่า ‘สุเนตตะ’ พักอยู่ในบรรณศาลา ขณะที่ท่านกำลังจะเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร บุรุษนั้นก็เดินมาพบท่านที่ประตูพระนครพอดี จึงคิดว่า พระรูปนี้ ไม่มีพ่อแม่ ถ้าเราดีดพระรูปนี้ ก็ไม่ต้องโดนปรับสินไหม เราจะดีดก้อนกรวดใส่พระรูปนี้ทดลองวิชาของเราดีกว่า คิดแล้วก็เล็งก้อนกรวดไปที่หูของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วก็ดีดก้อนกรวดใส่ทันที ก้อนกรวดปลิวเข้าทางหูขวาทะลุ ออกหูซ้าย ทำให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเจ็บปวดอย่างหนัก จนไม่สามารถเดินไปบิณฑบาตต่อได้ จึงกลับบรรณศาลาและปรินิพพานในที่สุด
พวกชาวบ้านที่รอใส่บาตร เมื่อไม่เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มาจึงคิดว่า ท่านอาจจะไม่สบาย จึงไปหาท่านที่บรรณศาลา เห็นว่าท่านปรินิพพานแล้ว ก็พากันร้องไห้คร่ำครวญ เสียอก เสียใจเป็นยิ่งนัก ฝ่ายบุรุษนั้น พอเห็นคนจำนวนมากเดินไป ก็สงสัยว่าคนเหล่านี้จะไปไหนกัน จึงเดินไปกับพวกเขาด้วย พอไปถึงบรรณศาลาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านอนปรินิพพาน อยู่ก็จำได้ จึงกล่าวว่า
“พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนี้ เราเห็นท่านที่ประตูเมืองตอน เข้าไปบิณฑบาต เราจึงทดลองวิชาของเรา ดีดก้อนกรวดใส่จนปรินิพพาน”
พอพวกชาวบ้านได้ยินดังนั้นจึงพากันด่าว่าบุรุษนั้น และรุมประชาทัณฑ์จนเขาขาดใจตายในที่สุด เมื่อตายแล้วผลแห่งกรรมชั่ว ส่งให้ไปเกิดในนรกอเวจี ถูกไฟนรกเผาไหม้ อยู่นานแสนนาน จนแผ่นดินใหญ่นี้หนาขึ้นหนึ่งโยชน์ และด้วยเศษกรรมที่เหลือจึงมาบังเกิดเป็นสัฏฐิกูฎเปรตที่ยอดภูเขาคิชฌกูฏนั่นเอง
ครั้นตรัสเล่าบุรพกรรมของเปรตให้ฟังแล้ว พระศาสดา จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศิลปะหรือวิชาความรู้และความเป็นอิสระ เมื่อเกิดมีขึ้นแก่คนชั่ว ย่อมเกิดมีขึ้นเพื่อความฉิบหาย เพราะว่า คนชั่วเมื่อได้ศิลปะหรือวิชาและความเป็น อิสระแล้ว ย่อมสร้างแต่ความฉิบหายให้แก่ตน”
.......
ในปัจจุบัน สังคมเรามีคนที่มีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าอดีตมาก แต่คุณธรรมกลับลดน้อยลงไปเรื่อยๆ สังคมจึงมีแต่ความวุ่นวาย มีแต่ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาอาชญากรรม ฆ่า ข่มขืน ชิงทรัพย์ ในรูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่ก่อพฤติกรรมที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนในสังคม เช่น การปาก้อนหินใส่กระจกรถยนต์ ด้วยความคึกคะนอง ดังปรากฏเป็นข่าวเมื่อ ไม่นานมานี้ คนเหล่านี้หากตายไปก็คงจะต้องตกนรกอเวจีเหมือนกับบุรุษที่ดีดก้อนกรวดใส่พระปัจเจกพุทธเจ้าในเรื่องนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดยมาลาวชิโร)
ครั้งหนึ่ง ในขณะที่พระมหาโมคคัลลานเถระลงจากภูเขา คิชฌกูฏพร้อมกับพระลักขณะเถระ ท่านได้แสดงอาการยิ้ม ทำให้พระเถระที่มาด้วยกันสงสัยว่าท่านยิ้มเพราะอะไร
ต่อมาเมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา พระเถระรูปเดิมจึงถามเรื่องนี้ขึ้น พระมหาโมคคัลลานะจึงบอกถึงสาเหตุที่ยิ้มว่าได้เห็นเปรตตัวหนึ่ง มีร่างกายยาวประมาณ ๓ คาวุต ถูกค้อนเหล็ก ๖ หมื่นอันที่ติดไฟลุกโพลง หล่นใส่ศีรษะกลางกระหม่อมของเปรตนั้น จนศีรษะแตกกระจัดกระจาย แล้วศีรษะก็กลับรวมกันขึ้นมา ใหม่ ค้อนเหล็กก็หล่นใส่อีกอยู่อย่างนั้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เปรตตัวนั้นร้องโอดโอยได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส
พระศาสดาเมื่อได้ทรงสดับเรื่องที่พระเถระเล่าให้ฟังแล้ว จึงตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรตนี้ เราก็เคยเห็นเช่นกันตอนที่อยู่ที่โพธิมัณฑประเทศ แต่เราไม่ได้บอกใครก็เพื่ออนุเคราะห์แก่คนบางพวกที่ไม่เชื่อเรา การที่พวกเขาไม่เชื่อว่าเปรตมีจริง นั้นทำให้ไม่กลัวบาปกรรม ไม่นำมาซึ่งประโยชน์อะไรเลย แต่ว่าตอนนี้เราเป็นพยานของโมคคัลลานะ จึงบอกได้ ”
เหล่าภิกษุฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงทูลถามถึงบุรพกรรม ของเปรตนั้น พระศาสดาจึงตรัสเล่าให้ฟังว่า
ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี ได้มีบุรุษเปลี้ยคนหนึ่ง เป็นผู้มีศิลปะในการดีดก้อนกรวด เขาไปนั่งอยู่ใต้ต้นไทรย้อยต้นหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร พวกเด็กๆ ชาวบ้านเข้ามาหาเขาและขอร้องให้เขาดีดก้อนกรวดไปเจาะใบไทรย้อยนั้นให้เป็นรูปช้างบ้าง รูปม้าบ้าง เขาก็ดีดก้อนกรวดเจาะใบไม้เป็นรูปช้าง รูปม้าให้เด็กๆดู เด็กอยากให้ดีดเป็นรูปอะไร ก็สามารถทำให้ดูได้หมด พวกเด็กๆ ก็ให้ของกินแก่เขาเป็นสินน้ำใจ
ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน และเสด็จไปที่ต้นไทรต้นนั้นในเวลาเที่ยงตรงพอดี แดดก็ส่องใบไม้ลงมา เงาที่ตกถูกพระราชาจึงเป็นรูปสัตว์ต่างๆ พระองค์ทรงสงสัยว่าคืออะไร แต่พอมองขึ้นไปบนต้นไม้ก็เห็นใบไม้ เป็นรูปช้างรูปม้าต่างๆ นานา จึงตรัสถามว่า ใครเป็นคนทำ และเมื่อทรงทราบว่าเป็นบุรุษเปลี้ย จึงมีรับสั่งให้คนไปนำบุรุษเปลี้ยนั้นมาหา แล้วตรัสว่า
“ปุโรหิตของเราปากกล้านัก พอเราพูดนิดเดียว ก็พูด เสียยืดยาว ท่านจะดีดมูลแพะเข้าไปในปากของปุโรหิตนั้นได้หรือไม่?”
บุรุษเปลี้ยทูลว่า “ได้ พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้คนนำมูลแพะมา แล้วประทับนั่งในม่านกับปุโรหิต ข้าพระองค์รู้ดีว่าจะต้องทำอย่างไร”
พระราชาได้ทรงกระทำตามที่เขาแนะนำ บุรุษเปลี้ยก็ให้คนเอากรรไกรเจาะช่องเล็กๆ ช่องหนึ่งไว้ที่ม่าน เมื่อปุโรหิตอ้าปากพูดกับพระราชา บุรุษเปลี้ยก็ดีดมูลแพะใส่ปากทีละก้อนๆ ปุโรหิตจำต้องกลืนมูลแพะที่เข้าปากก้อนแล้วก้อนเล่า เมื่อมูลแพะหมด บุรุษเปลี้ยจึงสั่นม่านเพื่อให้สัญญาณแก่พระราชา พระราชาจึงตรัสว่า
“ท่านปุโรหิต ท่านพูดมากเหลือเกิน แม้แต่กลืนกินมูลแพะไปตั้งเยอะแล้ว ยังไม่หยุดพูดอีก ท่านนี้มีปากกล้านัก”
ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นถึงกับอึ้งไป และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปุโรหิตนี้ก็ไม่พูดพล่ามกับพระราชาอีกเลย พระราชาจึงมีรับสั่งให้เรียกบุรุษเปลี้ยมาแล้วพระราชทานทรัพย์สมบัติให้มากมาย ต่อมาบุรุษคนหนึ่งเห็นสมบัติของบุรุษเปลี้ย จึงคิดว่าบุรุษผู้นี้เป็นคนเปลี้ย อาศัยศิลปะนี้ จึงได้สมบัติมาก มายขนาดนี้ เราก็ควรจะศึกษาศิลปะนี้ไว้ แล้วเขาก็เข้าไปหา บุรุษเปลี้ยเพื่อขอให้สอนวิชา แต่บุรุษเปลี้ยปฏิเสธ เขาจึง คิดว่าจะต้องทำให้บุรุษเปลี้ยผู้นี้สอนศิลปะแก่เขาให้ได้ จึงทำทีเข้าไปนวดเฟ้นแก่บุรุษเปลี้ย จนเวลาผ่านไปนานเข้า บุรุษเปลี้ยก็ใจอ่อนยอมสอนศิลปะให้เขา
หลังจากเรียนวิชาจบแล้วบุรุษเปลี้ยจึงถามว่าจะไปทำอะไร เขาตอบว่าจะไปทดลองวิชานอกเมือง จะดีดแม่โคหรือ มนุษย์ให้ตาย บุรุษเปลี้ยจึงกล่าวว่า
“ถ้าเจ้าฆ่าแม่โคตายจะต้องโดนปรับสินไหมหนึ่งร้อย ถ้า ฆ่ามนุษย์ตายจะโดนปรับสินไหมหนึ่งพัน ท่านและลูกเมียจะเอาเงินที่ไหนมาเสียค่าสินไหมเล่า ท่านอย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อนเลย ถ้าจะทดลองวิชา ก็ไปหาดีดคนที่ไม่มีพ่อไม่มี แม่ เพราะจะไม่ต้องโดนปรับสินไหม”
บุรุษนั้นพอได้ฟังคำแนะนำก็่ไปเที่ยวเสาะหาคนที่ไม่มี พ่อไม่มีแม่ หรือแม่โคที่ไม่มีเจ้าของเพื่อจะลองวิชา แต่ไปที่ไหนก็ยังหาไม่เจอ ในขณะเดียวกันนั่นเอง มีพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งนามว่า ‘สุเนตตะ’ พักอยู่ในบรรณศาลา ขณะที่ท่านกำลังจะเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร บุรุษนั้นก็เดินมาพบท่านที่ประตูพระนครพอดี จึงคิดว่า พระรูปนี้ ไม่มีพ่อแม่ ถ้าเราดีดพระรูปนี้ ก็ไม่ต้องโดนปรับสินไหม เราจะดีดก้อนกรวดใส่พระรูปนี้ทดลองวิชาของเราดีกว่า คิดแล้วก็เล็งก้อนกรวดไปที่หูของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วก็ดีดก้อนกรวดใส่ทันที ก้อนกรวดปลิวเข้าทางหูขวาทะลุ ออกหูซ้าย ทำให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเจ็บปวดอย่างหนัก จนไม่สามารถเดินไปบิณฑบาตต่อได้ จึงกลับบรรณศาลาและปรินิพพานในที่สุด
พวกชาวบ้านที่รอใส่บาตร เมื่อไม่เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มาจึงคิดว่า ท่านอาจจะไม่สบาย จึงไปหาท่านที่บรรณศาลา เห็นว่าท่านปรินิพพานแล้ว ก็พากันร้องไห้คร่ำครวญ เสียอก เสียใจเป็นยิ่งนัก ฝ่ายบุรุษนั้น พอเห็นคนจำนวนมากเดินไป ก็สงสัยว่าคนเหล่านี้จะไปไหนกัน จึงเดินไปกับพวกเขาด้วย พอไปถึงบรรณศาลาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านอนปรินิพพาน อยู่ก็จำได้ จึงกล่าวว่า
“พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนี้ เราเห็นท่านที่ประตูเมืองตอน เข้าไปบิณฑบาต เราจึงทดลองวิชาของเรา ดีดก้อนกรวดใส่จนปรินิพพาน”
พอพวกชาวบ้านได้ยินดังนั้นจึงพากันด่าว่าบุรุษนั้น และรุมประชาทัณฑ์จนเขาขาดใจตายในที่สุด เมื่อตายแล้วผลแห่งกรรมชั่ว ส่งให้ไปเกิดในนรกอเวจี ถูกไฟนรกเผาไหม้ อยู่นานแสนนาน จนแผ่นดินใหญ่นี้หนาขึ้นหนึ่งโยชน์ และด้วยเศษกรรมที่เหลือจึงมาบังเกิดเป็นสัฏฐิกูฎเปรตที่ยอดภูเขาคิชฌกูฏนั่นเอง
ครั้นตรัสเล่าบุรพกรรมของเปรตให้ฟังแล้ว พระศาสดา จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศิลปะหรือวิชาความรู้และความเป็นอิสระ เมื่อเกิดมีขึ้นแก่คนชั่ว ย่อมเกิดมีขึ้นเพื่อความฉิบหาย เพราะว่า คนชั่วเมื่อได้ศิลปะหรือวิชาและความเป็น อิสระแล้ว ย่อมสร้างแต่ความฉิบหายให้แก่ตน”
.......
ในปัจจุบัน สังคมเรามีคนที่มีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าอดีตมาก แต่คุณธรรมกลับลดน้อยลงไปเรื่อยๆ สังคมจึงมีแต่ความวุ่นวาย มีแต่ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาอาชญากรรม ฆ่า ข่มขืน ชิงทรัพย์ ในรูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่ก่อพฤติกรรมที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนในสังคม เช่น การปาก้อนหินใส่กระจกรถยนต์ ด้วยความคึกคะนอง ดังปรากฏเป็นข่าวเมื่อ ไม่นานมานี้ คนเหล่านี้หากตายไปก็คงจะต้องตกนรกอเวจีเหมือนกับบุรุษที่ดีดก้อนกรวดใส่พระปัจเจกพุทธเจ้าในเรื่องนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดยมาลาวชิโร)