หนึ่งในพระเกียรติสูงสุดตามราชประเพณี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดถวายแด่พระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือ พระพิธีธรรมสวด พระอภิธรรมตลอด ๑๐๐ วัน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีกำหนดดังนี้
๐๖.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม
๐๗.๐๐ น. พระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเช้า
๐๙.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๑๑.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมฉันเพล
๑๒.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๑๕.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๑๘.๐๐ น. ประโคมย่ำยาม
๑๙.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม
๒๑.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๒๔.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
แต่นี้จะพรรณนาความแห่ง พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เพื่อเพิ่มพูนพระราชกุศล บุญราศีให้ไพศาลเป็นอนันตคุณ และเป็นแบบอย่างแห่งการปฏิบัติตนของกตัญญูกตเวทิตาชน สืบไป
• ใครคือพระพิธีธรรม?
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวไว้ดังนี้ พิธีธรรม หมายถึง พระสงฆ์จำนวน ๔ รูป ที่ได้รับสมมติให้สวดภาณวารหรืออาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือสวดพระอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้มีงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๖ เริ่มการพระราชพิธีตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายน การพระราชพิธีในวันที่ ๒๘ มีนาคม เรียกว่า ตั้งน้ำวงด้าย มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และสวดภาณวารในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันที่ ๒๙ มีนาคม เลี้ยงพระ อ่านประกาศสังเวยเทวดา สวดอาฏานาฏิยสูตร ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักรี มหาปราบยุค ฯลฯ ปัจจุบัน งานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ มีเพียงพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์/เลี้ยงพระ สรงน้ำพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบูรพการีและพระบรมราชวงศ์
ปัจจุบัน พระพิธีธรรม จึงมีหน้าที่สวดพระอภิธรรมในการศพของหลวงเท่านั้น
ดังนั้น พระพิธีธรรม คือ พระสงฆ์จำนวน ๔ รูป ในพระอารามหลวง ๑๐ แห่ง ที่เจ้าอาวาส
มอบหมายให้เป็นผู้สวดพระอภิธรรม ทำนองหลวง ตามลีลาของแต่ละพระอารามปกติแต่ละพระอารามจะมีพระพิธีธรรม ๑ สำรับ (๔ รูป) แต่ในทางปฏิบัติ จะมีการจัดพระสงฆ์ สำรองไว้ ๑ สำรับ เพื่อไว้แทนสำรับหลักของพระอารามในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
พระอารามหลวงทั้ง ๑๐ แห่ง ที่มีการแต่งตั้งพระพิธีธรรมมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ คือ ๑. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ๒. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๓. วัดสุทัศนเทพวราราม ๔. วัดจักรวรรดิราชาวาส ๕. วัดสระเกศ ๖. วัดระฆังโฆสิตาราม ๗. วัดประยุรวงศาวาส ๘. วัดอนงคาราม ๙. วัดราชสิทธาราม ๑๐. วัดบวรนิเวศวิหาร
การอาราธนาพระพิธีธรรม ให้ไปสวดพระอภิธรรมในการศพของหลวง เป็นหน้าที่ของ ฝ่ายศาสนพิธี กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมถวายพระศพ หรือศพในพระบรมราชานุเคราะห์ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ เหตุนี้ทางราชการจึงกำหนดให้ถวายนิตยภัตรแก่พระพิธีธรรม เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท จนเกษียณจากหน้าที่
การสวดพระอภิธรรม ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะอาราธนาพระพิธีธรรม ๒ สำรับ จาก ๒ พระอาราม สวดพระอภิธรรมตามกำหนดข้างต้น โดยแต่ละสำรับจะมีอุปกรณ์ดังนี้
๑. เตียงสวดพระอภิธรรม คือเตียงที่มีขนาดพอให้พระสงฆ์นั่งได้ ๔ รูป พร้อมมีที่สำหรับวางตู้พระธรรมได้ หลังคาบุภายในด้วยผ้าขาวมีอุบะห้อยอยู่โดยรอบ ในพระที่นั่งดุสิตฯ จัดไว้ ๒ เตียง เตียงที่ตั้งอยู่มุขด้านตะวันออกจะมีสีแดง เป็นเตียงเอก เตียงที่ตั้งอยู่มุขด้าน ตะวันตกจะมีสีเขียว เป็นเตียงรอง การนั่งสวดพระอภิธรรมบนเตียงจะมี ๒ แบบ คือ ๑. นั่งเรียงตามลำดับพัดยศ ๒. นั่งตามคู่สวด คือ น้ำเงิน เหลือง แดง เขียว (ในการออกพระเมรุ พระพิธีธรรมจะสวดพระอภิธรรมใน‘ซ่างเมรุ’ ที่ปลูก อยู่ ๔ ทิศของพระเมรุ)
๒. ตู้พระธรรม คือ ตู้ที่บรรจุคัมภีร์พระอภิธรรมไว้ภายใน ตั้งอยู่ที่หน้าพระพิธีธรรม ตู้พระธรรมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ๑. ตู้ทองทึบ ๒. ตู้ลายรดน้ำ ๓. ตู้ประดับลายกระจก การสวดพระอภิธรรมในการพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ใช้ตู้ทองทึบ อันเป็นตู้พระธรรมที่มีศักดิ์สูงสุด
๓. พัดยศประจำตู้พระธรรม เป็นพัดยศประจำตำแหน่ง‘พระราชาคณะชั้นสามัญยก’ (พระราชาคณะที่ไม่ได้เป็นมหาเปรียญ)
๔. พัดยศพระพิธีธรรม เป็นพัดหน้านาง พื้นแพรสี ปักไหมทอง ด้ามไม้คาบตับ ยอดงา ส้นงา หนึ่งสำรับ มี ๔ สี เรียงตามลำดับคือ เหลือง แดง น้ำเงิน เขียว มีความหมายดังนี้
- พัดยศพื้นแพรสีเหลือง หมายถึง เปรียญธรรม ๖ ประโยค
- พัดยศพื้นแพรสีแดงหมายถึง เปรียญธรรม ๕ ประโยค
- พัดยศพื้นแพรสีน้ำเงินหมายถึง เปรียญธรรม ๔ ประโยค
- พัดยศพื้นแพรสีเขียวหมายถึง เปรียญธรรม ๓ ประโยค
• พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมอย่างไร?
พระพิธีธรรมจะสวดพระอภิธรรมในทำนองหลวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายการสวดมหาชาติ คำหลวง คือสวดเป็นทำนอง มีเม็ดพรายในการสวดที่แตกต่างกันไปทั้งหลบเสียง เอื้อนเสียง ลีลาในการสวดพระอภิธรรมจะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพระอาราม
พระสงฆ์ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพระพิธีธรรม เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นผู้มี วิริยะอุตสาหะในการฝึกซ้อมสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง และทรงจำลีลาการสวดตามแบบที่บุรพาจารย์ในพระอารามได้กำหนดไว้ เพราะการสวดพระอภิธรรมทำนองหลวงจะไพเราะและยังความศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ ย่อมเกิดจากการสวดที่พร้อมเพรียงกัน มีสามัคคี แห่งเสียงที่รวมเป็นหนึ่ง จังหวะเอื้อนเสียง หยุดหายใจ จะพรักพร้อมตลอดการสวด ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป
ในการสวดพระอภิธรรม ณ พระที่นั่งดุสิตฯ นี้ พระพิธีธรรมจะสลับกับสวดทีละจบ จนครบยาม จึงพักให้เจ้าหน้าที่ประโคมย่ำยาม
สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงโปรดสดับพระพิธีธรรม วัดราชสิทธารามสวดพระอภิธรรม
• การถวายภัตตาหารแด่พระพิธีธรรม
แต่เดิมเมื่อพระพิธีธรรมมาสวดพระอภิธรรมจนครบเวรในแต่ละวัน คือแต่ย่ำรุ่ง (๐๖.๐๐ น.) จนถึงเที่ยงคืน (๒๔.๐๐ น.) ก็จะกลับสู่พระอารามของตน ในพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดภัตตาหารถวายพระพิธีธรรม
ในพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลครั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม และทรงโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ถวายภัตตาหารเพล
• พระอภิธรรมคืออะไร ทำไมต้องสวดพระอภิธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงพระนิพนธ์ความหมายของอภิธรรม ใน หนังสือ ‘ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม’ ไว้ดังนี้
“...คำว่า อภิธรรม นั้น ประกอบด้วยศัพท์ว่า “อภิ” แปลว่า ยิ่ง กับ “ธรรม” รวมกันแปลว่า “ธรรมะยิ่ง” หมายความว่า พิสดาร อีกอย่างหนึ่งหมายความว่าธรรมะที่ยิ่งคือพิเศษ หมายความว่าแปลกจากธรรมะในปิฎกอื่น ความหมายนี้ต่างจากคำว่า “อภิธรรม อภิวินัย ”ที่ใช้ในพระสูตร เพราะในที่นั้น คำว่า “อภิ” หมายความว่า “จำเพาะธรรมะ จำเพาะวินัย” คือมีเขตแดนไม่ปะปนกัน อีกอย่างหนึ่ง “อภิ”ในที่นั้นก็หมายความว่า “ยิ่ง” นั้นแหละ แต่ไม่ได้หมายไปถึงอีกปิฎกหนึ่ง คือ อภิธรรม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม, อภิวินัย ก็หมายถึง อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือ สิกขาบทมาในพระปาติโมกข์
แต่ว่าในที่บางแห่ง คำว่า อภิธรรม หมายความว่า ธรรมะที่เป็นอธิบาย ทำนองอรรถกถา คือ กถาที่อธิบายเนื้อความ ถ้าตามความหมายหลังนี้ อภิธรรม ก็คือตำราที่อธิบายธรรมะ ส่วนที่แสดงความของศัพท์อภิธรรมว่า ธรรมะที่ยิ่ง ดั่งกล่าวข้างต้นนั้น เป็นการแสดงตามคัมภีร์อรรถกถาอภิธรรม แต่ถ้าไม่อ้างคัมภีร์นั้น ว่าเอาตามที่พิจารณา จะแปลว่า “เฉพาะธรรม” ก็ได้ เพราะว่าในคัมภีร์อภิธรรมได้แสดงเฉพาะธรรมะไม่เกี่ยวกับบุคคล
อภิธรรมมี ๗ คัมภีร์ เรียกว่า “สัตตปกรณ์” ดั่งกล่าวมาแล้ว คือ
๑. ธัมมสังคณี แปลง่ายๆว่าประมวลธรรมะ “สังคณี”ก็แปลว่า ประมวลเข้าเป็นหมวดหมู่ จำแนกออกเป็น ๔ กัณฑ์คือ ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งจิต ๘๙ ดวง กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยรูปโดยพิสดาร กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยนิเขปแปลว่ายกธรรมะขึ้นแสดงโดยมูลราก โดยขันธ์คือกอง โดยทวารเป็นต้น กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยอัตถุตธารหรืออรรถกถา คือว่ากล่าวอธิบายเนื้อความของแม่บทนั้น ที่ได้แสดงไว้ตั้งแต่ต้นกัณฑ์หนึ่ง
๒. วิภังค์ แปลว่า จำแนกธรรมะ ลำพังศัพท์ว่า “วิภังค์” แปลว่า จำแนก มี ๑๘ วิภังค์ คือ ขันธวิภังค์ จำแนกขันธ์ อายตนวิภังค์ จำแนกอายตนะ ธาตุวิภังค์ จำแนกธาตุ เป็นต้น
๓. ธาตุกถา ว่าด้วยธาตุ แต่โดยที่แท้นั้น ว่าด้วยขันธ์อายตนธาตุ ที่สงเคราะห์กันเข้า ได้อย่างไร และสงเคราะห์กันไม่ได้อย่างไร ควรจะเรียกชื่อเต็มที่ว่า “ขันธ์อายตนธาตุกถา” แต่ว่าเรียกสั้นๆว่า ธาตุกถา แบ่งออกเป็น ๑๔ หมวด มีการสงเคราะห์กันได้ การสงเคราะห์กันไม่ได้ แห่งส่วนทั้งสามนั้น เป็นต้น
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าบุคคล เป็นเบื้องต้นของคัมภีร์นี้ ได้แสดงถึงบัญญัติ ๖ ประการ คือ ขันธบัญญัติ บัญญัติว่าขันธ์ อายตนบัญญัติ บัญญัติว่าอายตนะ ธาตุบัญญัติ บัญญัติว่าธาตุ สัจจบัญญัติ บัญญัติว่าสัจจะ อินทรียบัญญัติ บัญญัติว่าอินทรีย์ ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าบุคคล แต่ว่าบัญญัติ ๕ ประการข้างต้นนั้น ได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์แรกๆแล้ว ในคัมภีร์นี้จึงกล่าวพิสดารแต่เฉพาะปุคคลบัญญัติ คือบัญญัติว่าบุคคล และเรียกชื่อคัมภีร์ตามนี้ ในคัมภีร์นี้แยกบุคคลตั้งแต่พวกหนึ่งสองจำพวกขึ้นไป คล้ายกับในสุตตันตปิฎก อังคุตตร-นิกาย คือตอนที่แสดงธรรมะเป็นหมวดๆ แต่ว่าก็มีเงื่อนเค้าอยู่ในคัมภีร์อภิธรรมนี้ เพราะมีคำว่าบัญญัติอยู่ด้วย อันหมายความว่าที่จะเป็นบุคคลเพราะมีบัญญัติชื่อว่าบุคคล เพราะฉะนั้น คำว่าบุคคลนั้น ก็เป็นเพียงบัญญัติอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็เป็นลักษณะของอภิธรรม
๕. กถาวัตถุ คำว่า “วัตถุ” แปลว่า ที่ตั้ง แปลว่า เรื่อง กถาวัตถุ ก็แปลว่า ที่ตั้งของถ้อยคำ เรื่องของถ้อยคำ ในคัมภีร์นี้ได้แสดงที่ตั้งของถ้อยคำซึ่งกล่าวโต้กันอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายสกวาทะ ๕๐๐ สูตร ฝ่ายปรวาทะ ๕๐๐ สูตร รวมเป็นพันสูตร คือว่าพันเรื่อง แต่ไม่ใช่เป็นคัมภีร์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นคัมภีร์ที่ว่าพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ แสดงในสมัยสังคายนาครั้งที่สาม เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๐๐ ปีเศษ แต่ท่านก็ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนัยหรือว่าตั้งมาติกาคือแม่บทไว้ให้แล้ว พระเถระได้แสดงไปตามแม่บทนั้น ที่ท่านนับว่าเป็นพุทธสุภาษิตด้วย ก่อนแต่นั้นจึงมีเพียง ๖ คัมภีร์ โดยเฉพาะคัมภีร์นี้เองก็ถูก ค้านเหมือนกันว่าไม่ควรใส่เข้ามา ถ้าต้องการจะให้ครบ ๗ ก็ให้ใส่ คัมภีร์ธัมมหทัย หรือว่า คัมภีร์มหาธาตุกถา แต่ว่าฝ่ายที่ยืนยันให้ใส่คัมภีร์นี้เข้ามาก็อ้างว่า สองคัมภีร์นั้นไม่เหมาะสม คัมภีร์นี้เหมาะสมกว่า ก็คงจะเป็นว่า ความเห็นส่วนมากในที่ประชุม ต้องการให้ใส่คัมภีร์นี้เข้ามาให้ครบ ๗ ทำไมจึงต้องมีเกณฑ์ ๗ อันนี้ไม่ทราบ อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าเหมาะก็ได้ จึงได้ใส่เข้ามา เมื่อใส่เข้ามาก็รวมเป็น ๗ ในกถาวัตถุนี้มีเรื่องที่โต้กันอยู่มาก เกี่ยวกับลัทธิต่างๆที่แตกแยกกันออกไป เกี่ยวกับความเห็นต่างๆ เป็นต้นว่า มติหนึ่งว่า พระอรหันต์เมื่อ บรรลุพระอรหันต์นั้นไม่รู้เอง ต้องมีผู้อื่นมาบอกให้ แต่อีกมติหนึ่งว่ารู้ได้เอง ไม่ต้องมีผู้อื่นมาบอก มติหนึ่งว่าจิตเป็นธรรมชาติที่ดำรงอยู่ ทำนองจิตอมตะนั่นแหละ แต่อีกมติหนึ่ง คัดค้าน ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น คัมภีร์กถาวัตถุจึงเท่ากับว่าเป็นที่รวมของปัญหาโต้แย้งต่างๆ
ที่เกิดมีมาโดยลำดับ จนถึงในสมัยที่รวบรวมเรียบเรียงคัมภีร์นี้ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารู้น่าเห็น อยู่มาก และเมื่อได้อ่านคัมภีร์นี้ก็จะทราบว่า ได้มีความเห็นแตกแยกกันในพระพุทธศาสนา อย่างไรบ้าง เมื่อท่านแสดงถึงข้อที่แตกแยกโต้เถียงกันแล้ว ในที่สุดท่านก็ตัดสินเป็นข้อๆ ไปว่าอย่างไหนถูก ก็เข้าเรื่องที่เล่าว่าพระเจ้าอโศกใช้ราชานุภาพไปสอบสวนภิกษุในคราวนั้น ปรากฏว่ามีพวกเดียรถีย์เข้ามาปลอมบวชเป็นอันมาก ได้ตั้งปัญหาขึ้นถาม โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระเป็นผู้คอยฟังวินิจฉัย เมื่อคำตอบนั้นส่องว่าเป็นลัทธิภายนอกไม่ใช่เป็นพระพุทธศาสนา ก็ให้สึกไป เหลือไว้แต่ผู้ที่ตอบถูกต้องตามแนวของพระพุทธศาสนา เสร็จแล้วก็ทำสังคายนาครั้งที่สาม
๖. ยมก แปลว่า คู่ คัมภีร์นี้ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ๆกัน แบ่งออกเป็น ๑๐ หมวด มีมูลยมก ขันธยมก เป็นต้น
๗. ปัฏฐาน คัมภีร์นี้เรียกว่าเป็น มหาปกรณ์ แปลว่า ปกรณ์ใหญ่ หรือว่า คัมภีร์ใหญ่ คู่กันกับปกรณ์ที่หนึ่งคือ ธัมมสังคณี ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย) เป็นต้น ท่านนับถือว่าคัมภีร์ที่ ๗ นี้มีอรรถะลึกซึ้ง และแสดงว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาอภิธรรม ทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ ที่รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้วที่แสดงแล้วนั้น เมื่อพิจารณาปกรณ์แรกๆมา ฉัพพัณณรังษีก็ยังไม่ปรากฏ ต่อเมื่อมาพิจารณาปกรณ์ที่ ๗ นี้ จึงปรากฏฉัพพัณณรังษีขึ้น
ก็รวมเป็น ๗ คัมภีร์ ในคัมภีร์ที่หนึ่ง ธัมมสังคณี ที่ประมวลธรรมะ ได้ตั้งแม่บทที่เป็นหมวด ๓ ขึ้นต้นว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล, อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็น อกุศล, อพยากตา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต คือว่าไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรือ อกุศล ถือว่าแม่บทนี้เป็นแม่บทใหญ่ เป็นที่รวมของธรรมะทั้งหมดที่แสดงออกไปทั้ง ๗ คัมภีร์ เพราะว่าประมวลลงในแม่บทอันนี้ทั้งนั้น
คัมภีร์อภิธรรมนั้น มีเจ็ดคัมภีร์ เรียกว่า สัตตปกรณ์ “ปกรณ์” ก็แปลว่า คัมภีร์ “สัตต” แปลว่า ๗ สัตตปกรณ์ ก็แปลว่า ๗ คัมภีร์ คำนี้ได้นำมาใช้เมื่อบังสุกุลพระศพเจ้านาย ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปใช้คำว่า สดับปกรณ์ ก็มาจากคำว่า สัตตปกรณ์ คือ เจ็ดคัมภีร์นี้เอง...”
และเหตุที่ต้องมีการสวดพระอภิธรรมนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้รจนาไว้ว่า ในพรรษาที่ ๗ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อาศัยพระพุทธกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นคติธรรม บุรพชนไทยจึงกำหนดให้มีการ สวดพระอภิธรรมในงานศพ
......
พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายพระศพหรือแก่ศพในพระบรมราชานุเคราะห์ ดังนั้นควรที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจักต้องตั้งจิตใจให้เป็นสมาธิ สดับพระอภิธรรมด้วยความเคารพ ย่อมได้รับอานิสงส์ แห่งการฟังธรรมตามกาล เป็นมงคลชีวิตตลอดไป
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 87 ก.พ. 51 โดยพระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
๐๖.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม และประโคมย่ำยาม
๐๗.๐๐ น. พระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเช้า
๐๙.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๑๑.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมฉันเพล
๑๒.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๑๕.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๑๘.๐๐ น. ประโคมย่ำยาม
๑๙.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม
๒๑.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
๒๔.๐๐ น. พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมและประโคมย่ำยาม
แต่นี้จะพรรณนาความแห่ง พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เพื่อเพิ่มพูนพระราชกุศล บุญราศีให้ไพศาลเป็นอนันตคุณ และเป็นแบบอย่างแห่งการปฏิบัติตนของกตัญญูกตเวทิตาชน สืบไป
• ใครคือพระพิธีธรรม?
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวไว้ดังนี้ พิธีธรรม หมายถึง พระสงฆ์จำนวน ๔ รูป ที่ได้รับสมมติให้สวดภาณวารหรืออาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือสวดพระอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้มีงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๖ เริ่มการพระราชพิธีตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายน การพระราชพิธีในวันที่ ๒๘ มีนาคม เรียกว่า ตั้งน้ำวงด้าย มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และสวดภาณวารในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันที่ ๒๙ มีนาคม เลี้ยงพระ อ่านประกาศสังเวยเทวดา สวดอาฏานาฏิยสูตร ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักรี มหาปราบยุค ฯลฯ ปัจจุบัน งานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ มีเพียงพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์/เลี้ยงพระ สรงน้ำพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบูรพการีและพระบรมราชวงศ์
ปัจจุบัน พระพิธีธรรม จึงมีหน้าที่สวดพระอภิธรรมในการศพของหลวงเท่านั้น
ดังนั้น พระพิธีธรรม คือ พระสงฆ์จำนวน ๔ รูป ในพระอารามหลวง ๑๐ แห่ง ที่เจ้าอาวาส
มอบหมายให้เป็นผู้สวดพระอภิธรรม ทำนองหลวง ตามลีลาของแต่ละพระอารามปกติแต่ละพระอารามจะมีพระพิธีธรรม ๑ สำรับ (๔ รูป) แต่ในทางปฏิบัติ จะมีการจัดพระสงฆ์ สำรองไว้ ๑ สำรับ เพื่อไว้แทนสำรับหลักของพระอารามในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
พระอารามหลวงทั้ง ๑๐ แห่ง ที่มีการแต่งตั้งพระพิธีธรรมมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ คือ ๑. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ๒. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๓. วัดสุทัศนเทพวราราม ๔. วัดจักรวรรดิราชาวาส ๕. วัดสระเกศ ๖. วัดระฆังโฆสิตาราม ๗. วัดประยุรวงศาวาส ๘. วัดอนงคาราม ๙. วัดราชสิทธาราม ๑๐. วัดบวรนิเวศวิหาร
การอาราธนาพระพิธีธรรม ให้ไปสวดพระอภิธรรมในการศพของหลวง เป็นหน้าที่ของ ฝ่ายศาสนพิธี กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมถวายพระศพ หรือศพในพระบรมราชานุเคราะห์ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ เหตุนี้ทางราชการจึงกำหนดให้ถวายนิตยภัตรแก่พระพิธีธรรม เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท จนเกษียณจากหน้าที่
การสวดพระอภิธรรม ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะอาราธนาพระพิธีธรรม ๒ สำรับ จาก ๒ พระอาราม สวดพระอภิธรรมตามกำหนดข้างต้น โดยแต่ละสำรับจะมีอุปกรณ์ดังนี้
๑. เตียงสวดพระอภิธรรม คือเตียงที่มีขนาดพอให้พระสงฆ์นั่งได้ ๔ รูป พร้อมมีที่สำหรับวางตู้พระธรรมได้ หลังคาบุภายในด้วยผ้าขาวมีอุบะห้อยอยู่โดยรอบ ในพระที่นั่งดุสิตฯ จัดไว้ ๒ เตียง เตียงที่ตั้งอยู่มุขด้านตะวันออกจะมีสีแดง เป็นเตียงเอก เตียงที่ตั้งอยู่มุขด้าน ตะวันตกจะมีสีเขียว เป็นเตียงรอง การนั่งสวดพระอภิธรรมบนเตียงจะมี ๒ แบบ คือ ๑. นั่งเรียงตามลำดับพัดยศ ๒. นั่งตามคู่สวด คือ น้ำเงิน เหลือง แดง เขียว (ในการออกพระเมรุ พระพิธีธรรมจะสวดพระอภิธรรมใน‘ซ่างเมรุ’ ที่ปลูก อยู่ ๔ ทิศของพระเมรุ)
๒. ตู้พระธรรม คือ ตู้ที่บรรจุคัมภีร์พระอภิธรรมไว้ภายใน ตั้งอยู่ที่หน้าพระพิธีธรรม ตู้พระธรรมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ๑. ตู้ทองทึบ ๒. ตู้ลายรดน้ำ ๓. ตู้ประดับลายกระจก การสวดพระอภิธรรมในการพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ใช้ตู้ทองทึบ อันเป็นตู้พระธรรมที่มีศักดิ์สูงสุด
๓. พัดยศประจำตู้พระธรรม เป็นพัดยศประจำตำแหน่ง‘พระราชาคณะชั้นสามัญยก’ (พระราชาคณะที่ไม่ได้เป็นมหาเปรียญ)
๔. พัดยศพระพิธีธรรม เป็นพัดหน้านาง พื้นแพรสี ปักไหมทอง ด้ามไม้คาบตับ ยอดงา ส้นงา หนึ่งสำรับ มี ๔ สี เรียงตามลำดับคือ เหลือง แดง น้ำเงิน เขียว มีความหมายดังนี้
- พัดยศพื้นแพรสีเหลือง หมายถึง เปรียญธรรม ๖ ประโยค
- พัดยศพื้นแพรสีแดงหมายถึง เปรียญธรรม ๕ ประโยค
- พัดยศพื้นแพรสีน้ำเงินหมายถึง เปรียญธรรม ๔ ประโยค
- พัดยศพื้นแพรสีเขียวหมายถึง เปรียญธรรม ๓ ประโยค
• พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมอย่างไร?
พระพิธีธรรมจะสวดพระอภิธรรมในทำนองหลวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายการสวดมหาชาติ คำหลวง คือสวดเป็นทำนอง มีเม็ดพรายในการสวดที่แตกต่างกันไปทั้งหลบเสียง เอื้อนเสียง ลีลาในการสวดพระอภิธรรมจะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพระอาราม
พระสงฆ์ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพระพิธีธรรม เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นผู้มี วิริยะอุตสาหะในการฝึกซ้อมสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง และทรงจำลีลาการสวดตามแบบที่บุรพาจารย์ในพระอารามได้กำหนดไว้ เพราะการสวดพระอภิธรรมทำนองหลวงจะไพเราะและยังความศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ ย่อมเกิดจากการสวดที่พร้อมเพรียงกัน มีสามัคคี แห่งเสียงที่รวมเป็นหนึ่ง จังหวะเอื้อนเสียง หยุดหายใจ จะพรักพร้อมตลอดการสวด ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป
ในการสวดพระอภิธรรม ณ พระที่นั่งดุสิตฯ นี้ พระพิธีธรรมจะสลับกับสวดทีละจบ จนครบยาม จึงพักให้เจ้าหน้าที่ประโคมย่ำยาม
สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงโปรดสดับพระพิธีธรรม วัดราชสิทธารามสวดพระอภิธรรม
• การถวายภัตตาหารแด่พระพิธีธรรม
แต่เดิมเมื่อพระพิธีธรรมมาสวดพระอภิธรรมจนครบเวรในแต่ละวัน คือแต่ย่ำรุ่ง (๐๖.๐๐ น.) จนถึงเที่ยงคืน (๒๔.๐๐ น.) ก็จะกลับสู่พระอารามของตน ในพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดภัตตาหารถวายพระพิธีธรรม
ในพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลครั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม และทรงโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ถวายภัตตาหารเพล
• พระอภิธรรมคืออะไร ทำไมต้องสวดพระอภิธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงพระนิพนธ์ความหมายของอภิธรรม ใน หนังสือ ‘ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม’ ไว้ดังนี้
“...คำว่า อภิธรรม นั้น ประกอบด้วยศัพท์ว่า “อภิ” แปลว่า ยิ่ง กับ “ธรรม” รวมกันแปลว่า “ธรรมะยิ่ง” หมายความว่า พิสดาร อีกอย่างหนึ่งหมายความว่าธรรมะที่ยิ่งคือพิเศษ หมายความว่าแปลกจากธรรมะในปิฎกอื่น ความหมายนี้ต่างจากคำว่า “อภิธรรม อภิวินัย ”ที่ใช้ในพระสูตร เพราะในที่นั้น คำว่า “อภิ” หมายความว่า “จำเพาะธรรมะ จำเพาะวินัย” คือมีเขตแดนไม่ปะปนกัน อีกอย่างหนึ่ง “อภิ”ในที่นั้นก็หมายความว่า “ยิ่ง” นั้นแหละ แต่ไม่ได้หมายไปถึงอีกปิฎกหนึ่ง คือ อภิธรรม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม, อภิวินัย ก็หมายถึง อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือ สิกขาบทมาในพระปาติโมกข์
แต่ว่าในที่บางแห่ง คำว่า อภิธรรม หมายความว่า ธรรมะที่เป็นอธิบาย ทำนองอรรถกถา คือ กถาที่อธิบายเนื้อความ ถ้าตามความหมายหลังนี้ อภิธรรม ก็คือตำราที่อธิบายธรรมะ ส่วนที่แสดงความของศัพท์อภิธรรมว่า ธรรมะที่ยิ่ง ดั่งกล่าวข้างต้นนั้น เป็นการแสดงตามคัมภีร์อรรถกถาอภิธรรม แต่ถ้าไม่อ้างคัมภีร์นั้น ว่าเอาตามที่พิจารณา จะแปลว่า “เฉพาะธรรม” ก็ได้ เพราะว่าในคัมภีร์อภิธรรมได้แสดงเฉพาะธรรมะไม่เกี่ยวกับบุคคล
อภิธรรมมี ๗ คัมภีร์ เรียกว่า “สัตตปกรณ์” ดั่งกล่าวมาแล้ว คือ
๑. ธัมมสังคณี แปลง่ายๆว่าประมวลธรรมะ “สังคณี”ก็แปลว่า ประมวลเข้าเป็นหมวดหมู่ จำแนกออกเป็น ๔ กัณฑ์คือ ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งจิต ๘๙ ดวง กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยรูปโดยพิสดาร กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยนิเขปแปลว่ายกธรรมะขึ้นแสดงโดยมูลราก โดยขันธ์คือกอง โดยทวารเป็นต้น กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยอัตถุตธารหรืออรรถกถา คือว่ากล่าวอธิบายเนื้อความของแม่บทนั้น ที่ได้แสดงไว้ตั้งแต่ต้นกัณฑ์หนึ่ง
๒. วิภังค์ แปลว่า จำแนกธรรมะ ลำพังศัพท์ว่า “วิภังค์” แปลว่า จำแนก มี ๑๘ วิภังค์ คือ ขันธวิภังค์ จำแนกขันธ์ อายตนวิภังค์ จำแนกอายตนะ ธาตุวิภังค์ จำแนกธาตุ เป็นต้น
๓. ธาตุกถา ว่าด้วยธาตุ แต่โดยที่แท้นั้น ว่าด้วยขันธ์อายตนธาตุ ที่สงเคราะห์กันเข้า ได้อย่างไร และสงเคราะห์กันไม่ได้อย่างไร ควรจะเรียกชื่อเต็มที่ว่า “ขันธ์อายตนธาตุกถา” แต่ว่าเรียกสั้นๆว่า ธาตุกถา แบ่งออกเป็น ๑๔ หมวด มีการสงเคราะห์กันได้ การสงเคราะห์กันไม่ได้ แห่งส่วนทั้งสามนั้น เป็นต้น
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าบุคคล เป็นเบื้องต้นของคัมภีร์นี้ ได้แสดงถึงบัญญัติ ๖ ประการ คือ ขันธบัญญัติ บัญญัติว่าขันธ์ อายตนบัญญัติ บัญญัติว่าอายตนะ ธาตุบัญญัติ บัญญัติว่าธาตุ สัจจบัญญัติ บัญญัติว่าสัจจะ อินทรียบัญญัติ บัญญัติว่าอินทรีย์ ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าบุคคล แต่ว่าบัญญัติ ๕ ประการข้างต้นนั้น ได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์แรกๆแล้ว ในคัมภีร์นี้จึงกล่าวพิสดารแต่เฉพาะปุคคลบัญญัติ คือบัญญัติว่าบุคคล และเรียกชื่อคัมภีร์ตามนี้ ในคัมภีร์นี้แยกบุคคลตั้งแต่พวกหนึ่งสองจำพวกขึ้นไป คล้ายกับในสุตตันตปิฎก อังคุตตร-นิกาย คือตอนที่แสดงธรรมะเป็นหมวดๆ แต่ว่าก็มีเงื่อนเค้าอยู่ในคัมภีร์อภิธรรมนี้ เพราะมีคำว่าบัญญัติอยู่ด้วย อันหมายความว่าที่จะเป็นบุคคลเพราะมีบัญญัติชื่อว่าบุคคล เพราะฉะนั้น คำว่าบุคคลนั้น ก็เป็นเพียงบัญญัติอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็เป็นลักษณะของอภิธรรม
๕. กถาวัตถุ คำว่า “วัตถุ” แปลว่า ที่ตั้ง แปลว่า เรื่อง กถาวัตถุ ก็แปลว่า ที่ตั้งของถ้อยคำ เรื่องของถ้อยคำ ในคัมภีร์นี้ได้แสดงที่ตั้งของถ้อยคำซึ่งกล่าวโต้กันอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายสกวาทะ ๕๐๐ สูตร ฝ่ายปรวาทะ ๕๐๐ สูตร รวมเป็นพันสูตร คือว่าพันเรื่อง แต่ไม่ใช่เป็นคัมภีร์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นคัมภีร์ที่ว่าพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ แสดงในสมัยสังคายนาครั้งที่สาม เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๐๐ ปีเศษ แต่ท่านก็ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนัยหรือว่าตั้งมาติกาคือแม่บทไว้ให้แล้ว พระเถระได้แสดงไปตามแม่บทนั้น ที่ท่านนับว่าเป็นพุทธสุภาษิตด้วย ก่อนแต่นั้นจึงมีเพียง ๖ คัมภีร์ โดยเฉพาะคัมภีร์นี้เองก็ถูก ค้านเหมือนกันว่าไม่ควรใส่เข้ามา ถ้าต้องการจะให้ครบ ๗ ก็ให้ใส่ คัมภีร์ธัมมหทัย หรือว่า คัมภีร์มหาธาตุกถา แต่ว่าฝ่ายที่ยืนยันให้ใส่คัมภีร์นี้เข้ามาก็อ้างว่า สองคัมภีร์นั้นไม่เหมาะสม คัมภีร์นี้เหมาะสมกว่า ก็คงจะเป็นว่า ความเห็นส่วนมากในที่ประชุม ต้องการให้ใส่คัมภีร์นี้เข้ามาให้ครบ ๗ ทำไมจึงต้องมีเกณฑ์ ๗ อันนี้ไม่ทราบ อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าเหมาะก็ได้ จึงได้ใส่เข้ามา เมื่อใส่เข้ามาก็รวมเป็น ๗ ในกถาวัตถุนี้มีเรื่องที่โต้กันอยู่มาก เกี่ยวกับลัทธิต่างๆที่แตกแยกกันออกไป เกี่ยวกับความเห็นต่างๆ เป็นต้นว่า มติหนึ่งว่า พระอรหันต์เมื่อ บรรลุพระอรหันต์นั้นไม่รู้เอง ต้องมีผู้อื่นมาบอกให้ แต่อีกมติหนึ่งว่ารู้ได้เอง ไม่ต้องมีผู้อื่นมาบอก มติหนึ่งว่าจิตเป็นธรรมชาติที่ดำรงอยู่ ทำนองจิตอมตะนั่นแหละ แต่อีกมติหนึ่ง คัดค้าน ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น คัมภีร์กถาวัตถุจึงเท่ากับว่าเป็นที่รวมของปัญหาโต้แย้งต่างๆ
ที่เกิดมีมาโดยลำดับ จนถึงในสมัยที่รวบรวมเรียบเรียงคัมภีร์นี้ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารู้น่าเห็น อยู่มาก และเมื่อได้อ่านคัมภีร์นี้ก็จะทราบว่า ได้มีความเห็นแตกแยกกันในพระพุทธศาสนา อย่างไรบ้าง เมื่อท่านแสดงถึงข้อที่แตกแยกโต้เถียงกันแล้ว ในที่สุดท่านก็ตัดสินเป็นข้อๆ ไปว่าอย่างไหนถูก ก็เข้าเรื่องที่เล่าว่าพระเจ้าอโศกใช้ราชานุภาพไปสอบสวนภิกษุในคราวนั้น ปรากฏว่ามีพวกเดียรถีย์เข้ามาปลอมบวชเป็นอันมาก ได้ตั้งปัญหาขึ้นถาม โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระเป็นผู้คอยฟังวินิจฉัย เมื่อคำตอบนั้นส่องว่าเป็นลัทธิภายนอกไม่ใช่เป็นพระพุทธศาสนา ก็ให้สึกไป เหลือไว้แต่ผู้ที่ตอบถูกต้องตามแนวของพระพุทธศาสนา เสร็จแล้วก็ทำสังคายนาครั้งที่สาม
๖. ยมก แปลว่า คู่ คัมภีร์นี้ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ๆกัน แบ่งออกเป็น ๑๐ หมวด มีมูลยมก ขันธยมก เป็นต้น
๗. ปัฏฐาน คัมภีร์นี้เรียกว่าเป็น มหาปกรณ์ แปลว่า ปกรณ์ใหญ่ หรือว่า คัมภีร์ใหญ่ คู่กันกับปกรณ์ที่หนึ่งคือ ธัมมสังคณี ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย) เป็นต้น ท่านนับถือว่าคัมภีร์ที่ ๗ นี้มีอรรถะลึกซึ้ง และแสดงว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาอภิธรรม ทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ ที่รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้วที่แสดงแล้วนั้น เมื่อพิจารณาปกรณ์แรกๆมา ฉัพพัณณรังษีก็ยังไม่ปรากฏ ต่อเมื่อมาพิจารณาปกรณ์ที่ ๗ นี้ จึงปรากฏฉัพพัณณรังษีขึ้น
ก็รวมเป็น ๗ คัมภีร์ ในคัมภีร์ที่หนึ่ง ธัมมสังคณี ที่ประมวลธรรมะ ได้ตั้งแม่บทที่เป็นหมวด ๓ ขึ้นต้นว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล, อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็น อกุศล, อพยากตา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต คือว่าไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรือ อกุศล ถือว่าแม่บทนี้เป็นแม่บทใหญ่ เป็นที่รวมของธรรมะทั้งหมดที่แสดงออกไปทั้ง ๗ คัมภีร์ เพราะว่าประมวลลงในแม่บทอันนี้ทั้งนั้น
คัมภีร์อภิธรรมนั้น มีเจ็ดคัมภีร์ เรียกว่า สัตตปกรณ์ “ปกรณ์” ก็แปลว่า คัมภีร์ “สัตต” แปลว่า ๗ สัตตปกรณ์ ก็แปลว่า ๗ คัมภีร์ คำนี้ได้นำมาใช้เมื่อบังสุกุลพระศพเจ้านาย ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปใช้คำว่า สดับปกรณ์ ก็มาจากคำว่า สัตตปกรณ์ คือ เจ็ดคัมภีร์นี้เอง...”
และเหตุที่ต้องมีการสวดพระอภิธรรมนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้รจนาไว้ว่า ในพรรษาที่ ๗ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อาศัยพระพุทธกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นคติธรรม บุรพชนไทยจึงกำหนดให้มีการ สวดพระอภิธรรมในงานศพ
......
พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายพระศพหรือแก่ศพในพระบรมราชานุเคราะห์ ดังนั้นควรที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจักต้องตั้งจิตใจให้เป็นสมาธิ สดับพระอภิธรรมด้วยความเคารพ ย่อมได้รับอานิสงส์ แห่งการฟังธรรมตามกาล เป็นมงคลชีวิตตลอดไป
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 87 ก.พ. 51 โดยพระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)